วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 26, 27, 28, 29, 30, 31, 32 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 15:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: :b47: :b45: :b47: :b45:

รูปภาพ

:b45: :b47: :b45: :b47: :b45:

รูปภาพ

:b45: :b47: :b45: :b47: :b45:


:b45: :b47: :b45: :b47: :b45:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 ก.ค. 2011, 15:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณธาตุ คือธาตุรู้ ตัวนี้แหละเป็นวิญญาณที่กล่าวถึงกัน มันมีอยู่ในคนทุกคนที่มีกายกับใจ มีรูปกับนาม มีชีวิตอยู่ยังไม่ตาย วิญญาณนี้แหละที่ทำหน้าที่ให้เราได้รับรู้ทางผัสสะที่เกิดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจอีกด้วย
ขันธ์ห้า คือ รูป ทำหน้าที่ รองรับ เพราะทำให้ปรากฎเป็นคน สัตว์ สังขาร ขึ้นมา
เวทนา ทำหน้าที่ รับ วิญญาณก็ทำหน้าที่มารู้จักกับสิ่งที่รับมาด้วย
สัญญา ทำหน้าที่ จำ วิญญาณก็มาทำหน้าที่รู้สิ่งที่จำไว้ด้วย
สังขาร ทำหน้าที่ คิด วิญญาณก็มาทำหน้าที่รู้ความคิดปรุงนี้ด้วย
วิญญาณ ทำหน้าที่ รู้ และในตัวรู้ที่เกิดขึ้นทางผัสสะนั่นเองก็ยังมีตัวรู้เข้ามารู้วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอายตนะนี้อีกต่างหาก ตัววิญญาณที่เกิดขึ้นตามกระบวนการขันธ์ห้านี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์ไม่ใช่วิญญาณธาตุ

ท่านผู้เจริญหลายท่านคุญกันแล้วก็มีความคิดเห็นเป็นไปต่างๆ กัน ลองมาใคร่ครวญกระบวนการนี้ดูดีๆ จริงไม่จริงหรือมีความคิดเห็นเป็นอย่างไรก็ลองกล่าวมาดู

(อภัยไม่ได้เข้ามาดูการสนทนาหลายวัน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 18:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่เราน่าจะมาทำความเข้าใจกันให้ถูกตรงตามคำสอนก็คือ
พอจะสรุปด้ว่า
๑ พระพุทธเจ้าสอน เรื่องสมถะ กับวิปัสสนา
๒ สมถะกับวิปัสสนา ต้องควบคู่กันไป แล้วแต่กำลังของโยคีบุคคลว่าสมถะจะเด่นกว่าหรือวิปัสสนาเด่นกว่า
๓ เมื่อยอมรับอย่างนี้แล้วก็เลิกปฏิเสธฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เลิกโจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
๔. ส่งเสริมกันและกันเพื่อให้ ภาวนาทั้งสองอย่างนี้เจริญขึ้นในโลกนี้

ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเรามาสนทนากันเพื่อให้ข้อสรุปอันเป็นเป้าหมายนี้เกิดขึ้นได้จะเป็นการดี อย่างน้อยในกลุ่มที่เราสนทนากันนี้จะได้ไม่เอนเอียงไปเพื่อทำลายธรรมวินัยของศาสดา และไม่กดข่มธรรมอย่างหนึ่งเพื่อยกย่องธรรมอย่างหนึ่ง ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าธรรมทั้งสองนั้นเป็นคำสอนของศาสดาเหมือนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 14:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ท่าน
สำหรับผู้ปฎิบัติวิปัสนากรรมฐาน สมาธิมีความสำคัญเนื่องจากทำให้รู้ถึงสภาวะธรรมที่ละเอียดได้อย่างชัดเจน รวมถึงสามารถข่มนิวรณ์ได้ แต่ในเบิ้องต้นระดับของสมาธิใช้เพียงระดับขณิกสมาธิ เพื่อรู้สภาพธรรมในแต่ละขณะที่เป็นปัจจุบัน ต่อเมื่อสภาพของไตรลักษณ์ปรากฎชัด ผ่านวิปัสนาญาณต่างๆจนถึงสังขารุเบกขาญาณแล้วกำลังของสมาธิจะถึงระดับอุปจารฌาน และเมื่อผ่านอนุโลมญาณ โคตรภูญาณ และถึงมรรค
ญาณ ระดับสมาธิจะยกระดับจนถึงอัปนาฌานของปฐมฌาน เพียง1 ขณะ สำหรับสมาธิที่เกิดชึ้นจากการปฎิบัติดังกส่าว เรียกว่า ลักขณูณิปฌาน ฌานที่กำหนดรูปและนามเป็นอารมณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่าสมาธิอบรม
ปัญญา และก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ฌานและวิปัสสนาจึงเกื้อกูลซึ่งกันและกัน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 21:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่หลุดพ้น
สำหรับวิปัสสนายานิกผู้ถึงมรรค 1 อัปปนาสมาธิ จะเกิดขณะที่ได้มรรค ภายหลังการตรัสรู้แล้วจึงยังไม่สามรถ
ดำรงสมาธิระดับฌานได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้เช่นเดียวกันเพราะต้องใช้สมาธิระดับฌานเป็นบาทในการเข้าผลสมาบัติ สำหรับการปฎิบัติเพื่อดำเนินมรรคให้สูงขึ้นระดับต่อไปมรรค2(สกทาคามีมรรค)จะไม่ยากเท่ากับมรรค1(โสดาบันปฎิมรรค)เนื่องจากผู้ดำเนินเพื่อให้เกิดมรรค1เป็นปุถุชน แต่ผู้ดำเนินเพื่อมรรค2 เป็นอริยชน ซึ่งมรรคได้ละสักกายทิฎฐิแล้ว การรู้ในรูปนามสภาพของไตรลักษณ์จึงละเอียดยิ่งขึ้น(โวทาน) เมื่อพละ 5 มีความสมดุลและเข้าถึงมรรค 2 สภาวะการเข้าถึงมีลักษณะเช่นเดียวกันทุกมรรคผล
จะต่างกันฉพาะภายหลังจากผลแล้ว ที่กิเลสที่ละมีระดับไม่เท่ากัน สำหรับระดับสมาธิของมรรค 2 จะใช้ระดับสมาธิระดับทุติยฌานขึ้นไปเป็นบาท แต่ต้องเข้าใจว่าฌานที่เกิดจากการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่เรียกว่าลัขณูณิปฌาน จะใช้การรู้ถึงลักษณะรูปนามเป็นอารมณ์ซึ่งปรมัติ จึงมี่ความแตกต่างจากสมถฌาน ที่เพ่งบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือไม่รู้ถึงสภาพรูปนามตามความเป็นจริง ลักษณะที่เหมือนกันคือมีองค์ฌานเหมือนกัน
ต่างกันที่ความแนบแน่นของสมาธิ สำหรับสกทาคามีบุคคลสามารถเข้าผลสมาบัติได้ทุกท่านเพราะมีสมาธิระดับฌานแล้ว :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 22:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


huh huh

รอดูอยู่ว่า..จะมีใครเห็นแย้งกับคุณสุทธิญาณบ้าง... :b12: :b12:

ท่านโฮ...กะท่านฮา....ไม่มาก็ได้ :b32: :b32:

วิปัสสนายานิกแนวท่านซุปฯ...เห็นเป็นยังงัยบ้าง...

ใครมีประสบการณ์มรรค1มาแล้ว...คงชี้ได้ดี

แค่อ่านก็เมื่อยศรีษะเรา..ดมยาดม..นั่งดู..เข้าทีกว่าไหน ๆ.. :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 23:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
huh huh

รอดูอยู่ว่า..จะมีใครเห็นแย้งกับคุณสุทธิญาณบ้าง... :b12: :b12:

ท่านโฮ...กะท่านฮา....ไม่มาก็ได้ :b32: :b32:

วิปัสสนายานิกแนวท่านซุปฯ...เห็นเป็นยังงัยบ้าง...

ใครมีประสบการณ์มรรค1มาแล้ว...คงชี้ได้ดี

แค่อ่านก็เมื่อยศรีษะเรา..ดมยาดม..นั่งดู..เข้าทีกว่าไหน ๆ.. :b12:


:b32: :b32:

:b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2011, 10:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
การปฎิบัติของวิปัสนายานิกไม่น่าเป็นห่วงในวิธีการและอารมณ์ของการปฏิบัติ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตรง แต่สำหรับผู้ปฎิบัติวิปัสนาแต่มีสมถนำหน้า ถึงแม้จะกำหนดรูปและนามเป็นอารมณ์แต่ด้วยการวางจิตที่ไม่เป็นกลาง มีการเพ่งอารมณ์ หรือแนบแน่นในการเพ่งรูป ถึงแม้จะอยู่กับขณะ แต่ไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสภาวะธรรมของรูปและนามที่ปรากฎในแต่ละขณะ แต่อย่างไรก็ตามหากจะถามผู้ปฎิบัติว่าเพ่งหรือตั้งใจมากหรือไม่ผู้ปฎิบัติก็มักตอบว่าเป็นปกติ แต่เมื่อถามถึงสภาวะที่รู้สึกจะได้รับคำตอบว่ารู้สึกอึดอัด มึนศรีษะ หรือจุกท้อง ซึ่งชี้วัดได้ว่าการรู้ไม่เป็นปัจุบัน การแก้ปัญหาจึงต้องแก้ที่การวางใจคือทำเล่นๆ หรือที่พระอาจารย์คำเขียนท่านบอกว่ารู้ซื่อๆ หากมีอาการจุกท้องหรือมึนศีรษะ หรือมีทั้ง 2 ตำแหน่ง ให้ทำความรู้สึกรู้ความรู้สึกปวด จุกท้อง แบบสบาย ๆ 4-5 วินาที แล้วปล่อยความรู้สึก ณ จุดดังกล่าว2-3วินาที(ความหมายของคำว่าปล่อยคือละความสนใจชั่วขณะ) แล้วเคลื่อนความรู้สึกมาที่ ศีรษะที่ปวด รู้ว่าปวด(รู้แบบสบายๆ ) 4-5 วินาที่แล้วปล่อยวาง แล้วกลับไปรู้อาการปวดที่ท้อง ทำกลับไปกลับมา ระหว่างท้องกับศีรษะ ข้อพึงระวังการเคลื่อนจากตำแหน่งหนึ่ง ไปอีกตำแหน่งหนึ่งให้ค่อยๆทำแบบสบายๆ ท่านจะพบว่า อาการปวดทั้ง 2 ตำแหน่งจะทุเลาลง หากเกิดเพียงตำแหน่งเดียว เช่น ปวดศีรษะให้รู้ไปตำแหน่งที่ปวด และเคลื่อนไปที่ตำแหน่งกลางหน้าอก หากสังเกตจะพบว่ามีความรู้สึกแน่นๆหรือทึบๆที่กลางหน้าอก ให้กำหนดรู้ตำแหน่งศีรษะ และหน้าอกสลับกัน หากผู้ใดมีอาการ ตามนี้ให้ช่วยแจ้งผลด้วย :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2011, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเริ่มนั่งสมาธินั้นอาการแน่นและอึดอัดสามารถเกิดได้ทุกวันเป็นอาการที่ปกติสาเหตุมาจากการหายใจเข้าออกที่หยาบอยู่คือยังไม่เป็นสมาธิแต่เกิดในสภาวะที่เริ่มนั่งสมาธิ แต่ถ้าเรานั่งสมาธิเป็นปกติอยู่แล้วอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อจิตเป็นสมาธิ ลมหายใจเริ่มเกิดความละเอียดจนเริ่มกำหนดรู้ตามอายตนะทั้ง6 ในสภาวะทั่วไปนั้นเช่นการเดินการทำงานการดูหนังฟังเพลง คนที่นั่งสมาธิจนเกิดสมาธิทุกวันนั้นโรคแน่นหน้าอก ร้อนวูบวาบที่หน้าอก อาการกลัวจนหัวใจวูบวาบ อาการปวดหัว อาการเหล่านี้จะหายไปตัวเรารู้สึกมีอิสระไม่มีโซ่ล่ามสืบเนื่องมาจากสมาธิที่เราได้รับจากการนั่งส่งผลให้ร่างกายสดชื่น เย็น มองโลกในแง่ที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้นหากรู้สึกอึดอัดแล้วอย่าพึ่งด่วนเลิกเสียก่อนให้นั่งต่อไปเรื่อยๆเวลาผมนั่งสมาธิส่วนตัวผมจะไม่พะวงกับความอึดอัดที่เกิดขึ้นปล่อยให้ร่างกายปรับตัวไปเรื่อยๆส่วนมากจะถอนหายใจ4ถึง5ครั้งก็รู้สึกดีขึ้น สิ่งเดียวที่ผมจะจับตามองคือการที่มโนวิญญาณเกิด หรือความคิดต่างๆที่ไหลไปทำให้เราไม่รับรู้อายตนะส่วนที่เหลือได้เต็มที่จนกว่ามโนวิญญาณจะโดนสติข่มคือเรามีสติรู้ทันและระงับมโนวิญญาณไม่ให้ไหลไปเป็นความเพลิดเพลินแม้เป็นสมาธิแล้วก็ต้องมีสติอยู่ให้มั่นระวังไม่ให้มโนวิญญาณเกิดทีนี้เราก็กำหนดรู้อายตนะส่วนที่เหลือให้มั่นตามแนวทางที่เราปฏิบัติต่อไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระไตรลักษณ์หรือความลึกละเอียดยิ่งๆขึ้นของสมาธิ หากวันไหนที่นั่งมีเรื่องที่ไม่สบายใจค้างอยู่นั้นตัวผมจะเห็นชัดเจนในเรื่องของความไม่สงบ ความฟุ่งซ่าน แต่ผมก็ไม่หยุดนั่ง แต่จะสังเกตุความฟุ่งซ่านของตัวเองว่าตัวเรานั้นต้องฝืนมาก และหยุดนั่งในสภาวะที่ไม่ลดระดับความไม่สบายใจลงเลย ดังนั้นหากเราพิจารณาเห็นพระไตรลักษณ์ได้นั้นตัวผมคิดว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุด

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2011, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝนไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ผัสสายตนะ๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ

[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ผัสสายตนะ ๖ เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖
นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์
บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคล
เหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่
บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึง
บรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารัก
ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียงที่น่ารัก
และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึง
บรรเทาโทสะในเสียงที่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่
น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่น
ที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารัก
ใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่
พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และ
ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ
ติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัส
ที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า
แล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่
เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้าย
เพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความ
สำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุ
ให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคล
บรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา
ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน
อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้น
อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2011, 19:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ กับความเพียรเผากิเลสของคุณ student
และคุณsupareak ทีกล่าวถึงธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดี :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2011, 22:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าจะนั่งดมยาดมอย่างเดียวแล้วเชียว...แต่เห็นความเพียรของคุณ student ขอมาโมทนาสาธุด้วย..นะครับ :b8: :b8:

และ.. :b8: :b8: คุณสุทธิญานที่บอกวิธีแก้ไข

:b8: :b8: กับท่านซุปฯด้วยครับ...กับการใฝ่ปฏิบัติธรรมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครวุ่นวายฟุ้งซ่านในเวลาทำสมาธิ
ลองทำทีเหมือนกับว่า เราแยกตัวออกมาจากความคิดปรุงนั้นแล้วมาแอบมองดูความคิดปรุงนั้นบ้างก็ได้นะ แล้วคุณจะได้ความรู้อะไรอีกมากมายในการแอบมองดูนั้น

แม้แต่ไตรลักษณ์ที่พูดถึงนั้นก็จะเห็นเข้าใจชัดเจนขึ้นด้วย
อันนี้เราเคยทำดูแล้ว แต่ที่สำคัญ "ระลึกทั่ว(สติ) รู้ตัวทุกขณะ(สัมปชัญญะ)"


ขออนุโมทนากับทุกถ้อยกถาที่เข้ามาร่วมแจม.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 26, 27, 28, 29, 30, 31, 32 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร