วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิตจะเย็น เมื่อไม่มีของร้อน คือ ราคะ โทสะ โมหะ

จิตปราศจาก หัวหน้ากิเลส(ราคะ โทสะ โมหะ) จิตก็จะเย็น

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
การทำจิตให้เย็น(นิพพาน)ให้ว่าง(จากกิเลส ตัณหา อุปาทาน) ทำอย่างไร

แต่มิใช่ว่างจากอารมณ์ทั้งปวง

จิตไม่เคยว่างจากอารมณ์เลย แม้ยามหลับ ยังเสวยอารมณ์

อารมณ์เฉย(อุเบกขา) หรือท่านคิดว่าว่างจริงๆ


จิตว่างที่แท้จริงนั้น ว่างจากอารมณ์ทั้งปวงครับ ไม่มีอารมณ์ใดๆมาติดต้องได้เลย แม้แต่ อุเบกขา :b13: :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิตว่างจากปัญจารมณ์ (รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผสถัพพาภมณ์)
ยังพอว่า
แต่ ถ้าว่างจากธรรมารมณ์ด้วย...........................เป็นไปได้หรือ

แม้แต่ยามที่จิตอยู่ในภวังค์(ไม่รับรู้สิ่งใดๆเลย ไม่รู้สึกตัวด้วย) เขายังว่าจิตยังเสวยอารมณ์

แต่ถ้า.....
จิตว่างจากกิเลส(ตัณหา อุปาทาน ราคะ โทสะ โมหะ)...................ยังมีเหตุผลน่าเชื่อ

ว่างจากอารมณ์ นั้น ดูขัดแย้งกับ ทฤษฏี (ปริยัติ)

เวลาจะพูดว่า จิตว่าง จึงควรต้องระบุ ว่าว่างจากอะไร ผู้ฟังจึงจะทราบความหมายของคนพูด
ไม่งั้น จะสร้างความสับสนได้

หรือแม้แต่ช่วง จิตเป็นสมาธิ จิตว่างหรือไม่
แน่นอนจิตอาจว่างจากกิเลสชั่วคราว แต่จิตกำลังเป็นเอกัคคตารมณ์(คือจิตมีอารมณ์เดียว)

จะเห็นว่า แม้แต่อยู่ในสมาธิ จิตยังไม่ว่างจากอารมณ์เลย

หรือ ท่านเห็นกันว่าไง ครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
จิตว่างจากปัญจารมณ์ (รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผสถัพพาภมณ์)
ยังพอว่า
แต่ ถ้าว่างจากธรรมารมณ์ด้วย...........................เป็นไปได้หรือ

แม้แต่ยามที่จิตอยู่ในภวังค์(ไม่รับรู้สิ่งใดๆเลย ไม่รู้สึกตัวด้วย) เขายังว่าจิตยังเสวยอารมณ์

แต่ถ้า.....
จิตว่างจากกิเลส(ตัณหา อุปาทาน ราคะ โทสะ โมหะ)...................ยังมีเหตุผลน่าเชื่อ

ว่างจากอารมณ์ นั้น ดูขัดแย้งกับ ทฤษฏี (ปริยัติ)

เวลาจะพูดว่า จิตว่าง จึงควรต้องระบุ ว่าว่างจากอะไร ผู้ฟังจึงจะทราบความหมายของคนพูด
ไม่งั้น จะสร้างความสับสนได้

หรือแม้แต่ช่วง จิตเป็นสมาธิ จิตว่างหรือไม่
แน่นอนจิตอาจว่างจากกิเลสชั่วคราว แต่จิตกำลังเป็นเอกัคคตารมณ์(คือจิตมีอารมณ์เดียว)

จะเห็นว่า แม้แต่อยู่ในสมาธิ จิตยังไม่ว่างจากอารมณ์เลย

หรือ ท่านเห็นกันว่าไง ครับ


จิตที่ว่างนั้น ว่างจากปวงสังขตที่เกิดดับ จึงไม่มีอารมณ์ใดๆมาติดต้องได้

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 10:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 09:57
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ สรุป ไม่ยึดมั่น ถือมั่น จะได้ไม่ต้องโกธร


แก้ไขล่าสุดโดย somsak_nong เมื่อ 17 ก.ย. 2010, 10:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ดูเหมือนจิตทุกดวง จะไม่เคยว่างจากอารมณ์ หรือใครมีหลักฐานว่าจิตว่างจากอารมณ์ได้
อ้างคำพูด:
แสดงอารมณ์โดยพิสดาร
อารมณ์โดยพิสดารมี ๒๑ คือ
๑. กามอารมณ์ ได้แก่ กามจิต ๕๔ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ได้อารมณ์ ๖
๒. มหัคคตอารมณ์ ได้แก่ มหัคคตจิต ๒๗ เจตสิก ๓๕ ได้อารมณ์ ๑
คือ ธรรมารมณ์
๓. นิพพานอารมณ์ ได้แก่ นิพพาน ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๔. นามอารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก นิพพาน ได้อารมณ์ ๑ คือ
ธรรมารมณ์
๕. รูปอารมณ์ ได้แก่ รูป ๒๘ ได้อารมณ์ ๖
๖. ปัจจุบันอารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก รูปที่กำลังเกิดขึ้น ได้อารมณ์ ๖
๗. อดีตอารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ที่ดับไปแล้ว ได้อารมณ์ ๖
๘. อนาคตอารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ที่จะเกิด ได้อารมณ์ ๖
๙. กาลวิมุตตอารมณ์ ได้แก่ นิพพาน บัญญัติ ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมา - รมณ์


๑๐. บัญญัติอารมณ์ ได้แก่ อัตถบัญญัติ สัททบัญญัติ ได้อารมณ์ ๑ คือ
ธรรมารมณ์
๑๑. ปรมัตถอารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ได้อารมณ์ ๖
๑๒. อัชฌัตตอารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง ได้อา-
รมณ์ ๖
๑๓. พหิทธอารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น และรูปที่ไม่-
มีชีวิต นิพพาน บัญญัติ ได้อารมณ์ ๖
๑๔. อัชฌัชตตพหิทธอารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและ
ภายนอก ได้อารมณ์ ๖
๑๕. ปัญจารมณ์ ได้แก่ วิสยรูป ๗ ได้อารมณ์ ๕
๑๖. รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่าง ๆ
๑๗. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียงต่าง ๆ
๑๘. คันธารมณ์ ได้แก่ กลิ่นต่าง ๆ
๑๙. รสารมณ์ ได้แก่ รสต่าง ๆ
๒๐. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
๒๑. ธรรมารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก ปสาทรูป สุขุมรูป นิพพาน
บัญญัติ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 04:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www



อารมณ์

อา ( ทั่ว ) + รมณ ( ที่ยินดี , ที่รื่นรมย์ )

ที่มายินดีทั่วของจิต , ที่ยึดหน่วงของจิต หมายถึง สิ่งที่จิตรู้ จิตกำลังรู้สิ่งใด สิ่ง

นั้นเป็นอารมณ์ของจิต จิตจะเกิดขึ้นโดยปราศจากอารมณ์ไม่ได้ สภาพธรรมทุกอย่าง

สามารถเป็นอารมณ์ของจิตได้ ไม่ว่าจะเป็นจิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์

หรือนิพพานปรมัตถ์ แม้บัญญัติซึ่งไม่ใช่สภาพธรรม เพราะไม่มีจริงโดยปรมัตถ์ ก็เป็น

อารมณ์ของจิตได้

อารมณ์มี ๖ อย่าง คือ ...

๑. รูปารมณ์ ( วัณณรูป ได้แก่ สีต่าง ๆ )

๒. สัททารมณ์ ( สัททรูป ได้แก่ เสียงต่าง ๆ )

๓. คันธารมณ์ ( คันธรูป ได้แก่ กลิ่นต่าง ๆ )

๔. รสารมณ์ ( รสรูป ได้แก่ รสต่าง ๆ )

๕. โผฏฐัพพารมณ์ [ ปฐวีรูป ( ดิน) เตโชรูป ( ไฟ ) วาโยรูป ( ลม ) ]

๖. ธัมมารมณ์ ( อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจเท่านั้น ๖ อย่าง ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒

ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน บัญญัติ )


http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=10631

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท.! เมื่อใด อวิชชาของภิกษุละขาดไป วิชชาเกิดขึ้นแล้ว;
เธอนั้น เพราะอวิชชาจางหายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้นแทน
ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุงอันเป็นบุญนั่นเทียว,
ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุงอันมิใช่บุญ,
ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุงอันเป็นอเนญชา.

เธอนั้น เมื่อไม่ปรุง เมื่อไม่ก่อ
ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งไร ๆในโลก.

เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่เสียวสะดุ้ง.
เมื่อ่ไม่เสียวสะดุ้ง ย่อมปรินิพพาน.

เธอนั้น ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นสุดแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นเช่นนี้มิได้มีอีก"
ดังนี้ แล.

- นิทาน. สํ. ๑๖/๙๙/๑๙๒.




ภิกษุ ! สำ หรับปัญหาของเธอนั้น
เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า "มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?
ดังนี้เลย;

อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า :-
ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน? ความยาวความสั้น
ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน ?
นามรูปดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?" ดังนี้ต่างหาก.

ภิกษุ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้ :-
"สิ่ง" สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ไม่มีที่สุด
มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ, นั้นมีอยู่;

ใน "สิ่ง"นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้;
ใน "สิ่ง" นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความ ไม่งาม
ไม่หยั่งลงได้; ใน "สิ่ง" นั้นแหละ นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ;
นามรูป ดับสนิท ใน "สิ่ง" นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ;
ดังนี้แล.

- สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘-๓๕๐.



สระทั้งหลาย จะไหลกลับจากที่ไหน? วัฏฏะ (วังวน) ย่อม
ไม่หมุนในที่ไหน ? นามและรูปย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน?

ในที่ใด, ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้, จากที่นั้นแหละ
สระทั้งหลาย ย่อมไหลกลับ; ในที่นั้นแหละ วัฎฎะย่อมไม่หมุน;
ในที่นั้นแหละ นามและรูป ย่อมดับไม่เหลือ; ดังนี้ แล.

สคา. สํ. ๑๕/๒๒/๗๐-๗๑.


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 19 ก.ย. 2010, 06:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อสันดานยังเป็นสิ่งที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยอยู่ได้,
ความหวั่นไหวก็ยังมีอยู่.

เมื่อสันดานเป็นสิ่งที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ได้
ความหวั่นไหวก็ไม่อาจมี.


เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ความรำงับแห่งจิตย่อมมี ;
เมื่อความรำงับแห่งจิตมี ความน้อมไปทางใดทางหนึ่งของจิตย่อมไม่มี ;


เมื่อความน้อมไปทางใดทางหนึ่งของจิตไม่มี
การมาการไปก็ไม่มี;

เมื่อการมาการไปไม่มี
การจุติและการเกิดขึ้นใหม่ก็ไม่มี.

เมื่อการจุติและการเกิดขึ้นใหม่ไม่มี
ก็ไม่มีการปรากฏในโลกนี้ ไม่มีการปรากฏในโลกอื่น
ไม่มีการปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง :
นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ละ.

- อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑.


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 19 ก.ย. 2010, 06:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ภิกษุ ท.! เมื่อใด อวิชชาของภิกษุละขาดไป วิชชาเกิดขึ้นแล้ว;
เธอนั้น เพราะอวิชชาจางหายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้นแทน
ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุงอันเป็นบุญนั่นเทียว,
ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุงอันมิใช่บุญ,
ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุงอันเป็นอเนญชา.

เธอนั้น เมื่อไม่ปรุง เมื่อไม่ก่อ
ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งไร ๆในโลก.

เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่เสียวสะดุ้ง.
เมื่อ่ไม่เสียวสะดุ้ง ย่อมปรินิพพาน.


รู้สึก ประโยคหลัง นี่ ทะแม่งๆ เกรงว่าจะแปลมาผิดนะครับ ท่าน
ควรต้องส่งลิ้งค์มาดูหน่อยนะครับท่าน

แค่นิพพานก็พอมั๊งครับ ไม่ต้องถึงขนาดปรินิพพาน กระมัง

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ
ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา
เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น
เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่
สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป
ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป
ถ้าเสวยอทุกขมสุข-เวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป

ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย
ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย
เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต
รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น
สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้นเบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ภิกษุผู้ขีณาสพ
พึงทำกรรมเป็นบุญบ้าง
ทำกรรมเป็นบาปบ้าง
ทำกรรมเป็นอเนญชาบ้าง หรือหนอ ฯ

ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะสังขารดับ วิญญาณพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะวิญญาณดับ นามรูปพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะผัสสะดับ เวทนาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะเวทนาดับ ตัณหาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 19 ก.ย. 2010, 17:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้นเบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย

แสดงว่า...

ถ้ายังมีตัณหาอยู่ พอกายแตกแล้ว นอกจากสรีรธาตุ ยังเหลืออยู่แล้ว ยังมีสิ่งอื่นเหลืออยู่ด้วย

แต่ถ้าไม่มีตัณหา พอกายแตกทำลายแล้ว นอกจากสรีรธาตุแล้ว นอกนั้นไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะผัสสะดับ เวทนาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะเวทนาดับ ตัณหาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ


อนุปาทิเสสนิพพาน (จิต เจตสิก รูป ดับยาวไม่เกิดอีก) ผัสสะ(ผัสสะคือเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง)ดับ เวทนาก็ดับไปไม่มีเหลือ ตัณหาจะพึงปรากฏหรืออย่างไร ย่อมไม่มีอะไรเหลือ

แต่........

สอุปาทิเสสนิพพาน ผัสสะยังเกิดดับเกิดดับ เวทนาจึงมี(ยกเว้นโทมนัสเวทนา) แต่ตัณหาไม่มี แม้เวทนาทำให้เกิดตัณหาก็ตาม

มาดูคนธรรมดา....

ผัสสะเกิดดับตลอดเวลา เวทนามีเกิดดับตลอดเวลา ตัณหามีเกิดดับตลอดเวลา ......

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ
ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา

เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น

เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว
เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป
ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป
ถ้าเสวยอทุกขมสุข-เวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป


ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย
ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย


เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต


รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร