วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2010, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า ธรรมข้อใด? ที่ทำให้เข้าถึงไตรสรณะคมน์ได้ง่ายที่สุด
ขอความเห็นของแต่ละท่าน ไม่มีคำเฉลยนะค่ะ สาธุคะ :b16: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2010, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


การรักษาศีล

ก่อนอื่นเราต้องมี "ศรัทธา" ศรัทธา ไม่ดี คือเบื้องต้นไม่ดีแล้ว ตอนปลายตอนที่สุดมันก็เหลวไหลหมด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หากเราเชื่อมั่นแล้วมีหลักประกันในตัว

เชื่อมั่นที่มีหลักประกันนั้นน่ะเป็นอย่างไร? เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม เราทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตนเองทำตนเองได้รับ อันนั้นแหละจึงว่าเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม ไม่ใช่คนอื่นหรือสิ่งอื่นมารับแทน หรือคนอื่นให้ เรานั่นแหละเป็นคนให้เอง เป็นคนได้รับเอง เรามั่นคงในใจอย่างที่อธิบายมาเบื้องต้น เชื่อมั่นในกายในใจของเรา เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมว่าทำดี ได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ศีลเข้ามาในตัวเลย ความชั่วเป็นการผิดศีล ความดีเป็นการมีศีล นั่นแหละเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม มันเนื่องมาถึงศีล ข้อใดๆของศีลทั้งปวงหมด ไม่สามารถล่วงเกินได้เลย มันมั่นคงลงไปแล้ว จะประพฤติกาย วาจา ใจ ด้วยประการต่างๆ มันเชื่อมั่นอย่างนั้นแล้ว ไม่สามารถจะล่วงละเมิดในศีลข้อนั้นๆได้

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2010, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ธ.ค. 2010, 14:56
โพสต์: 122

โฮมเพจ: chanachai20102553@gmail.com
แนวปฏิบัติ: ค้นหาธรรมของพุทธเจ้า
งานอดิเรก: มองธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่ม
ชื่อเล่น: แค่นามสมมุติ
อายุ: 32

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ดูก่อนท่านทั้งหลาย..............................

ธรรม ใดถ้า ไม่พึงทำ ก็เข้าไม่ถึง ธรรม
ทำใดถ้าพึง กระทำ ก็เข้าถึง ธรรม


ขอให้ทุกท่านเจริญฯในธรรมเทอญ.....................

.....................................................
เราจักขออำนาจบุญกุศลที่ตัวเราได้กระทำไว้ในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต
จงแผ่อำนาจแห่งบุญกุศลทั้งหลายไปสู่ทั่วทั้งสากลโลก ทั้ง16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน วิญญาณที่มีรูป และ ไม่มีรูป ทั่วทั้งทุกอณูใน 3 โลกจงได้รับแห่งบุญกุศลที่เราได้จักกระทำไว้ด้วยเทอญ สาธุ.................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2010, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรัทธา ต้องมาก่อน เพราะทุกศาสนาต้องมีศรัทธา จึงจะปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา
เมื่อมีศรัทธาความเชื่อแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ตามมาเองแหละ

การเข้าถึงพระรัตนะตรัย จึงต้องมีศรัทธาเป็นองค์นำ :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 03:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ถามว่า ธรรมข้อใด? ที่ทำให้เข้าถึงไตรสรณะคมน์ได้ง่ายที่สุด
ขอความเห็นของแต่ละท่าน ไม่มีคำเฉลยนะค่ะ สาธุคะ :b16: :b8:

:b12: :b12:
ความเห็นส่วนตัวนะครับ..ว่า

ต้องเห็นสัจจธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน..ว่าเป็นเรื่องจริง..ด้วยใจที่เห็นจริง

บางท่าน..อาจจะพิจารณาเห็นว่า...ทุกชีวิตมีชีวิตไม่แน่แต่มีความตายเป็นของแน่
บางท่าน..อาจพิจารณาเห็นว่า...โลกนี้มีแต่ทุกข์ทั้งนั้นที่ตั้งอยู่..ไม่มีสุขจริงอยู่ในโลกนี้เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 12:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2010, 21:09
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


มีธรรมเพียงข้อเดียว คือ "ลงมือทำ"ด้วย "ศรัทธา"

ขอให้ทุกท่านตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเถิด.....

สาธุ..... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ถามว่า ธรรมข้อใด? ที่ทำให้เข้าถึงไตรสรณะคมน์ได้ง่ายที่สุด
ขอความเห็นของแต่ละท่าน ไม่มีคำเฉลยนะค่ะ สาธุคะ :b16: :b8:

สวัสดี คุณจันทร์เพ็ญ

การเข้าถึงไตรสรณะคมน์ คือมีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ที่อาศัย
ในความเห็น เช่นนั้น จำต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน

สำหรับผู้ที่ขาดที่พึ่ง หรือกำลังหาที่พึ่ง จำต้องอาศัย สัทธินทรีย์ คือศรัทธา เป็นใหญ่ ปลุกเร้ากำลังศรัทธาให้สัทธาพละมีความมั่นคงเข้มแข็ง พอที่น้อมนำเอาคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาปฏิบัติด้วยความเคารพ

ในกาลต่อมา ...
ลำพังสัทธา ก็ไม่อาจเข้าถึงพระธรรมอันลึกซึ้งได้ กำลังของธรรมที่จะให้เข้าถึง คือ "ฉันทะ"
การปลุกเร้ากุศลทั้งหลาย เพื่อเข้าถึงไตรสรณะคมม์ ในที่สุดต้องอาศัยฉันทะเป็นมูลเป็นรากเหง้า
การเจริญภาวนา หรือการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงไตรสรณะอันเป็นวิถีแห่งความรู้แจ้ง ย่อมเดินหน้าต่อไปได้

เจริญในธรรมยิ่งขึ้นไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีค่ะ คุณจันทร์เพ็ญ

ไตรสรณคมน์ หมายถึง การน้อมกาย วาจา ใจ นำพระรัตนตรัยเข้าไปไว้ในตนเพื่อเป็นที่ระลึก
ที่ยึดถือ ที่พึ่งตลอดไป

การจะเกิดภาวะการเข้าถึงได้นั้นต้องอาศัย "ศรัทธา" โดยการนำตัวเองเข้าใกล้กับผู้มีคุณธรรมสูง
สนทนาธรรมกับผู้รู้ธรรม หรือพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัย เชื่อในบาปบุญเป็นต้น
เมื่อศรัทธาเกิดคุณก็จะน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติและถ้าปฏิบัติจนได้ผลบังเกิดกับตัวคุณแล้ว
ความเลื่อมใสศรัทธา ก็จะเกิด แต่ศรัทธาตัวนี้จะเป็นศรัทธาในพระธรรมคำสอน
ของพระพุทธเจ้าว่า "เป็นที่พี่ง" ให้กับคุณได้จริง (ปัจจัตตัง)
ซึ่งศรัทธาตัวหลังนี่แหละที่จะทำให้คุณนำพระรัตนตรัยไปเป็นสรณะตลอดไป
ขอเจริญในธรรม

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การเข้าถึงไตรสรณะคมน์ คือมีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ที่อาศัย
ในความเห็น เช่นนั้น จำต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน

สำหรับผู้ที่ขาดที่พึ่ง หรือกำลังหาที่พึ่ง จำต้องอาศัย สัทธินทรีย์ คือศรัทธา เป็นใหญ่ ปลุกเร้ากำลังศรัทธาให้สัทธาพละมีความมั่นคงเข้มแข็ง พอที่น้อมนำเอาคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาปฏิบัติด้วยความเคารพ

ในกาลต่อมา ...
ลำพังสัทธา ก็ไม่อาจเข้าถึงพระธรรมอันลึกซึ้งได้ กำลังของธรรมที่จะให้เข้าถึง คือ "ฉันทะ"
การปลุกเร้ากุศลทั้งหลาย เพื่อเข้าถึงไตรสรณะคมม์ ในที่สุดต้องอาศัยฉันทะเป็นมูลเป็นรากเหง้า
การเจริญภาวนา หรือการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงไตรสรณะอันเป็นวิถีแห่งความรู้แจ้ง ย่อมเดินหน้าต่อไปได้


สำหรับผมมีทรรศนะ คือ ความเห็นต่าง ว่าไม่ได้แยกออกเป็น ๒ ส่วน แต่ต้องรวมคำว่า "ศรัทธา + ฉันทะ" เข้าเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน คือ.....

มีธรรมะประโยคหนึ่งเรียกว่าอินทรีย์ ๕ หรือ พละ ๕ ในอินทรี ๕ หรือพละ ๕

..... ในอันดับแรกคือต้องมี ศรัทธา คนปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน หรือ ทำอะไรก็แล้วแต่ถ้าไม่มีศรัทธาก็ลำบากที่จะทำ ศรัทธาตัวนี้หมายถึงความรักก็ได้เป็นกลุ่มก้อนเดียวกันกับฉันทะคือความพอใจ เป็นกลุ่มก้อนเดียวกับความเชื่อ และความเชื่อความศรัทธาก็คือความรักความพอใจ

..... และศรัทธาตัวนี้ถ้ามีกับใครมากเกินไป ก็จะทำให้คนนั้นกลายเป็นคนโง่ คนหลงงมงายและเชื่ออะไรง่าย ศรัทธาตัวเดียวไม่ได้ทำให้เราเข้าถึงความหมายแห่งความเป็นจริง เพราะฉะนั้นศรัทธาต้องประกอบไปด้วยปัญญา ในหลักของอินทรีย์ ๕ หรือ

............... พละ ๕ มีข้อปฏิบัติธรรม ๕ อย่างคือ
.......... (๑) ต้องมีศรัทธา
.......... (๒) ต้องมีความเพียร คือวิริยะ
.......... (๓) ต้องมีสติ
.......... (๔) ต้องมีสมาธิ
.......... (๕) ต้องมีปัญญา

..... โดยปกติเราเข้าใจกันว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นไปตามขั้นบันได คือ ทำข้อ ๑, ๒, ๓, ๔, และ ๕ เป็นไปตามขั้นตอน แต่ข้อเท็จจริงแล้วไม่ใช่ ในหลักของอินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕ ต้องปฏิบัติธรรมข้อ ๑ แล้วข้ามไปรวมกับข้อ ๕ คือปัญญา เราต้องเอาปัญญามารวมอยู่กับศรัทธา จึงจะเป็นพละ หรือกำลัง พละ คือ กำลังของบุคคลผู้กระทำ ทำอะไร พูดอะไร คิดอะไรให้ได้ประสบความสำเร็จ เพราะฉะ นั้นการเจริญสติปัฏฐานท่านต้องมีกำลัง กำลังแรกคือศรัทธา ศรัทธาในการปฏิบัติ เมื่อศรัทธาก็ต้องดิ้นรนขวนขวายให้ได้มาซึ่งศรัทธาอันสมบูรณ์บริสุทธิ์ หน้าที่ของเราคือต้องพัฒนาปัญญาที่มีนี้ให้กลายเป็นปัญญาอันสูงสุดเป็นปัญญาเพื่อความหลุดพ้น

ในหลักพละ ๕ อย่างต้องมีศรัทธาเป็นตัวนำและตามไปด้วยปัญญา แต่คนมีปัญญามาก ถามว่าทำอะไรสำเร็จไหม คนมีปัญญามากๆ มักจะทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ถามว่าเพราะอะไร เพราะมีแต่ปัญญาอย่างเดียว และเป็นปัญญาที่ตามมาแต่อดีต พวกนี้ปกติจะเป็นคนสำรวย รักสวยรักงาม เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ หาความสำเร็จเป็นสูตรในชีวิตด้วยการคิดอย่างเดียว พวกนี้จะเป็นคนที่รู้หมดทุกเรื่อง ดีก็รู้ ชั่วก็รู้ แต่ถามว่าทำได้ไหม พวกนี้จะทำไม่ได้ ทำไม่ได้เพราะพวกนี้จะขาดความอดทน พวกมีปัญญาจะไม่ค่อยมีความอดทน พวกที่รุ่งเรืองปัญญาพวกนี้เขาเรียกว่าพุทธิจริต พวกนี้จะไม่ค่อยมีความอดทนอะไร

..... เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงบอกว่าปัญญาจะต้องอยู่กับความเชื่อ ความศรัทธามันจึงจะเป็นกำลังของกันและกัน นอกจากมีปัญญา มีความเชื่อแล้วต้องมีวิริยะในข้อ ๒ คือความเพียร คนมีความเพียรอย่างเดียวก็ไม่ได้เพราะจะกลายเป็นคนโง่ เช่นเดียวกับควาย ที่ถูกคนใช้งานใช้ให้ทำอะไรมันก็จะทำไปเรื่อย ไม่รู้ว่าที่ทำไปนั้นถูกหรือผิด อย่างนี้เรียกว่ามีความเพียรอย่างเดียว ซึ่งมีความเพียรอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องมีศรัทธา มีปัญญาและมีความเพียร แต่ความเพียรต้องใช้กับสมาธิ ซึ่งอยู่ในข้อ ๔ ฉะนั้นข้อ ๒จะต้องใช้ควบคู่ไปกับข้อ ๔ คือความเพียรประกอบไปด้วยสมาธิ เพราะคนมีความเพียรจะหยุดนิ่งไม่ได้ต้องกระตือรือล้น ตะเกียกตะกายไปข้างหน้า ชีวิตจะต้องไม่ยืนอยู่กับที่คนพวกนี้จะคิดอย่างนั้น

..... พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าถ้าเป็นอย่างนี้จะทำให้พวกนี้ไม่มีความสุข ถ้าอยากมีความสุข เมื่อมีความเพียรต้องมีความสงบด้วย ต้องรู้จักว่าเวลาใดควรสงบ และเวลาใดควรเคลื่อนไหว เมื่อรู้จักทำอย่างนี้ชีวิตจึงจะมีความสุข ฉะนั้นความเพียรจะใช้ตัวเดียวโดดๆไม่ได้ต้องมีองค์ประกอบของความเพียรเป็นเครื่องหยุดยั้งไม่ให้ความเพียรโลดแล่นเหมือนม้า หรือโคถึกที่วิ่งโลดแล่นออกนอกถนน ผลที่สุดโดนรถชนตาย เปรียบเหมือนคนขับรถที่ไม่มีเบรค เพราะฉะนั้นสมาธิคือตัวเบรค เบรคความเพียรเอาไว้บ้างเพื่อความปลอดภัย เมื่อไดปัญญาคู่กับศรัทธา ความเพียรคู่กับสมาธิแล้ว เหลือตัวกลางคือสติ สติมีไว้ทำอะไร คำตอบก็คือสติมีเอาไว้ทำหน้าที่ควบคุมศรัทธากับปัญญา และ ความเพียรกับสมาธิ ให้ได้สมดุลกัน

..... เพราะฉะนั้นสติจึงอยู่ตรงกลางรักษาดุลถ่วง ๒ข้างไว้ให้สมดุลกัน สติจึงไม่ใช่ตัวสงบ สติคือตัวรู้ ตัวที่สงบคือสมาธิ ถ้าสติไม่รู้จะทำหน้าที่คุมปัญญาและศรัทธาไม่ได้ และถ้าสติไม่รู้ จะทำหน้าที่ควบคุมความเพียร และความสงบคือสมาธิก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นสติคือตัวรู้คอยทำหน้าที่ควบคุมเป็นตัวรักษาดุลถ่วงของโลกและสังคม รักษาดุลถ่วงของสภาวะธรรม สภาวะจิต สภาวะกาย และสภาวะใจ

..... ฉะนั้น สติ คือ ตัวรู้ สติ คือ ผู้รู้ รู้อะไร รู้ว่าขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่กำลังนั่งอยู่ รู้ว่ากำลังนั่งพับเพียบหรือกำลังนั่งขัดสมาธิ รู้ว่าลำตัวตั้งตรงหรือว่าลำตัวกำลังงอ รู้ว่าลำตัวเอียงไปทางซ้ายหรือเอียงไปทางขวา หรือรู้ว่าลำตัวเป็นแนวดิ่งกับพื้นคือลำตัวตั้งตรง รู้ว่าแขนวางอยู่ข้างหน้าหรือวางอยู่ข้างๆ รู้ว่าคอตั้งตรง หรือเอียงไปทางซ้าย หรือเอียงมาทางขวา รู้ว่ากำลังก้มหน้าหรือกำลังเงยหน้า รู้ว่ากำลังหลับตาหรือกำลังลืมตา และรู้ว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก รู้ว่าอาการใดๆเกิดขึ้นกับกายนี้ เช่น ความปวดเมื่อย สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ แต่เฉยๆ รู้ว่าเรากำลังมีเครื่องปรุงจิต คือมีความโกรธแล้วจึงหายใจ หรือรู้ว่าไม่มีเครื่องปรุงจิตคือไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง จิตว่างๆ เรียกว่าเป็น "ปิติจิต" อาการรู้สภาวะตามความเป็นจริงอย่างนี้เรียกว่ามีสติพิจารณากายในกาย รู้ว่าเราสุข รู้ว่าเรากำลังทุกข์ รู้ว่าปวด รู้ว่าเมื่อย หรือไม่ปวดไม่เมื่อย เฉยๆ เรียกว่ามีสติพิจารณาเวทนาในเวทนา รู้ว่าจิตปรากฏความโกรธหรือไม่ปรากฏความโกรธ หลง หรือไม่หลง รักหรือไม่รัก ชอบหรือชัง ยอมรับหรือปฏิเสธ เรียกว่าจิตตานุปัสนา รู้จิตในจิต รู้ว่ากำลังฟังเสียงอยู่ เป็นเสียงแห่งการบอกกล่าวเล่าขานถึงประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม รู้และเข้าใจในเสียงนั้น ฟังเสียงนั้นแล้วชุ่มฉ่ำใจ เป็นธรรมานุปัสนา รู้ธรรมในธรรม ครบองค์ประกอบมหาสติปัฏฐานสูตร คือมีสติรู้ตามความเป็นจริง การรู้อย่างนี้ได้ประโยชน์อะไร เมื่อเรารู้แล้วว่าอะไรควรต่อจิตรับ อะไรไม่ควรที่จิตนี้จะรับ เราก็จะกำจัดมลภาวะหรือศรัทตรูแห่งจิต เมื่อศรัทตรูและมลภาวะแห่งจิตนี้หายไป จิตก็จะบริสุทธิ์ผ่องใสเรียกว่าประภัสสร จิตนี้จะปล่อยวางจากเครื่องปรุงและเครื่องร้อยรัดทั้งปวง จิตนี้จะไม่มีเครื่องปรุงแต่งใดๆทำให้กระเพื่อมทั้งภายในและภายนอก จิตนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปโดยสันติ จิตดวงใหม่เกิดขึ้นก็มีสติกำหราบ คอยบังคับควบคุมการรู้ของจิต อาการรู้ของจิตและกำจัดสภาวะหรือมลภาวะใดๆได้ นั่นคือที่มาของสมาธิ คือความสงบ

..... ทุกคนได้รู้จักสติแล้ว สำคัญอยู่ที่วิธีใช้ ใช้อย่างไร ใช้ทุกโอกาสที่มีลมหายใจเข้าออก ถ้าเรามีสติ ใครจะด่าเรา เราจะไม่รู้สึกเจ็บ ใครจะชมเรา เราจะไม่รู้สึกลำพอง ผยองตัว ไม่ว่าคำด่าหรือคำชม

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงนะค่ะ สาธุ ๆ ๆ :b8: :b35:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue ถามว่า ธรรมข้อใด? ที่ทำให้เข้าถึงไตรสรณะคมน์ได้ง่ายที่สุด
ขอความเห็นของแต่ละท่าน ไม่มีคำเฉลยนะค่ะ สาธุคะ

จงเอาปัญญานำหน้า
เรียนรู้ให้ถูกต้องเสียก่อนว่า
1.พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้ามีอย่างไรบ้าง
2.ธรรมคุณ คุณของพระธรรมมีอย่างไรบ้าง
3.สังฆคุณ คุณของพระสงฆ์มีอย่างไรบ้าง

หลังจากที่รู้ถูกต้องโดยสุตตมยปัญญาแล้ว จินตมยปัญญาจะไคร่ครวญ คิด พิจารณา เปรียบเทียบ จนเห็นจริงด้วยปัญญาคิดนึก ศรัทธาจะเกิด ถึงตอนนี้ ไตรสรณาคม เริ่มจะเกิดขึ้นบ้างแล้ว

แต่ถ้าจะให้ ถึง ไตรสรณะคมน์ ด้วยใจจริงๆ ต้องลงมือปฏิบัติ ลงมือพิสูจน์ธรรม ลงมือเจริญวิปัสสนาภาวนา เมื่อได้สัมผัสสภาวธรรมจริงๆแล้ว จึงจะซึ้งและเข้าถึงไตรสรณะคมน์ แต่จะถึงอย่างแท้จริงเมื่อ โสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นแล้วในจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ดู่เล่าเกี่ยวกับ ไตรสรณคมน์

ถ้าจะวิเคราะห์ถึงคำภาวนานี้แล้ว ไตรสรณคมน์มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณคือ ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ได้มีพุทธานุภาพให้พระสาวกทำการบวชกุลบุตรได้ โดยการเปล่งวาจาระลึกถึง ไตรสรณคมน์ แล้วก็เป็นภิกษุได้อย่างสมบูรณ์

หลวงปู่เคยถาม สมเด็จพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ฯ ว่า ผู้ที่ภาวนาไตรสรณคมน์เป็นนิจศีล ก่อนตายระลึกถึงไตรสรณคมน์ แล้วจะไปสวรรค์ได้หรือไม่

สมเด็จตอบว่า ได้แน่นอน พร้อมกับยกพระบาลีว่า "เยเกจิ พุทธัง สรณังคตา เสนะ เตคมิสสันติ อบายภูมิ ปหาย มานุสัง เทหัง เทวกายัง ปริปูเรส สันติ" แปลว่า บุคคลบางจำพวก หรือบุคคลใดมาถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ไปอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรก เป็นต้นเมื่อละร่างกายอันเป็นของมนุษย์นี้แล้ว จักไปเป็นหมู่แห่งเทพยดาทั้งหลายดังนี้

ข้อความนี้ อ้างอิงมาจาก สมัยที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์หนุ่ม ๕๐๐ รูป ประทับอยู่ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ เทวดาทั้งหลายพากันมาดูและกราบนมัสการ พร้อมกับกล่าวคาถานี้ มีลูกศิษย์ที่นั่งสมาธิ และเห็นหลวงปู่ทวดท่านกล่าวว่า "ไตรสรณคมน์เป็นรากแก้วของพระศาสนา พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เข้ามาบวชถือเป็นสมมุติสงฆ์ เมื่อแสวงหาสัจธรรมจนบรรลุมรรคผล ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งเรียกว่า พระธรรม พระองค์ได้ พุทโธ คือ ผู้รู้ กลายเป็น พระพุทธเจ้า และเมื่อเทศน์โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้รู้ธรรมตามที่สอน ก็กลายเป็นพระอริยสงฆ์สืบต่อๆ กันมา ทำให้ศาสนาไม่สูญหายไปไหน"

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระเถระองค์สำคัญในยุคปัจจุบัน ท่านกล่าวว่า "สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญ อันตรธานไปไหน ยังปรากฎแก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดมายึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่าหรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้ง ๓ ก็ปรากฎแก่เขาทุกเมื่อ จึงว่าเป็นที่พึ่งแก่บุคคลจริง เมื่อปฏิบัติตามสรณะทั้ง ๓ จริงแล้ว จะคลาดแคล้วจากภัยทั้งหลายอันก่อให้เกิด ความร้อนอกร้อนใจ ได้แน่นอนทีเดียว"

ข้อความนี้ทรงแสดงไว้ใน "อุณหัสสวิชัยสูตร" ที่พระพุทธองค์เทศน์โปรด สุปฐิตะเทพบุตร เมื่อถึงกาลที่จะต้องจุติจากสวรรค์ เพราะหมดบุญ ทรงรู้ด้วยพระญาณว่า เทพบุตรองค์นี้ทำแต่ความชั่ว แต่ก่อนมรณะ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยเพียงชั่วขณะ ทำให้ไปเกิดเป็นเทวดา แต่เมื่อได้ดีแล้วก็ลืมความดี ตั้งหน้าทำแต่สิ่งที่ไร้สาระ ถ้าสิ้นจากชาตินี้ไปแล้ว เธอจะไปเกิดเป็นสัตว์นรกอีกหลายร้อยชาติ ถ้าเราเทศน์เรื่องธรรมจักร เธอจะรับไม่ได้ต้องเทศน์เรื่องนี้ เมื่อสุปฐิตะเทพบุตรฟังเทศน์แล้ว ก็สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ปิดอบายภูมิได้แน่นอน ซึ่งพระสูตรนี้ (อุณหัสสวิชัยสูตร) แปลเป็นไทยว่า "พระธรรมเป็นของยิ่งในโลกทั้งสาม สามารถชนะ ซึ่งความร้อนอกร้อนใจ อันเกิดแต่ภัยต่างๆ (อุณหัสส) จะเว้นจากอันตรายทั้งหลาย ได้แก่ อาชญาของพระราชา เสือสาง นาค ยาพิษ ภูติผีปีศาจ หากว่ายังไม่ถึงกาลที่จักตายแล้ว ก็จะพ้นไปได้ด้วยอำนาจแห่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ตนน้อมเอาเป็นสรณะที่พึ่ง ที่นับถือนั้น" จึงนิยมเอาพระสูตรนี้มาสวดในงานต่ออายุ จนกระทั่งปัจจุบัน

http://www.watthummuangna.com/home/comm ... opic=116.0

อนุโมทนาทุกๆท่านครับ
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ความยินดีในธรรมะ ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ รสแห่งธรรมะ ย่อมชนะรสทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร