วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 00:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๘
ข้าพเจ้าได้กล่าวถึง"ทุกข์"อันเกิดจากเหตุที่สำคัญ นอกเหนือจาก "ชาติ,ชรา, มรณ, โสกะ,ปริเทวะ,โทมนัสส,อุปายาส, อัปปิเยหิสัมปโยค, ปิเยหิวิปปโยค, ยัมปิจฉังนลภติตัมปิ, โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) นั่นก็คือ "ระลึก(นึกถึง), ดำริ(การคิด)"
มนุษย์เมื่อประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ แล้ว ล้วนมีความคิด(ดำริ) มีการระลึก(นึกถึง) เป็นธรรมชาติ ซึ่งก็ย่อมเป็นที่แน่นอนว่า มนุษย์ล้วนคิด และนึกถึง ชาติ,ชรา, มรณ, โสกะ,ปริเทวะ,โทมนัสส,อุปายาส, อัปปิเยหิสัมปโยค, ปิเยหิวิปปโยค, ยัมปิจฉังนลภติตัมปิ, โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ " เป็นเรื่องธรรมดา เพราะมนุษย์ต้องปฏิสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับสังคมสิ่งแวดล้อมนับตั้งแต่ครอบครัวไปสู่ชุมชน ,เมือง ฯลฯ
จากสภาพการสังคมความเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ล้วนย่อมต้องเสาะแสวงหา ปัจจัยในการดำรงชีวิต นั่นก็คือ " เครื่องนุ่งห่ม,อาหาร,ยารักษาโรค,และที่อยู่อาศัย " จากการที่มนุษย๋ต้องแสวงหาปัจจัยในการดำรงชีวิตจึงทำให้เกิด "อาชีพต่างๆเกิดขึ้น" หรือจะเรียกอีกอย่างว่า "สรรพอาชีพ" และในสรรพอาชีพต่างๆเหล่านั้น ก็ล้วนย่อมมี การประพฤติ ในอาชีพต่างๆเหล่านั้น ในทุกรูปแบบ ดังนั้น "สรรพอาชีพ" และ "ประพฤติ" จึงเป็น ทุกข์ อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งล้วนย่อมต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับการคิด(ดำริ) และการนึกถึง(ระลึก) อีกทั้งยังเป็นต้นเหตุแห่ง "ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ
๑) กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม
๒) ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ
๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต
๔) อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน
ซึ่งความยึดมั่น ถือมั่นทั้ง ๔ อย่างนั้น ก็ล้วนเกิดมาจาก การยึดมั่นใน
๑.รูป คือ รูปูปาทานขันธ์
๒.เวทนา คือ เวทนูปาทานขันธ์
๓.สัญญา คือ สัญญูปาทานขันธ์
๔. สังขาร คือสังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณ คือ วิญญาณูปาทาน
(คัดความย่อความจากพระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน ฯ และ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก)
นอกเหนือจาก " สรรพอาชีพ,ประพฤติ" อันเป็นต้นตอแห่งทุกข์ อีกรูปแบบหนึ่งแล้ว ก็ยังมี
"กตัญญู (รู้คุณ),การเจรจา ติดต่อสื่อสาร" อันเป็นผลแห่ง ขันธ์๕ เป็นมรรค คือเป็นหนทางแห่งทุกข์ อีกอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์เกิดทุกข์ ก็เพราะ ความรู้คุณ ในสรรพสิ่งทั้งหลาย จนเกิดเป็นความรู้ ความจำ ทำให้เกิดระลึกดำริ จนเกิดความเศร้าหมองในรูปแบบต่างๆกัน อีกทั้งในการสังคมเป็นอยุ่ร่วมกันของมนุษย์ย่อมต้องมีการเจรจาติดต่อสื่อสาร ซึ่งกันและกัน และย่อมเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะความคิด เพราะการนึกถึงไปในทางที่ไม่เข้าใจกัน ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
ทุกข์ อันเกิดจากขันธ์ ๕ อีกข้อหนึ่ง ก็คือ
การครองเรือน,ทาน(การให้) เป็นสาเหตุที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้เกิด ความคิด, การนึกถึง,อาชีพต่างๆ,ประพฤติ,รู้คุณ,เจรจาติดต่อสื่อสาร เพราะการครองเรือน นั้นหากหมายเอาเฉพาะความเป็นมนุษย์ย่อมหมายถึง บทบาท ของแต่ละบุคคล ในแต่สถานที่ ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งในแต่ละบทบาทของมนุษย์นั้น ย่อมมีการทาน หรือ การให้ที่แตกต่างกันออกไป การให้หรือทาน ย่อมทำให้เกิดทุกข์ได้
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษา ได้คิดพิจารณา เกี่ยวกับเรื่องของทุกข์ และเกิดความเข้าใจกับบ้างแล้ว ต่อไปข้าพเจ้าก็จะอรรถาธิบายในเรื่อง ของ "สมุทัย อริยสัจ" อันปรากฏมีในพระไตรปิฎก ในตอนต่อไป
จบตอนที่ ๘
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๔


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร