วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 11:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




DSC_2887_resize_resize.jpg
DSC_2887_resize_resize.jpg [ 54.54 KiB | เปิดดู 7330 ครั้ง ]
:b8:
เราได้ยินได้ฟัง ได้เห็น ได้อ่าน ได้ศึกษาเรื่องอริยสัจ 4 มาหลายรูปแบบแล้ว คราวนี้ลองมาสนทนากันในอีกมุมมองหนึ่งว่า อริยสัจ 4 เป็นหัวใจของการค้นพบของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงนำเรื่องนี้มาประกาศเป็นเรื่องแรกในวันปฐมเทศนา ในธรรมจักกัปปวัตนสูตร

อริยสัจ 4 เป็นต้นกำเนิดของธรรมที่เหลือทั้งหมดคืออีก 83,999 พระธรรมขันธ์ ดังคำสรุปที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า
อริยสัจ 4 เปรียบเหมือนรอยเท้าช้างซึ่งใหญ่ที่สุด รอยเท้าสัตว์เล็กสัตว์น้อยอื่นๆนั้นย่อมรวมลงได้ในรอยเท้าช้างทั้งสิ้น

อริยสัจ 4 แปลว่าความจริงของผู้ที่เจริญแล้ว ผู้ที่ทำลายศัตรูคือกิเลส ตัณหา อัตตา มานะทิฐิ ตายเกลี้ยงหมดแล้ว
ประกอบด้วย ทุกขสัจจะ ผลทุกข์ สมุทัยสัจจะ เหตุทุกข์ นิโรธสัจจะ ผลสุข คือนิพพาน และ มรรคสัจจะ เหตุสุข วิธีทำให้เหตุทุกข์ดับ ซึ่งแบ่งย่อยออกได้อีก 8 ประการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ

1.ปัญญามรรค มี 2 ข้อคือ
1.1 สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ เห็นถูกต้อง รู้ถูกต้อง คือรู้อริยสัจ 4 และรายละเอียดในอริยสัจ แต่ละข้อ สุดท้ายคือเห็นหรือ รู้ อนัตตา สัมมาทิฐิ ทำหน้าที่ ดู เห็น (สิ่งที่เป็นรูป) รู้ สิ่งที่เป็นนามธรรม

1.2.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบหรือความคิดถูกต้องคือคิดออกจากความยินดี ยินร้ายและการเบียดเบียน ทำหน้าที่ สังเกต (ไม่ใช้ความคิด) พิจารณา (ใช้ความคิด) ค้นหาความจริง ค้นหาสมุทัย แล้วส่งให้สัมมาทิฐื รู้ ทั้งยังเป็นตัวช่วยให้สัมมาสติ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์

2.ศีลมรรค มี 3 ข้อ
2.1.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ในทางปฏิบัติคือการพูดแต่เรื่องอนัตตาและวิธีที่จะทำให้เข้าถึงอนัตตาและนิพพาน

2.2สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ คือการงานที่ไม่ผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการเจริญมรรคทั้ง ๘ ทำงานค้นหาอนัตตา ปล่อยวางอัตตาจนกว่าจะเข้าถึงนิพพานได้โดยสมบูรณ์

2.3.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คืออาชีพที่ไม่ผิดและไม่สนับสนุนให้ทำผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการทำมาหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดมาทำสัมมากัมมันตะคือเจริญมรรค ๘ เพื่อให้เข้าถึงนิพพานได้โดยเร็ว

3.สมาธิมรรค มี 3 ข้อ คือ
3.1.สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ แบ่งออกอีกเป็น 4 ข้อย่อย เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปทาน 4 คือ
1.บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
2.บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
3.กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
.4.กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค 4 มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด

3.2.สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือการเจริญสติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นเลยทีเดียว ในทางปฏิบัติความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์นับเป็นสัมมาสติ

3.3..สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ คือความที่จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง อยู่กับงานพิสูจน์ อนัตตา หรือการเจริญมรรคทั้ง 8 จนสามารถทำให้จิตนิ่งได้ถึงระดับฌาน 4 หรือ
สังขารุเปกขาญาณ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัดนี้ ท่านอนัตตธรรม กำลังทำอะไรอยู่????

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2011, 04:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b8:
เราได้ยินได้ฟัง ได้เห็น ได้อ่าน ได้ศึกษาเรื่องอริยสัจ 4 มาหลายรูปแบบแล้ว คราวนี้ลองมาสนทนากันในอีกมุมมองหนึ่งว่า อริยสัจ 4 เป็นหัวใจของการค้นพบของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงนำเรื่องนี้มาประกาศเป็นเรื่องแรกในวันปฐมเทศนา ในธรรมจักกัปปวัตนสูตร

คุณอนันตาธรรมครับ อยากถามว่า เหล่าปัจวัคคี ก่อนบรลุธรรมของพระพุทธเจ้า
ท่านเหล่านี้ มีศีลธรรมและมีสติสมาธิมั้ยครับ ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นพราหมณ์ท่านก็ปฏิบัติ
ศีลธรรมและสมาธิของท่านมา แต่สิ่งที่ปัจจ์วัคคีปฏิบัติยังเป็นมิจฉา
จวบจนได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้โสดาบัน นั้นคือท่านมองธรรมชาติตามความเป็นจริง
สิ่งนี้เรียกว่า สัมมาทิฐิ เมื่อท่านมีสัมมาทิฐิแล้ว จึงคิดตามด้วยเหตุและผลตามความเป็นจริง
เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ ปัจจวัคคีเอาธรรมสองตัวนี้กลับไปพิจารณาธรรม
ในส่วนศีลและสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิของท่าน จนเป็นสัมศีลและสัมมาสมาธิมา

ดังนั้นพูดตามหลักง่ายๆก็คือ ปุถุชนที่ยังไม่บรรลุโสดาบัน
แนวทางปฏิบัติ ก็คือทาน ศีลและภาวนา
ซึ่งว่ากันตามจริงแล้ว ทั้งสามสิ่งนี้ยังไม่ใช่มรรคที่แท้จริง
ขั้นตอนของมรรคจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยผลของการภาวนา

หลักการที่เราถกกันในเรื่องสัมมาทิฐิ มันอยู่ตรงนี้ครับ
มันเกิดจากการสับสนเรื่องการปฏิบัติของคนแต่ละสถานะ


ปล. คุณอนันตาครับ ทางเว็บเขาให้เหตุผลในการล็อกและลบกระทู้ของคุณหรือยังครับ
คืออยากรู้ครับ พวกเราจะได้ปฏิบัติตัวถูก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2011, 04:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b8:
1.ปัญญามรรค มี 2 ข้อคือ
1.1 สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ เห็นถูกต้อง รู้ถูกต้อง คือรู้อริยสัจ 4 และรายละเอียดในอริยสัจ แต่ละข้อ สุดท้ายคือเห็นหรือ รู้ อนัตตา สัมมาทิฐิ ทำหน้าที่ ดู เห็น (สิ่งที่เป็นรูป) รู้ สิ่งที่เป็นนามธรรม

สัมมาทิฐิเป็นสภาวะเป็นกฎแห่งธรรมชาติ ปราศจากการปรุงแต่งใดๆ
มันเป็นนามอิสระล้วนๆ ไม่ได้ขึ้นตรงต่ออายตนะใดๆ
ความเห็นของคุณอนันตาธรรม มันเป็นเรื่องของใจที่เป็นอายตนะเป็นรูป
ดังนั้นสิ่งที่เกิดตามมามันเป็นการปรุงแต่ง

การดู เห็น(สิ่งที่เป็นรูป) ที่คุณอนันตาบอก มันไม่ใช่หน้าที่ของสัมมาทิฐิครับ
การดูเห็นรูป เป็นหน้าที่ของอายตนะภายในที่เรียกว่า ตา
สัมมาทิฐิมีหน้าที่เป็นหลักในการพิจารณาผัสสะที่ได้รับครับ
อีกอย่างครับ สิ่งที่มีหน้าที่รู้นามธรรมคือมโนวิญญาณครับ

สรุปก็คือสิ่งที่คุณกล่าวมา มันเป็นเรื่องการทำงานของใจ
มโนวิญญาณ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การทำงานของสมอง
คิดปรุงแต่งไปเอง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดหรือมีอยู่จริง
อนัตตาธรรม เขียน:
:b8:
1.2.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบหรือความคิดถูกต้องคือคิดออกจากความยินดี ยินร้ายและการเบียดเบียน ทำหน้าที่ สังเกต (ไม่ใช้ความคิด) พิจารณา (ใช้ความคิด) ค้นหาความจริง ค้นหาสมุทัย แล้วส่งให้สัมมาทิฐื รู้ ทั้งยังเป็นตัวช่วยให้สัมมาสติ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์

อันที่จริงแล้วต้องเรียกว่า การพิจารณาธรรม ความหมายก็คือการ เอาธรรมที่มีอยู่ก่อนหน้าคือ
สัมมาทิฐิ มาพิจารณาร่วมกับธรรมอื่นๆ มันไม่ใช่การค้นหาความจริง
เพียงแต่ใช้ความจริงนำหน้าธรรมต่างๆ

พอจะกล่าวก็คือ สัมมาสังกัปปะหรือดำริชอบ คือการพิจารณาธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
ให้อยู่ในหลักหรือกรอบแห่งสัมมาทิฐิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2011, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:

2.ศีลมรรค มี 3 ข้อ
2.1.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ในทางปฏิบัติคือการพูดแต่เรื่องอนัตตาและวิธีที่จะทำให้เข้าถึงอนัตตาและนิพพาน

หลักการของสัมมาปฏิบัติ เราต้องยึดทางสายกลางครับ คือไม่ดีเกินไปและไม่ชั่วเกินไป
และต้องใช้จิตเป็นหลักครับ ไม่ใช่ใช้การกระทำเป็นหลัก การดูการกระทำเขาใช้ศีลขัอห้าม
เป็นเครื่องกำหนดครับ
หลักของสัมมาวาจา คือการพูดอย่างไรให้เป็นเหตุเป็นผล ในสิ่งที่พูดครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
:b8:
2.2สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ คือการงานที่ไม่ผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการเจริญมรรคทั้ง ๘ ทำงานค้นหาอนัตตา ปล่อยวางอัตตาจนกว่าจะเข้าถึงนิพพานได้โดยสมบูรณ์

สัมมากัมมันตะ เป็นความประพฤติชอบ ทำอะไรสมควรแก่เหตุและผล
ไม่ใช่การยึดเอาศีลห้าเป็นหลัก ต้องรู้จักโอนอ่อนตามเหตุการณ์และสถานะ
ตัวอย่างเช่น ปลวกขึ้นบ้าน ก็ไม่กล้าทำอะไรกับปลวก เพราะกลัวผิดศีล
ปล่อยให้ปลวกกินบ้านจนหมด
หรือเลี้ยงไก่ไข่ไว้มีตัวหนึ่งเป็นโรคระบาด ก็ไม่กล้ากำจัดไก่ที่เป็นโรคกลัวผิดศีล
ผลที่ตามมาไก่ตายอีกเป็นร้อย
อนัตตาธรรม เขียน:
:b8:
2.3.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คืออาชีพที่ไม่ผิดและไม่สนับสนุนให้ทำผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการทำมาหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดมาทำสัมมากัมมันตะคือเจริญมรรค ๘ เพื่อให้เข้าถึงนิพพานได้โดยเร็ว

สัมมาอาชีวะแปลว่า การเลี้ยงชีพชอบ ไม่ได้หมายถึงการประกอบอาชีพแต่อย่างเดียว
อย่างพระก็สามารถมีสัมมาอาชีวะได้นะครับทั้งๆที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ความหมายที่แท้จริงของสัมมาอาชีพ คือการเลี้ยงชีพหรือการให้ร่างกายอยู่ได้อย่างปกติสุข
โดยไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่นและตัวเองให้เดือดร้อนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2011, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
3.สมาธิมรรค มี 3 ข้อ คือ
3.1.สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ แบ่งออกอีกเป็น 4 ข้อย่อย เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปทาน 4 คือ
1.บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
2.บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
3.กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
.4.กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค 4 มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด

คุณอนัตตาครับ สิ่งที่คุณกล่าวมันไม่ใช่สัมมาวายามะ หรือเพียรชอบครับ
มันเป็นแค่ความเพียรเฉยๆ เป็นเรื่องของปุถุชนเรื่องทานเรื่องศีล
ความหมายของสัมมาวายามะ ก็คือมั่นเจริญสติให้อยู่กับปัจจุบันครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
3.สมาธิมรรค มี 3 ข้อ คือ
3.2.สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือการเจริญสติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นเลยทีเดียว ในทางปฏิบัติความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์นับเป็นสัมมาสติ

ตามความหมายจริงๆแล้ว สัมมาสติไม่ใช่การรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ สัมมาสติคือการดับผัสสะ
เพื่อทันต่อการรับผัสสะตัวต่อไป แบบนี้เรียกว่า เจริญสติให้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ครับ
ส่วนหน้าที่รู้ปัจจุบันอารมณ์คือ วิญญาณขันธ์
อนัตตาธรรม เขียน:
3.สมาธิมรรค มี 3 ข้อ คือ
3.3..สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ คือความที่จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง อยู่กับงานพิสูจน์ อนัตตา หรือการเจริญมรรคทั้ง 8 จนสามารถทำให้จิตนิ่งได้ถึงระดับฌาน 4 หรือ
สังขารุเปกขาญาณ

สัมมาสมาธิคือการ มีสติคอยนำทางให้จิตอยู่กับปัจจุบัน ความหมายก็คือ
ใช้สติดับผัสสะที่รับรู้แล้ว เพื่อให้จิตอยู่กับผัสสะตัวใหม่

คุณอนัตตาครับ ผมว่าคุณมีปัญหาเรื่องการใช้ธรรมของตัวบุคคลนะครับ
คุณลองเอาความเห็นที่ผมเสนอแนะไปพิจารณาดูทีครับ
ผมว่าลองคิดดูสักนิดก็ไม่เสียหลาย เกี่ยวกับเรื่อง ธรรมของอริยะกับธรรมของปุถุชนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: สวัสดีท่านเช่นนั้นและคุณโฮฮับ ผมหายไป 2 - 3 วัน ครับ 9 - 21 นี้ก็จะหายไปอีกสักพักเพื่อไปแสดงอริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา โพธิปักขิยธรรม 37 ประการสู่พี่น้องภาคตะวันออกครับ
:b27:
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกระทู้ คือการได้ฟังอธิบายเรื่องอริยสัจ 4 หลายๆสำนวน หลายๆความเห็น
บัดนี้สำนวนที่ 2 คืออริยสัจ 4 ในความเห็นของคุณโฮฮับ ก็ได้ถูกแสดงขึ้นมาเปรียบเทียบกับสำนวนของ อนัตตาธรรมแล้ว

เชิญสาธุชนทุกท่านศึกษา พิจารณาแลตัดสินเอาด้วยวิจารณญาณของทุกๆท่านนะครับ

มีสิ่งหนึ่งที่คุณโฮ....ยังพูดในลักษณะปิดกั้นและสำคัญผิด พิจารณาจากข้อความของคุณโฮ..ที่ยกมาต่อไปนี้

ปุถุชนที่ยังไม่บรรลุโสดาบัน
แนวทางปฏิบัติ ก็คือทาน ศีลและภาวนา

อนัตตาธรรม.........

แล้วถ้ายกขึ้นไปอีกนิด เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ก็คงปฏิบัติได้เฉพาะผู้บรรลุโสดาบันแล้วหรือเปล่าเพราะมีเรื่องปัญญามาเกี่ยวข้อง

มรรคทั้ง 8 ข้อ หรือสัมมาทั้ง 8 เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้เฉพาะอริยบุคคลเท่านั้น จริงหรือ

คุณโฮ..สำคัญผิด หรือเข้าใจอะไรผิดไปบ้างหรือเปล่าครับ

เจริญธรรมภาคปฏิบัติกันมากๆทุกๆท่านนะครับ สาธู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 04:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b8มีสิ่งหนึ่งที่คุณโฮ....ยังพูดในลักษณะปิดกั้นและสำคัญผิด พิจารณาจากข้อความของคุณโฮ..ที่ยกมาต่อไปนี้
ปุถุชนที่ยังไม่บรรลุโสดาบัน
แนวทางปฏิบัติ ก็คือทาน ศีลและภาวนา

อนัตตาธรรม.........

แล้วถ้ายกขึ้นไปอีกนิด เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ก็คงปฏิบัติได้เฉพาะผู้บรรลุโสดาบันแล้วหรือเปล่าเพราะมีเรื่องปัญญามาเกี่ยวข้อง

มรรคทั้ง 8 ข้อ หรือสัมมาทั้ง 8 เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้เฉพาะอริยบุคคลเท่านั้น จริงหรือ

คุณโฮ..สำคัญผิด หรือเข้าใจอะไรผิดไปบ้างหรือเปล่าครับ

เจริญธรรมภาคปฏิบัติกันมากๆทุกๆท่านนะครับ สาธู[/b]

คุณอนันตาธรรมครับ ผมแปลกใจอยู่อย่างครับ ท่านมาแนะนำให้คนอื่นปฏิบัติให้มากๆ
แต่ทำไมผมดูความเห็นที่คุณอธิบาย มันกลับตรงกันข้ามล่ะครับ คำอธิบายความมันเหมือน
ทอดออกมาจากตำราล้วนๆ

ถ้าคนที่ปฏิบัติจริงๆ มันน่าจะรู้ ทำไมถึงแยกธรรมออกเป็นสัมมากับมิจฉา
สัมมาก็คือการเห็นธรรมตามความเป็นจริง ส่วนมิจฉาคือเห็นธรรมผิดจากความเป็นจริง

ที่คุณบอกว่าปุถุชนปฏิบัติในเรื่องของมรรคได้ขอถามหน่อยครับ
ปุถุชนเคยเห็นสภาวะความเป็นจริงของธรรมมั้ยครับ
ปุถุชนเข้าใจแล้วหรือครับว่า ตัวสัมมาที่แท้จริงเป็นอย่างไร การพิจารณาธรรมใดเป็นสัมมา
มันต้องเป็นการที่ใจเราเอง ปัญญาเราเองเป็นผู้พิจารณา ไม่ใช่ไปทำตามตำรา
ที่บอกให้สัมมาก็สัมมาทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่าสัมมาเป็นอย่างไร

การปฏิบัติของปุถุชนในเรื่องทานศีลภาวณา เป็นการปฏิบัติเพื่อ
ไปเอาตัวปัญาที่เรียกว่าสัมมาทิฐิ พูดง่ายๆก็คือ ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ
เกิดจากขั้นตอนในการภาวณาในส่วนของปุถุชน

หรืออาจแยกได้ว่า ทาน ศีลและภาวนาเป็นส่วนของการปฏิบัติเพื่อไปสู่ โสดาปฏิมรรค
ต่อเมื่อได้สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะแล้ว เขาเรียกว่า ได้โสดาปฏิมรรคแล้ว
เมื่อได้ปัญญาในส่วนของมรรคมาแล้ว ก็สามารถพิจารณาได้ว่า ลักษณะของ
สัมมาศีลเป็นอย่างไร สัมมาสมาธิเป็นอย่างไร ลักษณะนี้เรียกว่า
การละสังโยชน์สามเบื้องต้น เป็นการได้ โสดาปฏิผลแล้วครับ

ความหมายของผู้มีดวงตาเห็นธรรม ไม่ใช่ผู้ที่ท่องจำพระไตรปิฏกได้นะครับ
ผู้ที่จะมีดวงตาเห็นธรรมได้นั้น แค่ปฏิบัติในเรื่องทาน ศีลและภาวนา
ต่อเมื่อได้สัมมาปัญญามาแล้ว ต่อให้ใครยกธรรมตัวไหนมาพูดเราก็สามารถเข้าใจ
และอธิบายได้ ทั้งๆที่ไม่เคยอ่านธรรมบทนั้นมาก่อนเลยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b16: โฮฮับ......
คุณอนัตตาธรรมครับ ผมแปลกใจอยู่อย่างครับ ท่านมาแนะนำให้คนอื่นปฏิบัติให้มากๆแต่ทำไมผมดูความเห็นที่คุณอธิบาย มันกลับตรงกันข้ามล่ะครับ คำอธิบายความมันเหมือนทอดออกมาจากตำราล้วนๆ

อนัตตาธรรม.............
คุณโฮ.....สงสัยจะไม่เข้าใจจริงๆว่าธรรมมะจากการปฏิบัติจริง เขาจะพูด และคุยกันเรื่องเรื่องสภาวะที่ประสบพบเห็นจริงๆ บ่อยๆ มากๆ กว่าการยกปริยัติในพระไตรปิฏก อรรถกถาจารย์ อาจารย์ กลุ่ม สาย วิธีต่างๆ มาแสดงแข่งขัน คะคานเอาชนะกันด้วยบัญญัติและความเชี่ยวชาญในการอ้างบัญญัติ

แต่ถ้าคุณโฮ....ย้อนหลังไปค้นอ่านดูกระทู้ต่างๆที่อนัตตาธรรมนำมาพูดคุย จะเห็นได้ว่าอนัตตาธรรมมีวัตถุประสงค์ที่จะโน้มน้าวและดึงผู้คนมามาสัมผัสปรมัตถธรรมด้วยการปฏิบัติจริงๆ พิสูจน์ความจริง ด้วยการทำแบบฝึกหัดจริงๆ ดังเช่นตัวอย่างในกระทู้ "มาปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในชีวิตประจำวันกันเถอะ"
ที่พลอยถูกลบลงหลุมไป เพราะมีผู้มาแสดงทิฐิทับถมกันด้วยอารมณ์ที่แสดงออกทางตัวหนังสือค่อนข้างรุนแรงมากมายจนผู้อ่านทนไม่ได้

มีกระทู้อื่นๆอีกเยอะเลยครับ สมัยที่ผู้ดูแลลานธรรมจักรท่านใจกว้างมากๆ ปล่อยให้คนมาทะเลาะกันแรงๆในกระทู้ต่างๆได้ตั้งนาน ผมก็มีกระทู้หลายกระทู้ที่เสนอธรรมมะเชิงปฏิบัติ แล้วมีผู้มาโต้วาทะกัน สนทนากัน สนุก มีผู้ติดตามอ่าน นับ สี่ห้าพันคน ลองไปค้นอ่านดูนะครับ


โฮฮับ.........
ถ้าคนที่ปฏิบัติจริงๆ มันน่าจะรู้ ทำไมถึงแยกธรรมออกเป็นสัมมากับมิจฉา
สัมมาก็คือการเห็นธรรมตามความเป็นจริง ส่วนมิจฉาคือเห็นธรรมผิดจากความเป็นจริง

อนัตตาธรรม.............

เรื่องนี้ พูดเน้นตลอด เรื่อง สัมมา กับ มิจฉาทิฐิ ซึ่งเป็นงานหลักสำคัญของชาววพุทธทุกคนและเป็นงานที่เป็นเนื้อหาของอริยสัจ 4 เลยทีเดียว

คุณโฮ...เคยได้เห็นคำพูด 2 ท่อนนี้หรือยังละครับ แล้วลองพิจารณาดูซิว่า พูดอย่างนี้ พูดออกมาด้วยความรู้ปริยัติมาก หรือ ปฏิบัติจริงมา[color=#004000]มาก

งานและหน้าที่ของชาวพุทธ
ละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา
ตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่าเป็นอนัตตา
บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู
ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้
และมีโอกาส

หัวใจวิปัสสนาภาวนา
ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา
ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ มิยอมถอย ถ้าสู้ได้
ทนได้ ไม่ตะบอย กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ[/color]

โฮฮับ....
ที่คุณบอกว่าปุถุชนปฏิบัติในเรื่องของมรรคได้ขอถามหน่อยครับ
ปุถุชนเคยเห็นสภาวะความเป็นจริงของธรรมมั้ยครับ
ปุถุชนเข้าใจแล้วหรือครับว่า ตัวสัมมาที่แท้จริงเป็นอย่างไร การพิจารณาธรรมใดเป็นสัมมา
มันต้องเป็นการที่ใจเราเอง ปัญญาเราเองเป็นผู้พิจารณา ไม่ใช่ไปทำตามตำรา
ที่บอกให้สัมมาก็สัมมาทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่าสัมมาเป็นอย่างไร

อนัตตาธรรม.....
พุทโธ่ เอ๋ย คุณโฮ...ครับ

ความจริงของธรรมปุถุชนและคนทั้งโลกเข้ารู้เห็นกันเป็นประจำ คุณคิดความหมายของธรรมเป็นเรื่องพ้นวิสัยมนุษย์จะรู้ได้หรือเปล่า

ก็ความทุกข์ สุข ดีใจ เสียใจ ร้องให้ หัวเราะ เจ็บ ปวด เผ็ด เปรี้ยว หวาน หมัน เค็ม ชอบใจ ไม่ชอบใจ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ร้อน หนาว เย็น อุ่น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เหล่านี้ไม่ใช่ธรรมหรือครับ ไม่ใช่ความจริงหรือครับ ชาวบ้านเขาไม่รู้กันเหรอครับ ส่วนธรรมเพื่อความหลุดพ้นนั้นแน่นอนต้องมาศึกษาหาความรู้และวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องไปให้ได้เสียก่อน เพื่อจะได้ปฏิบัติไม่ผิด จึงจะได้รับผลมีสัมมาทิฐิเต็ม 100 % ได้ในที่สุด

ปุถุชนอย่างผมนี่เข้าใจคำว่าสัมมาทิฐิและมิจฉาทิฐิโดยทางทฤษฎีได้แล้วเมื่อศึกษาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ตอนนี้กำลังนำทฤษฎีไปสู่กากรปฏิบัติ เพื่อทำให้เกิดสัมมาทิฐิโดย ภาวนามยปัญญาหรือการปฏิบัติจริงอยู่

สัมมาทิฐิของผมเมื่อเริ่มต้นมี ศูนย์ % แต่เมื่อศึกษาและปฏิบัติไปด้วยถึงวันนี้ผมคิดว่า สัมมาทิฐิของผมน่าจะมีเกือบหรือถึง 25 % แล้ว

คุณโฮ...ล่ะครับ มีสัมมาทิฐิเกิดขึ้นกี่ %แล้วครับ วิเคราะห็ตัวเองเป็นไหมครับ และรู้ไหมว่าอะไรจะเป็นเครื่องมือวัดสอบระดับ % ของสัมมาทิฐิ นจิตใจของมนุษญ์แต่ละคน

ถ้าไม่รู้ ก็คุยกันไปนานๆนะครับ

สุดท้ายคุณโฮไปอ่านตำราเล่มไหนมาที่บอกว่าผมไปลอกเขามาทั้งดุ้นกรุณาลิ้งค์มาให้ดูหน่อยนะครับ

เจริญธรรมมะภาคปฏิบัติกันเยอะๆทุกๆท่านเทอญ
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b16: โฮฮับ.........
ถ้าคนที่ปฏิบัติจริงๆ มันน่าจะรู้ ทำไมถึงแยกธรรมออกเป็นสัมมากับมิจฉา
สัมมาก็คือการเห็นธรรมตามความเป็นจริง ส่วนมิจฉาคือเห็นธรรมผิดจากความเป็นจริง

อนัตตาธรรม.............
เรื่องนี้ พูดเน้นตลอด เรื่อง สัมมา กับ มิจฉาทิฐิ ซึ่งเป็นงานหลักสำคัญของชาววพุทธทุกคนและเป็นงานที่เป็นเนื้อหาของอริยสัจ 4 เลยทีเดียว

คุณโฮ...เคยได้เห็นคำพูด 2 ท่อนนี้หรือยังละครับ แล้วลองพิจารณาดูซิว่า พูดอย่างนี้ พูดออกมาด้วยความรู้ปริยัติมาก หรือ ปฏิบัติจริงมา[color=#004000]มาก

งานและหน้าที่ของชาวพุทธ
ละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา
ตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่าเป็นอนัตตา
บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู
ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้
และมีโอกาส

หัวใจวิปัสสนาภาวนา
ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา
ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ มิยอมถอย ถ้าสู้ได้
ทนได้ ไม่ตะบอย กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ[/color]

ข้อความที่คุณถามผมว่าเป็นปริยัติหรือปฏิบัติ ผมก็ไม่รู้จะตอบอย่างไรดี
แต่เอาเป็นว่ามันไม่ใช่บอกวิธีการปฏิบัติของตัวเองก็แล้วกัน
ผมดูๆแล้วมันเป็นเพียงสำนวนโวหารเท่านั้นเองครับ ผู้ใดฟังแล้วยังต้องมาตีความอีก
การพูดจาลักษณะนี้ เป็นเป็นแค่การยกระดับสถานะตัวเอง ให้คนอื่นดูว่าตัวเองเป็นผู้รอบรู้
มันไม่ได้เป็นการพูดที่ตรงจุดตรงประเด็นเลยสักนิด อาจทำให้ผู้ฟังสับสนกับสำนวนที่ใช้ก็ได้
ถ้าคำพูดนี้เป็นของครูบาอาจารย์ท่านไหนผมก็ขออภัยครับ ผมพูดไปตามเนื้อผ้าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:โฮฮับ....
ที่คุณบอกว่าปุถุชนปฏิบัติในเรื่องของมรรคได้ขอถามหน่อยครับ
ปุถุชนเคยเห็นสภาวะความเป็นจริงของธรรมมั้ยครับ
ปุถุชนเข้าใจแล้วหรือครับว่า ตัวสัมมาที่แท้จริงเป็นอย่างไร การพิจารณาธรรมใดเป็นสัมมา
มันต้องเป็นการที่ใจเราเอง ปัญญาเราเองเป็นผู้พิจารณา ไม่ใช่ไปทำตามตำรา
ที่บอกให้สัมมาก็สัมมาทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่าสัมมาเป็นอย่างไร
[color=#800000][b]อนัตตาธรรม.....
พุทโธ่ เอ๋ย คุณโฮ...ครับ
ความจริงของธรรมปุถุชนและคนทั้งโลกเข้ารู้เห็นกันเป็นประจำ คุณคิดความหมายของธรรมเป็นเรื่องพ้นวิสัยมนุษย์จะรู้ได้หรือเปล่า

ก็ความทุกข์ สุข ดีใจ เสียใจ ร้องให้ หัวเราะ เจ็บ ปวด เผ็ด เปรี้ยว หวาน หมัน เค็ม ชอบใจ ไม่ชอบใจ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ร้อน หนาว เย็น อุ่น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เหล่านี้ไม่ใช่ธรรมหรือครับ ไม่ใช่ความจริงหรือครับ ชาวบ้านเขาไม่รู้กันเหรอครับ ส่วนธรรมเพื่อความหลุดพ้นนั้นแน่นอนต้องมาศึกษาหาความรู้และวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องไปให้ได้เสียก่อน เพื่อจะได้ปฏิบัติไม่ผิด จึงจะได้รับผลมีสัมมาทิฐิเต็ม 100 % ได้ในที่สุด

ปุถุชนอย่างผมนี่เข้าใจคำว่าสัมมาทิฐิและมิจฉาทิฐิโดยทางทฤษฎีได้แล้วเมื่อศึกษาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ตอนนี้กำลังนำทฤษฎีไปสู่กากรปฏิบัติ เพื่อทำให้เกิดสัมมาทิฐิโดย ภาวนามยปัญญาหรือการปฏิบัติจริงอยู่

คุณจำไม่ได้หรือว่า เราถกกันในตอนต้นคุณบอกว่า ปุถุชนปฎิบัติโดยเอาสัมมาทิฐินำหน้าได้
แล้วตอนนี้ทำไมบอกว่าต้องปฏิบัติให้เกิดสัมมาทิฐิแล้วล่ะครับ
ไอ้ที่คุณจารนัยมา ใช่ครับมันเป็นธรรม แต่มันไม่ใช่ธรรมที่เป็นสัมมา มันเป็นมิจฉา
แล้วที่คุณบอกชาวบ้านเขารู้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป การพูดแบบนี้ของคุณแสดงว่า
สิ่งที่คุณบอกสรรพคุณตัวเองว่ามีปัญญา อันนี้มันแย้งกันเองครับ
คำพูดของคุณมันฟ้องครับว่า คุณไม่มีปัญญาจริง เพราะสิ่งที่พูดมันใช่ปัญญาสัมมาเสียที่ไหนครับ
แล้วจะบอกให้ครับ สัมมาทิฐิไม่มีเปอร์เซ็นหรือปริมาณหรอกครับ
จะได้ก็ได้มาทั้งหมดที่เดียว ไม่ได้ก็ไม่ได้ ไม่มีได้นิดได้หน่อยหรอกครับ
ไอ้ที่เป็นปริมาณหรือเปร์เซ็นมันเป็นเรื่องของการปฏิบัติครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
:สัมมาทิฐิของผมเมื่อเริ่มต้นมี ศูนย์ % แต่เมื่อศึกษาและปฏิบัติไปด้วยถึงวันนี้ผมคิดว่า สัมมาทิฐิของผมน่าจะมีเกือบหรือถึง 25 % แล้ว

นี่ล่ะครับที่ตลก มันปัญญาอะไรของคุณครับ มีด้วยหรือได้มา25เปอร์เซ็น
ปัญญามันเป็นสภาวะธรรมเดียว รู้แล้วก็รู้เลย มันไม่มีการแบ่งขายเหมือน
ขายปลีกในร้านโชห่วยหรอกครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
:ที่คุณโฮ...ล่ะครับ มีสัมมาทิฐิเกิดขึ้นกี่ %แล้วครับ วิเคราะห็ตัวเองเป็นไหมครับ และรู้ไหมว่าอะไรจะเป็นเครื่องมือวัดสอบระดับ % ของสัมมาทิฐิ นจิตใจของมนุษญ์แต่ละคน
ถ้าไม่รู้ ก็คุยกันไปนานๆนะครับ

ใจเย็นครับ ไม่ต้องแดกดันครับ ที่ถามว่าผมได้สัมมาทิฐิกี่เปอร์เซ็น ผมไม่รู้หรอกครับ
แต่ถ้าถามผมว่ามีสัมมาทิฐิมั้ย มีหรือไม่คุณก็ดูการอธิบายความของผมก็แล้วกันครับ
แต่บอกให้อย่างครับ คนที่ไม่มีสัมมาทิฐิ อธิบายให้ฟังอย่างไรก็ไม่เข้าใจหรอกครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
:สุดท้ายคุณโฮไปอ่านตำราเล่มไหนมาที่บอกว่าผมไปลอกเขามาทั้งดุ้นกรุณาลิ้งค์มาให้ดูหน่อยนะครับ

ลอกไม่ลอกผมไม่รู้ครับ ผมดูจากการอธิบายความหัวข้อกระทู้ของคุณแล้ว มันเหมือน
การสอนธรรมะเบื้องต้นในตำราทั่วๆไปครับ แต่ก็มีที่ไม่ลอกเหมือนกันครับ
เอ่!หรือว่าลอกมาผิดก็ไม่รู้ครับ ตัวอย่างเช่น
"
อนัตตาธรรม เขียน:
:2.ศีลมรรค มี 3 ข้อ
2.1.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ในทางปฏิบัติคือการพูดแต่เรื่องอนัตตาและวิธีที่จะทำให้เข้าถึงอนัตตาและนิพพาน

2.2สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ คือการงานที่ไม่ผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการเจริญมรรคทั้ง ๘ ทำงานค้นหาอนัตตา ปล่อยวางอัตตาจนกว่าจะเข้าถึงนิพพานได้โดยสมบูรณ์

2.3.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คืออาชีพที่ไม่ผิดและไม่สนับสนุนให้ทำผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการทำมาหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดมาทำสัมมากัมมันตะคือเจริญมรรค ๘ เพื่อให้เข้าถึงนิพพานได้โดยเร็ว

คุณอนันตาธรรมครับ นี่แค่บางส่วน คุณลองไปดูสิครับว่า
มันใช่สัมมาศีลหรือครับ ถ้ายังยืนยันว่าใช่ก็แย้งมาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: อนุโมทนาสาธุกับคุณโฮ.....ที่มีเมตตาและวิริยะอุตสาหะ มาสนทนาธรรมในแง่มุมที่แปลกออกไป

วันนี้ได้ข้อความท่อนท้ายที่คุณโฮ..ให้ข้อสังเกตไว้เรื่อง สัมมาศีล หรือศีลมรรค 3 ข้อ ว่าที่ผมนำเสนอไว้นั้นใช่หรือ

เลยอยากขอความกรุณาคุณโฮ แสดงศีลมรรค 3 ข้อ ที่เป็นสัมมาจริงๆนั้นท่านอธิบายไว้อย่างไร หรือว่าต้องบรรลุธรรมเสียก่อนจึงจะรู้จักสัมมาศีลที่แท้จริง เพราะเท่าๆที่ฟังคุณโฮดู คนที่จะเกิดสัมมาทั้ง 8 ข้อได้ต้องเป็นอริยบุคคลเท่านั้น กัลยาณชนคนธรรมดาสามัญไม่มีทางจะเกิดหรือเพาะสร้างสัมมาทั้ง 8 ให้เกิดขึ้นในใจได้

แล้วเรื่องชาวบ้านรู้จักธรรมพื้นฐานทั้งหลายนั้น เป็นสัมมาเบื้องต้น ต่อเมื่อรู้ เข้าถึง และใจยอมรับว่า
สัพเพสังขารา อนิจจา
สัพเพสังขารา ทุกขา
สัพเพธัมมา อนัตนัตตา
เมื่อนั้น สัมมาจึงจะเต็มร้อย

ของคุณโฮ...นี้ดูเหมือนว่า คนธรรมดาจะยังไม่มีสัมมากันเลยสักนิด กระติ๊ดหนึ่งก็ไม่มี ต่อเมื่อบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล (ไม่ทราบว่าชั้นไหน) สัมมาจึงจะเต็มบริบูรณ์ ไม่ทราบผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า

คือที่ผมพยายามอธิบ่ายเรื่องสัมมานั้น ว่าเขาจะค่อยเกิดๆเพิ่มขึ้น ๆ จนเมื่อถึงอรหัตมรรค จึงจะเต็ม 100 %

ส่วนที่คุณโฮ...อธิบาย สัมมาจะเกิดก็ต้องเกิดเต็มเลย ถ้ายังไม่เกิดก็ไม่มีสัมมา อย่างนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 04:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
วันนี้ได้ข้อความท่อนท้ายที่คุณโฮ..ให้ข้อสังเกตไว้เรื่อง สัมมาศีล หรือศีลมรรค 3 ข้อ ว่าที่ผมนำเสนอไว้นั้นใช่หรือ

เรื่องของสัมมาศีลกับเรื่องของศีล มันเป็นคนละเรื่องกันครับ
เรื่องของศีลปุถุชนเป็นข้อห้ามไม่ให้ทำชั่ว แต่สัมมาศีลเป็นศีลที่ควรปฏิบัติ
โดยคำนึงถึงเหตุและผลเป็นหลัก
สัมมาศีล คือการกระทำที่ไม่ยึดหลักดีและชั่ว แต่เป็นการกระทำที่เป็นกลางๆ
แล้วอะไรที่เป็นกลาง ก็คือเป็นกลางระหว่างความดีและชั่วของปุถุชน
บางครั้งมีการกระทำที่เราต้องเลือก เช่น ทำดีแต่ผิดศีล ถ้าเป็นปุถุชนก็จะไม่พิจารณา
จะยึดเอาอย่างเดียวว่า ฉันไม่ทำเพราะมันผิดศีล แต่ถ้าเป็นผู้มีสัมมาแล้วล่ะก็จะมีเหตุผล
โดยการชั่งน้ำหนักดูว่า อย่างไหนสมควรทำหรือไม่สมควรทำมากกว่ากัน

การปฏิบัติสัมมาศีล เราต้องมีปัญญของสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ มาคอยกำกับ
การกระทำของเรา การกระทำที่ได้จึงเรียกสัมมาศีล
แต่ในปุถุชนจะคอยปฏิบัติตามแต่ในสิ่งที่ตัวจำมา ให้ทำก็ทำ ห้ามก็ไม่ทำ
เมื่อเจอเหตุที่ต้องให้เลือกก็ไม่มีปัญญาที่จะพิจารณา ส่วนใหญ่ก็จะเลือกไม่ทำเพราะผิดศึล
กลัวบาปกลัวกรรม
คนที่ปฏิบัติในเรื่องศีลเรื่องพระวินัยอย่างเคร่งตรัด มันเป็นเรื่องการยึดมั่นถือมั่นในตัวศีล
มันเป็นสังโยชน์ ในเรื่องของศีลพตปรามาส
อนัตตาธรรม เขียน:
เลยอยากขอความกรุณาคุณโฮ แสดงศีลมรรค 3 ข้อ ที่เป็นสัมมาจริงๆนั้นท่านอธิบายไว้อย่างไร

คุณอนันตาธรรมครับ เรื่องที่ถามว่า ศีลที่เป็นสัมมาเป็นอย่างไร
ผมก็บอกได้ดังนี้ครับ การปฏิบัติหรือการมองว่าอย่างไรจึงเป็นสัมมาศีลนั้น
ผู้ที่ปฏิบัติต้องใช้ปัญญาหรือสัมมาทิฐิของตัวเองครับ มันเป็นเรื่องปัจจัตตัง
การให้ผู้ที่มีสัมมาปัญญาอธิบายความในเรื่องของสัมมาศีล
ผู้ฟังที่ยังไม่มีสัมมาปัญญาก็จะมีความรู้สึกเหมือนท่องตำรา
เอาเป็นว่าผมแค่วิจารณ์ในเรื่องของศีลที่คุณเข้าใจว่ามันเป็นสัมมาศีล
ให้ฟังก่อน
อนัตตาธรรม เขียน:
:b8:
2.ศีลมรรค มี 3 ข้อ
2.1.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ในทางปฏิบัติคือการพูดแต่เรื่องอนัตตาและวิธีที่จะทำให้เข้าถึงอนัตตาและนิพพาน

ที่คุณอนันตายกมา มันใช่เรื่องสัมมาวาจาที่ไหนกันครับ สิ่งที่คุณยกมามันเป็นเรื่องของศีลห้า
มันเป็นรายละเอียดของศีลในข้อมุสา มันเป็นคนละเรื่องกับสัมมาวาจา
สัมมาวาจาไม่คำนึงในสิ่งที่คุณกล่าวมาหรอกครับ สัมมาวาจาดูที่ผลสุดท้ายที่ออกมาครับ
ว่าอะไรเป็นประโยชน์สุงสุด ในระหว่างการทำกับไม่ทำในสิ่งที่คุณว่ามา เคยได้ยินมั้ยครับ
เรื่องพูดโกหกให้คนอื่นสบายใจ
อนัตตาธรรม เขียน:
2.2สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ คือการงานที่ไม่ผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการเจริญมรรคทั้ง ๘ ทำงานค้นหาอนัตตา ปล่อยวางอัตตาจนกว่าจะเข้าถึงนิพพานได้โดยสมบูรณ์

ไอ้สัมมากัมมันตะมีความหมายว่า ประพฤติชอบนะครับ ไม่ใช่ทำงานชอบ
การงานชอบเขาจัดให้อยู่ในส่วนของสัมมาอาชีวะ แล้วยิ่งกล่าวว่าการงานที่ไม่ผิดศีลข้อห้า
มันยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ สมมุติครับถ้าเรามีลูก และลูกเราเป็นไข้หนัก เราไม่มีเงินซื้อยา
ขอยืมใครก็ไม่ได้ ไปขอยาร้านยามาใช้ก่อนเขาก็ไม่ให้ ถ้ามีโอกาสให้โขมยได้
คุณจะโขมยมั้ย เลือกเอาระหว่างชีวิตลูกกับเรื่องผิดศีล
อนัตตาธรรม เขียน:
.3.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คืออาชีพที่ไม่ผิดและไม่สนับสนุนให้ทำผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการทำมาหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดมาทำสัมมากัมมันตะคือเจริญมรรค ๘ เพื่อให้เข้าถึงนิพพานได้โดยเร็ว

เรื่องสัมมาอาชีวะ มันไม่เฉพาะการประกอบอาชีพครับ ความหมายก็คือการยังชีพ
คนไม่ได้ประกอบอาชีพก็มีในส่วนนี้ครับ เช่นพระหรือนักศึกษาฯลฯ
ความหมายของสัมมาอาชีวะ คือการยังชีพหรือประกอบอาชีพ เพื่อดำรงอยู่พอแก่ฐาณานุรูป
สิ่งที่เอามายังชีพ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
ที่ว่ามากเกินไปก็คือ โลภพยายามทำเพื่อให้ได้มาจนเกินพอ หรือที่พูดว่า ตายไปก็เอาไปไม่ได้
ที่ว่าน้อยไป ส่วนใหญ๋พวกนี้จะยึดมั่นเอาศีลเป็นใหญ่ การกินการอยู่จึงไม่สมดุลย์กับร่างกาย
ทำให้ร่างกายทรุดโทรม

สรุปในส่วนนี้ก็คือ สิ่งที่คุณยกมาในเรื่องของสัมมาศีล มันเป็นคนละเรื่องครับ
มิหน่ำซ้ำมันยังเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับสัมมาศีลอย่างสิ้นเชิง เพราะที่คุณกล่าวมาทั้งหมด
มันเป็นสังโยชน์ในเรื่อง ศีลพตปรามาสครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
แล้วเรื่องชาวบ้านรู้จักธรรมพื้นฐานทั้งหลายนั้น เป็นสัมมาเบื้องต้น ต่อเมื่อรู้ เข้าถึง และใจยอมรับว่า
สัพเพสังขารา อนิจจา
สัพเพสังขารา ทุกขา
สัพเพธัมมา อนัตนัตตา
เมื่อนั้น สัมมาจึงจะเต็มร้อย

ยิ่งพูดคุณก็ยิ่งเอาสำนวนมาให้มัน รกประเด็นครับ
ตัวสัมมาไม่มีเบื้องต้น เบื้องปลาย มันเป็นลักษณะเฉพาะ

ที่คุณบอกว่า " สัพเพสังขารา อนิจจา ทุกขาและอนันตา"อย่างนี้เขาเรียกสภาวะไตรลักษณ์
มันเป็นคนละส่วนกับสัมมามรรค หรือจะกล่าวว่า สภาวะไตรลักษณ์เป็นเครื่องมือในการพิจารณา
ในการกระทำเพื่อให้อยู่ในกรอบแห่งสัมมามรรค

แล้วเรื่องเต็มร้อยไม่เต็มร้อย มันก็คนละเรื่อง ไม่รู้เอามาพูดให้ตัวเองสับสนทำไม
เรื่องการวัดระดับมันเป็นเรื่องของการ ศีกษาทฤษฎี การเรียนมาแค่ไหนก็ระดับหนึ่ง
มันเป็นเรื่องของทางโลก มันไม่เกี่ยวกับปัญญาสัมมา
เอาแบบคุณว่า ผมถามหน่อยครับ พวกมหาเปรียญ9นี่อยู่ในระดับไหนครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
แล้วของคุณโฮ...นี้ดูเหมือนว่า คนธรรมดาจะยังไม่มีสัมมากันเลยสักนิด กระติ๊ดหนึ่งก็ไม่มี ต่อเมื่อบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล (ไม่ทราบว่าชั้นไหน) สัมมาจึงจะเต็มบริบูรณ์ ไม่ทราบผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า

สัมมามรรค ต้องอาศัยสภาวะแห่งไตรลักษณ์เป็นกรอบครับ
หรือจะกล่าวว่า สภาวะไตรลักษณ์เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด สัมมามรรคทั้งแปดครับ
คนธรรมดามีสภาวะไตรลักษณ์หรือยังครับ อย่าบอกนะว่าคนธรรมดารู้ดีว่าไตรลักษณ์เป็นอย่างไร
รู้จากตัวหนังสือกับรู้จากของจริงมันคนละเรื่อง

สาเหตุที่คุณเอาคำว่าเต็มบริบูรณ์หรือเปอร์เซ็นมาพูด เพราะคุณเข้าใจผิดไปเอา
เรื่องการอ่านการจำได้หมายรู้มาเป็นหลัก อ่านได้แค่ไหนจำได้แค่ไหนก็เลยเหมาเอาว่า
ได้ปัญญาเท่านั้นเท่านี้ นี้มันเป็นการจัดระดับของท่างโลก
โลกียะกับโลกุตตระมันต่างกันที่ โลกียะรู้แล้วพอกพูนส่วนโลกุตตระรู้แล้วลดละให้น้อยลงครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
คือที่ผมพยายามอธิบ่ายเรื่องสัมมานั้น ว่าเขาจะค่อยเกิดๆเพิ่มขึ้น ๆ จนเมื่อถึงอรหัตมรรค จึงจะเต็ม 100 %

คุณรู้หรือเปล่าว่า สัมมาปัญญาของพระโสดาบันกับอรหันต์เป็นตัวเดียวกัน

แต่จะแตกต่างกันในลักษณะของการนำไปใช้ครับ อาจเรียกว่าระดับอย่างที่คุณกล่าวก็ได้
แต่มันก็เป็นระดับในแง่ของการปฏิบัติ ไม่ใช่ระดับของปัญญา เพราะมันเป็นตัวเดียวกัน

ที่ว่าต่างกันก็คือพระโสดาบันใช้ปัญญาทำความเข้าใจกับธรรมของพระพุทธเจ้า
ส่วนพระอริยะที่สูงขึ้นไป ใช้ปัญญานำในการปฏิบัติเพื่อลดสังโยชน์ต่างๆครับ

อนัตตาธรรม เขียน:
ส่วนที่คุณโฮ...อธิบาย สัมมาจะเกิดก็ต้องเกิดเต็มเลย ถ้ายังไม่เกิดก็ไม่มีสัมมา อย่างนี้[/b]

ที่ผมบอกว่าเกิดเต็มหรือเกิดเลยก็คือ สัมมาปัญญา ถ้ามีสัมมาปัญญาแล้วก็จะมีสัมมาศีลและสัมมาสมาธิตามมาจนครบองค์แปด แต่ต้องเข้าใจนะครับว่า นี้เป็นระดับโสดาบันมรรคแปดที่เกิด
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ถ้าเรื่องการปฏิบัติในเรื่องอริยมรรคเป็นเรื่องของพระสกิทาคาขึ้นไปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 10:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

:b8: อนุโมทนาคร๊าบบบบบ

ท่านผู้เจริญในธรรม

สาธุ สาธุ สาธุ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร