วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 06:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


คนละสูตรกัน ไม่ใช่ไม่รู้ครับ ก็ยังมีพระสารีบุตรกล่าวถึงมรรค8ด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ขึ้นชื่อว่าคำของพระพุทธเจ้าย่อมไม่ขัดแย้งกัน

[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ(อ้างอิงมา)


ภิกษุ ท ! สมาธิภาวนา ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่ อย่างคือภิกษุ ท !มีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม(ทิฏฐธมฺมสุขวิหาร).
ภิกษุ ท ! มีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ(ญาณทสฺสนปฏิ
ลาภ). ภิกษุ ท !มีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อสติสัมปชัญญะ (สติสมฺปชญฺญ)
ภิกษุ ท ! มีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ(อาสวกฺขย).

ภิกษุ ท
! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม; นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท !ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่;เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอัน
เอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า

"
เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข" ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ ; เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อนเข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท !นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.


ภิกษุ ท
! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ การได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท !ภิกษุในกรณีนี้ กระทำไว้ในใจซึ่งอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่ากลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น, กลางคืนฉันใด กลางวันฉันนั้น, เธอมีจิตอันเปิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ไม่มีอะไรห่อหุ้ม จิตที่มีแสงสว่างทั่วพร้อมให้เจริญอยู่ ภิกษุ ท !นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.

ภิกษุ ท
! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท ! ในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น (หรือ)ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ; สัญญาเกิดขึ้น (หรือ)ตั้งอยู่ (หรือ)ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ; วิตกเกิดขึ้น (หรือ)ตั้งอยู่ (หรือ)ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุ ท !นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.

ภิกษุ ท
! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นแห่งอาสวะ ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้มีปกติตามเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไป ในอุปทานขันธ์ทั้งห้า ว่า "รูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ; เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ ; สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ; สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ;วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ;ดังนี้. ภิกษุ ท ! นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ.ภิกษุ ท ! เหล่านี้แล คือ สมาธิภาวนา ๔ อย่าง


ลอกมาจาก http://board.palungjit.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 01:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าตรัสว่า

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่่นจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
สมาธิชอบ.

สมาธิชอบคือสัมมาสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 01:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระองค์ไม่ได้ตรัสว่า ท่านทั้งหลายอย่าทำฌาณให้มีกันเลยนะ

อย่าไปอ่านมุมเดียวแบบลวกๆสิ Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสมาธิเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจารมีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป

บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่ ผุ้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ๑ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทาอริยสัจ ฯ

คัดลอกมาจาก
http://www.madchima.org/madchima/index2 ... dge&id=128


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 01:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ธรรมดาแล้วคำขอพระพุทธเจ้าย่อมไม่ขัดแย้งกัน


ไม่มีย่อมครับ ไม่แย้งกันเลย มีแต่พวก จะเอาอะไรที่มันล้วนๆกัน ก็เห็นใส่ความคิดตนต่อท้ายแทนพระสารีบุตรกันไปแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 01:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ก็พวกที่หาปัญญายังไม่เจอ แล้วไปสร้างมโนมติว่า ปัญญาน่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างโน้น อย่างนี้ ตามตรรกปรัญชา หรือ ตามความพอใจไม่พอใจและความหลง ที่เป็นพื้นฐานของปุถุชน



ซุปๆๆๆๆๆเปอร์ mulpong ผู้หาปัญญาเจอแล้ว :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 01:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 01:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
วิเวกอยู่
ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม
เครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติ-
*สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อม
อยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม
เครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ใน
วินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
[๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับ
ปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา
ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบ
ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจาย-
*ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่-
*ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจาย-
*ตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน
ฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญาย-
*ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญาย-
*ตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรม
เครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ




ซุปเปอร์ mul ผู้ หาปัญญาเจอแล้ว อ่านสูตรนี้คงแล้วเข้าใจว่า พระพุทธองค์ ทรงสอนว่าไม่ให้เอาฌาณหรอ :b5: :b5: :b5: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 02:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



[๔๙๗] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ
ซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน การกำหนดธรรม ญาณ
ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานอากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา
วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา ขยานุปัสนา วยานุปัสนา
วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตานุปัสนา สุญญตานุปัสนา
อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสนะ อาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๒๗๖.
วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
อรหัตมรรค ฯ
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ
ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์
๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือ
จักเจริญ ซึ่งวิโมกข์ ๘ บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว ย่อมถึง
หรือจักถึง ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือ
จักแทงตลอด ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว
ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึง
ความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความ
แกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้น
เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๖๗๑๓ - ๖๗๓๓. หน้าที่ ๒๗๕ - ๒๗๖.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=1

:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 02:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตัวทำงานนานหน่อย เดี๋ยวผกก มาทวงบทยังเหลืออีกเป็นสิบๆฉาก แล้วเจอกันนะ ซุปเปอร์ เซเล่อmul.... :b9:

ขอมอบให้กับซุปเปอร์ เซเล่อmul.... โดยเฉพราะครับ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 02:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: จากที่ผมวิเคราะห์ดู สัมมาสมาธิก็ดังพระสูตรข้างต้นที่นำเสนอคือ

:b42: สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจารมีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่ ผุ้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ๑ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทาอริยสัจ ฯ


:b1: แต่สัมมาสมาธิก็ต้องประกอบด้วยเหตุที่ถูกต้อง

:b42: [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
*สมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=1

:b1: แสดงว่าสัมมาสมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ใช่
และพระพุทธเจ้ายังสอนให้เจริญสมาธิ(เพื่อ)
จักรู้อริยสัจตามที่เป็นจริง


:b42: [๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทย ฯลฯ

http://www.dhammahome.com/front/webboar ... 9c025860a8

:b1: และเพื่อ

:b42: [ ๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้อะไร ตามความเป็นจริง. รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง รู้ตามความเป็น จริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง.

http://guru.google.co.th/guru/thread?ti ... f6a25f613d

:b1: สรุปแล้วก็คือสมาธิต้องน้อมไปเพื่อเพื่อรู้ตามเป็นจริงหรือที่เรียกว่ายถาภูตญาณทัสสนะ
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอุปนิสสูตร


:b42: ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัยดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่าสมาธิ...

คัดลอกมาจาก http://www.dharma-gateway.com/ubasok/da ... rin-08.htm

:b1: และถึงที่สุดคือวิมุตติ หลุดพ้น สิ้นอาสวะกันเลย

:b42: สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=1

:b8: :b8: :b8: ขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ผู้เจริญ ผู้เป็นความสว่างไสว ของโลกหล้า
พระพุทธองค์ผู้มีพระคุณอันไม่มีประมาณ มีปัญญาเป็นยอดเยี่ยมยิ่งกว่าผู้ใด ขจัดแล้วซึ่งกิเลสอาสวะ
พ้นแล้วจากบ่วงของพญามาร พ้นแล้วจากวัฏฏะ พ้นแล้วจากเครื่องร้อยรัดพันธนาการทั้งปวง บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
:b8: :b8: :b8:

แล้วจะเห็นว่าคำของพระพุทธเจ้าไม่แย้งกัน เข้ากันได้เป็นหนึ่งเดียว


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 30 มี.ค. 2011, 05:18, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 02:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 02:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: หลวงพ่อกบ เพ่งกสิณไฟ
untitled.bmp
untitled.bmp [ 95.37 KiB | เปิดดู 5003 ครั้ง ]
FLAME เขียน:
[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
*สมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=1

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2011, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คราวหลังก็อย่าพูดอีกนะครับว่า...พระไตรปิฎกทำตามได้ก็เฉพาะแต่...พระอริยะสงฆ์..เท่านั้น
ผู้ที่เกิดดวงตาเห็นธรรม คือ ได้บรรลุเป็นโสดาบันแล้ว เป็นอริยบุคคล เมื่อบวช ก็ได้เป็นพระอริยสงฆ์ หมายความว่า สมัยนั้น ผู้ที่บวชในสำนักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีแต่พระอริยะสงฆ์เท่านั้น ส่วนสมมุติสงฆ์เกิดปลายพุทธสมัย ในพระไตรปิฏกมีเรื่องเกียวกับสมมุติสงฆ์เล็กน้อยในพระวินัย สิ่งที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏกส่วนมาก จึงเป็นการสอนพระอริยสงฆ์

ธรรมเครื่องขัดเกลา คือ มรรค ๘ ส่วนมรรค ๔ เป็นวิธีการปฏิบัติของพระอริยสงฆ์ที่พระอานนท์ได้อธิบายไว้ว่า ในสำนักของเราปฏิบัติตามนี้ และในสำนักพระอานนท์ ก็มีแต่พระอริยสงฆ์ คือ มีดวงตาเห็นธรรมแล้วมาขอบวช

สมถะกับวิปัสสนาอยู่คู่กัน ถ้าไม่ตั้งใจก็วิปัสสนาไม่ได้ เจตสิกธรรมที่เกิดร่วม คือ เอกคัตตา หรือ ขณิกกะสมาธิ ไม่ได้หมายถึงฌานจิต

สัมมาสมาธิในมรรค ๘ หมายถึง ความตั้งใจมั่น อันมีองค์ธรรมของมรรคทั้ง ๗ เป็นบริขาร คือ ต้องมีสัมมาทิฐิก่อน ให้สัมมาทิฐิไปสร้างสัมมาสังกัปปะ สัมมาสังกัปปะสร้างสัมมาวายามะ ไปเรื่อยๆ จนเกิดสัมมาสมาธิ ... พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เธอจงเจริญสมาธิ เมื่อความตั้งใจมั่นเกิด ฯลฯ ... หมายความว่า ให้ไปทำที่เหตุของการเกิดสมาธิ ไม่ได้ให้ไปนั่งสมาธิ


สูตรนี้ พระสารีบุตรอธิบายแสดงถึงฌานที่เกิดกับพระอริยะ เกิดกับพระโสดาบัน เป็นผลต่อเนื่องเริ่มมาจากการบวช

Quote Tipitaka:
[๔๘๓] ฌานวิโมกข์เป็นไฉน เนกขัมมะเกิด เผากามฉันทะ เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นฌาน เนกขัมมะเกิดพ้นไป เผาพ้นไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน-
*วิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ความไม่พยาบาทเกิด เผาความพยาบาท เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฌาน ความไม่พยาบาทเกิดพ้นไป เผาพ้นไป ... อาโลกสัญญาเกิด เผา
ถีนมิทธะ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ความไม่ฟุ้งซ่านเกิด เผาอุทธัจจะ ... การ
กำหนดธรรมเกิด เผาวิจิกิจฉา ... ญาณเกิด เผาอวิชชา ... ความปราโมทย์เกิด
เผาอรติ ... ปฐมฌานเกิด เผานิวรณ์ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ฯลฯ อรหัต-
*มรรคเกิด เผากิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน เกิดพ้นไป เผาพ้นไป
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิด
และที่ถูกเผา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ นี้เป็นฌานวิโมกข์ ฯ



การที่เข้าใจว่า ต้องได้ฌานก่อน น่าจะยุติได้ ตั้งที่พระสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสไว้กับพระอานนท์ว่า ปฐมฌานเกิดเพราะอุปธิวิเวกแล้ว และยังมีตรัสอีกว่า เกิดขึ้นเฉพาะบางรูปเท่านั้น ไม่ได้เกิดทุกรูป ...

ผู้ที่หาปัญญาเจอแล้ว ไม่ได้มีผมคนเดียว ถึงตอนนี้จะมีเพียงหลักร้อย แต่ก็เพิ่มขึ้นทุกวัน ก็หวังว่าจะมีพวกท่านรวมอยู่ด้วยในกาลข้างหน้า .. การแสดงธรรม(ความจริง) การเสวนาธรรม การรับฟังธรรม นับเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ก็ขอให้บุญกุศลในครั้งนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ท่านทั้งหลายเกิดมีดวงตาเห็นธรรมเหมือนกับอริยสาวกทั้งหลายได้เห็นมาแล้วในอดีตด้วยเถิด ...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร