วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2011, 22:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เอกอน..
พอดีกำลัง..อยากหยิบไม้จิ้มฟันแล้วเรือพ้นจากน้ำได้..จังฮิ

Supareak Mulpong เขียน:
Quote Tipitaka:
ทัฏฐัพพสูตร

[๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้ โดยชอบ

ฯ[/center]

:b8:
ยกมาเองนะ...

ทีนี้เห็นแล้วรึยัง...

เวทนาเกิด...แต่เห็นเวทนาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์..ตัณหาก็ดับได้

ตรงที่..เห็นเวทนาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์..ใช้ทั้งสติ..ใช้ทั้งปัญญา..

ชัดมั้ย..เวทนาเกิด...แต่ตัณหาไม่เกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี ฯ

เมื่อเวทนาเกิด ตัณหาจึงเกิด ฯ เพราะพิจารณาเวทนาด้วยความเป็นทุกข์ฯ เวทนาจึงดับ เมื่อเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ฯ

เวทนา ตัณหา อุปทาน ทั้งหมด มี อวิชชาเป็นมูล เมื่อวิปัสสนา อวิชชาดับ วิชชาเกิด เวทนา ตัณหา อุปทาน จึงอาศัยอยู่ในจิตขณะนั้นไม่ได้

โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง่าเค้ามูลมาจาก

๑. ความอยากได้
๒. ความต้องการ
๓. ความกำหนัด
๔. ความเพลิดเพลิน
๕. ความติดใจ
๖. ความชอบใจในอารมณ์

ยกตัวอย่าง อกุศลจิตที่เป็นโลภมูลจิต ดวงที่ ๑

สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือ ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

เจตสิกธรรมเหล่านี้ เกิดร่วมกันทีเดียวในจิตดวงเดียวกัน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 19:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี ฯ

เมื่อเวทนาเกิด ตัณหาจึงเกิด ฯ เพราะพิจารณาเวทนาด้วยความเป็นทุกข์ฯ เวทนาจึงดับ เมื่อเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ฯ

เพราะพิจารณาเวทนาด้วยความเป็นทุกข์ฯ
แสดงว่าเกิดเวทนาแล้ว...ไม่งั้นจะเอาอะไรมาพิจารณา

เพราะพิจารณาเวทนาด้วยความเป็นทุกข์ฯ เวทนาจึงดับ
ตอนไม่พิจารณาอะไรเลยนี้...เวทนา..มันดับมั้ย???....มันก็ดับ...ไม่ทำอะไรเลยมันก็ดับ...ก็ของมันเกิดดับ ๆ ..เป็นปกติ..แต่ดับแบบนี้ทำไมตัณหาถึงเกิดได้ละ...
มันไม่ใช่...

การพิจารณาเห็นเวทนาเป็นทุกข์ไม่เที่ยง...จึงไม่ใช่การดับเวทนา..

และท่านซุปฯเคยยืนยันใชมั้ยว่า..มีเหตุแล้วห้ามผลไม่ให้เกิดไม่ได้...พิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์..ดับเหตุที่ตรงไหน..ก็เวทนามันเกิดมาให้เห็นแล้ว..จึงมีให้พิจารณา...หากจะไปดับดวงจิต 1 - 17 อย่างที่ท่านซุปฯ เคยยกมา...หรือไปดับสัญญา...ยังมีเหตุผลพอน่าฟังได้หน่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปเกิดดับในนับล้านๆ รูป ในชั่วลัดนิ้วมือ (รูป ๑ รูป จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ) เมื่อเราเห็นรูป กว่าจะรู้จริงๆ ว่ามันคืออะไร อาจจะต้องใช้รูปหลายล้านๆ รูป ใช้เวลาชั่วหลายอึดใจ (ภาษา signal processing เรียกว่า การ sampling)

ด้วยกำลังของเสขะบุคคล ยังไม่สิ้นอวิชชา ยังมีกิเลสตัณหาเกิดได้ ถ้าประมาท เวทนา ตัณหา ฯ ก็เกิดได้ตามปกติ

แต่เมื่อรู้ว่าเวทนาเกิด ก็รู้ว่าเวทนาเกิด จึงตั้งใจดับเวทนาด้วยปัญญาตามหลัง

อธิบายให้ง่ายอีกหน่อย .... ถ้าเราลดอัตราส่วนการเกิดรูป ใน ๑ วินาที เหลือเพียง ๑๐ รูป รูปที่ ๑ ๒ ๓ เสขะบุคคล อาจจะยังไม่ทันวิปัสสนา รูปมันมาแบบไม่ทันตั้งรับ เวทนาตัณหาจึงเกิดได้ ถ้าวิปัสสนาทันในรูปที่ ๔ เวทนาตัณหาในรูปตั้งแต่รูปที่ ๔ เป็นต้นไป ก็จะดับ ... รูปที่ ๑ ๒ ๓ ก็เป็นอกุศลจิต รูปที่เหลือจึงเป็นกุศล ... ก็คือ เวทนาไม่ได้ดับในจิตดวงที่เกิดเวทนาขึ้นมาแล้ว แต่จะดับในจิตดวงที่เกิดขึ้นต่อๆ มา

ถ้าแสดงง่ายๆ ... เมื่อหูเราได้ยินเสียง จนตีความได้ว่าเป็นเสียงด่า กินเวลาไปแล้ว ๓ วินาที เกิดเป็นความโกรธ แล้วเราก็วิปัสสสนา ความโกรธก็หายไป เขาด่าจนจบใช้เวลาเป็นนาที เราก็ยังไม่มีความโกรธเกิดขึ้น เหมือนถูกด่าเป็นภาษารัสเซีย

เสขะบุคคล จึงดูเหมือนคนโกรธง่ายหายเร็ว ยิ่งถ้าฝึกวิปัสสนาจนเป็นนิสัย จะดูนิ่งมาก ถ้าจะพยายามไม่ให้เวทนาเกิด ก็คือ ต้องเอาปัญญาไปรับผัสสะทันที ฝึกจนเป็นนิสัย ไม่ต้องสนใจเวทนา ... เสียงเข้าหู ก็วิปัสสนารับก่อน เสียงอะไรก็ช่าง แบบนี้เรียกว่า เอาปัญญาสัมมาทิฐิไปตั้งรับผัสสะ

ตั้งแต่สกิทาคามีเป็นต้นไป สติปัญญาจะเริ่มทำงานเป็นอัตโนมัติได้บ้าง แต่โสดาบันถ้าประมาทจะดูเหมือนปุถุชนมาก

การประหารด้วยปัญญา มีลักษณะ ปัญญาประหารไปแล้ว เวทนา ตัณหา ฯ จะดับไม่เหลือ ไม่งอกไม่เงยขึ้นมาได้อีก ปัญญาจะทำงานต่อเนื่องในสายอารมณ์เดียวกัน

เวทนาเกิด ก็ดับไปตามปกติของมัน จิตเมื่อเกิดเวทนาก็มีแต่อกุศล พอหลับจิตตกภวังค์เวทนาก็ดับ ถ้าเกิดการเปลี่ยนการรับรู้อารมณ์ เช่น กำลังโดนด่าโกรธอยู่ดีๆ มีคนเดินเข้ามา หันไปสนใจคน ก็ลืมเสียงด่าไปชั่วขณะแล้ว

ไปดูเสียงกับความโกรธเฉยๆ ก็คือ เปลี่ยนจากทางหู ไปทางใจ หรือเอาอุเบกขาไปกด แบบนี้เรียกว่า การหลบ ไม่ได้ดับ

กบนอกกะลา เขียน:
พิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์..ดับเหตุที่ตรงไหน..
พิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ คือ การเอาความจริงหรือปัญญาสัมมาทิฐิไปรับผัสสะ เป็นการหยุดการเกิดของ โลภะ โทสะ โมหะ

เมื่อเรารู้เห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง ในขณะนั้น ความจริงจะเข้าไปปรุงแต่งจิตแทนความเห็น เมื่อเราเห็นจริงตามจริงเท่าทันปัจจุบันอารมณ์ โมหะ หรือ ความหลงในอารมณ์ก็ไม่เกิด อโมหะ หรือ ปัญญาเจตสิกจะเกิดขึ้นมาแทน ... ถึงได้ชื่อว่า วิปัสสนา คือ ความเห็นที่วิเศษ

พระพุทธองค์อธิบายเรื่อง เวทนา ตัณหา อุปทาน ฯ มากมาย ทั้งหมดสรุปรากเหง้าลงที่อวิชชา หรือ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะฉะนั้น ดับโลภะ โทสะ โมหะ ที่เิกิดร่วมกับจิตได้เพียงชั่วขณะ ก็หมายถึงว่า ชั่วขณะนั้น จิตไม่มี เวทนา ตัณหา อุปทาน ฯ

... เข้าใจไม่เข้าใจอย่างไรช่วยตอบกลับด้วย ถ้าไม่ถูกจะได้อธิบายให้ใหม่

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 22:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจยากดีเน๊าะ..ท่านซุปฯ..

หากเรียงร้อย..คำตอบของท่านซุปฯ เองแล้วจะเห็น...ว่าขัดแย้งกันเอง..ตลอดมา
คุณเองก็คงไม่เข้าใจ...ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้...ก็ตำรับตำราก็อ้างอิงได้ตลอดแล้วนี้..ใช่มะ

แต่เพราะอาศัย..นึก ๆ เอา..ว่ามันควรจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้..มันทำให้ตัวคุณเองก็ไม่แน่ใจ

ทั้ง ๆ ที่...ของจริงมีอยู่...ของจริงก็เห็นอยู่..แต่ก็ไม่กล้าคิด...กลัวว่าจะไม่ถูกตำราหรือหาตำรามาอ้างอิงไม่ถูก

ทั้ง ๆ ที่ตำรานั้นก็แสดงชัดเจนดีมากเลย....แต่กลัวว่าทิฏฐิของตนจะผิดต่างหาก...จึงไม่กล้าคิดตามความเป็นจริง

นี้ขนาด...ชี้เฉพาะที่ท่านซุปฯ ยกมาแท้ ๆ ...มันก็แย้งกับความคิดในตัวท่านเองแล้ว..

อย่าไปกลัวว่าตนจะผิดซิครับ....

นี้ก็อีกตัวอย่างหนึ่ง...ที่แย้งกับความคิดเดิมของท่านที่ว่า...
เวทนา...ตัณหา...ไม่มีระหว่าง

Supareak Mulpong เขียน:
..
แต่เมื่อรู้ว่าเวทนาเกิด ก็รู้ว่าเวทนาเกิด จึงตั้งใจดับเวทนาด้วยปัญญาตามหลัง

เวทนาเกิดแล้วเน๊าะ...แต่ตัณหาไม่ทันเกิด...เพราะดับด้วยปัญญา..นี้ความคิดท่านเองนะ

ไม่รู้ที่คิดอย่างนี้เพราะ..ต้องการให้สอดคล้องกับข้อความที่ท่านนำมาเองรึเปล่า...เรื่องพิจารณาเห็นเวทนาไม่เที่ยงเป็นทุกข์...
แถมมีห้อยท้ายเผื่อเอาใว้อีกนะ...จึงตั้งใจดับเวทนาด้วยปัญญาตามหลัง
เขียนเอง...ก็ยังงงเอง..ใช่ปะ...เวทนามันดับเองไปตั้งนานแล้ว..ดับตั้งแต่จะพิจารณานั้นแล้ว...แล้วไปเอาเวทนาที่ไหนมาดับอีก

แต่พอทำให้สอดคล้อง..ก็ดันไปแย้งกับทิฏฐิตนอีกจนได้...เวรกรรม

ท่านอาจจะต้องใช้ความคิดอีกว่าจะแก้ยังงัย.. :b10: :b10:

อยากจะบอกว่า..ไม่ต้องคิดแก้อะไร...ให้คิดตามความเป็นจริง..ธรรมดา..ธรรมดาด้วยปัญญาที่ไม่มีทิฐิมานะ...นะทำได้รึเปล่า??

ถ้ายังไม่เห็น..อยากจะเห็น..ก็เคยแนะนำไปแล้ว..ให้ฝึกสติ

ถ้าท่านเห็นด้วยตัวท่านเองเมื่อไร...ท่านจะไม่กลับไปคิดแบบ..งง...งง..แบบนี้อีก

แล้วมันจะอาจหาญ..มาก

กลับไปอ่านความเห็นก่อนหน้านี้..ดี ดี..กระผมว่ามันครบถ้วนสมบูรณ์ดีในการชี้ให้ท่านได้เห็นแล้ว

ก็เหลือแต่ตัวท่านเองเท่านั้น... :b8: :b8: :b8:

สุดท้ายนะ..สักนิดหน่อย..

Supareak Mulpong เขียน:
..

กบนอกกะลา เขียน:
พิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์..ดับเหตุที่ตรงไหน..
พิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ คือ การเอาความจริงหรือปัญญาสัมมาทิฐิไปรับผัสสะ เป็นการหยุดการเกิดของ โลภะ โทสะ โมหะ

เหตุของเวทนา...นะที่ถามเนี้ยนะ..

แล้ว..โลภะ โทสะ โมหะ..เป็นเหตุของเวทนารึ.??...ไม่ใช่ม้างง...เหตุของตัณหามากกว่า...

แล้วอีกอย่าง...ใช้ปัญญาสัมมาทิฐิไปรับผัสสะ..ตรงนี้เวทนาจะเกิดได้มั้ย???...ถ้าเอาความคิดของท่านเองที่ว่าดับเหตุของเวทนาเพราะดับโลภะ โทสะ โมหะ ....เวทนามันก็ไม่เกิด..จริงมั้ย...แล้วเอาเวทนาที่ไหนไปพิจารณาว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์...

ก็เป็นท่านยกมาเองว่า...เวทนาเกิด...พิจารณาให้เห็นเวทนาเป็นทุกข์...ไม่เที่ยง..
เห็นมั้ยว่าความคิดท่านมันสับสนขัดแย้งกันเองยังงัย...นี้ยังไม่ได้บอกว่าอะไรถูกอะไรผิดเลยนะ :b23:

พอจะเห็นอะไรมันแปลก ๆ บ้างแล้วรึยัง????
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




GEDC1775_resize.JPG
GEDC1775_resize.JPG [ 78.03 KiB | เปิดดู 5456 ครั้ง ]
:b16: การที่มีการสร้างภาพอันสวยหรูของโสดาบันว่า มีศีลบริสุทธ์ ไม่ผิดเลย เป็นเพราะไม่มีโสดาบันจริงๆ มาพันกว่าปีแล้ว มีแต่พวกฤาษีที่ต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เพราะถ้าศีลพร่อง ฌานก็เสื่อม
Onion_no
ขออนุญาตแทรกกลางนิดหนึ่งนะครับ พอดีมาอ่านเจอ คำพูดของคุณซุปพะเลิก ดังยกมาข้างบนนี้
เลยทำให้อยากจะบอกว่า ความเห็นอย่างที่ว่านี้เป็น มิจฉาทิฐิอย่างยิ่ง ถ้าคุณพูดอย่างนี้ พระอริยเจ้าและพระอรหันต์ทีเกิดในยุคไม่เกิน 100 ปีย้อนหลังจากนี้ ก็คงไม่มีเป็นแน่ แต่ในความจริงนั้นมี และมีเยอะพอสมควรเลยทีเดียว พิสูจน์ได้ด้วยตาเนื้อคือ พระอรหันตธาตุ ในเมืองไทยและเมืองพม่าจำนวนมากมาย ที่เกิดในยุค 100 ปีหลังนี้

เรื่องที่คุณซุป คุณกบ สนทนากันยาวยืดโดยยกเอาบัญญัติในพระไตรปิฎกมาอ้างอิง อวดภูมิกันอยู่นี้ จะมีประโยชน์หรือครับ เมื่อยังมีความเห็นว่า

................ไม่มีโสดาบันจริงๆ มาพันกว่าปีแล้ว
onion :b34:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กะแล้ว ว่าต้องออกมาแนวมั่วๆ ...

โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุปัจจัยทั้งหมดของธรรมฝ่ายอกุศล เรียกว่า อกุศลเหตุ ๓

เวทนา ตัณหา อุปทาน เกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกัน ไม่มีระหว่าง จิตที่ประกอบด้วยอวิชชา หรือ ประกอบด้วยความพอใจไม่พอใจและความหลง เป็นจิตที่ประกอบด้วยเวทนา ตัณหา อุปทาน

อ้างคำพูด:
เวทนาเกิดแล้วเน๊าะ...แต่ตัณหาไม่ทันเกิด...เพราะดับด้วยปัญญา..
ใครบอก จิตที่มีเวทนา ก็มีตัณหา อุปทาน ... ปัญญาที่ดับเวทนา ดับตัณหา อุปทาน มันไม่ได้เกิดในรูปเดียวกัน แต่เกิดในรูปที่เกิดถัดมา

อ้างคำพูด:
แล้วอีกอย่าง...ใช้ปัญญาสัมมาทิฐิไปรับผัสสะ..ตรงนี้เวทนาจะเกิดได้มั้ย???
เอาปัญญาไปกั้นทันเวทนาจะไม่เกิด ให้พิจารณาที่ผัสสะอารมณ์ ไม่ได้ให้พิจารณาเวทนา ... หรือเป็นการกันไม่ให้เวทนาเกิด

อ้างคำพูด:
ไม่มีโสดาบันจริงๆ มาพันกว่าปีแล้ว
ก็มันไม่มีจริงๆ ... ปุถุชนนั่งสมาธิได้ปฐมฌาน ตายไปกระดูกก็เป็นแก้วได้ พวกคณะนิครณ์ เอากระดูกแก้วส่งเข้ามาเมืองไทยเยอะเแยะ พวกได้ฌาน ๗ ฌาน ๘ กระดูกใสยังกะเพชร ... มีใครแยกออกได้มั่งว่า อันใหนเป็นของฤาษี อันใหนเป็นของอริยบุคคล


ถ้าคุณเอาเทียนมาจุด เกิดเปลวไฟ เแลวไฟที่คุณเห็นในวินาทีที่ ๑ กับเปลวไฟที่คุณเห็นในอีก ๑ นาทีถัดไป คือเปลวไฟอันเดียวหันหรือเปล่า?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 11:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b47: :b50: :b47: :b50: :b47: :b50:

รูปภาพ

:b42: :b47: :b42: :b47: :b42: :b47:

รูปภาพ

:b44: :b47: :b44: :b47: :b44: :b47:

:b8: :b8: :b8:

แล้วลองฟังนี่รึยัง


http://media.watnapahpong.org/video/AXK6O56H1H6W/พุทธวจนบรรยาย-ณ-MCC-Hall-The-Mall-นครราชสีมา-8-พค-2554

:b8: :b8: :b8:

ชาวพุทธที่มีแอนดรอย์ดอยู่ในมือ ไม่ควรพลาด อิอิ

:b54: :b55: :b54: :b55: :b54:

พอดีมีคนส่ง CD มาให้น่ะ
ทำให้ได้ืืีรู้คุณแห่ง กษัตริย์ไทย ที่ืีทรงเป็นผู้สนับสนุนพระศาสนาเรื่อยมา
พระพุทธเจ้าหลวง พ่อหลวงของไทย :b8: :b8: :b8:
พระดำรัสโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แปลพระคัมภีร์เป็นภาษาไทย
:b20: :b20: :b20:
:b8: :b8: :b8:
จนมาถึงวันนี้ :b20: :b20: พระไตรได้แทรกเข้าไปยังโลกเทคโนโลยี

:b16: :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 30 มิ.ย. 2011, 15:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 12:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก ภาคภาษาไทย ฉบับหลวง ๔๕ เล่ม

เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น ๓ ปิฎก ด้วยกันคือ

๑. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
๒. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป
๓. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน

พระวินัยปิฎก มีอยู่ ๕ หมวดด้วยกันคือ

๑. มหาวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของพระภิกษุ เป็นศีลของภิกษุที่มาในปาติโมกข์
๒. ภิกษุณีวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัย ของพระภิกษุณี
๓. มหาวัคค์ ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก และพิธีกรรมทางพระวินัย แบ่งออกเป็นขันธกะ ๑๐ หมวด
๔. จุลลวัคค์ ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย ความเป็นมาของพระภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา แบ่งออกเป็นขันธกะ ๑๒ หมวด
๕. บริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญหาใน ๔ เรื่องข้างต้น

พระสุตตันตปิฎก มีอยู่ ๕ หมวดด้วยกันคือ

๑. ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว มี ๓๔ สูตร

๒. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง ไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป มี ๑๕๒ สูตร

๓. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลธรรมะไว้เป็นพวก ๆ เรียกว่า สังยุต เช่นกัสสปสังยุต ว่าด้วยเรื่องของพระมหากัสสป โกศลสังยุต ว่าด้วยเรื่องในแคว้นโกศล มัคคสังยุต ว่าด้วยเรื่องมรรคคือข้อปฎิบัติ เป็นต้น มี ๗,๗๖๒ สูตร

๔. อังคุตตรนิกาย ว่าพระพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อ ๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด ๑ ธรรมะหมวด ๒ ธรรมะหมวด ๑๐ แต่ละข้อก็มีจำนวนธรรมะ ๑, ๒, ๑๐ ตามหมวดนั้น มี ๙,๕๕๗ สูตร

๕. ขุททกนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่าง ๆ และชาดก รวบรวมหัวข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน ๔ หมวดข้างต้น แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่มี ๑๕ เรื่อง

พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น ๗ เรื่องด้วยกันคือ

๑. ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะ รวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม
๒. วิภังค์ ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อ ๆ
๓. ธาตุกถา ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสำคัญโดยถือธาตุเป็นหลัก
๔. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
๕. กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรม จำนวนหนึ่งประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม
๖. ยมก ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ ๆ
๗. ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน ๒๔ อย่าง

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

๑. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป

๒. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

๓. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่

๔. พระอานนท์ เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวรนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า ๘ ประการ ในเงื่อนไขประการที่ ๗ และประการที่ ๘ มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ

ประการที่ ๗ ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น

ประการที่ ๘ ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์

ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ ๘ อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้
ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน
ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ

๕. พระอุบาลี เป็นผู้ที่สนใจและจดจำพระธรรมพระวินัยได้เป็นพิเศษ มีความเชี่ยวชาญใน พระวินัย ในการทำสังคายนาครั้งแรก พระอุบาลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พระวินัยปิฎก

๖. พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นผู้ที่ทรงจำได้ดีมาก เคยท่องจำบางส่วนของ พระสุตตันตปิฎก เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ได้รับสรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมาก รวมทั้งท่วงทำนองในการกล่าว ว่าไพเราะ สละสลวย แสดงให้เห็นถึง การท่องจำพระธรรมวินัย ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า
ฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 30 มิ.ย. 2011, 12:30, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 12:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก ภาคภาษาไทย ฉบับหลวง ๔๕ เล่ม

การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย

สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า

สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง

สมัยที่ ๓
ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา ๑,๐๐๐ ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังไม่ได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ

สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก

ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก

การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย

การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยต่อ ๆ มา การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน ไม่ตลอดเรื่อง ถ้าสามารถแปลจบครบบริบูรณ์ ก็จะเป็นอุปการคุณแก่ พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง ในต่างประเทศ ได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว สำหรับฝ่ายมหายานนั้น ได้มีการแปลพระไตรปิฎก จากฉบับภาษาสันสกฤต ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายาน มาแล้วช้านาน การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้น ๆ จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ และประเทศไทยให้ปรากฎไปในนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่ เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้ จึงขอให้กระทรวงธรรมการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้ ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป

คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎก เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ

๑. แปลโดยอรรถ ตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทย"

๒. แปลโดยสำนวนเทศนา สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา เรียกว่า "พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง" แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยดำริจะจัดทำพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะสังฆมนตรีพิจารณาเห็นสมควร จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ตั้งกรรมการจัดแปล และกำลังตรวจสำนวน ทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์อยู่แล้วนั้น เพื่อเป็นอนุสาสนีย์เนื่องในงานนั้นด้วย จึงได้กำหนดจำนวนหนังสือที่จะพิมพ์ จากจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ๑,๐๐๐ จบ เป็น ๒,๕๐๐ จบ เพื่อให้เหมาะสมแก่งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กรมศาสนาได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าจำนวนเล่มที่พิมพ์ ครั้งแรกชุดละ ๘๐ เล่ม เพื่อให้ไม่หนาเกินไป และมีจำนวนเล่มเท่าจำนวนพระชนมายุของพระพุทธเจ้า แต่ทำให้การอ้างอิงไม่ตรงกับเล่มในฉบับบาลี ซึ่งมีอยู่ ๔๕ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงพิมพ์จบละ ๔๕ เล่ม และประจวบกับปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับเป็นมหามงคลสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาบรรจบครบ ๒๕ ปี ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษก ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม


http://www.amulet.in.th/tripitaka.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 15:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: มรรควิธีที่ง่าย :b12: :b12:

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 15:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


http://buddha-ins.org/study.php

http://buddha-ins.org/practice.php

http://buddha-ins.org/propagation.php

rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 15:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยก็เข้าไปสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

มีบอร์ด มีบรรยายธรรม online Kiss Kiss

สามารถเข้าชม ธรรม online สด ๆ
สามารถส่งคำถามได้ก่อนเวลาบรรยาย ในหัวข้อธรรมที่ตนสงสัย ติดขัดได้

Kiss Kiss Kiss

อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 15:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhakos.org/update/พุทธวจน.html

http://www.buddhakos.org/index.php?lay= ... 15&Ntype=1


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 15:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พระคัมภีร์โบราณ(ธรรมเจดีย์)อันศักดิ์สิทธิ์ อายุเก่าแก่กว่า 2000ปี

รูปภาพ

พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณ(ธรรมเจดีย์) อันศักดิ์สิทธิ์ อายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี อันเชิยจากสถาบันอนุรักษ์สเคอเยน ราชอาณาจักรเนอร์เวย์ สู่ ราชอาณาจักรไทย ประระดิษฐาน ณ อาหารพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนาอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน2553 - 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา09.30 - 18.00 น
แคว้นคันธาระ
หลังจากพระพุทธปรินิพาน 200 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระอรหันต์มัชฌันติกะไปประกาศ พระพุทธศาสนา ณ แคว้นคันธาระดินแดนส่วน

หนึ่งในอัฟกานิสถานปัจจุบัน ที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา ด้านปฏิมากรรมเป็นบ่อเกิดการสร้างพระพุทธรูปแห่งแรกของโลกด้านคำสอน
มีการสังคยนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย เป็นตัวอักษรในพุทธศตวรรษที่ 7 หลังจากการสังคายนานำโดยพระวาสุมิตร ณ วัด กุณฑลวันวิหาร เมืองชาลันธระ อุปถัมภ์โดยพระเจ้ากนิษกะมหาราช ดังปรากฏในบันทึกจดหมายเหตุของพระถังซำจั๋ง พระนักผจญภัยเดินทางใช้เวลา 19 ปี
อัญเชิญพระไตรปิฏกจากอินเดียสุ่จีนในพุทธศตวรรษ ที่ 12 ว่า
" เบื้องต้นพระอริยสงฆ์ 500 รูป สังคายนาพระสูตร ซึ่งว่าอุปเทศศาสตร์หนึ่งแสนโศลก(บท) ต่อมาสังคายพระวินัย ซึ่งว่าวินัยภาษาศาสตร์หนึ่งแสนโศลก และสังคายนาพระอภิธรรมปิฏก ชื่อว่า อภิธรรมวิภาษาสาสตร์หนึ่งแสนโศก รวมเป็นสามแสนโศกเก้าล้านหกแสนคำ พระเจ้ากนิษกะมหาราชรบสั่งให้จารึกอรรถกถาเหล่านั้น"
เส้นทางสายไหม
หุบเขาบามิยัน ตั้งอยู่ห่างจากกรุงคาบูลเมืองหลวงอัฟกานิสสถาน ทางทิศตะวันตกประมาณ 205 ไมล์ ในอดีตเป็นเมืองตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหม จุดแยกทางสู่จีน อินเดียว ตะวันออกกลาง และยุโรป มีการค้นพบศาสนาสถานทางศาสนาพุทธ และฮินดูเป็นจำนวนมากกว่า 1000 แห่ง เป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาในบริเวณนั้น ศาสนาสถานที่สำคัญที่สุดในบริเวณนี้คือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 5 องค์ องค์แรกสร้างในช่วง พ.ศ.1050 (ค.ศ.507) มีความสูง 38 เมตร และองค์ที่ 2 สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1097 ( ค.ศ.554) สูง 55 เมตรเป็น " พระพุทธรูปแกะสลักฝาผนังที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ศิลปะเกรโก ศิลปะพระพุทธรูปยุคแรกที่เผยแพร่มาจากอารายธรรมกรีกโบราณ ซึ่งทั้งหมดนี้คาดกันว่าสร้างโดยพระเถระ และราชวงศ์แห่งราชวงศ์คุปตะแห่งอินเดีย ตามฝาถ้ำมีภาพวาด ซึ่งบ่งบอกถึงการฝสมฝสานของศิลปะคุปตะ ศิลปะคันธารราฐ และศิลปะเปอร์เซียได้อย่างชัดเจน เป็นต้นแบบของการสร้างพระพุทธรูปสบักจากหินล้วน เส้นทางสายไหมนอกจากจะเป็นเส้นทางค้าขายแล้วยังเป็นเส้นทางวัฒนธรรมด้วย พระสงฆ์จีนหลายรูปเดินทางตามเส้นทางสายไหมสู่อินเดีย พระถึงซำจั๋งได้เดินทางไปชมพูทวีปในปี พ.ศ. 1173 (ค.ศ.650) พระเถระได้เล่าว่าถึงบามิยันว่า มีพระพุทธรูปเหลืองอร่ามไปด้วยทองคำ และพระกว่า 1000 รูป จำวัดอยุ่ เสียงสวดมนต์ของพระสงฆ์ก้องกังวาลไปทั่วทั้งหุบเขา
ค้นพบตุ่มแตก
สถาบันอนุรักษ์สเคอเยน ประเทศนอร์เวย์ เป็นที่รู้จักยอมรับในวงการนักโบราณคดี และภาษาศาสตร์ นานาชาติว่า เป็นสถาบันที่เก็บรักษาโบราณวัตถุชั้นนำของโลก ได้พบคัมภีร์พุทธศาสนา ในถ้ำบริเวณเทือกเขาบาบิยาน ตั้งอยู่ห่างประมาณ 2 กม จากพระพุทธรูปหินบามิยานองค์ใหญ่ สูง 5.5 เมตร ในอดีตดินแดนแถบนี้ชื่อว่าแคว้นคันธาระ นักโบราณคดีและภาษาศาสตร์นานาชาติใช้เวลา 12 ปีทำการชำระคัมภีร์โบราณ โดยได้สันนิษฐานสรุปว่า เป็นผลงานของพระอรหันต์ ที่ได้จารึกพระธรรมวินัยเป็นอักษร เหตุการณ์นี้เกินขึ้นในราวพุทธศวรรษที่ 6 หรือประมาณร่วม 2000 ปี ล่วงมาแล้ว
ม้วนคัมภีร์ตุ่มเดดซีของพุทธศาสนา
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 เจนส์ โบรกวิก ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีแห่งศุนย์การศึกษาก้าวหน้า ประเทศนอร์เวย์ ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการที่เมืองไลเดน ประเทศเนเธอแลนด์ และมีผู้ร่วมประชุมคนหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า แซม ฟ๊อกก์ พ่อค้าของเก่าแห่งนคร ลอนดอน ได้ขายชิ้นส่วนเอกสารโบราณของพุทธศาสนาจำนวน 108 ชิ้น ให้แก่นักสะสมชาวนอร์เวย์ ชื่อ มาร์ติน สเคอยัน ( Martin Schoyen ) ผุ้อำนวยการและเจ้าของสถาบันอนุรักษ์สเคอเยน สิ่งที่ได้ฟังนั้นทำให้ เจนส์ โบรกวิก เกิดความสนใจอย่างมาก จึงได้ไปพบกับ มาร์ติน สเคอยัน เพื่อขอศึกษาเอกสารดังกล่าว มาร์ติน สเคอรยัน ก็ยินดีให้ความร่วมมือ และบอกเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้าที่ แซม ฟ็อกก์ จะขายเอกสารให้นั้น แซม ฟ็อกก์ ได้ติดต่อนักโบราณคดี ชื่อ ลอเร แซนเดอร์ ให้ช่วยอธิบายความเป็นมาของเอกสารนี้ ซึ่งเมื่อ ลอเร แซนเดอร์ นำไปวิเคราะห์ก็พบว่า เอกสารโบราณนั้นจารึกด้วยภาษาสันสกฤต ในช่วงราว พ.ศ. 540-940 เป็นคัมภีร์ในพุทธศาสนา ที่กล่าวถึงพระสูตรพระวินัย ตลอดจนจารึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งบางเรื่องก็เป็นที่ทราบกันดีอยุ่แล้ว แต่เอกสารอีกหลายชิ้น มีเรื่องราวที่ไม่เคยปรากฏให้โลกรู้มาก่อน และเรียกได้ว่าเป็นเอกสารสำคัญที่เก่าแก่ที่สุด ของพุทธศาสนาที่มีหลักฐานเหลืออยู่ เรียกม้วนคัมภีร์ตุ่มเดดซีของพระพุทธศาสนาค้นพบโดยมิคาดฝันมาก่อน

แดนสันติภาพ
หลังจากที่โปรเฟสเซอร์ เจนส์ โบรกวิก ได้รุ้ถึงที่มาของพระคัมภีร์พุทธแล้ว สถาบันอนุรักษ์สเคอยันก็ได้พยายาม " ขนย้าย " พระคัมภีร์ที่ยังเหลือตกค้างอยู่ในอัฟกานิสถาน ออกมาเก็บรักษาไว้ โดยใช้วิธีการทุกรูปแบบกระทั่งนำเอาออกมาได้เกือบหมด ในประเทศนอร์เวย์ ดินแดนสันติภาพ ก่อนหน้าที่พระพุทธรูปบามิยันจะถูกทำลายลง และอีกส่วนหนึ่งได้รับ หลังจากการระเบิดพระพุทธรูปแล้ว คัมภีร์ที่ทยอยนำมานั้น เมื่อรวมกันตั้งแต่ต้น แล้ว ปัจจุบันมีอยู่ราว 5000 ชิ้น ที่ยังเป็นรูปเป็นร่าง กล่าวคือเป็นชิ้นส่วนของแผ่นจารึกใบลาน เปลือกไม้และหนังแกะ ที่มีขนาดตั้งแต่ 2 ตารางเซนติเมตร ไปจนถึงเป็นแผ่นที่สมบูรณ์ นอกนั้นเป็นเศษอีกราว 8000 ชิ้น เมื่อได้รับชิ้นส่วนพระคัมภีร์มาแล้ว ทางสถาบันจะทำความสะอาด จัดเตรียมเก็บทำก๊อปปี้ และลงหมายเลขแต่ละชิ้นไว้ เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป
ผจญภัย
ช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1600 ปี ของพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแห่งนี้ ได้พบเจอกับสงครามและการจู่โจมมาโดยตลอด เริ่มต้นด้วยการเสื่อมถอยของศาสนาพุทธ การมาถึงของศาสนาอิสลามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ถึงแม้จะเป็นชนพื้นเมืองชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งคือชาวฮาซารัส ได้ปกป้องศาสถานแห่งนี้มาก็ตาม การทำลายและการบุกรุกโจรกรรมวัตถุต่างๆเกิดขึ้นเป็นประจำ ขุมพลนักรบเจงกิสข่านได้ยกทัพบุกดินแดนแห่งนี้ แต่ไม่ได้ทำลายพระพุทธรูปบามิยัน สหภาพโซเวียต นำทหารเข้าบุกเข้าโจมตีอัฟกานีสถานตามมาด้วยสงครามอัฟกัน การสู้รบแย่งอำนาจระหว่างชนต่างๆเพื่อช่วงชิงอำนาจ

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 พระพุทธรูปแห่งบามิยันได้ถูกทหารตาลีบันใช้เวลา 6 วันระเบิดทำลาย ด้วยเหตุผลว่า การเคารพรูปเคารพนั้น ผิดหลักศาสนาอิสลาม สมาคมโลกและองค์การสหประชาชาติได้ขอร้องระงับการทำลายมรดกโลก แต่ไม่สามารถยับยั้งได้ การทำลายพระพุทธรูปยืนหน้าผา อายุ 1500 ปี องค์แรกของโลก ได้ส่งผลกระทบกระเทือน ต่อจิตใจของคนทั่วโลกอย่างมาก ช่วงกลางปี พ.ศ. 2544 ทหารอเมริกันและพันธมิตร เดินทางเข้าไปประจำการในอัฟานิสถานด้วยอาวุธนานาชนิด การต่อสู้ระหว่างตาลิบัน และทหารนานาชาตไดมีสืบเนื่องต่อมาถึงทุกวันนี้

ชำระ (วิจัย) คัมภีร์
การ " ชำระ" สังคายนาพระคัมภีร์ที่ได้มานี้ จัดเป็นงานใหญ่ที่ต้องอาศัยผุ้รู้จริงจำนวนมาก การติดต่อประสานงานระหว่างองค์กรและมหาวิทยาลัยต่างๆ ทางสถาบันอนุรักษ์ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 โดยมีการสัมนาครั้งแรกเดือน พฤศิกายน 2540 และท้ายสุดครั้งที่สี่ เมื่อเดอืนพฤษภาคม 2542 ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยมีการเชิญนักโบราณคดีนานาชาติมาร่วมงาน และการประชุมย่อยนับครั้งไม่ถ้วน ได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่บางเรื่องที่ได้แปล และเรียบเรียงเสร็จแล้ว เช่น เรื่องจังกีสูตร มหาปรินิพพานสูตร ประปาฎิโมกข์ ประวัติพระพุทธองค์ สร้างคุณประโยชน์ในด้านวิชาการโบราณคดี และภาษาศาสตร์โลกอย่างยิ่ง
ปาฏิหารย์แห่งคำสอน
สถาบันอนุรักษ์สเคอเยน ประเทศนอร์เวย์ ได้อนุรักษ์ธรรมเจดีย์คัมภีร์โบราณเก่าแก่ที่สุดในโลกนี้ไว้ ด้วยเหตุผลว่า คำสอนในพุทธศาสนาสร้างสันติภาพ ให้สังคมโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตลอดมา ตลอดระยะเวลาร่วม 2000 ปี ที่ผ่านมา อนุสาสนีปาฏิหารย์ ความอัศจรรย์แห่งคำสอนที่จารึกไว้บนใบลาน เปลือกไม้ และหนังสัตว์ ที่รอดพันภัยอันตราย ไม่สูญสิ้นไปกับภัยธรรมชาติและสงคราม สถิตเป็นหลักฐานสำคัญประวัติศาสตร์พุทธศาสนา การบันทึกคำสอนจากท่องจำสู่การเขียนจารึก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นพระไตรปิฎก (พระ คำยกย่อง แปลว่าประเสริฐ +ไตร แปลว่ สาม +ปิฎก แปลว่าคัมภีร์ รวมแล้วแปลว่า คัมภีร์สามอันประเสริฐ) สือต่อมาถึงปัจจุบันจึงนับว่าเป็นความโชคดีของชาวพุทธทั่วโลกโดยแท้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา

ด้วยการกล่าวสัจจะวาจานั้น ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

สัพเพ สัตตา เอวรา อัพยาปัชฌา อะนิฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวร อย่าได้เบียดเบียนอย่าได้มีความทุกข์กายใจ จงมีความสุขการสุขใจ รักษาต้นให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

พระพุทธวจนะก่อนปรินิพพาน
เมื่อ 2553 ปีล่วงมาแล้ว ก่อนเสด็จดับขันธ์พระพุทธเจ้า ทรงตรัสกับสาวกทั้งหลาย เรื่องการสร้างสถูปบรรจะพระบรมสารีริกธาตุเรียกว่า ธาตุเจดีย์สถานประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพาน ที่เหล่าสาวกพุทธบริษัททั้งหลาย ควรเดินทางไปปลงธรรมสังเวช เรียกว่า บริโภคเจดีย์ และทรงตรัสกับพระอานนท์ พระพุทธอุปฐาก ถึงอานาคตแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นธรรมเจดีย์ว่า

" โย โว มะยา ธัมโม จะ วินะโย จะ เทสิโต ปัญญัตโต โสโว มะมัจจะเยนะสัตถา "

ดูกรอานนท์ ธรรมและวินัย ที่เรา (ตถาคต) แสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของพวกเธอ เมื่อเรา (ตถาคต) ล่วงลับไปแล้ว

(มหาปรินิพพานสูตร)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร