วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 21:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


Hana เขียน:
s007 อื้อฮืออออออ มือไม่พาย ยัง เอาเท้าราน้ำ
แสดงว่ายัง มืดบอด อยู่ มาก มาก :b13:


rolleyes :b17: จะคิดปรุงแต่งอย่างไรก็ตามสบายครับ :b17: :b12:

ยังไงมันก็ไม่เที่ยง :b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อัชฌัตติกอนิจจสูตร

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า;

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นของไม่เที่ยง ... ฯลฯ จมูกเป็นของไม่เที่ยง ... ฯลฯ ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ... ฯลฯ กายเป็นของไม่เที่ยง ... ฯลฯ ใจเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้นย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 22:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
Hana เขียน:
s007 อื้อฮืออออออ มือไม่พาย ยัง เอาเท้าราน้ำ
แสดงว่ายัง มืดบอด อยู่ มาก มาก :b13:


rolleyes :b17: จะคิดปรุงแต่งอย่างไรก็ตามสบายครับ :b17: :b12:

ยังไงมันก็ไม่เที่ยง :b13: :b13: :b13:


:b13: ฮานะ มันจะเที่ยงได้ยังไง ในเมื่อยังมืดบอดอยู่อย่างนี้

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นันทิขยสูตรที่ ๓

[๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ฯลฯ เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคายและจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริยาทานสูตรที่ ๒

[๖๕] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. จักษุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. โสตะ ... ฆาน ... ชิวหา ... กาย ... ใจ ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


การวิปัสสนา หรือ การเจริญ มรรค ๘

๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)

[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไปภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ กำหนัดในจักษุสัมผัสกำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไมเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในมโน กำหนัดในธรรมารมณ์ กำหนัดในมโนวิญญาณ กำหนัดในมโนสัมผัส กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้วลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกายแม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญาคือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

[๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใดความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะมีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใดความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญาคือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 11:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ทวนแนวทางการปฏิบัติของท่านใหม่

สัญญา มีลักษณะเช่นไร

ปัญญา มีลักษณะเช่นไร

Quote Tipitaka:

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญาคือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง


สัญญาเป็นเรื่องที่ต้องใช้ ปัญญาเข้ามาพิจารณากำหนดรู้ พิจารณาละ
ไม่ใช่เอาสัญญามาสวมรอยให้เป็นปัญญา

เพราะ ผลการใช้ สัญญา ก็ได้ผลในระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ได้ผลครอบคลุมไปตลอดสาย
ผลการใช้ ปัญญา ก็ได้ผลอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งครอบคลุมตลอดสาย

การนำสัญญามาตั้งต้นว่านั่นเป็นปัญญา
แล้วเอาการตีความในส่วนที่เป็นปัญญามาเป็นผลของการเจริญสัญญา(ที่ตั้งต้นคิดว่านั่นคือปัญญา)
มันทำได้ แต่ผลที่ได้รับ มันไม่ครอบคลุมธรรมในทุกแง่

เมื่อยังเอาอุปทานขันธ์ห้า มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงอุปทานขันธ์ห้า ผลก็คืออุปทานขันธ์ห้าที่เปลี่ยนแปลงไป

พระธรรมเป็นของสูง เป็นสัจจะที่เหนือ อุปทานขันธ์ห้า ไปแล้ว
แม้จะอ่านจนจำได้ แต่ความเข้าใจมันขึ้นอยู่กับความจางบางของอุปทานขันธ์ห้า เรื่อย ๆ เป็นลำดับ

สัญญา เป็นสิ่งที่ต้องใช้ปัญญาเข้าไปพิจารณากำหนดรู้ และละ

ซึ่ง กิริยาจิตที่ วิญญาณ-ปัญญา กะ วิญญาณ-สัญญา นั้นต่างก็มีกิริยาที่ต่างกัน
ทำให้การเจริญปัญญา กะ การเจริญสัญญา นั้นให้ผลต่างกัน

กิริยาจิตต่างกันตามพระสูตรที่หยิบยกมาให้อ่านแล้ว
เพราะรู้ จึงรู้ว่าพระสูตรที่กล่าวถึง ปัญญา(ชวนปัญญา) มีอยู่
และรู้ว่า ผลในการเจริญสัญญานั้นต่างจากการเจริญปัญญา
ไม่อาจใช้สัญญาแม้จะเป็นสัญญาเรื่องสัจจะก็ตาม ก็ไม่อาจใช้เป็น ปัญญา ได้เลย
ไม่ใช่เพราะบัญญัติว่าเช่นนั้น
มันเป็นสัจจะในเรื่องของ ธาตุ
กิริยาจิตอันมี ธรรม เข้าประกอบนั้น แสดงกิริยาต่างกัน

กิริยาจิต ก่อให้เกิด บทธรรมต่าง ๆ ที่เราศึกษากันในพระไตรปิฏก

การดัดแปลงกระบวนการ ต้องคำนึงถึงผลให้แจ้งแทงตลอด

ใครจะเห็นเป็นสาระสำคัญที่พึงตระหนักหรือไม่อย่างไร สุดแท้แต่กรรมแล้วล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา ใน อุปทานขันธ์ ๕ เป็นการกล่าวคำย่อ แปลเต็มๆ ว่า สัญญาที่อาศัยเวทนาเกิด

เหมือนอุเบกขาที่คุณยกมาให้ดู มันมีรายละเอียดปลีกย่อย สัญญามีรายละเอียดมากกว่านั้นอีก

สัญญาที่เกิดจากการวิปัสสนา คือ อนิจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตสัญญา เป็นสัญญาที่เกิดจากการเห็นจริงตามจริงเท่าทันปัจจุบันอารมณ์ ไม่ประกอบด้วยเวทนา มันจะเกิดเป็นฐานส่งเสริมการวิปัสสนาครั้งต่อๆ ไป

ปัญญา ตามความหมายศัพท์ แปลว่า การเข้าไปกำหนดรู้ ... อนิจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตสัญญา เป็นผลของการเข้าไปกำหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์ จึงไม่ใ่อุปทานขันธ์

อริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบัน ไปจนถึง อรหันต์ ยังมีจิตอยู่ จิตมันก็ยังคงทำงานตามธรรมชาติของจิต ยังมีความรู้ได้หมายจำ ถ้าละสัญญาจนหมด ก็แปลว่า ความจำเสื่อม หรือ ไม่มีความจำ

ที่ให้ละ คือ อุปทานขันธ์ ๕ ถ้าเจาะจงสัญญา หมายถึง ไม่ให้สัญญาที่อาศัยเวทนาเกิดนั้นมาปรากฏในจิต ณ ปัจจุบันขณะ เช่น ราคะสัญญา พยาบาทสัญญา ฯ เมือเกิดผัสสะ

จิต มันมีหน่วยของความจำ ได้ยินได้ฟังความจริง จิตมันก็จำไว้เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง บอกตัวเองว่า จะนั่งจะเดินจะนอนฯ ก็ขอให้รู้ตัวเสมอ ก็เป็นการป้อนข้อมูลเข้าไปในความทรงจำอย่างหนึ่ง บอกตัวเองว่า ถ้ารู้เห็นอะไรก็ขอให้รู้ตามความจริง ตามที่ได้ฟังมา ก็คือการป้อนข้อมูลเข้าไปในสัญญาอย่างหนึ่ง พอรู้แล้วกำหนดพิจารณาสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง ผลของการพิจารณาก็เก็บไว้เป็นความทรงจำอย่างหนึ่ง .... ตราบใดที่จิตยังอยู่ สัญญาก็ยังมีอยู่ จนกว่าจะดับขันธ์ปรินิพพาน จิตจึงจะไม่มี สัญญาจึงจะไม่มี

บางคนคิดว่า การไม่รู้ไม่เห็นไม่จำ หรือ จิตตกภวังค์ เป็นการละสัญญาได้ ความจริงก็คือ มันเป็นเพียงการหลบผัสสะอยู่หลังความสงบเท่านั้น พอออกจากภวังค์ จิตมันก็ทำงานเป็นปกติ เหมือนเดิม

Quote Tipitaka:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=5282&Z=5374

ฯลฯ

[๓๘๑] พักกุล. ดูกรกัสสปผู้มีอายุ ท่านไม่ควรถามเราอย่างนั้นเลยแต่ควรจะถามเราอย่างนี้ว่า ก็ชั่ว ๘๐ ปีนี้ กามสัญญาเคยเกิดขึ้นแก่ท่านกี่ครั้งดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้สึกกามสัญญาเคยเกิดขึ้น ฯ

อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกกามสัญญาเคยเกิดขึ้น ชั่วเวลา๘๐ พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ

พักกุล. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกพยาบาทสัญญาเคยเกิดขึ้น ฯ

อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกพยาบาทสัญญาเคยเกิดขึ้นชั่วเวลา๘๐ พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ

พักกุล. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกวิหิงสาสัญญาเคยเกิดขึ้น ฯ

ฯลฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 16:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นของท่าน
จิต มันมีหน่วยของความจำ
ได้ยินได้ฟังความจริง จิตมันก็จำไว้เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง บอกตัวเองว่า จะนั่งจะเดินจะนอนฯ ก็ขอให้รู้ตัวเสมอ ก็เป็นการป้อนข้อมูลเข้าไปในความทรงจำอย่างหนึ่ง บอกตัวเองว่า ถ้ารู้เห็นอะไรก็ขอให้รู้ตามความจริง ตามที่ได้ฟังมา ก็คือการป้อนข้อมูลเข้าไปในสัญญาอย่างหนึ่ง พอรู้แล้วกำหนดพิจารณาสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง ผลของการพิจารณาก็เก็บไว้เป็นความทรงจำอย่างหนึ่ง .... ตราบใดที่จิตยังอยู่ สัญญาก็ยังมีอยู่ จนกว่าจะดับขันธ์ปรินิพพาน จิตจึงจะไม่มี สัญญาจึงจะไม่มี

ความเห็นตามอภิธรรม
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.


[๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.
ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน?

จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก.



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณ แปลว่า รู้แจ้งในอารมณ์ที่เข้ามากระทบสัมผัส มีกระบวนการละเอียด คือ รับ จำ คิด รู้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 10:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
วิญญาณ แปลว่า รู้แจ้งในอารมณ์ที่เข้ามากระทบสัมผัส มีกระบวนการละเอียด คือ รับ จำ คิด รู้


จำ กะ คิด ไม่ใช่ พฤติกรรมของ วิญญาณ

Quote Tipitaka:
วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต,
ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน
เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น
ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ;
วิญญาณ ๖ คือ
๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)
๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

วิญญาณธาตุ ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้

ธาตุ ๑- สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย,
ธาตุ ๔ คือ
๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม ;
ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม
๕. อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง
๖. วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้


ไหนว่า ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เพิ่มเติม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กะเปิดหลักสูตรอภิธรรมเลยรึท่าน :b7: มันเป็นวิชาของพระอรหันต์นะ เท่าที่เรียนรู้ได้ ก็โดยหลักการณ์เท่านั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบราหุล ก็ยังรู้ว่าราหุลคือราหุลนะ ยังมีความทรงจำเดิมอยู่ครบ ยังจำได้ทะลุ ๙๑ ภัทรกัปฯ

ปฏิสนธิก็เป็นจิต ภวังค์ก็เป็นจิต ปฏิสนธิก็เป็นจิต สันตีรณก็เป็นจิต ฯ จิตพวกนี้เกิดมา ก็ม่ได้รับรู้อะไรเลย มีหน้าที่ทำงานเฉพาะ รู้ข้อมูลที่มาจากจิตดวงก่อนหน้านี้เท่านั้น

ส่วนหน้าที่ของจิต ที่ชื่อว่า วิญญาณ จริงๆ มันมีหน้าที่ capture incoming signal เท่านั้น เป็นเพียงจิตขนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ หมดหน้าที่แล้วก็ดับไป แล้วส่งข้อมูลที่ได้ไปให้กับจิตดวงที่จะเกิดต่อไป เพื่อทำงานต่อเนื่องกัน

คำว่า รู้แจ้งในอารมณ์ฯ แปลว่า รู้ว่ารูปเป็นรูป รู้ว่าเสียงเป็นเสียง ฯ เท่านั้น ไม่ได้รู้อะไรไปมากกว่านี้ เสียงนกเข้าหู ก็รู้แต่ว่าเป็นเสียง ยังไม่รู้ว่าเป็นเสียงมาจากนก

ส่วนกองความทรงจำ เป็นข้อมูลที่จิตใช้ในการสืบสันดาน เมื่อเกิดผัสสะ สัญญาเจตสิกจึงจะเกิดมาเพื่อแปลสัญญาณ ฯ ดึงเพียงข้อมูลบางส่วนมาประมวลผล หน้าที่การตีความนี้ ไม่ได้เป็นหน้าที่ของวิญญาณจิต แต่เป็นหน้าที่ของ สัมปฏิจฉันนะจิต กับ สันตีรณจิต ที่เกิดขึ้นมารับช่วงทำงานต่อจากปัญจวิญญาณจิต พวกเวทนาสัญญาถ้าจะเกิดก็เกิดที่โวฏฐัพพนะจิต ตอนจำก็จำที่ขวนะจิต

ถ้าจะให้สรุปว่า จิตจริงๆ ทำงานอย่างไร ก็ต้องไปดูหน้าที่หรือกิจของจิตทั้งหมด

การกำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา หรือ การวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ทำที่ผัสสะ เมื่อเห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง คือ ตาเห็นรูป ยังรู้ว่ารูป แปลว่า ยังมีสัญญาเจตสิกอยู่ สัญญาตัวนี้ไม่เป็นทั้งบุญและบาป เมื่อกำหนดรู้ มีผลทำให้เวทนาไม่เกิดประกบกับจิต หรือไม่เกิดอกุศลสัญญา สิ่งที่ชวนะจิตเสพ ก็เลยไม่ใช่อกุศลสัญญา

สัญญาจะดับไม่มีส่วนเหลือ ก็ต่อเมื่อผัสสะดับ ผัสสะจะดับ ก็ต่อเมื่อรูปนามดับ หมายถึง การดับขันธ์ปรินิพพาน ถ้าขันธ์ยังอยู่ ผัสสะก็ยังอยู่ สัญญาก็ยังอยู่ พวกทำสมาธิอยู่ในฌาน ก็ยังมีผัสสะ เป็นผัสสะในมโนทวาร

ถ้าจะบอกง่ายๆ ว่า จิต คือ ใจบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ฯ ก็ต้องสรุปการทำงานของจิตง่ายๆ ว่า รับ จำ คิด รู้ เพราะเป็นงานหลัก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 12:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เพิ่มเติม

ถ้าเอามาดัดแปลง ยังไงก็ต้อง สะท้อนความหมายที่คงเดิมไว้

ถ้าดัดแปลงมาแล้วทำให้สูญเสียนัยอันสำคัญอันเป็นธรรมสำคัญคลุมเครือ เบี่ยงเบนไป ก็ต้องสะกิด

ท่านต้องรอบคอบในการนำเสนอแนวทางให้มากกว่านี้
ถึงได้บอกว่า ท่านต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น

ไม่ได้ต้องการให้ท่านท้อ และเห็นเป็นการหาความกัน
แต่เพราะ ใจท่านมันสั่งมาให้อยากจะเป็นผู้เผยแพร่ธรรมของพระพุทธองค์

ท่านก็ต้องทำให้ได้ดั่งที่ สาวกของพระพุทธองค์ ได้พึงกระทำสืบต่อกันมา
ดำรงรักษาไว้ซึ่งอรรถและความหมาย ส่งต่อให้ครบถ้วนทุกแง่ทุกกระบวนธรรมไม่ผิดเพี้ยน
ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญรอยตามอย่างแท้จริง

มิใช่แข่งกันเอาธรรมของพระพุทธองค์มาดัดแปลงนำเสนอเพื่อสนองความคิดเห็นของตน
ของกลุ่มตน ของพรรคตน ของพวกตน

อย่างน้อย เมื่อเรายังไม่ใช่ผู้ทรงปัญญา แต่ก็ให้ทำเพื่อว่าหากสักวันปรากฎผู้ทรงปัญญา
ให้ได้อ่านพระธรรมของพระพุทธองค์ สามารถแจกแจงธรรมที่สูง ธรรมที่ยากให้ปุถุชนได้เข้าถึงได้
ก็จะเป็นคุณต่อสรรพสัตว์ ณ ยุค ณ สมัยนั้น ๆ อันเป็นยุคสมัยที่กึ่งพุทธกาลล่วงเลยมาแล้ว

หากใจสั่งมา ท่านก็ควรทำให้สมบูรณ์อย่างที่อริยะนั้นเพียรกระทำสืบต่อมา

ยิ่งหากท่านคิดว่าท่านเป็นอริยะ ท่านก็ต้องยิ่งตระหนักในการสืบทอดธรรมตรง
ย่อมละวางความเห็นในส่วนของตนได้ เพื่อศึกษาธรรมในแง่ต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
และบอกต่อในธรรมที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมที่พระพุทธองค์ทรงทิ้งไว้ อย่างไม่ตกไม่หล่นในใจความสำืูคัญ
ให้สัตว์ที่เดินตามหลังมา ได้มีโอกาสสัมผัสธรรมที่พระพุทธองค์ทรงทิ้งไว้
แม้ไม่ได้ยินด้วยหู แต่ก็ได้สัมผัสในธรรมเดียวกับที่อริยะในสมัยนั้นได้ยินได้ฟัง
เป็นธรรมอันเดียวกับที่ทำให้อริยะได้ดวงตาเห็นธรรม

อริยะในทุกยุคทุกสมัย ยังเห็นคุณในพระธรรมที่สืบทอดมาขนาดนั้น

อันนี้ ตำหนิท่านจริง ๆ หากท่านคิดว่าท่านเป็นอริยะในระดับหนึ่งแล้ว
สิ่งที่ท่านทำกับพระธรรมนั้น มันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาของอริยะหรือไม่
ตรงนี้ อริยะบุคคลต้องกลับไปทบทวนดู

ธรรมเป็นของสูง ขนาดผู้ที่มีภูมิปัญญาดีแล้ว ฝึกแล้ว อบรมแล้วเช่นท่าน
ยังเผลอให้ คนเพี้ยน ๆ ที่ไม่ประสีประสา ไม่มีความรู้ทางอรรถ ทางบัญญัติธรรมแตกฉานอย่างเอกอน
มาคอยตามไล่ตรวจข้อสอบอยู่ได้
ก็ขอให้ท่านรู้ว่า นั่นเพราะท่านยังหลงเพลินอยู่ในอารมณ์
หากใจจะสั่งมา ท่านต้องทำการบ้านหนักกว่านี้

:b9: แต่เอกอนไม่ใช่ จึงเทียวปาดหน้า ปาดหลัง ปาดคอ ท่านได้อย่างอิสระ
เพราะ ใจข้าน้อยไม่ได้สั่งมา
แค่เห็นว่า ท่านควรที่จะก้าวออกมาได้แล้ว และก้าวไปในความจริงให้ไกลกว่าที่เป็นอยู่ได้แล้ว
จึงไม่ละเว้นที่จะเข้ามาปาด
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 12:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
กะเปิดหลักสูตรอภิธรรมเลยรึท่าน :b7: มันเป็นวิชาของพระอรหันต์นะ เท่าที่เรียนรู้ได้ ก็โดยหลักการณ์เท่านั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบราหุล ก็ยังรู้ว่าราหุลคือราหุลนะ ยังมีความทรงจำเดิมอยู่ครบ ยังจำได้ทะลุ ๙๑ ภัทรกัปฯ

ปฏิสนธิก็เป็นจิต ภวังค์ก็เป็นจิต ปฏิสนธิก็เป็นจิต สันตีรณก็เป็นจิต ฯ จิตพวกนี้เกิดมา ก็ม่ได้รับรู้อะไรเลย มีหน้าที่ทำงานเฉพาะ รู้ข้อมูลที่มาจากจิตดวงก่อนหน้านี้เท่านั้น

ส่วนหน้าที่ของจิต ที่ชื่อว่า วิญญาณ จริงๆ มันมีหน้าที่ capture incoming signal เท่านั้น เป็นเพียงจิตขนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ หมดหน้าที่แล้วก็ดับไป แล้วส่งข้อมูลที่ได้ไปให้กับจิตดวงที่จะเกิดต่อไป เพื่อทำงานต่อเนื่องกัน

คำว่า รู้แจ้งในอารมณ์ฯ แปลว่า รู้ว่ารูปเป็นรูป รู้ว่าเสียงเป็นเสียง ฯ เท่านั้น ไม่ได้รู้อะไรไปมากกว่านี้ เสียงนกเข้าหู ก็รู้แต่ว่าเป็นเสียง ยังไม่รู้ว่าเป็นเสียงมาจากนก

ส่วนกองความทรงจำ เป็นข้อมูลที่จิตใช้ในการสืบสันดาน เมื่อเกิดผัสสะ สัญญาเจตสิกจึงจะเกิดมาเพื่อแปลสัญญาณ ฯ ดึงเพียงข้อมูลบางส่วนมาประมวลผล หน้าที่การตีความนี้ ไม่ได้เป็นหน้าที่ของวิญญาณจิต แต่เป็นหน้าที่ของ สัมปฏิจฉันนะจิต กับ สันตีรณจิต ที่เกิดขึ้นมารับช่วงทำงานต่อจากปัญจวิญญาณจิต พวกเวทนาสัญญาถ้าจะเกิดก็เกิดที่โวฏฐัพพนะจิต ตอนจำก็จำที่ขวนะจิต

ถ้าจะให้สรุปว่า จิตจริงๆ ทำงานอย่างไร ก็ต้องไปดูหน้าที่หรือกิจของจิตทั้งหมด

การกำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา หรือ การวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ทำที่ผัสสะ เมื่อเห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง คือ ตาเห็นรูป ยังรู้ว่ารูป แปลว่า ยังมีสัญญาเจตสิกอยู่ สัญญาตัวนี้ไม่เป็นทั้งบุญและบาป เมื่อกำหนดรู้ มีผลทำให้เวทนาไม่เกิดประกบกับจิต หรือไม่เกิดอกุศลสัญญา สิ่งที่ชวนะจิตเสพ ก็เลยไม่ใช่อกุศลสัญญา

สัญญาจะดับไม่มีส่วนเหลือ ก็ต่อเมื่อผัสสะดับ ผัสสะจะดับ ก็ต่อเมื่อรูปนามดับ หมายถึง การดับขันธ์ปรินิพพาน ถ้าขันธ์ยังอยู่ ผัสสะก็ยังอยู่ สัญญาก็ยังอยู่ พวกทำสมาธิอยู่ในฌาน ก็ยังมีผัสสะ เป็นผัสสะในมโนทวาร

ถ้าจะบอกง่ายๆ ว่า จิต คือ ใจบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ฯ ก็ต้องสรุปการทำงานของจิตง่ายๆ ว่า รับ จำ คิด รู้ เพราะเป็นงานหลัก


ท่านว่ายวนอยู่ในหลักสูตรนี้มากี่ปี่ดีดักแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 13:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ส่วนกองความทรงจำ เป็นข้อมูลที่จิตใช้ในการสืบสันดาน เมื่อเกิดผัสสะ สัญญาเจตสิกจึงจะเกิดมาเพื่อแปลสัญญาณ ฯ ดึงเพียงข้อมูลบางส่วนมาประมวลผล หน้าที่การตีความนี้ ไม่ได้เป็นหน้าที่ของวิญญาณจิต แต่เป็นหน้าที่ของ สัมปฏิจฉันนะจิต กับ สันตีรณจิต ที่เกิดขึ้นมารับช่วงทำงานต่อจากปัญจวิญญาณจิต พวกเวทนาสัญญาถ้าจะเกิดก็เกิดที่โวฏฐัพพนะจิต ตอนจำก็จำที่ขวนะจิต


จำได้ว่าผู้ที่กล่าวแยกแยะ ออกมาว่าจิตมีกองความทรงจำคือ ท่าน ติ นัช ฮัท
ในหนังสือที่ท่านกล่าวถึง วัชรยาน หรือ สายไหนก็ไม่รู้ ลืม

:b6:

ถ้าอยากเห็นภาพจิตในลักษณะนั้นก็ไปอ่านดูเพิ่มเติมได้ที่นั้น
และ ก็ไม่เกี่ยวกับเรื่อง สัญญาขันธ์

:b5: :b5:

ยิ่งเห็นท่านกล่า่วถึงจิต วิญญาณในลักษณะนี้ ยิ่งเห็นเงาของทิฐิทางด้านนั้นสะท้อนอยู่ในห้วงนทีของท่าน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร