วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2012, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 14:00
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงแค่คิด ยังไม่ลงมือทำ ผิดศีลหรือเปล่าค่ะ
ขอบคุณคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2012, 21:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คงเคยได้ยินมาบ้างแล้วนะครับว่า...ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว

การกระทำทุกอย่างเริ่มที่นายคือใจก่อนเสมอ...

ฉะนั้น...จะเริ่มว่าสิ่งใดผิดหรือถูก...ก็ต้องเริ่มที่นาย

นายสั่ง....บ่าวลงมือทำ....การกระทำนั้นสำเร็จ...ถ้าเป็นการกระทำผิด..ก็ผิดครบ 100 %
นายสั่ง....บ่าวลงมือทำ...การกระทำนั้นไม่สำเร็จ...ถ้าเป็นการกระทำผิด..ก็ผิดสัก 75 %
นายสั่ง....บ่าวยังไม่ลงมือทำ...การกระทำนั้นไม่เกิด...ถ้าเป็นเจตนาทำผิด..ก็ความผิดคงสัก 50 %
เป็นต้น

100 % ......นี้ ศีล ขาด
75...50 %...นี้..ศีลด่างพล้อย

ส่วนรายละเอียดของศีล..ประเดียวคงมีสักคนยกฉบับเต็มมา...รอสักครู่... :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2012, 07:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:22
โพสต์: 70


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดแล้วทำสำเร็จ ศีลขาด
คิดแล้วทำไม่สำเร็จ ศีลทะลุ
คิดแล้วไม่ทำแต่งุ่นง่านอยู่ในใจ ศีลเศร้าหมอง
คิดแต่ไม่ทำ ไม่หมกหมุ่น ศีลด่างพร้อย

ศีลด่างพร้อย เหมือนใส่เสื้อที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ แต่สกปรกเปอะเปื้อน ไม่สะอาด :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2012, 14:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ
**พระอริยะบุคคลทุกประเภทย่อมเป็นผู้สำรวมและตั้งมั่นอยู่ในศีลทั้ง ใจ วาจา และกาย
**ปุถุชนแม้บำเพ็ญเพียรจนสำเร็จฌานสมาบัติและอภิญญาทั้ง5 แต่ถ้าไม่ตั้งมั่นอยู่ในศีลทั้ง ใจ วาจา และกายแล้ว ก็ไม่พ้นความเป็นปุถุชน
ปล.ผมทราบนะครับว่าอภิญญามีทั้งหมด 6 อย่าง :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2012, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


:b45:

ศีล....คือความเป็นปกติ สงบเสงียม

ผิดศีล ศีลผิด...ไม่ปกติ ไม่เสงียมไม่สงบ

ถือศีลปฏิบัติศีล...สำรวม ระมัดระวัง กาย วาจา ใจ
ไม่ให้ลื่นไหลไปกับกามจนเกินงาม เกินความพอดี


ผิดศีล เป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิด ศีลถูก
หากไม่รู้ว่าผิดก็จะไม่รู้ว่าอย่างไรจึงจะถูก

หากยังไม่คิด ก็ยังไม่มีผิดไม่มีถูก
หากมีคิด ก็มีทั้งผิดทั้งถูก
ผิดมีอยู่ในถูก
ถูกมีอยู่ในผิด

ถึงถูกก็ทุกข์ หากยึดมั่นถือมั่น
ที่ถูกก็จะกลายเป็นผิดไป...ศีลลัพพตปรามาส :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2012, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงแค่คิด ยังไม่ลงมือทำยังไม่ผิด ศีลนั้นคุมเฉพาะ กาย กับวาจา แต่ความคิดอาจผิดได้

“อวิติกฺกโม สีลํ” นั้นมีอรรถสังวรรณนาว่า การที่มิได้ล่วงซึ่งศีลที่ตนสมาทาน อันยุติในกายแลยุติในวาจา ชื่อว่าอวิตกกมศีล

“เกนตฺเถน สีลํ” วัตถุที่เรียกว่าศีลนั้น ด้วยอรรถดังฤๅ
อาจารย์วิสัชนาว่า อรรถที่เรียกว่าศีลนั้นด้วยอรรถว่า สีลนะ สิ่งที่ตั้งไว้เป็นอันดี มีตั้งไว้ซึ่งกายสุจริตเป็นอาทิ เรียกว่า สัจนะ เป็นอรรถแห่งศีล
มีอรรถาธิบายว่า บุคคลที่ยังกุศลธรรมีกายกรรมเป็นต้น มิให้เรี่ยรายด้วยสามารถประมวลไว้เป็นอันดีนั้น ชื่อว่าสีลนะ

ศีลนั้นมีสภาวะสะอาดด้วยกายแลวาจา แลจิตเป็นผล การที่กลัวแต่บาป ละอายแต่บาป นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวคำเรียกชื่อว่าอาสันนเหตุแห่งศีล

สิกขาบทของภิกษุใดขาดเบื้องต้น หรือที่สุด ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลขาด เหมือนผ้าที่ขาดชาย ส่วนสิกขาบทของภิกษุใด ขาดตรงกลาง ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุกลางผืน สิกขาบทของภิกษุใด ขาดสอง, สามสิกขาบทไปตามลำดับ ศีลของภิกษุนั้นเป็น ศีลด่าง เหมือนแม่โคมีตัวเป็นสีด่างดำหรือด่างแดงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยสีที่ไม่เหมือนกันซึ่งปราฎขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง สิกขาบทของภิกษุใดขาดเป็นตอนๆ ไป ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลพร้อย เหมือนแม่โคลายเป็นจุด ด้วยสีที่ไม่เหมือนกันเป็นระยะๆไป

ผมจะตีความเกี่ยวกับ ศีลขาด ทะลุ ด่าง พร้อย ตามข้อความข้างต้น ผมจะสมมุติศีลมาสิบข้อ
1.สิกขาบทของภิกษุใดขาดเบื้องต้น หรือที่สุด ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลขาด เหมือนผ้าที่ขาดชาย
ตีความ ขาดข้อที่ 1 หรือ ข้อที่ 10 นี้เรียกว่าศีลขาด

2.ส่วนสิกขาบทของภิกษุใด ขาดตรงกลาง ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุกลางผืน ตีความ ขาดข้อที่ 5 นี้เรียกว่าศีลทะลุ

3.สิกขาบทของภิกษุใด ขาดสอง, สามสิกขาบทไปตามลำดับ ศีลของภิกษุนั้นเป็น ศีลด่าง เหมือนแม่โคมีตัวเป็นสีด่างดำหรือด่างแดงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยสีที่ไม่เหมือนกันซึ่งปราฎขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง ตีความ ขาดข้อ 1 3 9 นี้เรียกว่าศีลด่าง

4.สิกขาบทของภิกษุใดขาดเป็นตอนๆ ไป ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลพร้อย เหมือนแม่โคลายเป็นจุด ด้วยสีที่ไม่เหมือนกันเป็นระยะๆไป
ตีความ ขาดข้อที่ 1 3 5 7 9 นี้เรียกว่าศีลพร้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2012, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


อยสูตร
[๕๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
ศีลวิบัติ ๑ จิตตวิบัติ ๑ ทิฐิวิบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลวิบัติเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลวิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จิตตวิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนมักโลภ
มีจิตพยาบาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า จิตตวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฐิ-
*วิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่
ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรม
ที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์
พวกที่ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้า
ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฐิวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะศีลวิบัติเป็นเหตุ
สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
หรือว่าเพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าเพราะทิฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกาย
ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่าง
นี้แล

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 050&Z=7083


ศีลกับจิตนั้นแยกกันจะเห็นได้จากพระสูตรข้างบน ศีลนั้นคุมกายกับวาจา ส่วนความคิดหรือจิตอาจวิบัติ(คิดผิด)ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2012, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คิดดี...พูดดี...ทำดี
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2012, 11:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมบัติ เขียน:
คิดดี...พูดดี...ทำดี
เจริญในธรรม :b8:


คิดดี มีปัญญา
พูดดี ทำดี มีศีล
ตั้งมั่นดี มี สมาธิ

ปัญญา ศีล สมาธิ เกิดขึ้นครบ นี่คือ ผลการตรัสรู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2012, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกมะเขือ เขียน:
เพียงแค่คิด ยังไม่ลงมือทำ ผิดศีลหรือเปล่าค่ะ
ขอบคุณคะ :b8:
น่าจะเศร้าหมองนะค่ะ เรียกว่ามโนกรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2012, 04:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คงเคยได้ยินมาบ้างแล้วนะครับว่า...ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว
การกระทำทุกอย่างเริ่มที่นายคือใจก่อนเสมอ...
ฉะนั้น...จะเริ่มว่าสิ่งใดผิดหรือถูก...ก็ต้องเริ่มที่นาย

ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ถ้าผมเห็นการแต่งตัวของคุณกะลา
แล้วใจคิดว่า คุณกะลาแต่งตัวไร้รสนิยม แต่งตัวเฉยเชย
แต่ผมกลับบอกว่า "คุณกะลาวันนี้หล่อจังเลย"
อันนี้บ่าวผิดหรือนายผิดครับ ศีลผมจะกะรุ่งกะริ่งมั้ย :b13:
กบนอกกะลา เขียน:
นายสั่ง....บ่าวลงมือทำ....การกระทำนั้นสำเร็จ...ถ้าเป็นการกระทำผิด..ก็ผิดครบ 100 %
นายสั่ง....บ่าวลงมือทำ...การกระทำนั้นไม่สำเร็จ...ถ้าเป็นการกระทำผิด..ก็ผิดสัก 75 %
นายสั่ง....บ่าวยังไม่ลงมือทำ...การกระทำนั้นไม่เกิด...ถ้าเป็นเจตนาทำผิด..ก็ความผิดคงสัก 50 %
เป็นต้น

แล้วถ้านายคิดอย่าง แต่สั่งให้ทำอย่างล่ะ ผิดถูกกี่เปอร์ซ็น :b13:
กบนอกกะลา เขียน:
100 % ......นี้ ศีล ขาด
75...50 %...นี้..ศีลด่างพล้อย

ถ้าความผิดสำเร็จ100% แต่ความผิดนั้นยังมีผลต่อเนื่อง
คุณกะลามีความเห็นอย่างไรครับ :b13:
กบนอกกะลา เขียน:
ส่วนรายละเอียดของศีล..ประเดียวคงมีสักคนยกฉบับเต็มมา...รอสักครู่... :b12:

คงไม่ต้องเดามั้งครับว่าใคร อาจเป็น "นกแก้ว"หรือไม่ก็"นกขุนทอง"
อยากได้ประเภท"นกเอี้ยง" จะได้มาเลี้ยงควายเฒ่า :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2012, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 14:00
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณทุกท่าน ทุกความคิดเห็นนะค่ะ :b4:
สาธุคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2012, 19:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ถ้าผมเห็นการแต่งตัวของคุณกะลา
แล้วใจคิดว่า คุณกะลาแต่งตัวไร้รสนิยม แต่งตัวเฉยเชย
แต่ผมกลับบอกว่า "คุณกะลาวันนี้หล่อจังเลย"
อันนี้บ่าวผิดหรือนายผิดครับ ศีลผมจะกะรุ่งกะริ่งมั้ย :b13:


มา..ม๊ะ...มาให้หอมซักฟ้อด :b22: :b22:
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2012, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มา..ม๊ะ...มาให้หอมซักฟ้อด :b22: :b22: :b12:

มุขเยอะ ...อิอิ รับไม่ทัน :b11:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2012, 21:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล แปลว่า ปรกติครับ
;ศีลเป็นเรื่องของคนที่ยังไม่มีครับ เลยต้องถือเอาไว้ ส่วนคนที่มีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไป วุ่ยวายอะไรกับมันมาก เพราะมันเป็นปรกติของผู้นั้นๆ
ศีลน่ะ ท่านให้สมาทาน ไม่ใช่ อุปปาทาน
ศีลถือได้ แต่อย่าให้เกินเลย ไปเป็น สีลพตปรามาส (สังโยชน์๑๐) ครับ

ความคิดใดอันเป็นมิจฉาทิฐิ ขอยกเป็นความผิดของผมแต่เพียงผู้เดียว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร