วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 06:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




072dsq_resize.jpg
072dsq_resize.jpg [ 29.08 KiB | เปิดดู 3395 ครั้ง ]
:b12:
ยิ่งแสดงมากยิ่งเห็นชัดมากว่าคุณโฮฮับไปพลาดเกิดมิจฉาทิฐิตอนไหน อ่านแบบผ่านๆก็เห็นตอนที่คุณไปอ้างข้อความในพระสูตร แล้วไปแถบแดงเน้นเอาเฉพาะส่วนที่ตรงกับความเห็นของคุณว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นั้นเป็นธรรมเพื่อสอนพระอริยะ
Onion_L
คุณโฮฮับกำลังไปกล่าวตู่คัมภีร์มารับรองความเห็นผิดของตนอยู่ ถึงจะมีสติแต่ก็ขาดสัมปชัญญะเพราะความตอนต้นคุณก็อ้างมาเองว่ามรรค 8 ส่วนที่เป็นสาสวะ เพื่อคนธรรมดารู้ก็มี ส่วนที่เป็นอนาสวะเพื่ออริยชนรู้ก็มี พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็เริ่มต้นมาจากความเป็นปุถุชนนั่นแหละ ท่านก็ต้องเริ่มต้นเจริญมรรค 8 ระดับปุถุชนมาก่อน จึงได้พัฒนาจิตใจขึ้นมาถึงความเป็นอริยชน คุณโฮฮับและasokaก็เริ่มต้นมาจากความโง่เขลามืดบอดมาด้วยกัน เพิ่งจะมามีสุตตมยปัญญาและจินตมยปัญญาจากการศึกษาเรียนรู้ข้อธรรมต่างๆจากครูบาอาจารยและคัมภึร์ทั้งหลาย และคงจะมีภาวนามยปัญญากันมาบ้างตามเหตุปัจจัยของใครของมันแล้วก็พากันเอาสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้องในมุมมมองของตนเองมาแสดงอยู่ในลานธรรมจักรแห่งนี้และที่อื่นๆ
:b34:
สิ่งที่สำคัญคือถ้ารู้มาผิดแล้วนำมาถ่ายทอดต่อไปอย่างผิดๆนี่ซิ เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้ใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ต้องสังวรณ์ระวังให้มาก แต่ผมก็เชื่อในวิจารณาญาณของท่านผู้อ่านทุกท่านว่าคงมีหลักกาลามสูตรไว้อยู่ในดวงใจกันทุกคนแล้ว

อย่าขุ่นมัวและคับแค้นใจให้มากเลยนะครับที่ผมไม่ยอมเชื่อและคล้อยตามคุณไปเพราะยังมีสิ่งที่ไม่เข้าท่าไม่เขาทางอยู่อีกหลายเรื่องในความเห็นของคุณ อย่างไรก็ขอให้มีขันติ ตบะ วิริยะ ศรัทธา สนทนากันไปนานๆอย่าถอยอย่าท้อแท้ไปเสียก่อนล่ะครับ พราะนี่เป็นโอกาสสำคัญที่คุณและผมจะได้มาปรับความเห็นหรือทิฐิที่เป็นมิจฉาทั้งหลายให้เป็นสัมมาทิฐิโดยภาคทฤษฎีกันให้ได้เสียก่อนด้วยสุตตมยปัญญาและจินตมยปัญญา หลังจากนั้นแล้ว ภาวนามยปัญญาที่ถูกต้องจึงจะเกิดขึ้นแล้วนำไปสู่โสดาปัตติมรรค ผล แล้วก็นิพพานจริงๆ อันไม่ใช่และไม่เหมือนกับนิพพานคิดนึกเอา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 06:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




41_1758.jpg
41_1758.jpg [ 27.44 KiB | เปิดดู 3395 ครั้ง ]
tongue
การเจริญมรรค 8
เมื่อได้อ่านกระทู้โต้ตอบของคุณโฮฮับอีกก็มาจับประเด็นและสรุปลงไปที่เดิมอีกว่าเรากำลังพูดคนละภาษาเดียวกัน คือสื่อกันไม่รู้เรื่องเพราะมีจุดตั้งหรือความเห็นเริ่มต้นที่อาจจะคล้ายกันแต่ใช้คำอธิบายที่ต่างกันมันจึงมีแง่มุมประเด็นที่ต้องถกเถียงกันในเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยที่มีสัญญาอันได้ศึกษามาแตกต่างกัน เมื่อพยายามอย่างยิ่งแล้วอีกฝ่ายไม่ยอมเชี่อเลยเกิดการกระแนะกระแหน แขวะกระทบกระแทกกันด้วยสำนวนภาษาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนหรือแม้อริยชนชั้นต้นซึ่งยังมีโทสะและปฏิฆะอยู่ ก็จึงไม่ว่ากัน เพราะลึกๆแล้วก็พอจะทราบว่าเราต่างคนต่างมีความปารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นได้รู้และเข้าใจคำสอนที่ถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในแนวทางและความเห็นที่เราเองคิดว่าถูกต้อง ก็ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาส่วนนี้
แต่มีสิ่งที่ยอมไม่ได้เป็นอย่างยิ่งในเรื่องที่คุณโฮฮับเที่ยวป่าวประกาศไปทั่วว่ามรรคมีองค์แปดนี้เป็นธรรมมะสำหรับสอนพระอริยเจ้า ไม่ใช่เพื่อสอนปุถุชนคนธรรมดา เรื่องนี้คงต้องมาปรับความเห็นให้ลงตัวกันอีกต่อไป
ดังนั้นวันนี้เราจึงควรจะเลิกถกเถียงกันในเรื่องที่ปลีกย่อยชวนให้เกิดโทสะ ปฏิฆะขุ่นมัวทั้งหลาย เพราะมีแต่ความน่าเศร้าหมองที่ลูกพ่อเดียวกันมาทะเลาะกันด้วยมานะทิฐิและอัตตทิฐิ ควรเป็นการนำเหตุและผลที่ถูกต้องมาแสดงสู่กันฟังดีกว่า ท่านผู้ที่มาร่วมอ่านและสังเกตการณ์จะได้ไม่งงว่าที่สุดแล้วฉันควรจะเจริญธรรม เจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนาอย่างไร?
เบื้องต้นจึงขออ้างอิงยกเอามรรค 8 แปลมาแสดงให้ดูพร้อมๆกันแล้วมาวินิจฉัยร่วมกันว่ามรรค 8 นี้เป็นธรรมเฉพาะพระอริยเจ้าหรือเป็นธรรมสำหรับมนุษย์ทุกๆคน
อ้างอิงจากเวบนี้นะครับ
http://portal.in.th/i-dhamma/pages/8590/

:b43:

อริยมรรคมีองค์แปด
(มรรค์มีองค์ 8)

(หันทะ มะยัง อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส.)

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
หนทางนี้แล, เป็นหนทางอันประเสริฐ, ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด,

เสยยะถีทัง,
ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ,
สัมมาทิฏฐิ, ความเห็นชอบ,
สัมมาสังกัปโป, ความดำริชอบ,
สัมมาวาจา, การพูดจาชอบ,
สัมมากัมมันโต, การทำการงานชอบ,
สัมมาอาชีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ,
สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ,
สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ,
สัมมาสะมาธิ, ความตั้งใจมั่นชอบ,

(องค์มรรคที่ 1)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความเห็นชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์,

ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง,
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์,

ทุกขะนิโรเธ ญาณัง,
เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์,

ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง,
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมาทิฏฐิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ,



(องค์มรรคที่ 2)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

เนกขัมมะสังกัปโป,
ความดำริในการออกจากกาม,

อัพฺยาปาทะสังกัปโป,
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย,

อะวิหิงสาสังกัปโป,
ความดำริในการไม่เบียดเบียน,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมาสังกัปโป,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ,

(องค์มรรคที่ 3)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

มุสาวาทา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง,

ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด,

ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ,

สัมผัปปะลาปา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมาวาจา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ,

(องค์มรรคที่ 4)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การทำการงานชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

ปานาติปาตา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า,

อะทินนาทานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว,

กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมากัมมันโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ,

(องค์มรรคที่ 5)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การเลี้ยงชีวิตชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้,

มิฉาอาชีวัง ปะหายะ,
ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย,

สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ,
ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ,

(องค์มรรคที่ 6)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความพากเพียรชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณฺหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น,


อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณฺหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว,

อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา, อะสัมโมสายะ, ภิยโยภาวายะ, เวปุลลายะ, ภาวะนายะ, ปาริปูริยา, ฉันทังชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณฺหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อความตั้งอยู่, ความไม่เลอะเลือน, ความงอกงามยิ่งขึ้น, ความไพบูลย์, ความเจริญ, ความเต็มรอบ, แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่าความพากเพียรชอบ,

(องค์มรรคที่ 7)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความระลึกชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,

เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,

จิเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,


ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่าความระลึกชอบ,

(องค์มรรคที่ 8)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความตั้งใจมั่นชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

วิวิจเจวะ กาเมหิ,
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย,

วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ,
สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย,

สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง ปีติสุขัง ปะฐะมังฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงปฐมฌาณ, ประกอบด้วย วิตก วิจารณ์มีปิติและสุขอันเกิดจากการวิเวก แล้วแลอยู่,

วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา,
เพราะความที่วิตกวิจารณ์ทั้งสองระงับลง,

อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง, อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัม ปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงทุติยฌาณ, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจภายใน, ให้สมาธิเป็ธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารณ์, มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่,

ปีติยา จะ วิราคา
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ,

อุเปกขะโก จะ วิหะระติ, สะโต จะ สัมปะชาโน,
ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติ และสัมปชัญญะ,

สุขัญจะ กาเยนะ ปฏิสังเวเทติ,
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,

ยันตัง อะริยาอาจิกขันติ, อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ,
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย, ย่อมกล่าวสรรเสริฐผู้นั้นว่า, เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข, ดังนี้,

ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่,

สุขัสสะ จะ ปะหานา,
เพราละสุขเสียได้,

ทุกขัสสะ จะ ปะหานา,
และเพราะละทุกข์เสียได้,

ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา,
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน,

อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง, จะตุตถังฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงจตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมาสะมาธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ.
:b8:
ชวนกันอ่านและสังเกต พิจารณากันให้ดีนะครับว่าคำสอนอย่างนี้เพื่อปุถุชนหรืออริยชน ซึ่งจริงๆแล้วท่านที่เป็นอริยชนแล้วทำไมจะต้องไปสอนท่านอีก
:b55:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
ยิ่งแสดงมากยิ่งเห็นชัดมากว่าคุณโฮฮับไปพลาดเกิดมิจฉาทิฐิตอนไหน อ่านแบบผ่านๆก็เห็นตอนที่คุณไปอ้างข้อความในพระสูตร แล้วไปแถบแดงเน้นเอาเฉพาะส่วนที่ตรงกับความเห็นของคุณว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นั้นเป็นธรรมเพื่อสอนพระอริยะ

คุณโสกะครับกรุณาอย่าใช้วิธีไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ก็ใช้คาถา
มันน่าอายนะครับ

มันใช่อย่างที่คุณบอกหรือครับ ผมเอาเฉพาะข้อความตรงนั้นหรือครับ
นี่สู้อุตสาห์ทำลิ้งมาให้ แถมสำทับอีกว่า

"อ่านพระไตรปิฎกอย่าอ่านเพียงท่อนเดียวหรือหัวข้อเดียว
กรุณาอ่านให้หมดแล้วพิจารณาตามไปด้วย"

ผมบอกไว้ในความเห็นผม คุณไม่เห็นหรือแกล้งไม่เห็นครับ
หรือเห็นแต่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจแต่ต้นแล้ว
asoka เขียน:
:b12:
คุณโฮฮับกำลังไปกล่าวตู่คัมภีร์มารับรองความเห็นผิดของตนอยู่ ถึงจะมีสติแต่ก็ขาดสัมปชัญญะ[/color]เพราะความตอนต้นคุณก็อ้างมาเองว่ามรรค 8 ส่วนที่เป็นสาสวะ

มันมีหรือที่ผมอ้างว่า มรรคแปดที่เป็นสาสวะ ผมกะไว้แล้วเอาพระไตรปิฎกมาอ้างกับ
คนไม่รู้ เรื่องคงไม่กระจ่างกลับทำให้ผู้ไม่รู้สับสนหนักเข้าไปอีก

ฟังให้ดีๆนะครับ สัมมาที่เป็นสาสวะไม่มีมรรคองค์แปด
มรรคมีองค์แปดมีได้เฉพาะ สัมมาที่เป็นอนาสวะเท่านั้น

สัมมาสังกัปปะที่คุณกล่าวถึง เป็นเพียงความคิดที่เป็นสาสวะ
ยังเป็นโลกียะ เป็นไปเพื่อผลขันธ์ ยังไม่ได้ละซึ่งตัวตน ทุกอย่าง
ที่ทำเพื่อผลแห่งบุญในชาติหน้า ไม่ได้เป็นไปเพื่อนิพพาน เข้าใจมั้ย

สัมมาสังกัปปะอันเป็นหนึ่งในมรรคมีองค์แปด เป็นได้เฉพาะอนาสวะ
เป็นเรื่องโลกุตระและมีได้แต่อริยะบุคคลเท่านั้น ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อ
นิพานเท่านั้น

สรุปก็คือคุณเข้าใจผิดตั้งแต่ต้น ขาดความรู้ในเรื่อง อริยะมรรคมีองค์แปด
คุณคิดว่า สัมมาสังกัปปะที่เป็นสาสวะเป็นเป็นตัวเดียวกับ
สัมมาสังกัปปะที่เป็นอนาสวะ มันเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก

asoka เขียน:
:b12:
[/color]เพราะความตอนต้นคุณก็อ้างมาเองว่ามรรค 8 ส่วนที่เป็นสาสวะ เพื่อคนธรรมดารู้ก็มี ส่วนที่เป็นอนาสวะเพื่ออริยชนรู้ก็มี พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็เริ่มต้นมาจากความเป็นปุถุชนนั่นแหละ ท่านก็ต้องเริ่มต้นเจริญมรรค 8 ระดับปุถุชนมาก่อน จึงได้พัฒนาจิตใจขึ้นมาถึงความเป็นอริยชน คุณโฮฮับและasokaก็เริ่มต้นมาจากความโง่เขลามืดบอดมาด้วยกัน เพิ่งจะมามีสุตตมยปัญญาและจินตมยปัญญาจากการศึกษาเรียนรู้ข้อธรรมต่างๆจากครูบาอาจารยและคัมภึร์ทั้งหลาย และคงจะมีภาวนามยปัญญากันมาบ้างตามเหตุปัจจัยของใครของมันแล้วก็พากันเอาสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้องในมุมมมองของตนเองมาแสดงอยู่ในลานธรรมจักรแห่งนี้และที่อื่นๆ

คุณนี่เพ้อเจ้อไม่เลิก ดื้อด้านไม่สร่างซ่านะครับ
มันมีหรือครับปุถุชนเริ่มต้นก็เจริญมรรคมีองค์แปด ผมเห็นมีแต่ปุถุชนเขาเจริญสติกัน
มันเป็นความไม่รู้ของคุณนั้นแหล่ะ ที่คิดว่า ปุถุชนเขาเจริญมรรค
ไอ้ตัวสัมมาต่างที่คุณว่ามานั้น ทั้งหมดล้วนเป็นสาสวะ มันเป็นเรื่องของศีลและทาน

ก่อนที่จะมาเป็นอริยะ ท่านเหล่านั้นล้วนมีสติไประลึกรู้ธรรมจนเกิดปัญญา
และเมื่อเกิดปัญญาเป็นอริยะบุคคลแล้ว จึงใช้ปัญญาที่ว่านี้ ไปเจริญมรรคอีกเจ็ดองค์ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
สิ่งที่สำคัญคือถ้ารู้มาผิดแล้วนำมาถ่ายทอดต่อไปอย่างผิดๆนี่ซิ เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้ใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ต้องสังวรณ์ระวังให้มาก แต่ผมก็เชื่อในวิจารณาญาณของท่านผู้อ่านทุกท่านว่าคงมีหลักกาลามสูตรไว้อยู่ในดวงใจกันทุกคนแล้วคุณไปเพราะยังมีสิ่งที่ไม่เข้าท่าไม่เขาทางอยู่อีกหลายเรื่องในความเห็นของคุณ อย่างไรก็ขอให้มีขันติ ตบะ วิริยะ ศรัทธา สนทนากันไปนานๆอย่าถอยอย่าท้อแท้ไปเสียก่อนล่ะครับ พราะนี่เป็นโอกาสสำคัญที่คุณและผมจะได้มาปรับความเห็นหรือทิฐิที่เป็นมิจฉาทั้งหลายให้เป็นสัมมาทิฐิโดยภาคทฤษฎีกันให้ได้เสียก่อนด้วยสุตตมยปัญญาและจินตมยปัญญา หลังจากนั้นแล้ว ภาวนามยปัญญาที่ถูกต้องจึงจะเกิดขึ้นแล้วนำไปสู่โสดาปัตติมรรค ผล แล้วก็นิพพานจริงๆ อันไม่ใช่และไม่เหมือนกับนิพพานคิดนึกเอา

เรื่องนี้รู้สึกว่าผมจะพูดไปหลายรอบแล้ว ผมแค่แสดงความเห็นไม่ได้ถือมีดถือปืน
ขู่บังคับใครให้เชื่อผม คุณไม่ต้องเป็นห่วงสมาชิกของครับ ผมว่าคุณห่วงตัวคุณเองดีกว่า
หัดยอมรับความเห็นคนอื่นบ้าง ที่บอกไม่ใช่ให้เชื่อ แค่ไม่อยากให้แสดงอาการพาล
จนออกนอกหน้า แล้วก็อย่าพยายามดึงคนอื่นมาร่วมในกิเลสของตัวเองเท่านั้นแหล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 03:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
การเจริญมรรค 8
เมื่อได้อ่านกระทู้โต้ตอบของคุณโฮฮับอีกก็มาจับประเด็นและสรุปลงไปที่เดิมอีกว่าเรากำลังพูดคนละภาษาเดียวกัน คือสื่อกันไม่รู้เรื่องเพราะมีจุดตั้งหรือความเห็นเริ่มต้นที่อาจจะคล้ายกันแต่ใช้คำอธิบายที่ต่างกันมันจึงมีแง่มุมประเด็นที่ต้องถกเถียงกันในเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยที่มีสัญญาอันได้ศึกษามาแตกต่างกัน เมื่อพยายามอย่างยิ่งแล้วอีกฝ่ายไม่ยอมเชี่อเลยเกิดการกระแนะกระแหน แขวะกระทบกระแทกกันด้วยสำนวนภาษาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนหรือแม้อริยชนชั้นต้นซึ่งยังมีโทสะและปฏิฆะอยู่ ก็จึงไม่ว่ากัน เพราะลึกๆแล้วก็พอจะทราบว่าเราต่างคนต่างมีความปารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นได้รู้และเข้าใจคำสอนที่ถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในแนวทางและความเห็นที่เราเองคิดว่าถูกต้อง ก็ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาส่วนนนี้

คุณโสกะครับที่คุณพูดว่า"พูดคนละภาษาเดียวกัน" แล้วอธิบายเสียยืดยาว
พูดในทำนองว่าจุดตั้งต้นคล้ายกันแต่ผิดตรงที่อธิบายต่างกัน

มันไม่ใช่เลยครับ ที่จริงแล้วจุดตั้งต้นเราต่างกันครับ การอธิบายความเลยต่างกันด้วย
คุณว่าการรู้อะไรหนึ่งสิ่ง กับการรู้อะไรสองสิ่งมันต่างกันมั้ย
ก็เหมือนกับที่คุณรู้สัมมาสังกัปปะที่เป็น"สาสวะ"แค่อย่างเดียว
แต่ผมรู้ว่า มันยังมีสัมมาสังกัปปะที่เป็นอนาสวะอีกตัวซึ่งมันต่างจาก
ตัวที่คุณรู้ คุณว่าผมรู้มากกว่ามั้ยล่ะ

คำอธิบายของผมที่บอกคุณไปมันไม่ใช่รายละเอียดปลีกย่อยเลย
มันเป็นสาระสำคัญของประเด็นล้วนๆ คุณอ่านแล้วไม่เข้าใจเลย
คิดเอาเองว่า เป็นรายละเอียดปลีกย่อย

คุณโสกะครับ คุณเข้าใจคำว่า"จิตสาธารณะมั้ย" การที่ผมเข้ามาแสดงความเห็น
ในนี้ผมไม่ได้มีจุดประสงค์ให้ใครเชื่อผม เพียงแต่ต้องการแสดงความเชื่อของผม
ให้คนอื่นเห็น ใครใคร่อ่านก็อ่าน ใครไม่อยากอ่านก็ผ่านไป
มันก็เหมือนส้วมสาธารณะนั้นแหล่ะครับ ใครเห็นว่าพอช่วยปลดทุกข์ได้
ก็ใช้ได้ แต่ถ้าใครรังเกียจเห็นว่าสกปรกก็ไม่ต้องใช้ไม่มีใครบังคับ

คำพูดของผมบางคำที่คุณเห็นว่า เป็นคำกระแนะกระแหน่
จะบอกให้ครับเป็นการเข้าใจผิดอย่างแรงครับ รู้จักผมจะเคย
บอกไปแล้วว่า มันเป็นวิธีการที่ใช้เพื่อให้คู่สนทนา เกิดความกระตือรือร้น
ที่จะหาเหตุผลมาแสดง มันทำให้เกิดความรู้ที่หลากหลายครับ
สำหรับผม การแสดงความเห็นแล้วมีคนเข้ามาอนุโมทนาสาธุ
ผมว่ามันไร้สาระ หาประโยชน์อะไรไม่ได้ เปลื้องหน้ากระทู้เปล่าครับ
อีกทั้งอาจทำให้สมาชิกผู้โพสเกิดความลำพองใจ คิดว่าตัวเองรู้ดีแล้ว
ไม่ขนขวายที่ศึกษาหรือปฏิบัติเพิ่มเติมครับ

คุณโสกะครับ สิ่งที่คุณโพสคุณเป็นของคุณไปคนเดียวเถอะครับ
ผมไม่เป็นไปกับคุณหรอกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 04:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
แต่มีสิ่งที่ยอมไม่ได้เป็นอย่างยิ่งในเรื่องที่คุณโฮฮับเที่ยวป่าวประกาศไปทั่วว่ามรรคมีองค์แปดนี้เป็นธรรมมะสำหรับสอนพระอริยเจ้า ไม่ใช่เพื่อสอนปุถุชนคนธรรมดา เรื่องนี้คงต้องมาปรับความเห็นให้ลงตัวกันอีกต่อไป

คุณนี่เป็นเอามากนะครับ ผมเที่ยวป่าวประกาศอะไรตรงไหนครับ
ผมก็แค่เข้ามาแสดงความเห็นแย้งความเห็นของคุณ เพราะไม่เห็นด้วย
แบบนี้เรียกว่าป่าวประกาศหรือครับ มันต้องบอกว่า คุณกำลังป่าวประกาศ
แล้วมมีผมเข้ามาขัดขว้างมันถึงจะถูก

เรื่องปรับความเห็น ไม่เห็นยากก็แค่คุณไปศึกษาเพิ่มเติมจากที่รู้แค่หนึ่ง
ก็ไปหามาเพิ่มเป็นสอง แล้วจะเห็นความแตกต่าง และจะหาได้ที่ไหน
ผมก็ลากลิ้งพระไตรปิฏก ในเรื่องมหาจัตตารีสกสูตรมาให้ดูแล้ว
ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจตรงไหน ก็สามารถถามได้
อย่าเขลาปิดโอกาสตัวเอง ด้วยการกล่าวหาคนอื่นว่า แย้งพุทธพจน์
ตู่พระไตรปิฏก คำพูดเหล่านี้เป็นวจีทุจริต
asoka เขียน:

ดังนั้นวันนี้เราจึงควรจะเลิกถกเถียงกันในเรื่องที่ปลีกย่อยชวนให้เกิดโทสะ ปฏิฆะขุ่นมัวทั้งหลาย เพราะมีแต่ความน่าเศร้าหมองที่ลูกพ่อเดียวกันมาทะเลาะกันด้วยมานะทิฐิและอัตตทิฐิ ควรเป็นการนำเหตุและผลที่ถูกต้องมาแสดงสู่กันฟังดีกว่า ท่านผู้ที่มาร่วมอ่านและสังเกตการณ์จะได้ไม่งงว่าที่สุดแล้วฉันควรจะเจริญธรรม เจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนาอย่างไร?

คุณคิดของคุณคนเดียวว่าเรากำลังทะเลาะกัน ส่วนผมยึดหลักสัมมัปปทานครับ
ผมสนใจแต่เหตุผลและเนื้อหาในประเด็นครับ นอกเหนือจากนี้ก็แค่อ่านแบบมีสติ
ไม่ให้หลงประเด็นครับ มันเป็นการฝึกสติอย่างหนึ่งครับ

asoka เขียน:

เบื้องต้นจึงขออ้างอิงยกเอามรรค 8 แปลมาแสดงให้ดูพร้อมๆกันแล้วมาวินิจฉัยร่วมกันว่ามรรค 8 นี้เป็นธรรมเฉพาะพระอริยเจ้าหรือเป็นธรรมสำหรับมนุษย์ทุกๆคน
อ้างอิงจากเวบนี้นะครับ
http://portal.in.th/i-dhamma/pages/8590/

คุณชอบกล่าวหาคนอื่น แย้งพุทธพจน์ พอเขาอ้างอิงพระไตรปิฎกว่า
มีคำกล่าวของพระพุทธเจ้าไว้ คุณก็หาว่าเขากล่าวตู่พระไตรปิฎก

ผมยกเอาพระไตรปิฎกมาอ้างอิงความเห็น
ทำลิ้งพระไตรปิฎกมา
แต่ดูคุณทำซิ คุณไปอ้างอิง ยกลิ้งเว็บอะไรมาครับ
แบบนี้แล้ว คำพูดที่คุณว่าชาวบ้านไว้ว่า แย้งพุทธพจน์
กล่าวตู่พระไตรปิฎก มันสมควรใช้กับใครดีครับ คุณโสกะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 06:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
:b12:
สุภาษิตปะจำว้นนี้
[b]"คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล"[/b]

ท่านผู้อ่านกระทู้นี้อาจแปลกใจนิดๆว่าทำไมกระทู้เรื่องวิปัสสนากับสมาธิ ไหงมาเป็นเรื่องมรรค 8 ไปได้
อย่าได้แปลกใจเลยนะครับเพราะ การเจริญมรรค 8 นั้นเป็นชื่อเต็มของวิปัสสนาภาวนาโดยตรงเลยแหละครับ
กระบวนการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นการประมวลธรรมตามโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ซึ่งเป็นธรรมมะหรือหลักปฏิบัติที่สำคัญยิ่งเพื่อให้ถึงความหลุดพ้น ซึ่งในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการนั้นอันประกอบไปด้วยโค๊ตตัวเลข 5 ตัวเพื่อให้จำง่ายคือ 3 4, 2 5 ,1 7, 1 8
3 4 ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
2 5 ได้แก่ อินทรีย์ 5 พละ 5
1 7 ได้แก่ โพชฌงค์ 7
1 8 ได้แก่ มรรค 8
ทั้งหมดนี้เป็นธรรมที่ชาวพุทธซึ่งเริ่มต้นจากปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆท่านทั้งหลายนี้ควรจะต้องรู้เพื่อจะได้นำมายึดถือเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติหรือปฏิบัติธรรมอย่างเรานิยมพูดกัน
.........ในประเด็นเรื่องของมรรค 8 นั้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบคำแปลและความหมายจากต้นฉบับที่เป็นพุทธวัจจนะ จึงได้ยกเอาบทสวดมนต์มรรค 8 แปลมาให้ทุกท่านได้พิจารณาและใช้วิจารณญาณอันเที่ยงธรรมตัดสินด้วยตนเองว่า "มรรค 8 นี้เป็นธรรมเฉพาะสำหรับพระอริยเจ้า หรือเป็นธรรมที่คนธรรมดาสามัญที่จะเริ่มต้นเป็นชาวพุทธที่ดีที่แท้ พึงได้ศึกษาและจดจำนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ
ถ้าพิจารณาดูกันให้ดีแม้แต่คำเริ่มต้นพระบรมศาสดาก็ทรงแสดงไว้อย่างชัดเจนว่า

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
หนทางนี้แล, เป็นหนทางอันประเสริฐ, ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด


เป็นคำบอกกล่าวที่เป็นกลางๆที่ใครก็สามารถจะรับฟังและรู้ได้ไม่จำเพาะพระอริยเจ้าเท่านั้น

เพื่อให้ได้พบอรรถถะแห่งมรรค 8 ในสำนวนของบัณฑิตและกัลยณมิตรท่านอื่นๆ วันนี้จึงขอยกมรรค 8 แปลในอีก 1 สำนวนมาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาและพิจารณา
:b53:
มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ ทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
• ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
• ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
• ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)

คัดมาจากวิถีพีเดีย
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 06:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
เรื่องของมรรค 8 อันเป็นหลักธรรมที่สำคัญมาก มีอีกสำนวนหนึ่งที่น่าจะได้ศึกษาเปรียบเทียบ ซึ่งสำนวนนี้อ้างอิงเอามาจากธัมมจักกัปปว้ตนสูตรหรือปฐมเทศนา
:b38:

อริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ (ทุกฺข-นิโรธคามินีปฎิปทา-อริยสจฺจ) หนทางสายนี้เรียกว่า "ทางสายกลาง (มชฺฌิมา ปฏิปทา) เพราะงดเว้นจากข้อปฏิบัติที่เอียงสุด 2 ประการ

ข้อปฎิบัติเอียงสุดอย่างแรก ได้แก่ การแสวงหาความสุขด้วยกามสุข อันเป็นของต่ำทราม เป็นของธรรมดา ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นทางปฏิบัติของสามัญชน

ข้อปฎิบัติเอียงสุดอีกอย่างหนึ่ง คือการแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนเองให้เดือดร้อน ด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยาในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการทรมานร่างกาย เป็นสิ่งไม่มีค่า และเป็นสิ่งไม่มีประโยขน์ ในเบื้องแรกนั้น

พระพุทธองค์ได้ทรงทดลองปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เอียงสุดทั้งสองประการนี้มาแล้ว ทรงพบว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จึงได้ทรงค้นพบทางสายกลางนี้ด้วยประสบการณ์ของพระองค์เอง ซึ่งเป็นทางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และนิรวาณะ (พระนิพพาน) ทางสายกลางนี้โดยทั่วไปหมายถึง ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ (อริยอฏฐคิกมคฺค)

เพราะประกอบด้วยองค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการคือ

1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง 2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น

2.ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย 1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)

3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ

4.กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม

5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ

6.พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)

8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)

ในทางปฏิบัตินั้น คำสอนทั้งหมดของพระพุทธองค์ที่ทรงอุทิศ พระองค์สั่งสอนในช่วงเวลา 45 ปีนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางสายกลางนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระองค์ทรงอธิบายทางสายนี้ โดยวิธิการ และใช้คำพูดที่แตกต่างกันไปตามความแตกต่างของบุคคลโดยให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนา และศักยภาพในการเข้าใจ และตามได้ทันของบุคคลเหล่านั้น แต่สาระสำคัญของพระสูตรหลายพันสูตรที่กระจายอยู่ในคัมภัร์ต่างๆ ของพุทธศาสนา ล้วนแต่มีเรื่องเกี่ยวกับมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้ทั้งนั้น

จะต้องไม่เข้าใจว่า องค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการของทางสายกลางนี้ ต้องนำไปปฏิบัติทีละข้อ โดยเรียงตามลำดับหมายเลขดังรายการที่ให้ไว้ข้างต้นนั้น องค์ต่างๆ เหล่านั้นจะต้องพัฒนาให้มีขึ้นพร้อมๆกันมากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่ขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะให้เป็นไปได้ องค์เหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวโยงกัน และแต่ละองค์ก็ช่วยส่งเสริมองค์อื่นๆไปด้วย
องค์ 8 ประการเหล่านี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม และทำให้หลักการ 3 อย่างของการฝึกอบรม และการควบคุมตนเองของชาวพุทธมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ

1.ความประพฤติทางจริยศาสตร์ (ศีล)

2.การควบคุมทางจิตใจ (สมาธิ)

3.ปัญญา (ปัญญา)

ดังนั้น คงจะช่วยให้ได้เข้าใจองค์ 8 ประการของทางสายกลางได้ดี และได้ใจความต่อเนื่องยิ่งขึ้น หากเราจัดแบ่งกลุ่มอธิบายองค์ 8 ประการตามหัวข้อ 3 นั้น ความประพฤติทางจริยศาสตร์ (ศิล) ถูกสร้างขึ้นมากจากความคิดอันกว้างไกล ที่ต้องการให้มีความเมตตา และกรุณาโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นที่น่าเสียดายว่ามีนักปราชญ์หลายท่านลืมอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ในคำสอนของพระพุทธองค์นี้ไป และพากันไปหมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องนอกประเด็นทางด้านปรัชญา และอภิปรัชญาที่น่าเบื่อหน่ายเมื่อพูด และเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงประทานคำสอนของพระองค์ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แห่ชาวโลก (พหุชนติตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย)

เท่าที่ได้พรรณามรรคโดยย่นย่อมานี้ ก็คงจะเห็นได้ว่ามรรคเป็นวิถี ชีวิตที่แต่ละบุคคลจะต้องนำไปประพฤติ และพัฒนาเป็นการควบคุมตนเอง ทั้งกาย วาจา และใจ เป็นการพัฒนาตนเงอ และเป็นการชำระ (จิต) ตนเองให้บริสุทธิ์ ไม่ได้เกี่ยวกับความเชื่อ การอ้อนวอน การบูชา หรือพิธีกรรมใดๆ โดยนัยน้ จึงไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คนนิยมเรียกกันว่า "ศาสนา" เป็นทางที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งในอุดมสัจจ์ ความมัอิสระอย่างสมบูรณ์ ความสุขและสันติ โดยอาศัยการบำเพ็ญตาม ศิล สมาธิ และปัญญาอย่างสมบูรณ์

ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาทั้งหลาย ยังมีประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนาที่ประกอบกันแบบง่ายๆ และสวยงามในโอกาสต่างๆ แต่ประเพณี และพิธีกรรมเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอริยมรรคนี้ มันมีคุณค่าก็แต่เพียงเป็นการสนองศรัทธา และความต้องการบางอย่างของผู้ที่ได้รับการพัฒนามาน้อย และช่วยให้คนเหล่านั้นได้ดำเนินไปสู่อริยมรรคนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไปเท่านั้น
คุณสมบัติของคนสมบูรณ์แบบ
ในทางพระพุทธศาสนา การที่บุคคลจะเป็นคนสมบูรณ์ได้นั้นจะต้องมีการพัฒนาคุณสมบัติ 2 ด้านให้เท่าเทียมกัน คือ ด้านกรุณา และด้านปัญญา

กรุณาในที่นี้ หมายถึง ความรักความเอื้อเฟื้อแผ่ความเอื้ออารี ความอดทน และคุณสมบัติอันประเสริฐทางด้านอารมณ์ หรือคุณสมบัติทางด้านจิตใจอย่างอื่นๆ

ส่วนปัญญา หมายถึง ทางด้านพุทธปัญญา หรือคุณสมบัติทางด้านจิต หากบุคคลใดพัฒนาเฉพาะด้านอารมณ์ ไม่ยอมพัฒนาทางด้านพุทธปัญญา บุคคลนั้นอาจจะกลายเป็นคนโง่ แต่มีจิตใจดี

ส่วนผู้ใดพัฒนาเฉพาะด้านพุทธปัญญาแต่ไม่ยอมพัฒนาทางด้านอารมณ์ ผู้นั้นอาจจะกลายเป็นคนฉลาดแต่จิตใจกระด้าง ไม่มีน้ำใจกับผู้อื่น เพราะฉะนั้น การที่จะให้เป็นคนสมบูรณ์แบบได้นั้น จะต้องพัฒนาทั้งสองด้านให้เท่าเทียมกัน นั่นคือจุดมุ่งหมายของวิถีชีวิตแบบพุทธ คือวิถีชีวิตที่มีปัญญา และมีความกรุณาเชื่อมโยงไม่แยกออกจากัน

ส่วนผู้ใดพัฒนาเฉพาะด้านพุทธปัญญาแต่ไม่ยอมพัฒนาทางด้านอารมณ์ ผู้นั้นอาจจะกลายเป็นคนฉลาดแต่จิตใจกระด้าง ไม่มีน้ำใจกับผู้อื่น เพราะฉะนั้น การที่จะให้เป็นคนสมบูรณ์แบบได้นั้น จะต้องพัฒนาทั้งสองด้านให้เท่าเทียมกัน นั่นคือจุดมุ่งหมายของวิถีชีวิตแบบพุทธ คือวิถีชีวิตที่มีปัญญา และมีความกรุณาเชื่อมโยงไม่แยกออกจากัน

สรุปอริยสัจจ์ 4

ในส่วนที่เกียวกับอริยสัจจ์ 4 ข้อนี้ เรามีหน้าที่พึงปฏิบัติอยู่ 4 ประการด้วยกันคือ

อริยสัจจ์ข้อที่ 1 คือ ทุกข์ ได้แก่ สภาวะของชีวิต ความทุกข์ของชีวิต ความเศร้าโศก และความรื่นเริงของชีวิต ความไม่สมบูรณ์ และความไม่สมหวังของชีวิต ความไม่เที่ยง และ ความไม่มีแก่นสารของชีวิตในข้อนี้ เรามีหน้าที่ที่จะต้องทำความเข้าใจข้อเท็จจริงอย่างกระจ่าง และอย่างสมบูรณ์ (ปริญฺเญยฺย)

อริยสัจจ์ข้อที่ 2 คือ บ่อเกิดของทุกข์ ซึ่งก็คือ ตัณหา พร้อมดวยกิเลส อาสวะ และสาสวะเหล่าอื่น ซึ่งเพียงแต่ทำความเข้าใจ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัณหานี้เท่านั้นยังไม่พอ เรามีหน้าที่ที่จะต้องละทิ้ง ขจัดทำลาย และกำจัดตัณหา (ปหานตพฺพ)

อริยสัจจ์ข้อที่ 3 คือ ความดับทุกข์ กล่าวคือ นิพพาน บรมสัจจ์ หรืออุดมมสัจจ์ ในข้อนี้เรามีหน้าที่ที่จะต้องทำให้รู้แจ้งเห็นจริง (สจฺฉิกาตพฺพ)

อริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ มรรคอันจะนำไปสู่การรู้แจ้งเห็นจริงในพระนิพพาน เพียงแม้แต่มีความรู้ในเรื่องของมรรคเท่านั้น แม้จะเป็นการรู้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังไม่เป็นการเพียงพอในข้อนี้ หน้าที่ของเราคือ ดำเนินตามและปฏิบัติตามมรรคนั้น (ภาเวตพฺพ)

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 215
คู่มือมนุษย์ ผู้แต่ง พุทธทาสภิกขุ สำนักพิมพ์ ธรรมสภา
แก่นพุทธศาสน ผู้แต่ง พุทธทาสภิขุ สำนักพิมพ์ ธรรมสภา
พระพุทธเจ้าสอนอะไร แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดย ร.ศ.ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และคณะ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2547

http://www.easyinsurance4u.com

โปรดใช้หลักอย่าเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร) ในการพิจารณา ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้จากที่มาที่อ้างอิง
มรรค มีองค์ 8 หรือ มรรค ๘ ประการ

--------------------------------------------------------------------------------


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุ กับท่าน asoka
ในความพยายาม ที่จะถ่ายทอด ธรรมะ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แบบ ตรงทาง ตรงธรรม
ให้กำลังใจครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แต่พระมหากัสสปะผู้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะ แม้ในเวลาแก่เป็นผู้แข็งแรงด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ย่อมขึ้นไปได้
ตามสบาย พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน ละความหวาดกลัวภัยได้แล้ว
กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา เพ่งฌานอยู่


Quote Tipitaka:
พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา เพ่งฌาน
อยู่


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๘๒๑๕ - ๘๓๐๒. หน้าที่ ๓๕๔ - ๓๕๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0หนีฌานไม่เอาฌานไม่ได้ Onion_R


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2012, 03:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


************พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์****************

[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์
อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายาม
ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 724&Z=3923


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2012, 08:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




กระบวนการทำงานของมรรค 8_100.1 Kb_resize.jpg
กระบวนการทำงานของมรรค 8_100.1 Kb_resize.jpg [ 45.99 KiB | เปิดดู 3337 ครั้ง ]
:b8: อนุโมทนาและขอบคุณเป็นอย่างยิ่งกับกุศลเจตนาของคุณศรีสมบัติ อนุโมทนากับคุณหลับอยู่ทีไปพักหลบเข้าฌานสมาบัติอยู่ตามเยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลาย
:b12:
หลังจากที่เราได้ทราบข้อมูลจากข้อธรรมที่อ้างอิงมาซึ่งวันนี้ก็มีครบและชัดเจนทั้ง 2 ฝ่าย ต้องขอบคุณคุณโฮฮับที่่ยกมาแสดงเปรียบเทียบให้ดูอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง


เรามาศึกษาดูกันต่อไปอีกว่า มรรคมีองค์ 8 นี้เพื่อสอนแต่พระอริยเจ้าเพียงฝ่ายเดียวหรือเป็นธรรมสำหรับปุถุชนคนธรรมดาผู้แรกศึกษา เข้ามาอยู่ในร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาพึงจะต้องรู้ เพราะนี่เป็นหลักการและปฏิบัติการที่สำคัญในการค้นหาสมุทัย เหตุทุกข์ ซึ่งเป็นสาระเป็นปฏิบัติการของอริยสัจ 4 อันเป็นหัวใจการค้นพบของพระพุทธเจ้าและเป็นแก่นสารของพระพุทธศาสนา

:b39:

.........ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกันอีกสักนิดหนึ่งว่า "ความติดยึดในบัญญัตินั้นเป็นเครื่องผูกมัด เป็นกรอบจำกัด ให้มุมมองของมนุษย์แคบไปไม่ครบทุกมุมมมอง และอาจเบี่ยงเบนจากสัจธรรมความจริงได้ อีกทั้งความติดยึดในบัญญัตินั้นเปรียบเหมือนการสร้างกรงขังขึ้นมาปิดล้อมตนเองไม่ให้ไปที่ไหนอื่นซึ่งอาจจะดีกว่าก็เป็นได้" มีตัวอย่างให้ดูมากมายแม้ในลานธรรมจักรแห่งนี้ถ้าเราจะพากันใช้สติ ปัญญา สังเกตพิจารณาดูกันให้ดีๆ

..........ดังนั้นการใช้บัญญัติทั้งหลายจึงควรเป็นเพียงเครื่องมือที่เราหยิบยกขึ้นมาใช้เมื่อจำเป็นต้องใช้ ใช้เสร็จแล้วก็เก็บวางไว้ในที่เดิมให้เป็นระเบียบ มิพึงบังควรแบกหามยึดถือไว้ไม่รู้กี่ชิ้นกี่อันจนดูพะรุงพะรังไปหมด

........ในเมื่อสมัครใจมาเป็นพุทธสาวกแล้วเราก็ควรนำเอาพุทธดำรัสที่ว่า "สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ" ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น มาใช้บ้างเป็นครั้งคราว เพื่อตัดกระแสความยึดแน่นในบัญญัติของเราให้เจือจางลง จิตใจจะได้เกิดสมดุลย์เป็นปกติธรรมชาติไม่เอนเอียงไปข้างใด ตั้งมั่นไว้อยู่ตรงกลางๆ ........วันนี้มีตัวอย่างความมยึดมั่นในบัญญัติตัวอย่างหนึ่งที่ฝังใจชาวพุทธมาโดยตลอดจนทำให้สัมปชัญญะคือปัญญาถูกบดบังทำให้มองไม่เห็นความจริงกันทั้งบ้านทั้งเมือง ดังเช่น ความติดยึดในคำว่า "ศีล สมาธิ ปัญญา" เมื่อติดยึดแน่นมากๆก็ทำให้มีความเห็นว่านี่คือสิ่่งที่ใช่และถูกต้อง ความเห็นที่แตกต่างจากนี้คือ ผิด วันนี้จะลองแสดงความเห็นในเรื่องนี้ในมุมมองใหม่ให้ทุกท่านลองพิจารณาดูซิว่า เหตุผลที่ยกมาจะพอฟังได้หรือไม่

.........จากความพยายามที่จะยืนยันความเห็นว่าการทำความดีต้อง เป็นไปตามลำดับขั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงทำให้มีความพยายามที่จะอธิบายมรรค 8 ว่าก็เป็นไปตามขั้นตอนแห่งศีล สมาธิ ปัญญา แต่สังเกตพิจารณาดูดีๆแล้วเห็นได้ชัดว่าเป็นความพยายามที่จะทำให้ผู้คนเชื่อและคล้อยตามความเห็นที่ยึดกันไว้ทั้งบ้านทั้งเมืองนี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา


"มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

• ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)

• ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

• ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)"
สังเกตกันดูให้ดีนะครับ!

ทำไมต้องไปกลับเรียงข้อธรรมของมรรค 8 ที่พระบรมศาสดาทรงจัดเรียงลำดับไว้ดีแล้วตามธรรมจริงๆที่พึงเกิด แล้วมาทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียใหม่ว่าทำไมพระพุทธองค์ เมื่อตอนทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้น ทรงแสดงไว้ว่า
......1.สัพพปาปัสสะอกรณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง ที่เรามาหมายความถึง ศีล
.......2.กุศลัสสูปสัมปทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม ที่เรามาหมายความถีง สมาธิ
.......สะจิตตะปริโยทปะนัง การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ซึ่งเรามาหมายถึง ปัญญา แต่พอถึงตอนที่ทรงแสดงเรื่องมรรค 8 พระองค์กลับทรงแสดงเรียงลำดับใหม่เป็น ปัญญา ศีล สมาธิ ความละเอียดลึกซึ้งในเรื่องนี้ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดอดใจรอฟังกาเฉลยต่อไป สำหรับวันนี้ข้อความยาวมากแล้วขอพักไว้ก่อนนะครับ
:b27:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2012, 16:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
tongue
การเจริญมรรค 8
เมื่อได้อ่านกระทู้โต้ตอบของคุณโฮฮับอีกก็มาจับประเด็นและสรุปลงไปที่เดิมอีกว่าเรากำลังพูดคนละภาษาเดียวกัน คือสื่อกันไม่รู้เรื่องเพราะมีจุดตั้งหรือความเห็นเริ่มต้นที่อาจจะคล้ายกันแต่ใช้คำอธิบายที่ต่างกันมันจึงมีแง่มุมประเด็นที่ต้องถกเถียงกันในเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยที่มีสัญญาอันได้ศึกษามาแตกต่างกัน เมื่อพยายามอย่างยิ่งแล้วอีกฝ่ายไม่ยอมเชี่อเลยเกิดการกระแนะกระแหน แขวะกระทบกระแทกกันด้วยสำนวนภาษาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนหรือแม้อริยชนชั้นต้นซึ่งยังมีโทสะและปฏิฆะอยู่ ก็จึงไม่ว่ากัน เพราะลึกๆแล้วก็พอจะทราบว่าเราต่างคนต่างมีความปารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นได้รู้และเข้าใจคำสอนที่ถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในแนวทางและความเห็นที่เราเองคิดว่าถูกต้อง ก็ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาส่วนนี้
แต่มีสิ่งที่ยอมไม่ได้เป็นอย่างยิ่งในเรื่องที่คุณโฮฮับเที่ยวป่าวประกาศไปทั่วว่ามรรคมีองค์แปดนี้เป็นธรรมมะสำหรับสอนพระอริยเจ้า ไม่ใช่เพื่อสอนปุถุชนคนธรรมดา เรื่องนี้คงต้องมาปรับความเห็นให้ลงตัวกันอีกต่อไป
ดังนั้นวันนี้เราจึงควรจะเลิกถกเถียงกันในเรื่องที่ปลีกย่อยชวนให้เกิดโทสะ ปฏิฆะขุ่นมัวทั้งหลาย เพราะมีแต่ความน่าเศร้าหมองที่ลูกพ่อเดียวกันมาทะเลาะกันด้วยมานะทิฐิและอัตตทิฐิ ควรเป็นการนำเหตุและผลที่ถูกต้องมาแสดงสู่กันฟังดีกว่า ท่านผู้ที่มาร่วมอ่านและสังเกตการณ์จะได้ไม่งงว่าที่สุดแล้วฉันควรจะเจริญธรรม เจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนาอย่างไร?
เบื้องต้นจึงขออ้างอิงยกเอามรรค 8 แปลมาแสดงให้ดูพร้อมๆกันแล้วมาวินิจฉัยร่วมกันว่ามรรค 8 นี้เป็นธรรมเฉพาะพระอริยเจ้าหรือเป็นธรรมสำหรับมนุษย์ทุกๆคน
อ้างอิงจากเวบนี้นะครับ
http://portal.in.th/i-dhamma/pages/8590/

:b43:

อริยมรรคมีองค์แปด
(มรรค์มีองค์ 8)

(หันทะ มะยัง อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส.)

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
หนทางนี้แล, เป็นหนทางอันประเสริฐ, ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด,

เสยยะถีทัง,
ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ,
สัมมาทิฏฐิ, ความเห็นชอบ,
สัมมาสังกัปโป, ความดำริชอบ,
สัมมาวาจา, การพูดจาชอบ,
สัมมากัมมันโต, การทำการงานชอบ,
สัมมาอาชีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ,
สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ,
สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ,
สัมมาสะมาธิ, ความตั้งใจมั่นชอบ,

(องค์มรรคที่ 1)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความเห็นชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์,

ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง,
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์,

ทุกขะนิโรเธ ญาณัง,
เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์,

ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง,
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมาทิฏฐิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ,



(องค์มรรคที่ 2)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

เนกขัมมะสังกัปโป,
ความดำริในการออกจากกาม,

อัพฺยาปาทะสังกัปโป,
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย,

อะวิหิงสาสังกัปโป,
ความดำริในการไม่เบียดเบียน,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมาสังกัปโป,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ,

(องค์มรรคที่ 3)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

มุสาวาทา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง,

ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด,

ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ,

สัมผัปปะลาปา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมาวาจา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ,

(องค์มรรคที่ 4)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การทำการงานชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

ปานาติปาตา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า,

อะทินนาทานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว,

กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมากัมมันโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ,

(องค์มรรคที่ 5)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การเลี้ยงชีวิตชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้,

มิฉาอาชีวัง ปะหายะ,
ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย,

สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ,
ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ,

(องค์มรรคที่ 6)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความพากเพียรชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณฺหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น,


อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณฺหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว,

อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา, อะสัมโมสายะ, ภิยโยภาวายะ, เวปุลลายะ, ภาวะนายะ, ปาริปูริยา, ฉันทังชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณฺหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อความตั้งอยู่, ความไม่เลอะเลือน, ความงอกงามยิ่งขึ้น, ความไพบูลย์, ความเจริญ, ความเต็มรอบ, แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่าความพากเพียรชอบ,

(องค์มรรคที่ 7)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความระลึกชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,

เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,

จิเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,


ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่าความระลึกชอบ,

(องค์มรรคที่ 8)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความตั้งใจมั่นชอบเป็นอย่างไรเล่า?,

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

วิวิจเจวะ กาเมหิ,
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย,

วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ,
สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย,

สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง ปีติสุขัง ปะฐะมังฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงปฐมฌาณ, ประกอบด้วย วิตก วิจารณ์มีปิติและสุขอันเกิดจากการวิเวก แล้วแลอยู่,

วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา,
เพราะความที่วิตกวิจารณ์ทั้งสองระงับลง,

อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง, อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัม ปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงทุติยฌาณ, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจภายใน, ให้สมาธิเป็ธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารณ์, มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่,

ปีติยา จะ วิราคา
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ,

อุเปกขะโก จะ วิหะระติ, สะโต จะ สัมปะชาโน,
ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติ และสัมปชัญญะ,

สุขัญจะ กาเยนะ ปฏิสังเวเทติ,
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,

ยันตัง อะริยาอาจิกขันติ, อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ,
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย, ย่อมกล่าวสรรเสริฐผู้นั้นว่า, เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข, ดังนี้,

ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่,

สุขัสสะ จะ ปะหานา,
เพราละสุขเสียได้,

ทุกขัสสะ จะ ปะหานา,
และเพราะละทุกข์เสียได้,

ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา,
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน,

อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง, จะตุตถังฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงจตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่,

อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมาสะมาธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ.
:b8:
ชวนกันอ่านและสังเกต พิจารณากันให้ดีนะครับว่าคำสอนอย่างนี้เพื่อปุถุชนหรืออริยชน ซึ่งจริงๆแล้วท่านที่เป็นอริยชนแล้วทำไมจะต้องไปสอนท่านอีก
:b55:




ขอประทานโทษเสริมนะครับ
มรรค 8 ไม่ใช่แนวทางให้นำเอามาปฏิบัติ แต่เป็น ผลที่ได้ จากการ
เห็นความจริงของธรรมชาติ ตามกฎไตรลักษณ์ ไม่ว่าพระสงฆ์ คนธรรมดา ถ้าปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกต้องก็จะได้ผลออกมาเป็น มรรค 8 (มรรคผล ไม่ใช่ มรรคเหตุ) เหตุมาจาก
การวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5 และ อายตนะทั้ง 6
ผลออกมาก็ คือ
ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) เห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมคิดดี
ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ) คนมีศีล พูดดี ทำดี อาชีพสุจริต
ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) มีความพยายาม สติมั่น สมาธิเกิดขึ้น
ตามลำดับครับไม่ใช่เอาอันไหนขึ้นก่อนหลังก็ได้
สรุปก็คือ มรรคมีองค์ 8 คือ "ปัญญา ศีล สมาธิ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2012, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ขอประทานโทษเสริมนะครับ
มรรค 8 ไม่ใช่แนวทางให้นำเอามาปฏิบัติ แต่เป็น ผลที่ได้ จากการ
เห็นความจริงของธรรมชาติ ตามกฎไตรลักษณ์ ไม่ว่าพระสงฆ์ คนธรรมดา ถ้าปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกต้องก็จะได้ผลออกมาเป็น มรรค 8 (มรรคผล ไม่ใช่ มรรคเหตุ) เหตุมาจาก
การวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5 และ อายตนะทั้ง 6

อริยะสัจจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แบ่งได้สองอย่างตือ เหตุและผล

สมุทัย เป็นเหตุ ทุกข์ เป็นผล
มรรค เป็นเหตุ นิโรธ เป็นผล


การอธิบายธรรมต้องมีจุดจบคือผล คุณไม่เที่ยงฯ วนเวียนอยู่แต่กับ "มรรค"และ"ปัญญา ศีล สมาธิ"
วน Loop หาจุดจบไม่ได้ ระวัง "ความเห็นผิด" ด้วยนะ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2012, 07:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค 8 ข้อปฏิบัติให้ถึงความพ้นทุกข์ 8 ประการ...จึงเรียกว่า...ทาง

แต่....ก็เห็นมีหลายคน.....มองว่ามรรค...คือผล

คงเพราะ...เห็นมันสั้น ๆ ...ไม่เห็นว่ามีข้อปฏิบัติให้ทำยังงัยนี้แหละ

หากมอง..มรรค..เป็นหัวข้อ..นะ..จะเห็นเบื้องหลังของแต่ละข้อ...มีเป็นพรวน

ที่ชัดน่าจะเห็นชัดคือ...สัมมาวายามะ...คือเพียรชอบ...มี 4..แค่นี้ก็ทำได้ทั้งวี่ทั้งวันแล้ว

ไหนจะ..สัมมาสติ....คือระลึกชอบ...อีก

ส่วน..สัมมาวาจา..สัมมากัมมันตะ...สัมมาอาชีวะ....ก็ให้ปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรมนั้นเอง

นี้จะเห็นว่าเป็นการปฏิบัติทั้งนั้น

ที่ออกจะเห็นยากสักหน่อย..ก็ข้อ...สัมมาทิฏฐิ...กับ..สัมมาสังกัปปะ...ว่าเอ๋ให้ทำยังงัย

แต่...ก็มี

หากไปดู...โพธิปักขิยธรรม.37..จะเห็นว่าเป็นการปฏิบัติชัด

สติปัฏฐาน 4....สัมมัปปธาน 4....อิทธิบาท 4...อินทรีย์ 5....พละ 5...โพชฌงค์ 7..มรรคมีองค์ 8

4+4+4+5+5+7+8 = 37

ทั้ง 37 ก็ย่อลง...ใน...มรรคมีองค์ 8 นี้แหละ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร