วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 17:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณ mes จะให้ธาตุรู้ อยู่ลอย เป็นเอกธาตุ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ครับ


ผมมิได้กล่าวเช่นนั้น


เมื่อคุณ mes มิได้หมายความอย่างนั้น การที่ จิตไม่เกิดดับ เกิดดับแต่จิตตสังขาร จึงไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มื่อสัญญาอย่างหนึ่งเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่งดับไป
(สัญญา จะเกิดลอยๆ โดยไม่มีเวทนา สังขาร เกิดร่วมเกิดพร้อม ไม่ได้)


คุณเช่นนั้นกรุณายกพระสูตรมาแสดงเป็นตัวอย่างด้วยครับ

ผมยังไม่มีความรู้ว่า เวทนา สัญญา สังขาร ต้องเกิดพร้อมกัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเปิดตำราแล้วสิครับ :b9:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณ mes จะให้ธาตุรู้ อยู่ลอย เป็นเอกธาตุ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ครับ


ผมมิได้กล่าวเช่นนั้น


เมื่อคุณ mes มิได้หมายความอย่างนั้น การที่ จิตไม่เกิดดับ เกิดดับแต่จิตตสังขาร จึงไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

Quote Tipitaka:
จิตตสังขาร
1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา
2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม
ดู สังขาร



เช่นกันครับคุณเช่นนั้นช่วยยกพระสูตรมาแสดงด้วย

เพื่อ มาถกกันเป็นความรู้ถ้าผมมีความเห็นประสพการณ์ที่แตกต่าง



.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
จะเปิดตำราแล้วสิครับ :b9:


ไม่เปิดไม่ได้แล้วครับ

ความรู้มีจำกัด :b17:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... &pagebreak

ก๊อปพระสูตร คงจะยาว

ลิงค์พระสูตร ดีกว่า
ใจความช่วง.... ปัญญา วิญญาณ .....เวทนา สัญญา วิญญาณ

อ่านแป๊ปนุงก่อน แล้วค่อยถกกันต่อดีไหมครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เรื่องปัญญากับวิญญาณ
[๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกร
ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึง
ตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม.
ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มี
อายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ
ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา?
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคล
มีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.
ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
จึงตรัสว่า วิญญาณ?
สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
วิญญาณ.
ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุ
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยก
ออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณ
รู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.
ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึง
ทำต่างกันบ้างหรือไม่?
สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควร
เจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.

เรื่องเวทนาสัญญาและวิญญาณ
[๔๙๕] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เวทนาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไร
หนอ จึงตรัสว่า เวทนา?
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธรรมชาติที่รู้ๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เวทนา
รู้อะไร รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง ธรรมชาติย่อมรู้ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า
เวทนา.
ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัญญาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
จึงตรัสว่า สัญญา?
สา. ธรรมชาติที่จำๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า สัญญา จำอะไร จำสีเขียว
บ้าง จำสีเหลืองบ้าง จำสีแดงบ้าง จำสีขาวบ้าง ธรรมชาติย่อมจำๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สัญญา
ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

[๔๙๖] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณ (จิตอันสัมปยุตด้วยรูปาวจร-
*ฌานที่ ๔) อันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕ พึงรู้สิ่งอะไร?
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณอันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕
พึงรู้อากาสานัญจายตนฌานว่า อากาศหาที่สุดมิได้ พึงรู้วิญญาณัญจายตนฌานว่า วิญญาณหาที่สุด
มิได้ พึงรู้อากิญจัญญายตนฌานว่า น้อยหนึ่งมิได้มี.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมจับใจความได้อย่างนี้

1.สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยก
ออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณ
รู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

2.ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน


แตกต่างจาก
เช่นนั้น เขียน:
เครื่องปรุงแต่งจิต หรือจิตตสังขาร ที่เกิดขึ้นซึ่งแม้พระอรหันตเจ้าอย่างพระสารีบุตรเถระ ก็ยังไม่อาจแยกออกจากกันได้ ในหนึ่งขณะจิต ซึ่งก็คือ เวทนา สัญญา และสังขาร



ไม่เหมือนกันน่ะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมั่กที่ ลิงค์พระสูตร

ส่วนสัญญาหนึ่งเกิดขึ้น สัญญาหนึ่งดับไป อยู่ที่โปฏฐปาทสูตร

นำใจความสำคัญของพระสูตรทั้งสองมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน

ก็จะ เข้าใจถึงสภาวะการเกิด ดับ ของจิตและจิตตสังขาร

----
การเกิดร่วมเกิดพร้อม กันจึงเป็นความปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
แต่องค์ธรรม คือขันธ์ ก็มีลักษณะเฉพาะขององค์ธรรมหรือขันธ์ นั้นๆ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 15:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เรื่องปัจจัยเจโตวิมุติ
[๕๐๓] ก. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
มีเท่าไร?
สา. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมี ๔ อย่าง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ
อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี ๔ อย่าง ดังนี้แล.
ก. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือ การไม่มนสิการถึง
นิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอัน
ไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.
ก. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง คือการมนสิการถึง
นิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ อภิสังขาร (ความกำหนดระยะกาล)
ในเบื้องต้น ๑ ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง ดังนี้แล.
ก. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือการไม่มนสิการถึงนิมิต
ทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มี
นิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.
[๕๐๔] ก. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มี
อะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน
และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น?
สา. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีอะไรๆ
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต ปริยายที่บ่งว่าธรรมเหล่านี้ มีอรรถ
ต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันก็มี และปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นก็มี.
ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน? ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไป สู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไป
สู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวาง
เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์
แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถานทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ...
มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ที่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้างขวาง
เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์
แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันหาประมาณมิได้.
เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตน-
*ฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ อยู่ ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ.
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี
ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้ นี้พระ
ผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง.
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตสมาธิอัน
ไม่มีนิมิต เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเจโตวิมุตติมีอารมณ์อันไม่มี
นิมิต.
ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน.
ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นเป็น
ไฉน? ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ ราคะเป็นต้นนั้น อันภิกษุ
ผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้วทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว
มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมี
อารมณ์ไม่มีประมาณทั้งหมด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจาก
โมหะ. ราคะอันเป็นเครื่องกังวล โทสะอันเป็นเครื่องกังวล โมหะอันเป็นเครื่องกังวล ราคะเป็น
ต้นนั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว
ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า
เลิศกว่าเจโตวิมุติอันมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ ทั้งหมด. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ
ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ. ราคะอันทำนิมิต โทสะอันทำนิมิต โมหะอันทำนิมิต ราคะเป็นต้น
นั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่
ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า
เลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแลว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ
ว่างจากโมหะ.
ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียง
พยัญชนะเท่านั้น.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวแก้ปัญหานี้แล้ว ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระสารีบุตร ฉะนี้แล.


อันนี้จำได้ สำคัญ จำได้
ไม่หลง ไม่หลง


:b17:

:b8: :b8: :b8:

สาธุ สาธุ กราบขอบพระคุณท่านเช่นนั้น
ที่โยงไปให้ได้อ่าน

เหมือนที่อาจารย์พูดเลย
ตอนที่อาจารย์ดูแลกำกับตอนที่ให้นั่งสมาธิ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เช่นนั้น เขียน:
เครื่องปรุงแต่งจิต หรือจิตตสังขาร ที่เกิดขึ้นซึ่งแม้พระอรหันตเจ้าอย่างพระสารีบุตรเถระ ก็ยังไม่อาจแยกออกจากกันได้ ในหนึ่งขณะจิต ซึ่งก็คือ เวทนา สัญญา และสังขาร


อย่างนี้ครับ คุณเช่นนั้น

ผมเห็นแย้งคุณเช่นนั้นตามพระสูตรที่ผมเข้าใจว่า

ที่คุณเช่นนั้นกล่าวว่าหนึ่งขณะจิต คือเวทนา สัญญา และสังขารแยกออกจากกันไม่ได้

แต่ในพระสูตรแยกออกจากกันครับคือ

สัญญา เวทนา กับวิญญาณแยกจากกันไม่ได้

ปัญญา (ผมเข้าใจว่าเป็นสังขาร)กับปัญญาแยกจากกันไม่ได้

แต่

(สัญญา เวทนา วิญญาณ) กับ (ปัญญา(สังขาร) วิญญาณ) แยกออกจากกัน

ตามพระสูตร


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรความย่อ
โปฏฐปาทสูตร
ว่าด้วย ปริพาชกโปฏฐปาทะ
ที่มา: พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕
เล่ม ๙ ข้อ ๒๗๕ - ๓๑๓ หน้า ๒๕๒ - ๒๘๒

ดูพระสูตรตอนเดียวกัน โดยคลิกที่ http://www.navy.mi.th/misc/budham/suts/dns9.htm




สาระสังเขป
สถานที่: มัลลิการาม และพระวิหารเชตวัน พระนครสาวัตถี
ผู้สอน: พระพุทธเจ้า
ผู้รับคำสอน: โปฏฐปาทปริพาชก และจิตตหัตถิสารีบุตร
หัวข้อธรรม: อภิสัญญานิโรธ ดู:ข้อ[๒]
จุลศีล ดู:ข้อ[๓]
มัชฌิมศีล ดู:ข้อ[๔]
มหาศีล ดู:ข้อ[๕]
อินทรียสังวร ดู:ข้อ[๖]
สติสัมปชัญญะ ดู:ข้อ[๗]
สันโดษ ดู:ข้อ[๘]
นิวรณ์ ๕ ดู:ข้อ[๙]
การเกิด ดับสัญญา ด้วยการศึกษา ดู:ข้อ[๑๐]
การเข้าอภิสัญญานิโรธ ดู:ข้อ[๑๑]
สัญญาเป็นอัตตาหรือ? ดู:ข้อ[๑๔]
อัพยากตปัญหา ดู:ข้อ[๑๕]
ธรรม และเหตุที่ทรงพยากรณ์ ดู:ข้อ[๑๖]
เอกังสิธรรม ดู:ข้อ[๑๙]
การได้[มี]อัตตา ๓ ประการ ดู:ข้อ[๒๒]
การละอัตตา ดู:ข้อ[๒๓]
อัตตาที่มีอยู่ในกาลใด เป็นจริงเฉพาะในกาลนั้น ดู:ข้อ[๒๔]


[๑] สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ประมาณ ๓,๐๐๐ อาศัยอยู่ในมัลลิการาม ซึ่งเป็นสถานที่โต้ลัทธิ
เช้าวันนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี พระองค์ดำริว่า ยังเช้านัก ควรจะเข้าไปหาโปฏฐปาทปริพาชก ณ มัลลิการามก่อน จึงเสด็จไป ณ ที่นั้น
โปฏฐปาทปริพาชกนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ กำลังสนทนาเรื่องไร้สาระ เสียงดังเอะอะ พอโปฏฐปาทปริพาชกได้เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า อย่าส่งเสียงอึงนัก พระสมณโคดมกำลังเสด็จมา พระองค์โปรดเสียงเบา พวกปริพาชกเหล่านั้นจึงเงียบลง
เมื่อพระพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึง โปฏฐปาทปริพาชกได้กราบทูลเชิญพระองค์ประทับนั่ง ณ อาสนะที่จัดไว้ แล้วพระองค์รับสั่งถามว่าพวกท่านกำลังสนทนาเรื่องอะไรกันอยู่
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๕ - ๒๗๗]๒๕๒-๒๕๓


ว่าด้วยอภิสัญญานิโรธ
[๒] โปฏฐปาทปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่พวกข้าพระองค์สนทนากันบัดนี้นั้นของดไว้ก่อน วันก่อน ๆ พวกสมณพราหมณ์ผู้มีลัทธิแตกต่างกัน ได้สนทนากัน ณ โกตุหลศาลา ในเรื่อง อภิสัญญานิโรธ บางพวกกล่าวว่า สัญญาของบุรุษ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เกิดขึ้นเอง ดับไปเอง เมื่อสัญญาเกิดขึ้น สัตว์ก็มีสัญญา เมื่อสัญญาดับไป สัตว์ก็ไม่มีสัญญา
อีกพวกหนึ่งกล่าวว่าไม่ใช่เช่นนั้น เพราะว่าสัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ เมื่อใดอัตตาเข้ามา สัตว์ก็มีสัญญา เมื่อใดอัตตาออกไป สัตว์ก็ไม่มีสัญญา
อีกพวกหนึ่งกล่าวว่าไม่ใช่เช่นนั้น เพราะว่าสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์ สามารถบันดาลสัญญาได้ เมื่อใดบันดาลให้มี สัตว์ก็มีสัญญา เมื่อใดบันดาลให้ไม่มี สัตว์ก็ไม่มีสัญญา
อีกพวกหนึ่งกล่าวว่าไม่ใช่เช่นนั้น เพราะเทวดาที่มีฤทธิ์สามารถบันดาลสัญญาได้ เมื่อบันดาลให้มี สัตว์ก็มีสัญญา เมื่อบันดาลให้ไม่มี สัตว์ก็ไม่มีสัญญา
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อภิสัญญานิโรธ ที่แท้เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร๙[๒๗๘]๒๕๓-๒๕๔
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรโปฏฐปาทะ ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกที่กล่าวว่า สัญญาของบุรุษ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เกิดขึ้นเอง ดับไปเอง เป็นพวกที่มีความเห็นผิด เพราะสัญญาของบุรุษมีเหตุ มีปัจจัย เกิดขึ้นเพราะการศึกษา[การฝีกอบรมตน]ก็มี ดับไปเพราะการศึกษาก็มี
ดูกรโปฏฐปาทะ ก็การศึกษาอย่างไรเล่าที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สัญญาเกิดขึ้นหรือดับไป

[ เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่าย ขอสรุปสาระที่พระพุทธองค์ทรงแสดงถึง อภิสัญญานิโรธ ในลำดับต่อไปนี้ให้ทราบก่อน คือ พระองค์เริ่มด้วยกล่าวถึงพระพุทธคุณ แล้วกล่าวถึงบุคคลที่ฟังธรรมแล้ว เกิดศรัทธาออกบวชเป็นภิกษุ ปฏิบัติธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล (จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล) อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ ปราศจากนิวรณ์ ๕ บรรลุรูปฌาน และอรูปฌาน
รูปฌาน และอรูปฌาน ที่ภิกษุได้ศึกษาหรือฝีกอบรมตนจนบรรลุ นี้แหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้สัญญาเกิดขึ้นหรือดับไป ]

บุคคลที่ได้ฟังธรรมแล้ว เกิดศรัทธาในพระตถาคต ตระหนักชัดว่า บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์นั้น เป็นไปได้ยาก จึงออกบวช ประพฤติธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๙]๒๕๔-๒๕๕


จุลศีล
[๓] พ. ภิกษุที่ถึงพร้อมด้วยศีล คือภิกษุที่
๑. ละการฆ่าสัตว์
๒. ละการลักทรัพย์
๓. ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
๔. ละการพูดเท็จ
๕. ละคำส่อเสียด
๖. ละคำหยาบ
๗. ละคำเพ้อเจ้อ
๘. เว้นจากการพรากพืชคาม และภูตคาม
๙. ฉันมื้อเดียว
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น
๑๑. เว้นขาดจากการประดับและตบแต่งร่างกาย
๑๒. เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมาร
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน
๒๒. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงดัวยตาชั่ง และของปลอม
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก

ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๙]๒๕๕-๒๕๖

มัชฌิมศีล
[๔] ภิกษุที่ถึงพร้อมด้วยศีล คือภิกษุที่เว้นขาดจากการกระทำ ซึ่งสมณพราหมณ์บางพวกที่แม้จะฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ก็มิได้เว้น คือ
๑. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
๒. เว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้
๓. เว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่การกุศล
๔. เว้นขาดจากการเล่นพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๕. เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
๖. เว้นขาดจากการประกอบการประดับตบแต่งร่างกาย
๗. เว้นขาดจากติรัจฉานกถา
๘. เว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน
๙. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้
๑๐. เว้นขาดจากการพูดหลอกลวงและการพูดเลียบเคียง

ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๙]๒๕๗-๒๕๙

มหาศีล
[๕] ภิกษุที่ถึงพร้อมด้วยศีล คือภิกษุที่เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา ซึ่งสมณพราหมณ์บางพวกที่แม้จะฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ก็มิได้เว้น คือ
๑. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดย การทาย การทำนาย การทำพิธี และเป็นหมอทางไสยศาตร์
๒. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดย การทายลักษณะบุคคล สัตว์ และสิ่งของ
๓. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดย การดูฤกษ์ยาตราทัพ
๔. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดย การพยากรณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตร
๕. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดย การพยากรณ์เกี่ยวกับฝน อาหาร โรคภัย
๖. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดย การให้ฤกษ์ ดูฤกษ์ ร่ายมนต์ เข้าทรง และการบวงสรวง
๗. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดย การทำพิธีบนบานและแก้บน ขับผี แปลง เพศกระเทย ทำน้ำมนต์ ปรุงยา

ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๙]๒๕๙-๒๖๒

อินทรียสังวร
[๖] ภิกษุผู้มีอินทรีย์สังวร คือ ภิกษุที่ เมื่อเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น สัมผัสด้วยกาย หรือรู้ด้วยใจแล้ว จะสำรวมอินทรีย์นั้น ๆ [คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ] มิให้อกุศลเข้าครอบงำ
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๙]๒๖๒

สติสัมปชัญญะ
[๗] ภิกษุผู้มีสติสัปชัญญะ คือ ภิกษุที่ มีความรู้สึกตัวในทุก ๆ อิริยาบถของตนอยู่เสมอ
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๙]๒๖๒-๒๖๓

สันโดษ
[๘] ภิกษุผู้สันโดษ คือภิกษุที่ พอใจในการดำรงอัตภาพเพียงด้วยจีวร และอาหารบิณฑบาต ตามที่จะพึงมีพึงได้
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๙]๒๖๓

นิวรณ์ ๕
[๙] ภิกษุที่ถึงพร้อมด้วย ศีล อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษแล้ว ย่อมไปสู่ที่อันสงัด นั่งสมาธิ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ ๕ คือ ละความพอใจทางโลก ละความพยาบาท[ความคิดร้ายเคืองแค้น] ละถีนมิทธะ[ความหดหู่] ละอุทธัจจะกุกกุจจะ[ความฟุ้งซ่าน] ละวิจิกิจฉา[ความลังเลสงสัย] เหล่านี้ได้
อุปมานิวรณ์ ๕
บุคคลที่เป็นหนี้ หรือป่วยเป็นโรค หรือติดคุก หรือเป็นทาส หรือเดินทางไกลในที่กันดาร เหล่านี้ เมื่อเขาใช้หนี้หมดไม่เป็นหนี้ หรือหายป่วยไม่มีโรค หรือพ้นจากถูกจองจำ หรือพ้นจากความเป็นทาส กลับเป็นไทยแก่ตน หรือเดินทางพ้นที่กันดารถึงหมู่บ้านอันเกษม เขาย่อมมีความปลาบปลื้มยินดี ฉันใด ภิกษุที่ละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเปรียบเหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร เหล่านี้ได้ ก็ฉันนั้น
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๙]๒๖๓-๒๖๕

การศึกษาที่เป็นเหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
[๑๐] เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นว่าตนละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว ย่อมเกิดปราโมทย์ มีปึติในใจ มีกายสงบ มีสุข จิตตั้งมั่น ปราศจากอกุศลกรรม บรรลุปฐมฌาน อันมี วิตก วิจาร ปีติ และสุขเกิดจากวิเวกอยู่ สัญญาเกี่ยวด้วยกามที่มีอยู่ก่อนย่อมดับไป สัญญาอันมีปีติและสุขเกิดจากวิเวกย่อมเกิดขึ้น นี้แหละ คือการศึกษา [ฝึกอบรมตน] ข้อหนึ่ง ที่เป็นเหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
เมื่อวิตก วิจารสงบไป ภิกษุย่อมบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสภายในจิต มีปึติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ สัญญาอันมีปีติและสุขเกิดจากวิเวกที่มีอยู่ก่อนย่อมดับไป สัญญาอันมีปีติและสุขเกิดจากสมาธิย่อมเกิดขึ้น นี้แหละคือการศึกษาข้อหนึ่ง ที่เป็นเหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
เมื่อปีติสงบระงับไป ภิกษุย่อมบรรลุตติยฌาน อันมีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สัญญาอันมีปีติและสุขเกิดจากสมาธิที่มีอยู่ก่อนย่อมดับไป สัญญาอันประกอบด้วยสุขเกิดจากอุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นี้แหละ คือการศึกษาข้อหนึ่ง ที่เป็นเหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
เมื่อละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ ภิกษุย่อมบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาอยู่ สัญญาอันประกอบด้วยสุขเกิดจากอุเบกขาที่มีอยู่ก่อนย่อมดับไป สัญญาอันประกอบด้วยอทุกขมสุขย่อมเกิดขึ้น นี้แหละ คือการศึกษาข้อหนึ่ง ที่เป็นเหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
เมื่อล่วงพ้นรูปสัญญา ละปฏิฆสัญญาได้ ไม่ใส่ใจในสัญญาทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งมีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด รูปสัญญาที่มีอยู่ก่อน ย่อมดับไป สัญญาอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ย่อมเกิดขึ้น นี้แหละ คือการศึกษาข้อหนึ่ง ที่เป็นเหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
เมื่อล่วงพ้นอากาสานัญจายตนฌานโดยสิ้นเชิงแล้ว ภิกษุย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด สัญญาอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานที่มีอยู่ก่อนย่อมดับไป สัญญาอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ย่อมเกิดขึ้น นี้แหละ คือการศึกษาข้อหนึ่ง ที่เป็นเหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
เมื่อล่วงพ้นวิญญาณัญจายตนฌานโดยสิ้นเชิงแล้ว ภิกษุย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร สัญญาอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานที่มีอยู่ก่อนย่อมดับไป สัญญาอันประกอบด้วย อากิญจัญญายตนฌาน ย่อมเกิดขึ้น นี้แหละ คือการศึกษาข้อหนึ่ง ที่เป็นเหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๗๙ - ๒๘๕]๒๖๕-๒๖๗

การเข้าอภิสัญญานิโรธ
[๑๑] ดูกรโปฏฐปาทะ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างหนึ่งดับไป และสัญญาอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ตามลำดับ ตั้งแต่ปฐมฌาน สู่ทุติยฌาน จนบรรลุอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ย่อมมีความวิตกขึ้นว่า ขณะนี้เรายังคิดอยู่ [ยังมีอารมณ์หรือสัญญาอยู่] ถ้าเรายังขืนคิดขืนคำนึง สัญญาที่มีอยู่อาจดับไป และสัญญาอย่างหยาบอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นเราควรเลิกคิด เมื่อภิกษุนั้นเลิกคิด สัญญาที่มีอยู่ก็ดับไป โดยที่สัญญาหยาบอื่น ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น ภิกษุนั้นจึงบรรลุนิโรธ นี้แหละ คือ การเข้าอภิสัญญานิโรธของภิกษุผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับ
พ. ดูกรโปฏฐปาทะ เธอเคยได้ยิน การเข้าอภิสัญญานิโรธ ของภิกษุผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับเช่นนี้ มาก่อนบัางหรือ ?
ป. หามิได้ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เพิ่งรู้จากที่พระองค์ทรงแสดงนี้แหละ
[๑๒] ป. พระองค์ทรงบัญญัติอากิญจัญญายตนฌานไว้อย่างเดียว หรือหลายอย่าง
พ. เราบัญญัติอากิญจัญญายตนฌาน อย่างเดียวก็มี หลายอย่างก็มี
ป. ทำไมพระองค์จึงทรงบัญญัติไว้ทั้งอย่างเดียว และหลายอย่าง
พ. เพราะเราบัญญัติอากิญจัญญายตนฌานตามการบรรลุนิโรธ เมื่อบรรลุนิโรธอย่างไร เราก็บัญญัติอากิญจัญญายตนฌานอย่างนั้น

[๑๓] ป. สัญญาเกิดก่อน หรือเกิดทีหลังญาณ หรือเกิดพร้อมกัน
พ. สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะสัญญาต้องเกิดขึ้น ญาณจึงจะเกิดขึ้น
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๘๖ - ๒๘๘]๒๖๗ - ๒๖๘


ว่าด้วยสัญญาและอัตตา
[๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัญญาเป็นอัตตาของบุคคล หรือสัญญาเป็นคนละอย่างกับอัตตา ?
ดูกรโปฏฐปาทะ อัตตาของท่าน คืออย่างไร
ป. อัตตาของข้าพระองค์ คืออัตตาอย่างหยาบ ที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคกวลิงการาหาร
พ. ถ้าอัตตาของท่านเป็นอย่างนั้น สัญญาของท่านจะเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่ว่าอัตตานั้นจะเป็นอย่างไร สัญญาของบุคคลย่อมเกิดขึ้นอย่างหนึ่ง และดับไปอย่างหนึ่ง
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสตอบเช่นนั้นแล้ว โปฏฐปาทปริพาชก ได้ทูลว่า ถ้าอัตตาเป็นอย่างอื่น ๆ คือ
อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะนัอยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง และ
อัตตาที่ไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา
พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบในอัตตาแต่ละอย่างนั้นเช่นเดียวกับที่ตอบมาแล้ว ว่า สัญญาเป็นคนละอย่างกับอัตตา
ป. ข้าพระองค์จะทราบได้หรือไม่ว่า สัญญาเป็นอัตตาของบุคคล หรือสัญญาเป็นคนละอย่างกับอัตตา ?
พ. ยากที่ท่านจะรู้ความข้อนั้นได้ เพราะท่านมีความเห็น ความพอใจ ความพยายาม ไปทางหนึ่ง มีลัทธิอาจารย์อย่างหนึ่ง
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๘๙ - ๒๙๒]๒๖๘-๒๖๙

อัพยากตปัญหา
[๑๕] ป. ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์ก็ขอทราบว่า โลกเที่ยงนี้เท่านั้นเป็นความจริง นอกจากนี้ไม่จริง อย่างนั้นหรือ
พ. ข้อนี้ เราไม่พยากรณ์
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสตอบเช่นนั้นแล้ว โปฏฐปาทปริพาชก ได้ทูลถามข้ออื่น ๆ ทีละข้อว่า ข้อนั้น ๆ เท่านั้นหรือที่เป็นจริง คือ
โลกไม่เที่ยง
โลกมีที่สุด ;
โลกไม่มีที่สุด
ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่

ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบ แต่ละข้อนั้น ทุกข้อว่า เราไม่พยากรณ์
ป. เพราะเหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงพยากรณ์ความข้อนั้น
พ. เพราะข้อนั้นๆ ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นของการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อดับกิเลสและเพื่อนิพพาน
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๙๒]๒๗๐
[๑๖] ป. พระองค์ทรงพยากรณ์อย่างไร
พ. เราพยากรณ์ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ป. เพราะเหตุใดพระองค์จึงทรงพยากรณ์ดังนั้น
พ. เพราะข้อนั้น เป็นประโยขน์ เป็นเบื้องต้นของการประพฤติพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อดับกิเลส และเพื่อนิพพาน
ป. ชอบแล้ว พระเจ้าข้า
ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าก็เสด็จลุกจากอาสนะไป
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๙๓]๒๗๐-๒๗๑

[๑๗] เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน ปริพาชกเหล่านั้นได้พากันรุมต่อว่าโปฏฐปาทปริพาชกว่า ไม่ว่าพระพุทธองค์ตรัสคำใด ท่านก็อนุโมทนาคำนั้นทุกคำ ว่า ชอบแล้ว ส่วนพวกเราไม่ทราบเลยว่า ในบรรดาข้อปัญหาต่าง ๆ นั้น ข้อใดที่พระพุทธองค์ได้ตรัสชัดลงไปอย่างเดียวว่า ข้อนี้เท่านั้นที่เป็นความจริง
โปฏฐปาทปริพาชกได้ตอบว่า ข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบเช่นเดียวกับพวกท่าน แต่ว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงทางปฏิบัติที่จริงแท้แน่นอน เป็นหลักธรรม เป็นกฎแห่งธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เหตุใดเล่าวิญญูชนเช่นเราจะไม่อนุโมทนา
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๙๔ - ๒๙๕]๒๗๑


จิตตหัตถิสารีบุตรและโปฏฐปาทปริพาชก
[๑๘] ครั้นล่วงไปได้ ๒ - ๓ วัน จิตตหัตถิสารีบุตรกับโปฏฐปาทปริพาชก พากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ
โปฏฐปาทปริพาขก ได้กราบทูลเรื่องที่ตนถูกพวกปริพาชกต่อว่า และตนได้ตอบชี้แจงไปอย่างไร ให้พระองค์ทราบ
พระพุทธเจ้าได้มีพระดำรัสว่า ปริพาชกเหล่านั้นเหมือนคนตาบอด จึงมองไม่เห็น มีแต่ท่านผู้เดียวที่มองเห็น
พ. ท่านโปฏฐปาทะ ธรรมที่เราแสดงว่า เป็นอย่างนั้นแน่นอนแต่อย่างเดียวก็มี
ธรรมที่เราไม่แสดงว่าเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งแต่อย่างเดียวก็มี ซึ่งได้แก่ปัญหา โลกเที่ยง... ฯลฯ ...สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ [รวม ๑๐ ข้อ]
เหตุที่เราแสดงธรรมไม่ตายตัวลงไปอย่างเดียว ก็เพราะธรรมเหล่านั้น ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นของการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อดับกิเลศและเพื่อนิพพาน
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๙๖ - ๒๙๗]๒๗๑-๒๗๒

เอกังสิธรรม
[๑๙] พ. ธรรมที่เป็นอย่างนั้นอย่างเดียว ที่เราแสดงแล้ว ได้แก่ นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหตุที่เราแสดงธรรมตายตัวลงไปอย่างเดียว ก็เพราะธรรมเหล่านั้น เป็นประโยชน์ เป็นเบื้องต้นของการประพฤติพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อดับกิเลศและเพื่อนิพพาน
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๙๘]๒๗๓
[๒๐] พ. มีสมณพราหมณ์ที่มีทิฏฐิว่า เมื่อตายแล้ว อัตตาที่ไม่เสื่อมสลาย มีแต่ความสุขอย่างเดียว มีอยู่
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น ถามว่าพวกท่านมีทิฏฐิเช่นนั้นจริงหรือ ถ้าสมณพราหมณ์พวกนั้นตอบว่า มีทิฏฐิเช่นนั้นจริง เราจะถามเขาทีละข้อ ว่า
- ท่านเคยรู้เห็นโลกที่มีแต่สุขอย่างเดียวบ้างหรือ
- ท่านเคยรู้เห็นอัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือกึ่งวัน กึ่งคืน บ้างหรือ
- ท่านเคยรู้ว่า นี้หนทาง นี้ข้อปฏิบัติ เพื่อบรรลุโลกที่มีสุขอย่างเดียวบ้างหรือ
- ท่านเคยได้ยินพวกเทวดาผู้เข้าถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว บอกกับท่านว่า ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง เช่นเดียวกับที่พวกเทวดาเราได้ปฏิบัติ จนเข้าถึงโลกที่มีสุขอย่างเดียวได้แล้ว ดังนี้บ้างหรือ
เขาก็จะตอบแต่ละข้อนั้นว่า ไม่เคย
ท่านโปฏฐปาทะ เมื่อเป็นเช่นนี้ คำกล่าว[ทิฏฐิ]ของสมณพราหม์ เหล่านั้น จึงเลื่อนลอยไร้ความหมาย มิใช่หรือ
ป.ถูกแล้ว พระเจ้าข้า
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๒๙๙]๒๗๓-๒๗๔


ว่าด้วยทิฏฐิของสมณพราหมณ์
[๒๑] พ. สมณพราหม์พวกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษที่บอกว่าตนรักใคร่สตรีในชนบท เมื่อถูกถามว่า สตรีที่ท่านรักใคร่นั้น เป็นใคร ชื่ออะไร ตระกูลใด รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน ก็ตอบว่าไม่รู้ เมื่อถูกถามอีกว่า ท่านรักใคร่สตรีที่ท่านไม่รู้จักไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ ก็ตอบว่า ถูกแล้ว เมื่อ เป็นเช่นนี้ คำของบุรุษนั้น จึงเลื่อนลอยไม่มีสาระ
หรือเปรียบเหมือนบุรุษที่กำลังทำบันใดอยู่ที่สี่แยกเพื่อใช้ขึ้นปราสาท เมื่อถูกถามว่า ท่านรู้จักปราสาทนั้นแล้วหรือว่า อยู่ที่ไหน มีขนาดสูงต่ำอย่างไร ก็ตอบว่า ไม่รู้ เมื่อถูกถามอีกว่า ท่านจะทำบันใดขึ้นปราสาทที่ท่านไม่รู้จักไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ ก็ตอบว่า ถูกแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ คำของบุรุษนั้น จึงเลื่อนลอยไม่มีสาระ
ท่านโปฏฐปาทะ คำของบุรุษนั้น ๆ เลื่อนลอยไม่มีสาระ ฉันใด คำของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็เลื่อนลอยไม่มีสาระ ฉันนั้น
ป. ถูกแล้ว พระเจ้าข้า
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๓๐๐ - ๓๐๑]๒๗๔-๒๗๖

การได้[มี]อัตตา ๓ ประการ
[๒๒] พ. อัตตาที่บุคคลเห็นว่า ตนมีนั้น ได้แก่ อัตตา ๓ อย่างนี้ คือ อัตตาที่หยาบ ๑ อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ๑ อัตตาที่หารูปมิได้ ๑
อัตตาที่หยาบ คือ อัตตาที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคกวลิงการาหาร [คือ มีร่างกาย หรือขันธ์ ๕ เป็นอัตตา]
อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ คือ อัตตาที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะนัอยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง [คือ มีรูปฌาณในร่างกายที่บริบูรณ์ เป็นอัตตา]
อัตตาที่หารูปมิได้ คือ อัตตาที่ไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา [คือ มีสิ่งที่ไม่มีรูป เช่นอรูปฌาน เป็นอัตตา]
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๓๐๒]๒๗๖

การละอัตตา
[๒๓] ท่านโปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรม เพื่อละความมีอัตตาแต่ละประการนั้นว่า คือการปฏิบัติของท่าน ที่ปฏิบัติไปอย่างไรแล้ว การปฏิบัตินั้นมีผลให้ละกิเลสในตนได้ มีธรรมอันผ่องแผ้วเจริญยิ่งขึ้น และมีปัญญาอันไพบูลย์รู้แจ้งด้วยตนเองในปัจจุบัน
บางที ท่านอาจเห็นไปว่า แม้ท่านจะปฏิบัติให้มีผลดังกล่าวนั้นได้ แต่ก็ยังมีความทุกข์อยู่นั่นเอง [ต่างกับการมีอัตตา ซึ่งท่านเชื่อว่ามีแต่ความสุข]
ท่านไม่ควรเห็นไปเช่นนั้น เพราะเมื่อปฏิบัติจนมีผลดังกล่าวแล้ว ย่อมนำมาซึ่ง ความปลาบปลื้ม ยินดี สงบ มีสติสัมปชัญะ และมีความสุข
ท่านโปฏฐปาทะ หากมีคนถามเราว่า ธรรมที่แสดงเพื่อละความมีอัตตาแต่ละประการนั้น เป็นอย่างไร เราก็จะตอบว่า ความมีอัตตาคืออย่างนี้ ๆ การละความมีอัตตา คือการปฏิบัติตน ที่เป็นผลให้ ละกิเลสในตนได้ มีธรรมอันผ่องแผ้วเจริญยิ่งขึ้น และมีปัญญาอันไพบูลย์รู้แจังด้วยตนเองในปัจจุบัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ คำกล่าวของเราย่อมมีสาระมิใช่หรือ
เปรียบเหมือนบุรุษที่อยู่ภายในปราสาท กำลังทำบันใดขึ้นปราสาทนั้น เมื่อถูกถามว่า ท่านรู้จักปราสาทนั้นแล้วหรือว่า อยู่ที่ไหน มีขนาดสูงต่ำอย่างไร ก็ตอบว่า ปราสาทที่ข้าพเจ้าอยู่ภายในนี้แหละ คือปราสาทที่ข้าพเจ้ากำลังทำบันใดอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ คำกล่าวของบุรุษนั้นย่อมมีสาระมิใช่หรือ
ป. ถูกแล้ว พระเจ้าข้า
พ. คำกล่าวของบุรุษนั้น มีสาระ ฉันใด คำกล่าวของเรา ก็ฉันนั้น
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร๙[๓๐๓ - ๓๐๘]๒๗๖-๒๗๙

[๒๔] ต่อจากนั้น จิตตหัตถิสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัตตา ๓ ประการนั้น เมื่อใดมีอัตตาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เมื่อนั้นการมีอัตตาอย่างอื่นไม่เป็นจริง คงมีแต่อัตตาที่มีอยู่นั้นเท่านั้นที่เป็นจริง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อใดมีอัตตาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เมื่อนั้นไม่นับว่ามีอัตตาอย่างอื่น นับว่ามีแต่อัตตาที่มีอยู่นั้นอย่างเดียว
พ. ท่านจิตตะ ถ้าเขาถามท่านว่า ตัวท่านนั้น ได้มีแล้วในอดีตมิใช่หรือ จักมีในอนาคตมิใช่หรือ และมีอยู่ในบัดนี้มิใช่หรือ ดังนี้ ท่านจะตอบว่าอย่างไร
ป. ข้าพระองค์จะตอบว่า ตัวข้าพเจ้านั้น ได้มีแล้วในอดีต จักมีในอนาคต และมีอยู่ในบัดนี้
พ. ถ้าเขาถามท่านว่า เมื่อท่านมีตัวท่านอยู่ในกาลใดกาลหนี่ง ตัวท่านที่มีอยู่ในกาลนั้นเท่านั้นที่เป็นจริง ตัวท่านที่มีอยู่ในกาลอื่น ๆ ไม่เป็นจริง มิใช่หรือ ? ดังนี้แล้ว ท่านจะตอบว่าอย่างไร
ป. ข้าพระองค์จะตอบว่า เมื่อข้าพเจ้ามีตัวข้าพเจ้าอยู่ในกาลใดกาลหนี่ง ตัวข้าพเจ้าเช่นนั้นเท่านั้นที่เป็นจริงอยู่ในกาลนั้น ตัวข้าพเจ้าที่มีอยู่ในกาลอื่น ๆ ไม่เป็นจริง
พ. ท่านจิตตะ ในทำนองเดียวกันนั้นแหละ เมื่อใดมีอัตตาอย่างใด อย่างหนึ่งอยู่ เมื่อนั้นไม่นับว่ามีอัตตาอย่างอื่น นับว่ามีแต่อัตตาที่มีอยู่นั้นอย่างเดียว
เปรียบเหมือน นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใสจากเนยข้น หัวเนยใสจากเนยใส เมื่อใดเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่(เช่นเป็นนมสด) เมื่อนั้นก็ไม่นับว่าเป็นอย่างอื่น ๆ (ไม่นับว่าเป็น นมส้ม เนยข้น เนยใส หัวเนยใส) นับว่าเป็นอย่างนั้น(นมสด)อย่างเดียว ฉันใด
การมีอัตตาก็ฉันนั้น เมื่อใดมีอัตตาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เมื่อนั้นก็ไม่นับว่ามีอัตตาอย่างอื่น นับว่ามีแต่อัตตาที่มีอยู่นั้นอย่างเดียว
ท่านจิตตะ ที่กล่าวนี้ เป็นชื่อตามโลก เป็นภาษาโลก เป็นโวหารของโลก เป็นบัญญัติของโลก แต่ตถาคตมิได้ยึดถือ
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๓๐๙ - ๓๑๒]๒๗๙-๒๘๑

[๒๕] เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โปฏฐปาทปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ฝ่ายจิตตหัตถิสารีบุตรก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าพระองค์ขออุปสมบท ในสำนักของพระองค์
เมื่อจิตตหัตถิสารีบุตรได้อุปสมบทแล้วไม่นาน ออกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน ท่านจิตตหัตถิสารีบุตรได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
ที่มา: โปฏฐปาทสูตร ๙[๓๑๓]๒๘๒

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
อ้างคำพูด:
เช่นนั้น เขียน:
เครื่องปรุงแต่งจิต หรือจิตตสังขาร ที่เกิดขึ้นซึ่งแม้พระอรหันตเจ้าอย่างพระสารีบุตรเถระ ก็ยังไม่อาจแยกออกจากกันได้ ในหนึ่งขณะจิต ซึ่งก็คือ เวทนา สัญญา และสังขาร


อย่างนี้ครับ คุณเช่นนั้น

ผมเห็นแย้งคุณเช่นนั้นตามพระสูตรที่ผมเข้าใจว่า

ที่คุณเช่นนั้นกล่าวว่าหนึ่งขณะจิต คือเวทนา สัญญา และสังขารแยกออกจากกันไม่ได้

แต่ในพระสูตรแยกออกจากกันครับคือ

สัญญา เวทนา กับวิญญาณแยกจากกันไม่ได้

ปัญญา (ผมเข้าใจว่าเป็นสังขาร)กับปัญญาแยกจากกันไม่ได้

แต่

(สัญญา เวทนา วิญญาณ) กับ (ปัญญา(สังขาร) วิญญาณ) แยกออกจากกัน

ตามพระสูตร



แยกกันโดยลักษณะ
แต่ในขณะ นั้น... ปะปนกัน ไม่แยกกัน นะครับ

จับให้พิจารณา ปัญญา วิญญาณ >>> (สังขาร วิญญาณ)
เวทนา สัญญา วิญญาณ ...>>> เวทนา สัญญา วิญญาณ(.>>> สังขาร วิญญาณ)
>>>> เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ >>>> จิตตสังขาร และจิต

>>>>เจตตสิก และจิต

>>>>> สิ่งที่เรียกว่า จิต

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เวทนา สัญญา วิญญาณ ...>>> เวทนา สัญญา วิญญาณ(.>>> สังขาร วิญญาณ)


ต้องขอให้ยกพระสูตรมายืนยันอีกครั้งแล้วครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สังขาร
1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด,
ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น
2. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลางๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว,
ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น;
อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ
๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา
๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา
๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา
3. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ
๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร
๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา


ต้องไม่สับสนเรื่องจิตสังขารก่อน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร