วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นท่านทั้งหลายสนทนาสิ่งที่เป็นธรรมอยู่ก็อนุโมทนาด้วยครับ
แต่การจะกล่าวธรรมอันใด ยิ่งเป็นธรรมะชั้นลึก การใช้อรรถะและพยัญชนะต้องมีความละเอียดและรอบคอบมาก ต้องพิจารณาว่าคำคำนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้หรือไม่ หรือเราไปเพิ่มไปเติมเอาเอง
การจะใช้บัญญัติก็ต้องใช้บัญญัติให้ถูกตรงตามพระศาสดาจึงจะนับว่าเป็นพุทธบริษัทอันเลิศ

ธรรมสวัสดี ครับผม

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มันมีความเข้าใจที่ผิดไปจากความเป็นจริงหลายๆ อย่างในสังคม เช่น อริยะจะรู้จักพระธรรมทั้งหมด 84000 พระธรรมขันธ์ จริงๆ มันเป็นเพียงคำอุปมา

พระอัสชิ ก็ตอบอะไรพระสารีบุตรไม่ได้เลย นอกจากตอบว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุดับแต่เหตุฯ

พระสารีบุตรตอนสังฆยนาพระไตรปิฏกครั้งที่ ๑ ก็ต้องรอพระอานนท์บรรลุอรหันต์ เพราะท่านทรงจำคำสอนไว้ได้ไม่หมด

84000 พระธรรมขันธ์ นั้นสรุปลงเรื่องทุกข์ กับการดับทุกข์ การบรรลุอริยะตั้งแต่โสดาบัน รู้แต่เรื่องทุกข์ กับการดับทุกข์ ฝึกตนจนสามารถดับทุกข์ลงไปได้เป็นลำดับ .... ถ้าไม่ได้เรียนเพิ่มเติม โสดาบันก็ตอบอะไรไม่ได้ นอกจากจะถามว่า ท่านทำอย่างไร รู้อะไร ถึงจัดการกับกองทุกข์ได้

สภาวะบางอย่างที่ยังเข้าไม่ถึง ก็ยกไว้ ถ้าอยากจะรู้ ก็ต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องของจิต ในพระอภิธรรม เป็นการอธิบายแต่ละสภาวะธรรม และจำแนกธรรมเป็นหมวดหมู่ ไม่ได้แสดงถึงวิถีจิต การทำงานของจิตแต่ละขณะ มาจากพระอนุรุทฯ ผู้เขียนอภิธรรมสังคหะ ไม่ว่าจะเป็นใครเอามาแสดง ก็มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน ถ้าจะศึกษาก็ต้องศึกษาจากอภิธรรมสังคหะ และเอาไปเทียบพระไตรปิฏก ... ไม่ใช่เอาไปเทียบกับคำเขาว่า

เรื่องของจิต มันก็มีอยู่แค่นี้ ความจริงมันเป็นอยู่อย่างนี้ ให้บอกกี่ที ก็เหมือนเดิม

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 14:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:

สภาวะบางอย่างที่ยังเข้าไม่ถึง ก็ยกไว้ ถ้าอยากจะรู้ ก็ต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องของจิต ในพระอภิธรรม เป็นการอธิบายแต่ละสภาวะธรรม และจำแนกธรรมเป็นหมวดหมู่ ไม่ได้แสดงถึงวิถีจิต การทำงานของจิตแต่ละขณะ มาจากพระอนุรุทฯ ผู้เขียนอภิธรรมสังคหะ ไม่ว่าจะเป็นใครเอามาแสดง ก็มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน ถ้าจะศึกษาก็ต้องศึกษาจากอภิธรรมสังคหะ และเอาไปเทียบพระไตรปิฏก ... ไม่ใช่เอาไปเทียบกับคำเขาว่า


ที่เปรียบเทียบอยู่ตอนนี้ คือ คำที่ท่านว่า กับ คำที่บัญญัติในพระไตรปิฏก

ใช่ ต้องยกไว้ เพราะยังไม่แจ้งแทงตลอด การเอามาบอกมาสอนมันเสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


การเรียนรู้ความจริง มันมีลักษณะพิเศษอยู่ประการหนึ่ง คือ คนที่กำลังพยายามเรียนรู้ คือผู้ที่ยังไม่รู้ความจริง และผู้ที่จะรู้ได้ว่า อะไรผิด อะไรูก คือ ผู้ที่รู้แล้วเท่านั้น

อดีต เรามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่รู้แจ้งแทงตลอดในโลก มีอะไรเราก็เข้าไปถามได้ แต่ปัจจุบัน เหลือธรรมวินัยที่ท่านให้ตั้งไว้แทนพระศาสดา

ผู้ที่ยังไม่รู้ จะไม่สามารถรู้ได้ว่า ที่ได้ยินได้ฟังมานั้น ถูก หรือ ผิด มีแต่ เชื่อ หรือ ไม่เชื่อเท่านั้น ถึงจะพบผู้ที่รู้จริงๆ ก็ไม่มีทางรู้ได้ว่า เขาผู้นั้นรู้จริงๆ หรือเปล่า แม้นภาษาเขียน ก็เป็นการสื่อสารทางเดียว ถ้าคนอ่านแปลความผิด หนังสือก็ลุกมาอธิบายไม่ได้

ในขั้นต้น ท่านก็ให้นำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังไปเทียบพระสูตรพระวินัยดูก่อน แต่ถ้ามีการเอาความเห็นไปประกอบกับการเทียบ ก็สรุปลงที่ความหลงเหมือนกัน

ถ้าเข้าใจเช่นนี้แล้ว จะรู้ว่า การแสดงธรรม การเรียนธรรม นั้น ยากขนาดใหน ทำไมความจริงจึงค่อยๆ เลือนลางหายไป พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ผู้ที่สามารถนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาสอนได้ ถือเป็นบุคคลที่หายากเป็นอันดับ ๒ รองลงมาจากการกำเนิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยเฉพาะอภิธรรม มันพาให้หลงได้ง่ายมาก โดยปกติ ถ้าศึกษาอภิธรรมแล้วมีแนวโน้มจะพาให้หลง ผมจะแนะนำให้เอาไว้ก่อน

ภาษาบาลี ที่ถูกเลือกมาเพื่อสื่อพระธรรม เพราะภาษาบาลีหรือภาษาลาติน เป็นคำที่มีรากศัพท์ ใช้สื่อความหมายโดยตรง สามารถรักษาความหมายดั้งเดิมได้ดีที่สุด ไม่ใช่ภาษาที่ต้องตีความ คำแต่ละคำประกอบมาจาก ธาตุ หรือ คำที่มีความหมายเฉพาะ การตีความจริงๆ แล้วเป็นการเอาความเห็นไปตัดสินความจริง ผลที่ออกมาก็คือ จะทำให้ไกลจากความจริงมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ทางสว่างก็ไม่ได้ปิดสนิทพร้อมกับการจากไปของพระพุทธองค์ และการจากไปของพระเถระที่ตรัสรู้ตามพระองค์ พระพุทธองค์ได้ให้แนวทางในการสังเกตุสัปปบุรุษไว้ และบอกว่า คำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระพุทธองค์ปฏิบัติแล้วอกุศลต้องดับได้โดยพลัน คือ ดับอกุศลได้ทันที่ที่ได้ทดลองปฏิบัติ ... ละอุปทานขันธ์ ๕ ให้ได้ก่อนละ ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะละขันธ์ทั้งหมดได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 16:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเช่นนั้นอรหันต์ในโลกตอนนี้มีใครบ้าง
ถ้าไม่มีช่วยไล่ลำดับลงมา สกิทาคามี อนาคามี และโสดาบัน

ทำไมถึงได้เป็น
เป็นได้ด้วยธรรมใด
และอาการที่ได้บรรลุธรรมนั้น ๆ

และใครเป็นผู้รับรอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 16:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าเพิ่งกล่าวว่าใครเป็น สัตตบุรุษเลย
มารู้ อสัตตบุรุษ ก่อนดีกว่า เพราะเอกอนก็จวน ๆ จะหลงว่าตนน่าจะเป็นสัตตบุรุษกะเขาได้
ฝันยังไปไม่ถึงไหน เจอท่อนนี้ปุ๊บ เป็นต้องรีบหดหัวกลับลงมาอยู่บนบ่าคือเดิมทันที

: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


435 ยอดของอสัตตบุรุษ

ปัญหา คนเช่นไรชื่อว่าเป็นยอดของอสัตตบุรุษ ?

พุทธดำรัสตอบ ก“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ อสัตตบุรุษคืออย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีการตั้งสติผิด มีการทำสมาธิผิด บุคคลเหล่านี้เรียกว่า อสัตตบุรุษ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ อสัตตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตตบุรุษเป็นย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีการตั้งสติผิด มีการทำสมาธิผิด และมีความหมายหลุดพ้นผิดอีกด้วย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า อสัตตบุรุษยิ่งกว่าอสัตตบุรุษ


อุปปาทสูตร ที่ ๒ มหา. สํ. (๗๔-๗๕)
ตบ. ๑๙ : ๒๔ ตท. ๑๙ : ๒๑
ตอ. K.S. ๕ : ๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 16:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อาสวักขยญาณ [ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย]

ญาณลำดับที่ ๕๕.
ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ [ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย]


ผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ
ได้แก่...
๑..อนัญญาตัญญัสสมีตินทรีย์..คือปัญญาที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ เพื่อทำลายกิเลสสังโยชน์ ๓ ที่ไม่เคยรู้ไม่เคยทำลายได้มาก่อนให้รู้แจ้ง ซึ่งเป็นการรู้แจ้งที่สามารถทำลายสังโยชน์ ๓ ได้หมดสิ้น ถึงซึ่งฐานะ ๑ คือโสดาปัตติมัคค

๒..อัญญินทรีย์..คือปัญญาที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ ที่เคยรู้มาแล้วนั้น รู้แจ้งแทงตลอดละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการรู้แจ้งแทงตลอดทำลายสังโยชน์ที่เหลือได้ตามลำดับ ถึงซึ่งฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามีมัคค สกทาคามีผล อนาคามีมัคค อนาคามีผล และอรหัตตมัคค

๓..อัญญาตาวินทรีย์..คือปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ ละเอียดหมดจดคือทำลายกิเลสสังโยชน์ ๑๐ ได้หมดสิ้น สิ้นสุดการตรัสรู้แล้ว ถึงซึ่งฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล



โดยอาการ ๖๔ ได้แก่
อินทรีย์ ๘ เจริญ ๘ รอบในพระอริยะบุคคล ๔ คู่ ๘ บุรุษ ได้ ๖๔
เจริญอินทรีย์ ๘ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

๑..โสดาปัตติมัคค ..เจริญอินทรีย์ ๘ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

๒..โสดาปัตติผล ..เจริญอินทรีย์ ๘ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

๓..สกทาคามีมัคค ..เจริญอินทรีย์ ๘ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์


http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=1067

:b8: แหล่งที่มา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 16:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

โดยอาการ ๖๔ ได้แก่
อินทรีย์ ๘ เจริญ ๘ รอบในพระอริยะบุคคล ๔ คู่ ๘ บุรุษ ได้ ๖๔
เจริญอินทรีย์ ๘ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

๑..โสดาปัตติมัคค ..เจริญอินทรีย์ ๘ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

๒..โสดาปัตติผล ..เจริญอินทรีย์ ๘ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

๓..สกทาคามีมัคค ..เจริญอินทรีย์ ๘ ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์


http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=1067

:b8: แหล่งที่มา


:b6: อินทรีย์ 8 เป็นยังไงหว๋า
อิอิ ใครพอจะให้ความกระจ่างได้บ้าง หง่ะ

เคยรู้จักแต่อินทรีีย์ห้า อินทรีย์แดงก็เคยได้ยินแต่ชื่อ ไม่เคยดู
แต่อันนี้ อินทรีย์แปด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อรหันต์ ไม่มีมากว่า ๑๔๐๐ ปีแล้ว ปัจจุบัน ก็ยังไม่มี

การบรรลุธรรมนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน บอกไปก็ไม่มีใครรู้ด้วย ถ้าได้พบจอเสวนาด้วย ก็เพราะมีกรรมเป็นปัจจัย

การบรรลุธรรม ในพระไตรปิฏกมีอธิบายตรงไปตรงมา ความเห็นเปลี่ยนไป ก็คือ การบรรลุธรรมในขั้นต้นแล้ว เป็นสัทรานุึสารี ธัมมานุสารี

สิ่งที่บ่งบอกว่า บรรลุธรรม หรือ เครื่องหมาย(นิมิต)ที่แสดงว่า บรรลุธรรม คือ สามารถดับเวทนาลงไปได้ เวทนาเกิด ๖ ทาง ดับได้ทั้ง ๖ ทาง แสดงถึงผลของการปฏิบัติที่ถูกต้อง และดับได้ทันทีที่วิปัสสนา

ในโสดาปัตติผล ไม่มีใครเปลี่ยนความเห็น ที่เห็นว่า ธรรมชาติเป็นอนจจัง ทุกขขัง อนัตตา ได้

ในสกิทาคามีมรรค ความพอใจ ไม่พอใจ และความหลง ลดลงจนเห็นได้ชัด ฯ

ความเดือนเนื้อร้อนใจ ไม่มี ความเครียด หรือ อาการแบกโลกไว้ทั้งโลก ก็ไม่มี ฯ

อ้างคำพูด:
และใครเป็นผู้รับรอง

นักว่ายน้ำ ฝึกว่ายน้ำได้จนเก่ง มีใครรับรองว่าเป็นนักว่ายน้ำล่ะ ?

ถ้าทำแบบนี้ได้

"เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่"

ก็ถือว่าเป็นอริยบุึคคล ... ทำได้มั้ย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 17:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 02:37
โพสต์: 22


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
การเรียนรู้ความจริง มันมีลักษณะพิเศษอยู่ประการหนึ่ง คือ คนที่กำลังพยายามเรียนรู้ คือผู้ที่ยังไม่รู้ความจริง และผู้ที่จะรู้ได้ว่า อะไรผิด อะไรูก คือ ผู้ที่รู้แล้วเท่านั้น

อดีต เรามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่รู้แจ้งแทงตลอดในโลก มีอะไรเราก็เข้าไปถามได้ แต่ปัจจุบัน เหลือธรรมวินัยที่ท่านให้ตั้งไว้แทนพระศาสดา

ผู้ที่ยังไม่รู้ จะไม่สามารถรู้ได้ว่า ที่ได้ยินได้ฟังมานั้น ถูก หรือ ผิด มีแต่ เชื่อ หรือ ไม่เชื่อเท่านั้น ถึงจะพบผู้ที่รู้จริงๆ ก็ไม่มีทางรู้ได้ว่า เขาผู้นั้นรู้จริงๆ หรือเปล่า แม้นภาษาเขียน ก็เป็นการสื่อสารทางเดียว ถ้าคนอ่านแปลความผิด หนังสือก็ลุกมาอธิบายไม่ได้

ในขั้นต้น ท่านก็ให้นำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังไปเทียบพระสูตรพระวินัยดูก่อน แต่ถ้ามีการเอาความเห็นไปประกอบกับการเทียบ ก็สรุปลงที่ความหลงเหมือนกัน

ถ้าเข้าใจเช่นนี้แล้ว จะรู้ว่า การแสดงธรรม การเรียนธรรม นั้น ยากขนาดใหน ทำไมความจริงจึงค่อยๆ เลือนลางหายไป พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ผู้ที่สามารถนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาสอนได้ ถือเป็นบุคคลที่หายากเป็นอันดับ ๒ รองลงมาจากการกำเนิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยเฉพาะอภิธรรม มันพาให้หลงได้ง่ายมาก โดยปกติ ถ้าศึกษาอภิธรรมแล้วมีแนวโน้มจะพาให้หลง ผมจะแนะนำให้เอาไว้ก่อน

ภาษาบาลี ที่ถูกเลือกมาเพื่อสื่อพระธรรม เพราะภาษาบาลีหรือภาษาลาติน เป็นคำที่มีรากศัพท์ ใช้สื่อความหมายโดยตรง สามารถรักษาความหมายดั้งเดิมได้ดีที่สุด ไม่ใช่ภาษาที่ต้องตีความ คำแต่ละคำประกอบมาจาก ธาตุ หรือ คำที่มีความหมายเฉพาะ การตีความจริงๆ แล้วเป็นการเอาความเห็นไปตัดสินความจริง ผลที่ออกมาก็คือ จะทำให้ไกลจากความจริงมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ทางสว่างก็ไม่ได้ปิดสนิทพร้อมกับการจากไปของพระพุทธองค์ และการจากไปของพระเถระที่ตรัสรู้ตามพระองค์ พระพุทธองค์ได้ให้แนวทางในการสังเกตุสัปปบุรุษไว้ และบอกว่า คำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระพุทธองค์ปฏิบัติแล้วอกุศลต้องดับได้โดยพลัน คือ ดับอกุศลได้ทันที่ที่ได้ทดลองปฏิบัติ ... ละอุปทานขันธ์ ๕ ให้ได้ก่อนละ ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะละขันธ์ทั้งหมดได้


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องการตีความพระพุทธวจนะ วิธีที่ดีที่สุดคือเอาพุทธวจนะมาตีความ ก็คือเอาคำพระศาสดามาอธิบายคำพระศาสดา

ส่วนเรื่องปัญหาด้านการแปล ทางที่ดีที่สุดคือการอ่านจากบาลีโดยตรง อันนี้ก็แล้วแต่ความสามารถด้านภาษาของแต่ละคนครับ

การแสดงธรรม ที่ดีที่สุดนั้นก็คือการนำพุทธวจนะมาแสดง

การตัดสินว่าเป็นพุทธวจนะหรือไม่ก็ใช้หลักมหาปเทสสี่

การพูดถึงเรื่องอภิธรรม

" ภิกษุทั้งหลาย ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลายซึ่งไม่ได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล และมิได้อบรมปัญญา ; เธอทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น พูดถึงเรื่องอภิธรรม หรือเรื่องเวทัลละอยู่ จักพลัดออกไปสู่แนวทางของมิจฉาทิฏฐิโดยไม่รู้สึกตัว. ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้เอง วินัยมีมลทินเพราะธรรมมีมลทิน ; ธรรมมีมลทินเพราะวินัยมีมลทิน นี้เป็นอนาคตภัยที่ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอทั้งหลายพึงสำนึกไว้ ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย "

การอวดอ้างมรรคผล
อุ. การอวดอ้างมรรคผล มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?
พ. ดูกรอุบาลี การอวดอ้างมรรคผลนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่าง อะไรบ้าง? คือ:
๑. ภิกษุอวดอ้างมรรคผล เพราะความรู้น้อย เพราะความงมงาย
๒. ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอวดอ้างมรรคผล
๓. อวดอ้างมรรคผล เพราะวิกลจริต เพราะจิตฟุ้งซ่าน
๔. อวดอ้างมรรคผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
๕. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง.
ดูกรอุบาลี การอวดอ้างมรรคผล ๕ อย่าง นี้แล.

การอวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริงก็มีอยู่ ที่ไม่ใช่ก็มีอยู่


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 08 มิ.ย. 2011, 18:10, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 17:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โอ้โห เห็นกันเต็มลานเลย

Supareak Mulpong เขียน:

ในโสดาปัตติผล ไม่มีใครเปลี่ยนความเห็น ที่เห็นว่า ธรรมชาติเป็นอนจจัง ทุกขขัง อนัตตา ได้

ในสกิทาคามีมรรค ความพอใจ ไม่พอใจ และความหลง ลดลงจนเห็นได้ชัด ฯ

ความเดือนเนื้อร้อนใจ ไม่มี ความเครียด หรือ อาการแบกโลกไว้ทั้งโลก ก็ไม่มี ฯ


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
และใครเป็นผู้รับรอง

นักว่ายน้ำ ฝึกว่ายน้ำได้จนเก่ง มีใครรับรองว่าเป็นนักว่ายน้ำล่ะ ?

ถ้าทำแบบนี้ได้

"เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่"

ก็ถือว่าเป็นอริยบุึคคล ... ทำได้มั้ย


โอ้โห ข้อนี้โดยเฉพาะ ทำให้นึกถึงท่าน พลศักดิ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 17:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
และใครเป็นผู้รับรอง

นักว่ายน้ำ ฝึกว่ายน้ำได้จนเก่ง มีใครรับรองว่าเป็นนักว่ายน้ำล่ะ ?

ถ้าทำแบบนี้ได้

"เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่"

ก็ถือว่าเป็นอริยบุึคคล ... ทำได้มั้ย


งั๊นท่านก็ลองวางเฉยกับการอยากที่จะมาแสดงความเห็นซะ
ดูว่าเป็นยังไง และก็ไม่ต้องเข้ามาตอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 18:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สิ่งที่บ่งบอกว่า บรรลุธรรม หรือ เครื่องหมาย(นิมิต)ที่แสดงว่า บรรลุธรรม คือ สามารถดับเวทนาลงไปได้ เวทนาเกิด ๖ ทาง ดับได้ทั้ง ๖ ทาง แสดงถึงผลของการปฏิบัติที่ถูกต้อง และดับได้ทันทีที่วิปัสสนา

ในโสดาปัตติผล ไม่มีใครเปลี่ยนความเห็น ที่เห็นว่า ธรรมชาติเป็นอนจจัง ทุกขขัง อนัตตา ได้

ในสกิทาคามีมรรค ความพอใจ ไม่พอใจ และความหลง ลดลงจนเห็นได้ชัด ฯ

ความเดือนเนื้อร้อนใจ ไม่มี ความเครียด หรือ อาการแบกโลกไว้ทั้งโลก ก็ไม่มี ฯ


เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่


อ้างคำพูด:
วิสุทธิปาละ

ก็จะเจอพระคาถาอีกบทหนึ่ง กระจายอยู่ทั่วไปในพระไตรปิฎก ซึ่งปรากฏต่อท้ายในขณะที่ท่านต่างๆเหล่านั้นบรรลุโสดาบัน และเป็นพระคาถาที่เหล่านักปฏิบัติรู้จักกันดีอีกคาถา ดังนี้ครับ

ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

viewtopic.php?f=1&t=35471&start=195

ท่านเคยเข้าไปอ่านการเรียบเรียงธรรมของสมาชิกท่านอื่น ๆ ที่เข้ามาบ้างรึเปล่า

ลองไปดูสิ่ ถ้าดูตามหลักเกณฑ์ที่ท่านว่า
ท่านที่แสดงความเห็นทางธรรมอยู่ที่กระทู้นี้ ก็คงไม่ใช่ธรรมดาเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 18:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
การเรียนรู้ความจริง มันมีลักษณะพิเศษอยู่ประการหนึ่ง คือ คนที่กำลังพยายามเรียนรู้ คือผู้ที่ยังไม่รู้ความจริง และผู้ที่จะรู้ได้ว่า อะไรผิด อะไรูก คือ ผู้ที่รู้แล้วเท่านั้น

อดีต เรามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่รู้แจ้งแทงตลอดในโลก มีอะไรเราก็เข้าไปถามได้ แต่ปัจจุบัน เหลือธรรมวินัยที่ท่านให้ตั้งไว้แทนพระศาสดา

ผู้ที่ยังไม่รู้ จะไม่สามารถรู้ได้ว่า ที่ได้ยินได้ฟังมานั้น ถูก หรือ ผิด มีแต่ เชื่อ หรือ ไม่เชื่อเท่านั้น ถึงจะพบผู้ที่รู้จริงๆ ก็ไม่มีทางรู้ได้ว่า เขาผู้นั้นรู้จริงๆ หรือเปล่า แม้นภาษาเขียน ก็เป็นการสื่อสารทางเดียว ถ้าคนอ่านแปลความผิด หนังสือก็ลุกมาอธิบายไม่ได้

ในขั้นต้น ท่านก็ให้นำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังไปเทียบพระสูตรพระวินัยดูก่อน แต่ถ้ามีการเอาความเห็นไปประกอบกับการเทียบ ก็สรุปลงที่ความหลงเหมือนกัน

ถ้าเข้าใจเช่นนี้แล้ว จะรู้ว่า การแสดงธรรม การเรียนธรรม นั้น ยากขนาดใหน ทำไมความจริงจึงค่อยๆ เลือนลางหายไป พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ผู้ที่สามารถนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาสอนได้ ถือเป็นบุคคลที่หายากเป็นอันดับ ๒ รองลงมาจากการกำเนิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยเฉพาะอภิธรรม มันพาให้หลงได้ง่ายมาก โดยปกติ ถ้าศึกษาอภิธรรมแล้วมีแนวโน้มจะพาให้หลง ผมจะแนะนำให้เอาไว้ก่อน

ภาษาบาลี ที่ถูกเลือกมาเพื่อสื่อพระธรรม เพราะภาษาบาลีหรือภาษาลาติน เป็นคำที่มีรากศัพท์ ใช้สื่อความหมายโดยตรง สามารถรักษาความหมายดั้งเดิมได้ดีที่สุด ไม่ใช่ภาษาที่ต้องตีความ คำแต่ละคำประกอบมาจาก ธาตุ หรือ คำที่มีความหมายเฉพาะ การตีความจริงๆ แล้วเป็นการเอาความเห็นไปตัดสินความจริง ผลที่ออกมาก็คือ จะทำให้ไกลจากความจริงมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ทางสว่างก็ไม่ได้ปิดสนิทพร้อมกับการจากไปของพระพุทธองค์ และการจากไปของพระเถระที่ตรัสรู้ตามพระองค์ พระพุทธองค์ได้ให้แนวทางในการสังเกตุสัปปบุรุษไว้ และบอกว่า คำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระพุทธองค์ปฏิบัติแล้วอกุศลต้องดับได้โดยพลัน คือ ดับอกุศลได้ทันที่ที่ได้ทดลองปฏิบัติ ... ละอุปทานขันธ์ ๕ ให้ได้ก่อนละ ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะละขันธ์ทั้งหมดได้


งั๊นก็เอาบทนี้ไปสอนสิ่

การละนันทิ
ภพแม้ชั่วขณะดีกนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ

ภิกษุ ท. ! คูถ แม้น้อยนิด ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็นฉันใด. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ (ผลแห่งภวตัณหา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้มีประมาณน้อยชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่จะกล่าวได้.

เอก. อํ ๒๐/๔๖/๒๐๓.
ผู้เข้าไปหาเป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น

ภิกษุ ท. ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหาเป็นผู้หลุดพ้น.

ภิกษุ ท. ! วิญญาน ซึ่ง เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญานที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้ ;

ภิกษุ ท. ! วิญญาน ซึ่ง เข้าถึงเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญานที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ :


ภิกษุ ท. ! วิญญาน ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ง เป็นวิญญานที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญานที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

ภิกษุ ท. ! ผู้ใดจักกล่าวอย่างนี้ว่า "เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาน โดย เว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาล" ดังนี้นั้น นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละ ได้แล้ว ;

เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี.


วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ;

เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง ; เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ; เมื่อไม่หวันไหวก็ปรินิพพานเฉพาะคน ;

ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้.

ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๔


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 08 มิ.ย. 2011, 18:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร