วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2011, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มีคนแปล แล้วทำให้รู้สึกว่า น่าจะผิด คือประโยคนี้

ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ทำให้ คนอ่าน เข้าใจไปว่า

ร่างกาย เรียกอีกอย่างว่า จิต มโน วิญญาณ

จึงได้มีการแปลใหม่ ขึ้นมา ซึ่งดูเหมือนจะถูกต้องกว่าคือ


อ้างคำพูด:
.. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลาย

กำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความ เจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี

การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔

นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัด

บ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น


ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้

สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิต เป็นต้นนั้น

ได้เลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้อัน

ปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา

เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชน

ผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตจิต

เป็นต้นนั้นได้เลย...


คำว่า กาย หรือ ร่างกายนั้น เป็นของย่อหน้าบน ไปเสีย
ร่างกาย จึง ไม่ใช่ จิต ไม่ใช่มโน ไม่ใช่ วิญญาณ
ซึ่งเป็นการแปลที่ ถูกต้อง...........................................กว่า

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2011, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ก่อนอื่น ขอให้ตอบคำถามว่า จิต เป็นขันธ์ หรือไม่ ก่อน

จากนั้นมาดู ลักษณะของขันธ์กัน

อ้างคำพูด:
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ -หน้าที่ 682

อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส

พระโยคาวจรนั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ ๕ อย่างนี้

ย่อมรู้อย่างนี้ ว่า การรวมเป็นกองก็ดี การสะสมก็ดี ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่

เกิดก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด, ชื่อว่าการมา โดยรวมเป็นกอง โดยความ

สะสม ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น, ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อมไม่มีแม้

แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดยเก็บไว้ในที่

แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ เมื่อเขาดีดพิณอยู่

เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด, เมื่อเกิดก็ไม่มีการสะสม, การ

ไปสู่ทิศน้อยใหญ่ออกเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี, ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมตั้ง

ไว้, ที่แท้แล้วพิณก็ดี นักดีดพิณก็ดีอาศัยความพยายามอันเกิดแต่ความ

พยายามของลูกผู้ชายไม่มีแล้วยังมีได้, ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ฉันใด, ธรรมมีรูป

และไม่มีรูปแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้นไม่มีแล้วยังมีได้ ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ พระ

โยคาวจรย่อมเห็นด้วยประการฉะนี้แล.

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
:b46: วัตถุประสงคของคุณ mes
กำลังหาว่า

จิตมีเกิดมีดับ

หรือว่า

จิตไม่เกิดไม่ดับ

หรือครับ


จิตมีการเกิดดับครับ

แต่แยกเป็น๒กรณี

กรณีแรกในความหมายของจิตที่เป็นความคิดจะเกิดดับตลอดเวลา

กรณีที่๒จิตที่เป็น จิต+มหาภูติทั้ง๔ เกิดและดับคือ เกิดกับตาย ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
มีคนแปล แล้วทำให้รู้สึกว่า น่าจะผิด คือประโยคนี้

ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ทำให้ คนอ่าน เข้าใจไปว่า

ร่างกาย เรียกอีกอย่างว่า จิต มโน วิญญาณ

จึงได้มีการแปลใหม่ ขึ้นมา ซึ่งดูเหมือนจะถูกต้องกว่าคือ


อ้างคำพูด:
.. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลาย

กำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความ เจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี

การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔

นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัด

บ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น


ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้

สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิต เป็นต้นนั้น

ได้เลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้อัน

ปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา

เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชน

ผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตจิต

เป็นต้นนั้นได้เลย...


คำว่า กาย หรือ ร่างกายนั้น เป็นของย่อหน้าบน ไปเสีย
ร่างกาย จึง ไม่ใช่ จิต ไม่ใช่มโน ไม่ใช่ วิญญาณ
ซึ่งเป็นการแปลที่ ถูกต้อง...........................................กว่า



แปลอย่างนี้ค่อนข้างชัดเจนครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 13:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กรณีแรกในความหมายของจิตที่เป็นความคิดจะเกิดดับตลอดเวลา
ท่านเคยสังเกตตอนที่มันเปลี่ยนเรื่องมั๊ย
คือ เวลาเราคิดแล้วเราเห็นว่าเราคิดนั่นคือเราหยุดคิดเรื่องนั้นแล้ว แต่มาคิดในสิ่งที่เห็น
ลักษณะนี้ เหมือนการ ฆ่าตัดตอน
แต่พอเผลอมันก็กลับไปคิดต่อในเรื่องเก่าอีก แล้วเราก็เห็นอีก
เคยคิดและเห็น วนเวียนเช่นนี้ไปจนมันไม่กลับมาคิดต่ออีกมั๊ย
สังเกตเห็น การที่การเห็นไม่ได้ทำให้ การคิดนั้นดับไปโดยสิ้นเชิงมั๊ย
สังเกตเห็น การที่การคิดนั้นดับไปโดยไม่กลับมาคิดอีกมั๊ย
ต้องเห็นกี่ครั้ง จึงจะทำให้ผู้สังเกต มั่นใจในความเข้าใจที่ได้จากการสังเกต

กับมีมั๊ยที่เราตั้งเจตนาว่าจะดูว่าความคิดมันมีการดำเนินการอย่างไร
แล้วเราพบกับความคิดที่หนึ่งดำเนินแล้ว ก็ปรากฎความคิดที่สองดำเนิน
โดยที่เรารู้สึกตัวเมื่อเราเห็นว่า เรื่องแรกกับเรื่องที่สอง มันคนละเรื่องกันเลย
มันมีจุดเหวี่ยงอย่างไรที่ทำให้เรื่องที่หนึ่งแล้วไปต่อเรื่องที่สองทันทีโดยที่เราไม่สังเกตเห็นจังหวะเปลี่ยน
ทำให้เราต้องรีเพลย์กลับไปหาตะเข็บ รอยต่อ
ต้องเห็นกี่ครั้ง เราจึงจะเริ่มเห็นรูปแบบของการส่งต่อเรื่องราว

กับมีมั๊ยที่เราเฝ้ามองมันส่งผลัดจน มันห้อยตัวรู้อยู่เฉย ๆ
ต้องเห็นกี่ครั้ง เราจึงจะเห็นรูปแบบพฤติกรรมของความคิด

สังเกตการดำเนินไปของมัน
สังเกตการสิ้นสุดในแต่ละรูปแบบ
สังเกต input มาจากไหน มายังไง
สังเกต output ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะ clear
สังเกตการแทรกกลางคัน ทำให้เกิดการตัดตอน การเปลี่ยนวิถีคิด

ความทุกข์ของเอกอน 2 เปอร์เซ็นต์เป็นความทุกข์ที่เกี่ยวกับการคิดในเรื่องการดำเนินชีวิต
แต่ความทุกข์ 90 กว่าเปอร์เซนต์ คือความทุกข์อันเนื่องมาจากสันดานลูกช่างสงสัย และช่างสังเกตนี่ล่ะ
ดังนั้นในเปอร์เซนต์ที่เหลือ ก็คือ การอยู่กับการเท่าทันไอ้ 90 เปอร์เซนต์
และก็พบว่าจริง ๆ แล้วเราได้ให้เวลากับการคิดที่ตรงทางอยู่เพียงแค่ เปอร์เซนต์ที่เหลือนั่น

เป็นการเห็นความเป็นไปของตัวเอง ที่น่าสังเวช
ที่เราดูจะใช้สติปัญญาในทางจริง ๆ แค่ไม่กี่เปอร์เซนต์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 14:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
สังเกตการดำเนินไปของมัน ในหลาย ๆ แง่หลาย ๆ มุม


เมื่อเราไหลไปกับสิ่งที่เรากำลังสังเกต ประเด็นหนึ่ง
ก็สังเกตพฤติกรรมการสังเกต ประเด็นสอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 14:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
อิอิ อิอิ อิอิอิ
อุอุ อุอุ อุอุอุ
อิอิ
อิ๊อิ๊
อุอุ
:b21:

ฮี่ฮี่ฮี่ :b22:

อิอิ ม่ายเอา ม่ายปู๊ดดดด...หุบปากเอาไว้ :b3:
อิอิ
หุหุ :b32: :b32: :b32:
55555

อิอิ แบบอ่านแล้ว เกิดอาการอยากจะพล่ามน่ะ
แต่ :b21: ไม่อาวดีกว่า :b21:
นั่งอ่านความเห็นแต่ละท่านไปเรื่อย ๆ ดีกว่า

:b16: :b16: :b16:


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
อิอิ แบบอ่านแล้ว เกิดอาการอยากจะพล่ามน่ะ
แต่ :b21: ไม่อาวดีกว่า :b21:
:b16: :b16: :b16:


:b32: :b32: :b32:


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
อิอิ อย่ามาหัวเราะจิ่
ไม่เอา ไม่เอา วิ่งไปหลบในโพรงดูเขาสนทนาเงียบ ๆ ดีกว่า
อุตสาห์เก็กเงียบแอบอ่านมาตั้งนาน
มาเจอวาจายวน ๆ ของท่าน อ๊บซ์ อ๊บซ์ แล้ว อิอิ คันมือ
อ๊ะ จิ๊บ จิ๊บ ไปหลบนอนดีกว่า

:b55: :b55: :b55:


เอาหน่อยน่า...

ตอนนี้กบอยากปวดหัว... :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 14:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 14:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อุตส่าไม่คิด...คุณพี่ยังมาทำให้คิด..อีก
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
จิตมีการเกิดดับครับ

แต่แยกเป็น๒กรณี

กรณีแรกในความหมายของจิตที่เป็นความคิดจะเกิดดับตลอดเวลา

กรณีที่๒จิตที่เป็น จิต+มหาภูติทั้ง๔ เกิดและดับคือ เกิดกับตาย ครับ


สำหรับผม

กรณีแรก ความหมายแรก ผมให้ความหมายว่า ไม่ใช่จิตครับ แต่เป็นเรา(เป็นความคิด) เกิดดับอยู่ตลอดเวลา

เรา ไม่ใช่จิต จิต ไม่ใช่เรา
เมื่อไรมีความรู้สึกตัว เมื่อนั้น มีเรา ...............................ไม่ใช่จิต
เมื่อไรเราหมดความรู้สึกตัว เมื่อนั้น ไม่มีเรา.......................ไม่ใช่จิต
เมื่อตอนเราคิด เมื่อนั้น มีเราอยู่ในความคิด ........................ไม่ใช่จิต
เมื่อตอนเราหลับฝัน เมื่อนั้น มีเราอยู่ในฝัน.........................ไม่ใช่จิต
เมื่อตอนเราหลับสนิท ไม่ฝัน เมื่อนั้น.....ไม่มีเรา ที่ไหนๆ เลย.....ไม่ใช่จิต
เราจึงเกิดดับอยู่ตลอดเวลา อย่างที่ กรณีแรก ของคุณ Mes

จิต อยู่ในกรณีที่2
ในขณะที่เราหลับสนิท ไม่รู้สึกตัว หรือเราสลบไป(ไม่รู้ความเป็นไปของโลก ไม่คิด ไม่นึก) ขณะนั้นยังมีจิต(ขันธ์5)
ขณะเราตื่น ขณะนั้น ยังมีจิต(ขันธ์5)
ขณะเราหลับฝัน ขณะนั้น ยังมีจิต(ขันธ์5)
ขณะเราหลับสนิท ไม่ฝัน ขณะนั้น ยังมีจิต(ขันธ์5)
จิตจึงไม่ใช่เรา

จิต(ขันธ์5) จึงมีจริงๆ
เรา เป็นสภาวะธรรม ที่ไม่มีจริงๆ เกิดขึ้น และดับไปอยู่ตลอดเวลา
ถ้าเรามีอยู่ จริงๆ ตอนที่เราหลับสนิทไม่ฝัน ก็ต้องมีเราอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ........จริงไหม
แต่นี่ เราหายไปเลย ..................ไม่ว่าที่ไหน ไม่มีเราเลย
โลกหยุดหมุนไปเลย
ไม่ว่า ลูก เมีย ญาติ พี่น้อง ใครต่อใคร ไม่เข้าไปในความรู้สึกของเราได้เลย
ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น .................ไม่มีเรา

ในทางพระพุทธศาสนา
ขันธ์ 5 เกิดขึ้นตั้งอยู่ และดับไป อยู่ตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน
ขันธ์5 จะหายไปช่วงที่คนเรานอนหลับ ก็หาใช่ไม่
ขันธ์5 เกิดดับอยู่ตลอดเวลา

การที่จะดับขันธ์5(สงบขันธ์5) ได้มีทางเดียว คือ ปรินิพพาน

จิต เป็นส่วนหนึ่ง ในขันธ์5

จิต บางครั้งเรียกว่า มโน บางครั้ง เรียกว่า วิญญาณ และชื่ออื่นๆอีกหลายชื่อ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 15:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อุตส่าไม่คิด...คุณพี่ยังมาทำให้คิด..อีก
:b32:


อิอิ มีอีก มีอีก มีอีกเคส
แล้วเดี๋ยวจะมีบทสรุปอย่างฮา :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 16:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
มีคนแปล แล้วทำให้รู้สึกว่า น่าจะผิด คือประโยคนี้

ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ทำให้ คนอ่าน เข้าใจไปว่า

ร่างกาย เรียกอีกอย่างว่า จิต มโน วิญญาณ

จึงได้มีการแปลใหม่ ขึ้นมา ซึ่งดูเหมือนจะถูกต้องกว่าคือ


อ้างคำพูด:
.. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลาย

กำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความ เจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี

การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔

นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัด

บ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น


ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้

สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิต เป็นต้นนั้น

ได้เลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้อัน

ปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา

เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชน

ผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตจิต

เป็นต้นนั้นได้เลย...


คำว่า กาย หรือ ร่างกายนั้น เป็นของย่อหน้าบน ไปเสีย
ร่างกาย จึง ไม่ใช่ จิต ไม่ใช่มโน ไม่ใช่ วิญญาณ
ซึ่งเป็นการแปลที่ ถูกต้อง...........................................กว่า


คุณ govit2552 ครับ ผมอยากเอามาเทียบกันดูทั้งมหาวรรค
คุณ govit2552 ช่วยยกที่แก้ไขการแปล มาให้หน่อยได้มั๊ยครับ
เรียงตามพระสูตรที่ผมยกมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 16:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑


[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ
[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย
ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ
ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี
สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-
*โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๕๑๙ - ๒๕๖๖. หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 16:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒

[๒๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ฉะนั้น ปุถุชน
ผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่
ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต
เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนผู้มิ
ได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่น
เป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงจะเบื่อ
หน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นไม่ได้เลย ฯ
[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่าง
กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง
ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุม
แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและในกลางวัน ฯ
[๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจด้วยดีโดย
แยบคายถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะ
เหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้
จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนาจึง
เกิดสุขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิด
ขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัย
แห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่ง
ทุกขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่ไม่ใช่
สุข ไม่ใช่ทุกข์ จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขม-
*สุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัย
แห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป ฯ
[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันครูดสีกันจึงเกิดไออุ่น เกิด
ความร้อน แต่ถ้าแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกเสียจากกัน ไออุ่นซึ่งเกิดจาก
การครูดสีกันนั้น ก็ดับไป สงบไป แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็น
ปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็น
ปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่ง
ทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น
ดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น
จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข
จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น
ดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขม-
*สุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในผัสสะ ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อม
หน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุด
พ้นแล้วและย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๒

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๕๖๗ - ๒๖๑๙. หน้าที่ ๑๐๖ - ๑๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 16:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ปุตตมังสสูตร

[๒๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่าง เพื่อความดำรงอยู่
ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่างนั้นคือ ๑. กวฬิงการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณาหาร ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้
แล เพื่อดำรงอยู่แห่งสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้
แสวงหาที่เกิด ฯ
[๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กวฬิงการาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร ภิกษุ
ทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ภรรยาสามี ๒ คน ถือเอาเสบียงเดินทางเล็กน้อย แล้ว
ออกเดินไปสู่ทางกันดาร เขาทั้งสองมีบุตรน้อยๆ น่ารักน่าพอใจอยู่คนหนึ่ง เมื่อ
ขณะทั้งสองคนกำลังเดินไปในทางกันดารอยู่ เสบียงเดินทางที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย
นั้นได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารนั้นยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองยังข้ามพ้นไปไม่ได้
ครั้งนั้น เขาทั้งสองคนคิดตกลงกันอย่างนี้ว่า เสบียงเดินทางของเราทั้งสองอันใด
แลมีอยู่เล็กน้อย เสบียงเดินทางอันนั้นก็ได้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ทางกันดารนี้ยัง
เหลืออยู่ เรายังข้ามพ้นไปไม่ได้ อย่ากระนั้นเลย เราสองคนมาช่วยกันฆ่าบุตร
น้อยๆ คนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจคนนี้เสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อได้
บริโภคเนื้อบุตร จะได้พากันเดินข้ามพ้นทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น ถ้าไม่เช่นนั้น
เราทั้งสามคนต้องพากันพินาศหมดแน่ ครั้งนั้น ภรรยาสามีทั้งสองคนนั้น ก็ฆ่าบุตร
น้อยๆ คนเดียวผู้น่ารัก น่าพอใจนั้นเสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้อย่าง เมื่อ
บริโภคเนื้อบุตรเสร็จ ก็พากันเดินข้ามทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น เขาทั้งสองคน
รับประทานเนื้อบุตรพลาง ค่อนอกพลางรำพันว่า ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของ
ฉันไปไหนเสีย ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย ดังนี้ เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นเป็นอย่างไร คือว่าเขาได้บริโภคเนื้อบุตรที่เป็นอาหารเพื่อความ
คะนองหรือเพื่อความมัวเมา หรือเพื่อความตบแต่ง หรือเพื่อความประดับประดา
ร่างกายใช่ไหม ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า จึงตรัสต่อไปว่า ถ้า
เช่นนั้น เขาพากันรับประทานเนื้อบุตรเป็นอาหารเพียงเพื่อข้ามพ้นทางกันดารใช่
ไหม ใช่ พระเจ้าข้า พระองค์จึงตรัสว่า ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า บุคคลควรเห็น
กวฬิงการาหารว่า [เปรียบด้วยเนื้อบุตร] ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่ออริยสาวก
กำหนดรู้กวฬิงการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณ
เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณได้แล้ว สังโยชน์อันเป็น
เครื่องชักนำอริยสาวกให้มาสู่โลกนี้อีกก็ไม่มี ฯ
[๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร เหมือนอย่าง
ว่า แม่โคนมที่ไม่มีหนังหุ้ม ถ้ายืนพิงฝาอยู่ก็จะถูกพวกตัวสัตว์อาศัยฝาเจาะกิน ถ้า
ยืนพิงต้นไม้อยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ชนิดอาศัยต้นไม้ไชกิน หากลงไปยืนแช่น้ำอยู่ ก็
จะถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำตอดและกัดกิน ถ้ายืนอาศัยอยู่ในที่ว่าง ก็จะถูกมวลสัตว์
ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะกัดและจิกกิน เป็นอันว่าแม่โคนมตัวนั้นที่ไร้หนังหุ้มจะไป
อาศัยอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นๆ กัดกินอยู่ร่ำไป
ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่าพึงเห็นผัสสาหารฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออริยสาวกกำหนด
รู้ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนาทั้งสามได้ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้
เวทนาทั้งสามได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้
อีกแล้ว ฯ
[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัญเจตนาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร
เหมือนอย่างว่า มีหลุมถ่านเพลิงอยู่แห่งหนึ่ง ลึกมากกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่าน
เพลิง ไม่มีเปลว ไม่มีควัน ครั้งนั้นมีบุรุษคนหนึ่งอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์เดินมา บุรุษสองคนมีกำลังจับเขาที่แขนข้างละคนคร่าไปสู่หลุม
ถ่านเพลิง ทันใดนั้นเอง เขามีเจตนาปรารถนาตั้งใจอยากจะให้ไกลจากหลุมถ่าน
เพลิง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขารู้ว่า ถ้าเขาจักตกหลุมถ่านเพลิงนี้ ก็จักต้อง
ตายหรือถึงทุกข์แทบตาย ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่าพึงเห็นมโนสัญเจตนาหาร ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่ออริยสาวกกำหนดมโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้
ตัณหาทั้งสามได้แล้ว เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ตัณหาทั้งสามได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มี
สิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกแล้ว ฯ
[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร เหมือน
อย่างว่า พวกเจ้าหน้าที่จับโจรผู้กระทำผิดได้แล้วแสดงแก่พระราชาว่า ขอเดชะ
ด้วยโจรผู้นี้กระทำผิด ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ลง
โทษโจรผู้นี้ตามที่ทรงเห็นสมควรเถิด จึงมีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ไปเถอะพ่อ จงประหารมันเสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเช้านี้ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็
ช่วยประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเช้า ต่อมาเป็นเวลาเที่ยงวัน
พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้น
เป็นอย่างไรบ้าง เขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมีชีวิตอยู่ตามเดิม จึงมี
พระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงช่วยกันประหารมันเสีย
ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็ประหารนักโทษคนนั้นเสีย
ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน ต่อมาเป็นเวลาเย็น พระราชาทรงซักถาม
เจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เขา
พากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมีชีวิตอยู่ตามเดิม จึงมีพระกระแสรับสั่งอย่าง
นี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงประหารมันเสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเย็น
เจ้าหน้าที่คนนั้นก็ประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายยังเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือว่าเมื่อเขากำลังถูกประหารด้วยหอก
ร้อยเล่มตลอดวันอยู่นั้น จะพึงได้เสวยแต่ทุกข์โทมนัสซึ่งมีการประหาร นั้นเป็น
เหตุเท่านั้น มิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากำลังถูกประหารอยู่ด้วยหอกแม้เล่ม
เดียว ก็พึงเสวยความทุกข์โทมนัสซึ่งมีการประหารนั้นเป็นเหตุ แต่จะกล่าวไปไยถึง
เมื่อเขากำลังถูกประหารอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า จะพึง
เห็นวิญญาณาหารฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้ว
ก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เมื่ออริยสาวกมากำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เรากล่าว
ว่า ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกแล้ว ฯ

จบสูตรที่ ๓

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๖๒๐ - ๒๖๙๖. หน้าที่ ๑๐๘ - ๑๑๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร