วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 23:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจากนั้นก็ จิตตานุปัสสนา สรุปเป็นภาษาชาวบ้านให้เขานำไปปฏิบัติตามกันได้ครับ ว่าไป

เชิญครับ :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจาก จิตตานุปัสสนแล้ว ก็ถึง ธรรมานุปัสสนา เหมือนเดิมครับ คุณพูดสรุปเป็นภาษาง่ายๆให้เขา

เข้าใจ แล้วนำไปปฏิบัติกันได้ เชิญครับ ว่าไป

กรัชกายจะยังไม่สอดแทรกขั้นความคิดคุณ แต่จะเสริมหรือแย้งหลังจากคุณกล่าวหมดประเด็นทั้งสาม

หัวข้อนั้นแล้ว :b20: :b8: :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 3268 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
กรรมฐาน เป็นบัญญัติอาจารย์ที่ใช้ในภายหลัง
พระพุทธองค์ ให้ปฏิบัติมรรคภาวนา คืออริยมรรคมีองค์ 8


คงไม่ผิดกติกานะครับ หากจะบอกความหมาย "กรรมฐาน" โอกาสหน้าอาจพูดถึงอีก

กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน

มีความหมายเป็นทางการว่า สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรือ อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต

หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ

พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยววิ่งเล่น

เตลิดหรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย เฉพาะในกรณีนี้ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนดเพื่อชัก

นำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตกำหนดจับเข้าแล้ว จะชักนำจิตให้แน่วแน่อยู่กับมันเป็นสมาธิได้

เร็วและมั่นคงที่สุด

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ส.ค. 2010, 18:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกข้อคิดเป็นกลางๆไว้ด้วย

ความจริง พุทธธรรม (คำสอนของพระพุทธเจ้า) ถ้ารู้แจ้งเข้าใจจริงแล้ว เมื่อพูดชี้แจงอธิบาย แม้จะไม่ใช้คำศัพท์ธรรมคำบาลีสักคำเดียวก็เป็นพุทธธรรม
แต่ตรงข้าม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือรู้ผิดเข้าใจผิด แม้จะพูดออกมาทุกคำล้วนศัพท์บาลี ก็หาใช่พุทธธรรมไม่ กลายเป็นแสดงลัทธิอื่นที่ตนสับสนหลงผิดไปเสีย
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่รู้เข้าใจด้วยกันแล้ว คำศัพท์กลับเป็นเครื่องหมายรู้ที่ช่วยสื่อถึงสิ่งที่เข้าใจได้โดยสะดวก พูดกันง่าย เข้าใจทันที
หรือแม้สำหรับผู้ศึกษาประสงค์จะเข้าใจ หากอดทนเรียนรู้คำศัพท์สักหน่อย คำศัพท์เหล่านั้นแหละจะเป็นสื่อแห่งการสอนที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมได้รวดเร็ว
หากจะชี้แจงสั่งสอนกันโดยไม่ใช้คำศัพท์เลย ในที่สุดก็จะต้องมีศัพท์ธรรมภาษาอื่น รูปอื่น ชุดอื่น เกิดขึ้นใหม่อยู่ดี แล้วข้อนั้นอาจจะนำไปสู่ความสับสนยิ่งขึ้น โดยนัยนี้ คำศัพท์อาจเป็นสื่อนำไปสู่ความเข้าใจพุทธธรรมก็ได้ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมก็ได้
เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว พึงนำศัพท์ธรรมใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน คือ รู้เข้าใจ ใช้ถูกต้อง รู้กาลควรใช้ไม่ควรใช้ ให้สำเร็จประโยชน์ แต่ไม่ยึดติดถือคลั่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ส.ค. 2010, 09:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




four_lotus%2520copy.jpg
four_lotus%2520copy.jpg [ 269.79 KiB | เปิดดู 3229 ครั้ง ]
ท่านเช่นนั้นหายไปไหนครับ รอคำตอบเพื่อสนทนาให้เกิดปัญญา และเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติธรรมอีกสามประเด็นสุดท้าย รอครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ส.ค. 2010, 08:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเรียกว่าอะไรดีล่ะ เอาเป็นว่าความเห็นท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ก็แล้วกันว่า

การเจริญสติปัฏฐานนี้เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมากถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว

ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้

หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบเจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ไป

จนถึงที่สุดก็ได้

วิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ได้ยินได้ฟังกันมากพร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้

เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน


viewtopic.php?f=2&t=18808&p=84866#p84866

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันสองวันนี้สองแรงบวก คือ เว็บธรรมจักรเข้ายากโหลดช้าด้วย ท่านเช่นนั้นอาจหมดความพยายาม

เลยไม่มา

ฝนตกบ่อยๆอีกด้วย ท่านเช่นนั้นอาจเป็นไข้ ไม่สบาย เลยไม่ได้เข้ามา นั่นสินะ ไม่เคยหายไปนานเช่นนี้

เลย :b1: :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ส.ค. 2010, 20:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3530.gif
3530.gif [ 4.77 KiB | เปิดดู 3076 ครั้ง ]
ท่านเช่นนั้นขอรับ กลับมาแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องสติปัฏฐานกันต่อเถอะครับ จขกท.นี้ ตามหาเวทนาอีก

แล้ว เห็นไหมล่ะ :b1: :b20:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คอมพ์ไม่ว่างไปหลายวัน... เพราะมัวแต่ทำกิจกรรมอื่นอยู่
ขอบคุณท่านกรัชกายที่แวะเวียนถามข่าวคราวอยู่....

ต่อกันที่จิตตานุปัสสนา อันเป็นสติปัฏฐาน 4 มัคคภาวนากันต่อ...
จิตตานุปัสสนา ตามจริงเป็นเรื่องที่เกินวิสัย เช่นนั้น จะแสดงเพราะต้องเห็น จิตผู้อื่นด้วยจิตตนได้จึงจะเรียกได้ว่าครบทั้งความรู้เรื่องจิตตานุปัสสนา...

แต่เมื่อไม่ฉลาดในวาระจิตผู้อื่น อย่างน้อยมีความรู้เล็กๆ น้อยๆ ก็ขอให้ฉลาดในวาระจิตตนให้ได้ก็ยังดี..
จึงขอโอกาส แสดงตามความรู้ความเข้าใจโดยยกพระธรรมเทศนา ประกอบบ้างตามสมควร เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าของกระทู้ เกี่ยวกับจิตตานุปัสสนา ดังต่อไปนี้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อบุคคลเจริญมรรคภาวนา อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก เพื่อปหานทิฏฐิและตัณหาอันข้องอยู่กับโลก
บุคคลนั้นย่อมเจริญมัคคปฏิปทา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ มีนิพพานเป็นอารมณ์ มีดำริอนุโลมไปตามอริยสัจจ์ บุคคลนั้นย่อมเจริญสติปัฏฐาน 4 ด้วย.

พระพุทธองค์ ได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุรูปหนึ่งที่ ดังปรากฏในภิกขุสูตร ว่า

Quote Tipitaka:
“เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน
เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใด ศีล
ของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔....”

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ทรงตรัสบัญญัติแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ ผู้บวชแล้วไม่นาน ผู้เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ พึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติปัฏฐาน ๔

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
Quote Tipitaka:
“มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย...

เธอทั้งหลายจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง

จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ .มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว.. เพื่อรู้เวทนาตามความเป็นจริง

จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง

จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง......”

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ตามความเป็นจริง... ย่อมไม่ใช่อาศัยการระลึกไปตามอารมณ์อันข้องกับโลก และเป็นการรู้ตามความเป็นจริงโดยอนุโลมตามอริยสัจจ์ซึ่งเป็นสัจจะจริงแท้แน่นอนตามเป็นจริง

พิจารณาความนี้ได้จาก พุทธอุทาน และ สกุณัคขีสูตรดังนี้

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=1

[๙๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่สาลวัน อันเป็นที่เสด็จประพาส
ของมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ใกล้กรุงกุสินารา ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเป็น
ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง กลับกลอก มีปากกล้า มีวาจาเกลื่อนกล่น มีสติหลง
ลืม ไม่รู้สำนึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ อยู่ใน
กุฎีที่เขาสร้างไว้ในป่า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็น
ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง ปากกล้า วาจาเกลื่อนกล่น มีสติหลง
ลืม ไม่รู้สำนึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ อยู่ในกุฎี
ที่เขาสร้างไว้ในป่าในที่ไม่ไกล ฯ


ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุมีกายไม่รักษาแล้ว เป็นมิจฉาทิฐิ และถูกถีนมิทธะ
ครอบงำแล้ว ย่อมไปสู่อำนาจแห่งมาร เพราะเหตุนั้น
ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมา-
ทิฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแล้ว
ครอบงำถีนมิทธะ พึงละทุคติทั้งหมดได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร อย่างไร

Quote Tipitaka:
สกุณัคฆีสูตร
ว่าด้วยอารมณ์โคจร

[๖๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในอารมณ์อื่น
อันมิใช่โคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร มารจักได้ช่อง มารจักได้
อารมณ์ ก็อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ คืออะไร? คือ กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ เป็นไฉน?
คือ รูปอันพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ
อารมณ์อื่น มิใช่โคจรของภิกษุ.
[๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตนอันเป็นโคจร

เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้
ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์

ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นของโคจร คืออะไร?
คือสติปัฏฐาน ๔


สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่ง
เป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 21 ส.ค. 2010, 12:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอนเกี่ยวกับการเจริญสติปัฏฐาน ในทันตภูมิสูตร ว่า

“... [๓๙๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลง
ในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริ
พล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจ
ของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์
ต้องการ ฉันใด
ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สติปัฏฐาน ๔ นี้
ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปรกติ ชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความ
ดำริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความ
เร่าร้อนใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ฯ


[๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับเวทนา
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม
เธอย่อมเข้าทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ... ย่อมเข้าจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะจิตมีมากอย่าง เมื่อผู้ปฏิบัติสมณธรรมอันเป็นมรรคภาวนา เพื่อให้จิตตั้งมั่น สงัดจากกามและ อกุศลธรรมทั้งหลาย.

แต่ขณะที่จิตยังไม่ตั้งมั่น ผู้ปฏิบัติสมณธรรมย่อมกำนหนดรู้ที่จิตตนว่า จิตไม่ตั้งมั่น ยังไม่ผ่องใส จึงละนิวรณ์ธรรมอันเป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่นไม่ผ่องใส เพื่อเข้าถึงจิตอันเป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานในมรรคภาวนาอันมีสมาธิตั้งมั่น มีสัญญาในอนิจสัญญา หรือทุกขสัญญา หรืออนัตตสัญญา เพื่อความหลุดพ้นจากอวิชชาและตัณหา, เพราะอาศัยสัญญาเหล่านั้นทำความพิจารณาในความเกิดแห่งจิตอันประกอบแล้วด้วยมูลกรรม เศร้าหมองด้วยมูลกรรม คือโลภะ โทสะ หรือโมหะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมอย่างใดอย่างนั้นอยู่ ด้วยเหตุอย่างนั้นจึงเห็นความเสื่อมแห่งจิตจากกุศลเพราะมูลกรรมเหล่านั้น; จิตจึงตั้งความอธิษฐานอย่างแรงกล้าเพื่อความสลัดออกเพราะเห็นโทษภัยแห่งจิตข้องเกี่ยวอย่างนั้น.

เมื่อเห็นโทษภัยและ เห็นความสงบความสุขเพราะความไม่ตามประกอบนั้นจิตจึงปล่อยวาง (ครอบงำนิวรณ์) จิตจึงตั้งมั่น มัคคภาวนาจึงเจิญก้าวหน้าไปตามลำดับๆ.

การทำบ่อยๆ อย่างนี้เป็นการสั่งสมอุปนิสัยของจิตเพื่อความหลุดพ้นด้วยจิตเอง จึงเรียกว่า จิตตานุปัสสนา.

(ความหลุดพ้น ชื่อว่าหลุดพ้นเพราะหลุดพ้นจาก ความไม่สะอาดทางกาย ทางวาจา
ความหลุดพ้นชื่อว่าหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจาก บาปธรรม
ความหลุดพ้นชื่อว่าหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจาก วัฏฏะ
ความหลุดพ้นจึงชื่อว่า วิมุติอันเป็น วิวัฏฏะ)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 21 ส.ค. 2010, 13:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร