วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 04:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา กับ ปัญญา นี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ขอขอบพระคุณนะค่ะ สาธุคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณแก้วกัลยา ไม่สนใจเรื่องทอดผ้าป่าสามัคคี ทอดกฐิน ตักบาตรประจำวัน ฯลฯ บ้างหรือครับ :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 พ.ค. 2010, 18:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้สึกจะเห็นกระทู้นะค่ะ แต่ไม่นานก็ตกกระดานไป หาไม่เจอคะ ที่ไหนเหรอค่ะ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A71.jpg
%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A71.jpg [ 32.76 KiB | เปิดดู 7659 ครั้ง ]
ผ้าป่าก็ที่นี่ไงครับ เห็นจะจะเห็นกะตาเลย ไม่เหมือนพูดถึงจิตเจตสิก ซึ่งเป็นนามธรรมเห็นยาก :b16: :b13:


การทอดผ้าป่า เป็นประเพณีการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน คล้ายกับการทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจํากัด คือ สามารถทำได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดเวลา คือทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่งๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้เช่นกัน ผู้ปรารถนาจะทำเมื่อไรย่อมทำได้ตามกำลังศรัทธา ซึ่งอาจจะผสมผสานหรือผนวกเข้ากับเทศกาลประเพณีประจำท้องถิ่นอื่นๆ ก็ได้ อีกทั้งยังไม่เจาะจงเกี่ยวกับพระภิกษุที่จะรับผ้าป่าแต่อย่างใด



ประวัติ และความเป็นมา

ประเพณีการทอดผ้าป่า มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวร สังฆาฏิตามต้องการ
ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มี
พุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง
เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์ แต่จะนำผ้าไปถวายโดยตรงไม่ได้เพราะยังมิได้มีพุทธานุญาต ผู้มีศรัทธาจึงนำผ้าไปทิ้งไว้ในป่าช้า และตามที่ต่างๆ ที่ไม่ไกลจากกุฏิพระภิกษุ เพื่อให้พระภิกษุไปพบแล้วนำเอาไปทำจีวรได้ตามประสงค์
อนึ่ง ก่อนจะเกิดการ "ทิ้งผ้าตามป่า" มีตำนานพุทธศาสนาในพระธรรมบทขุททกนิกายสคถาวรรค เรื่อง นาคเพทธิดาถวายผ้าป่าแก่พระอนุรุทธเถระว่า คราวหนึ่งพระอนุรุทธเถระผู้เป็นอรหันต์เที่ยวหาบังสุกุลจีวรตามแนวป่า เดินเข้าไปในป่าด้วยใจหวังว่าจะได้พบผ้าสักผืนหนึ่ง ขณะที่พระอนุรุทธรำพึงเช่นนั้น เทพธิดานางหนึ่งซึ่งชาติก่อนเคยเป็นภรรยาของพระอนุรุทธมีศรัทธาปรารถนาจะถวายผ้าบังสุกุลแก่ท่าน จึงนำผ้าทิพย์ลงมาพาดไว้ที่ต้นไม้เตี้ยๆ ต้นหนึ่ง ระหว่างทางที่พระเถระจะเดินผ่าน เมื่อพบเหตุเช่นนั้น พระอนุรุทธแสดงความประหลาดใจ และเมื่อปรารภความถึงเจ้าของไม่มีแล้ว ท่านจึงอธิษฐานเป็นผ้าบังสุกุล
การทอดผ้าป่า รวมทั้งการประดับประดาองค์ผ้าป่าด้วยกิ่งไม้ เอาผ้าทำเป็นรูปลิง ค่าง บ่าง ชะนี หรือผีเปรต ก็เป็นการอุปมาดังกล่าว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แก้วกัลยา เขียน:
สัญญา กับ ปัญญา นี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ขอขอบพระคุณนะค่ะ สาธุคะ :b8:


เหมือนกัน คือ
เป็นสภาวะธรรมหนึ่ง ที่เป็นอารมณ์เข้าปรุงแต่งหรือประกอบในจิต
เรียกว่า เจตสิก แต่เป็นเจตสิกคนละชนิด คนละกลุ่ม
และ มีสามัญลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


ต่างกัน คือ

สัญญา
มีลักษณะคือ จำได้ เช่น จำชื่อ หน้าตา คนสัตว์สิ่งของ ,
หมายรู้ เช่น การคาดเดาได้ว่า นี้เป็น ผู้ชาย ผู้หญิง
สัญญาปรุงแต่งทั้งจิตที่เป็นกุศล และอกุศล

ปัญญา คือ การรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ปรุงแต่งเฉพาะจิตที่เป็นฝ่ายกุศลเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:06
โพสต์: 46

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา เป็น อนัตตา มีทั้งคุณทั้งโทษ
ปัญญา ไม่ใช่อนัตตา มีแต่คุณไม่มีโทษ

:b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 10:10
โพสต์: 104

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา อนัตตา จำได้บ้างลืมบ้างไม่แน่นอน ไม่สามารถควบคุมได้เพราะ ให้จำก็ไม่จำ ให้ลืมก็ไม่ลืม แต่ปัญญา ทำให้เกิดความเข้าใจ ในเรื่องต่าง ๆ ไม่มีลืม

มั่วเอาบ้างนะค่ะ โปรดพิจารณา
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 15:13
โพสต์: 33

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา ความจำได้หมายรู้นี้ สามารถพัฒนาไปเป็นปัญญา ความรอบรู้ ได้นะคร้าบบท่าน
แต่ทำอย่างไร ขอฟังท่านผู้รู้มาเฉลยคร้าบบ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงคะ โมทนานะค่ะ

สาธุคะ tongue :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2009021310554707001.jpg
2009021310554707001.jpg [ 48.54 KiB | เปิดดู 7548 ครั้ง ]
เห็นจะจะอีกอย่างหนึ่งครับคุณแก้ว คือ ทอดกฐิน


ประเพณีการทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน ๑ เดือน หลังประเพณีออกพรรษา
โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ ๑ ครั้ง
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11
ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้
จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน


กฐินแปลว่าอะไร?

คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ
ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้า
ในปัจจุบัน
การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริก
ทีเดียว
เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตรพระมหาโมคคัลลานะพระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย
ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น
มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา
ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

ความเป็นมาของกฐิน

ภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา
ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดา
ด้วยความยากลำบาก เพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความ
เป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถ
รับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน
(นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา...ปัญญา
ต่างกันที่ ส.เสือ กับ ป.ปลา ครับ :b32: :b13: ต่างที่ตัวอักษร :b32:
ในทางโลก..สัญญา คือ ตกลงกัน รับปาก คำมั่นสัญญา
ในทางธรรม..สัญญา คือ ความจำ จำได้หมายรู้ ความจำว่า เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ
สัญญา อยูใน ขันธ์..รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาน
ปัญญา.. ทางโลก คือ ความฉลาด หลักแหลม จากการเรียน การพูด คิดค้น
ปัญญาทางธรรม..ผู้รักษาศีล..ผู้เจริญสมาธิ.เจริญวิปัสสนากรรมฐาน.มีสัมมาทิฏฐิ เห็นอริยสัจธรรม เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นความไม่เที่ยง
ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนะคุณแก้ว ให้รู้เห็นประเพณีทอดผ้าป่า กับ กฐินแล้ว ต่อไปแนะนำการปิดทอง

ฝังลูกนิมิตอีก มองเห็นง่ายๆเข้าใจไม่ยากเหมือนกัน



รูปภาพ

คำว่า “นิมิต ” (ในกรณีนี้) แปลว่า เครื่องหมาย

ลูกนิมิต ก็คือ ลูกหินกลมๆ ที่ใช้ฝังเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกให้ทราบว่าตรงไหนเป็นเขตอุโบสถ หรือโบสถ์
เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม

“การฝังลูกนิมิต” นี้ มีชื่อเรียกเป็นทางการอีกอย่างหนึ่งว่า “การผูกพัทธสีมา” ซึ่งคือ เขตทำสังฆกรรมที่กำหนดตามพุทธานุญาต เช่น การสวดปาติโมกข์ การบวชพระ การกรานกฐิน และการปวารณากรรม เป็นต้น

การปิดทองฝังลูกนิมิต จะมี ดอกไม้ ธูป เทียน ดินสอ กระดาษเขียนชื่อพร้อมคำอธิษฐานเข็มและด้าย
โดยเราจะใส่สมุด ดินสอ เข็มและด้ายลงไปในหลุมที่ฝังลูกนิมิตด้วย เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้มีความจำดี
มีปัญญาเฉียบแหลมเหมือนเข็ม และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเหมือนความยาวของด้าย
มีชีวิตที่ผาสุกยืนยาว เหมือนด้าย ใส่สมุดเพราะมีความเชื่อว่า หากผู้ทำบุญเขียนข้อความที่อธิษฐาน
ลงในสมุด จะมีความจำดี ไม่หลงลืมง่าย และการปิดทองที่ลูกนิมิต เพื่อให้ผิวกายผ่องใส

http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=9665

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 พ.ค. 2010, 20:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 23:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:
แก้วกัลยา เขียน:
สัญญา กับ ปัญญา นี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ขอขอบพระคุณนะค่ะ สาธุคะ :b8:


เหมือนกัน คือ
เป็นสภาวะธรรมหนึ่ง ที่เป็นอารมณ์เข้าปรุงแต่งหรือประกอบในจิต
เรียกว่า เจตสิก แต่เป็นเจตสิกคนละชนิด คนละกลุ่ม
และ มีสามัญลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา



ปัญญา...สามัญลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ..หรือ???

มันยังงัย ๆ อยู่หน่า.. :b10: :b10: :b10:

ปัญญา..เป็นอนิจจัง :b10:
ปัญญา..เป็นทุกขัง :b10:
ปัญญา..เป็นอนัตตา :b10:

คุณอิกคิว..ช่วยขยายความหน่อยเป็นไรครับ..

จะได้ไม่ :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกรัก เขียน:
สัญญา เป็น อนัตตา มีทั้งคุณทั้งโทษ
ปัญญา ไม่ใช่อนัตตา มีแต่คุณไม่มีโทษ
:b4: :b8:


ถ้าปัญญาไม่ใช่...."อนัตตา" , ก็แสดงว่าเป็น อัตตา ใช่มั๊ยครับ
ฉะนั้น คุณดอกรัก....ก็น่าจะบังคับตนเอง ให้บรรลุธรรมได้เลยซิครับ

ถ้ายังยืนยันว่าปัญญาเป็นอัตตา
คุณดอกรัก บังคับให้ตนเอง ละสังโยชน์ 3 ประการดูก่อนก็ได้
1.สักกายทิฏฐิ
2.สีลพตปรามาส
3.วิจิกิจฉา
เพราะมีปัญญาแค่ละธรรมทั้งสามดังกล่าว ปิดประตูอบายได้เลย


ส่วนที่ว่า ปัญญามีแต่คุณไม่มีโทษ....เห็นด้วย




ต้อยตีวิด เขียน:
สัญญา อนัตตา จำได้บ้างลืมบ้างไม่แน่นอน ไม่สามารถควบคุมได้เพราะ ให้จำก็ไม่จำ ให้ลืมก็ไม่ลืม แต่ปัญญา ทำให้เกิดความเข้าใจ ในเรื่องต่าง ๆ ไม่มีลืม

มั่วเอาบ้างนะค่ะ โปรดพิจารณา
:b8:


".......ปัญญา ทำให้.......ไม่ลืม ?...."
ประโยคนี้ มั่วเอาบ้างหรือเปล่าไม่อาจทราบได้
แต่เห็นว่า คุณต้อยฯ.....สันสนแน่นอน

สัญญา คือ ธรรมชาติ ที่จำได้ หมายรู้
ปัญญา คือ ธรรมชาติที่รู้ตามความเป็นจริง

แล้วไหง คุณต้อยฯ บอกว่า ปัญญาทำให้....ไม่ลืม.....งง งง งง......สุดๆๆๆๆ

ส่วนแรกที่คุณต้อยฯ กล่าวว่า

"ปัญญาทำให้เกิดความ ...เข้าใจ....." นั้นแหละครับ คือ สภาวธรรมของ....ปัญญา

แต่ปัญญาก็ไม่ได้ทำให้เราเข้าใจได้ทุกเรื่อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 02:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
Eikewsang เขียน:
แก้วกัลยา เขียน:
สัญญา กับ ปัญญา นี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ขอขอบพระคุณนะค่ะ สาธุคะ :b8:


เหมือนกัน คือ
เป็นสภาวะธรรมหนึ่ง ที่เป็นอารมณ์เข้าปรุงแต่งหรือประกอบในจิต
เรียกว่า เจตสิก แต่เป็นเจตสิกคนละชนิด คนละกลุ่ม
และ มีสามัญลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา



ปัญญา...สามัญลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ..หรือ???

มันยังงัย ๆ อยู่หน่า.. :b10: :b10: :b10:

ปัญญา..เป็นอนิจจัง :b10:
ปัญญา..เป็นทุกขัง :b10:
ปัญญา..เป็นอนัตตา :b10:

คุณอิกคิว..ช่วยขยายความหน่อยเป็นไรครับ..

จะได้ไม่ :b10: :b10:


คุณกบฯ เส้นผมบังภูเขาหรือไงครับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา

สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา

สังขารธรรม (สัพเพสังขารา)........คือ จิต เจตสิก รูป

ส่วนธรรมทั้งหลาย (สัพเพธรรมา)...คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

ดังนั้น จิต เจตสิก และ รูป จึงอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ เป็น อนิจจัง ทุขัง อนัตตา

สัญญา เป็นเจตสิกกลุ่มที่เข้าประกอบได้ทั้งจิตที่เป็นกุศล อัพพากต และ อกุศล
ปัญญา เป็นเจตสิกที่เข้าประกอบจิตที่เป็นกุศล

เพราะฉะนั้น ทั้งสัญญา และปัญญา......เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
กล่าวโดยเฉพาะ คือ
เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลง ไม่อาจตั้งอยู่ได้ตลอดไป เมื่อมีเกิด ก็มีแปรปรวน
เป็นทุกขัง คือ เป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องดับไปในที่สุด
เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่เรา บังคับบัญชาไม่ได้ บังคับการเกิด-ดับไม่ได้

นิพพานเท่านั้น ไม่เป็น.....อนิจจัง ไม่เป็น....ทุกขัง , แต่เป็น.....อนัตตา
คือ นิพพานไม่มีการเกิด-ดับ เพราะนิพพานเป็นสพาวธรรมที่มีอยู่แล้ว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร