วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 28, 29, 30, 31, 32, 33, 34 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สวัสดีครับคุณกบนอกกะลา สภาวธรรมในปัจจุบันของคุณตัวรู้อยู่บริเวณใบหน้า ประกอบด้วยแสงสว่างในภายในมี ความเบา มีกำลังสมาธิมาก หากต้องการยกขึ้นวิปัสสนา ให้รู้ที่ความสบายที่ปรากฏ หากสังเกตจะพบแรงเบาๆที่ล้อมรอบหัวใจ(หทัยวัตถุ)ให้รู้ความสบาย 3-4 ขณะ แล้วเคลื่อนไปรู้ที่ แรงที่มีที่ตำแหน่งหัวใจ ขออนุโมทนาด้วยครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 18:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
(ผลจากการคลายรอบของตัณหาอุปทาน เกิดทุกข์โทษทั้งกายและใจที่ชัดเจนมากมาย)

:b1: อย่างไรคะ


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 17 ก.ค. 2011, 18:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 18:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:

ที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์สภาวะทางกาย (ผล)และ แรงร้อยรัดของตัณหาทางใจ(เหตุ) ดังนั้น



เห็น ตัณหา หรือเห็นลักษณะของ ไฟ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 18:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ในความว่าง
มีปฐวีธาตุปรากฎ
โยนไฟเข้ามา
โยนลมเข้ามา
มีน้ำประกอบอยู่

ปรากฎเป็น ดาวเทียม

:b14: :b14: :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 22:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
กระบวนการที่เกิดของความทุกข์ ตั้งแต่อายตนะภายนอกกระทบกับอายตนะภายใน เกิด
ผัสสะ และเวทนา พอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ ความรู้สึกดังกล่าว จะไปกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมน
ประเภท เดียวกันกับเวทนานั้นๆ ไหลภายในเรือนกาย ตัวอย่างจะเห็นได้จากเมื่อคุณพบเห็นบุคคลที่เคยทำให้คุณเจ็บใจ คุณจะรู้สึกถึงความไม่พอใจเกิดขึ้นกับคุณ ในขณะเดียวกันภายในร่างกายจะเกิดความร้อนโดยเฉพาะตรงกลางหน้าอก และใบหน้า มือสั่น หายใจถี่ๆ นี้เป็นเป็นผลทางร่างกาย (อาสวะ)ที่เกิดจากเหตุคือ(กิเลส ตัณหา)ที่ปรุงแต่งทางใจ ซึ่งในทุก ๆ วินาที จะเกิดกระบวนการเหล่านี้และสะสม หลักสำคัญหรือหัวใจสำคัญอยู่ที่การปรุงแต่งของใจโดยไม่มีสติและสัมปชัญญt จึงเกิดกระบวนการของทุกข์ทั้งทางร่างกายซึ่งสัมพันธ์กับจิตใจ หากจะยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม เสาหลักข้างหนึ่งเป็นใจ เสาอีกข้างหนึ่งเป็นร่างกาย กิเลส ตัณหา(ทุกข์ทางใจ) และอาสวะ(ทุกข์ทางกาย) เปรียบเสมือนเชือกเหนียวที่ผูกโยงระหว่างกายกับใจ ผู้ปฎิบัติเป็นผู้แก้เชือก บางคนแก้ที่เสาใจ บางคนแก้ที่เสากาย หมายถึงการกำหนดรู้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เชือกจึงพันกันยุ่ง ส่วนผู้ที่เข้าใจการวนของเชือก จึงแก้เชือกโดยวนกลับทั้งเสากายและเสาใจ คือการ
มีสติตามรู้สภาพธรรมของกายที่สัมพันธ์กับใจ จึงเป็นการรู้เหตุและผล การคลายรอบของทุกข์ที่เป็นนัยยะ
คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อผู้ปฎิบัติตามรู้สภาวธรรมกายในกาย ก็จะรู้ถึงเวทนาด้วย เมื่อเวทนาดับ ตัณหาที่เป็นธรรมร่วมกับเวทนา(ความพอใจหรือไม่พอใจ)ก็ดับลง ลักษณะของตัณหาจะตรงตามพุทธดำรัส มีการร้อยรัดบีบคั้นโดยเฉพาะบริเวณหัวใจจะรู้สึกอึดอัดปวดหน่วง (ผลทางใจหรือนาม) สำหรับผลทางกายจากอาสวะที่ไหลเอิบอาบในไขสันหลัง และกระแสโลหิต ซึ่งทำให้ร่างกายจะเกิดความร้อนโดยเฉพาะตรงกลางหน้าอก และใบหน้า มือสั่น หายใจถี่ๆ นี้เป็น(ผลทางร่างกายหรือรูป) ก็คลายออกมา ทำให้เกิดอาการคันยุบยิบตามใบหน้าและร่างกาย เกิดความร้อน ชา เจ็บปวด เหมือนเป็นไข้ หากการรู้สภาวธรรมอย่างต่อเนื่อง การคลายรอบของสภาวธรรมดังกล่าวทั้งร่างกายและจิตใจ จะเกิดรวดเร็วและรุนแรง
สำหรับร่างกายซึ่งประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม และไฟ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงและคลายออกของสภาวธรรม องค์ประกอบของธาตุทั้ง 4 ก็จะปรับตัว จะสังเกตได้เมื่อนั่งสมาธิไปได้ระยะหนึ่ง จะมีการหาว(ธาตุลม) ขณะหาวก็จะรู้สึกร้อนที่หน้าผาก(ธาตุไฟ) ต่อมาจะมีน้ำตาไหล (ธาตุน้ำ) สำหรับร่างกาย เนื้อ เป็น(ธาตุดิน) ธาตุทั้ง 4 จะปรับตัวให้เกิดสมดุลใหม่ตามอาสวะที่คลายออกมา :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ suttiyan จบมาทางสายชีววิทยา หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพรึเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 22:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:
Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

เรื่องอินทรีย์ ๕

[๕๐๐] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑
ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจร
ของกันและกัน เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็น
โคจรของกันและกัน จะมีอะไรเป็นที่อาศัย และธรรมอะไรรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์
เหล่านั้น?

สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑
ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน
เมื่ออินทรีย์ ๕ เหล่านี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน
มีใจเป็นที่อาศัย ใจย่อมรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านั้น.

[๕๐๑] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑
ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นี้ อาศัยอะไรตั้งอยู่?
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้นั้น คือจักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์
๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อาศัยอายุ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่.

ก. อายุ อาศัยอะไรตั้งอยู่?
สา. อายุ อาศัยไออุ่น (ไฟที่เกิดแต่กรรม) ตั้งอยู่.
ก. ไออุ่น อาศัยอะไรตั้งอยู่?
สา. ไออุ่น อาศัยอายุตั้งอยู่.
ก. ผมรู้ทั่วถึงภาษิตของพระสารีบุตรผู้มีอายุในบัดนี้เองอย่างนี้ว่า อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่
และว่าไออุ่นอาศัยอายุตั้งอยู่ แต่ผมจะพึงเห็นความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร?
สา. ถ้าเช่นนั้น ผมจักทำอุปมาแก่คุณ เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมทราบความ
แห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัยเปลว
ปรากฏอยู่ เปลวก็อาศัยแสงสว่างปรากฏอยู่ฉันใด อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่
ฉันนั้นเหมือนกัน

ก. อายุสังขาร (อายุ ชีวิตินทรีย์) กับเวทนียธรรม (เวทนา) เป็นอันเสมอกัน หรือว่า
อายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง?
สา. อายุสังขารกับเวทนียธรรม ไม่ใช่อันเดียวกัน (ถ้า) อายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็น
อันเดียวกันแล้ว การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญา เวทยิตนิโรธ ก็ไม่พึงปรากฏ แต่เพราะ
อายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง ฉะนั้น การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิต
นิโรธ จึงปรากฏอยู่.

[๕๐๒] ก. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรมเท่าไรละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้งนอนนิ่ง
เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา?
สา. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรม ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้ไป
กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา.

ก. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกันอย่างไร?
สา. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับระงับไป มีอายุ
หมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีกายสังขาร
วจีสังขาร และจิตสังขารดับ ระงับไป แต่มีอายุยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่นยังไม่สงบ มีอินทรีย์
ผ่องใส สัตว์ผู้ตายทำกาละไปกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกัน ฉะนี้.


ไฟกองนี้ ค่ะ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 22:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตคือทะเลเพลิงดี ๆ นี่เอง ใช่รึเปล่า

:b1: :b1: :b1:

สัตว์นรก คือ ...

:b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 23:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สวัสดีครับคุณ frame ผมจบ เศรษฐศาตร์ ครับ ความรู้ที่กล่าวส่วนหนึ่งมาจากการสังเกตสภาวธรรมจากการปฎิบัติ และยิ่งปฎิบัติมากเท่าไรก็รู้สึกอัศจรรย์ ในธรรมของพระพุทธองค์ที่รวมศาสตร์ทั้งหมดลงในพุทธศาสตร์ รวมถึงปาฏิหาริย์ที่กล่าวถึงในพุทธศาสตร์ ก็เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การล่วงรู้ใจของบุคคลและสัตว์ มาจากหลักความแตกต่างของมวลของ 2 ตำแหน่ง ยกตัวอย่าง พื้นที่ 2 แห่ง อากาศของพื้นที่แห่งที่ 1 ร้อนกว่าอากาศจากพื้นที่แห่งที่ 2 อากาศบริเวณที่เย็นกว่าก็จะไหลเข้าไปแทนที่

หากเป็นกรณีที่ผู้ปฏิบัติธรรม(1)รู้จักการคลายรอบของอนุสัย(ใจ)และอาสวะ(กาย)แล้ว มวลของจิตจะเบาบางไปเรื่อยๆจึงเกิดความแตกต่างของบุคคลที่ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติที่คลายรอบของอนุสัย และอาสวะได้น้อยกว่า(2) บุคคลที่2 จึงมีมวลของจิตของจิตมากกว่าหรือหนาแน่นกว่า มวลจิตที่หนาแน่นของบุคคลที่ 2 จึงไหลเข้าไปสัมผัสจิตของบุคคลที่1 บุคคลที่ 1จึงรู้ถึงใจของบุคคลที่2

ขอขอบคุณ eragon_joe ที่นำคำสอนของพระพุทธองค์ เกี่ยวกับเรื่องธาตุมาโพสต์ให้ทราบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สวัสดีครับคุณ frame ผมจบ เศรษฐศาตร์ ครับ ความรู้ที่กล่าวส่วนหนึ่งมาจากการสังเกตสภาวธรรมจากการปฎิบัติ และยิ่งปฎิบัติมากเท่าไรก็รู้สึกอัศจรรย์ ในธรรมของพระพุทธองค์ที่รวมศาสตร์ทั้งหมดลงในพุทธศาสตร์ รวมถึงปาฏิหาริย์ที่กล่าวถึงในพุทธศาสตร์ ก็เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การล่วงรู้ใจของบุคคลและสัตว์ มาจากหลักความแตกต่างของมวลของ 2 ตำแหน่ง ยกตัวอย่าง พื้นที่ 2 แห่ง อากาศของพื้นที่แห่งที่ 1 ร้อนกว่าอากาศจากพื้นที่แห่งที่ 2 อากาศบริเวณที่เย็นกว่าก็จะไหลเข้าไปแทนที่

หากเป็นกรณีที่ผู้ปฏิบัติธรรม(1)รู้จักการคลายรอบของอนุสัย(ใจ)และอาสวะ(กาย)แล้ว มวลของจิตจะเบาบางไปเรื่อยๆจึงเกิดความแตกต่างของบุคคลที่ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติที่คลายรอบของอนุสัย และอาสวะได้น้อยกว่า(2) บุคคลที่2 จึงมีมวลของจิตของจิตมากกว่าหรือหนาแน่นกว่า มวลจิตที่หนาแน่นของบุคคลที่ 2 จึงไหลเข้าไปสัมผัสจิตของบุคคลที่1 บุคคลที่ 1จึงรู้ถึงใจของบุคคลที่2

ขอขอบคุณ eragon_joe ที่นำคำสอนของพระพุทธองค์ เกี่ยวกับเรื่องธาตุมาโพสต์ให้ทราบ


นอกจากจบเศรษฐศาสตร์ มีความรู้ด้านชีววิทยา แล้วยังรู้เรื่องฟิสิกส์อีก น่านับถือจริงๆครับ
แต่ความรู้ที่พระพุทธเจ้าค้นพบเป็นความรู้อันประเสริฐสามารถใช้ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง
สาธุ อนุโมทนากับคุณ suttiyan ครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 17 ก.ค. 2011, 23:49, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 23:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สวัสดีครับคุณกบนอกกะลา สภาวธรรมในปัจจุบันของคุณตัวรู้อยู่บริเวณใบหน้า ประกอบด้วยแสงสว่างในภายในมี ความเบา มีกำลังสมาธิมาก หากต้องการยกขึ้นวิปัสสนา ให้รู้ที่ความสบายที่ปรากฏ หากสังเกตจะพบแรงเบาๆที่ล้อมรอบหัวใจ(หทัยวัตถุ)ให้รู้ความสบาย 3-4 ขณะ แล้วเคลื่อนไปรู้ที่ แรงที่มีที่ตำแหน่งหัวใจ ขออนุโมทนาด้วยครับ :b8:


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 00:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อวานถูกยันที่หน้ามาอย่างแรง....

ขอพิสูจน์อะไรบางอย่างสักหน่อย..ก่อนวิปัสสนา..

Flame เขียน:
นอกจากจบเศรษฐศาสตร์ มีความรู้ด้านชีววิทยา แล้วยังรู้เรื่องฟิสิกส์อีก น่านับถือจริงๆครับ
แต่ความรู้ที่พระพุทธเจ้าค้นพบเป็นความรู้อันประเสริฐสามารถใช้ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง
สาธุ อนุโมทนากับคุณ suttiyan ครับ


:b12: บางทีมันก็แปลก...ของบางอย่างไม่อยากได้...มันก็ได้...สมบัติเก่าฝากลืมในธนาคาร..แค่เข้าถึงระหัส ATM ได้...ไม่ต้องไปทำงานก็มีเงินใช้...

แต่ถ้าไม่มีเงินใช้..หมกหมุ่นแต่หาระหัส ATM...ไม่ทำงานทำการ...อาจพากันอดตาย..เพราะไม่เคยมีอะไรฝากใว้ในธนาคาร

ดีที่สุด..คือทำงานไป...อย่าไปหวังอะไรในธนาคาร
:b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 00:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สวัสดีครับคุณ frame ผมจบ เศรษฐศาตร์ ครับ ความรู้ที่กล่าวส่วนหนึ่งมาจากการสังเกตสภาวธรรมจากการปฎิบัติ และยิ่งปฎิบัติมากเท่าไรก็รู้สึกอัศจรรย์ ในธรรมของพระพุทธองค์ที่รวมศาสตร์ทั้งหมดลงในพุทธศาสตร์ รวมถึงปาฏิหาริย์ที่กล่าวถึงในพุทธศาสตร์ ก็เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การล่วงรู้ใจของบุคคลและสัตว์ มาจากหลักความแตกต่างของมวลของ 2 ตำแหน่ง ยกตัวอย่าง พื้นที่ 2 แห่ง อากาศของพื้นที่แห่งที่ 1 ร้อนกว่าอากาศจากพื้นที่แห่งที่ 2 อากาศบริเวณที่เย็นกว่าก็จะไหลเข้าไปแทนที่

หากเป็นกรณีที่ผู้ปฏิบัติธรรม(1)รู้จักการคลายรอบของอนุสัย(ใจ)และอาสวะ(กาย)แล้ว มวลของจิตจะเบาบางไปเรื่อยๆจึงเกิดความแตกต่างของบุคคลที่ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติที่คลายรอบของอนุสัย และอาสวะได้น้อยกว่า(2) บุคคลที่2 จึงมีมวลของจิตของจิตมากกว่าหรือหนาแน่นกว่า มวลจิตที่หนาแน่นของบุคคลที่ 2 จึงไหลเข้าไปสัมผัสจิตของบุคคลที่1 บุคคลที่ 1จึงรู้ถึงใจของบุคคลที่2


อืมม :b1:

ท่านเห็นเช่นนั้นจริง ๆ ใช่มั๊ยคะ
ใช่ค่ะ การเลื่อนไหลของกระแสมันดำเนินอยู่ตลอด
การเลื่อนไหลของกระแสที่รับรู้ได้ คือต้องเกิด ผัสสะ

เมื่อเห็น ผัสสะ มันก็ทอนโลกที่กว้างใหญ่จนเหลือเพียง สิ่งที่รู้ กะ สิ่งที่ถูกรู้

:b1:

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เมื่อวานถูกยันที่หน้ามาอย่างแรง....

ขอพิสูจน์อะไรบางอย่างสักหน่อย..ก่อนวิปัสสนา..

Flame เขียน:
นอกจากจบเศรษฐศาสตร์ มีความรู้ด้านชีววิทยา แล้วยังรู้เรื่องฟิสิกส์อีก น่านับถือจริงๆครับ
แต่ความรู้ที่พระพุทธเจ้าค้นพบเป็นความรู้อันประเสริฐสามารถใช้ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง
สาธุ อนุโมทนากับคุณ suttiyan ครับ


:b12: บางทีมันก็แปลก...ของบางอย่างไม่อยากได้...มันก็ได้...สมบัติเก่าฝากลืมในธนาคาร..แค่เข้าถึงระหัส ATM ได้...ไม่ต้องไปทำงานก็มีเงินใช้...

แต่ถ้าไม่มีเงินใช้..หมกหมุ่นแต่หาระหัส ATM...ไม่ทำงานทำการ...อาจพากันอดตาย..เพราะไม่เคยมีอะไรฝากใว้ในธนาคาร

ดีที่สุด..คือทำงานไป...อย่าไปหวังอะไรในธนาคาร
:b1: :b1:



s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 07:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สำหรับผู้ปฎิบัติวิปัสสนา จำแนกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่มีปัญญานำหน้าสมาธิ และ ที่มีสมาธินำหน้าปัญญา
กลุ่มที่มีปัญญานำหน้าสมาธิ ที่เรียกว่า สุกขวิปัสโก การรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงเป็นขณะๆ ซึ่งจะไป เคลียร์ความหยาบของสังขารขันธ์ สมาธิจึงเกิดตามมา การรู้จึงเป็นการระดับพื้นผิว เปรียบเสมือนมีดที่มีความคมแต่ไม่มีกำลังตัด ต้องใช้ความเพียรกำหนดสภาวธรรมอย่างต่อเนื่อง องค์ธรรมที่กำหนดรู้ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด ความฟุ้งซ่าน ซึ่งเป็นสภาพของนิวรณ์ธรรม สำหรับทางร่างกาย ก็มีความตึง แข็ง ร้อน ชา เจ็บปวด ช้อดีของสภาวธรรมเหล่านี้คือ ความชัดเจนของสภาพธรรม ผู้ปฎิบัติวิปัสสนากลุ่มสุกขวิปัสโกนี้ จึงไม่ต้องปรับอินทรีย์แต่ต้องใช้ความเพียรมาก เนื่องจากมีสมาธิอ่อน
กลุ่มที่มีสมาธินำหน้าปัญญา สำหรับผู้ปฎิบัติกลุ่มนี้มักชอบความสงบไม่ชอบการเคลื่อนไหว หากสนใจสิ่งใดจะเข้าไปจับยึดสิ่งนั้น (รวมทั้งผู้โพสต์ในอดีตด้วย) การปฎิบัติถึงแม้จะรู้ในรูปและนาม แต่ก็เป็นลักษณะที่พยายาม(อยาก)ที่จะทรงตัวรู้อย่างต่อเนื่อง การวางจิตที่ไม่เป็นกลาง มีการเพ่งอารมณ์ หรือแนบแน่นในการเพ่งรูป ถึงแม้จะอยู่กับขณะ แต่ไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสภาวะธรรมของรูปและนามที่ปรากฎในแต่ละขณะ แสดงถึงตัณหาและเกิดการยึดถือเป็นการสร้างตัวตน โดยไม่รู้ตัว จึงเป็นการปฏิบัติที่สวนทางกับการปฏิบัติตามแนวทางมรรคมีองค์ 8 ให้เกิดเป็นสัมโพชฌงค์ เพื่อทำลายสักกายทิฎฐิ (ความเป็นตัวตน) การปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวเพื่อป้องกันการวางใจที่ไม่เป็นกลาง พระพุทธองค์ จึงวางแนวทางให้ผู้ปฎิบัติต้องมีสัมปชัญญะ(การรู้ตัวทั่วพร้อม) เป็นการแก้การเพ่งเฉพาะจุด แต่การจะทำสัมปชัญญะ(การรู้ตัวทั่วพร้อม)ได้ดีต้องมีพื้นฐานของสมาธิที่ดี ซึ่งมักจะเกิดจากการรู้เป็นจุดก่อน ดังนั้นผู้ปฎิบัติใหม่จึงต้องมีตำแหน่งที่ตั้งของกรรมฐาน เช่น ลมหายใจ หรือบริกรรม แต่เมื่อมีสมาธิระดับหนึ่งแล้ว ต้องละการเพ่งเป็นจุด มาดำเนินสัมปชัญญะ(การรู้ตัวทั่วพร้อม) ซึ่งจะเข้าหลักการมัชฌิมาปฎิปทา จึงเป็นการดำเนินตามแนวทางมรรคมีองค์ 8 ที่ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 28, 29, 30, 31, 32, 33, 34 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร