วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 05:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 08:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:

ท่านเห็น โลภะ กะ โมหะ ที่เป็นเหตุให้สังขารปรากฎรึเปล่า



ถามท่านซุปฯ...
ท่านซุปฯก็ตอบว่า...
อ้างคำพูด:
ปุถุชน มีสังขารหรือความคิดปรุงแต่งมาจาก อวิชชา หรือมาจาก โลภะ โทสะ โมหะ (ความเห็น) อริยะ มีสังขารมาจากวิชชา หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ (ความจริง)

มีกองขันธ์อยู่ อย่างไร มันยังต้องมี สัญญา สังขาร วิญญาน อยู่ แลัวท่านจะเลือกให้ความเห็นสั่งท่าน หรือจะเอาความจริงมาเป็นตัวสั่งละครับ


เขาถาม..เพื่อให้ดูจิตใจตน...แต่ท่านกลับไปดูหลักการตำรา...

เอ๋... s006 s006 s006

เห็นเงิน 500 บาทตกข้างทาง..แล้วความคิดมันไปทางไหน?...คิดหาทางคืนเจ้าของเขามั้ย

เห็นเงิน 5,000 บาทตกข้างทาง..แล้วความคิดมันไปทางไหน?......คิดหาทางคืนเจ้าของเขามั้ย..

เห็นเงิน 5,000,000 บาทตกข้างทาง..แล้วความคิดมันไปทางไหน?....ยังคิดหาทางคืนเจ้าของเขาอยู่เหมือนเดิมมั้ย...ดูใจซิ..ยิบ ๆ แยบ ๆ....หาว่าเป็นกรรมของเขาแต่มันบุญของเรารึเปล่า...คิดหาเหตุผลหาเรื่องเก็บใว้ใช้เองหรือเปล่า???.. :b32: :b32:

s002 s002 s002


my-way เขียน:
ตอบ นิพพาน ไง
สัจจะธรรม หรือ ความจริงของธรรมชาติ ตกลงท่านว่ามันคือ นิพพานหรือครับ? .. เอ้า แล้วทำอย่างไรจะเข้าถึงนิพพานได้ละครับ?


เข้าถึงความจริงแห่งธรรม นั่นแล
ไม่ใช่ความจริงแห่งธรรมชาติ
ถึงความจริงแห่งธรรมชาติ เรียกได้สูงสุด ว่าตรัสรู้เท่านั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 12:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
อะไรคือ เชื้อ ที่ท่านกล่าวถึง
เหตุปัจจโย ... เมื่อเหตุของอกุศลไม่มีเกิดขึ้นมาประกอบกับจิตปัจจุบัน ความคิดที่เป็นอกุศลสักนิด จึงไม่มี เชื้อที่ว่า คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ความพอใจไม่พอใจและความหลง
อ้างคำพูด:
นิพพาน ในความเข้าใจของท่าน sup เป็นเช่นไร
นิพพาน .. สิ้นเชื้อเกิด เหมือนเทียนหมดใส้หมดเชื้อไฟ ไฟหายไปที่ใหน นิพพานไปที่นั้น
my-way เขียน:
ตอบ นิพพาน ไง
สัจจะธรรม หรือ ความจริงของธรรมชาติ ตกลงท่านว่ามันคือ นิพพานหรือครับ? .. เอ้า แล้วทำอย่างไรจะเข้าถึงนิพพานได้ละครับ?


:b1:
จริง ๆ นิพพานเป็น เป้าหมายสูงสุดของคำสอนของศาสนาพุทธ

สัจจะครอบคลุม สังขตะ อสังขตะ

แต่ เชื้อท่า้น อธิบายออกมาสะท้อนความจริงได้เพียงแง่เดียว และแง่ที่ยังอ้างอิงอยู่กับ เวทนา สัญญา วิญญาณ

ก็เป็นผู้ที่กำลังเพียรละอกุศลธรรม จนอกุศลกรรมไม่เกิด

นี่คือ นิพพานในความเข้าใจของท่าน ใช่รึเปล่า


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 31 พ.ค. 2011, 18:11, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 14:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
my-way เขียน:
ตอบ นิพพาน ไง
สัจจะธรรม หรือ ความจริงของธรรมชาติ ตกลงท่านว่ามันคือ นิพพานหรือครับ? .. เอ้า แล้วทำอย่างไรจะเข้าถึงนิพพานได้ละครับ?


ก็ ทำ ซะอย่ามัวแต่ คิด ฟุ้งซ่าน
ฮานะ :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 16:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา

[๖๖๐] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืน
ในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์

....
[๖๖๑]
....

ชวนปัญญา

ชวนปัญญา เป็นไฉน ชวนปัญญา คือ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่

เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน มีในภายใน มีในภายนอก หยาบ ละเอียด

เลวหรือประณีต รูปใดอยู่ไกลหรือใกล้ รูปนั้นทั้งหมดย่อมแล่นไปเร็วโดย

ความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เวทนาอย่างใด

อย่างหนึ่ง . . . สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง . . . สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง . . .

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน . .. วิญญาณทั้งหมด

นั้นย่อมแล่นไปเร็วโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น

อนัตตา จักษุ...ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ย่อมแล่นไปเร็ว

โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา รูปที่เป็นอดีต

อนาคต ปัจบัน ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์

เพราะอรรถว่า น่ากลัว ชื่อว่า เป็นอันตตา เพราะอรรถว่า หาสาระมิได้

เพราะฉะนั้น ตรึก พิจารณา ทำให้แจ้ง ทำให้เป็นจริง ย่อมแล่นไป

เร็ว ใน....

http://www.dhammahome.com/front/webboar ... d54c479f16


สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ
หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น
และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น;


การเจริญสัญญา 10
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๑๖ทสก-เอกาทสกนิบาต อาพาธสูตร
สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ความกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง คือ
๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร
๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง
....
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_see ... 1%AD%AD%D2


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 31 พ.ค. 2011, 17:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 16:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



๒. เทศนาสูตร
[๒๑๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้
มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนา ๒ ประการ ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมมีโดยปริยาย ๒ ประการเป็นไฉน คือ ธรรมเทศนาประการที่ ๑ นี้ว่า เธอ
ทั้งหลายจงเห็นบาปโดยความเป็นบาป ธรรมเทศนาประการที่ ๒ แม้นี้ว่า เธอ
ทั้งหลายครั้นเห็นบาปโดยความเป็นบาปแล้ว จงเบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด จง
ปลดเปลื้องในบาปนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนา ๒ ประการนี้ ของพระ-
*ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมมีโดยปริยาย ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
เธอจงเห็นการแสดงโดยปริยายของพระตถาคตพระพุทธเจ้า
ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทุกหมู่เหล่า ก็ธรรม ๒ ประการ พระตถาคต
พระพุทธเจ้า ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทุกหมู่เหล่าประกาศแล้ว เธอ
ทั้งหลายผู้ฉลาดจงเห็นบาป จงคลายกำหนัดในบาปนั้น เธอ
ทั้งหลายผู้มีจิตคลายกำหนัดจากบาปนั้นแล้ว จักกระทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 16:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. สัมมาทิฐิสูตร
[๒๔๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็เรากล่าวคำนั้นแลว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราได้เห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วยกายสุจริต ... เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะได้
ฟังต่อสมณะหรือพราหมณ์อื่นก็หามิได้ ก็แต่ว่าเรารู้มาเอง เห็นมาเอง ทราบมาเอง
เราจึงกล่าวว่า เราได้เห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลในโลกนี้ ตั้งใจไว้ชอบ กล่าววาจาชอบ กระทำ
การงานชอบด้วยกาย ผู้มีการสดับมาก ผู้กระทำกรรม
เป็นบุญไว้ในชีวิตอันมีประมาณน้อย ในมนุษยโลกนี้
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์ ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 31 พ.ค. 2011, 21:36, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 16:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. จักขุสูตร
[๒๓๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ มังสจักษุ ๑
ทิพยจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓ อย่างนี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าบุรุษ ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่างนี้
คือ มังสจักษุ ๑ ทิพยจักษุ ๑ ปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม ๑
ความบังเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่งทิพยจักษุ เมื่อใด
ญาณบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น บุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
เพราะการได้เฉพาะซึ่งปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 31 พ.ค. 2011, 17:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 16:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. สัลลานสูตร
[๒๒๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมา
แล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌาน
ไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบ
จิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา
พอกพูนสุญญาคารอยู่ พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
*พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีสติ
มีฌาน ไม่มีความเพ่งเล็งในกามทั้งหลาย ย่อมเห็น
แจ้งธรรมโดยชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท มี
ปรกติเห็นภัยในความประมาท ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
ความเสื่อมรอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้ว ฉะนี้แล ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 31 พ.ค. 2011, 17:30, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 16:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. อชาตสูตร
[๒๒๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้
มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว
ไม่ปรุงแต่งแล้วมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็น
แล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่ง
ธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏ
ในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็น
แล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้วมีอยู่ ฉะนั้นการสลัดออกซึ่งธรรมชาติ
ที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมชาติอันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัย
ทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน
ระคนแล้วด้วยชราและ
มรณะ เป็นรังแห่งโรค ผุผัง มีอาหารและตัณหา เป็น
แดนเกิด ไม่ควรเพื่อยินดีธรรมชาตินั้น การสลัดออกซึ่ง
ธรรมชาตินั้น เป็นบทอันระงับ จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ยั่งยืน
ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี
ความดับแห่งทุกขธรรมทั้งหลาย คือ ความที่สังขารสงบระงับ
เป็นสุข ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 17:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบขอบพระคุณ google :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 19:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
ปุถุชน มีสังขารหรือความคิดปรุงแต่งมาจาก อวิชชา หรือมาจาก โลภะ โทสะ โมหะ (ความเห็น) อริยะ มีสังขารมาจากวิชชา หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ (ความจริง)

มีกองขันธ์อยู่ อย่างไร มันยังต้องมี สัญญา สังขาร วิญญาน อยู่ แลัวท่านจะเลือกให้ความเห็นสั่งท่าน หรือจะเอาความจริงมาเป็นตัวสั่งละครับ


ความเห็น ความจริง อะไรของท่าน
วิชา อวิชา แง่มุมไหนของท่าน

อริยะ มีสังขารอันเนื่องมาจาก สังโยชน์ที่ยังละไม่ได้ตามภูมิธรรมของตน

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 19:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


331 ขันธ์ ๕ เป็นฐานสังโยชน์-อุปาทาน

ปัญหา สังโยชน์และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คืออะไร อุปาทานและธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คืออะไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดยินดีในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าสังโยชน์.....
“รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าธรรม เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดยินดีในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนั้นชื่อว่าอุปาทาน”

สังโยชน์สูตร (๓๐๘) อุปาทานสูตร (๓๐๙) ขันธ. สํ.
ตบ. ๑๗ : ๒๐๒-๒๐๓ ตท. ๑๗ : ๑๗๗
ตอ. K.S. ๓ : ๑๔๒-๑๔๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 19:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. ปัจจยาการวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๒๕๕] สังขารเกิดเพราะอวิชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะชาติ
เป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
[๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา
[๒๕๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ-
*ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร

อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร เป็นไฉน
กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญ-
*เจตนา เป็นจิตตสังขาร

เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
[๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
[๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
[๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนาย-
*ตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
[๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน-
*สัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
[๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
[๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม-
*ตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
[๒๖๔] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
.....

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 732&Z=3845


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 31 พ.ค. 2011, 21:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 19:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ยมกวรรคที่ ๒
อวิชชาสูตร
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน
แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็
เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อม
กล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา
ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕
แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓ เรา
ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควร
กล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์
แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความ
ไม่มีสติสัมปชัญญะ
แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า
การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบ
คาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา
แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การ
ไม่ฟังสัทธรรม
แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟัง
สัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้
บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้
บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ
ให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้
บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้
บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม
ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่
ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น มี-
*อาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบ
สัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้
โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔
แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควร
กล่าวว่า สติสัมปชัญญะ
แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย
แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า
ศรัทธา
แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าว
ว่า การคบสัปบุรุษ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้
บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำ
ไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม
ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์
อย่างนี้ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม
ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง
แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร
สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่
บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ
บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 19:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. มัคคสังยุต อวิชชาวรรคที่ ๑
อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
[๑]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนีี้:
สมัยหนึึ่ง พระผูู้มีพระภาคประทับอยูู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทัั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านัั้น
ทูลรับพระดำารัสพระผูู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผูู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นีี้ว่า.
[๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความ
ไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบด้วยอวิชชา
ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด การงานผิด
ย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิดมีแก่
ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.
[๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับ
ความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา
ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ
การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ
พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อม
เกิดมีแก่ผู้ระลึกชอบแล.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร