วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ my way ปรับปรุงเรื่องการใช้ภาษาด้วยครับ

การใช้วาจา เปรียบเสมือน หอกทิ่มแทงผู้อื่นนั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์อันใด ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญของกุศล ไม่ได้นำมาซึ่งความเสื่อมไปของอกุศล รังแต่จักก่อเวรสร้างทุกข์เรื่อยไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เราสั่งจิตให้ว่างไม่ได้ แต่ฝึกจิตได้

จิตไม่ว่าง เพราะอะไร? ต้องตอบคำถามนี้ไห้ได้ก่อน แต่ก่อนอื่น ต้องรู้ว่าจิตคืออะไร ทำงานอย่างไร?

จิตคือธรรมชาติที่สามารถรับรู้ได้ และสามารถจดจำสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา เรียกง่ายๆ ว่า จิตเป็นธาตุรู้และธาตุจำ เราสั่งจิตไม่ได้ แต่สามารถเลือกข้อมูลที่จะป้อนลงในจิตได้

พระพุทธองค์ตรัสว่า อเสวนา จะพารานัง ก็เพราะ การที่เราคบคนผิด หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี จิตจะทำการจดจำ หรือเรียนรู้แต่สิ่งที่ไม่ดี จนกลายเป็นนิสัยในที่สุด

โดยปกติของปุถุชน จิตเมื่อรับรู้แล้ว ก็จะเกิดการปรุงแต่ง มีผลเป็นพอใจ ไม่พอใจ หรือหลง (เกิดเวทนา) จากนั้นก็จะเก็บไว้เป็นความจำ (สัญญาที่อาศัยเวทนาเกิด) สั่งสมไว้เป็นความคิด (สังขารที่อาศัยสัญญาที่มาจากเวทนา) สุดท้ายกลายเป็น ...สิ่งที่กลับมาสั่งคุณ... (เป็นวิญญาณอันอาศัยตัณหา) หรือเป็นนิสัยในที่สุด (โดยย่อ คือ อุปทานขันธ์ ๕)

เมื่อจิตจดจำแต่ความพอใจไม่พอใจ จิตก็จะเกิดความว้าวุ่น ไม่สงบ ไม่ว่าง ไม่วาง เมื่อจิตรับรู้อะไรอีก ก็จะเอาความวุ่นวายทั้งหลายไปรับกระทบสัมผัส ตามความเคยชินที่ละเอียด กลายเป็นความวุ่นวายที่สับสนทับถมอยู่ในจิต จนคุณไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง เกิดนิสัยถาวร ที่เรียกว่า สันดาร

จิตเรียนรู้หรือรับรู้ได้ ๖ ทาง คือ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งเดียวที่เราทำได้ คือ ให้จิตจดจำสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือป้อนข้อมูลที่ดีที่ทำให้จิตเกิดว่างจากความพอใจไม่พอใจได้ ทั้งนี้ เราต้องรู้ว่า เราหยุดไม่ให้จิตรับรู้ไม่ได้ หยุดไม่ให้จิตจดจำก็ไม่ได้ คือ เราสั่งอะไรจิตไม่ได้เลย เพราะจริงๆ แล้ว จิตก็ไม่ใช่เรา

เราเลือกได้ เหมือนเราเดินไปเจอทาง ๒ แพร่ง ไม่รู้จะไปทางใหน ถ้ามีผู้รู้มาบอกทางที่ถูก เราก็เดินไปในทางที่ถูกได้

เอาอะไรไปป้อนให้จิตล่ะ จิตจึงจะว่างจากความพอใจไม่พอใจและความหลง (อวิชชา) ได้ คำตอบที่แสนยากนี้ ได้รับการเฉลยจากอัจฉริยะที่เก่งที่สุดในโลก ผู้สามารถศึกษาจนสามารถรู้คำตอบได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีใครมาสอน และเอาเฉลยนั้นทางบอกให้กับพวกเรา ซึ่งก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

พระองค์สรัสสอนทางสายเอกสายเดียวที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ว่า ความพอใจไม่พอใจและความหลงนั้นเป็นความเห็น ให้เอาความจริงไปดับ ความจริงที่ว่านั้น คือ กฏธรรมชาติสองกฏ ได้แก่ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอะไร มีลักษณะเหมือนกัน คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (กฏไตรลักษณ์) และ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีคำว่าบังเอิญในศาสนาพุทธ (กฏอิทัปปัจจยตาปกิจจสมุปบาท)

เมื่อจิตรับรู้เรื่องใหม่ ก็จะเกิดเกิดสัญญาใหม่ ความคิดเห็นใหม่ พฤติกรรมใหม่ เรียกง่ายๆ ว่า ความรู้เปลี่ยน พฤติกรรมก็เปลี่ยน

การฝึกปฏิบัติ: ทันทีเมื่อตาเห็นรูป (เช่นเครื่องคอมฯ) ให้พิจารณาคอมฯ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า คอมฯ มันต้องเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ต้องดับไป หรือ มันใหม่ และมันก็ต้องเก่า สุดท้ายมันก็ต้องพัง ตัวฉัน คือ คนเห็น เกิดมา หนุ่ม แก่ แล้วก็ต้องตาย

ให้แบบนี้ทุกครั้งเมื่อตาไปเห็นอะไร แล้วเราเกิดความอยากได้ พอใจ ไม่พอใจ เช่นเดียวกับ เสียงที่เข้ามาทางหู กลิ่นที่มาทางจมูก รสที่เข้ามาทางลิ้น กายไปสัมผัสอะไร รวมไปถึงความคิด ที่เราคิดนึกไปต่างๆ นาๆ ให้พิจารณาสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสอย่างที่มันเป็นจริงๆ ไม่ใช่อย่างที่เราอยากจะให้มันเป็น จิตจะเต็มไปด้วยข้อมมูลความจริงที่ไม่ได้รับการปรุงแต่ง

ถ้าทำอย่างนี้ได้ต่อเนื่อง ยาวนาน ทุกๆ วัน วันละซัก ๑ ขั่วโมง พระพุทธองค์ทรงการันตีว่า ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ปล่อยวางได้ หากไม่ได้ทำอนันตริยกรรมมาก่อน

การที่จิตว่างจากความพอใจไม่พอใจและความหลงได้ (จิตสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรม) ส่งผลให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ปรุงแต่ง (เกิดอุปธิวิเวก) ไม่คิด (ไม่มีวิตก วิจาร) ไม่สุข ไม่ทุกข์ (ไม่มีปิติ สุข ปราโมทย์) จิตจึงจะวางได้จริงๆ (เกิดอุเบกขา เอกัคคตา) เป็นความสงบที่มั่นคงในระดับสูง (ฌาณ ๕) ซึ่งก็ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ ในระดับแรก ฝึกให้ว่างจากความพอใจไม่พอใจและความหลงให้ได้ก่อน

เราสั่งจิตให้เป็นอุเบกขาตรงๆ ไม่ได้ เพราะอุเบกขามันเหตุมีปัจจัย มีพัฒนาการของมัน ตามที่ได้แสดง ให้ไปที่การเจริญหตุของการเกิดอุเบกขา คือ ดับความพอใจไม่พอใจและความหลงให้ได้ก่อน อุเบกขาจึงจะเกิด

พูดง่ายๆ ก็คือ เราสั่งตัวเราไม่ได้ ถ้าเราสั่งให้ตัวเราวางจากการปรุงแต่งได้ ก็คงมีอรหันต์เกิดเต็มบ้านเต็มเมือง ผู่ที่บอกว่าให้วาง ให้ว่าง เขาก็ไม่รู้จริงๆ ว่าจะทำอย่างไรให้วาง หรือให้ว่างได้ เขาก็ว่าตามๆ กันมา แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าทำอย่างไร

อุเบกขาเป็นผลจากการฝึกฝน วิปัสสนาภาวนา หรือเป็นผลจากการใช้ปัญญาดับทุกข์ ถ้าพิจาณาจากเหตุปัจจัย เราก็ต้องไปเริ่มที่ ทำไมเราจึงเกิดการพอใจไม่พอใจ การพอใจไม่พอใจเกิดอย่างไร เกิดที่ใหน และจะดับได้อย่างไร

ถ้าปฏิบัติได้ถูกธรรม คือ ถูกเหตุถูกปัจจัย จิตของผู้นั้นก็จะตั้งอยู่ได้ใน อุเบกขา อย่างมั่นคง ไม่ได้เกิดเพียงชั่วครู่ขั่วคราว

ถ้าไปทำเลียนแบบ ผลก็คือ นิ่ง ซื่อบื้อ เป็นเพียงสมาธิ ที่เอาความว่างเป็นอารมณ์ ไม่มีปัญญาประกอบ ได้เป็นพักเป็นพัก ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ...


Quote Tipitaka:
อุเบกขามีองค์ ๖

[๔๑๓] คำว่า มีอุเบกขา ในคำว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ กล่าวคือ

เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่.ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่.

เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด. กายของบุคคลนั้นตั้งอยู่ (ไม่หวั่นไหว) จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. อนึ่ง เห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. ได้ยินเสียงที่ชอบใจด้วยหู สูดดมกลิ่นที่ ชอบใจด้วยจมูก ลิ้มรสที่ชอบใจด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ชอบใจด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ชอบใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด.

กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ก็ไม่ เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว.เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในรูปที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว.

เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ หลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วย จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัด ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองใน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา.

บุคคลนั้น เป็นแต่เพียงเห็นในรูปที่เห็น เป็นแต่เพียงได้ยินในเสียงที่ได้ยิน เป็นแต่เพียงทราบในกลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ เป็นแต่เพียงรู้แจ้งในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่ติดในรูปที่เห็น ไม่ติดใน เสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ไม่ติดในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง. ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่. ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ในเสียงที่ ได้ยิน ในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่. พระอรหันต์มีจักษุปรากฏ ย่อมเห็นรูปด้วยจักษุ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีหูปรากฏ ย่อมได้ยินเสียงด้วยหู แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีจมูกปรากฏ ย่อมสูดดมกลิ่นด้วยจมูก แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีลิ้นปรากฏ ย่อมลิ้มรสด้วยลิ้น แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีกายปรากฏ ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีใจปรากฏ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. จักษุเป็นธรรมชาติชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป

พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมจักษุ และย่อมแสดงธรรมเพื่อความสำรวมจักษุนั้น. หูเป็นธรรมชาติชอบเสียง จมูกเป็นธรรมชาติชอบกลิ่น ลิ้นเป็นธรรมชาติชอบรส กายเป็นธรรมชาติ ชอบโผฏฐัพพะ ใจเป็นธรรมชาติชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรมเพื่อความสำรวมใจนั้น.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 06 มิ.ย. 2011, 15:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาปัตติมรรคบุคคล คือ ผู้ที่กำลังทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง หรือ ฝึกตนเพื่อละความเห็นผิด ละสังโยขน์เบื้องล่าง ๓ ประการ

Quote Tipitaka:
มิจฉาทิฏฐิสูตร

[๒๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละมิจฉาทิฐิได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า;

ดูกรภิกษุบุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู... รู้เห็นจมูก... รู้เห็นลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละมิจฉาทิฐิได้


Quote Tipitaka:
สักกายทิฏฐิสูตร

[๒๕๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฐิได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า;

ดูกรภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแลโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู ... รู้เห็นจมูก... รู้เห็นลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ ดูกรภิกษุเมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฐิได้ ฯ


นอกจากการวิปัสสนาภาวนาแล้ว ไม่มีทางอื่นใดที่จะดับความเห็นผิดลงไปได้ สมาธิ หรือ ความตั้งใจมั่น ใช้หนุนปัญญา หลังจากมีปัญญามาจากการฟังแล้ว ไม่ใช่เหตุที่ทำให้เกิดปัญญา

ปุถุชนผู้ทีไม่ได้สดับรับฟังความจริงของโลกและชีวิต ไม่ได้ฟังความจริงเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์ หรือ ไม่ได้ฟังพระธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากสัปปบุรุษ จะพบหนทางในการออกจากทุกข์เองได้นั้น เป็นเรื่องที่แสนยาก เพราะนั่นหมายถึง การพยายามฝึกตนเองให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง ....

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 06 มิ.ย. 2011, 15:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 15:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:

เราสั่งจิตให้ว่างไม่ได้ แต่ฝึกจิตได้



ก็ได้เท่าที่สมมติว่าได้ แต่กว่านั้น มันคนละเรื่องเลย

:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 15:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


จิต คือ มโนธาตุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 15:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
คุณ my way ปรับปรุงเรื่องการใช้ภาษาด้วยครับ

การใช้วาจา เปรียบเสมือน หอกทิ่มแทงผู้อื่นนั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์อันใด ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญของกุศล ไม่ได้นำมาซึ่งความเสื่อมไปของอกุศล รังแต่จักก่อเวรสร้างทุกข์เรื่อยไป


ฮานะ

เพราะหลงว่ามี ตัวตน จึงถูกทิ่มแทง
เพราะหลงว่ามี ตัวกู จึงทุกข์เรื่อยไป

เพราะว่า หลง อยู่ จึงไม่รู้ว่า การได้ สติ รู้ตัว ว่ากำลัง หลง นั้น
มีประโยชน์ต่อการ ละ ความสำคัญมั่นหมาย ทั้งในฝ่าย กุศล และ อกุศล :b12:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 16:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


Hana เขียน:
FLAME เขียน:
คุณ my way ปรับปรุงเรื่องการใช้ภาษาด้วยครับ

การใช้วาจา เปรียบเสมือน หอกทิ่มแทงผู้อื่นนั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์อันใด ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญของกุศล ไม่ได้นำมาซึ่งความเสื่อมไปของอกุศล รังแต่จักก่อเวรสร้างทุกข์เรื่อยไป


ฮานะ

เพราะหลงว่ามี ตัวตน จึงถูกทิ่มแทง
เพราะหลงว่ามี ตัวกู จึงทุกข์เรื่อยไป

เพราะว่า หลง อยู่ จึงไม่รู้ว่า การได้ สติ รู้ตัว ว่ากำลัง หลง นั้น
มีประโยชน์ต่อการ ละ ความสำคัญมั่นหมาย ทั้งในฝ่าย กุศล และ อกุศล :b12:


เพราะหลงอยู่ จึงยึดว่าได้สติ ได้ประโยชน์ ได้ละ มีตัวตนเช่นกัน

:b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 18:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
Hana เขียน:
FLAME เขียน:
คุณ my way ปรับปรุงเรื่องการใช้ภาษาด้วยครับ

การใช้วาจา เปรียบเสมือน หอกทิ่มแทงผู้อื่นนั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์อันใด ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญของกุศล ไม่ได้นำมาซึ่งความเสื่อมไปของอกุศล รังแต่จักก่อเวรสร้างทุกข์เรื่อยไป


ฮานะ

เพราะหลงว่ามี ตัวตน จึงถูกทิ่มแทง
เพราะหลงว่ามี ตัวกู จึงทุกข์เรื่อยไป

เพราะว่า หลง อยู่ จึงไม่รู้ว่า การได้ สติ รู้ตัว ว่ากำลัง หลง นั้น
มีประโยชน์ต่อการ ละ ความสำคัญมั่นหมาย ทั้งในฝ่าย กุศล และ อกุศล :b12:


เพราะหลงอยู่ จึงยึดว่าได้สติ ได้ประโยชน์ ได้ละ มีตัวตนเช่นกัน

:b51:


:b12: ฮานะ

เมื่อ ยังไม่ เห็น ประโยชน์ ของ มรรค
เพราะ ตัวตน ผู้รู้ มันบังตา อยู่

สัมมาทิฏฐิ ยัง ไม่มี จึงเข้าใจว่า ได้ละ
แสดงว่า ยัง หลง อยู่ มาก มาก :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่.

สมถะ หรือ หลงไปเอง คิดไปเอง ทำให้เกิดอาการแบบนี้ได้มั้ย?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกมีอะไรหนอเป็นเครื่องประกอบไว้? อะไรหนอเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น เพราะละขาดซึ่งธรรมอะไรจึงเรียกว่านิพพาน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 19:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พึงทราบวินิจฉัยในปาฐะว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ ( ต่อไป )
ธรรมชาติอันหนึ่งชื่อว่าอุเบกขา เพราะอรรถว่า เพ่งโดยอุปปัติ หมายความว่าดูอย่างสงบ คือดูไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ผู้ลุถึงตติยฌานท่านเรียกว่า อุเปกฺขโก
เพราะ ประกอบด้วยอุเบกขานั้นสดใสไพบูลเรี่ยวแรง
ก็แลอุเบกขามี ๑0 อย่าง คือ
ฉฬังคุเบกขา
พรหมวิหารุเบกขา
โพชฌงคุเบกขา
วิริยุเบกขา
สังขารุเบกขา
เวทนูเบกขา
วิปัสสนูเบกขา
ตัตรมัชฌัตตุเบกขา
ฌานุเบกขา
ปริสุทธุเบกขา

ในอุเบกขา ๑0 นั้น อุเบกขาใดเป็นอาการที่ไม่ละปกติภาพอันบริสุทธิในคลองแห่งอารมณ์ ๖ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์
และอนิฏฐารมณ์ ในทวาร ๖ แห่งพระขีณาสพ อันมา (ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจเลย และเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะวางเฉยอยู่ " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา ( อุเบกขามีองค์ ๖ )


ส่วนอุเบกขาใด เป็นอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ภิกษุมีใจไปกับอุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า พรหมวิหารุเบกขา

อุเบกขาใดเป็นอาการเป็นกลางในสหชาตธรรม ( ธรรมที่เกิดร่วมด้วย ) ทั้งหลาย อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอิงวิเวกอิงวิราคะ " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อโพชฌงคุเบกขา

ส่วนอุเบกขาใดได้แก่ความเพียรไม่ตึงนักและไม่หย่อนนัก อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ภิกษุทำในใจถึงอุเบกขานิมิตอยู่ตลอดเวลาตามกาลอันสมควร " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า วิริยุเบกขา

อุเบกขาใด คือวิปัสสนาปัญญาพิจารณาบาปธรรมและองค์ที่พึงละมีนิวรณ์เป็นต้น ( ที่ข่มไว้และละได้ด้วยฌาน
ตามลำดับแล้วให้เห็นตามสภาพ ) แล้วตกลงใจวางเฉยในอันจะถือเอา ( สิ่งที่ละแล้วเหล่านั้นอีกเพราะเห็นโทษ ) อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ถามว่าสังขารุเบกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารุเบกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วย อำนาจวิปัสสนา ? ตอบว่า สังขารุเบกขา ๘ เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารุเบกขา ๑0 เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า สังขารุเบกขา

ส่วนอุเบกขาใดที่หมายรู้ด้วยไม่ทุกข์ไม่สุข อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ในสมัยใดจิตเป็นกามาวจรกุศลเกิดขึ้นสหรคต ( ประกอบ ) ด้วยอุเบกขา " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า เวทนูเบกขา

ส่วนอุเบกขาใดเป็นอาการที่วางเฉยในการเฟ้น ( สังขาร ) อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " สิ่งใดมี สิ่งใดเป็น
พระโยคาวจรละสิ่งนั้นเสีย ย่อมได้อุเบกขา " ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า วิปัสสนูเบกขา

ส่วนอุเบกขาใดเป็นธรรมที่คุมสหชาตธรรม ( ธรรมที่เกิดร่วมด้วย ) ทั้งหลายให้เสมอกัน อันมาใน เยวาปนกธรรม * ทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตุเบกขา

อุเบกขาใดไม่ยังความตกเป็นฝักฝ่ายให้เกิดในตติยฌานนั้นที่แม้มีสุขอย่างเลิศ อันมา ( ในตติยฌานปาฐะ ) อย่างนี้ว่า " อุเปกฺขโก จ วิหรติ เธอเป็นผู้วางเฉยอยู่ด้วย " ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า ฌานุเบกขา

ส่วนอุเบกขาใดหมดจดจากปัจจนีกธรรม ( ธรรมอันเป็นข้าศึก ) ทั้งปวง เป็นอาการที่ไม่ต้องขวนขวายแม้ใน
การระงับปัจจนีกธรรม อันมา ( ในจตตุถฌานปาฐะ ) อย่างนี้ว่า " อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ...เข้าถึง
จตุตถฌานอันมีความบริสุทธิ์แห่งสติที่เกิดแต่อุเบกขา " ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า ปริสุทธุเบกขา

ในอุเบกขา ๑0 นั้น ฉฬังคุเบกขา ๑ พรหมวิหารุเบกขา ๑ โพชฌงคุเบกขา ๑ ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑ ฌานุเบกขา ๑ ปริสุทธุเบกขา ๑ ( รวม ๖ )
โดยความก็เป็นตัตรมัชฌัตตุเบกขาอันเดียวเท่านั้น แต่ที่อุเบกขานั้นแตกกัน ( เป็นหลายประเภท )
นี้ก็เพราะความต่างกันแห่งฐานะ ( ความเป็นอยู่ในสมัย ) นั้นๆ ดุจคนแม้เป็นคน ๆ เดียว
ก็ต่างกันได้โดยฐานะ เช่นเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นผู้ใหญ่ เป็นเสนาบดี เป็นพระราชา
เพราะเหตุนั้น ในอุเบกขา ๖ นั้น พึงทราบว่า ฉฬังคุเบกขามีอยู่ในที่ใด อุเบกขา ( อีก ๕ )
มีโพชฌงคุเบกขาเป็นต้นก็ไม่มีในที่นั้น หรือว่า โพชฌงคุเบกขามีอยู่ในที่ใด
อุเบกขา ( อีก ๕ )มีฉฬังคุเบกขาเป็นอาทิก็ไม่มีในที่นั้น


ก็แลความที่อุเบกขา ๖ นั้นเป็นอันเดียวกันโดยความย่อมมีฉันใด แม้ความเป็นอันเดียวกันโดยความแห่งสังขารุเบกขาและวิปัสสนูเบกขาก็มีฉันนั้น
แท้จริงอุเบกขาทั้งสองนั้นคือปัญญาเหมือนกัน แต่เป็น ๒ โดยกิจ

เหมือนอย่างว่าเมื่อบุรุษถือไม้ง่ามค้นหางูซึ่ง( เลื้อย )เข้าไปสู่เรือนเมื่อตอนเย็น พบมันซุกอยู่ที่ลังแกลบ จ้องดูว่ามันเป็นงูหรือมิใช่ เห็นสวัสติกะสามแฉก ( ที่หัวมัน ) แล้วสิ้นสงสัย
ความวางเฉยในการที่จะเฟ้นว่างูไม่ใช่งูก็ย่อมมีฉันใด เมื่อเห็นลักษณะ ๓ ( ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ) ด้วยวิปัสสนาญานแล้ว ความวางเฉยอันใดในอันที่จะเฟ้นความไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายเป็นต้นย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้ทำวิปัสสนา ฉันนั้นเหมือนกัน ความวางเฉย ( ในการเฟ้นสังขาร ) นี้ ชื่อว่าวิปัสสนูเบกขา ส่วนว่าเมื่อบุรุษนั้น ( กด )จับงูไว้มั่นด้วยไม้ง่ามแล้วคิดจะปล่อยมันไป ( โดย ) ไม่เบียดเบียนมันด้วย ไม่ให้มันกัดตัวด้วย ( ตรอง ) หาวิธีการจะปล่อยอยู่นั่นแล ความวางเฉยในอันจะจับเอา ( งู ) ไว้ย่อมมีฉันใด เมื่อพระโยคาวจรเห็นภพ ๓ ดุจถูกไฟไหม้เพราะเห็นลักษณะ ๓ แล้ว ความวางเฉยอันใดในอันที่จะยึดถือเอาสังขารไว้ ย่อมมีฉันนั้นแล ความวางเฉย ( ในการยึดสังขาร ) นี้ชื่อว่า สังขารุเบกขา โดยประการดังนี้ เมื่อวิปัสสนูเบกขาสำเร็จแล้ว แม้สังขารุเบกขาก็เป็นอันสำเร็จด้วยแท้ อันอุเบกขานี้แตกเป็น ๒ โดยกิจ กล่าวคือ ความวางเฉยในความเฟ้น ( สังขาร ) และ ( วางเฉยใน )ความยึดถือ ( สังขาร ) ไว้ ( ดัง ) นี้แล


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 06 มิ.ย. 2011, 20:27, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 19:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โลกมีอะไรหนอเป็นเครื่องประกอบไว้? อะไรหนอเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น เพราะละขาดซึ่งธรรมอะไรจึงเรียกว่านิพพาน


ก็ อะไรหนอ... อะไรหนอ... นั่นแหละ คือ เครื่องข้อง

:b13:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 19:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขา (ภาษาบาลี: อุเปกขา ภาษาสันสกฤต: อุเปกษา) แปลว่า ความวางเฉย ความวางใจ เป็นกลาง

อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นต้น

ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือเป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคงไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผลถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้

อุเบกขา10ประเภท
1.ฉฬงฺคุเปกขา อุเบกขาประกอบด้วย องค์ 6 คือ การวางเฉยในอายตนะทั้ง 6
2.พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร
3.โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์ คือ อุเบกขาซึ่งอิงวิราคะ อิงวิเวก
4.วิริยุเปกฺขา อุเบกขาใน วิริยะ คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป
5.สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5
6.เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข
7.วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา อันเกิดจากเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
8.ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาในเจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน
9.ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน
10.ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก คือมีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา[1]

อันนี้จาก Wiki

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD% ... 2%E0%B8%B2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 20:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


Hana เขียน:
narapan เขียน:
Hana เขียน:
FLAME เขียน:
คุณ my way ปรับปรุงเรื่องการใช้ภาษาด้วยครับ

การใช้วาจา เปรียบเสมือน หอกทิ่มแทงผู้อื่นนั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์อันใด ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญของกุศล ไม่ได้นำมาซึ่งความเสื่อมไปของอกุศล รังแต่จักก่อเวรสร้างทุกข์เรื่อยไป


ฮานะ

เพราะหลงว่ามี ตัวตน จึงถูกทิ่มแทง
เพราะหลงว่ามี ตัวกู จึงทุกข์เรื่อยไป

เพราะว่า หลง อยู่ จึงไม่รู้ว่า การได้ สติ รู้ตัว ว่ากำลัง หลง นั้น
มีประโยชน์ต่อการ ละ ความสำคัญมั่นหมาย ทั้งในฝ่าย กุศล และ อกุศล :b12:


เพราะหลงอยู่ จึงยึดว่าได้สติ ได้ประโยชน์ ได้ละ มีตัวตนเช่นกัน

:b51:


:b12: ฮานะ

เมื่อ ยังไม่ เห็น ประโยชน์ ของ มรรค
เพราะ ตัวตน ผู้รู้ มันบังตา อยู่

สัมมาทิฏฐิ ยัง ไม่มี จึงเข้าใจว่า ได้ละ
แสดงว่า ยัง หลง อยู่ มาก มาก :b4:



จะแบก จะลาก พ่วงแพไปด้วย ก็ตามสบายครับ :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 21:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
Hana เขียน:
narapan เขียน:
Hana เขียน:

เพราะหลงอยู่ จึงยึดว่าได้สติ ได้ประโยชน์ ได้ละ มีตัวตนเช่นกัน

:b51:


:b12: ฮานะ

เมื่อ ยังไม่ เห็น ประโยชน์ ของ มรรค
เพราะ ตัวตน ผู้รู้ มันบังตา อยู่

สัมมาทิฏฐิ ยัง ไม่มี จึงเข้าใจว่า ได้ละ
แสดงว่า ยัง หลง อยู่ มาก มาก :b4:



จะแบก จะลาก พ่วงแพไปด้วย ก็ตามสบายครับ :b32: :b32:


s007 อื้อฮืออออออ มือไม่พาย ยัง เอาเท้าราน้ำ
แสดงว่ายัง มืดบอด อยู่ มาก มาก :b13:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร