วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 14:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 22:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เพราะกิเลสอันนอนเนื่อง นึกถึงตอนที่สัตว์ตนแรกเห็นง้วนดินแล้วเอาง้วนดินเข้าปาก ทำให้เกิดความพอใจขึ้นมา พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ใหลลงสู่ที่ต่ำ


ใช่ ก็เลยต้องฝืนธรรมชาติกันหน่อย :b12: :b12:


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 22:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ๊บซ์ อ๊บซ์ รับช่วงต่อ ผีออกแย๊ววววว

:b30: :b30: :b30:


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นึกว่า จขกท. หายไป ซะแล้ว

อ้างคำพูด:
ราคะละได้ด้วยอำนาจสมถะ มิใช่วิปัสสนา ตามที่อ้างอิงมา
ฉะนั้น หน้าที่ละราคะมิใช่หน้าที่ของวิปัสสนา
ทำไมจึงว่าวิปัสสนาอย่างเดียวที่ ชำระกิเลสได้

สูตรนี้ท่านสอนพระอริยสงฆ์ ผู้มีสังโยชน์เบื้องล่างสิ้นแล้ว ราคะที่ละไดยสมถะ เป็นการละด้วยการกดข่ม ไม่ใช่ละด้วยการประหาร

สมถะและวิปัสสนาที่เกิดขึ้นร่วมกัน ท่านก็ไม่ได้ให้ไปทำสมาธิ ประเด็นก็คือ การไปนั่งสมาธิจนได้ฌาน แล้วหวังว่าจะเกิดปัญญา เป็นมิจฉามรรค และสมาธิของภิกษุที่เป็นฌานในธรรมวินัยนี้ เกิดเพราะอุปธิวิเวก เว้นพวกปริพาชกที่ได้ฌานมาก่อนบวช หรือที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระนิพพานเกิดภายหลัง

Quote Tipitaka:
[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง


อ้างคำพูด:
จริตคือพฤติกรรมที่จิตแสดงออกมา การชอบปฏิบัติวิปัสสนาก็เป็นพฤติกรรมของจิต คือจริตนั่นเอง จะว่าไม่เกี่ยวกันได้งัย...

วิปัสสนา เป็นเรื่องของเจตสิก ไม่เกี่ยวกับจิต จิตปล่อยให้มันอยู่เฉยๆ ปัญญามันเป็นเจตสิก ที่บอกว่า วิปัสสนา ไม่ต้องไปสนใจจริต เพราะจริต มันมีอกุศลจิตเป็นมูลฐาน วิปัสสนาทำจิตให้เป็นกุศล มันจะไปแก้จริตได้เองเป็นผลพลอยได้ เลยไม่ต้องไปสนใจจริต ไม่ต้องไปสนใจศีลและพรต ให้ตั้งหน้าตั้งตาวิปัสสนาไป เอาน้ำใสเติมเข้าไปในน้ำขุ่น เดี๋ยวน้ำมันก็ใสได้เอง

การชอบปฏิบัติวิปัสสนา ชอบสมถะ เป็นเรื่องที่เอามาทะเลาะกันเท่านั้น เรื่องนี้มีประเด็นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ระหว่างภิกษุที่เพ่งฌาน กับภิกษุที่ปฏิบัติธรรม ...

อ้างคำพูด:
กิจกรรมอะไรของจิต ที่จิตอรหันต์ยังคงดำเนินอยู่

เรื่องนี้คงต้องงัดตำรามาตอบ .. :b31: น่าจะเป็นฉันทะที่อยากจะแสดงธรรมอยู่นะ

อ้างคำพูด:
เวทนาตัณหาอุปทาน เป็นการยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบที่ ไม่สอดคล้องด้วยหมวดกับ ปัญญา-วิญญาณวิญญาณ-เวทนา-สัญญา

ยกตัวอย่างเรื่องการจำแนกธรรมที่ปกติมันอยู่รวมกันเท่านั้นเอง :b5:

อ้างคำพูด:
ใช่ ก็เลยต้องฝืนธรรมชาติกันหน่อย
เป็นปลาเป็นก็ว่ายทวนน้ำ เป็นปลาตายก็ใหลตามน้ำไป

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 22:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ๊บซ์ อ๊บซ์ รับช่วงต่อ ผีออกแย๊ววววว

ผีตนนี้...น่าจะให้อยู่นาน ๆ นะ... :b32: :b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 22:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
กิจกรรมอะไรของจิต ที่จิตอรหันต์ยังคงดำเนินอยู่

เรื่องนี้คงต้องงัดตำรามาตอบ .. :b31: น่าจะเป็นฉันทะที่อยากจะแสดงธรรมอยู่นะ


การสอนธรรม ไม่มีคำว่า "น่าจะ"
ถ้าใจสั่งมา :b32: :b32: ท่านก็ต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น :b1:

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
เวทนาตัณหาอุปทาน เป็นการยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบที่ ไม่สอดคล้องด้วยหมวดกับ ปัญญา-วิญญาณวิญญาณ-เวทนา-สัญญา

ยกตัวอย่างเรื่องการจำแนกธรรมที่ปกติมันอยู่รวมกันเท่านั้นเอง :b5:


:b32: :b32:
อิอิ ช่วยไม่ได้ ก็ดันปล่อยมุขมาให้สบช่องในตอนที่มือมันซน อิอิ :b13: :b13:

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ใช่ ก็เลยต้องฝืนธรรมชาติกันหน่อย
เป็นปลาเป็นก็ว่ายทวนน้ำ เป็นปลาตายก็ใหลตามน้ำไป


อิอิ แบบว่าตอนนี้วิญญาณปลาปิรันย่าเข้าสิงงงงง หงิ๋งงงง หงิ๋งงงง

ออกแร๊ะ...

:b30: :b30: :b30: :b30:


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


จะอย่างไรก็ขอให้สนทนากันด้วยไมตรีจิตนะครับ
smiley


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องจริตนี้ขอค้นพระไตรปิฎกก่อนครับ


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


[/quote]
สูตรนี้ท่านสอนพระอริยสงฆ์ ผู้มีสังโยชน์เบื้องล่างสิ้นแล้ว ราคะที่ละไดยสมถะ เป็นการละด้วยการกดข่ม ไม่ใช่ละด้วยการประหาร

ละด้วยการข่ม ก็คือการละมิใช่หรือ
การละกิเลส ก็ต้องมี การสะกด การสะกัด การตัด การข่ม ตาิมฐานะของจิตอยู่แล้วนี่นา


อ้างคำพูด:
จริตคือพฤติกรรมที่จิตแสดงออกมา การชอบปฏิบัติวิปัสสนาก็เป็นพฤติกรรมของจิต คือจริตนั่นเอง จะว่าไม่เกี่ยวกันได้งัย...

วิปัสสนา เป็นเรื่องของเจตสิก ไม่เกี่ยวกับจิต จิตปล่อยให้มันอยู่เฉยๆ ปัญญามันเป็นเจตสิก ที่บอกว่า วิปัสสนา ไม่ต้องไปสนใจจริต เพราะจริต มันมีอกุศลจิตเป็นมูลฐาน วิปัสสนาทำจิตให้เป็นกุศล มันจะไปแก้จริตได้เองเป็นผลพลอยได้ เลยไม่ต้องไปสนใจจริต ไม่ต้องไปสนใจศีลและพรต ให้ตั้งหน้าตั้งตาวิปัสสนาไป เอาน้ำใสเติมเข้าไปในน้ำขุ่น เดี๋ยวน้ำมันก็ใสได้เอง

เอะ...ข้อนี้ดูยังไงๆ อยู่นะ มีอะไรที่น่าพินิจอยู่นา...

การชอบปฏิบัติวิปัสสนา ชอบสมถะ เป็นเรื่องที่เอามาทะเลาะกันเท่านั้น เรื่องนี้มีประเด็นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ระหว่างภิกษุที่เพ่งฌาน กับภิกษุที่ปฏิบัติธรรม ...

แก้ตัวรึเปล่า... :b28: :b41: :b48:


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านก็ต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น
ครับคุณครู :b13:

อ้างคำพูด:
ละด้วยการข่ม ก็คือการละมิใช่หรือ
การละกิเลส ก็ต้องมี การสะกด การสะกัด การตัด การข่ม ตาิมฐานะของจิตอยู่แล้วนี่นา

สมถะละได้ชั่วคราวเท่านั้นนะครับ หมดกำลังมันก็กลับมาใหม่ ในสถานะพระภิกษุ ถ้าไม่ใช้สมถะกดข่ม ศีล ๒๒๗ ข้อคงรักษาไม่ได้ เพราะถ้ายังเป็นพระเสขะอยู่ ก็ยังมี ราคะ โทสะ โมหะ อยู่

สมาธิของพระอริยะใช้หนุนปัญญา ทำให้เกิดธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้บรรลุอรหันต์เร็วขึ้น ทำให้รู้แจ้งแทงตลอดในธาตุทั้งหลาย เราเป็นอุบาสกอุบาสิกา ไปทำเลียนแบบพระอริยะ ถึงจะมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว มันจะอยู่ปะปนกับผู้คนไม่ได้เอา ยกตัวอย่าง จิตคหบดี ก็มีชีวิตปกติ อาศัยเพียงการรู้เห็นที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือ วิปัสสนาพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ เท่านี้แหละ ท่านก็ได้เป็นถึงอนาคามี

ว่าด้วยการรู้เห็นที่ทำให้สิ้นอาสวะ
viewtopic.php?f=7&t=25125
ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย
viewtopic.php?f=7&t=25124

Quote Tipitaka:
๔. มหาจุนทสูตร

[๓๑๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่นิคมชื่อสัญชาติในแคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวดังนี้ว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้ ย่อมรุกรานภิกษุผู้เพ่งฌานว่า ก็ภิกษุผู้เพ่งฌานเหล่านี้ ย่อมเพ่งฌาน ยึดหน่วงฌานว่า เราเพ่งฌานๆ ดังนี้ ก็ภิกษุเหล่านี้ เพ่งฌานทำไม เพ่งฌานเพื่ออะไร เพ่งฌานเพราะเหตุไร ภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น และภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มากเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อมรุกรานพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมว่า ก็ภิกษุผู้ประกอบธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้ฟุ้งเฟ้อ เย่อหยิ่ง วางท่า ปากจัด พูดพล่าม มีสติหลงใหล ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตฟุ้งซ่าน มีอินทรีย์ปรากฏว่า เราประกอบธรรมๆ ดังนี้ ก็ภิกษุเหล่านี้ประกอบธรรมทำไม ประกอบธรรมเพื่ออะไร ประกอบธรรมเพราะเหตุไร ภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น และภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ... ฯ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น และภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ... ฯ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น และภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่ถูกต้องอมตธาตุด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่แทงทะลุเห็นข้ออรรถอันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ



วิปัสสนาดับจริตได้หรือเปล่า ท่านก็ลองดูสิครับ ไม่ยาก วิปัสสนาก็ง่ายๆ เด็ก ๙ ขวบยังบรรลุโสดาปัตติผลได้เลยครับ คนแก่อายุ ๘๗ ก็ยังบรรลุได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๓๔] สติหลงไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็น
นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติ
หลงไปแล้ว เพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงเสียงเป็น
นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
สั่งสมทุกข์อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลง
ไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงกลิ่นเป็นนิมิต
ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์
นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น
และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์
อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว
เพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรสเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิต
กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่
มีเวทนาอันมีรสเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอัน
อภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว เพราะ
ถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏฐัพพะเป็นนิมิต
ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์
นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีโผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน
สติหลงไปแล้วเพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อใส่ใจถึง
ธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์
เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสา
เข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า
ห่างไกลนิพพาน ฯ

[๑๓๕] บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มี
จิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไป
และไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป
ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้
นิพพาน บุคคลนั้นได้ฟังเสียงแล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียง
ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความ
ติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อได้ฟังเสียงและเสวย
เวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้น
เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นแล้ว
มีสติไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวย
อารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้น
เมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม
ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้น
ลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัด
เสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคล
นั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม
ทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่
สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคล
นั้นถูกต้องผัสสะแล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ
เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต
กล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่
กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้
ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม
ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าใกล้นิพพาน ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่แยกสมาธิออกจากปัญญา

คือผู้ไร้ปัญญา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่แยกวิปัสสนาออกจากสมถะ


คือวิปัสนึก หมายถึงจินตนาการ หรือ ฟุ้งซ่าน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่กล้าเรียกตัวเองว่าโสดาบัน


คือนักโชว์นักเปลือยกาย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่เรียกนิมิตว่า


การแสดงของเปรต


คือสัทธิสัทธรรมปฏิรูป

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สุดท้าย


การสนทนาธรรมเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์


ไม่ใช่เป็นการสั่งสอนเวไนยสัตว์แทนพระพุทธเจ้า


การตั้งตัวเองเป็นโสดาบัน


ถามว่ามีนิมิตหมายอะไรที่แสดงให้ตนรู้ว่าบรรลุโสดาบันก็ตอบไม่ได้


ที่เลี่ยงตอบมาก็รู้ว่าโม้ ลอกตำรามาไม่ใช่ประสพการณ์จริง


แล้วจะมากล่าวแทนพระพุทธเจ้าว่า


พระธรรมบทใดพระพุทธเจ้าต้องการสั่งสอนใคร


เอาบทพิสูจน์ไหนมาอ้าง


อย่างนี้มิเท่ากับ


แทนที่จะสิกขาเพื่อวิชชา กลับแสวงหาอวิชชาแทน


ถึงขนาดปฏิเสธสมาธิ สมถะ บอกตรงตรง


พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่


ไก่เล้าอ้อมน้อยหรือเปล่าไม่รู้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร