วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 01:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 21:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจิตผู้รู้หรือเรา ถูกทำลายทิ้ง เมื่อบรรลุมรรคผลที่เกิดขึ้นกับตน จะรู้ได้อย่างไร??? ขัดกับพระพุทธวจนะที่กล่าวไว้ว่า “จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา”

ด้วยมีการสอนว่าอารมณ์เกิด จิตจึงจะเกิด เมื่ออารมณ์ดับ จิตก็ดับตามไปด้วย ถ้าเราพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมไม่เอนเอียง และเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการขาดหลักเหตุผลตามความเป็นจริงเอามากๆ นั่นเอง เพราะการถ่ายทอดกรรมหรือการบันทึกกรรมนั้นจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าจิตเกิดดับ

ถ้าไอ้นั่นมันอาศัยอารมณ์เดียวเกิด แล้วอารมณ์เดียวอันนั้นดับ ...

มี อันเดียวตัวเดียว อยู่ในสังสาร รึเปล่า

ไม่มี หรือ ไม่รู้ว่ามี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ถ้าจิตผู้รู้หรือเรา ถูกทำลายทิ้ง เมื่อบรรลุมรรคผลที่เกิดขึ้นกับตน จะรู้ได้อย่างไร???


จิต ไม่ใช่เรา
เรา ไม่ใช่จิต

ถ้า เรา ถูกทำลายทิ้งจริง ........................มันก็ไม่เกี่ยวกับจิต

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตต้องอาศัยความหมายของขันธ์แล้วยกขันธ์5มาพิจารณาว่าจิตคืออะไร
นั่นคือยกยกขันธ์๕ขึ้นพิจารณาให้เห็นจริงตามพระไตรลักษณ์จนรู้อริยสัจ๔
ตามความเป็นจริง จิตเกิดดับก็อาศัยเหตุปัจจัยของนามรูป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรา อยู่ ส่วนหนึ่ง
ขันธ์5 อยู่ส่วนหนึ่ง

ทั้งๆ ที่ เรามิได้มีจริง..............................แต่ขันธ์5 นั้นมีจริง

นี่ว่า กันตามทฤษฏี .......................ขันธ์5 เป็นปรมัตถธรรม คือ เป็นสิ่งที่มีจริง
เรา มิได้มีจริง ได้ยินว่า เรา เป็นแค่สภาวะธรรม

ข้อพิสูจน์...

สัญญาของเรา กับสัญญา ของขันธ์5 ..................ไม่เท่ากัน
เราอาจลืมเลือน ไปบ้าง แต่ได้ยินมาว่า ทั้งบุญและบาป ถูกบันทึก มิมีลืมเลือนด้วย สัญญาขันธ์

บางคนเมื่อมีอภิญญาจิต แล้ว จึงสามารถระลึกชาติเป็นอันมากได้

เรา มีความจำ แค่ กำลังอำนาจของสมอง ...........นี่ว่ากันตามหลักวิทยาศาสตร์
แต่ สัญญาขันธ์ ไม่ขึ้นกับสภาพของสมอง

จะสังเกตุ เห็นว่า ตอนที่นอนหลับสนิท ไม่ฝัน
หรือตอนที่เราสลบไป ไม่รู้เรื่องอะไรทั้งสิ้น ไม่คิด ไม่นึก................ขณะนั้น ยังมีขันธ์5

ขณะไม่มีเรา .......................แต่ยังมีขันธ์5
ขณะไม่มีเรา.......................แต่ยังมี(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ขณะไม่มีเรา .......................แต่ยังมี จิต เจตสิก รูป
ขณะไม่มีเรา ....................แต่ยังมี นามรูป
ขณะไม่มีเรา......................แต่ยังมีสังขาร(ไม่ใช่สังขารขันธ์)

ลำพังขันธ์5 ..........ไม่ปฏิบัติธรรม ได้เลย ต้องมีเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เป็นผู้พิจารณาธรรม
ใครเป็นผู้เสวย เวทนา.......................เรา

ยาพาราเซตามอล ใช้กับเราได้....................แต่ใช้กับขันธ์5 ไม่ได้
เพราะเรานั้นอยู่ส่วนหนึ่ง ขันธ์5อยู่อีกส่วนหนึ่ง

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


samanya เขียน:
เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่า ทุกวันนี้มีการสอนให้ดูจิตที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งถ้าเราฟังโดยไม่เพ่งพิจารณาให้ดีแล้วเราอาจจะถูกชักจูงให้เห็นด้วย หรือคล้อยตาม และเชื่อไปตามนั้นได้โดยง่ายๆ ทั้งๆสิ่งที่เราฟังมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลเลยและเป็นการขาดเหตุผลอย่างยิ่ง ไม่ใช่เกิดจากการรู้เห็นตามความเป็นจริงจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเลย

โดยความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เห็นอาการของจิต(จิตสังขาร)ที่เกิด-ดับนั้น จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากจิตของตน หรือจิตของเรา ใช่มั้ยครับ???

เมื่อถูกถามว่าเราในที่นี่คือใคร???
คำตอบที่ได้นั้น มักเป็นคำตอบที่หาเหตุผลไม่ได้เลย เช่น เราก็คือเรา เราคือผู้รู้ ถึงผู้รู้หรือเรา ก็ไม่เที่ยง สุดท้ายจิตผู้รู้หรือเราก็ต้องถูกทำลายทิ้งอยู่ดี ...ฯลฯ...

อ่านบทความนี้แล้วชี้ให้เห็นเลยว่า ผู้เขียนบทความ ขาดความเข้าใจในเรื่องของ
เหตุปัจจัย หยิบยกเอาบัญญัติแต่ละคำมาตีความตามความเข้าใจของตนเอง
การแสดงความเห็นนี้ขาดหลักการพิจารณาธรรม เจ้าของความเห็นไม่พิจารณาธรรมใน
ลักษณะอื่นๆมาประกอบ
ปัญหาของเจ้าของบทความนี้มันอยู๋ตรง ยังไม่รู้ถึงเหตุผลหรือคำอธิบายว่า จิตเกิดดับ
หรืออีกนัยหนึ่งคือ ปฏิบัติไปไม่ถึงแก่นของคำว่าไตรลักษณ์

samanya เขียน:
โดยความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เห็นอาการของจิต(จิตสังขาร)ที่เกิด-ดับนั้น จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากจิตของตน หรือจิตของเรา ใช่มั้ยครับ???

อันนี้แสดงให้เห็นเลยว่า จขบทความ เข้าใจไปเองว่า จิตที่เกิดขึ้นคือจิตของเรา
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ อย่าไปยึดติด เพราะการยึดติดทำให้มีเรา มีเขา
พระพุทธองค์ ทรงบอกให้เราอย่ากระทำในสิ่งที่จขบทความเข้าใจว่า จิตเป็นเรา

samanya เขียน:
เมื่อถูกถามว่าเราในที่นี่คือใคร???
คำตอบที่ได้นั้น มักเป็นคำตอบที่หาเหตุผลไม่ได้เลย เช่น เราก็คือเรา เราคือผู้รู้ ถึงผู้รู้หรือเรา ก็ไม่เที่ยง สุดท้ายจิตผู้รู้หรือเราก็ต้องถูกทำลายทิ้งอยู่ดี ...ฯลฯ...

การที่มีคนเข้าใจว่า เราเป็นตัวตน เพราะคิดว่าตนแตกต่างจากคนอื่น
ตามความเป็นจริงแล้ว สภาวะที่เรียกว่าจิต มันเกิดจากเหตุปัจจัย
เหตุดับสภาวะที่เรียกว่าจิตก็ดับ มันเหมือนกันทุกคน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


samanya เขียน:
เป็นคำตอบที่ขาดเหตุผลอย่างยิ่ง พาให้ออกห่างจากความเป็นจริงไปอีกไกลโข ถ้าจิตผู้รู้หรือเรา ถูกทำลายทิ้ง เมื่อบรรลุมรรคผลที่เกิดขึ้นกับตน จะรู้ได้อย่างไร??? ขัดกับพระพุทธวจนะที่กล่าวไว้ว่า “จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา”

ด้วยมีการสอนว่าอารมณ์เกิด จิตจึงจะเกิด เมื่ออารมณ์ดับ จิตก็ดับตามไปด้วย ถ้าเราพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมไม่เอนเอียง และเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการขาดหลักเหตุผลตามความเป็นจริงเอามากๆ นั่นเอง เพราะการถ่ายทอดกรรมหรือการบันทึกกรรมนั้นจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าจิตเกิดดับ

ในเมื่อจิตคือธาตุรู้ มีธรรมชาติ รู้ รับ จำ คิดนึก ย่อมต้องยืนตัวรู้ในเรื่องราวทั้งหลายที่เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต

ดูแล้วจขบทความ ยังไม่เข้าใจเรื่องรูปนาม การอธิบายความจึงสับสนวกวน
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะไม่แยก รูปกับนามออกจากกัน การไม่ยอมแยกรูปหรือกาย
ออกจากนามหรือจิต มันทำให้เกิดความรู้สึกไปว่า จิตมีตัวตนไม่เกิดดับ
samanya เขียน:
ด้วยมีการสอนว่าอารมณ์เกิด จิตจึงจะเกิด เมื่ออารมณ์ดับ จิตก็ดับตามไปด้วย ถ้าเราพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมไม่เอนเอียง และเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการขาดหลักเหตุผลตามความเป็นจริงเอามากๆ นั่นเอง เพราะการถ่ายทอดกรรมหรือการบันทึกกรรมนั้นจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าจิตเกิดดับ

จขบทความบอกว่าใช้เหตุผลตามความเป็นจริง
แล้วกรรมที่จขบทความว่าว่านี้มันเป็นกรรมอะไรครับ
ถ้าเป็นเรื่องนรกสวรรค์ ท่านมีเหตุผลมาอธิบายมั้ยล่ะครับ

การอธิบายความเรื่องจิตเกิดดับ ท่านอธิบายถึงขบวนการทำงานของจิต
ซึ่งมันก็มีในพระไตรปิฎก ในเรื่องของปฏิจสมุบาท แล้วถ้าเอาไปเปรียบกับเรื่องของท่าน
อันไหนมันมีเหตุผลกว่ากันครับ

กรรมในเรื่องของปฏิจสมุบาท มันเป็นเรื่องของจิตตัวเอง
กรรมต่างๆความทุกข์ต่างๆมันก็เป็นกรรมที่จิตไปยึดมั่นถือมั่น
แล้วใครที่ปฏิบัติก็จะเห็นจริงในข้อนี้

ต่างกับของท่านกรรมที่ท่านว่า ตัวท่านเคยเห็นหรือเปล่าเคยประสบหรือเปล่า
ท่านมาพูดๆๆแล้วมาอ้างเหตุผล คำว่าเหตุผลมันหมายถึงอะไรท่านยังไม่เข้าใจเลยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


samanya เขียน:
เมื่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอบ่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้ ดับไปจากจิต จิตก็รู้ หมายความว่าอารมณ์รู้สึกนึกคิดเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ และจิตยึดถืออารมณ์เหล่านั้นเข้ามา ปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปใช่มั้ย? ...ใช่

เมื่ออารมณ์เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปตามอารมณ์นั้นๆ แสดงว่าจะต้องมีจิตยืนตัวรู้อยู่ก่อนแล้วใช่มั้ย? ...ใช่

เปรียบเทียบผิดครับ กายเปรียบเป็นบ้านครับ อายตนะภายในเปรียบเป็นประตูหน้าต่าง
อายตนะภายนอกเปรียบเป็น สภาพดินฟ้าอากาศ ส่วนจิตนั้นก็คือสภาวะที่เป็นผลจาก
สภาพดินฟ้าอากาศผ่านทางประตูหน้าต่างหรืออายตนะภายในทำให้เกิดร้อนหนาวขึ้น
ตัวร้อนหนาวเปรียบเหมือนจิตครับ
samanya เขียน:
เปรียบจิตคือบ้าน มีช่องทางในการรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด อยู่ ๖ ช่องทาง อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายที่เข้ามาในช่องทางเหล่านั้น คือสิ่งที่มาปรุงแต่งบ้าน(จิต) เมื่อไม่มีบ้านและช่องทางรับอารมณ์อยู่ก่อนแล้ว จะมีเครื่องปรุงแต่งบ้านเกิดขึ้นได้อย่างไร???

อันนี้แสดงให้เห็นว่า จขบทความมีความเข้าใจผิดในเรื่องรูปนาม กายกับจิต
จขกทเอากายกับจิตมาผสมปนเปกัน การอธิบายความจึงเกิดการยึดมั่นถือมั่นอย่างรุนแรงโดย
เข้าใจไปว่า จิตเป็นตัวตนเป็นตัวรู้อยู่ต่างหาก
สิ่งที่จขบทความยกมามันเป็นสิ่งที่ จิตไปรู้การทำงานของกาย ซึ่งมันเป็นความหลงครับ
ในความเป็นจริงเราต้องแยก กายกับจิตออกจากกันเสียก่อนจึงจะเข้าหลักของวิปัสนา
ตามหลักของการดูจิต เขาใช้จิตดูจิตครับ
แต่สิ่งที่จขบทความอธิบายมา มันเป็นการที่จิตไปดูการทำงานของกายครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


samanya เขียน:
ฉะนั้นพอสรุปได้ว่า...จะต้องมีจิตยืนตัวรู้อยู่ก่อนจึงจะมีเจตสิกเกิดขึ้นมาในภายหลัง ดังมีพระพุทธวจนะ...(พระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร)....กล่าวไว้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ......(ราคะเกิด)
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ .....(ราคะดับ)
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ....(โทสะเกิด)
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ....(โทสะดับ)
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ....(โมหะเกิด)
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ….(โมหะดับ)
^
^
ตามพระพุทธวจนะดังกล่าว ก็เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า
อารมณ์หรือเจตสิก...เกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้...
และอารมณ์หรือเจตสิก...ดับไปจากจิต จิตก็รู้…
จิตมีราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้
จิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้อีกเช่นกัน
เราจึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า “ก็รู้”

ปัญหามันอยู่ตรงที่ ขณะที่มีอารมฌ์ใดอารมณ์หนึ่งเกิดขึ้นเรารู้ตัวหรือไม่ครับ
เรามักจะรู้ว่า เรามีอารมณ์ใดหลังจากที่เกิดอารมณ์นั้นแล้ว

ในความเป็นจริง การรู้เหตุการณ์ใดหรืออารมณ์ใดมันจะรู้ไปพร้อมๆกันกับอารมณ์
หรือเหตุการณ์นั้นๆไม่ได้อยู่แล้วครับ
นอกเสียจากว่า บุคคลนั้นกำลังหลงเข้าใจผิด
เอาเรื่องจิตดูกาย มาเป็นเรื่องจิตดูจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2011, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


samanya เขียน:
ถ้าจิตเกิด-ดับตามที่สอนให้เชื่อตามๆกันมานั้น เราจะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้อย่างไรเล่า? เมื่อกำลังฝึกฝนอบรมชำระจิตขณะภาวนาอยู่ และจิตยังเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เราไม่มีทางที่จะชำระให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้หรอกครับ เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ขาดเหตุผลเอาอย่างมากๆ

สิ่งที่ท่านพูด ท่านพูดมาจากความคิดตัวเอง ความเห็นใดของใครผิดหลักการแต่ต้น
สิ่งที่ตามมามันก็ผิดด้วย การพิจารณาผล ถ้าหาเหตุไม่เจอ การอธิบายความมันก็ติดขัด

การอธิบายความของท่านมันเป็นการเอาทิฐิตัวเองเป็นตัวตั้ง แล้วใช้มันในการหาเหตุผล
ของคนที่ขัดแย้งกัน แบบนี้แล้วมันจะเป็นเหตุเป็นผลได้ยังไง ก่อนจะตีความในสิ่งที่คนอื่นเชี่อ
ท่านต้องลบทิฐิตัวเองให้หมดเสียก่อน แล้วจึงค่อยพิจารณาความเชื่อหรือความเห็นของคนอื่นครับ
แบบนี้ถึงเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน


สิ่งที่ท่านกล่าวมา ท่านคิดเอาแต่ความคิดตัวเอง สิ่งที่ท่านคิดไม่ออก
ท่านก็ว่าเป็นไปไม่ได้ อันที่จริงมันเป็นไปได้ถ้าท่านมาคิดในแง่ของคนอื่น

เรื่องการชำระจิคให้มีคุณภาพ เรื่องของจิตเกิดดับย่อมเป็นเหตุเป็นผลกว่า
จิตดวงที่ไม่มีคุณภาพมีเรื่องเศร้าหมอง ถ้าคิดในแง่ของท่าน ว่าจิตไม่เกิดดับ
ผมยังไม่รู้เลยว่า ท่านมีวิธีใดทำให้จิตดวงนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่อง

การทำสภาวะจิตให้แตกต่างจากเดิม หรือทำให้มีคุณภาพเขาเรียกว่า
จิตเกิดดับ จิตดวงเก่าที่ไม่มีคุณภาพดับไป เกิดจิตดวงใหม่ที่มีคุณภาพมาแทน

เราย่อมรู้ดีกันทุกคนว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
การกระทำของคนเกิดจากการสั่งการของจิต บ้างครั้งทำดี บ้างครั้งทำชั่ว
ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ทำไปตามสภาวะจิตนั้นๆ

ถ้าจิตมีดวงเดียวแบบท่านบอก ทำไมการกระทำของคนเราจึงไม่สม่ำเสมอ
เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้ายล่ะครับ แบบนี้แสดงว่า จิตมันไม่เที่ยงเกิดดับ การกระทำของเรา
จึงเปลี่ยนไปมาตามสภาวะจิตนั้นๆครับ

samanya เขียน:
ยังมีการสอนอีกว่าระหว่างที่จิตเกิด-ดับอยู่นั้น มีการถ่ายทอดกรรมให้แก่กันอีกด้วย ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ ขณะที่จิตดวงใหม่เกิดขึ้นนั้น จิตดวงเก่าได้ดับไปแล้ว ขณะจิตดวงเก่าที่กำลังจะดับไป จิตดวงใหม่ก็ยังไม่อาจเกิดขึ้นมาเลย เพราะจิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นมาได้นั้น ต่อเมื่อจิตดวงเก่าต้องดับไป จะมีจิตสองดวงเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้นเอาช่วงเวลาตรงไหนมาถ่ายทอดกรรมให้กันหละครับ

ขณะที่ยังมีชีวิต จิตกับกายมันมีความสัมพันธ์กัน อาศัยซึ่งกันและกัน
การกระทำใดๆย่อมต้องอาศัยกายเป็นผู้กระทำ กรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลมาจาก
สภาวะจิตส่งผ่านมาทางกาย กายก็ทำให้เกิดสภาวะจิตใหม่ขี้น
ถ้าจิตยังอาศัยอยู่ในกายนี้ การทำงานก็ยังต้องอาศัยกันส่งผ่านกันกลับไปกลับมาครับ

เรื่องที่ท่านว่าการถ่ายทอดกรรมทำได้อย่างไร
กรรมในที่นี้ เราชาวพุทธย่อมต้องเข้าใจดีว่า มันเกิดแล้วและได้ผ่านไปแล้ว
แต่ที่พูดว่าถ่ายทอดมันเป็นวิบาก มันถูกเก็บไว้ในในความทรงจำที่เรียกว่าใจ
ยามใดที่เกิดสภาวะสัญญาขึ้น สมองหรือใจก็จะทำงาน แล้วมันก็เกิดทุกข์
ดังนั้นวิบากกรรมที่ถ่ายทอดก็ต้องอาศัย กายเป็นเครื่องมือส่งผ่านครับ
แบบนี้พออธิบายการถ่ายทอดกรรมได้มั้ยครับ
แต่อย่าลืมว่านี่เป็นการอธิบายความเฉพาะตัวตนหรือกายนี้ภพนี้เท่านั้น

samanya เขียน:
ความหมายคำว่า “เกิด” นั้นหมายถึงว่า สิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อน แล้ว “เกิด” มีขึ้นมา เราจึงเรียกว่าสิ่งนั้น “เกิด” ส่วนความหมายคำว่า “ดับ” นั้นหมายถึงว่า สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดับหายไป

ผมเห็นท่านชอบอ้างพุทธพจน์บ่อยๆ แต่ทำไมพอเวลาแปลความหมาย
มันถึงได้ไปกันคนละเรื่อง แบบนี้สงสัยที่อ้างพุทธพจน์มา คงเป็นประเภทอ้างไปเรี่อยเปื่อย
ท่านขาดความเข้าใจในคำๆนี้ครับ การจะตีความเราห้ามแยกคำว่า เกิดดับออกจากกัน
ถ้าเราแยกมันออกแล้วมาตีความ ความหมายมันจะเปลี่ยนไปทันทีครับ
คำว่าเกิดดับมันมาจากคำบาลีที่ว่า อนิจจังครับ
และความหมายของอนิจังก็คือ....ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน หรือ ตั้งอยู่ในสภาวะเดิมได้ยาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
คุณ mes ประเด็นการเกิดร่วมเกิดพร้อม ของเจตสิก ยกไว้ก่อนยังอีกยาว

เอาประเด็นหลักที่ว่า จิดไม่เกิดดับ ตามเจตสิก

ประเด็นหลักนี้ก่อน ว่า

จิตและเจตสิก เกิดดับด้วยกัน เพราะความที่ปะปนกัน ไม่อาจแยกจากกัน ตามคำกล่าวของพระสารีบุตรเถระ ใช่ไหม?


เช่นนั้น

คุณควรให้เกียรติผู้ร่วมสนทนา

เคารพในคำสนทนา

อย่าถามนำ(ที่ไม่ใช่เป็นของผู้สมทนาด้วย)

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ ที่เช่นนั้นถามมาเป็นการกล่าวนำ และนำไปเพื่อเจตนาของเช่นนั้น

ไม่ใช่จุดประสงค์ตามเจตนาของผมเลยจนนิดเดียว

แปลเป็นภาษาง่ายๆคือเช่นนั้นบิดเบือนความคิดเห็นผม

ผมเองไม่ว่าจะสนทนากับใครก็ไม่เคยประพฤติเช่นนี้ครับ :b8:




ขอเคลี้ยร์ประเด็นนี้ให้ครบถ้วนจบสิ้นกระบวนความ

ที่เช่นนั้นกล่าว่า

อ้างคำพูด:
คุณ mes ประเด็นการเกิดร่วมเกิดพร้อม ของเจตสิก ยกไว้ก่อนยังอีกยาว

เอาประเด็นหลักที่ว่า จิดไม่เกิดดับ ตามเจตสิก



[color=#800000]คือสมมุติฐานของเช่นนั้นกับผมก็ไม่เหมือนกันแล้ว

ผมไม่ได้บอกว่าจิตไม่เกิดดับ

แต่ผมบอกว่าผมเชื่อว่าจิตที่คุณเช่นนั้นเข้าใจนั้นไม่มี

ในเมื่อผมเชื่อว่าไม่มีคุณเช่นนั้นมาบอกว่าผมเชื่อว่าจิตไม่เกิดดับผมจึงสวนกลับว่านั่นเป็นความคิดของเช่นนั้นเอง

ไม่ใช่ของผม

ผมเชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยขันธ์๕เท่านั้น

คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ไม่มีจิตดวงใหนๆขึ้นมาซ้อนกับขันธ์๕ ผมไม่ทราบว่าเช่นนั้นเข้าใจอย่างนี้หรือไม่

อีกประการหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ชัดเจนครับ

จิตไม่มีตัวตน จิตเป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ เช่นเดียวกับธาตุ อ่อนธาตุแข็ง ฯลฯ



สำหรับผมจิตเกิด ดับ ตามหลักปฏิจสมุปบาท


Quote Tipitaka:
“ เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย, จึงเกิดจักขุวิญญาณ ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ + รูป + จักษุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสะอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้”

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้โดยนัยอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งจักษุ)

สฬา.สํ.๑๘/๑๑๑/๑๖๓



เมื่อตาเห็นจิตจึงเกิดรู้จึงเห็น เมือไม่เห็นจิตไม่รู้ว่าเห็นก็ดับ
รู้ทุกขจิตเกิดทุกข รู้สุขจิตเกิดสุขและตราบใดที่สฬายตนะหรือรูปยังไม่ดับ

จิตเกิดขึ้นตามองคาพยพต่างๆมากมาย รู้คือวิญญาณอยู่ในขันธ์๕


ส่วนเรื่องการเกิด การตาย ผมขอยกเอาไว้ก่อน

การเกิดการตายเป็นเรื่องของการเกิดของเหตุปัจจัย การดับของเหตุปัจจัย


ส่วนธาตุรู้เป็นธรรมธาตุมีมาอย่างนั้นแต่ดั้งเดิมเป็นธรรมชาติ

จึงขอทำความเข้าใจถึงเหตุผลที่ผมทำให้สหายธรรมอย่างเช่นนั้นงอน
:b1:





.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 12:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley ฟังให้จบนะครับ
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ฯ ท่านเทศน์หลายเรื่องครับ เรื่องการเข้าสู่วิมุติ เรื่องจิตที่เกิดดับ จิตที่ไม่เกิดดับ ฯลฯ



Download



ถ้าฟังไม่ได้เข้าไปฟังที่เว็บนี้นะครับ ไฟล์เสียงที่ 04-ไขปัญหาธรรมช่วงบ่าย_11 ก.ค.50
http://www.buddhaoat.org/mp3/yuw-phuthth-1

ดาวน์โหลดได้ที่
http://www.archive.org/details/watnapp_1

:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: จิตเดิมนี้ประภัสสรแต่เพราะถูกอวิชชา คือความไม่รู้มาครอบงำ จึงบังเกิด สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะ ตามเหตุและปัจจัยอิงอาศัยกันมา

..............................................
:b42: [๑๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับ ณ
พุทธอาสน์ที่พระราหุลปูลาดถวาย ที่ควงต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค
จึงตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่
เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็น
ปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ
หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส
ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส
เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุด
พ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิต
นี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฝ่าย
เทวดาหลายพันก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
..................................................


:b1: ดังพระสูตรนี้จะเห็นได้ชัดว่า มโนก็ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ก็ไม่เที่ยง มโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มโนผัสสะก็ไม่เที่ยง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ไม่เที่ยง

พระพุทธองค์ยังตรัสต่อไปอีกว่า


:b42: พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ
หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส
ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส
เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุด
พ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี


:b1: ท่านจะเห็นว่า จิตหลุดพ้นจาก วิญญาณ 6 อายตนะ 12 ผัสสะ 6 และหลุดพ้นจากเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ ผัสสะทั้ง 6 เป็นปัจจัย จะสังเกตว่าจิตนี้หลุดพ้นแม้จากมโน และวิญญาณ

ดังนั้นในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร จึงตรัสว่า


:b42: ไม่ควรดำรงรูปบังเกิดจิต ไม่ควรดำรงเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์บังเกิดจิต แต่ควรบังเกิดจิตที่ไร้สิ่งดำรง

..........................

พระพุทธองค์ตรัสกับท่านพาหิยะ ว่า

:b42: เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น,
ได้ยินเสียงแล้ว สักว่าฟัง,
ได้กลิ่นแล้ว ก็สักว่าดม,
ได้ลิ้มรสแล้ว ก็สักว่าลิ้ม,
ได้สัมผัสทางผิวกายแล้ว ก็สักว่าสัมผัส,
ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว

เมื่อนั้น "เธอ" จักไม่มี

เมื่อใด "เธอ" ไม่มี,
เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฎในโลกนี้,
ไม่ปรากฎในโลกอื่น,
ไม่ปรากฎในระหว่างโลกทั้งสอง

นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์

.........................

อีกพระสูตร

:b42: ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา, สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา: เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ ).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้, ปุพพันตานุทิฏฐิ* ทั้งหลาย ย่อมไม่มี, เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ ** ทั้งหลาย ย่อมไม่มี, เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี, เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อมจาง คลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ, ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ ,

เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี ,

เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง ,

เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้


:b1: ในพระสูตรนี้จิตหลุดพ้นจากอุปทานขันธ์ทั้ง 5 คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ , เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี , เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง , เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว

ตราบใดที่จิตยังมีอาสวะอยู่ จิตก็ต้องเกิดดับตามเหตุปัจจัย ที่ปรุงแต่งจิตอยู่
แต่เมื่อจิตหลุดพ้นจากอาสวะ จิตจึงดำรงอยู่ , เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี , เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง , เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงไม่ได้แปรไปตามสังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้น

แต่กระนั้นสิ่งทั้งปวงก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ว่านั่นเป็นเรา นั่นเป็นของของเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา ไม่เว้นแม้แต่จิตหรือนิพพาน


:b8: :b8: :b8:

http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=4410.10;wap2
http://www.bds53.com/index.php?name=kno ... edge&id=93
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 697&Z=2785
viewtopic.php?f=7&t=37809


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 05 พ.ย. 2011, 22:10, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตเดิมนี้ประภัสสรแต่เพราะถูกอวิชชา คือความไม่รู้มาครอบงำ จึงบังเกิด สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะเวทนา ตัณหาอุปาทาน ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส


จิตมีแต่ดั้งเดิมอยู่แล้ว แต่เป็นประภัสสรคือบริสุทธิ์อยู่

เมื่อไม่บริสุทธิ์จากอวิชชาจึงเกิด

ตามที่ท่าflameแสดงมาในพระพุทธพจน์ข้างต้น

ไม่ใช่จิตเกิด จิตไม่เกิด มีอยู่แล้วเป็นประภัสสร

เมื่ออวิชชาเกิด ทำให้ห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาทเกิดตามมาเป็นพรวน

เป็นชาติ เป็นภพ จนแก่ตาย

จนกระทั่งถ้าจิตเกิดวิชชา ห่วงโซ่จึงดับ

คือ ชาติภพ นั้นดับ ไม่ใช่จิตดับ

จิตก็กลับไปเป็นจิตประภัสสรตามเดิม

ก็เท่านั้น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้านี้ยังรู้น้อย ถูกผิดประการใดก็ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมไม่เคยเห็นจิต ท่านผู้ใดเคยเห็นจิตมาบ้างแล้ว

พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า

จิตเห็นได้ยาก ละเอียดยิ่งนัก
มักใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่
ผู้มีปัญญาจึงควรควบคุมจิตไว้ให้ดี
เพราะจิตที่ควบคุมได้แล้ว นำสุขมาให้

http://truthoflife.fix.gs/index.php?act ... opic=757.0

จิตนี้เห็นได้ยาก ท่านผู้ใดเคยเห็นจิตแล้ว จะได้รู้ว่าจิตนี้มีสภาพเกิดดับ หรือไม่ และถ้ามี เกิดดับเพราะอะไร


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร