วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 17:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2012, 23:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




41_1736.jpg
41_1736.jpg [ 27.79 KiB | เปิดดู 962 ครั้ง ]
:b17:
กำลังสติปัญญาที่ต่ำจะเห็นว่าขันธ์ 5 เกิดขึ้นพร้อมกัน
แต่เมื่อกำลังของสติปัญญาสูงขึ้นจนได้ที่ จะเห็นหรือรู้ว่าขันธ์แต่ละขันธ์เกิดขึ้นคนละที เกิดดับๆ ต่อเนื่องกันไปอย่างถี่ยิบจนดูเหมือนว่าเกิดขึ้นพร้อมกัน ต้องเอาอภิธรรมแบบนับจิตได้ทีละดวงมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ

การวิเคราะห์วิจัยธรรมอย่างละเอียดอ่อนพ้นวิสัยปุถุชนธรรมดาจะรู้ได้ย่อมเป็นเรื่องที่ยากจะพิสูจน์ด้วยปฏิบัติการของแต่ละคน ผลที่ได้จากการวิเคราะห์วิจัยจึงเป็นเพียงความรู้อันพิเศษ น่าทึ่ง

สิ่งที่พึงได้จริงๆควรวิเคราะห์วิจัยลงไปให้เห็นว่า ในความยินดี ยินร้าย หรือ ความอยากอันเรียกว่า "ตัณหา"นั้น
มีความเห็นผิดว่าเป็น กู เป็นเรา ชักใยอยู่เบื้องหลัง จริงหรือไม่?

เพราะสิ่งนี้สามารถนั่งลงพิสูจน์ได้จากผัสสะ ณ ปัจจุบันอารมณ์ของทุกท่าน เดี๋ยวนี้เลยทีเดียว

:b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2012, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
1. ความหมายของเจตสิก
เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ (ขุนสรรพกิจโกศล 2510 : 2-3) อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1. เกิดพร้อมกับจิต 2. ดับพร้อมกับจิต 3. มีอารมณ์เดียวกับจิต 4. อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้

1. ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
2. กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
3. ผลงานของเจตสิกคือ รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต
4. เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต



เจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ให้จิตมีพฤติกรรมเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ ความรัก ความเกลียด ความสงบ หรือฟุ้งซ่าน ล้วนเป็นคุณสมบัติของเจตสิกทั้งสิ้น แต่เจตสิกเกิดขึ้นเอง และแสดงพฤติกรรมเองไม่ได้ ต้องอาศัยจิตเป็นตัวแสดงพฤติกรรมแทน
จึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของเจตสิกนั้น เกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ หรือธรรมชาติ ที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ ชื่อว่า เจตสิก

การที่ต้องแบ่งจิตออกไปมากมายนั้น เพราะเจตสิกที่ประกอบจิต มีประเภทต่าง ๆ กัน จิตสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยการเข้าไปรับรู้โลกเป็นอารมณ์ แต่การรับรู้นั้นต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นตัวกระทบอารมณ์ครั้งแรก(ผัสสะเจตสิก) เป็นต้น และเจตสิกอื่น ๆ ก็จะร่วมปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในอาการต่างๆ
การปรุงแต่งของเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ทำให้จิตมีความสามารถในการรู้อารมณ์พิเศษแตกต่างกันออกไป เช่น รู้เรื่องของกามคุณอารมณ์ เรื่องของรูปฌาน อรูปฌาน จนถึงรู้นิพพานอารมณ์

ที่กล่าวว่าเจตสิก คือ กลุ่มนามธรรมที่เกิดในจิต โดยเป็นไปเนื่องกับจิตหมายถึง กลุ่มธรรมอันมีผัสสะเป็นต้นนั้น มีความเป็นไปของกลุ่มธรรม ที่คล้ายเป็นอันเดียวกับจิต ด้วยลักษณะมีการเกิดขณะเดียวกับจิตนั่นเอง ข้อความนี้แสดงว่า เหมือนดั่งดอกไม้ ที่เนื่องอยู่ในขั้วเดียวกัน ในช่อดอกไม้ช่อหนึ่ง
สภาพธรรม คือเจตสิก มีใจเป็นผู้นำ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ

หมายความว่า ผัสสะ เป็นต้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีจิต แต่จิตเป็นไปได้ แม้จะไม่มีเจตสิกบางดวงเกิดร่วม เช่น กลุ่มปัญจวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีวิตกเจตสิกร่วมด้วย เป็นต้น จึงควรกล่าวว่า เจตสิกเนื่องกับจิต แต่ไม่ควรกล่าวว่าจิตเนื่องกับเจตสิก
พระบาลีว่า “ สำเร็จด้วยใจ” หมายความว่า ถูกจิตกระทำให้สำเร็จ กล่าวคือ เป็นอาการของจิต


http://www.abhidhamonline.org/thesis/ce ... tasika.htm


Quote Tipitaka:
[๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 5%CA%D4%A1



1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง - universal mental factors; the Primary)
1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์ - contact; sense-impression)
2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์ - feeling)
3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ - perception)
4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์ - volition)
5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว - one-pointedness; concentration)
6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง - vitality; life-faculty)
7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ - attention)

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร