วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 23:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2011, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะ มีความหมายว่าอย่างไร....?

ธรรมะ แปลว่า "ทรงไว้" คือ ทรงตนเอง หรือว่า ทรงภาวะของตนไว้ได้ซึ่งหมายถึง สภาพ คือมีความทรงอยู่ของตน ความดำรงอยู่ของตน ความมีความเป็นของตน ตามเป็นจริง

ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เรียกว่าธรรมะ กล่าวคือ

รูปธรรม ธรรมะที่มีรูป

อรูปธรรม ธรรมะที่ไม่มีรูป

ทุกๆ สิ่งที่มีรูปร่าง และทุกๆ สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง

บรรดาที่มีอยู่เป็นไปอยู่ในโลกทั้งหมด และ

บรรดาที่ปรากฏอยู่ในจิตใจทั้งหมด ก็เรียกว่าธรรมะ ได้ทั้งนั้น

เพราะทุกๆ สิ่งนั้น ก็ทรงอยู่

หรือ ดำรงอยู่ตามปัจจัย คือเหตุผลของตนๆ เร็วบ้าง ช้าบ้าง

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าธรรมะได้ด้วยกันทั้งหมด

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2011, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัจจะธรรม vs ศาสนธรรม

ความหมายอันสำคัญของ ธรรมะในพระพุทธศาสนา ที่ต้องทำความเข้าใจ คือพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรม ซึ่งก็หมายถึง "สัจจะ" ที่เป็นของจริงแท้

พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ สัจจะ หรือจะเรียกว่า สัจจธรรม ควบกัน คือธรรมะหรือสภาพ สภาวะที่เป็นของจริงแท้

เพราะฉะนั้น ธรรมะจึงหมายถึงสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นสัจจะ คือของจริงแท้

เมื่อกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน...ทรงสั่งสอนอะไร

พระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนธรรมะ. ธรรมที่ทรงสั่งสอนจึงหมายถึง "ศาสนา" คือคำสอน ก็เรียกว่า ศาสนธรรม.

เพราะฉะนั้น เมื่อย่อธรรมะ จึงย่อธรรมะได้เป็น ๒ คือ

สัจจธรรม ธรรมะคือสัจจะที่เป็นของจริงของแท้ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และ

ศาสนธรรม ธรรมะคือคำสอน หรือคำสั่งสอนของพระองค์ อันเรียกว่า ศาสนา หรือ พุทธศาสนา.

อรรถะอันแท้จริงของคำว่า ธรรมะ ก็คือของจริง ของแท้

ซึ่งธรรมดาว่าของจริง ของแท้นั้น ก็จะต้องมีความทรงตัวเอง หรือทรงภาวะของตน อยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2011, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุสลาธรรมา อกุสลาธรรมา อัพยากตาธรรมา

กุสลาธรรมา ธรรมะที่เป็นกุศล คือส่วนดี ซึ่งส่วนดีจริงก็เป็นธรรมคือ ว่าคงความเป็นส่วนที่ดี จริง

อกุศลาธรรมา ธรรมะที่เป็นอกุศล คือส่วนชั่ว ส่วนชั่วก็เป็นธรรมเหมือนกัน คือว่าคงเป็นส่วนชั่ว คงตัวเป็นส่วนชั่ว

อัพยากตาธรรมา ธรรมะที่เป็นอัพยากฤต คือไม่ว่าดี ไม่ว่าชั่ว เป็นกลางๆ ก็คงตัวเป็นกลางๆ อยู่ตามสภาพ คือตามภาวะของตน

เพราะฉะนั้น เมื่อว่าเป็นกลางๆ ดั่งนี้จึงคลุมไปได้ทั้งฝ่ายดี ทั้งฝ่ายชั่ว ทั้งฝ่ายกลางๆ

คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เรียกว่า "ศาสนา" ก็เป็นธรรมะ เพราะว่าทรงสั่งสอน ตามสัจจะคือความจริง

ดีก็ตรัสว่าดี

ชั่วก็ตรัสว่าชั่ว

เป็นอัพยากฤต(เป็นกลางๆ) ก็ตรัสว่า เป็นอัพยากฤต

คำสอน จึงคือพระธรรม อันเป็นคำสอนสำหรับที่จะขัดเกลาอัธยาศัยจิตใจ พร้อมทั้งความประพฤติ

ให้ละความชั่ว กระทำความดี ให้ชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส ต่างๆ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2011, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ปริยัติธรรม ธรรมะที่พึงเล่าเรียน

พึงตั้งใจสดับตรับฟัง

พึงตั้งใจอ่าน

พึงตั้งใจท่องบ่นจำทรง

พึงตั้งใจพิจารณาขบเจาะด้วยทิฏฐิ คือทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

ซึ่งปริยัติธรรม หมายถึงศาสนธรรม ธรรมะคือคำสั่งสอนนั่นเอง

ปริยัติธรรมจึงตั้งอยู่ในความจำ ในความเข้าใจขึ้นที่ตนเอง

เมื่อนำปริยัติธรรม มาประพฤติปฏิบัติทางกาย ทางวาจา ทางใจให้เป็นธรรมขึ้นมาที่กาย ที่วาจา ที่ใจ

จึงเป็น "ปฏิบัติธรรม" ตั้งขึ้นที่กาย ที่วาจา ที่ใจ

เมื่อปฏิบัติก็ย่อมจะได้รับผลของความปฏิบัติตั้งแต่เบื้องต้น

เป็นการยกตนให้พ้นจากโลกที่เป็นฝ่ายชั่ว หรือว่าให้พ้นจากความชั่ว ขึ้นมาสู่ความดีโดยลำดับ

จนบรรลุถึงโลกที่สูงขึ้นๆ คือเป็นส่วนที่ดีขึ้นๆ จนถึงพ้นโลก

อันหมายถึงว่า พ้นจากกิเลส และกองทุกข์

เพราะว่าโลกนั้น แม้จะเป็นโลกส่วนละเอียดส่วนสูง ก็ยังมีกิเลสมีกองทุกข์

และยังเป็นประโยชน์ปัจจุบันบ้าง ประโยชน์ภายหน้าบ้าง

ต่อเมื่อได้ยกตนให้สูงขึ้นๆ จนพ้นกิเลสพ้นกองทุกข์ได้ก็เรียกว่า พ้นโลก

พ้นโลกในใจของตนเอง ดั่งนี้ก็เรียกรวบยอดว่า "ปฏิเวธธรรม"

ธรรมะคือความรู้แจ้งแทงตลอด

ปฏิเวธธรรม ธรรมะคือความรู้แจ้งแทงตลอด รู้แจ้งก็คือรู้แจ้งสัจจะธรรม

แทงตลอด ก็คือว่ารู้แจ้งนั่นเองตลอด หรือปรุโปร่ง ตลอดจนถึงเจาะแทงกิเลส

ที่หุ้มห่อจิตอยู่นี้ให้เบาบาง ให้สิ้นไปหมดไป ให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง โดยลำดับขึ้นไป.

.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 11:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


- ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
- รู้ธรรมะ คือ รู้สรรพสิ่งตามสภาพความเป็นจริง รู้ว่าสรรพสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดจากเหตุและปัจจัยมารวมกันชั่วคราวเท่านั้น
- แล้วเราจะรู้ธรรมะได้อย่างไร ก็คือ การวิปัสสนาภาวนะ (เจริญปัญญา) พิจารณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6

พิจารณาขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เกิดดับ
พิจารณาอินทรีย์ 6 รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง เกิดดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 08:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:
ถ้าจะพูดอภิปรายกันว่าธรรมมะ คืออะไร ย่อมจะมีเรื่องที่จะต้องถกเถียงกันต่อไปอีกเยอะแยะมากมายไม่รู้จบเพราะธรรมมะเป็นชื่อย่อของ ธรรมชาติ ซึ่งกว้างขวางมากเปรียบเมือนใบไม้หมดทั้งป่า

ถ้าจะถกเถียงกันให้ได้มรรคผลคงต้องพูดเสียหม่ว่า

ธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสอนคืออะไร?

ถ้าอย่างนี้จะเป็นการพูด สนทนา ถกเถียงกันในรื่องที่รู้จบ มีขอบเขตี่แน่นอน เพราะธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น เปรียบได้กับใบไม้ในกำมือ

ธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสอนนั้นสั้น เรียบง่าย มีเรื่องเดียว ถ้ารู้เหมือนกันแล้วจะหมดข้อถกเถียง ทั้งสิ้งนี้ยังเป็นสาระ แก่นสาร หัวใจ ของพระพุทธศ่าสนา เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนาด้วย นั่นคือ

อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ

ใครสนทนาพูดคุยกันถกเถียง อภิปราย ทำความแยบคายละเอียดลึกซึ้งกันในเรื่อง อริยสัจ 4 การพูดนั้นเป็น "สัมมาวาจา"

ใครมีความเห็นถูกต้องในอริยสัจ 4 ความเห็นนั้นเป็น "สัมมาทิฐิ"

ใครมีความคิดครุ่นอยู่ในเรื่องอริยสัจ 4 ความคิดนั้นเป็น "สัมมาสังกัปปะ"

ใครที่ทำประกอบอยู่กับกรรมเพื่อเจริญมรรค 8 และอริยสัจ 4 สิ่งนั้นเป็น "สัมมากัมมันตะ"

ใครทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริตไม่ผิดศีลไม่ผิดธรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์และปัจจัย 4 เพื่อดำรงชีวิตอยู่รอดไปได้ปฏิบัติตามช่องทางแห่งอริยสัจ 4 นั่นเป็น "สัมมาอาชีวะ

ใครขยันหมั่นเพียรเจริญมรรค 8 เพื่อให้ถึงอริยสัจ 4 อยู่ ชื่อว่ากระทำ "สัมมาวายามะ"

ใครมีสติระลึกรู้อยู่กับหน้าที่ของชาวพุทธคือ เจริญมรรค 8 วิปัสสนาภาวนา เพื่อทำอริยสัจ 4 ให้แจ้ง
ชื่อว่า (สัมมาสติ)

ใครมีจิตตั้งมั่นอยู่ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือมรรค 8 เพื่อให้แจ้งอริสัจ 4 ชื่อว่า มี "สัมมาสมาธิ" ดังนี้แล

:b12:
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2011, 11:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


genetic เขียน:
จากนิทานเซ็นครับ

"ที่ไม่มีอะไรเลย นั่นแหละ" คือ ธรรมะ

อ้างอิง http://www.dhammajak.net/zen/50.html ครับ


ที่ว่าไม่มีของท่านคือ ไม่มีกิเลสใช่หรือไม่ (โลภ โกรธ หลง) ใช่ครัับผู้มีธรรมคือ ไม่มีกิเลสครับ
แต่ว่าจะทำอย่างไรให้ไม่มีกิเลสครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 17:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2007, 07:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกสรรพสิ่ง คือ ธรรมะ
ธรรมะสูงสุด มีหนึ่งเดียว คือ สัจจธรรม อันเป็นธรรมสากล

.....................................................
ค้นหาอะไรก็ได้อย่างนั้นแล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2011, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกมะเขือ เขียน:
คำนิยามของ ธรรมะ ที่อธิบายง่ายๆ นะค่ะ
:b10: :b8:

Kiss
...ธรรมะ...อธิบายในแง่ที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านะคะ...
...ธรรมชาติของทุกสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏให้มนุษย์ทุกคนรับรู้ได้...
...รับรู้ได้ 6 ทางและแต่ละทางรับรู้ได้เฉพาะเจาะจงที่ไม่เหมือนกัน...
...ได้แก่...รับรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาผ่านการมองเห็นทางดวงตา...
...รับรู้เสียงที่กำลังปรากฏผ่านทางหูก็คือการได้ยินเสียงต่างๆ...
...รับรู้กลิ่นต่างๆที่หอมหรือเหม็นผ่านทางจมูกได้เท่านั้น...
...รับรู้รสหวาน ขม เค็ม เผ็ด ฝาด และรสอื่นได้ทางลิ้นเท่านั้น...
...รับรู้สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ได้ทางกายเท่านั้น...
...และใจรับรู้อารมณ์ต่างๆเป็นความพอใจไม่พอใจจากการรับรู้ทั้งหมด...
:b4: :b4:
:b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2011, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
...สิ่งต่างๆที่ปรากฏให้สัมผัสแตะต้องได้...สักแต่ว่าเป็นธาตุ4...ซึ่งมีรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสได้...
...เห็นมีจริงๆ...เป็นสภาพธรรมชาติของสิ่งต่างๆที่กำลังปรากฏเป็นภาพให้เห็นทางตา...
...เสียงมีจริงๆ...เป็นสภาพธรรมชาติของเสียงแต่ละเสียงที่แตกต่างกัน...
...กลิ่นมีจริงๆ...เป็นสภาพธรรมชาติของกลิ่นของธาตุต่างๆที่แตกต่างกัน...
...รสต่างๆที่รับรู้ผ่านทางลิ้นก็มีจริงๆ...เป็นสภาพธรรมชาติของรสในธาตุนั้นๆ...
...กายที่สัมผัสแตะต้องสิ่งต่างๆได้...ก็มีจริงๆ...เป็นธรรมชาติที่สามารถรับรู้ได้ตามนั้น...
...ใจที่รวมรับรู้อารมณ์จากสิ่งที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส รับสัมผัส ก็รู้ได้แต่ละทางต่างกัน...
...หูจะรับภาพแทนตาไม่ได้ จมูกจะรับรสแทนลิ้นไม่ได้ ทั้ง 6 ทางทำหน้าที่แทนกันไม่ได้ค่ะ...
...ธรรมชาติของสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏให้รู้ได้ทั้งหกทางเป็นธรรมะในคำสอนที่เป็นพระธรรม...
...เมื่อใดที่เป็นตัวเราเห็น ตัวเราได้ยิน ได้กลิ่น ทั้งหกทางเป็นเราทำสิ่งต่างๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรมะ...
:b16: :b16:
:b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2011, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
...ทุกขณะจิตในชีวิตประจำวันเป็นธรรมะ...คือธรรมชาติของสิ่งต่างๆที่ปรากฏให้รับรู้ได้จริงๆ...
...แต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็หมดไปตามเวลาที่เดินหน้าไปเรื่อยๆ...ที่ผ่านไปแก้ไขไม่ได้...
...แก้ไขได้ ณ ปัจจุบันขณะ ให้มีความเห็นถูกในสภาพธรรมชาติที่เกิดขึ้นว่าไม่ใช่เราเป็นธรรมะ...
...เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังดำเนินเดินหน้าไปเรื่อยๆนั้น...เป็นตัวเราทำก็จะไม่เข้าใจธรรมะ...
:b1: :b12:
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 08:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




b29.jpg
b29.jpg [ 37.52 KiB | เปิดดู 5608 ครั้ง ]
:b27:
ธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสอนคืออะไร?

น่าจะใช้คำถามประโยคนี้แทน จึงจะทำให้ผู้ศึกษาได้ศึกษาเข้าไปในกรอบและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพระบรมศาสดา ทั้งจะทำให้ง่ายในการศึกษา การปฏิบัติ ทั้งยังชี้ตรงลงไปที่กลางเป้าหมายของการปฏิบัติ คือการกำจัดอวิชชา ความเห็นผิด ที่ติดและยึดครองใจของปุถุชนคนธรรมดาทั้งหลายมาแสนนาน

ธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสอนคืออะไร?

นี่คือข้อที่ 1 ในบทสวดธรรมคุณ 6 ประการ (สวากขาโต ภควตาธัมโม...............)

ลองพิจารณาบทสสวดธรรมคุณ 6 ประการที่แปลโดยนักวิปัสสนา ดังต่อไปนี้ซิครับ

ธัมมาภิคีติง
(ธรรมคุณ ๖ ประการ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.
(คืออะไร)

สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง จึงจักรู้ได้ด้วยตนเอง;

อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ;

โอปะนะยิโก, ความเห็นธรรมนั้น)เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดขึ้นในตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป (แล้วจะ
ส่งให้ถึงความสงบเย็น คือ มรรค - ผล - นิพพาน)

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ในเมื่อเรา ไม่มีตัวตนที่แท้จริง
เราเป็นแค่สภาวธรรม ที่อาศัยขันธ์5 เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว เฉพาะแต่เวลาที่เป็นวิถีจิตเท่านั้น

แต่ด้วยอุปาทาน เราจึงมีความรู้สึกว่า ขันธ์5 เป็นเรา ขันธ์5 ของเรา เรามีขันธ์5

ทั้งๆ ที่ความจริง อุปาทาน คือ 1 ในสังขารขันธ์

รูป ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เวทนา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
สัญญา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
สังขาร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
วิญญาณ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

เมื่ออุปาทานทำงาน

จึงรู้สึกว่า เรามีรูป เรามีเวทนา เรามีสัญญา เรามีสังขาร เรามีวิญญาณ

เรามี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เรามี ขันธ์5

เรามีโน่นมีนี่ ..........................................นี่คือการทำงานของอุปาทาน

เรามีความสุข
เรามีความทุกข์
ความสุขของเรา
ความทุกข์ของเรา

.................................................เหล่านี้เป็นการทำงานของอุปาทาน

อยากทราบว่า พระอริยบุคคล ขั้นไหน ถึงละอุปาทานได้

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร