วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 04:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 23:17
โพสต์: 257

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประเภทธรรมะ
ชื่อเล่น: หยุย
อายุ: 0
ที่อยู่: ห้วยขวาง

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า ความง่วงนั้นเกิดจากอะไรกันแน่นะ? :b10:
จากธาตุ4 ขันธ์5 หรือเปล่า :b6:
จากจิตเราเองหรือเปล่า :b6:
บางครั้งก็คิดว่าเกิดจากขันธ์ 5 บางครั้งก็คิดว่าเกิดจากจิตก็เลยทำให้สบสนอยู่เหมือนกันโดย
เฉพาะเวลานั่งสมาธิจะเป็นบ่อยมากหรือเกิดจากที่จิตเบื่อหน่ายขึ้นมาหรือเปล่าก็ไม่รู้ รบกวนผู้ที่พอ
จะรู้เรื่องนี้ช่วยตอบด้วยครับ คิดว่าคงมีคนที่เป็นแบบนี้เยอะ(แบบว่าพอตัวเองไม่เข้าสมาธิก็เลยได้เห็นอากัปกิริยาของคนอื่นน่ะครับก็เลยรู้ว่ายังไม่เข้าสมาธิเหมือนกัน)เพราะถ้าเรารู้ถึงสาเหตุเราก็จะหาทางดับมันเวลาที่เกิดขึ้นมา เพราะหลัก
ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเอาไว้ว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาตคทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น :b9:

.....................................................
สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
ทุกอย่างไม่ควรยึดถือ
อกุศลน้อยนิด อย่าคิดทำ
กุศลน้อยนิด ให้คิดทำ
ทำกุศลวันละนิด ดีกว่าคิดที่จะทำ

พระพุทธองค์ยังถูกนินทา
ประชาชนธรรมดามีหรือจะหนีพ้น

ไม่อยากทุกข์แต่ก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่เรียนรู้ทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2010, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 17:16
โพสต์: 177

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อก่อนเป็นบ่อยคะ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเป็นแล้ว(ที่บอกเพราะไม่ยึดเอาความง่วงมาเป็นอารมณ์คะ แค่ตามดู ตามรู้ ทนไม่ได้ก็นอนเท่านั้น) แล้วแต่จริตแต่ละคนคะ สำหรับดิฉันดิฉันดูที่กายกับจิตคะ
กายรู้สึกโหวงๆ สติเริ่มไม่นิ่ง จิตเกิดความอยากปิดทวารทั้งหกคะ รู้และเห็นทันเขาตอนก่อนจะง่วงมาก โดยใช้สัญญาคะ จำได้ว่าอ๋ออาการที่กำลังเกิดขึ้นเป็นงี้ แสดงว่าอีกเดี๋ยวเราจะง่วงมากคะ เพราะฉงั้น เอาสติให้อยู่คะ ถ้าชอบพูธโธ ดูลมหายใจ หรือพองยุบ ก็ไปอยู่ตรงนั้นคะ แต่ถ้าปล่อยให้ง่วงเกิดก็ ก็ต้องยักย้ายอิริยาบทคะ แล้วค่อยมานั่งต่อ หรือถ้าทนไม่ได้เห็นว่าทรมาณมาก จิตไม่สงบเป็นสมาธิที่ตั้งมั่นซักที ก็นอนเลยคะ อย่าให้ถึงกับเครียดเลยคะ จะไม่ดีกับการปฏิบัติครั้งต่อไปคะ ไม่รู้ถูกเปล่าคะ ท่านอื่นแนะนำว่าไงคะ

สำหรับคุณทักทาย ถ้าจะส่งรูปแบบว่าสยองดูแล้วแก้ง่วง ยินดีคะ เผื่อจะเอาไว้นึกตอนง่วง จะได้ไม่ขี้เกลียดปฏิบัติคะ


แก้ไขล่าสุดโดย ploypet เมื่อ 19 ต.ค. 2010, 12:21, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2010, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7884

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วิธีแก้ง่วง (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=20355

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2010, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ต.ค. 2010, 08:37
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่มีความง่วง...ในการปฏิบัติธรรม ดิฉันคำภาวนา เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นคำบริกรรม ดิฉันปฏิบัติธรรมมาเป็นเวลา 2ปีกว่าไ้ด้แล้วค่ะ แต่ ณ ปัจจุบันอาการง่วงก็น้อยลง หากเกิดอาการง่วงก็รู้ให้ว่าง่วง แต่อย่าไปตามมันเท่านั้น อย่าตามอาการง่วงจะช่วยได้นิดหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2010, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: กายกับจิตนี่มันเนื่องกัน อย่าพยายามไปพูดเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ความง่วงเป็นนิวรณ์(เครื่งกั้นจิตตัวหนึ่ง)ที่เป็นอุปสรรคของการทำสมาธิ สาเหตอาจเกิดจากกายหรือจิตก็ได้ พระพุทธองค์ทรงตรัสเรื่องความง่วง และการแก้ไขความง่วงไว้มาก อันนี่เป็นเรื่องทางกาย เช่นทำงานหนัก นอนน้อยไป อันนี้ร่างกายมันต้องการพักผ่อน การทำจิตให้ตื่นรู้ก็อาจช่วยได้บ้างเช่นเปลี่ยนอิริยาบทมาเดินจงกรม การลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ การล้างหน้าด้วยน้ำเย็นๆ แล้วลองกับไปนั่งใหม่ (นี่พูดถึงกำหนดจิตถูกต้อง) แล้วยังง่วงอีก ทรงตรัสว่าให้นอนเสียและกำหนดจิตไว้ว่าจะตื่นขึ้นมาอีกเมื่อไร ว่ากันใหม่วันพรุ่งนี้ ส่วนความง่วงทางกายอีกแบบ แบบนี้เป็นพวกติดนอน นอนมากจนเป็นนิสัย ถ้าไม่ได้เป็นโรคทางกายที่ต้องการพักผ่อนมากๆเช่นไทรอยส์ ร่างกายปกติดีอยู่ ต้องฝึกการนอนใหม่กันทีเดียวคือนอนให้พอดีไม่มาก-ไม่น้อยเกินไป จนเป็นนิสัย แล้วค่อยมาฝึกทำสมาธิ
.........ส่วนความง่วงที่เกิดขึ้นทางจิตนั้น เกิดขึ้นจากหลายองค์ประกอบ เช่นสถานที่ อากาศ อาหารต้องสัปปายะ(กำลังพอดี )เช่นอากาศเย็นสบายเกินไป ก็ง่วงได้ อากาศร้อนเกินไปสมาธิตั้งขึ้นไม่ได้ อาหารน้อยเกินไปเกิดเวทนาคือหิวสมาธิตั้งขึ้นไม่ได้ อาหารอิ่มเกินไปก็ง่วงอีก สถานที่เอะอะพลุกพล่านสมาธิไม่เกิด สถานที่เงียบสงบเป็นสถานที่สัปปายะเป็นต้น ต้องเลือกให้เหมาะ อีกอย่างที่สำคัญที่สุดคือการทำใจให้แยบคาย (รู้ทันเครื่องกั้นจิตและนิวรณ์ต่างๆ แก้และกันไว้ก่อน) กำหนดจิตให้ตื่นรู้และให้ตรงกับตัวกำหนด(ตัววิตกขององค์ฌาณ)หรือตัวภาวนา สมมุติกำหนดตัวภาวนาว่าพุทธขณะหายใจเข้า และคำว่าโธขณะหายใจออก อันนี้สำคัญ ต้องเอาจิตไปแตะไว้กับต้นลมหายใจ แตะหมายถึงเบาๆไม่กดเค้นเมื่อเริ่มหายใจเข้า จิตที่แตะอยู้กับต้นลมก็ตามลมหายใจเข้าไปจนสุดแล้วหยุดเมื่อสุดปลายลม เมื่อเริ่มหายใจออกจิตอยู่ที่ปลายลมแตะปลายลมไว้เคลื่อนตามปลายลมออกมาพอลมออกพ้นปลายจมูกจนหมดจิตอยู่ที่ปลายลมอยู่แล้วก็มาหยุดรอที่ปลายจมูกพอดีเพื่อรอแตะต้นลมตามลมหายใจเข้าในจังหวะต่อไป เนื่องกันไปอย่างนี้ไม่ขาดสาย ถ้าจิตแตะอยู่อย่างนี้ตลอดกับการเคลื่อนไหวเข้าออกของลมโดยไม่คลาดเคลื่อน เหมือนฟองน้ำไหลตามกระแสน้ำ ไม่มีน้ำหนักกด(บังคับกดเค้นจิต) ไม่เร็ว-ไม่ช้าไปกว่าน้ำ สมาธิก็จะเริ่มตั้งขึ้นแล้วก็จะได้รู้ได้เห็นอะไรดีๆ แต่ถ้ากดบังคับจิตอาการปวดศีรษะก็จะตามมา และถ้าตามลมไม่ทัน(จิตช้ากว่าลม)อันนี้คือคำตอบ ความง่วงที่ถามก็จะเกิดขึ้น หรือบางครั้งไม่ง่วงจิตตกเข้าไปในภวังค์ ไม่ได้หลับ แต้ไม่รู้เรื่องอะไรเลยเมื่อออกจากสมาธิเหมือนคนพึ่งตื่นนอน วันนี้เจโตวิมุติพูดมากไปแล้ว แต่คงไม่สับสนนะ ....เจริญในธรรม/เจโตวิมุติ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2010, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถามว่า ความง่วงนั้นเกิดจากอะไรกันแน่นะ?
จากธาตุ4 ขันธ์5 หรือเปล่า
จากจิตเราเองหรือเปล่า
บางครั้งก็คิดว่าเกิดจากขันธ์ 5


คุณหัสพลเบื่ออคำถาม-ตอบไหมครับ ถ้าไม่เบื่อจะสนทนาด้วย :b1: :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 16 ต.ค. 2010, 19:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า ความง่วงเกิดจากอะไรกันแน่ ?

ตอบ...ง่วงเกิดจากกิเลสนิวรณ์ตัวหนึ่งชื่อถีนมิทธะ เป็นอกุศลเจตสิก ซึ่งก็เกิดกับอกุศลจิต

ศึกษาสภาวะของนิวรณ์ทั้งหมดที่นี่ครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 54#msg1854

การแก้ปัญหามีทั้งแก้ที่ต้นเหตุและแก้ที่ปลายเหตุ แก้ที่ปลายเหตุก็ตามที่ว่าๆกันโดยทั่วไปนั่น คือ ลุกขึ้นเดินสะบ้าง นอนสะบ้าง เอาน้ำล้างหน้าบ้าง ใช้คัตเตอร์บัตปั่นหูบ้าง ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่าแก้ที่ปลายเหตุ เหมือนเราตัดหญ้าแต่ยังมิได้ขุดรากขึ้น มันก็งอกอีกในไม่ช้า

ส่วนการแก้ที่ต้นเหตุก็คือแก้จากภายในเลย คือว่า กำจัดตัวมันเลย อันนี้ยากพอสมควร แต่ไม่เกินวิสัยมนุษย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2010, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 23:17
โพสต์: 257

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประเภทธรรมะ
ชื่อเล่น: หยุย
อายุ: 0
ที่อยู่: ห้วยขวาง

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทกๆท่านที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันเข้ามาครับ แบบนี้บ่งบอกว่าไม่นิ่งดูดายถ้าเห็นใครมีทุกข์
ทุกท่านก็พร้อมที่จะข่วยคลายทุกข์ได้ทันทีที่มีโอกาสและเวลา และสุดท้ายก็คือมีเมตตานั่นเองครับ
ถึงผมไม่อวยพรให้แต่ทุกท่านก็ได้พรที่ประเสริฐแน่นอนนั่นก็คือ "ปัญญา"เพราะท่านให้ปัญญา
ท่านก็ต้องได้ปัญญาเพิ่มขึ้น อนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
ทุกอย่างไม่ควรยึดถือ
อกุศลน้อยนิด อย่าคิดทำ
กุศลน้อยนิด ให้คิดทำ
ทำกุศลวันละนิด ดีกว่าคิดที่จะทำ

พระพุทธองค์ยังถูกนินทา
ประชาชนธรรมดามีหรือจะหนีพ้น

ไม่อยากทุกข์แต่ก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่เรียนรู้ทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2010, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีธรรมะอยู่หมวดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความต้องการพื้นฐาน ๑๐ ประการที่เนื่องด้วยกายอันเป็นไปตามธรรมชาติ (กายานุคตธรรม) ซึ่งการนอนก็รวมอยู่ในนั้นด้วย ได้แก่ :b48: :b46: :b47:

(๑) สีต เย็น (๒) อุณฺห ร้อน (๓) ชิฆจฺฉา หิว (๔) ปิปาส กระหาย (๕) อุจฺจาร ถ่ายหนัก (๖) ปสฺสาว ถ่ายเบา (๗) ถีนมิทฺธ การหลับนอน (๘) ชรา แก่ (๙) พยาธิ เจ็บไข้ ได้ป่วย (๑๐) มรณ ตาย

(ปล. จะเห็นว่า คติทางพุธ ไม่รวมการสืบพันธุ์เข้าเป็นความต้องการพื้นฐานทางธรรมชาติของกายด้วยนะครับ ซึ่งประเด็นนี้มีแง่มุมที่น่าสังเกตและเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติอีกหลายแง่มุม)

ถึงแม้ว่าจะมีที่มาจากคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ได้มาโดยตรงจากพระไตรปิฎก แต่ถ้าพิจารณาโดยแยบคายแล้วนะครับ (โยนิโสมนสิการ) จะเห็นว่า ทั้งสิบประการนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งในทางปฏิบัติ คือ ถ้าจะจัดเตรียมทั้ง ๑๐ ประการนี้ให้แก่ร่างกายแล้ว ต้องตั้งอยู่บนทางสายกลาง ถ้าไม่พอเหมาะพอดี ก็จะเหวี่ยงออกไปในทางสุดโต่งไม่ว่าทางสุขเกินไป (กามสุขัลลิกานุโยค) ก็ทรมานตนเองเกินไป (อัตตกิลมัตถานุโยค) :b46: :b46: :b46:

การนอนก็เช่นกันครับ ถ้าร่างกายอ่อนล้าเต็มที่ก็จะเกิดการง่วง ซึ่งเป็นความต้องการการพักผ่อนตามธรรมชาติของร่างกายเขาเอง ไม่ใช่กิเลสในนิวรณ์ ๕ :b1: :b44:

แต่ถ้าร่างกายยังไม่อ่อนล้าเต็มที่หรือพักผ่อนมาเพียงพอแล้ว แต่เกิดอาการง่วง อยากนอน อาการอย่างนี้เราเรียกว่า "ขี้เกียจ" นะครับ ซึ่งเป็นอาการของจิต (หดหู่ ง่วงเหงา ได้แก่ ถีนะ & มิทธะเจตสิก) และเป็นกิเลสตัวหนึ่งในนิวรณ์ ๕ ที่ส่งผลให้กายออกอาการเฉื่อยแฉะ และมักจะเป็นเมื่อตื่นนอนตอนเช้าของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และมากขึ้นในเช้าวันเสาร์และอาทิตย์ :b30: :b30:

หรือหลังจากทานอาหารเที่ยงจนหนังท้องตึงแล้วต้องเข้าประชุมที่ยาวยืดยาดในตอนบ่าย :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2010, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนอาการง่วงนอนขณะนั่งสมาธิ ถ้าไม่ได้เกิดจากการที่ร่างกายต้องการพักผ่อนแล้ว บางครั้ง (จากประสบการณ์นะครับ) อาจเกิดจากการฝึกที่ข้ามขั้นตอนไป :b46: :b46: :b46:

เช่น ถ้าฝึกด้วยลมหายใจแบบอานาปานสติ ท่านให้หายใจยาวก่อนหายใจสั้น เนื่องด้วย (ตามเหตุผลทางวิทยาศาสตร์นะครับ ท่านไม่ได้บอกไว้ในพระไตรปิฎก :b6: :b9: ) ต้องการให้ร่างกายได้รับออกซิเจนให้เต็มที่ก่อน เพราะก่อนจะลงนั่งคู้ขา อาจจะพึ่งเดินมา (ไปสู่ป่า, ไปสู่โคนไม้, ไปสู่เรือนว่าง ก่อนที่จะให้นั่งคู้ขาตามข้อความที่ปรากฏในอานาปานสติสูตร) :b39: :b39: :b46: :b46:

ซึ่งพอนั่งคู้ขาปุ๊ป ร่างกายพึ่งจะผ่านการเร่ง metabolism และเซลต่างๆยังต้องการออกซิเจนสูงอยู่ ถ้าขืนหายใจสั้นเลย จะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงเซล โดยเฉพาะเซลสมองได้ไม่เต็มที่ นั่งสมาธิไปซักพักก็จะเกิดอาการง่วงซึม ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ โดยที่ไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจแต่อย่างใด :b37: :b38: :b39:

ส่วนอีกสาเหตุหนึ่ง (ซึ่งมาจากประสบการณ์เหมือนกัน) พอจะอธิบายได้ว่า ในการนั่งสมาธินั้นจะทำให้เกิดความสงบ ซึ่งเป็นเหตุใกล้ให้เกิดความสุข ความสบาย (และความสุข ความสบาย (สัปปายะ) ก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ แต่เป็นคนละสุขในองค์ฌานนะครับ ซึ่งในฌานนั้น ไม่มีความง่วงและนิวรณ์ตัวอื่นๆแล้ว) :b46: :b46: :b46:

คราวนี้พอสุขพอสบายได้ที่ ความง่วงซึมอาจเข้ามาแทรกได้ โดยเฉพาะในขณะนอนสมาธิ ซึ่งเป็นอิริยาบถที่มีความสบาย (กาย) อยู่แล้วในตัว :b30: :b30:

ดังนั้น จากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว วิธีป้องกันอาการง่วงนอนที่ไม่เนื่องด้วยความล้าของกายขณะเริ่มทำสมาธิ ให้เริ่มด้วยอิริยาบถที่สบายพอดี แต่ไม่สบายเกินไปจนเกิดความขี้เกียจได้ (เช่น ถ้าจะนอนสมาธิ ก็ต้องใช้อิริยาบถสีหไสยาสน์ ไม่ใช่หมอนข้างไสยาสน์ :b30: ) :b46: :b51: :b48:

หายใจออกและเข้าที่ยาวก่อนเพื่อให้ร่างกายมีออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยง เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้วการหายใจจะสั้นลงเองตามความต้องการออกซิเจนที่ลดลง :b8: :b45: :b45:

จากนั้น ให้กำหนดจิตอยู่ที่การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ (วิตก ซึ่งเป็นองค์ฌานที่ข่มความหดหู่เซื่องซึม คือถีนมิทธนิวรณ์โดยตรง) ให้แนบแน่นเข้าไว้อย่าให้หลุดตกภวังค์ เช่น วันไหนเริ่มออกอาการง่วงก็ให้พุทธโธเร็วๆ ฯลฯ :b47: :b48: :b39:

ตรงนี้อาจใช้กสิณที่เนื่องด้วยความสว่างหรือดวงแก้ว (อาโลกสิณ :b39: :b39: :b39: ) เพื่อช่วยข่มความง่วงอีกทางเป็นสองแรงบวก จนจิตเคล้าเคลียกับอารมณ์ดีแล้ว (วิจาร) ความง่วงที่เป็นนิวรณ์กิเลสก็จะถูกกดข่มไปได้เองครับ :b39: :b39: :b18:

ส่วนการแก้ไขเมื่อเกิดความง่วงที่เป็นอุปสรรคกับความเพียรขึ้นแล้ว วิธีการ ๘ ขั้นตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำพระโมคัลลานะ ตาม post ของคุณสาวิกาน้อย เป็นวิธีที่แยบคายที่สุดแล้วครับ (โดยเฉพาะข้อสุดท้ายที่แก้ง่วงได้ชะงัดที่สุด พิสูจน์มาแล้วจนเห็นแจ้งด้วยตนเองครับ :b13: :b13: :b4: )

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เดินให้มาก กินให้น้อย หรือ
เดินอย่างเดียว กินให้น้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



แล้วแต่จะให้ค่านะ ให้ค่ามากเท่าไหร่ ก็ค้นหาเหตุมากเท่านั้น
และให้ค่าต่อความคิดที่เกิดขึ้น

จริงๆแล้ว แค่รู้พอ รู้ว่าง่วง ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น
ทุกๆอย่างล้วนไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน

กิเลสความอยากตัวนี้มันเนียนนะ
มันแทรกมาในความเพียร ตัวสภาวะจะมาทดสอบตลอดเวลา

เดินมากก็ง่วงได้

เดินน้อยก็ง่วงได้

นั่งมากก็ง่วงได้

นั่งน้อยก็ง่วงได้

กินมากก็ง่วงได้

กินน้อยก็ง่วงได้

ไม่มีอะไรเที่ยง ง่วงมั่ง ไม่ง่วงมั่ง จะไปเอาอะไรกับสภาวะ
เพียงทำตามความเป็นจริง ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น มากน้อยไม่ใช่ตัววัดผล
เพราะเหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร