วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 12:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2011, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



ฉันทสูตรที่ ๓
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความ
พอใจในสิ่งนั้นเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย หูเป็น
อนัตตา ... จมูกเป็นอนัตตา ... ลิ้นเป็นอนัตตา ... กายเป็นอนัตตา ... ใจเป็น
อนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใด
เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๗
ราคสูตรที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ใน
สิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ
เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในจักษุนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา ...
จมูกเป็นอนัตตา ... ลิ้นเป็นอนัตตา ... กายเป็นอนัตตา ... ใจเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๘
ฉันทราคสูตรที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและ
ความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในจักษุนั้น
เสีย หูเป็นอนัตตา ... จมูกเป็นอนัตตา ... ลิ้นเป็นอนัตตา ... กายเป็นอนัตตา ...
ใจเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในสิ่ง
นั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๙
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๙๔๘ - ๓๙๗๒. หน้าที่ ๑๗๑ - ๑๗๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒



ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัย ๘ ประการ




Quote Tipitaka:
๔๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป
ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความ
เต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้า
แม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ความพร่องหรือความเต็มของนิพพาน
ธาตุย่อมไม่ปรากฏ
เพราะเหตุนั้น ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ
เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่
ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๕๔๖๐ - ๕๕๔๔. หน้าที่ ๒๒๖ - ๒๒๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



๓. ยมกสูตร
ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่
[๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว
ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิด
ทิฏฐิอันชั่วช้าเป็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ
เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงพากัน
เข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย
ชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว จึงถามท่านยมกภิกษุว่า
ดูกรท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้า เห็นปานนี้ว่า เรารู้ว่าทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มี-
*พระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
จริงหรือ? ท่านยมกะกล่าวว่า อย่างนั้น อาวุโส.
ภิ. ดูกรอาวุโสยมกะ ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะ
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ว่า พระขีณาสพเมื่อ
ตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
ท่านยมกะ เมื่อถูกภิกษุเหล่านั้นกล่าวแม้อย่างนี้ ยังขืนกล่าวถือทิฏฐิอันชั่วช้านั้น อย่าง
หนักแน่นอย่างนั้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อ
ตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่อาจเพื่อจะยังท่านยมกะ ให้ถอนทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้ จึงลุกจาก
อาสนะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่
ท่านสารีบุตร ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ขอ
โอกาสนิมนต์ท่านพระสารีบุตรไปหายมกภิกษุถึงที่อยู่ เพื่ออนุเคราะห์เถิด. ท่านพระสารีบุตรรับ
นิมนต์โดยดุษณีภาพ.
[๑๙๙] ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านยมกะ
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านยมกะว่า ดูกรอาวุโสยมกะ ทราบว่า ท่านเกิด
ทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ
เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
ดังนี้ จริงหรือ
ท่านยมกะตอบว่า
อย่างนั้นแล ท่านสารีบุตร.
สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ
สา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ
สา. เพราะเหตุนี้นั้นแล ยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก.
[๒๐๐] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูปว่าเป็น
สัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นเวทนาว่าสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
[๒๐๑] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคล
มีในรูปหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในเวทนาหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสัญญาหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสังขารหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในวิญญาณหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
[๒๐๒] สา. ดูกรยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
[๒๐๓] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่า สัตว์
บุคคลนี้นั้นไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ หรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ดูกรท่านยมกะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้
ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
ย. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ จึงได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าอย่างนั้น แต่
เดี๋ยวนี้ ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้วเพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของ
ท่านพระสารีบุตร.
[๒๐๔] สา. ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ
ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้
ว่าอย่างไร?
ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูปแลไม่เที่ยง สิ่ง
ใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป
แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้.
[๒๐๕] สา. ดีละๆ ยมกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟัง เพื่อหยั่งรู้ความข้อ
นั้นให้ยิ่งๆ ขึ้น. ดูกรท่านยมกะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก และเขารักษาตัวกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่งประสงค์ความพินาศ ประสงค์ความ
ไม่เป็นประโยชน์ ประสงค์ความไม่ปลอดภัย อยากจะปลงชีวิตเขาเสีย เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
คฤหบดีและบุตรคฤหบดีนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีการรักษาอย่าง
กวดขัน การที่จะอุกอาจปลงชีวิตนี้ ไม่ใช่เป็นการทำได้ง่ายเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงใช้อุบาย
ปลงชีวิต. บุรุษนั้น พึงเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอเป็น
คนรับใช้ท่าน. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น พึงรับบุรุษนั้นไว้ใช้ เขาพึงรับใช้เรียบร้อยดีทุกประการ
คือ มีปรกติตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รัก
ใคร่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น เชื่อเขาโดยความเป็นมิตร โดยความเป็นสหาย และถึงความ
ไว้วางใจในเขา. เมื่อใด บุรุษนั้นพึงคิดว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีไว้ใจเราดีแล้ว เมื่อนั้น บุรุษ
นั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอยู่ในที่ลับ พึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม. ท่านยมกะ ท่าน
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีโน้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอรับใช้ท่านแม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตร
คฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. ในกาลใด บุรุษนั้นตื่นก่อน นอนภายหลัง
คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็น
ผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่านั้นว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. และใน
กาลใด บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอยู่ในที่ลับ จึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม
แม้ในกาลนั้น เขาเป็นผู้ฆ่านั่นเอง ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษนั้นว่าเป็นผู้ฆ่า
เราไม่.
ย. อย่างนั้น ท่าน.
[๒๐๖] สา. ดูกรท่านยมกะ ข้ออุปมานี้ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่
ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป โดย
ความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา
โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือ
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ. เขาย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นอนัตตาว่า เป็นอนัตตา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่งว่า อันปัจจัยแต่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมเข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ อันปุถุชนนั้นเข้าไปถือมั่น ยึด
มั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
[๒๐๗] ดูกรท่านยมกะ ส่วนพระอริยสาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาด
ในอริยธรรม ได้รับแนะนำในอริยธรรมดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรมดีแล้ว ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ย่อม
ไม่เห็นรูปในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่
เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นวิญญาณ
โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่เห็นตนใน
วิญญาณ. เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า
ไม่เที่ยง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่า
เป็นทุกข์. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา
ว่า เป็นอนัตตา. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัย
ปรุงแต่ง ว่าปัจจัยปรุงแต่ง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันอริยสาวกนั้น ไม่เข้าไปถือมั่น ยึด
มั่นแล้ว
ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน.
ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้เช่น
นั้น เป็นผู้อนุเคราะห์ ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ว่ากล่าวพร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้นแท้ ก็แล
จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร.
จบ สูตรที่ ๓.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๔๔๗ - ๒๕๘๕. หน้าที่ ๑๐๖ - ๑๑๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
  หลับอยู่:
จิตที่มีอวิชชาสิดับไป ถ้าจิตไม่เหลือเลยก็เป้นอุทเฉทิฐิแท้ๆ(เป็นกันเยอะ)
แยกไม่ออกว่าอะไรในภพสามอะไรนอกภพสาม
ถ้าจิตไม่เหลือเลย จะเอาญานที่ไหนมารู้ จะเอาพุทธจักษุที่ไหนมาเห็น?
บทในพระไตรปิฏกที่ผมยกมาก้ชัดเจนดีแล้วทั้งสถานทั้งอายตนทั้งการมีอยู๋ๆลๆ



"เพราะจิตหลุดพ้น จิตจึงดำรงค์อยู่"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นเหตุของการเกิดตัณหาคืออะไร?

อวิชชาคืออะไร?

ถ้าตอบว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้

ถามต่อว่า ความไม่รู้อะไร?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์เป็นอาหารให้อวิชชาๆเป็นอาหารให้ตัณหาอีกที

อวิชชาดับวิชชาเกิด :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ต้นเหตุของการเกิดตัณหาคืออะไร?

อวิชชาคืออะไร?

ถ้าตอบว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้

ถามต่อว่า ความไม่รู้อะไร?




สนทนาได้ตามสบายนะคะ เพราะที่นำมาสนทนากันนี่ ล้วนเป็นเรื่องของสัญญาทั้งนั้น

ถ้าไม่ไปยึดในความเห็นของตน จนถึงขั้นฟันธงกับความคิดเห็นของผู้อื่นว่า นั่นถูก นี่ผิด, ดี, ไม่ดี, ใช่, ไม่ใช่ เหตุย่อมไม่เกิด

ส่วนเมื่อเหตุเกิดแล้ว ผู้ใดสานต่อ อันนี้ก็แล้วแต่เหตุของผู้นั้น

เพียงต้องการอ่านข้อคิดเห็นที่อาจจะมีรายละเอียดข้อปลีกย่อยของแต่ละคนเท่านั้นเอง :b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 พ.ย. 2011, 11:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 11:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชาเป็นความไม่รู้...

มันไม่รู้ว่า....สิ่งที่มันทำ..ที่สุดแล้ว..นำความทุกข์มาให้

ทุกข์แล้ว..ก็ไม่รู้ว่าตัวเองทุกข์..อีก....

พอจะรู้ว่าตัวทุกข์มาบ้าง....ก็คิดแต่ว่าเกิดจากผู้อื่น..สิ่งอื่น...ไม่เคยคิดโทษตัวเอง...

ฯลฯ

ต้นเหตุของการเกิดตัณหา....คือความปรารถณารักษารูป....บำรุงรูป...ของอวิชชา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อวิชชาเป็นความไม่รู้...

มันไม่รู้ว่า....สิ่งที่มันทำ..ที่สุดแล้ว..นำความทุกข์มาให้

ทุกข์แล้ว..ก็ไม่รู้ว่าตัวเองทุกข์..อีก....

พอจะรู้ว่าตัวทุกข์มาบ้าง....ก็คิดแต่ว่าเกิดจากผู้อื่น..สิ่งอื่น...ไม่เคยคิดโทษตัวเอง...

ฯลฯ

ต้นเหตุของการเกิดตัณหา....คือความปรารถณารักษารูป....บำรุงรูป...ของอวิชชา



แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันนะคะคุณกบ


กบนอกกะลา เขียน:
อวิชชาเป็นความไม่รู้...

มันไม่รู้ว่า....สิ่งที่มันทำ..ที่สุดแล้ว..นำความทุกข์มาให้



ตรงนี้หมายถึงเหตุที่ทำ หรือว่าหมายถึงอะไรคะ?


ถ้าหมายถึงเหตุ ขอถามต่อนะคะ แล้วต้นเหตุที่เป็นเหตุให้เกิดการกระทำลงไป คืออะไรคะ?



กบนอกกะลา เขียน:
ต้นเหตุของการเกิดตัณหา....คือความปรารถณารักษารูป....บำรุงรูป...ของอวิชชา



รูปของอวิชชา หมายถึงรูปแบบ หรือหมายถึงรูปที่เรียกว่า กาย หรือหมายถึงรูปอื่นๆ ที่ไม่ใช่นำมาถามถึงคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 14:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้ผล....

คือ...ไม่รู้ทุกข์

เพราะไม่รู้ผล....จึงเป็นเหตุ..ให้ปรุงแต่ง

ไม่รู้ผลคือทุกข์...อริยะสัจทั้งหมดก็ไม่รู้....

อวิชชาที่เขาแปลว่า..ความไม่รู้ในอริยะสัจ..ก็เป็นอย่างนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 14:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

กบนอกกะลา เขียน:
ต้นเหตุของการเกิดตัณหา....คือความปรารถณารักษารูป....บำรุงรูป...ของอวิชชา



รูปของอวิชชา หมายถึงรูปแบบ หรือหมายถึงรูปที่เรียกว่า กาย หรือหมายถึงรูปอื่นๆ ที่ไม่ใช่นำมาถามถึงคะ?


รูป...สิ่งที่ถูกยึดมั่นหมายมั่นว่าเป็นเรา....มีทั้งหยาบมีทั้งละเอียด...

ที่เห็นง่าย ๆ ก็รูปกายนี้

อวิชชาไม่มีรูป

ส่วน..คำว่า....ของอวิชชา..นี้...หมายถึงคุณสมบัติ..ของมัน

ความปรารถณาบำรุงรักษารูป...เป็นคุณสมบัติของอวิชชา

เป็นคุณสมบัติหนึ่งของอวิชชาที่เกิดหลังจากมีรูป(ของของตน)....จึงเรียกจิตอวิชชาตอนนี้ว่า...วิญญาณัง...(ในปฏิจจฯ)

คุณสมบัติที่คล้ายกับตัณหา....แล้วก็ทำให้เกิดตัณหาอีก....

ตัณหาซ้อนตัณหา....

ตัณหาเกิดตัณหา...

ถึงว่า....อย่าไปในอดีต...อย่าไปในอนาคต

ให้อยู่กับปัจจุบัน....หาเหตุ...ในปัจจุบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่รู้ผล.... คือ...ไม่รู้ทุกข์

เพราะไม่รู้ผล....จึงเป็นเหตุ..ให้ปรุงแต่ง

ไม่รู้ผลคือทุกข์...อริยะสัจทั้งหมดก็ไม่รู้....

อวิชชาที่เขาแปลว่า..ความไม่รู้ในอริยะสัจ..ก็เป็นอย่างนี้





ต้นเหตุของการเกิดอวิชชาคืออะไร?

ถ้าตอบว่า เพราะ ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔

ขอถามต่อว่า เหตุของการรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ คืออะไร?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 15:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


บันทึกวานลิง ๓๓. ภิกษุผู้เป็นนักล่าเลียงผา

วันหนึ่ง ภิกษุผู้มาใหม่ห้ารูปด้วยกัน ได้ปรากฏตัวต่อหน้าครูบาของเราคราวเดียวกันทั้งหมู่ ภิกษุองค์หนึ่งในบรรดาภิกษุเท่านั้นแทนที่จะทำความเคารพตามธรรมเนียม กลับยืนเอามือเขียนอากาศเป็นรูปวงกลมอยู่ตรงหน้า

“ท่านทราบไหมว่า ทำอย่างไรจึงจะเป็นสุนัขไล่เนื้อที่ดี ?” ท่านครูบาของเรา ได้กล่าวถามภิกษุรูปนั้น

“ข้าพเจ้าต้องติดตามกลิ่นของเลียงผา ซิครับ”

“ถ้าเลียงผาเป็นสัตว์ที่ไม่มีกลิ่นเล่า เธอจะติดตามอะไร ?”

“ถ้าดังนั้น ผมต้องติดตามรอยกีบของมัน ซิครับ”

“ถ้ารอยกีบของมันไม่มีเล่า เธอจะทำอย่างไร ?”

“ข้าพเจ้าก็ยังติดตามร่องรอยอย่างอื่น ๆ ของสัตว์นั้นได้อยู่นี่ครับ”

“ถ้าร่องรอยอะไร ๆ ก็ไม่มีเล่า เธอจะติดตามอะไรได้อย่างไร ?”

“ในกรณีเช่นนั้น มันต้องเป็นเลียงผาที่ตายแล้ว โดยแน่นอน” ภิกษุรูปนั้นได้ตอบไปในที่สุด

ท่านครูบาของเราไม่ได้กล่าวอะไรอีกเลยในขณะนั้น แต่ในวันรุ่งขึ้น ครั้นเสร็จจากการแสดงธรรมแล้ว ท่านได้ขอร้องว่า “ภิกษุผู้เป็นนักล่าเลียงผาเมื่อวานนี้ โปรดก้าวออกมาที่นี่” ภิกษุรูปนั้นกระทำตามและท่านครูบาของเราได้ถามขึ้นว่า “สหายที่เคารพของข้าพเจ้าเมื่อวานนี้ท่านถูกปล่อยไปโดยไม่มีการพูดอะไร ท่านทราบไหมว่ามันหมายความว่าอย่างไร ?”

เมื่อเห็นว่าภิกษุนั้นไม่มีคำตอบอะไร ท่านครูบาได้กล่าวต่อไปว่า “อ้าว ท่านจะเรียกตัวเองว่าเป็นภิกษุที่แท้จริงรูปหนึ่ง ก็ได้ แต่ที่แท้ท่านเป็นเพียงสามเณรปริยัติสมัครเล่นรูปหนึ่งเท่านั้น”


:b48: :b49: :b49: :b48:

:b6: หมายความว่าอย่างไร...?


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 20 พ.ย. 2011, 15:50, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 15:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

ต้นเหตุของการเกิดอวิชชาคืออะไร?

ถ้าตอบว่า เพราะ ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔

ขอถามต่อว่า เหตุของการรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ คืออะไร?


กระผมไม่ได้ว่า....ความไม่รู้อริยะสัจเป็นต้นเหตุของการเกิดอวิชชา...นะ

ระวังด้วย...

เดียวได้กลายเป็นเก่งกว่าพระศาสดาไป :b5: :b5: :b5:

ส่วน...

เหตุของการรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ คืออะไร?

รู้ทุกข์ก่อน...

ไม่รู้ว่านี้คือทุกข์...ความคิดจะออกจากทุกข์...ก็ไม่มี

ไม่มีความคิดจะออกจากทุกข์....ทางดับทุกข์มีอยู่ก็ไม่เห็น

ทางแห่งมรรคไม่ดำเนิน....การรู้แจ้งในอริยะสัจก็ไม่เกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 15:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
...........
:b48: :b49: :b49: :b48:

:b6: หมายความว่าอย่างไร...?

ปริยัติ...ก็ยังดี

ดีกว่า..มวยวัด
:b13: :b13: :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร