วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 07:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 22:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เอาตรงเวทนาไม่ทัน....

ก็มาเอาตรงไม่ให้มี..ตัณหา..ก็ได้...

บางทีความถนัดแต่ละคนไม่เหมือนกัน...ก็เอาที่ตรงเราถนัดนั้นแหละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เอาตรงเวทนาไม่ทัน....

ก็มาเอาตรงไม่ให้มี..ตัณหา..ก็ได้...

บางทีความถนัดแต่ละคนไม่เหมือนกัน...ก็เอาที่ตรงเราถนัดนั้นแหละ
ถ้าเลยเป็นเวทนาไปแล้ว ตัณหาอุปทานจะเกิดตามมาทันที ชวนะจิตจะเสพบาปอกุศล ๗ ชวนะ ต่อการเกิดดับของรูป ๑ รูป ในวินาทีหนึ่งๆ รูปเกิดดับได้นับล้านๆ รูป แปลว่า การหลงในรูปทำให้เกิดเวทนาแม้ชั่วอึดใจ ทุกข์หรือบาปอกุศลจะเกิดขึ้นกับเราได้มากมายมหาศาลนับไม่ได้ ... การดับตัณหา ก็ต้องไปดับที่เหตุ คือดับเวทนา ดับเวทนาก็ต้องดับที่ผัสสะ หรือ ทุกข์เกิดที่ใหนเราดับมันที่นั่น

การวิปัสสนาจึงต้องกำหนดรู้ทุกข์ คือ รู้ว่า การหลงในรูป จะทำให้เกิดเป็นเวทนา มีผลเป็นทุกขอริยสัจ ที่มันเกิดเป็นเวทนา เพราะเรารู้ไม่เท่าทันผัสสะอารมณ์ เราต้องละความไม่รู้หรือละความหลง เพราะมันเป็นเหตุของทุกข์ เราต้องพยายามวิปัสสนาให้ทัน เวทนาจึงจะไม่เกิด เราจึงต้องฝึกหัดดับเวทนาให้ทัน หรือ ต้องทำให้แจ้ง และต้องขยันวิปัสสนาเป็นประจำ หรือ ทำให้มรรคเกิด

แต่ถ้ามันไม่ทันจริงๆ เลยจากผัสสะอารมณ์ไปเป็นเวทนาตัณหาฯ ไปแล้ว ก็ช่างมัน เพราะกรรมมันสำเร็จไปแล้ว แก้ไม่ได้แล้ว แค่กำหนดให้รู้ว่ามันเป็นทุกข์ แล้วก็หันไปวิปัสสนาอารมณ์ปัจจุบัน

การฝึกวิปัสสนาใหม่ๆ มันจะไม่ชิน วิปัสสนาไม่ทันเป็นประจำทำให้เวทนายังเกิดขึ้นมาได้ ปัจจัยของเวทนาที่เกิดได้ง่าย เพราะมันเป็นนิสัย หรือ เป็นความเคยชินที่ละเอียด ถึงแม้เวทนาจะเกิด แต่เราวิปัสสนาดับเวทนาตามก็ยังได้ เช่น เสียงด่าเข้าหู แทนที่จะโกรธเป็นพืนเป็นไฟ พอเสียงเข้าหูเริ่มเกิดความไม่พอใจ เราวิปัสสนาตามทันที ความไม่พอใจของเราจะไม่พัฒนาเป็นความโกรธ หรือ เราดับทุกข์ได้ตรงนั้น

ในระยะแรกๆ หรือ ขณะโสดาปัตติมรรค ภายนอก เราจะดูเหมือนคนที่โกรธง่ายหายเร็ว ที่สำคัญคือ เวทนามันจะหายไปแบบไม่กลับมาเกิดอีกเพราะอารมณ์เดิม ต่อเมื่อเราฝึกวิปัสสนาไปได้สักระยะหนึ่ง เวทนาจะเกิดได้ยากขึ้น หรือ เกิดได้ชั่วระยะเวลาสั้นๆ เพราะเราจะเริ่มวิปัสสนาได้เป็นนิสัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 00:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ห่วงโซ่แห่งปฏิจจสมุปบาท....ตัดที่ข้อไหน...ก็ดับปัจจยาการได้เหมือนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 00:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะตัณหาดับ...อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ...ภพจึงดับ

เพราะภพดับ...ชาติ..ชรา..มรณะ..โสกะ ฯลฯ..จึงดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กองทุกข์ทั้งปวง เกิดจากธรรม ๓ ประการมาประชุมกัน คือ อายตนะ ผัสสะ และเวทนา จึงเกิดเป็นตัณหา อุปทาน

ที่อายตนะภายใน ยังไม่ประกอบด้วยทุกข์ ยังไม่มีการปรุงแต่ง หลังจากเกิดการปรุงแต่งไปแล้ว เกิดเวทนาแล้ว ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว จะไปทำอะไรหลังจากนี้ ก็ไม่เป็นผล อย่างไรก็มีผลออกมาเป็นอวิชชา เรียกว่า อวิชชาเก่ามาล่อให้เกิดอวิชชาใหม่

เพราะตัณหาเป็นผลของอุึปทาน ดับตัณหาที่เหตุ ต้องดับเวทนา

ก่อนที่จะเกิดเป็นเวทนา มันเกิดเป็นผัสสะอารมณ์ ซึ่งผัสสะอารมณ์ยังไม่มีการปรุงแต่งใดๆ ความคิดปรุงแต่งเป็นเจตนา เป็นเพียงความเห็น เกิดจากความไม่รู้ ที่มันใหลไปทางคิดปรุงแต่ง เพราะความเคยชิน (ปกตูปนิสสยปัจจัย) เมื่อเรากำหนดเจตนาใหม่ เป็น โลกุตระเจตนา แทนที่จะปรุงแต่งด้วยความพอใจไม่พอใจ ก็ปรุงแต่งด้วยความจริง จะเกิดเป็นสังขารที่เป็นโลกุตระขึ้นมาได้ เพราะจริงๆ แล้ว เราไปหยุดกระบวนการทำงานปกติของจิตก็ไม่ได้ วิปัสสนาก็คือ การเอาความจริงไปดับความเห็น เอาความรู้ไปดับความไม่รู้ หรือเอาวิชชาไปดับอวิชชา

ผลของการวิปัสสนา ก็คือ จิตถูกปรุงแต่งด้วยความจริง หรือ วิชชา เมื่อพิจารณาผัสสะอารมณ์ว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จิตจะเก็บโลกุตระสัญญาไว้ คือเกิด อนิจสัญญา ทุกขสัญญา อนันตสัญญา สัญญาทั้ง ๓ นี้ จะเป็นฐานคิดของเราต่อไปถ้าสะสมไว้มากพอ เมื่อมีมากจนส่งอิทธิพลต่อกระบวนการคิดของเรา หมายถึง สัมมาทิฐิเรามั่นคง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 10:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


จิต เป็น สัจจะอยู่แล้ว เป็น ปรมัตถ์อยู่แล้ว

จะเอาสัจจะใด ๆ ไปยัดเยียดใส่ให้จิตอีก

ไอ้ที่ว่ามานั้น มันไหลไปในเจตสิกทั้งนั้น
หลง ก็คือ โมหะ ก็คือ รู้หลง ก็คือ อวิชา


:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาก็เป็นเจตสิก อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เป็นเจตสิก สัญญาที่เป็นโลกียะ เป็นโกกุตระก็เป็นเจตสิก สังขารที่เป็นโลกกียะ สังขารที่เป็นโลกกุตระก็เป็นเจตสิก จะเอาวิธีพิสดารที่ใหนไปอบรมจิตละแม่พราหมณี

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 10:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่ปราศจากนิวรณ์

:b30: :b30: :b30:

รู้จักมั๊ย ว่าเป็นยังไง จิตที่ปราศจากนิวรณ์ หน่ะ

Quote Tipitaka:
๒๑. การอบรมจิตของบุถุชนผู้มิได้สดับ และอริยสาวกผู้ได้สดับ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองได้เพราะอุปกิเลส๑ ที่จรมา บุถุชนผู้มิได้สดับเรื่องนั้น ย่อมไม่รู้ตามความจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า การอบรมจิตของบุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่มี"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล หลุดพ้นได้จากอุปกิเลสที่จรมา อริยสาวกผู้ได้สดับเรื่องนั้น ย่อมรู้ตามความจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า การอบรมจิตของอริยสาวกผู้ได้สดับมีอยู่."


เดียรถีย์ผู้มิได้สดับย่อมไม่รู้จักวิธีอบรมจิต
แต่อริยะสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ได้สดับย่อมรู้วิธีอบรมจิต

:b30: :b30: :b30:


Quote Tipitaka:
๑๐. อุปกิเลสสูตร

ว่าด้วยเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง

[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส (เครื่องมัวหมอง) แห่ง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่างนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่

สว่างไสวไพโรจน์ อุปกิเลสแห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่างคืออะไรบ้าง

คือ เมฆ ๑ หมอก ๑ ควันและผงคลี ๑ อสุรินทราหู ๑ นี้แล อุปกิเลส

แห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่าง ซึ่งเป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่

สว่างไสวไพโรจน์ ภิกษุทั้งหลาย ฉันเดียวกันนั้นแล อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ก็มี ๔ ประการ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ทั้งหลายไม่งามสง่า สุกใส

รุ่งเรื่อง อุปกิเลสของสมณพราหมณ์ ๔ ประการ คืออะไรบ้าง คือ

มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นจากการดื่ม

สุราเมรัย การดื่มสุราเมรัยเป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๑ ซึ่งเป็นเหตุ

ให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง

มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าเสพเมถุนธรรม ไม่งดเว้นจากเมถุน-

ธรรม การเสพเมถุนธรรมนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๒ ซึ่งเป็นเหตุ

ให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง.

มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่ายินดีทองและเงิน ไม่งดเว้นจากการ

รับทองและเงิน ความยินดีรับทองและเงินนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์

ข้อ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง

มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาอาชีวะ ไม่งดเว้น

จากมิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาอาชีวะนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์

ข้อ ๔ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ ๔ ประการ ซึ่ง

เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง.

สมณพราหมณ์บางเหล่าผู้มีราคะโท-

สะปกคลุมแล้ว เป็นคนอันอวิชชาปกปิด

แล้ว เพลินยินดีในปิยรูป (สิ่งที่รัก) ดื่ม

สุราเมรัย บางเหล่าเสพเมถุน บางเหล่า

โฉดเขลา ยินดีเงินและทอง บางเหล่า

เลี้ยงชีพโดยมิจฉาอาชีวะ.

บาปธรรมเหล่านั้น พระพุทธเจ้า

เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสว่าเป็นอุปกิเลส

ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์เหล่านั้น ปรา-

กฏว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ มีราคีไม่งามสง่าสุกใส.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นอันความมืด

(คืออวิชชา) หุ้มห่อแล้ว ตกเป็นทาสตัณหา

ถูกตัณหาจูงไป บำรุงเลี้ยงอัตภาพร้ายเข้า

ไว้ ต้องไปเกิดอีก.

จบอุปกิเลสสูตรที่ ๑๐


"สมณพราหมณ์บางเหล่าดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นจากการดื่ม สุราเมรัย"
ทางสำนักท่าน สอนว่าอย่างไร ถือปฏิบัติอย่างไร ในเรื่องการดื่มสุราเมรัย หง่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ข้ามไปได้ด้วยปัญญา วิปัสสนาไม่ต้องสนใจนิวรณ์ เพราะนิวรณ์ทั้งหมดมีมูลฐานจากจิตที่เป็นอกุศล คือ มี โลภะ โทสะ โมหะ ประกอบ วิปัสสนาดับโลภะ โทสะ โมหะ ที่เกิดร่วมกับปัจจุบันอารมณ์ได้ทันที เพราะฉะนั้น เมื่อวิปัสสนาอย่างต่อเนื่อง นิวรณ์ทั้งหมด ก็จะลดกำลังลงไปได้โดยปริยาย

วิปัสสนานั่นแหละ คือการอบรมจิต

ในขณะโสดาปัตติมรรค วันหนึ่งเราตื่น ๑๖ ชั่วโมง ถ้าเราวิปัสสนาได้วันละ ๓ ขั่วโมง จิตเราจะเป็นอกุศลวันละ ๑๓ ชั่วโมง ถ้าเราวิปัสสนาได้วันละ ๑๐ ชั่วโมง อกุศลที่จะเกิดกับเราจะเหลือ ๖ ชั่วโมง ช่วงที่จิตเป็นกุศล นิวรณ์จะไม่เกิด

ศีล ๕ ข้อ โสดาบันรักษาให้บริสุทธิ์ได้ข้อเดียว คืแ ข้อ ๕ ไม่กินเหล้า เพราะศีลทั้งหมด ๕ ข้อ เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ๔ ข้อ ข้อสุดท้ายเป็นการเบียดเบียนตนเอง เป็นความผิดอย่างหยาบอย่างเดียว ไม่ยกเหล้าเข้าปากก็ไม่ผิดแล้ว ข้ออื่น ยังมีอย่างกลาง อย่างละเอียด รักษาให้บริสุทธิ์นั้นยาก เพราะโสดาบันยังประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ครบถ้วน ดับลงไปได้แต่ความเห็นผิดเท่านั้น

การกินเหล้า ถ้าถึงกับเมา สภาวะจิตของผู้นั้น จะเท่ากับเดรัจฉาน ไม่มีโสภณจิตเกิดขึ้นได้เลย เป็นบาปอกุศลที่มีกำลังแรงมาก ผู้ที่กำลังวิปัสสนาจากโสดาปัตติมรรคกำลังจะขึ้นโสดาปัตติผล ถ้าเผลอไปกินเหล้าจนเมา บุญที่ได้จากการวิปัสสนาแทบจะเรียกได้ว่า โดนบาปกดทับจนสิ้นกำลัง ต้องมาเริ่มวิปัสสนาเหมือนนับหนึ่งใหม่ ซึ่งผู้ปฏิบัติ สามารถที่จะรู้เองได้ด้วย เพราะจากคนที่โกรธยาก จะกลับไปโกรธง่าย หงุดหงิดง่ายเหมือนเดิม

ต่อเมื่อตั้งอยู่ที่โสดาปัตติผลแล้ว ก็ยังมีโสดาบันบุคคลกลับไปกินเหล้า แต่มีส่วนน้อย เป็นพวกเข้าเกียร์ว่าง ไม่วิปัสสนาต่อ โสดาบันบุคคลที่ยังมุ่งนิพพาน ก็ยังวิปัสสนาต่อด้วยความเพียร อุปสรรคใดๆ ที่ขวางมรรคผลนิพพาน เราก็จะเลี่ยงด้วยปัญญา

โสดาบันยังไม่สิ้นโสกกะปริวาทะฯ ถ้าจะเดินต่อให้ถึงปลายทางโดยใช้ระยะเวลาไม่มาก ก็ต้องวิปัสสนาต่อด้วยความเพียร

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 18:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โอ้...มีอะไรเยอะแยะไปหมดเลยนิ.. :b12:

Supareak Mulpong เขียน:
กองทุกข์ทั้งปวง เกิดจากธรรม ๓ ประการมาประชุมกัน คือ อายตนะ ผัสสะ และเวทนา จึงเกิดเป็นตัณหา อุปทาน
ที่อายตนะภายใน ยังไม่ประกอบด้วยทุกข์ ยังไม่มีการปรุงแต่ง หลังจากเกิดการปรุงแต่งไปแล้ว เกิดเวทนาแล้ว ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว จะไปทำอะไรหลังจากนี้ ก็ไม่เป็นผล อย่างไรก็มีผลออกมาเป็นอวิชชา เรียกว่า อวิชชาเก่ามาล่อให้เกิดอวิชชาใหม่


เมื่อตนยังไม่เคย...ก็ลองฟังคนอื่นดูก่อน... :b9: :b9:

ท่านซุปฯ เคยดูมั้ยว่า..
1. เมื่อผัสสะเกิด...แล้วปรุ่งแต่ง....จนเกิดเวทนา...ท่านซุปฯ เคยเห็นความมีระหว่างของสิ่งเหล่านี้มั้ย??
และ...

2. เมื่อเกิดเวทนา....ตัณหาอุปาทานก็เกิดขึ้นอัตโนมัติ..เลยหรือ???....มีระหว่างมั้ย??

เมื่อท่านซุปฯตอบมาก็จะได้สนทนาได้ถูก :b1: :b1:

อ้างคำพูด:
เพราะตัณหาเป็นผลของอุึปทาน ดับตัณหาที่เหตุ ต้องดับเวทนา


เวทนามี...ตัณหาจึงมี
ตัณหามี..อุปาทานจึงมี
อุปาทานมี...ภพจึงมี

ไม่มีหรอก...ตัณหาเป็นผลของอุปาทาน

แต่..อุปาทาน..มีผลย้อนไปที่ความคิดปรุง..แล้วเกิดเวทนา...ขึ้นมาอีกได้

เอาแค่ ข้อ 1 กะ ข้อ 2 ก่อนจะดีกว่าเน๊าะ :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผสฺสปจฺจยา เวทนา -> ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา -> เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ -> ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

เกิดร่วมกันในจิตดวงเดียว คือ สันตีรณจิต ไม่มีระหว่าง ไม่มีคั่น

ในช่วงระยะเวลาชั่วอึดใจ รูปเกิดดับได้นับล้านๆ รูป สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ เวทนาตัณหาอุปทานที่เกิดกับรูปหนึ่งๆ เมื่อรูปนั้นดับไปแล้ว จะสามารถส่งต่อเนื่องไปถึงอีกรูปหนึ่งได้ เหมือนการส่งไม้ผลัด

การดับเวทนาตัณหาอุปทาน ถ้าดับในช่วงแรกๆ ไม่ได้ แต่พอรู้ตัวถึงจะตั้งสติวิปัสสนาได้ การดับแบบนี้ ก็ยังต้องดับที่ผัสสะ คือดับเวทนาตัณหาอุปทาน ความรู้สึกพอใจ อยากได้ฯ ที่เกิดก่อนหน้า เป็นเพราะความประมาท ความอยกได้ที่หายไปตอนหลังจากวิปัสสนา ไม่ใช่เพราะว่าเราดับที่ตัวตัณหา แต่เราดับที่เหตุชองตัณหา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 19:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผสฺสปจฺจยา เวทนา -> ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา -> เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ -> ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

เกิดร่วมกันในจิตดวงเดียว คือ สันตีรณจิต ไม่มีระหว่าง ไม่มีคั่น


แปลว่า...ท่านซุปฯ...เห็นว่าไม่มีระหว่างเน๊าะ

คือ..ผัสสะเกิด....เวทนา..ตัณหา..อุปาทาน..ก็เกิดขึ้นเลยไม่มีระหว่าง
(ปล. เล็ก ๆ :b12: ผัสสะเกิด..ต้องมีการปรุงก่อนมั้ย..เวทนาจึงเกิด.??.) :b12:

แล้วเมื่อผัสสะเกิด...ท่านซุปฯก็ดับเวทนาไม่ให้เกิดไม่ได้ซิเน๊าะ..ก้อมันไม่มีระหว่างนี้นา :b16:

แล้ว...สฬายาตนะ...ภายนอกภายในมี...เกิดผัสสะ...
มีระหว่างมั้ย??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
ผสฺสปจฺจยา เวทนา -> ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา -> เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ -> ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

เกิดร่วมกันในจิตดวงเดียว คือ สันตีรณจิต ไม่มีระหว่าง ไม่มีคั่น


แปลว่า...ท่านซุปฯ...เห็นว่าไม่มีระหว่างเน๊าะ

คือ..ผัสสะเกิด....เวทนา..ตัณหา..อุปาทาน..ก็เกิดขึ้นเลยไม่มีระหว่าง
(ปล. เล็ก ๆ :b12: ผัสสะเกิด..ต้องมีการปรุงก่อนมั้ย..เวทนาจึงเกิด.??.) :b12:

แล้วเมื่อผัสสะเกิด...ท่านซุปฯก็ดับเวทนาไม่ให้เกิดไม่ได้ซิเน๊าะ..ก้อมันไม่มีระหว่างนี้นา :b16:

แล้ว...สฬายาตนะ...ภายนอกภายในมี...เกิดผัสสะ...
มีระหว่างมั้ย??

อาตนะภายนอก เมื่อเข้ามากระทบเรา ในสภาวะปกติ เรายังไม่รับรู้ทันที เพราะจิตยังเหนี่ยวอารมณ์เดิมไว้อยู่ จากนั้นจิตดวงที่เกิดต่อมาถึงจะเริ่มเฉออกไปจากอารมณ์เดิมเข้ามาสนใจอารมณ์ใหม่ จิตดวงที่เกิดต่อมาถึงจะเริ่มสนใจอารมณ์ใหม่ จิตทั้ง ๓ ขณะนี้ เป็นภวังคจิต

จิตดวงต่อมาจะหาว่า อารมณ์เกิดทางทวารใหน จิตดวงต่อมาถึงจะเกิดมาเพื่อรับรู้อารมณ์ (เกิดปัญจวิญาน) ถึงตอนนี้เกิดอายตนะภายใน กระบวนการของผัสสะถือว่าเกิดขึ้นสมบูรณ์

หนาที่ต่อจากนี้ คือ การใต่สวนอารมณ์ และเสพอารมณ์ ถ้าเรามีโลกุตรเจตนา พิจารณาอารมณ์ที่เกิดตามความเป็นจริง เวทนาจะไม่เกิด ถ้าเราปล่อยไปตามความเคยชิน มันก็จะใหลไปตามอำนาจของอวิชชา

จากนั้น ชวนะจิตจะเกิดมาบันทึกผลของการใต่สวนอารมณ์ไว้ถึง ๗ ขณะจิต ย้ำไว้เป็นสัญญาแน่นหาเอาออกไม่ได้

ในกระบวนการรับรู้ปกติ (อติมหันตารมณ์วิถี) รูป ๑ รูป จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ

หลังจากที่การใต่สวนอารมณ์เกิดเป็นบุญบาปไปเรียบร้อยแล้ว เรายังจะคิดต่อไปตามโวหารของโลก โดยอาศัยอารมณ์เดิมอีก กระบวนการคิดนี้เกิดในมโนทวารอย่างเดียว เกิดต่อกันได้เป็นล้านๆ รอบ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 21:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หนาที่ต่อจากนี้ คือ การใต่สวนอารมณ์ และเสพอารมณ์ ถ้าเรามีโลกุตรเจตนา พิจารณาอารมณ์ที่เกิดตามความเป็นจริง เวทนาจะไม่เกิด ถ้าเราปล่อยไปตามความเคยชิน มันก็จะใหลไปตามอำนาจของอวิชชา


แสดงว่า..จากผัสสะ...กว่าจะมีเวทนา...มีระหว่าง

คือ..จิตเกิดดับ..ๆ ..17..18 ดวงนั้นแหละเป็นระหว่าง...

นี้เอาตามหลักฐานท่านซุปฯ ว่ามาอย่างเดียวเลยนะ... :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
สังเกต ต่อไปว่า เมื่อ เสียงที่ได้ยินนั้น ดับไป มีอารมณ์ลูก ที่เกิดต่อเพราะเหตุแห่งเสียงนั้นต่อไปอย่างไร
เช่น ยินดีในเสียง ....อยากฟังให้ชัด โดยการเงี่ยหูเข้าไปหา ......อยากฟังเสียงนี้นานๆ........อยากรู้ว่าต้นเสียงคืออะไร มาจากไหน ........อยากลืมตาดูต้นเสียง........อยากลุกไปหาต้นเสียง.........
ถ้าวิปัสสนาถูกต้องตรงผัสสะ จะไม่มีเวทนาเหลือ หรือจะไม่มีเวทนาเกิดตามการพิจารณา กลายเป็นอุเบกขาที่ไม่ประกอบด้วยอามิส ตามมาด้วยความรู้สึกโปร่งโล่ง


:b27: อนัตตาธรรม........
คุณSupareak เอาสติไปตัดเสียก่อน จึงได้อุเบกขา แต่คุณSupareak จะค้นลึกเข้าไปไม่ถึง สมุทัย เหตุทุกข์ คือ อัตตา จึงไม่ทำลายสักกายทิฐิได้สักที ต้องรอเจโตวิมุติด้วยอำนาจของสมาธิที่แรงกล้า ที่จะเป็นผลเกิดตามมาในเวลาที่เนิ่นนานนะครับ ถ้าปารถนาเจโตวิมุติก็เรียนเชิญตามอัธยาศัย

แต่ถ้าต้องการให้จบเร็วด้วย ปัญญาวิมุติ ก็ต้องปล่อยให้ธรรมชาติเขาแสดงให้ดูไปตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัยจนจบ ถึงตอนปิดฉาก คือดับไปเป็นอดีตอารมณ์

วิปัสสนาภาวนาที่ถูกต้องแท้จริงนั้น จะไม่มีการทำอะไรเช่นการ ตัด หรือ ตอบโต้ กับผัสสะและอารมณ์
คงมีเพียง ตามรู้ ให้ตลอดสายของอารมณ์ ผู้ปฏิบัติต้องทำตัวเป็นนักสังเกตการณ์ที่ดี ที่จะไม่ไปใส่เจตนา สั่ง บอก กำหนด กฏเกณฑ์ใดๆกับธรรมชาติที่กำลังแสดงอยู่เฉพาะหน้าในที่นั้นๆอย่างแจ่มแจ้งไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนและพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้ เมื่อพอกพูนได้ที่แล้ว ผลอันยิ่งใหญ่เขาจะเกิดขึ้นมาเองโดยธรรม ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร