วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 01:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 04:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
เป็นความเข้าใจของผมครับ
ใครจะเข้าใจอย่างก็ไม่ว่ากัน ใครจะเชื่อใคร ไม่เชื่อใคร ก็ไม่ใช่ปัญหา
ใครจะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร ก็ไม่มีใครบังคับ แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน
ขอบคุณน้ำใจทุกท่านที่แบ่งปันครับ

ถึงได้แย้งถึงได้มาตำหนิไง ก็ตัวบอกเองว่า เป็นความเข้าใจของตัวเอง
แต่ทำไมเอาพระไตรปิฎกมาชำแหละแบบนี้ล่ะครับ

แล้วที่ดูๆมาก็ไม่เห็นมีอะไรนอกจากว่า เอาพระไตรปิฎกมาเข้าข้างตัวเอง
คนประเภทนี้ส่วนใหญ่ขาดความรับผิดชอบ
แทนที่จะอธิบายความไปตามความเข้าใจของตัวเองเฉยๆ นี่จะต้องอ้างพระไตรปิฎก
อ้างครูบาอาจารย์ พอมีปัญหามีคนไม่เห็นด้วยก็จะโยนกลองไปให้พระไตรปิฏก ครูบาอาจารย์

การอ้างเอาพระไตรปิฎกอ้างครูบาอาจารย์มาเข้าข้างตัวเอง มันพออภัยให้ได้ครับ
คิดไปเสียว่า คนยังมีปัญญาไม่เต็มร้อย ไม่แน่ใจแต่เพราะกิเลสต้องการชนะอันนี้ไม่ว่ากัน

แต่ไอ้ประเภทแสดงความเห็น พอเวลาเกิดปัญหามีคนแย้ง
ตัวเองจนปัญหาก็จะ อ้างเป็นคำของครูบาอาจารย์ แถมบอกว่า
ครูบาอาจารย์ตัวเองเป็นอริยะ ใครแย้งใครไม่เห็นด้วยต้องตกนรกหมกไหม้
มันน่าขำมั้ยล่ะครับ
narapan เขียน:
ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ต้องยกพระไตรปิฏกมาเป็นประธานครับ
โพสพระไตรปิฏก อานิสงส์เสมือนการถวายพระไตรปิฏก มีแต่ส่วนดี
อะไรก็ไม่เที่ยง เว็บพระไตรปิฏกก็ไม่เที่ยง บางครั้งเว็บลิ้งค์ก็เสียเข้าไปอ่านไม่ได้
จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะคัดลอกพระไตรปิฏกที่ตนอ้างอิงถึงมาโพสไว้ทั้งหมด :b46:

การเอาพระไตรปิฎกมาเป็นประธานมาเป็นหลักการนั้นถูกต้องที่สุดครับ
แต่ที่เห็นๆมา มีแต่เอาตัวเองเป็นประธาน ยึดแต่หลักการของตัวเอง
การยกพระไตรปิฎกมา ก็เพื่อเอามาเป็นองค์ประกอบในการสนับสนุนเข้าข้างตัวเองทั้งนั้น

จะบอกให้ครับอันนี้สำหรับคนที่ยังหลงตัวเอง ปัญหาที่ผมตำหนิพวกท่าน
มันอยู่ตรงที่พวกท่านเอาพระไตรปิฎกมาแล้วก็ถือวิสาสะแปลคำในพระไตรปิฎก
ให้มาตรงกับความเข้าใจของตัวเองครับ

ความหมายของพระไตรปิฎกที่เรียกว่าประธาน ก็คือการปฏิบัติแล้วเอาผลการปฏิบัติมาเทียบเคียง
ดูว่ามันใกล้เคียงกันมั้ย ที่สำคัญเนื้อหาในพระไตรปิฎก เขาไม่ได้มาใช้ความคิดมานั่งแปล
เขาใช้การปฏิบัติเองให้เกิดความเข้าใจ ความเข้าใจนี่แหล่ะครับ คือความหมาย
และคำแปลในพระไตรปิฎก



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 04:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๗. จิตตสหภูทุกะ
[๑๕๓๗] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
[๑๕๓๘] สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต


ให้สังเกตุว่า จิต เกิดไม่พร้อมกับจิต

หมายเหตุ .... กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ นั้นเป็นรูป (ซึ่งยังมีรูปที่นอกเหนือจากนี้อีก...............รูป28 )

สรุปว่า จิตเกิดเมื่อใด เมื่อนั้น ต้องประกอบไปด้วยเจตสิก(เวทนา สัญญา สังขาร)ด้วยทุกครั้งไป จิตจะเกิดเพียงลำพัง ไม่ได้เลย(ในภูมิที่มีขันธ์5)

............................................................................................................................................

มาดูกันต่อครับ...........................

จากทฤษฏีที่ว่า............จิต เกิดไม่พร้อมกับ จิต

ย่อมแสดงว่า เมื่อ เกิดจักขุวิญญาณ ขณะนั้น วิญญาณอื่นๆ เป็นต้นว่า โสตวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเกิดไม่ได้

พูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ ขณะที่เห็น ขณะนั้นไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่คิดนึก ไม่ได้รู้ร้อนรู้หนาว ขณะที่เห็น เป็นอันว่าเห็นอย่างเดียว นั่นคือขณะเกิดจักขุวิญญาณ

ขณะนั้น จิตจึงมีแค่ดวงเดียวคือ จักขุวิญญาณเท่านั้น จิตอื่นๆ ไม่มี(แม้จิตจะมีโดยพิศดารเป็นร้อยดวงก็ตาม)

จากทฤษฏีที่ว่า .............สิ่งที่เกิดพร้อมกับจิตก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร และรูปบางส่วน(เอาสั้นๆจาก รูป28)

จักขุวิญญาณที่เกิดมีสิ่งที่เกิดร่วมด้วยคือ เจตสิก(เวทนา สัญญา สังขาร) และรูป......................ครบขันธ์5 พอดี

โสตวิญญาณ ก็อธิบายได้ โดยนัยเดียวกันกับ จักขุวิญญาณ

คือ ขณะมีโสตวิญญาณ ขณะนั้นจิตอื่นๆ ไม่มีเลย ทุกสรรพสิ่งก็เลยมืดสนิท(ไม่มีจักขุวิญญาณ) ไม่มี เย็น ร้อน อ่อนแข็ง ตึง ไหว
เพราะ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว นั้น รู้ได้เพราะมีกายวิญญาณ

ขณะนั้น จิตจึงมีแค่ดวงเดียว คือ โสตวิญญาณเท่านั้น

มิว่าหยั่งลงไปคราใด จิตก็ยังคงมีแค่ดวงเดียว

ย่อมแน่นอน เพราะว่า จิต ไม่เกิดพร้อมกับ จิต

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 14:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน mes ไม่อยู่แย๊ว หง่ะ

จิต เกิดไม่พร้อมกับจิต ชัวร์

เมื่อกลับไปอ่านความหมาย จิต ใหม่ ก็ยังเห็นด้วยตามนั้น

แต่ต้องไม่ใส่แว่นอัตตา
มาใส่แว่นทิฐิแทน รึเปล่า
ไม่รู้ เพราะอ่านแบบ mode อัตตา คือพิจารณาด้วยการมีการครอบครอง มันจะเห็นอย่าง
แต่พอเรามองแบบ mode ทิฐิ มันจะเห็นอีกอย่าง

ขอบคุณท่านโกวิทคร๊าบป๋ม
:b8: :b8: :b8:
ที่ช่วยจุดประกายสิ่งที่เราไม่เคยใส่ใจเข้ามาศึกษามาก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 20:27
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ttp://www.antiwimutti.net/forum/index.php?topic=584.0


เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่า ทุกวันนี้มีการสอนให้ดูจิตที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งถ้าเราฟังโดยไม่เพ่งพิจารณาให้ดีแล้วเราอาจจะถูกชักจูงให้เห็นด้วย หรือคล้อยตาม และเชื่อไปตามนั้นได้โดยง่ายๆ ทั้งๆสิ่งที่เราฟังมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลเลยและเป็นการขาดเหตุผลอย่างยิ่ง ไม่ใช่เกิดจากการรู้เห็นตามความเป็นจริงจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเลย

โดยความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เห็นอาการของจิต(จิตสังขาร)ที่เกิด-ดับนั้น จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากจิตของตน หรือจิตของเรา ใช่มั้ยครับ???

เมื่อถูกถามว่าเราในที่นี่คือใคร???
คำตอบที่ได้นั้น มักเป็นคำตอบที่หาเหตุผลไม่ได้เลย เช่น เราก็คือเรา เราคือผู้รู้ ถึงผู้รู้หรือเรา ก็ไม่เที่ยง สุดท้ายจิตผู้รู้หรือเราก็ต้องถูกทำลายทิ้งอยู่ดี ...ฯลฯ...

เป็นคำตอบที่ขาดเหตุผลอย่างยิ่ง พาให้ออกห่างจากความเป็นจริงไปอีกไกลโข ถ้าจิตผู้รู้หรือเรา ถูกทำลายทิ้ง เมื่อบรรลุมรรคผลที่เกิดขึ้นกับตน จะรู้ได้อย่างไร??? ขัดกับพระพุทธวจนะที่กล่าวไว้ว่า “จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา”

ด้วยมีการสอนว่าอารมณ์เกิด จิตจึงจะเกิด เมื่ออารมณ์ดับ จิตก็ดับตามไปด้วย ถ้าเราพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมไม่เอนเอียง และเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการขาดหลักเหตุผลตามความเป็นจริงเอามากๆ นั่นเอง เพราะการถ่ายทอดกรรมหรือการบันทึกกรรมนั้นจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าจิตเกิดดับ

ในเมื่อจิตคือธาตุรู้ มีธรรมชาติ รู้ รับ จำ คิดนึก ย่อมต้องยืนตัวรู้ในเรื่องราวทั้งหลายที่เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต

เมื่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอบ่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้ ดับไปจากจิต จิตก็รู้ หมายความว่าอารมณ์รู้สึกนึกคิดเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ และจิตยึดถืออารมณ์เหล่านั้นเข้ามา ปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปใช่มั้ย? ...ใช่

เมื่ออารมณ์เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปตามอารมณ์นั้นๆ แสดงว่าจะต้องมีจิตยืนตัวรู้อยู่ก่อนแล้วใช่มั้ย? ...ใช่

เปรียบจิตคือบ้าน มีช่องทางในการรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด อยู่ ๖ ช่องทาง อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายที่เข้ามาในช่องทางเหล่านั้น คือสิ่งที่มาปรุงแต่งบ้าน(จิต) เมื่อไม่มีบ้านและช่องทางรับอารมณ์อยู่ก่อนแล้ว จะมีเครื่องปรุงแต่งบ้านเกิดขึ้นได้อย่างไร???

ฉะนั้นพอสรุปได้ว่า...จะต้องมีจิตยืนตัวรู้อยู่ก่อนจึงจะมีเจตสิกเกิดขึ้นมาในภายหลัง ดังมีพระพุทธวจนะ...(พระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร)....กล่าวไว้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ......(ราคะเกิด)
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ .....(ราคะดับ)
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ....(โทสะเกิด)
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ....(โทสะดับ)
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ....(โมหะเกิด)
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ….(โมหะดับ)
^
^
ตามพระพุทธวจนะดังกล่าว ก็เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า
อารมณ์หรือเจตสิก...เกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้...
และอารมณ์หรือเจตสิก...ดับไปจากจิต จิตก็รู้…
จิตมีราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้
จิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้อีกเช่นกัน
เราจึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า “ก็รู้”

ถ้าจิตเกิด-ดับตามที่สอนให้เชื่อตามๆกันมานั้น เราจะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้อย่างไรเล่า? เมื่อกำลังฝึกฝนอบรมชำระจิตขณะภาวนาอยู่ และจิตยังเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เราไม่มีทางที่จะชำระให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้หรอกครับ เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ขาดเหตุผลเอาอย่างมากๆ

ยังมีการสอนอีกว่าระหว่างที่จิตเกิด-ดับอยู่นั้น มีการถ่ายทอดกรรมให้แก่กันอีกด้วย ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ ขณะที่จิตดวงใหม่เกิดขึ้นนั้น จิตดวงเก่าได้ดับไปแล้ว ขณะจิตดวงเก่าที่กำลังจะดับไป จิตดวงใหม่ก็ยังไม่อาจเกิดขึ้นมาเลย เพราะจิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นมาได้นั้น ต่อเมื่อจิตดวงเก่าต้องดับไป จะมีจิตสองดวงเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้นเอาช่วงเวลาตรงไหนมาถ่ายทอดกรรมให้กันหละครับ

ความหมายคำว่า “เกิด” นั้นหมายถึงว่า สิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อน แล้ว “เกิด” มีขึ้นมา เราจึงเรียกว่าสิ่งนั้น “เกิด” ส่วนความหมายคำว่า “ดับ” นั้นหมายถึงว่า สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดับหายไป


ยังมีพระพุทธพจน์ที่กล่าวไว้ ในมหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ชัดๆ ว่า จิตไม่ได้เกิดดับ ที่เกิดและดับไปนั้น คือนิวรณ์ทั้งหลาย ดังนี้

[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ

เมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ ณ ภายใน
จิตย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

อนึ่ง กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด
จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้ว
จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่ละได้แล้ว
จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
^
^
พระพุทธวจนะกล่าวไว้ชัดๆ โดยไม่ต้องตีความให้เกิดความเสียหายแด่พระพุทธวจนะเลย
อะไรที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ ณ.ภายในจิต จิตก็รู้ชัดๆว่า เกิดขึ้นหรือมีอยู่
อะไรที่ดับไปหรือไม่มีอยู่ ณ.ภายในจิต จิตก็รู้ชัดๆว่า ดับไปหรือไม่มีอยู่
อะไรที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อะไรที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อะไรที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ณ.ภายในจิต ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

การที่จะเชื่ออะไรตามๆ กันมานั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ.ภายในจิตของตน โดยเฉพาะผู้ที่คุยอวดว่าตนเองเป็นนักปฏิบัติกรรมฐานภาวนามาด้วยแล้ว และยังเห็นว่าจิตเกิดดับ ซึ่งเป็นการกล่าวขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ ที่มีมาในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นคำพูดที่ไม่น่าเชื่อถือว่าได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาจริง เพราะขณะที่ลงมือปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น จิตย่อมรู้อยู่เห็นอยู่ตลอดสายของการปฏิบัติภาวนาอยู่ว่า นิวรณ์ใดบ้างที่เกิดขึ้น(มีอยู่) ณ.ภายในจิต หรือนิวรณ์ใดบ้างที่ดับไป(ไม่มีอยู่) ณ.ภายในจิต แม้ขณะปฏิบัติอยู่นั้น ถีนมิทธะครอบงำ ก็รู้ชัดว่าถีนมิทธะครอบงำอยู่.......


ธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ความหมายคำว่า “เกิด” นั้นหมายถึงว่า สิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อน แล้ว “เกิด” มีขึ้นมา เราจึงเรียกว่าสิ่งนั้น “เกิด” ส่วนความหมายคำว่า “ดับ” นั้นหมายถึงว่า สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดับหายไป


ถูกแล้ว นี่คือลักษณะของขันธ์ทั้งหลาย
อะไรเป็นขันธ์บ้าง
จิต เป็น ขันธ์
เจตสิก เป็นขันธ์
รูป เป็นขันธ์
สังขาร(จิต เจตสิก รูป) เป็นขันธ์

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาองค์
หนึ่งได้ย้อนกล่าวกะเทวดานั้นด้วยคาถาว่า
ดูกรท่านผู้เขลา ท่านย่อมไม่รู้จักคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย
ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความสงบระงับสังขารเหล่านั้น
เสียได้เป็นสุข ฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ภาค ๑-หน้าที่ 682

อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส

พระโยคาวจรนั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ ๕ อย่างนี้

ย่อมรู้อย่างนี้ ว่า การรวมเป็นกองก็ดี การสะสมก็ดี ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่

เกิดก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด, ชื่อว่าการมา โดยรวมเป็นกอง โดยความ

สะสม ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น, ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อมไม่มีแม้

แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดยเก็บไว้ในที่

แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ เมื่อเขาดีดพิณอยู่

เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด, เมื่อเกิดก็ไม่มีการสะสม, การ

ไปสู่ทิศน้อยใหญ่ออกเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี, ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมตั้ง

ไว้, ที่แท้แล้วพิณก็ดี นักดีดพิณก็ดีอาศัยความพยายามอันเกิดแต่ความ

พยายามของลูกผู้ชายไม่มีแล้วยังมีได้, ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ฉันใด, ธรรมมีรูป

และไม่มีรูปแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้นไม่มีแล้วยังมีได้ ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ พระ

โยคาวจรย่อมเห็นด้วยประการฉะนี้แล.

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 18:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จะเกิดแบบ...เกิดภพเกิดชาติ...นั้นก็ขันธ์เกิดแล้วก็ดับ

จะเกิดแบบ..สัญญาเกิดดับ..เวทนาเกิดดับ..วิญญาณเกิดดับ..ฯลฯ..นี้ก็เป็นขันธ์ที่เกิดแล้วก็ดับ

อย่าไปหาความเป็นเรา..ในสิ่งที่มีเกิดแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา...อย่างนี้เลย

พระท่านก็สอนเราแล้วไม่ใช่รึว่า...อย่ายึดสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นเรา..เป็นของเรา..

แต่ขอให้จำใว้ว่า..นิพพาน..ไม่ได้เป็นศูนย์...แต่เป็นกิเลส..ที่ไม่มีในนิพพาน..ดังคำว่า..นิพพานัง..ปรมัง..สุญญัง

และ..นิพพาน..เป็นบรมสุข..หรือ..สุขอย่างยิ่ง..ดังคำที่ว่า...นิพพานัง..ปรมัง..สุขัง

ส่วนอะไร..ที่ไปรู้ว่าว่างอย่างยิ่ง..และ..รู้ว่าสุขอย่างยิ่ง..ได้นั้น..คงต้องเป็นอรหันต์เสียก่อนละครับผม...

หากตอนนี้ปรารถณาคุยธรรมกัน...ก็ต้องยึดตำราไปก่อน

แต่อย่าหลงยึด...ความรู้สึกนึกคิด..ก็แล้วกัน....เพราะตอนนี้มันก็ยังไม่เที่ยง...เน๊าะ
:b16: :b16: :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร