วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 12:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วที่รู้มา ปฏิบัติมา เอาไปดับทุกข์ หรือดับกิเลสตัณหา หรือ ดับความพอใจไม่พอใจและความหลง ได้หรือเปล่า?

เห็นจะไม่ต้องตอบ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
.. ในมรรคมีองค์แปดเป็นขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือแห่งการดับทุกข์ ขั้นตอนแรก เราต้องมีอศีลเสียก่อน ..

มรรค ๘ หรือทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ มีปัญญาสัมมาทิฐิก่อน มีปัญญาแล้วถึงมีศีล มีศีลแล้วถึงจะเป็นสมาธิ

Quote Tipitaka:
บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.


ศีลไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ ศีลก็มีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิด

ปัญญา (สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ) หรือ ความคิดถูกเห็นถูก เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ) มีพฤติกรรมถูก เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

อ้างคำพูด:
สัมมาไม่ใช่กุศลหรืออกุศล

สัมมา แปลว่า ชอบ ในมรรค ๘ สัมมาเกิดจากความรู้เรื่องความจริงของโลกและชีวิต หรือ ปัญญา เมื่อคนรู้จักความรู้เรื่องความจริงของโลกและชีวิต ทำให้เกิดความเห็นที่เปลี่ยนไปในทางที่ชอบ ฯ

อ้างคำพูด:
ไม่ต้องคอยระแวง พะว้าพะวงการกระทำในอดีต...

เราสั่งจิตไม่ได้ จิตเป็นอนัตตา

ไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา มาจากภิกษุที่เป็นอริยสงฆ์กลุ่มหนึ่งพวกวัชชีบุตร จะขอลาสิกขาบท เราะสิกขาบทที่มีในขณะนั้น ๑๕๐ ข้อ มันมากไป รับไม่ใหว ท่านจึงลดลงเหลือ ๓ ข้อ คือ ไม่อวดอุตริ ไม่ฆ่ามนุษย์ ไม่ลักทรัพย์เกิน ๕ มาสก ไม่เสพเมถุนธรรม เรียก ศีลใหญ่ หรือ อธิศีล ให้มีจิตที่ไม่ประมาท คือ ไม่ประมาทต่ออกุศล เรียก อธิจิต และใช้ปัญญาประหารกิเลส เรียก อธิปัญญา ... เป็นหลักสูตรพระอริยสงฆ์

อ้างคำพูด:
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้แล้ว จะทำให้เรารู้ถึงสภาพหรือสภาวะความจริงของจิตการไปรู้สภาวะที่เป็นจริง ที่เรียกว่าไตรลักษณ์
อะไรๆ ก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จริงมั้ย? ปลูกต้นไม้เอารากชี้ฟ้า มันไม่เป็นต้นนะท่าน ไตรลักษณ์ต้องรู้ก่อน ถึงจะเดินตามมรรคได้ รู้จักไตรล้กษณ์ทำให้เกิดสัมมาทิฐิ ถูกต้องตามเหตุปัจจัย

อ้างคำพูด:
มีกิเลสขึ้นมาเมื่อใด ให้ใช้การย้อนทบทวนบัญญัติคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านว่ากิเลสที่เกิดตรงหน้าจะหายไป
กรรม พูดเข้าหูซ้ายทะลุออกหูขาว ... การพิจารณาหรือการลงความเห็น ตามที่ได้เห็นด้วยไปแล้วว่า อะไรๆ ก็ไม่เที่ยง จริงๆ อะไรๆ ก็มีการเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ไม่ใช่การทบทวนบัญญัติ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไม่ใช่บัญญัติ เป็นความจริง หรือท่านว่าไตรลักษณ์ไม่ใช่ความจริง?

โลภะ ดับด้วย อโลภะ โทสะ ดับด้วย อโทสะ โมหะ ดับด้วย อโมหะ

โทสะ ดับ โลภะ ไม่ได้ เกิดพร้อมกันได้ ฯ อโลภะ อโมหะ อโทสะ เป็นทวิลักษณะของสภาวะ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดพร้อมกันไม่ได้ วิปัสสนาดับ โลภะ โทสะ โมหะ ได้คราวเดียว

เอา อุเบกขาเวทนา ไปดับ ทุกขเวทนา สุขเวทนา แบบนี้ถึงเรียกเอากิเลสไปละกิเลส หรือ เอาทุกข์ไปถมทุกข์

อ้างคำพูด:
กุศลอกุศลดีชั่ว ... ผัสสะที่เรียกว่าใจ
อืมมม... ไปฟังไครเขาแปลมาละ

อ้างคำพูด:
ยังไม่ต้องรีบเชื่อสิ่งไหน

ให้วิปัสสนาด้วยโยนิโสมนสิการทั้งสองอย่าง

ก็ทดลอง ลองผิดลองถูกต่อไปนะครับ ดับทุกข์ได้จริงๆ เมื่อใหร่แล้วเอามาบอกกันด้วยนะครับ




Quote Tipitaka:
[๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริดังนี้ว่า ธรรมที่เราได้บรรลุนี้แล ลึก เห็นได้โดยยาก รู้ตามได้โดยยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต อันความตรึกหยั่งไม่ถึง ละเอียด รู้ได้แต่บัณฑิต ส่วนประชาชนนี้ เป็นผู้ยินดี เพลิดเพลินใจในอาลัย เป็นผู้เห็นอิทัปปัจยตาปฏิจจสมุปบาทเหล่านี้ได้โดยยาก และเห็นได้โดยยากซึ่งธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกจากตัณหา ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม และคนอื่นไม่รู้ตามธรรมของเรา ก็จะเป็นความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแก่เราเปล่า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทั้งคาถาที่เป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้สดับมาแต่ก่อน ก็ได้แจ่มแจ้งแก่เราดังนี้ :b8:


คุณ โฮฯ การปรารถณาจะแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับเหล่าสาวก เป็นกิเลสหรือเปล่า?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ยังไม่ต้องรีบเชื่อสิ่งไหน

ให้วิปัสสนาด้วยโยนิโสมนสิการทั้งสองอย่าง

ก็ทดลอง ลองผิดลองถูกต่อไปนะครับ ดับทุกข์ได้จริงๆ เมื่อใหร่แล้วเอามาบอกกันด้วยนะครับ


ล่าวอย่างนี้แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไม่ถูกต้องใช่ไหม

ตามหลักกาลามสูตร

ท่านโสดาบัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตามหลักกาลามสูตร
สรุปว่า ให้ทดลอง แล้วดูว่า อกุศลดับ อกุศลเกิด ได้ทันทีจริงหรือเปล่า

คุณ mes ความคิดคนเรานี่ จริงๆ มันเกิดขึ้นมา เพราะเราไปเกี่ยวข้องด้วย สักพักมันก็ต้องหายไป ความคิดเลยเอามายึดถือไม่ได้ จริงมั้ย?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ตามหลักกาลามสูตร
สรุปว่า ให้ทดลอง แล้วดูว่า อกุศลดับ อกุศลเกิด ได้ทันทีจริงหรือเปล่า

คุณ mes ความคิดคนเรานี่ จริงๆ มันเกิดขึ้นมา เพราะเราไปเกี่ยวข้องด้วย สักพักมันก็ต้องหายไป ความคิดเลยเอามายึดถือไม่ได้ จริงมั้ย?





ท่านซุปไม่บังควรกล่าวตู่พระพุทธพจน์ในท่อนประโยคนี้
อ้างคำพูด:
ตามหลักกาลามสูตร
สรุปว่า ให้ทดลอง แล้วดูว่า อกุศลดับ อกุศลเกิด ได้ทันทีจริงหรือเปล่า[/color][/quote]

อย่าพยายามอธิบายหรือสรุปแทนพระพุทธเจ้า


กาลามสูตรมีว่าอย่างนี้





http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81% ... 5%E0%B8%A3

อ้างคำพูด:
กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว[2]

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes ความคิดคนเรานี่ จริงๆ มันเกิดขึ้นมา เพราะเราไปเกี่ยวข้องด้วย สักพักมันก็ต้องหายไป ความคิดเลยเอามายึดถือไม่ได้ จริงมั้ย?

ตอบว่าไม่จริง

ความคิดที่เป็นวิชชายึดถือได้

ความคิดที่เป็นอวิชชา ยึดถือไม่ได้

ความคิที่เป็นสังขารบางอย่างที่เป็นกระแสเช่น

คิดรู้ลึกตัว(ยึดมั่นในตัวตนของตนเอง)ไม่หายจนกว่าจะตายหรือบรรละอรหันต์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
แล้วท่าน mes เชื่อนิมิต หรือ เชื่อพระไตรปิฏก?

ถามท่านซุป

ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก

ไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกมาเลย

บรรลุอรหันต์ได้หรือไม่

เพราะเหตุใด

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมตอบคำถามท่านซุปทุกคำถาม

แต่ท่านซุปเลือกตอบบางคำถาม

ที่ผมถามว่านิมิตหมายอะไรที่แสดงว่าท่านซุปบรรลุโสดาบัน

ท่านซุปต้องตอบ

เพราะท่านประกาศว่าท่านบรรลุโสดาบันต่อสาธารณะชน

ฉนั้นสาธารชนมีสิทธิ์สงสัยและถามข้อสงสัยให้สิ้นสงสัยได้

และถ้าท่านไม่ตอบหรือตอบไม่ได้

สาธารณะจะเชื่อว่าท่านโกหกหลอกลวงผู้อื่นในที่สาธารณะ

ขอบอกว่านี่ไม่ใช่การยกตนข่มท่าน

แต่เป็นบรรทัดฐานที่ผู้กล่าวอ้างต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนกล่าวอ้าง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
.. ในมรรคมีองค์แปดเป็นขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือแห่งการดับทุกข์ ขั้นตอนแรก เราต้องมีอศีลเสียก่อน ..

มรรค ๘ หรือทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ มีปัญญาสัมมาทิฐิก่อน มีปัญญาแล้วถึงมีศีล มีศีลแล้วถึงจะเป็นสมาธิ

มันเป็นการเข้าใจผิดของท่านครับ ท่านเอาปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติมานำได้อย่างไร
มรรคในส่วนของปัญญาเป็นผลมาจาก การปฏิบัติเรื่องศีลและสมาธิ ซึ่งในเรื่องศีลและสมาธิ
เราสามารถปฏิบัติได้ด้วยการการฟังการอ่าน เพราะแนวทางการปฏิบัติของศีลและสมาธิเป็นปัญญา
ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้คนพบและมาสอนเราให้รู้ให้ปฏิบัติ ทั้งสองอย่างปฏิบัติได้ด้วยการฟังและอ่านได้
แต่ปัญญา ในส่วนของเห็นชอบ ดำริชอบเราไม่สามารถรู้ได้ด้วยการอ่านหรือฟัง
เพราะปัญญาหรือมรรคทั้งสองมันเป็นสภาวะ ต้องเขาไปรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตัวเอง
เมื่อรู้แล้วเห็นแล้ว จึงสามารถนำสภาวะที่ว่ามาเป็นปัญญาดับทุกข์ดับกิเลสได้ครับ

Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
.. ในมรรคมีองค์แปดเป็นขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือแห่งการดับทุกข์ ขั้นตอนแรก เราต้องมีอศีลเสียก่อน ..

มรรค ๘ หรือทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ มีปัญญาสัมมาทิฐิก่อน มีปัญญาแล้วถึงมีศีล มีศีลแล้วถึงจะเป็นสมาธิ

แล้วท่านรู้ได้อย่างไร อะไรคือปัญญา อะไรคือสัมมาทิฐิ อะไรคือสัมมาสังกัปปะ
สิ่งใดที่เรียกว่าคิดชอบเห็นชอบ ท่านจะบอกว่า พระพุทธเจ้าบอกไว้แล้วว่าเป็นอย่างไร
มันใช้ได้ที่ไหน ปัญญาที่ว่ามันเปรียบเหมือนเครื่องมือ ใครจะใช้ต้องไปเอามาเอง

ทุกอย่างที่ท่านกล่าวมาตั้งแต่ต้น มันเป็นการเข้าใจผิดในเรื่องปัญญา
ท่านไม่เข้าใจว่า อะไรเป็นปัญญาของเรา อะไรเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า

เรื่องปัญญาที่เอามาเพื่อดับทุกข์ มันมีประจำตัวกันทุกคน แต่ที่ไม่รู้ว่ามีก็เพราะ
ยังไม่รู้จักวิธีไปเอามา และยังไม่เคยเห็นไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบวิธืไปเห็นตัวปัญญาและสามารถเอามาใช้ดับทุกข์ครับ

ดังนั้นประโยคที่ว่าใช้ปัญญานำ มันคือตัววิธีการจะไปเอาตัวตัวปัญญาที่เป็น
เครื่องมือดับทุกข์ วิธีการนี้เป็นปัญญาแต่เฉพาะของพระพุทธเจ้า
เพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบ เราเป็นเพียงคนที่ใช้ปัญญาของพระพุทธเจ้าไปเอา
ปัญญาของเราครับ

Supareak Mulpong เขียน:
Quote Tipitaka:
บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.

ใช่ครับรู้ชัด แล้วรู้ได้อย่างไรครับที่เรียกรู้ชัดรู้ชอบ หรือว่ารู้ด้วยวิธีการของท่าน
ที่ใช้การอ่านเอาจากพระไตรปิฎก
ปัญญาของท่านเอง สภาวะจิตของท่านเองในพระไตรปิฎกบอกด้วยหรือเปล่าครับว่า
เป็นปัญญของท่านซุป มีอ้างในพระวินัยหรือพระสูตรครับ


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ปัญญา (สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ) หรือ ความคิดถูกเห็นถูก เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ) มีพฤติกรรมถูก เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

การปฏิบัติในเรื่องศีล มันไม่ได้มาจากสัมมาทิฐิหรือสัมมาสังกัปปะ
เราปฏิบัติในเรื่องของศีล เราทำไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
เรารู้ได้จากการอ่านการฟัง มันไม่ใช่การคิดชอบเห็นชอบ
ศีลตัวนี้มันยังเป็นแค่มรรคตัวหนึ่งที่อาจจะเป็นสัมมาหรือไม่ก็ได้
สรุปก็คือ การอ่านการฟังเป็นเหตุปัจจัยในเรื่องศีลหรือพฤติกรรมถูกที่ท่านว่า
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
สัมมาไม่ใช่กุศลหรืออกุศล

สัมมา แปลว่า ชอบ ในมรรค ๘ สัมมาเกิดจากความรู้เรื่องความจริงของโลกและชีวิต หรือ ปัญญา เมื่อคนรู้จักความรู้เรื่องความจริงของโลกและชีวิต ทำให้เกิดความเห็นที่เปลี่ยนไปในทางที่ชอบ ฯ

ถ้าในมรรคแปด ถ้าเรายังไม่ได้ปัญญาหรือการเห็นชอบ เราก็ยังไม่เห็นหรือเข้าใจหรอกครับว่า
สัมมาเป็นอย่างไร ผมถึงได้บอกในตอนต้นว่า ต้องปฏิบัติไปที่ละขั้น ได้ใหม่แต่อย่าลืมเก่า
เมื่อมรรคมาประชุมกันจนครบองค์แปด นั้นและครับ ตัวปัญญาที่แท้จริง และจะทำให้รู้ได้เห็น
ว่าอะไรเป็นสัมมา เพิ่มเติม การได้ปัญญาตัวนี้มามันก็เป็นการละสังโยขน์สามแล้วล่ะครับ
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ไม่ต้องคอยระแวง พะว้าพะวงการกระทำในอดีต...

เราสั่งจิตไม่ได้ จิตเป็นอนัตตา

ก็เพราะเราสั่งจิตไม่ได้ไงครับ จิตมันเกิดตามเหตุปัจจัย
แล้วถ้าเราไปกระทำอะไรที่ผิดศีลธรรมไว้ ไอ้ตัวนี้มันเป็นเหตุปัจจัยให้
เกิดการระแวงในการกระทำไม่ดีมั้ยครับ ถามหน่อยครับสติกับสมาธิจะเกิดต้องอาศัย
เหตุปัจจัยตัวไหนครับ ระหว่างการกระทำที่ผิดศีลกับการกระทำที่อยู่ในศีลธรรม


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา มาจากภิกษุที่เป็นอริยสงฆ์กลุ่มหนึ่งพวกวัชชีบุตร จะขอลาสิกขาบท เราะสิกขาบทที่มีในขณะนั้น ๑๕๐ ข้อ มันมากไป รับไม่ใหว ท่านจึงลดลงเหลือ ๓ ข้อ คือ ไม่อวดอุตริ ไม่ฆ่ามนุษย์ ไม่ลักทรัพย์เกิน ๕ มาสก ไม่เสพเมถุนธรรม เรียก ศีลใหญ่ หรือ อธิศีล ให้มีจิตที่ไม่ประมาท คือ ไม่ประมาทต่ออกุศล เรียก อธิจิต และใช้ปัญญาประหารกิเลส เรียก อธิปัญญา ... เป็นหลักสูตรพระอริยสงฆ์

ในความเห็นผม อธิศีลคือขั้นตอนในการปฏิบัติครับ มันตรงข้ากับศีลห้าที่ห้ามทำครับ

ท่านจะพูดจะยกอะไรมาอ้างให้มันถูกหลักหน่อยครับ
เป็นถึงขั้นอริยบุคคลแล้ว ยังมีการเล่นแง่เล่นงอนในเรื่องของศีลอีกหรือครับ
ผมจะบอกให้ครับในระดับอริยบุคคลขั้นแรก เขาก็ไม่ไปสนใจกับศีลข้อห้ามแล้วครับ
ทุกอย่างเป็นสัมมาหมดแล้ว เอางี้ครับท่านเข้าใจเรื่องศีลพตปรามาสแค่ไหนครับ
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้แล้ว จะทำให้เรารู้ถึงสภาพหรือสภาวะความจริงของจิตการไปรู้สภาวะที่เป็นจริง ที่เรียกว่าไตรลักษณ์
อะไรๆ ก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จริงมั้ย? ปลูกต้นไม้เอารากชี้ฟ้า มันไม่เป็นต้นนะท่าน ไตรลักษณ์ต้องรู้ก่อน ถึงจะเดินตามมรรคได้ รู้จักไตรล้กษณ์ทำให้เกิดสัมมาทิฐิ ถูกต้องตามเหตุปัจจัย

อธิบายมาทีละขั้นที่ละตอนไม่ยอมเข้าใจ เอางี้ง่ายๆ
ตัวท่านเป็นหมอรู้วิธีรักษาและรู้ว่ากินยาอะไรถึงหาย
ถามหน่อยถ้าท่านไม่เดินไปเอายามากินหรือไปซื้อยามากิน
มันจะหายมั้ยครับ
ความสำคัญมันอยู่ที่ตัวยา ไม่ใช่รู้ว่ายาอะไรรักษาโรคที่เป็นอยู่หาย
มันก็เหมือนกันจะเอาปัญญาดับทุกข์ก็ต้องไปเอาตัวปัญญามาดับทุกข์
ไม่ใช่แค่รู้ว่า ตัวปัญญาดับทุกข์ได้แบบนี้มันจะเกิดผลอะไรครับ


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
มีกิเลสขึ้นมาเมื่อใด ให้ใช้การย้อนทบทวนบัญญัติคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านว่ากิเลสที่เกิดตรงหน้าจะหายไป
กรรม พูดเข้าหูซ้ายทะลุออกหูขาว ... การพิจารณาหรือการลงความเห็น ตามที่ได้เห็นด้วยไปแล้วว่า อะไรๆ ก็ไม่เที่ยง จริงๆ อะไรๆ ก็มีการเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ไม่ใช่การทบทวนบัญญัติ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไม่ใช่บัญญัติ เป็นความจริง หรือท่านว่าไตรลักษณ์ไม่ใช่ความจริง?

ความหมายของ"ความจริง"ท่านเป็นแบบนี้หรือครับ
การเชื่อคำบอกเล่าของคนอื่นเป็นความจริงหรือครับ
มันเรื่องง่ายๆคนเด็กมันยังรู้เลยครับ การฟังความจากคนอื่นแล้วเชื่อเลย
เป็นคนโง่หูเบาครับ มันต้องไปรู้ไปเห็นเองครับ ถึงจะเรียกว่าความจริง
เคยได้ยินสำนวนที่เขาไว้ล้อกันหรือเปล่าครับที่บอกว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ

ยิ่งเรื่องไตรลักษณ์มันเป็นสภาวะ มันอธิบายเป็นสมมุติบัญญัติไม่ได้
การดับทุกข์ เราต้องใช้สภาวะที่เราไปเห็นเป็นสติดับทุกข์ ไม่ใช่ใช้
เรื่องสมมุติบัญญัติมาดับทุกข์นั้นมันเรื่องของการปรุงแต่งล้วนๆครับ


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โลภะ ดับด้วย อโลภะ โทสะ ดับด้วย อโทสะ โมหะ ดับด้วย อโมหะ

ผมถึงได้บอกว่าท่านกำลังหลงมีโมหะเต็มๆก็ไม่รู้ตัว
บอกให้แยกรูป แยกนามแล้วลองดูซิอายตนะตัวไหนทำหน้าที่อะไร
บางที่สมมุติบัญญัติมันไม่จำเป็น เพราะบางครั้งยังเข้าใจไปคนละทางสองทาง

ในกรณีของท่านที่บอกว่า ท่านไม่ใช้ขั้นตอนของสมาธิ
ดังนั้นจิตของท่านจะไม่มีในเรื่องสมถะ และเรื่องสติสมาธิ
ดับโลภะด้วยอโลภะ โลภะมันเป็นความโลภ แล้วอโลภะของท่านมันเป็นอย่างไรครับ
อโทสะเป็นอย่างไรและอโมหะเป็นอย่างไร
ถามครับจิตตอนนั้นของท่านเป็นอย่างไร ถ้ามันไม่เป็นสมถะสมาธิ
ท่านช่วยอธิบายหน่อยครับ เอาแบบสภาวะนะครับ

Supareak Mulpong เขียน:
โทสะ ดับ โลภะ ไม่ได้ เกิดพร้อมกันได้ ฯ อโลภะ อโมหะ อโทสะ เป็นทวิลักษณะของสภาวะ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดพร้อมกันไม่ได้ วิปัสสนาดับ โลภะ โทสะ โมหะ ได้คราวเดียว

กิเลสตัวโลภะจะเกิดพร้อมกับโทสะไม่ได้ ถูกแล้วครับ แต่โมหะความหลงมันเกิดพร้อมกับ
โทสะและโมหะได้ครับ เพราะมันเป็นองค์ประกอบของกิเลสสองตัวนี้ครับ

ในส่วนของโทสะจะเกิดพร้อมกับโลภะไม่ได้ มันเกิดที่ละตัวครับ
ถ้าไม่เอาโทสะ โทสะไปโลภะก็มาแทนที่
แล้วเรื่องอโทสะหรืออโลภะของท่าน ถ้าไม่ใช้สมาธิกดไว้เป็นไปไม่ได้เลย
ที่จะให้มีอโทสะหรืออโลภะ เพราะจิตเป็นสภาวะ มีแค่พอใจ ไม่พอใจหรือเอาเข้ากับดันออก
มันไม่เป็นอย่างหนึ่งมันก็เป็นอย่างหนึ่ง เรื่องจิตว่างไม่ต้องพูดถึงเพราะท่านปฏิเสธเรื่องสมาธิ
Supareak Mulpong เขียน:
เอา อุเบกขาเวทนา ไปดับ ทุกขเวทนา สุขเวทนา แบบนี้ถึงเรียกเอากิเลสไปละกิเลส หรือ เอาทุกข์ไปถมทุกข์

วรรคนี้ไม่ทราบว่าท่านไปเอามาจากไหนครับ มันเป็นคำพูดของผมหรือเปล่าครับ
และท่านแน่ใจมั้ยครับว่า ท่านไม่ได้เป็นแบบนี้ ผมว่ามันไม่หนีไปไหนหรอกครับ
กับกิเลสแก้กิเลส ทุกข์ไปถมทุกข์
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
กุศลอกุศลดีชั่ว ... ผัสสะที่เรียกว่าใจ
อืมมม... ไปฟังไครเขาแปลมาละ

ท่านครับ การรับรู้เรื่องใดเป็นกุศลเรื่องใดเป็นอกุศล มันเป็นเรื่องของการเรียนรู้สอนสั่งกันมา
การรับรู้มันแล้วแต่อายตนะภายนอกครับ จากนั้นก็จะเก็บเป็นความทรงจำ ก่อนจะกระทำการใดๆ
ใจก็จะแยกแยะสัญญาความจำว่า อะไรเป็นกุศลอกุศลครับ
ใจกับจิตในเรื่องสมมุติญัติญัติมันเป็นคนละตัวกันครับ
จิตเป็นนาม ส่วนใจเป็นอาตนะภายในที่เรียกว่ารูปครับ
ถ้าใจไม่ใช่จิต มันเป็นรูปท่านว่าในร่างกายเราอะไรที่ใช้สำหรับนึกคิดครับ

Supareak Mulpong เขียน:
คุณ โฮฯ การปรารถณาจะแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับเหล่าสาวก เป็นกิเลสหรือเปล่า?

ผมบอกคุณแล้วไงครับว่า การจะดูกิเลสเราต้องดูในรูปปรมัตถ์
"การปรารถณา"ที่ท่านกล่าวมันชี้ให้เห็นถึงสภาวะมั้ยละครับ
สมมุติบัญญัติก็คือสมมุติ มันแล้วแต่คนพูดว่าต้องการให้มันเป็นไปในทางไหน
ตอบอย่างท่านอาจบอกเป็นอีกอย่าง ถ้าคำที่ท่านบอกแปลว่าต้องการหรือว่าอยาก
พระองค์คงไม่มีแล้วครับ
พระองค์เป็นอรหันต์แล้วครับ การจะทำอะไรพระองค์ใช้ปัญญานำครับ
ในส่วนนี้ต้องบอกว่า ท่านใช้ปัญญานำอธิศีล สิ่งที่แสดงออกมาจึงอริยมรรคในเรื่องของศีล


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
.. ในมรรคมีองค์แปดเป็นขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือแห่งการดับทุกข์ ขั้นตอนแรก เราต้องมีอศีลเสียก่อน ..

มรรค ๘ หรือทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ มีปัญญาสัมมาทิฐิก่อน มีปัญญาแล้วถึงมีศีล มีศีลแล้วถึงจะเป็นสมาธิ

มันเป็นการเข้าใจผิดของท่านครับ ท่านเอาปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติมานำได้อย่างไร
มรรคในส่วนของปัญญาเป็นผลมาจาก การปฏิบัติเรื่องศีลและสมาธิ ซึ่งในเรื่องศีลและสมาธิ
เราสามารถปฏิบัติได้ด้วยการการฟังการอ่าน เพราะแนวทางการปฏิบัติของศีลและสมาธิเป็นปัญญา
ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้คนพบและมาสอนเราให้รู้ให้ปฏิบัติ ทั้งสองอย่างปฏิบัติได้ด้วยการฟังและอ่านได้
แต่ปัญญา ในส่วนของเห็นชอบ ดำริชอบเราไม่สามารถรู้ได้ด้วยการอ่านหรือฟัง
เพราะปัญญาหรือมรรคทั้งสองมันเป็นสภาวะ ต้องเขาไปรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตัวเอง
เมื่อรู้แล้วเห็นแล้ว จึงสามารถนำสภาวะที่ว่ามาเป็นปัญญาดับทุกข์ดับกิเลสได้ครับ

Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
.. ในมรรคมีองค์แปดเป็นขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือแห่งการดับทุกข์ ขั้นตอนแรก เราต้องมีอศีลเสียก่อน ..

มรรค ๘ หรือทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ มีปัญญาสัมมาทิฐิก่อน มีปัญญาแล้วถึงมีศีล มีศีลแล้วถึงจะเป็นสมาธิ

แล้วท่านรู้ได้อย่างไร อะไรคือปัญญา อะไรคือสัมมาทิฐิ อะไรคือสัมมาสังกัปปะ
สิ่งใดที่เรียกว่าคิดชอบเห็นชอบ ท่านจะบอกว่า พระพุทธเจ้าบอกไว้แล้วว่าเป็นอย่างไร
มันใช้ได้ที่ไหน ปัญญาที่ว่ามันเปรียบเหมือนเครื่องมือ ใครจะใช้ต้องไปเอามาเอง

ทุกอย่างที่ท่านกล่าวมาตั้งแต่ต้น มันเป็นการเข้าใจผิดในเรื่องปัญญา
ท่านไม่เข้าใจว่า อะไรเป็นปัญญาของเรา อะไรเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า

เรื่องปัญญาที่เอามาเพื่อดับทุกข์ มันมีประจำตัวกันทุกคน แต่ที่ไม่รู้ว่ามีก็เพราะ
ยังไม่รู้จักวิธีไปเอามา และยังไม่เคยเห็นไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบวิธืไปเห็นตัวปัญญาและสามารถเอามาใช้ดับทุกข์ครับ

ดังนั้นประโยคที่ว่าใช้ปัญญานำ มันคือตัววิธีการจะไปเอาตัวตัวปัญญาที่เป็น
เครื่องมือดับทุกข์ วิธีการนี้เป็นปัญญาแต่เฉพาะของพระพุทธเจ้า
เพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบ เราเป็นเพียงคนที่ใช้ปัญญาของพระพุทธเจ้าไปเอา
ปัญญาของเราครับ

Supareak Mulpong เขียน:
Quote Tipitaka:
บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.

ใช่ครับรู้ชัด แล้วรู้ได้อย่างไรครับที่เรียกรู้ชัดรู้ชอบ หรือว่ารู้ด้วยวิธีการของท่าน
ที่ใช้การอ่านเอาจากพระไตรปิฎก
ปัญญาของท่านเอง สภาวะจิตของท่านเองในพระไตรปิฎกบอกด้วยหรือเปล่าครับว่า
เป็นปัญญของท่านซุป มีอ้างในพระวินัยหรือพระสูตรครับ


ถูกต้องครับคุณโฮฮับ

ปัญญาที่จะใช้ดับทุกข์นั้นเกิดขึ้นโดยการผุดขึ้นในจิต

ไม่ใช่สัญญาที่ไดรับจากการอ่านจากพระไตรปิฎกแล้วมาปรุ่งแต่ง

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ปัญญาจะเกิด

ต้องอาศัยสมาธิเป็นกำลังหลักผสานกันวิปัสสนาเป็นผู้ประหารอวิชชา

แต่ถ้าลองมีมิจฉทิฏฐิว่าสมาธิเป็นที่สิงสถิตของเปรตก็หมดหวังที่ปัญญาจะผุด

ถึงผุดขึ้นมาจริงๆก็คงอุปาทานว่าเป็นเปรต

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน:
Supareak Mulpong เขียน:
ไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา มาจากภิกษุที่เป็นอริยสงฆ์กลุ่มหนึ่งพวกวัชชีบุตร จะขอลาสิกขาบท เราะสิกขาบทที่มีในขณะนั้น ๑๕๐ ข้อ มันมากไป รับไม่ใหว ท่านจึงลดลงเหลือ ๓ ข้อ คือ ไม่อวดอุตริ ไม่ฆ่ามนุษย์ ไม่ลักทรัพย์เกิน ๕ มาสก ไม่เสพเมถุนธรรม เรียก ศีลใหญ่ หรือ อธิศีล ให้มีจิตที่ไม่ประมาท คือ ไม่ประมาทต่ออกุศล เรียก อธิจิต และใช้ปัญญาประหารกิเลส เรียก อธิปัญญา ... เป็นหลักสูตรพระอริยสงฆ์

ในความเห็นผม อธิศีลคือขั้นตอนในการปฏิบัติครับ มันตรงข้ากับศีลห้าที่ห้ามทำครับ

ท่านจะพูดจะยกอะไรมาอ้างให้มันถูกหลักหน่อยครับ
เป็นถึงขั้นอริยบุคคลแล้ว ยังมีการเล่นแง่เล่นงอนในเรื่องของศีลอีกหรือครับ
ผมจะบอกให้ครับในระดับอริยบุคคลขั้นแรก เขาก็ไม่ไปสนใจกับศีลข้อห้ามแล้วครับ
ทุกอย่างเป็นสัมมาหมดแล้ว เอางี้ครับท่านเข้าใจเรื่องศีลพตปรามาสแค่ไหนครับ


ถูกของท่านโฮฮํบ

อริยะบุคคลอยู่ในศีลแล้วโดยธรรมชาติ

ใครมีหลักฐานพระอรหันต์ทำผิดศีลบ้างครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


tongka เขียน:
การสนทนา น่าจะสร้างสรรสาระให้มากกว่านี้นะสำหรับบางท่าน
การโต้ตอบระหว่างบุคคลควรเอาสาระที่จะได้ และเพื่อให้ผู้อื่นได้รับสาระจากเรา
ควรที่จะเป็นเรื่องเพิ่มพูนสาระ มิใช่เพียงเพื่อสนุกสนานโต้ตอบเอาแต่ความเมามัน สะใจ
กดข่มผู้อื่น ให้เป็นสุภาษิตสมกับบัณฑิตสักหน่อยก็ยังดี

มีสาระไม่นอกเรื่อง


ท่านหมายถึงผมหรือเปล่าครับ

ถ้าใช่ขอคำแนะนำเพือผมจะได้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในการตอบกระทู้นี้

เพื่อไม่ให้

มีแต่ความเมามัน สะใจ กดข่มผู้อื่น


ผมมิได้ปราถนาหัวโขนบัณฑิตแต่อย่างไรครับ

แต่มีอุดมการณ์ ข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง

เพื่อเป็นหมาเฝ้ายามศาสนาครับ



แต่ถ้าไม่ใช่หมายถึงผมก็ผ่านครับ



.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร