วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 01:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


กลัวติดสุขในกุศลฌาณนับจากปฐมฌาณขึ้นไป....( สัมมาสมาธิ)

ตลกครับ :b32:


ควรกลัว การเจริญนิวรณ์ จิตอกุศล จนเป็นอกุศลฌาณ มากกว่านะ Onion_L

คน...เรา.......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 19:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อพุธ...สอนว่า...

อย่ากลัวเลย...ให้มันติดจริง ๆ ดูก่อนซิน่า...อย่ากลัวในสิ่งที่ตัวเองไม่มี
กระผมเลยเข้าใจอย่างนี้ว่า....มันเป็นจุดหนึ่งของทางผ่าน...มัวแต่กลัวมันแล้วไม่ยอมเดินทางต่อ...แล้วจะถึงจุดหมายรึ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2011, 23:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวองค์ฌานทุกระดับขั้นนั้น สามารถใช้เป็นบาทฐานเข้าสู่มรรคผลนิพพาน ได้ทั้งหมด.

สุขอันเกิดจากฌานในระดับฌานใด ก็คือสุขอันเกิดจากฌานนั้นๆ
หากจะกล่าวเรียกชื่อฌาน ให้เป็นนิพพาน
ก็ต้องยกคำของพระอานนท์ที่กล่าวกับพระอุทายีมาประกอบ

คำว่า"ตังคนิพพาน" นั้น พระอุทายีเป็นผู้ถามพระอานนท์
พระอานนท์จึงกล่าวถึงปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาฯ เมื่อกล่าวโดยปริยาย
และกล่าวถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าเป็นตทังคนิพพานโดยนิปปริยาย.

เข้าใจว่าคุณmesกำลังกล่าวถึงตัวความสุข มิใช่ให้น้ำหนักที่องค์ฌานหรือที่นิพพาน
หากกล่าวถึงความสุขอันเป็นผลจากองค์ฌาน
สุขนั้นก็มีการแบ่งไปตามลำดับขั้นของแต่ละฌาน
ซึ่งสุขแต่ในและฌานนั้น ย่อมไม่เท่ากัน.

แต่หากจะกล่าวถึงสุขที่หมายถึงนิพพาน อันเกิดจากการอาศัยองค์ฌานในแต่ละองค์ฌานเข้าไปหานั้น
สุขนิพพานนี้นั้น คงจะเท่ากันครับ
เพราะด้วยคำกล่าวที่ว่า"นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง"
ไม่มีสุขใดยิ่งกว่านิพพาน
แต่สุขในแต่ละฌานยังมีแบ่งขั้นระดับความสุขอยู่ครับ

ผมจึงมีความเห็นว่าหากจะกล่าวว่า "สุขในฌาน คือสุขในนิพพาน"
ฟังดู อาจจะหลวมไปหน่อย ครับ
และคำว่าตังคนิพพานนั้น ท่านก็มิได้เจาะจงถึงตัวความสุขที่มีอยู่ในองค์นั้นแต่อย่างใด
แต่กล่าวชื่อเรียกแทนองค์ฌานเท่านั้น.

:b42: สุขในฌาน คือ สุขในนิพพาน :b42:
สุขในที่นี้น่าที่จะกล่าวถึงฌานถึงนิพพาน ให้ชัดเจนเจาะจงลงไปเลยก็น่าจะทำความเข้าใจร่วมกันได้ ครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2011, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปล่อยรู้ เขียน:
ตัวองค์ฌานทุกระดับขั้นนั้น สามารถใช้เป็นบาทฐานเข้าสู่มรรคผลนิพพาน ได้ทั้งหมด.

สุขอันเกิดจากฌานในระดับฌานใด ก็คือสุขอันเกิดจากฌานนั้นๆ
หากจะกล่าวเรียกชื่อฌาน ให้เป็นนิพพาน
ก็ต้องยกคำของพระอานนท์ที่กล่าวกับพระอุทายีมาประกอบ

คำว่า"ตังคนิพพาน" นั้น พระอุทายีเป็นผู้ถามพระอานนท์
พระอานนท์จึงกล่าวถึงปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาฯ เมื่อกล่าวโดยปริยาย
และกล่าวถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าเป็นตทังคนิพพานโดยนิปปริยาย.

เข้าใจว่าคุณmesกำลังกล่าวถึงตัวความสุข มิใช่ให้น้ำหนักที่องค์ฌานหรือที่นิพพาน
หากกล่าวถึงความสุขอันเป็นผลจากองค์ฌาน
สุขนั้นก็มีการแบ่งไปตามลำดับขั้นของแต่ละฌาน
ซึ่งสุขแต่ในและฌานนั้น ย่อมไม่เท่ากัน.

แต่หากจะกล่าวถึงสุขที่หมายถึงนิพพาน อันเกิดจากการอาศัยองค์ฌานในแต่ละองค์ฌานเข้าไปหานั้น
สุขนิพพานนี้นั้น คงจะเท่ากันครับ
เพราะด้วยคำกล่าวที่ว่า"นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง"
ไม่มีสุขใดยิ่งกว่านิพพาน
แต่สุขในแต่ละฌานยังมีแบ่งขั้นระดับความสุขอยู่ครับ

ผมจึงมีความเห็นว่าหากจะกล่าวว่า "สุขในฌาน คือสุขในนิพพาน"
ฟังดู อาจจะหลวมไปหน่อย ครับ
และคำว่าตังคนิพพานนั้น ท่านก็มิได้เจาะจงถึงตัวความสุขที่มีอยู่ในองค์นั้นแต่อย่างใด
แต่กล่าวชื่อเรียกแทนองค์ฌานเท่านั้น.

:b42: สุขในฌาน คือ สุขในนิพพาน :b42:
สุขในที่นี้น่าที่จะกล่าวถึงฌานถึงนิพพาน ให้ชัดเจนเจาะจงลงไปเลยก็น่าจะทำความเข้าใจร่วมกันได้ ครับ :b8:

:b8: ท่านปล่อยรู้

กระทู้นี้เจตนาคือ

มีผู้พยายามชักจูงผู้ปฏิบัติธรรมให้เลิกทำสมาธิหรือบำเพ็ญสมาธิบอกจะติดฌาณสุขทำให้ไปไม่ถึงนิพพานครับ

ผมจึงพยายามชักจูงมาให้เห็นอีกทางหนึ่งว่า

ถึงจะสุขก็สุขที่เป็นวิมุติสุข ไม่น่ากลัว

ผมคิดไม่ถึงว่าจะได้รับเกียรติจากสหายธรรมที่ผมรับนับถือในความคิดเห็นอย่างท่านปล่อยรู้มาร่วมสนทนาในกระทู้

นับว่าปิติจริงๆครับ



.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2011, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: โมทนาสาธุครับคุณmes

ขอให้กุศลเจตนาในการที่จะเผยแผ่พุทธธรรมที่ถ่องแท้
ให้เจริญงอกงามยิ่งๆขึ้นไปครับ :b8:


"สัมมาสมาธิ"นั้น ท่านกล่าวถึงฌานทั้งสี่ตรงๆ
หากผู้ใดจะปฏิเสธเรื่องการทำฌาน ก็คงจะไม่เข้าใจ"สัมมาสมาธิ"กระมังครับ

ตามตำราฯ บันทึกบอกเล่าเอาไว้ว่า
พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าฌานทุกๆฌาน
สามารถใช้อาศัยเป็นบาทฐานเข้าสู่นิพพานได้ทุกฌาน

ในฌานตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงฌาน๔
ยังคงมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่ว่าจะอยู่ในฌานใดก็ตาม
ท่านทรงให้ตามเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.
เมื่อดำรงค์จิตถึงขั้นตอนนี้ได้แล้ว ท่านก็ทรงบอกให้น้อมจิตเข้าไปหาอมตธาตุต่อไป
ด้วยการกำหนดว่า นั่นสงบระงับ นั่นปราณีต นั่นเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้
และเมื่อดำรงค์อยู่ในวิปัสสนา มีฌานเป็นบาทฐานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
แต่หากไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น...

เมื่อฟังพระพุทธเจ้าพูด ก็จะทำให้เห็นความสำคัญของฌานเป็นอย่างยิ่ง
แล้วอย่างนี้จะดูถูกเรื่องการทำฌานได้อย่างไรกัน.

ส่วนความเห็นความไม่สำคัญในเรื่องของการทำฌานนั้น จะมีก็แต่ความเห็นในขั้นของสาวก
ที่ยังเข้าไม่ถึงเรื่องของฌานตามแบบพุทธสัมมานั้นเอง ครับ

บุคคลใดที่เคยได้รับอานิสงค์จากการทำฌานตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้า
บุคคลผู้นั้นย่อมไม่มีทางที่จะปฏิเสธเรื่องของการทำฌานอย่างเด็ดขาด ครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร