วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 05:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
วัชชีปุตตสูตร

[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมือง
เวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท
๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้
พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คืออธิศีล
สิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ ฯ

ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓คือ อธิศีลสิกขา ๑
อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตต
สิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ เมื่อใด ท่านจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี
จักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อท่านนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขา
อยู่ก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดีจักละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เพราะละราคะ โทสะ
โมหะ เสียได้ท่านนั้นจักไม่กระทำกรรมเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป ครั้นสมัย
ต่อมาภิกษุนั้นศึกษาแล้วทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุนั้นศึกษา
อธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ละราคะโทสะ โมหะ ได้แล้ว
เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 21:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. ปัจจัยสูตร
[๖๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง
ธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาค
แล้ว ฯ
[๖๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ พระตถาคต
ทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ๑-
ธัมมนิยาม ๒- อิทัปปัจจัย ๓- ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่ง
ธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว ย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี
ชราและมรณะ ... เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ... เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมี
ภพ ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ...
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ...
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม
รูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี
สังขาร พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น
คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้
ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น
ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น
มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ...
อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า
ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ฯ
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่งปฏิจจสมุป-
*บาทนี้ และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว

เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องต้นว่า ในอดีตกาลเราได้เป็นหรือหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาล
เราได้เป็นอะไร แล้วได้มาเป็นอะไรหนอ หรือว่าจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า
ในอนาคตกาล
เราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคต
กาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไร
หนอ หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า เราเป็น
อยู่หรือหนอ หรือไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ
สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ เขาจักไปในที่ไหน
ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะ
เหตุไร เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่งปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัย
กันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖

[๔๑๓] คำว่า มีอุเบกขา ในคำว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ความว่า
เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ กล่าวคือ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย
มีสติสัมปชัญญะอยู่. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่.
เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด. กายของบุคคลนั้น
ตั้งอยู่ (ไม่หวั่นไหว) จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. อนึ่ง เห็นรูปที่ไม่ชอบ
ใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่
สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ
ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ
หลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ
เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วย
จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัด
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลง
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. บุคคลนั้น
เป็นแต่เพียงเห็นในรูปที่เห็น เป็นแต่เพียงได้ยินในเสียงที่ได้ยิน เป็นแต่เพียงทราบในกลิ่น
รส โผฏฐัพพะที่ทราบ เป็นแต่เพียงรู้แจ้งในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่ติดในรูปที่เห็น ไม่ติดใน
เสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ไม่ติดในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง. ไม่มีตัณหา
อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น ย่อมมีจิตปราศจากแดน
กิเลสอยู่. ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ในเสียงที่
ได้ยิน ในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลส
อยู่. พระอรหันต์มีจักษุปรากฏ ย่อมเห็นรูปด้วยจักษุ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว.
มีหูปรากฏ ย่อมได้ยินเสียงด้วยหู แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีจมูกปรากฏ
ย่อมสูดดมกลิ่นด้วยจมูก แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีลิ้นปรากฏ ย่อมลิ้มรส
ด้วยลิ้น แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีกายปรากฏ ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีใจปรากฏ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แต่มิได้มี
ฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. จักษุเป็นธรรมชาติชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระ
อรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมจักษุ และย่อมแสดงธรรมเพื่อความสำรวมจักษุนั้น. หูเป็น
ธรรมชาติชอบเสียง จมูกเป็นธรรมชาติชอบกลิ่น ลิ้นเป็นธรรมชาติชอบรส กายเป็นธรรมชาติ
ชอบโผฏฐัพพะ ใจเป็นธรรมชาติชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์
พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรมเพื่อความสำรวมใจนั้น.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

. ชนทั้งหลาย ย่อมนำพาหนะที่เขาฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาทรงขึ้น
. พาหนะที่เขาฝึกแล้ว บุคคลผู้ฝึกฝนแล้ว อดกลั้นถ้อยคำที่ล่วงเกินได้
. เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์. ม้าอัสดร ม้าสินธพผู้อาชาไนย ช้าง
. ใหญ่กุญชร ที่เขาฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคลผู้ฝึกตนแล้ว
. ประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น. ใครๆ ไม่พึงไปถึงนิพพาน อันเป็นทิศ
. ที่ไม่เคยไป ด้วยยานเหล่านั้น เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนอันฝึกแล้ว
. ฝึกดีแล้ว ย่อมไปถึงได้. พระอรหันต์ไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย
. เป็นผู้พ้นขาดแล้วจากภพใหม่ เป็นผู้บรรลุถึงแล้วซึ่งภูมิที่ฝึกแล้ว พระ
. อรหันต์เหล่านั้น เป็นผู้ชนะแล้วในโลก. ผู้ใดอบรมอินทรีย์ทั้งหลาย
. ในโลกทั้งปวง ทั้งในภายในทั้งในภายนอก ผู้นั้นฝึกดีแล้ว ทราบโลก
. นี้และปรโลกแล้ว รอคอยอยู่ซึ่งกาลมรณะ.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่เป็นผู้ตามติดใจ ผัสสะอันได้แก่ จักขุ สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส (สัมผัส ทางนามคือใจ) ปฏิฆสัมผัส (สัมผัสทางรูป) สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะเป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีตผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะใดเห็นปานนี้ คือความถูกต้อง ความถูกต้องพร้อม ความที่จิตถูกต้องพร้อม นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา

ญาตปริญญา คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้จักขุสัมผัส นี้ โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต นี้ผัสสะ อันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิตนี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ นี้ผัสสะเป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคตนี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่าญาตปริญญา

ตีรณปริญญา คือ ย่อม พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของ ลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของไม่มีอำนาจ เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรม เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา

ปหานปริญญา คือ การละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ฉันทราคะนั้นจักเป็นของอันท่านทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภาย หลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้. นี้เรียกว่า ปหานปริญญา

คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า ไม่เป็นผู้ตามติดใจ มีความว่า ตัณหาเรียกว่าความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความติดใจนั้นอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ(ความรู้หรือปัญญา) บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ติดใจ. บุคคลนั้นไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่นในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือ เป็นผู้คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละ สละคืนความติดใจแล้ว คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืน ความกำหนัดแล้ว หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ.

ปัญญา เรียกว่าโธนา เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกว่าโธนา. เพราะปัญญานั้น เป็นเครื่องกำจัดล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง

นรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ย่อมพ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ ด้วยความเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ นรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ (ปัญญา) มีความว่า หากว่านรชน ย่อมละชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์คือความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ได้ด้วยความเห็นรูป ด้วยจักษุวิญญาณ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้น อันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย พุทธมามกะผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนาเป็นสุข เพราะ มันคือสุขเวทนา แต่จะเป็นทุกข์ขึ้นมาเมื่อ สุขเวทนาดับไปแล้วผัสสะใหม่
สร้างทุกขเวทนาให้เกิดขึ้น เมื่อนั้นจึงเป็นภาวะที่สุขกิดขึ้น ดับลง แล้วทุกข์ก็มาแทน

และทั้งสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ล้วนเป็นสิ่งปรุงแต่ง เกิดดับตามปัจจัย
บุคคลเมื่อรอบรู้ในเวทนา ย่อมปกติต่อสุข ปกติต่อทุกข์ และ ปกติต่ออทุกขมสุข อย่างเท่าเทียมกัน
บนความปกติ ที่ถึงพร้อมด้วยความรอบรู้ต่อเวทนาทั้งสาม จึงเป็นภาวะแห่งความคงที่และดับทุกข์

ทุกขเวทนาเป็นทุกข์ เพราะมันเป็นทุกขเวทนา แต่จะเป็นสุข ขึ้นมาเมื่อ ทุขเวทนาดับไป
แล้วสุขเวทนาเกิดขึ้นแทน

อทุกขมสุข ก็เป็น อทุกขมสุข แม้รู้ชอบ และเป็นอทุกขมสุข แม้เมื่อยังไม่รู้ชอบ
แต่ความรู้ชอบทำให้บุคคลถอนตนออกจากความไม่รู้และความยึดถือในอทุกขมสุขเวทนาทั้งอย่างหยาบ
อย่างประณีต อย่างละเอียดเสียได้ เมื่อมีตนที่ลอยเหนือพ้นเวทนาทั้งปวง ภพชาติทั้งหลายก็สิ้นสุดลง
ทุกข์ทั้งปวงก็เป็นอันสิ้นสุดด้วย


อทุกขมสุขไม่มีทาง เป็นสุขเวทนา และอทุกขสุขเวทนาก็ไม่มีทางเป็นทุกขเวทนาด้วยเหมือนกัน
แต่อทุกขมสุขเวทนา ก็จะเป็นแต่อทุกขมสุขเวทนานั่นหละ

สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เหมือนกันคือ เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นสิ่งมีโทษ
เป็นสิ่งบังคับไม่ได้ เวทนาทั้งสามหากยึดถือ จะเป็นเหตุให้บุคคลไม่หลุดพ้นจากความทุกข์

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 02:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เดินในมรรค8ก้ไม่มีทางเห็นธรรมตามจริงหรอก

จักขุกรณี ญาณกรณี ...ก็ได้แต่การตีความ โอกาสที่จะรู้เห็นจริง ไม่มี...
อวิชชา ก็ดับไม่ได้
ขันธ์5 ก็ไม่มีเครื่องสลัดออก เหมือนงูลอกคราบเก่า...
ๆลๆ

รู้แล้วไม่เดินก็แค่นั้น....
เราก็ติดในภพในชาติๆลๆ กันต่อไป [b]เย้!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 07:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเฟรม ขอย้ายกระทู้กลับไปที่เดิมเถอะ

ความดำเนินไปของกระทู้มันได้เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยแล้ว :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 21:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้ไม่ได้อิงตำรานะ แต่เราสังเกตจากสิ่งที่เกิดจริง ๆ หง่ะ
เพราะการสังเกตสิ่งเหล่านี้ มันไม่ได้ต้องใช้ทักษะมากนัก
เพียงแค่ เราไม่ละเลยที่จะสังเกตเท่านั้น

เคยสุขจนรู้สึกเอียนมั๊ย
เคยทุกข์จนรู้สึกอยู่ตัว/เบาตัวมั๊ย
และความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เมื่อเกิดติดต่อกันนาน ๆ มาก ๆ เข้าล่ะ เป็นไง
คือประเด็นสุดท้ายเราอธิบายไม่ถูก
คือมันไม่สุข มันไม่ทุกข์ แต่มันรู้สึกไม่ว่างจากภาระ เหมือนยังมีแรงที่ต้องกระทำเพื่อรักษาดุลน่ะ

เราเห็นทั้งสามกรณีเป็นทุกข์ด้วยการสังเกตแบบธรรมดา ๆ นี่ล่ะ
มาจากความรู้สึกที่เราสังเกตได้ ไม่ได้ต้องอาศัยเทคนิควิชาการพิจารณาที่ซับซ้อน

คือความเข้าใจแบบนี้เป็นความเข้าใจแบบโง่ ๆ ใช่ป่าว
เป็นความเข้าใจแบบหยาบ ๆ ใช่มั๊ย
ซึ่งถ้าจะไปนิพพาน ความเข้าใจประเภทหยาบ ๆ ในลักษณะเช่นนี้ คงนำพาไปไม่ถึงใช่มั๊ย
ต้องมีความเข้าใจที่ละเอียดลึกซึ้งกว่านี้ใช่มั๊ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 22:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คือมันไม่สุข มันไม่ทุกข์ แต่มันรู้สึกไม่ว่างจากภาระ เหมือนยังมีแรงที่ต้องกระทำเพื่อรักษาดุลน่ะ

เราเห็นทั้งสามกรณีเป็นทุกข์ด้วยการสังเกตแบบธรรมดา ๆ นี่ล่ะ
มาจากความรู้สึกที่เราสังเกตได้ ไม่ได้ต้องอาศัยเทคนิควิชาการพิจารณาที่ซับซ้อน


เมื่อเห็น "ทุกข์" ในสภาวะ "ไม่สุข-ไม่ทุกข์" มันเป็นทุกข์ด้วย อาการต้องคอยประคองรักษา
เราก็มานั่งพิจารณา เหตุที่ทำให้เกิดการประคองรักษา
ตอนนั้นจะเป็นครั้งแรกเลย ที่เราเหมือนกำลังพิจารณาไปยังเหรียญทั้งสองด้าน
ด้วยมุมมองจากตรงกลาง
ซึ่งการพิจารณาการเกิดแห่งทุกข์ และการเกิดแห่งสุข
การแปรเปลี่ยนไปของทุกข์ การแปรเปลี่ยนไปของสุข
จะไม่ใช่เป็นการเห็นว่า สิ่งหนึ่งเกิด - ดับ
แต่จะเป็นการปรากฎแห่งปัจจัยต่าง ๆ ที่ต่างมีการเคลื่อนที่ไป ทำให้องค์ประกอบ
หรือ เฟรม มีการเปลี่ยนแปลงไป

คือ มุมมองในการพิจารณาธรรมของแต่ละคนแตกต่างกัน หง่ะ
อย่างเรา เมื่อเราพิจารณาเช่นนี้
บอกตรง ๆ ว่า เราเกือบจะ แทบอยากจะบอกว่า
เราไม่เห็นการเกิด และเราไม่เห็นการดับ และปัจจุบันเป็นเหมือนลมที่พัดผ่าน

การคิดไปถึงลมในก่อนหน้านี้ คิดไปถึงลมในกาลข้างหน้า แม้แต่ลมในปัจจุบัน
เป็นเรื่องที่ ....

เป็นความเพ้อเจ้อ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หวัดดีสหายเก่า เฒ่าหงำเหงือก

กระบวนท่าที่ซับซ้อน ยอกย้อนจนสับสน
ยังเป็นเหมือนวิชาที่ยังไม่ได้ล้างละส่วนเกิน

ละส่วนเกิน แล้วก้าวถึงแก่น
กระบวนท่าทั้งหลาย ก็เรียบง่าย เป็นระเบียบ ลงตัวและดูสามัญ


ความรู้สึก ที่จิตกำลังรู้สึก สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
ความรู้สึกทั้งปวงเหล่านี้ อาจถูกมองซ้อนทับลงไป ด้วยกระบวนการเรียนรู้ทำความเข้าใจ

จนเกิดความเข้าใจขึ้นมาว่า สุขก็ดีทุกข์ก็ดี อทุกขมสุขก็ตาม
ล้วนเป็นสิ่งเป็นทุกข์ เป็นสิ่งนำพามาซึ่งทุกข์

ความรู้สึกทุกข์ที่จิตกำลังรู้สึก
กับความเข้าใจที่กำลังเข้าใจด้วยปัญญาว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งเป็นทุกข์
เป็นคนละอย่างกัน

ความรู้สึกทุกข์ เรียกทุกขเวทนา
การมองเห็นสภาวะทั้งปวงที่ไม่เที่ยง ว่าเป็นสิ่งเป็นทุกข์ด้วยตัวปัญญา
เรียกความทุกข์ที่มองเห็นด้วยปัญญาว่า ทุกขลักษณะ

และเมื่อเห็นทุกขลักษณะที่มีอยู่กับสังขารทั้งปวงอย่างแก่กล้า
การเข้าถึงความรู้แจ้งในทุกขอริยสัจจ์จึงเกิดขึ้น

:b38: :b38: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2011, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความไม่รู้เท่าทันความจริงนั้นคือเป็นทุกข์. กการที่คิดว่าตัวเองเป็นสุขเพราะความทุกข์จางลง
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้น้อมทุกสิ่งลงในกฏของพระไตรลักษณ์ เพื่อจะได้เห็นเท่าทันความจริง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2011, 04:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การไม่รู้เท่าทันความจริง ไม่ใช่ทุกข์
แต่เขาเรียกว่า เป็นภาวะที่ปราศจากวิชชา

เพราะไม่รู้เท่าทัน จึงยึดถือมั่นหมาย
ความยึดถือ เรียกว่าอุปาทาน

และเมื่อยึดถือสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะทำให้เกิดทุกข์

การไม่รู้เท่าทันก็คืออาการหนึ่ง
ทุกข์ก็คืออาการหนึ่ง

ไม่ใช่เป็นอาการอันเดียวกัน

:b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2011, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
จางบางลางเลือน เขียน:
การไม่รู้เท่าทันความจริง ไม่ใช่ทุกข์
แต่เขาเรียกว่า เป็นภาวะที่ปราศจากวิชชา

เพราะไม่รู้เท่าทัน จึงยึดถือมั่นหมาย
ความยึดถือ เรียกว่าอุปาทาน

และเมื่อยึดถือสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะทำให้เกิดทุกข์

การไม่รู้เท่าทันก็คืออาการหนึ่ง
ทุกข์ก็คืออาการหนึ่ง

ไม่ใช่เป็นอาการอันเดียวกัน

:b8:

อวิชชาอย่าง ตัณหาอย่าง ถึงแม้จะสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นแต่ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
พระพุทธเจ้าท่านได้แจกแจงไว้ดีแล้ว แยกไว้ให้เห็นในปฏิจจสมุปบาท หน้าที่ของเราคือศึกษาธรรมที่ท่านได้แจกแจงดีแล้ว และปฏิบัติตามทางที่ท่านได้ชี้บอกไว้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2011, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการไม่ทุกข์ไม่สุขเพราะรู้เท่าทันสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสทั้ง ๖ ตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยงฯ เป็นอุเบกขาที่เกิดมาจากความรู้ที่ทำให้พ้นโลก หรือ เกิดจากโลกุตตระปัญญา เป็นอุเบกขาที่ไม่มีอามิสยิ่งกว่าไม่มีอามิส จึงเป็นสุขในวินัยของอริยะ

อาการไม่ทุกข์ไม่สุข เพราะไม่สนใจผัสสะ หลบผัสสะ หรือ กดข่มด้วยสมถะ ถือเป็นอุเบกขาที่ไม่ได้เกิดมาจากความรู้ที่ทำให้พ้นโลก มีโลกเป็นอามิส จึงเป็นทุกข์ในวินัยของอริยะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron