วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 18:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b1:

พยายามอย่าละทิ้งการสนทนา
เพราะท่านจะได้เห็นเหตุที่ทำไมคนส่วนหนึ่งจึงไม่ได้ปักใจเชื่อในแนวทางของท่าน......
แนวทางของท่านมีแนวโนม้ที่เป็นการไหลไปในสมุทัย - ทุกข์ อยู่มาก

ให้เพื่อน ๆ เข้ามาช่วยกันกลั่นกรองครับ
อิอิ โทษฐานที่ใจสั่งม๊าาาาา :b12:


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นทุกขสัจ
เรียกว่าการกำหนดรู้ทุกข์ กำหนดรู้ว่าที่มันเป็นทุกข์อริยสัจ เพราะมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาฯ

อ้างคำพูด:
การแทงตลอดด้วยการละว่า สุข โสมนัส อาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ
รู้การเกิดของทุกข์ คือรู้ว่า ทุกข์เกิดเพราะอาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ และกำหนดรู้ว่า สิ่งเหล่านี้ควรละ

อ้างคำพูด:
การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ
เรียกว่าการทำให้แจ้ง หรือปฏิบัติจนรับรู้การดับของทุกข์ด้วยตนเอง

อ้างคำพูด:
การแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะสติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ ฯ
มรรค ๘

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 23:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้
กะ การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ... เป็นอุบายเครื่องสลัดออก
กะ การแทงตลอดด้วยภาวนา
เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางที่ท่านหยิบขึ้นมานำเสนอนั้น สอดคล้องกันในแง่ไหนบ้าง
และในแง่ใดบ้างที่ไม่สอดคล้อง

:b1:

:b12:


กำลังอยากรู้ว่า...ท่านซุปฯ...คิดยังงัยกับคำถามนี้..

เหมือนกัน.. :b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ท่านว่าศีลห้าของฆราวาสเป็นส่วนย่อยของอธิศีลมั้ย
ศีล ๕ หรือ การหลีกเลี่ยงภัยเวรภัยเวร ๕ ประการ ทำให้คนตกต่ำ

อธิศีล คือ สิ่งที่ทำให้พระสิ้นจากความเป็นพระ มีผลถึงห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน

... มันคนละเรื่องละราวกันนะครับ

อ้างคำพูด:
ท่านซุปครับ การที่ท่านบอกว่านั้นเป็นเรื่องของสงฆ์ นี่เป็นเรื่องของสงฆ์
มันเป็นส่วนของการปฏิบัติครับ มันขึ้นอยู่กับสถานะที่ดำรงอยู่
ผิดบุคคลก็ผิดธรรม สถานะเป็นฆราวาส ไปเอาวิธีการของผู้ที่มีสถานะเป็นอริยบุคคล หรือเป็นพระอริยมาปฏิบัติ ก็เหมือนไปเอาหลักสูตร ป.โท มาให้เด็กประถมทำ

อ้างคำพูด:
ผมถึงได้สงสัยท่านไงครับ ท่านบอก ท่านปฏิบัติมาแล้วเห็นผลแล้ว
ผลที่เห็นมันเป็นอะไรครับ ท่านบอกว่าเอาปัญญานำ แสดงว่าปัญญา
มีอยู่แล้ว การที่บอกว่าปฏิบัติ ปฏิบัติไปหาอะไรครับหรือว่า เราเข้าใจบัญญัติไปคนละเรื่อง
เอางี้สั้นๆท่านเข้าใจ หลักของ ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธมั้ยครับ
เห็นว่า ปัญญาสามารถดับความพอใจไม่พอใจและความหลงได้ชงัก ปัญญาไม่ได้มีอยู่แต่เดิม หากแต่ได้มาจากการฟังและการเข้าใจ ปฏิบัติไปเพื่อให้ปัญญางอกงามเพิ่มพูนแข็งแรงมั่นคงขึ้น

ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ คือ เรียนให้รู้ก่อน ได้ปัญญามาจากการฟังแล้วเอาไปปฏิบัติ ให้ได้ผลตามขั้นตอน

อ้างคำพูด:
สมาธิเกิดได้เพราะสติใช่มั้ยครับ
สติเกิดจากความพยายาม ความพยายามเกิดจากศีล ศีลเกิดมาจากปัญญา

อ้างคำพูด:
ท่านลองดูซิว่า ท่านไม่ได้ใช้ สติสมาธิและความเพียร ในการย้อนสมมุติบัญญัติขึ้นมาพิจารณา
ถ้าถึงขั้นพิจารณาเป็น คือ มีปัญญาอยู่แล้ว ตอนฟังธรรมก็ต้องมีสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดพร้อมกันกับการฟัง

ไตรลักษณ์ไม่ใช่สมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ความจริงที่สมมุติ ไตรลักษณ์เป็นความจริงที่แท้จริง

อ้างคำพูด:
แล้วที่ท่านบอกสมาธิไม่จำเป็น ท่านลองไปดูใหม่ว่าท่านใช้มันอยู่หรือเปล่าและมันเป็นสมาธิตัวไหน
ที่ไม่จำเป็นคือการไปนั่งสมาธิ เพราะเรามีสมาธิเพียงพอต่อการใช้งานอยู่แล้ว

อ้างคำพูด:
เห็นมั้ยล่ะครับ ท่านลองเอาประโยคนี้ไปย้อนดู ความเห็นแรกของท่านมันขัดแย้งกันมั้ย

ผมบอกว่า การฟังการอ่านแต่อย่างเดียวมีนยังไม่เรียกปัญญาหรือความจริง
ต่อเมื่อปฏิบัติให้เห็นความจริง เห็นผลที่เราอ่านมาว่าสอดคล้องกับผลที่เราปฏิบัติ
แบบนี้สิ่งที่อ่านมาจึงจะเป็นความจริง
มันก็คงถูกของท่าน แต่มันไม่ถูกตามธรรมวินัย

ความจริงต้องได้ฟังจากผู้รู้ความจริง ... มีคนพูดให้ไปทำสมาธิ เห็นโน่นเห็นนี่ ก็เห็นจริงๆ แต่มันไม่ใช่ความจริงที่จะเอาไปดับชาติดับภพได้ แล้วแบบนี้ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเองมั้ย ว่าอะไรผิดทาง อะไรถูกทาง?

อ้างคำพูด:
การกระทำของกายตัวไหน ที่ส่งผลให้จิตมีสติตั้งมั่น
ก็มันไม่มี กายมันถูกใจสั่ง

อ้างคำพูด:
สังโยชน์สาม
เห็นผิด ก็คิดผิด ทำผิด เห็นถูก ก็คิดถูก ทำถูก มันก็ง่ายๆ แค่นี้ ไปแปลอะไรให้มันวุ่นวาย

เห็นถูก คือ เห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงฯ เกิดเป้นวิชชา

เห็นผิด ก็คือเห็นว่า สิ่งทั้งปวงเที่ยงฯ เกิดเป็นอวิชชา ...

อ้างคำพูด:
พระอริยสงฆ์ มาขอให้พระพุทธเจ้าแก้ไข พระวินัย
ประเด็นมันอย่ตรงนี้ครับว่า โสดาบันละสังโยชน์ศีลพตปรามาสแล้ว
เหตุใดยังมีปัญหากับพระวินัยอีกครับ
ก็มีเทวทัติรูปเดียวมั้ง เป็นโสดาปัตติมรรค แต่ไปทำอนันตริยกรรม และได้บวชเพราะเป็นพี่เขยพระพุทธเจ้า

พระวินัยเกิดเพราะมีการทำผิดของพระภิกษุสงฆ์ ไม่ได้ประกาศไว้รอ สังโยชน์ที่เหลือนั่นแหละ เป็นเหตุที่ทำให้พระโสดาบันทำผิด

อ้างคำพูด:
จะบอกให้ครับ ถ้าชุมชนนั้นเป็นชุมชนของโสดาบันขึ้นไป
ศีลพระวินัย หรือกฎเกณท์ต่างๆมันไม่มีความจำเป็นแล้วครับ

เรื่องพระวินัย ขอให้ไปอ่านเองนะ ถามแบบนี้ แปลว่า ไม่ได้ศึกษาพระวินัยมาก่อน เรื่องมันยาวมากกกก

กฎเกณท์ต่างๆ มันไม่มีความจำเป็น มันเป็นสังคมของพระอรหันต์แล้วละครับ

อ้างคำพูด:
ผมกล่าวผิดตรงไหนครับ อย่างเช่น ท่านบอกว่าปัญญาท่านมาจากการสดับรับฟังมา
ผมก็บอกว่า ทำไมผมก็สดับรับฟังมาทำไมปัญญายังไม่เกิด ผมต้องไปลงมือปฏิบัติ
ปัญญามันถึงเกิดตามมา

ก็เพราะมันไม่ถูกต้องตามธรรมวินัย ความจริงต้องได้ฟังจากผู้รู้ความจริง หรือได้ฟังมาจากสัตตบุรุษ ช้างที่ปรี่เข้ามาทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เพราะได้ฟังคำที่ผิดมา

อ้างคำพูด:
ท่านลองพิจารณาดูให้ดีครับว่า คำพูดของท่านมันเป็นการยกตนข่มท่านหรือเปล่า
กับอีกคนที่รู้และพิสูจน์มาเหมือนกัน แต่มันติดตรงที่เขาไม่อวดอ้างว่าได้โน้นมาได้นี่มา
เพียงแค่แสดงความเห็นไปตามสิ่งที่ได้มา ทุกอย่างนี้ก็เพื่อให้ผู้อื่นพิจารณาเอาเอง
ว่ามันใช่ไม่ใช่ สมควรเชื่อหรือเปล่า
ความจริงมันขัีดกับความเชื่อ ถ้าการแสดงความจริงเป็นการยกตนข่มท่าน ก็คงไม่มีการแสดงธรรม

อ้างคำพูด:
จิตที่มีตัณหาเขายังไม่เรียกว่าผิดศีลนะครับ ตัณหามันเกิดตามเหตุปัจจัยตามหลักของ
อิทัปฯกับปฏิจจ์ฯ ต่อเมื่อเราเอาสติมาดับกิเลสในใจได้ ไม่ส่งผลไปยังกาย มันก็ยัง
ไม่ผิดศีล ต่อให้เราคิดเรื่องอกุศลกี่ร้อยครั้งมันก็ไม่ผิดศีล
กรรมแปลว่าการกระทำ มีผลเป็นบุญเป็นบาป กรรมมีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม .... แปลว่า แค่คิดก็ผิดแล้ว

อ้างคำพูด:
แล้วการที่ท่าน เกิดผัสสะขึ้น ท่านกลับไปย้อนเนื้อหาในสิ่งที่ได้อ่านมา
มันเห็นจริงตามจริงหรือครับ ท่านอยู่กับปัจจุบันหรืออดีตครับ
ท่านอยู่กับอารมณ์ของผัสสะตัวที่กำลังวิปัสสนาหรือเปล่า
พิจารณาถึงความจริง ไม่ได้ย้อนไปหาสิ่งที่ได้อ่านมา เป็นการเห็นตามที่ได้รู้มาแล้ว เรียกว่า การกำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา อยู่กับปัจจุบันอารมณ์

การพิจารณา จะเกิดขึ้นได้ทันที ต่อเมื่อฝึกฝนไปได้สักระยะหนึ่ง จึงเรียกว่า การภาวนา หรือ การฝึก

วิญญาณทั้ง ๕ เมื่อเกิดแล้ว ก็จะใหลไปสู่มโนวิญญานในวิถีจิตเดียวกัน (รูป ๑ รูป จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ) และเมื่อเราเห็นรูปเพียง ๑ วินาที รูปเกิดดับไม่รู้กี่ล้านล้านรูป การกำหนดรู้ผัสสะ หรือ อารมณ์ปัจจุบัน ถ้าจะนับขณะจิตจริงๆ ในช่วง ๑ วินาที เราอาจจะจับได้ในช่วงกลาง หรือ ปลายๆ ของช่วงเวลานั้นก็ได้ การพิจารณาจะเกิดหลังจากปัจจวิญญาณเกิดและส่งต่อไปยังสันตรณีจิต หรือในมโนวิญญาณ ถ้าเรากำหนดพิจารณา ชวนจิตที่รับช่วงต่อถึงจะเสพวิชชา ถ้าไม่พิจารณา ชวนจิตก็จะเสพอวิชชา และย้ำลงไปในสัญญาถึง ๗ ชวนะ ต่อการเกิดดับของรูป ๑ รูป

ลักษณะของการพิจารณาเสียงก็คือ เราจะรับรู้ทุกถ้อยคำของคำพูด เข้าใจความหมายของคำทุกคำ แต่ไม่มีเวทนา ถ้าเป็นการหลบผัสสะ จิตจะไม่รับรู้เสียง ไม่ได้ยิน ไม่เข้าใจ ฯ

อ้างคำพูด:
ฯ จะเห็นจริงยอมรับหรือเปล่า
มันเป็นวิสัยของพวกไม่เชื่ออะไรง่ายๆ พูดถึงจิต ก็อยากจะเห็นจิตก่อน ฯ พวกที่ไม่สนใจ เอาแต่เรื่องการดับทุกข์ พอปฏิบัติแล้วทุกข์ดับได้จริงๆ เรื่องอื่นๆ เขาไม่สนใจก็ยังได้

อ้างคำพูด:
อันนี้ท่านไปรู้มาจริงหรือไปฟังใครเขาอุปมาครับ
ท่านจะพูดอย่างไร คนที่ไม่เคยเห็นก็จะไม่เข้าใจ ท่านบอกจิตเป็นธรรมชาติรู้และจำ
ถ้าคนฟังเขาแย้งล่ะครับว่า รู้และจำเกิดจากสมองและประสาทสัมผัส
สาวกคือผู้รู้ตาม คนที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็คือ ไม่รู้ไม่เข้าใจ เพราะเขารู้มาเท่านั้น ท่านจะไปทำอะไรเขาได้

นามธรรมไม่ได้แสดงได้ทุกเรื่อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องไปรู้เห็นเสียสั้งหมด เอาแค่ใบไม้ในกำมือของพระพุทธองค์ก็พอ

อ้างคำพูด:
ถ้าใครไปหลงเชื่อคำพูดคนอื่นโดยไม่พิสูจน์
มันก็ไม่พ้นพวกหลงงมงาย เฉกเช่น
พวกทรงเจ้าเข้าผีหรือพวกสแกนกรรมนั้นแหล่ะครับ
ถึงให้ลองวิปัสสนาดูเองไง ว่ามันเป็นอย่างที่พูดมั้ย? กลามสูตรท่านก็สรุปไว้ว่า ลองทำตามที่เราบอกแล้วจิตเป็นกุศลได้ จริงตามนั้นหรือไม่

อ้างคำพูด:
ธรรมทุกอย่างล้วนจบลงที่ไตรลักษณ์
หมายถึง ธรรมทุกอย่างล้วนมีลักษณะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ฯ หรือความจริงที่ว่า มีเกิดแล้วก็ต้องมีดับ ไม่รู้เรียกว่า จบที่ไตรลักษณ์หรือเปล่า?



ไตรลักษณ์ ไม่ได้เป็นสภาวะ ไม่ได้เป็นธรรม ไม่ได้เป็นการตั้งขึ้นมาหรือไม่ได้เป็นบัญญัติ แต่เป็นความจริงของธรรม หรือ เป็นลักษณะร่วมของทุกสิ่งในธรรมชาติ หรือ เป็นความจริงของโลกและชีวิต

การเห็นว่า เสียงไม่เที่ยงเกิดดับ คือ การเห็นความจริงของเสียง ไม่ได้เป็นการทบทวนบัญญัติ ไม่ได้เป็นการหลบผสัสะ เป็นการเอาปัญญาไปชนผัสสะ ต้องมีปัญญาก่อน คือ ได้รู้ได้ยินได้ฟังมาว่า เสียงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเกิดความเห็นด้วยตามนั้น ... ได้ยินเสียง แต่ไม่มีความพอใจหรือไม่พอใจ เพราะไม่หลง ลักษณะของการดับกิเลสตัณหาแบบนี้ ไม่สามารถทำได้โดยการทำสมาธิ ทำได้ด้วยการวิปัสสนาเท่านั้น

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้
กะ การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ... เป็นอุบายเครื่องสลัดออก
กะ การแทงตลอดด้วยภาวนา
เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางที่ท่านหยิบขึ้นมานำเสนอนั้น สอดคล้องกันในแง่ไหนบ้าง
และในแง่ใดบ้างที่ไม่สอดคล้อง

ปฏิสัมภิทามรรค เป็นการขยายคำว่า ปัญญา ของพระสารีบุตร เพราะฉะนั้น ทั้งเล่มนี้ คือ เรื่องของปัญญา

แทงตลอด แปลว่า ความที่รู้ชัด เห็นจริง หรือเข้าใจ หรือ ปัญญา

แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ ก็คือ ปัญญาที่ได้มาจากการเรียนรู้ หรือคือความรู้้ที่นำมาดับทุกข์ได้

การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้ง ก็คือ ปัญญาที่ได้มาจากการปฏิบัติจนเห็นผลกับตนเอง หรือคือผลของการนำปัญญามาใช้

การแทงตลอดด้วยภาวนา ก็คือ ปัญญาที่ได้มาจากการฝึก หรือผลจากการสะสมปัญญาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ท่านว่าศีลห้าของฆราวาสเป็นส่วนย่อยของอธิศีลมั้ย
ศีล ๕ หรือ การหลีกเลี่ยงภัยเวรภัยเวร ๕ ประการ ทำให้คนตกต่ำ
อธิศีล คือ สิ่งที่ทำให้พระสิ้นจากความเป็นพระ มีผลถึงห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน
... มันคนละเรื่องละราวกันนะครับ

ไปอ่านพระไตรปิฎกมาแบบลวกๆ ไม่พิจารณาไปที่ละวรรคที่ละตอนผลมันก็เป็นแบบที่เห็นครับ
นี่แสดงว่าผมพูดให้ฟังตอนแรกยังไม่เข้าใจ ชี้ให้ดูชี้ให้เห็นจริงไม่ยอมดูปฏิเสธที่จะเห็น
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามพูดปดและดื่มสุรา
ถามหน่อยครับ สิ่งที่ผมว่ามา พระทำได้หรือครับ


ไตรสิกขาที่ว่าด้วยเรื่องอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา พูดให้เข้าใจ
ก็คือแบบเรียนที่พระพุทธเจ้าเอาไว้สั่งสอนสาวก แต่สมัยนั้นยังไม่มี
ตัวหนังสือการสื่อสารจึงใช้วิธีพูดและฟัง จวบต่อมาจึงเป็นคัมภีร์หรือเป็น
เนื้อหาหมวดหนึ่งในพระไตรปิก
ถ้าจะกล่าวโดยรวมแล้ว ไตรสิกขาก็คือ ปริยัติครับ
ต่อเมื่ออ่านหรือฟังในเรื่องของอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา จนจดจำได้หมดแล้ว
ขั้นตอนต่อไปก็คือการปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติตามอธิศีล เขาเรียกว่าศีล
ส่วนการปฏิบัติตามอธิจิต เขาเรียกสมาธิ ถ้าผลที่ได้ออกมาตามอธิปัญญาหรือปฏิเวธเขาเรียก ปัญญา

พอจะกล่าวได้ว่า ไตรสิกขา ก็คือพระไตรปิฎก
เขาไม่ได้จำกัดไว้พระศึกษา ฆราวาสก็สามารถอ่านได้ศึกษาได้
แต่ในขั้นของการปฏิบัติ มันก็ต้องดูในส่วนของสถานะที่ดำรงอยู่
ตัวอย่างเช่น ฆราวาสสามารถรู้ว่าศีลของพระ227ข้อมีอะไรบ้าง
แต่การปฏิบัติมีศีลห้าก็พอครับ

ส่วนพระต้องรู้ศีล227ข้อและต้องรู้ศีลห้า เพราะในศีล227ข้อ
มีศีลห้ารวมอยู่ในนั้นด้วย ดังนั้นพระต้องรู้ทั้งศีลของพระและฆราวาส
ผมถึงบอกว่า พระต้องปฏิบัติศีลของฆราวาสด้วย ดูได้จาก พระห้ามฆ่าสัตว์
ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฟติผิดในกาม ห้ามพูดปดและห้ามดื่มสุรา

สรุปก็คือท่านไม่เข้าใจเรื่องไตรสิกขา เลยแสดงความเห็นแบบง่ายๆว่า
มันคนละเรื่อง จริงแล้วมันคนละเรื่องกับของท่าน และเรื่องของท่านมัน
คนละเรื่องกับไตรสิกขาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจจะนอกประเด็นไปเสียนิดหนึ่ง แต่ผมคิดว่าสำคัญ จึงต้องขออนุญาตครับ

ที่ว่าพระธรรมส่วนหนึ่งเป็นของสำหรับพระอริยะศึกษา ส่วนหนึ่งเป็นของชาวบ้านศึกษา ชาวบ้านไม่ควรศึกษาธรรมของพระอริยะ อันนี้ผมว่าเป็นประเด็นที่ควรพิจารณา

ถ้าพระอริยะควรศีกษาธรรมระดับพระอริยะ ชาวบ้านควรศึกษาธรรมระดับชาวบ้าน แล้วชาวบ้านที่ต้องการเข้าถึงความเป็นอริยะควรศึกษาตำราเล่มไหนละครับ?

ถ้าชาวบ้านที่อยากบรรลุธรรมเอาแต่ศึกษาธรรมระดับชาวบ้าน ผมว่ามันก็เหมือนคนอยากเป็นหมอ แต่ไปอ่านตำราทำอาหาร

ชาวบ้านอยากเป็นหมอ ไม่มีความรู้เรื่องหมอ มันก็ต้องอ่านตำราหมอใช่ไหมครับ?

ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า ชาวบ้านที่อยากจะเข้าใจกายใจตัวเอง อยากจะเข้าถึงความหลุดพ้น ไม่ควรอ่านธรรมสำหรับผู้หลุดพ้น หรือพระอริยะ จะถูกต้องหรือครับ?

คนไม่มีความรู้ในวิชาแพทย์ อยากจะเป็นแพทย์ มันก็ต้องอ่านต้องศึกษาตำราแพทย์ พอเข้าใจพอสมควรแล้วก็ต้องลองปฏิบัติก่อน อาจจะกับตัวอย่างหรือกับอาจารย์ใหญ่ พอมั่นใจแล้วว่าถูกต้อง ถึงจะจบแพทย์ รักษาคนเป็นๆได้

ชาวบ้านที่อยากหลุดพ้นก็ต้องศึกษาพระธรรมระดับที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น พอเข้าใจพอสมควรแล้วก็ต้องลองปฏิบัติตาม จนเมื่อการปฏิบัติสุกงอมจึงจะเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง เปลื้องกิเลสเป็นขั้นๆ และหลุดพ้นในที่สุด

อ่านหนังสือ ฟังธรรม คิดวิเคราะห์เอา ไม่พอที่จะทำให้บรรลุได้หรอก ไม่มีทางเข้าถึงแม้ความเป็นอริยะขั้นต้น

ต้องเอาความเข้าใจที่ได้อ่านได้ฟังได้วิเคราะห์มา มาอ่านมาฟังมาวิเคราะห์กายใจเราเองนี้ จนรู้เองเห็นเอง นั้นแหละ จึงจะเข้าถึงแก่นแท้ได้

:b41: เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ โปรดพิจารณา :b41:

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
อาจจะนอกประเด็นไปเสียนิดหนึ่ง แต่ผมคิดว่าสำคัญ จึงต้องขออนุญาตครับ

ที่ว่าพระธรรมส่วนหนึ่งเป็นของสำหรับพระอริยะศึกษา ส่วนหนึ่งเป็นของชาวบ้านศึกษา ชาวบ้านไม่ควรศึกษาธรรมของพระอริยะ อันนี้ผมว่าเป็นประเด็นที่ควรพิจารณา

ถ้าพระอริยะควรศีกษาธรรมระดับพระอริยะ ชาวบ้านควรศึกษาธรรมระดับชาวบ้าน แล้วชาวบ้านที่ต้องการเข้าถึงความเป็นอริยะควรศึกษาตำราเล่มไหนละครับ?

ถ้าชาวบ้านที่อยากบรรลุธรรมเอาแต่ศึกษาธรรมระดับชาวบ้าน ผมว่ามันก็เหมือนคนอยากเป็นหมอ แต่ไปอ่านตำราทำอาหาร

ชาวบ้านอยากเป็นหมอ ไม่มีความรู้เรื่องหมอ มันก็ต้องอ่านตำราหมอใช่ไหมครับ?

ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า ชาวบ้านที่อยากจะเข้าใจกายใจตัวเอง อยากจะเข้าถึงความหลุดพ้น ไม่ควรอ่านธรรมสำหรับผู้หลุดพ้น หรือพระอริยะ จะถูกต้องหรือครับ?

คนไม่มีความรู้ในวิชาแพทย์ อยากจะเป็นแพทย์ มันก็ต้องอ่านต้องศึกษาตำราแพทย์ พอเข้าใจพอสมควรแล้วก็ต้องลองปฏิบัติก่อน อาจจะกับตัวอย่างหรือกับอาจารย์ใหญ่ พอมั่นใจแล้วว่าถูกต้อง ถึงจะจบแพทย์ รักษาคนเป็นๆได้

ชาวบ้านที่อยากหลุดพ้นก็ต้องศึกษาพระธรรมระดับที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น พอเข้าใจพอสมควรแล้วก็ต้องลองปฏิบัติตาม จนเมื่อการปฏิบัติสุกงอมจึงจะเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง เปลื้องกิเลสเป็นขั้นๆ และหลุดพ้นในที่สุด

อ่านหนังสือ ฟังธรรม คิดวิเคราะห์เอา ไม่พอที่จะทำให้บรรลุได้หรอก ไม่มีทางเข้าถึงแม้ความเป็นอริยะขั้นต้น

ต้องเอาความเข้าใจที่ได้อ่านได้ฟังได้วิเคราะห์มา มาอ่านมาฟังมาวิเคราะห์กายใจเราเองนี้ จนรู้เองเห็นเอง นั้นแหละ จึงจะเข้าถึงแก่นแท้ได้

:b41: เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ โปรดพิจารณา :b41:


ถูกแล้วครับ

พุทธศาสนามีระดับธรรมะอยู่๒ระดับ

ในการครองเรือนเป็นโลกียะธรรม

ในทางละเรือนสู่วิมุติธรรมเป็นโลกุตระธรรม

ทั้งนี้สุดแท้แต่จุมุ่งหมายของผู้ปฏิบัติธรรมเองครับ


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ผิดบุคคลก็ผิดธรรม สถานะเป็นฆราวาส ไปเอาวิธีการของผู้ที่มีสถานะเป็นอริยบุคคล หรือเป็นพระอริยมาปฏิบัติ ก็เหมือนไปเอาหลักสูตร ป.โท มาให้เด็กประถมทำ

จะพูดอะไรพิจารณาให้รอบด้าน อ่านให้ละเอียดก่อนแล้วจึงตอบ
วรรคนี้เอาสั้นๆ แล้วเอากลับไปทบทวนสิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้านี้

ถามจริงท่านอ่านพระไตรปิฎก มันผิดคนผิดธรรมหรือเปล่า
แล้วเข้าใจคำว่ามันเป็นส่วนของการปฏิบัติ ขึ้นกับสถานะที่ดำรงอยู่
ก็เห็นอยู่จะมากล่าวย่ำอยู่ที่เดิมทำไมครับ พูดมาตั้งนานไม่เข้าใจหรือครับ
Supareak Mulpong เขียน:
เห็นว่า ปัญญาสามารถดับความพอใจไม่พอใจและความหลงได้ชงัก ปัญญาไม่ได้มีอยู่แต่เดิม หากแต่ได้มาจากการฟังและการเข้าใจ ปฏิบัติไปเพื่อให้ปัญญางอกงามเพิ่มพูนแข็งแรงมั่นคงขึ้น
ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ คือ เรียนให้รู้ก่อน ได้ปัญญามาจากการฟังแล้วเอาไปปฏิบัติ ให้ได้ผลตามขั้น
ตอน

เอางี้นะครับ ท่านจะบอกว่าการฟังการอ่านเป็นปัญญาก็ได้ตามใจท่าน
แต่ผมขอบอกไว้เลยครับว่า
ปัญญาที่ได้จากการปฏิบัติหรือได้จากมรรคมีองค์แปด
มันแตกต่างกับปัญญาที่ท่านว่าอย่างสิ้นเชิง

ท่านว่านกแก้ว นกขุนทองมันมีปัญญามั้ยครับ พวกมันก็สามารถฟังเรา
และเลียนแบบคำพูดเราได้ ผมถามครับว่ามันเข้าใจสิ่งมันพูดหรือเปล่าครับ

สุนัขที่เราเลี้ยงไว้ เราพามันไปปล่อยที่ไกลๆโดยไม่ปิดตา ทำไมมันกลับบ้านถูก
แสดงว่ามันมีปัญญาหรือครับ


Supareak Mulpong เขียน:
เห็นว่า ปัญญาสามารถดับความพอใจไม่พอใจและความหลงได้ชงัก ปัญญาไม่ได้มีอยู่แต่เดิม หากแต่ได้มาจากการฟังและการเข้าใจ ปฏิบัติไปเพื่อให้ปัญญางอกงามเพิ่มพูนแข็งแรงมั่นคงขึ้น
ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ คือ เรียนให้รู้ก่อน ได้ปัญญามาจากการฟังแล้วเอาไปปฏิบัติ ให้ได้ผลตามขั้นตอน

จะบอกให้ครับที่ดับทุกข์ได้ มันไม่ใช่ปัญญาที่ทำให้งอกเงยขึ้นเพิ่มพูน
ปัญญานั้นการดับทุกมันมีของมันอยู่ในตัวของเราทุกคน แต่เรามองไม่เห็นเอง
เราเลยต้องปฏิบัติเพื่อไปหาปัญญาตัวที่ว่านี้ มันไม่ใช่ปัญญาที่พอกพูนแข็งแรง
ปัญญาที่พอกพูนมันก็คือกิเลสดีๆนี้เอง เป็นเป็นตัวเหนี่ยวรั้งให้อยู่ในวัฎสงสาร

แล้วก็เข้าใจเรื่องปริยัติ ฏิบัติและปฎิเวธเสียใหม่นะ

ปริยัติคือการศึกษาอ่านหรือฟังพระไตรปิฏก มันต้องอาศัยความจำ
มันก็เหมือนกับนกแก้วนกขุนทอง ที่อาศัยจำคำพูดที่เราสอน

ปฏิบัติก็คือ การลงมือกระทำในสิ่งที่ได้อ่านมาฟังมาหรือเรียกว่า ทำไปตามสิ่งที่จำมา
ลักษณะเดียวกับการพูดของนกแก้วนกขุนทอง มันก็พูดตามที่เราสอน

ส่วนปฏิเวธคือผลจากการปฏิบัติ หรือการเดินที่มาถูกทางจนพบปัญญาซึ่งมีเฉพาะบุคคล
นกแก้วนกขุนทองจะไม่มีในส่วนนี้

ท่านว่าการฟังการอ่านเป็นปัญญา นกแก้วนกขุนทองก็คงมีปัญญาด้วย
และผมว่าสัตว์จะมีปัญญามากกว่าคนเสียอีกถ้าคิดแบบท่าน
เพราะสัตว์มันรู้ธรรมชาติมากกว่าเรา เวลาจะเกิดภัยพิบัติมันจะรู้ก่อนเสมอ

ฉะนั้นท่านต้องเข้าใจในเรื่องของปัญญาเสียใหม่ สิ่งแรกก็คืออย่าหลงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 15:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ปฏิสัมภิทามรรค เป็นการขยายคำว่า ปัญญา ของพระสารีบุตร เพราะฉะนั้น ทั้งเล่มนี้ คือ เรื่องของปัญญา

ใช่ ตามสารบัญก็ว่างั๊น
เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
แต่

Quote Tipitaka:
ยุคนัทธวรรค สัจจกถา
นิทานในกถาบริบูรณ์
[๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้
ตรัสรู้
ได้มีความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นอุบายเครื่อง
สลัดออก แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


แต่การขึ้นต้นพระสูตร ด้วยประโยคอย่างนี้ เป็นคำกล่าวของตถาคต หรือ พระสารีบุตร

ท่่าน sup ท่านได้แสดงการประมาทในธรรม อยู่หรือไม่

ท่านได้อ่านพระไตรก็จริง แต่ท่านก็เก็บธรรมตามที่ตถาคตให้ไว้ ไม่ได้
และยังเก็บธรรมที่พระอรหันต์ได้ขยายความไว้ ไม่ได้อีก

กระนั่นยังยืนกรานในธรรมตามแนวทางที่สัตตบุรุษของท่านว่าเป็นธรรมที่ควรเจริญยิ่งกว่า
และยังชักชวนให้ผู้อื่น เห็นยินดีในธรรมตามแนวทางของท่าน

การอ่านพระไตรเป็นจำนวนรอบที่มากของท่าน
แต่ยังปรากฎแนวการสอนหลาย ๆ ประเด็นที่ไม่ลงรอยกับธรรมของตถาคตอยู่
และไม่สามารถชี้แจง ขยายความเข้ามาสู่ธรรมอันเป็นสัจจะของตถาคตได้
นั่นเพราะ ดวงตา ของท่านที่จ้องไปที่อรรถ ถูกบิดเบือนด้วย สัญญา ไปเรียบร้อยแล้ว

นี่คือ ผลของสัญญา ที่ทำไม สัญญาก็คือ สัญญาเป็นกองหนึ่งในขันธ์ห้า

แต่ปัญญา ถูกกล่าวแยกต่างหาก

เพราะท่านจำว่า สัญญา คือ ปัญญา เป็นเอก
กลบความสำคัญในสัจจะอันว่า สัญญา เป็น กองขันธ์ เป็นสมุทัย เป็นทุกข์
ทุก ๆ การอ่านพระไตรของท่าน เมื่อเจอสองคำนี้ จึงเห็นเป็นสิ่งเดียวกัน
ท่านอ่านพระไตรจะกี่รอบ ท่านเก็บความผิดสะสมได้ไปในทุกรอบ

แต่ผู้ปฏิบัติ สัญญาก็คือ กองขันธ์ ลงหมวดสัจจะได้ลงร่อง
และ ปัญญา ก็คือปัญญา
มิได้เอามาตีคลุมความหมายปะปนกัน
เมื่อต้องข้องกับสัญญา ก็เล็งเห็นทั้งประโยชน์และโทษ เป็นธรรมดา

และเมื่อบอกให้ท่าน ขยายความสัญญาตามแนวทางของท่าน
ท่านแสดงความเห็นที่จะทะลวงสัญญา ไม่ได้
เพราะท่านได้เสพคุณแห่งสัญญาไว้มาก และแถมผนวกเอาคุณแห่งปัญญามาเป็นสัญญาอีก
เมื่อทะลวงสัญญาไม่ได้ ขันธ์ห้าไม่แจ้ง แล้วท่านจะแจ้งในสักกายทิฐิ ได้อย่างไร
เพราะเสพผลแห่งสัญญา ท่านจึงทำความเพียรในส่วนของสัญญายิ่งขึ้น
ผัสสะของท่านที่มีต่อสัญญา คือ ปัญญา ท่านจึงเพียรให้อาหารมันเิติบโตแข็งแรง

และเพราะท่านยังเห็น รูปนาม ขันธ์ห้า ได้ไม่ชัดเจน
ท่านยังเห็นองค์ธรรมอันเป็นส่วนที่ประกอบกันไม่ชัดเจน
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงเกาะกันอยู่ อาศัยรวมกันอยู่เป็นก้อน
และในกลุ่มของท่านก็ไม่มีใครกระจายออก เพราะไม่มีผู้นำในการกระจาย
เพราะไม่ได้สร้างทักษะในด้านนี้ให้กับผู้ปฏิบัติ

แม้แต่การกล่าวถึงธรรมที่เป็นนามด้วยการอุปมา ท่านยังเข้าไม่ถึงอุปมาที่นำมา
เพราะความลึกซึ้งของความคิด หยั่งลงไปได้ในระดับรูปเท่านั้น
แต่การหยั่งลงไปในระดับวิญญาณนั้น ยังไม่ไหวจะทำ

ท่านเห็นคุณของสัญญา แล้วท่านเห็นโทษของสัญญา หรือยัง
และนี่ล่ะ
เมื่ออ่านพระไตร ท่านจึงเก็บได้ในสิ่งที่เป็นการบำรุงสัญญา
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ล้วนเป็นไปเพื่อการบำรุงสัญญา

จะฟังคนอื่น ด้วยจิตอันเป็นกลางได้หรือไม่

ท่านจะทำไม่ได้ เพราะ เวทนา/อารมณ์ที่ท่านได้ส้องเสพ อันเนื่องมาจากสัญญายังหอมหวานตราตรึง
ท่านเสพผลโดย มองสัจจะ ณ ปัจจุบันขณะที่ดำเนิน ไม่แจ้ง

หากท่านแสดงธรรมอันเป็นการคลายความยึดติดในสัญญา เวทนา วิญญาณ ได้ชัดเจนเมื่อไร
เมื่อนั่น คำพูดของท่านจึงจะแสดงแววของ ปัญญา
เมื่อ ท่านยังกล่าวถึงรสชาดเกลือ ซึ่งยังวนเวียนอยู่กะ เวทนา/อารมณ์
ชักชวนผู้อื่นให้เข้ามาชิม

ซึ่งผู้ที่เขาเห็น โทษภัยแล้ว ยังไงก็ไม่พึงใจที่จะเข้าไปเสพ

แล้วท่านคิดว่าถ้าหากว่าสักวันกลุ่มของท่านเข้าไปมีอิทธิพลในการทำสังคยนาครั้งต่อไป
ท่านคิดว่าพระสูตรใดที่ควรคงไว้ พระสูตรใดที่ควรชำระ-ตีความใหม่
พระสูตรใดที่ควรตัดทิ้ง และพระสูตรใดควรเพิ่มเติมเข้ามา

:b1: พูดมากแล้ว และคงไม่พูดแล้ว
เพราะอาจารย์เตือน ๆ แล้ว ที่มัวแต่มาไหลไปกับกระทู้ ครับป๋ม

:b8: :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 25 พ.ค. 2011, 18:58, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
Supareak Mulpong เขียน:
ผิดบุคคลก็ผิดธรรม สถานะเป็นฆราวาส ไปเอาวิธีการของผู้ที่มีสถานะเป็นอริยบุคคล หรือเป็นพระอริยมาปฏิบัติ ก็เหมือนไปเอาหลักสูตร ป.โท มาให้เด็กประถมทำ


อานาปานะสติใช้ได้ทั้งฆาราวาส และอริยสงฆ์

ฆาราวาสใช้บำเพ็ญสมาธิ

อริยะสงฆ์ใช้เจริญเพื่อการพักผ่อน

อานาปานสติเป็นทั้งทิฐธรรมสุข(สุขในปัจจุบัน

และ สัมปรายิตกสุ(สุขในเบิ้องหน้า)

การบำเพ็ญธรรมไม่มีป.โท ไม่มีเด็กประถม

ขึ้นอยู่กับ ศีล สมาธิ ปัญญา

ไม่ใช่ความจำ

การบรรลุนิพพานไม่ใช่การทำข้อสอบปรนัย






Quote Tipitaka:
อานาปานสติภาวนา
พุทธพจน์ และ พระสูตร ๗.
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๓
คลิกขวาเมนู
[๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่.
ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มอานิสงส์ใหญ่?
ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า.
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
สมาธิเกิดได้เพราะสติใช่มั้ยครับ
สติเกิดจากความพยายาม ความพยายามเกิดจากศีล ศีลเกิดมาจากปัญญา

ความพยายามเป็น เรื่องของความเพียร
Supareak Mulpong เขียน:
ถ้าถึงขั้นพิจารณาเป็น คือ มีปัญญาอยู่แล้ว ตอนฟังธรรมก็ต้องมีสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดพร้อมกันกับการฟัง

มันอยู่ที่จะเอาตัวไหนเป็นปัญญา ตัวที่ฟังธรรมเป็นปัญญา หรือตัวที่เกิดหลังสมาธิที่ว่า เป็นปัญญา
Supareak Mulpong เขียน:
ไตรลักษณ์ไม่ใช่สมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ความจริงที่สมมุติ ไตรลักษณ์เป็นความจริงที่แท้จริง

คำว่าไตรลักษณ์นั้นแหล่ะคือสมมุติบัญญัติ
สภาวะที่เกิดภายในที่เรียกว่า ปรมัตถ์ เป็นความจริงที่แท้ เป็นเรื่องเฉพาะตัว
ต้องเข้าไปรู้เห็นเอง บุคคลไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยสมมุติบัญญัติ
Supareak Mulpong เขียน:
[
อ้างคำพูด:
แล้วที่ท่านบอกสมาธิไม่จำเป็น ท่านลองไปดูใหม่ว่าท่านใช้มันอยู่หรือเปล่าและมันเป็นสมาธิตัวไหน
ที่ไม่จำเป็นคือการไปนั่งสมาธิ เพราะเรามีสมาธิเพียงพอต่อการใช้งานอยู่แล้ว

แล้วตอนที่ผมอธิบายว่า สมาธิมีสองตัวทำไมท่านเฉยๆ ไม่เห็นพูดอย่างนี้

เอางี้ครับท่านว่าท่านมีปัญญานำสมาธิ ไหนลองอธิบายถึง
ลักษณะสมาธิตัวนี้ให้ฟังหน่อย สมาธิตัวที่ใช้งานนี่แหล่ะดูซิว่าจะเหมือนของผมมั้ย


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
เห็นมั้ยล่ะครับ ท่านลองเอาประโยคนี้ไปย้อนดู ความเห็นแรกของท่านมันขัดแย้งกันมั้ย

ผมบอกว่า การฟังการอ่านแต่อย่างเดียวมีนยังไม่เรียกปัญญาหรือความจริง
ต่อเมื่อปฏิบัติให้เห็นความจริง เห็นผลที่เราอ่านมาว่าสอดคล้องกับผลที่เราปฏิบัติ
แบบนี้สิ่งที่อ่านมาจึงจะเป็นความจริง
มันก็คงถูกของท่าน แต่มันไม่ถูกตามธรรมวินัย

ความจริงต้องได้ฟังจากผู้รู้ความจริง ... มีคนพูดให้ไปทำสมาธิ เห็นโน่นเห็นนี่ ก็เห็นจริงๆ แต่มันไม่ใช่ความจริงที่จะเอาไปดับชาติดับภพได้ แล้วแบบนี้ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเองมั้ย ว่าอะไรผิดทาง อะไรถูกทาง?

ผมถึงได้บอกให้ท่าน เข้าไปหาเข้าไปดูเอง นั้นแหล่ะความจริง
แล้วการเห็นมันเห็นเหมือนกันหรือ เราก็ต้องดูซิว่า อะไรนำมาดับทุกข์ได้นั้นแหล่ะความจริง

ท่านพูดจาขัดแย้งกันเองรู้ตัวมั้ย ท่านบอกว่า"ความจริงต้องได้ฟังจากผู้รู้ความจริง"
แล้วประโยคต่อมา บอกในทำนองว่า อย่าไปเชื่อ ผมงงจริงๆครับ ไม่รู้ท่านเอาไงกันแน่

สรุปความเห็นผม ที่ท่านบอกความจริงต้องฟังจากผู้รู้ความจริง
แล้วเราจะแน่ใจได้ไงว่าเขารู้จริง แล้วเราจะเข้าใจในสิ่งที่เขาบอก
หรือเข้าใจไปแนวเดียวกับเขา

ตัวอย่างก็เห็นๆอยู่ ท่านว่าคนอื่นทำผิดธรรมวินัย แล้วถ้าคนอื่นว่าท่านทำผิด
ธรรมวินัยบ้างล่ะ ใครก็ต้องคิดว่าของตัวเองถูกต้องตามธรรมทั้งนั้น ถ้าเป็นแบบนี้
จะเอาอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ นอกจากปฏิบัติให้เห็นความจริงนั้นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามซุป ซึ่งคงตอบไม่ได้ตามเคย

อริยะมรรคที่มีองค์แปด

แบ่งตรงไหนเป็นป.โท(สมมุติ) ตรงไหนเป็นประถม(สมมุติ)

ผู้ทีปฏิบัติบนสายนี้เพื่อแสวงหาทางพ้นทุกขคือนิพพานใช่หรือไม่

อริยบุคคลคือผู้ที่เดินสุดทางอริยะมรรคครบทั้งแปดองค์แล้วใช่หรือไม่

แล้วไหนละธรรมสำหรับอริยะบุคคล

แล้วไหนละที่บอกว่าธรรมที่สำหรับบรรลุนิพพานปุถุชนไม่ควรศึกษา

ก็อริยะมรรคที่มีองค์แปดทางตรงสู่นิพพานเป็นทางที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ให้มนุษย์ปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข

จู่ๆมีคนอ้างว่าเก่งกว่าพระพุทธเจ้ามาบอกว่าเป็นทางสายของพระอริยะสงฆ์ฆาราวาสไม่ควรเดิน

อย่างนี้บิดเบือนพระธรรมของพระพุทธเจ้าไหม

อย่างนี้สมควรเรียกโมฆะบุรุษไหม

บอกหน่อยว่าจะให้ปฏิบัติธรรมอะไรนอกจากอริยะมรรคที่มีองค์แปด


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามหน่อย

โสดาบันของ ซุป หมายถึงท่องพระไตรปิฎกได้กี่บท

หรือต้องท่องมนต์กี่จนถึงได้เป็นโสดาบับ

แล้วที่ซุปเป็นโสดาบัน

ใครเป็นคนแต่งตั้งจ๊ะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
จะบอกให้ครับ ถ้าชุมชนนั้นเป็นชุมชนของโสดาบันขึ้นไป
ศีลพระวินัย หรือกฎเกณท์ต่างๆมันไม่มีความจำเป็นแล้วครับ

เรื่องพระวินัย ขอให้ไปอ่านเองนะ ถามแบบนี้ แปลว่า ไม่ได้ศึกษาพระวินัยมาก่อน เรื่องมันยาวมากกกก
กฎเกณท์ต่างๆ มันไม่มีความจำเป็น มันเป็นสังคมของพระอรหันต์แล้วละครับ

มันจะยากเย็นตรงไหนครับกับการอ่านพระวินัย แค่เปิดดูในกูเกิลก็รู้แล้วครับ
แต่มันสำคัญตรงไหนครับที่รู้แต่ไม่เข้าใจความจริง

พระอริยสงฆ์ก้าวข้ามเรื่องศีลหรือพระวินัยแล้วครับ
ศีลหรือพระวินัย เขาเอาไว้ใช้กับพระสงฆ์ที่ยังเป็นปุถุชน ที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยะ
การออกกฎเกณท์ใหม่ อาจมีได้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ฆราวาส เกิดการปรามาสพระอริยสงฆ์ครับ
ดังเช่นกรณีของนางวิสาขาทูลขอให้มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
สังเกตุดูนะครับ สิ่งนี้ไม่ใช้ไว้ใช้ห้ามพระอริยสงฆ์โดยตรง แต่เป็นการปกป้องฆราวาส
ที่จะปรามาสพระอริยะโดยไม่ตั้งใจครับ

แต่สิ่งที่ท่านเอามาอ้างในตอนแรก มันเป็นเรื่องพระวินัยที่เกียวกับพระอริยโดยตรงไม่เกี่ยวคนนอก
ผมเลยรู้ทะแม่งๆครับ
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ผมกล่าวผิดตรงไหนครับ อย่างเช่น ท่านบอกว่าปัญญาท่านมาจากการสดับรับฟังมา
ผมก็บอกว่า ทำไมผมก็สดับรับฟังมาทำไมปัญญายังไม่เกิด ผมต้องไปลงมือปฏิบัติ
ปัญญามันถึงเกิดตามมา

ก็เพราะมันไม่ถูกต้องตามธรรมวินัย ความจริงต้องได้ฟังจากผู้รู้ความจริง หรือได้ฟังมาจากสัตตบุรุษ ช้างที่ปรี่เข้ามาทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เพราะได้ฟังคำที่ผิดมา

แล้วใครเป็นผู้รู้จริงครับ ใครเป็นสัตตบุรุษครับ พระพุทธเจ้าก็ไม่อยู่แล้ว
หรือเอาแบบที่ท่านบอกว่าให้อ่านพระธรรม แล้วที่เถียงกันนี่ไม่ใช่จากการอ่านหรือครับ
มันอ่านแล้วเข้าใจกันไปคนละอย่าง แล้วที่อ้างเรื่องช้างมา นี่ขนาดพระพุทธเจ้ายังอยู่
ช้างมันยังไปฟังคำที่ผิดมา แล้วสัมหาอะไรกับตอนที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานไปแล้ว

จะพูดจะอ้างอะไรให้มันมีเหตุผลสอดคล้องกันหน่อยซิครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร