วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2012, 16:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2012, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาขันธ์ห้าแบบหลากหลายมาให้ดู

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ปุณณมสูตร

ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ

หรือจะไล่ปฏิจสมุปบาทก็ได้

ว่าด้วยคุณโทษและอุบายสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์
[๑๙๐] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้ว
ได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นเครื่อง
สลัดออก แห่งรูป แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ?
พ. ดูกรภิกษุ สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูป
เสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป สุขโสมนัส อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยสัญญาเกิด
ขึ้น ฯลฯ อาศัยสังขารเกิดขึ้น อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ. การกำจัดฉันทราคะ
การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 228&Z=2356


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2012, 00:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ธ.ค. 2011, 20:43
โพสต์: 15


 ข้อมูลส่วนตัว


Re: อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นอย่างไร
เมื่อผมเอามือจุ่มลงไปในน้ำพบว่ามันร้อนมาก ผมก็ชักมือขึ้นทันที ไม่รู้สึกว่าจะต้องกางตำราว่ามันร้อนอย่างไร ร้อนเท่าใด หรือไปถามใครว่า ชักมือออกทำอย่างไรแล้วค่อยชักมือออก....
เมื่อผมพบว่าขณะที่จิตผมยึดมั่นถือมั่นมันทุกข์ ผมก็วางการยึดมั่นถือมั่นนั่นลงทันที (ถ้าคำว่า วาง กับคำว่า ละ ให้ความหมายเหมือนกัน ผมก็ขอตอบคำถามแบบนี้ครับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2012, 00:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


kitti123 เขียน:
Re: อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นอย่างไร
เมื่อผมเอามือจุ่มลงไปในน้ำพบว่ามันร้อนมาก ผมก็ชักมือขึ้นทันที ไม่รู้สึกว่าจะต้องกางตำราว่ามันร้อนอย่างไร ร้อนเท่าใด หรือไปถามใครว่า ชักมือออกทำอย่างไรแล้วค่อยชักมือออก....
เมื่อผมพบว่าขณะที่จิตผมยึดมั่นถือมั่นมันทุกข์ ผมก็วางการยึดมั่นถือมั่นนั่นลงทันที (ถ้าคำว่า วาง กับคำว่า ละ ให้ความหมายเหมือนกัน ผมก็ขอตอบคำถามแบบนี้ครับ)

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2012, 00:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร


ตอบแบบทฤษฎีคือ ละมันโดยการวาง วางมันออกจากใจ ตอบในทางปฎิบัติว่า..ยากมากข้อนี้..ทำยังไม่ด้ายยย cry cry cry

....แต่มีครูบาอาจารย์เคยสอนว่า..จงดูแต่ตัวตน เพ่งแต่ตัวตน จับผิดแต่ตัวตน เพื่อวางตัวตน เมื่อใดมีคนอื่นเข้ามาในจิต เมื่อนั้นจะมีมานะตัวตนและความยึดถือยึดมั่นเข้ามาเกี่ยวข้อง....




อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

..เกิดจากความหลง หลงว่า ตัวกู ของกู..


มีถูกบ้างม้ายยย... rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2012, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

เราจะละการยึดมั่นในตัวเรา โดยการบ่มอินทรีย์ ให้พละเข้มแข็งพอที่จะละวางอุปาทานได้ครับ
การบ่มอินทรีย์ คือ ศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญิณทรีย์ อย่างไม่ท้อถอย ซึ่งสมถะวิปัสสนาที่ครูอาจารย์ท่านได้ปฏิบัติผ่านมาอย่างสมกับเป็นพุทธบุตร สั่งสอนอบรมมาครับ

เพราะ อุปาทาน นั้นเกิดจาก ความทะยานอยากของจิตไปยึดอารมณ์เอา ถือเอา จนมีตน เป็นตน เป็นของตนอย่างเหนียวแน่นมากๆๆๆๆๆ

ต้องปฏิบัติ ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา หรือไตรสิกขาประการเดียวครับ เพราะไม่มีทางอื่นอีกแล้วครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2012, 19:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


kitti123 เขียน:
Re: อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นอย่างไร
เมื่อผมเอามือจุ่มลงไปในน้ำพบว่ามันร้อนมาก ผมก็ชักมือขึ้นทันที ไม่รู้สึกว่าจะต้องกางตำราว่ามันร้อนอย่างไร ร้อนเท่าใด หรือไปถามใครว่า ชักมือออกทำอย่างไรแล้วค่อยชักมือออก....
เมื่อผมพบว่าขณะที่จิตผมยึดมั่นถือมั่นมันทุกข์ ผมก็วางการยึดมั่นถือมั่นนั่นลงทันที (ถ้าคำว่า วาง กับคำว่า ละ ให้ความหมายเหมือนกัน ผมก็ขอตอบคำถามแบบนี้ครับ)

:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2012, 19:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

เราจะละการยึดมั่นในตัวเรา โดยการบ่มอินทรีย์ ให้พละเข้มแข็งพอที่จะละวางอุปาทานได้ครับ
การบ่มอินทรีย์ คือ ศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญิณทรีย์ อย่างไม่ท้อถอย ซึ่งสมถะวิปัสสนาที่ครูอาจารย์ท่านได้ปฏิบัติผ่านมาอย่างสมกับเป็นพุทธบุตร สั่งสอนอบรมมาครับ

เพราะ อุปาทาน นั้นเกิดจาก ความทะยานอยากของจิตไปยึดอารมณ์เอา ถือเอา จนมีตน เป็นตน เป็นของตนอย่างเหนียวแน่นมากๆๆๆๆๆ

ต้องปฏิบัติ ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา หรือไตรสิกขาประการเดียวครับ เพราะไม่มีทางอื่นอีกแล้วครับ

เจริญธรรม

:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2012, 19:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวโลก เขียน:
....แต่มีครูบาอาจารย์เคยสอนว่า..จงดูแต่ตัวตน เพ่งแต่ตัวตน จับผิดแต่ตัวตน เพื่อวางตัวตน เมื่อใดมีคนอื่นเข้ามาในจิต เมื่อนั้นจะมีมานะตัวตนและความยึดถือยึดมั่นเข้ามาเกี่ยวข้อง....



:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2012, 01:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทานเป็นธรรมที่อาศัยเหตุคือตัญหา เป็นกิเลส มีสภาวะ
ที่เปลี่ยนแปลงได้จากการอาศัยมรรคมีองค์๘เป็นเครื่อง
ชำระ ตั้งแต่ศีล ชำระกิเลสอย่างอยาบ เช่นอยากกินเหล้า
แต่เราใช้อุบายว่าเราจะผิดศีลนะ เราจะบาปนะ นี่คืออุบาย
นำไปสู่การดับอุปาทานลงของการอยากกินเหล้า เวลาหงุดหงิด
อยากอยู่คนเดียว หรืออยากจะไปไหนก็ได้อย่างนี้ต้องอาศัย
สมาธิเพื่อลดความฟุ้งซ่าน และตัวอย่างของความตะหนี่
หวงของต้องแสวงหาประตูหน้าต่างใส่เหล็กดัดกันขโมย
ต้องใช้ปัญญาในการดับอุปาทาน คือการให้เงิน หรือบริจาค
อะไรบ้างคือเป็นธรรมข้อสัมมาสังกัปปะ ถามว่างั้นก็เปิดบ้าน
ให้ขโมยเข้ามาเอาของสิ ขอบอกว่าให้ทำแต่พอดี ค่อยๆทำ
เดินสายกลาง หรือเห็นผู้หญิงสวยก็ใช้ปัญญาว่า ความแก่ลง
ของรูปย่อมมีแก่ทุกคน ถามว่าต้้องทำได้ในวันเดียวเหรอ
ขอบอกว่าค่อยๆทำใช้สติเท่าที่จะพิจารณาได้ ธรรมแม้เพียง
เล็กน้อย เราไม่ฝึกฝน แม้ตลอดชีวิตเราอาจจะทำไม่ได้เลย
ก็ได้ เช่นการถุยน้ำลายตามถนน ไม่ฝึกฝน นิสัยนี้ก็จะติดตัว
ไปจนวันตายครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2012, 10:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

การทำความพอใจในความอิ่มในธรรม อิ่มในความพอดีที่เกิดกับร่างกายและจิตใจ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในธรรมอย่างนี้ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่บริโภคมาก ไม่ใช้สอยมาก ไม่ยินดี ไม่พอใจในการแสวงหาสิ่งอันผิดธรรม ผู้ส่งตนไปด้วยธรรมอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตรงต่อการละอุปาทาน อุปาทานก็มาจากการไม่รู้จักตัวตน ไม่รู้ประมาณ เพราะอวิชชาปิดบังไม่รู้ตามเป็นจริงจึงเกิดเป็นสังขารปรุงแต่งเรื่อยมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2012, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“พอรู้ก็หลุด (วิชชา) ไม่รู้จึงติด (อวิชชา)”


วันนี้ วันที่ 31

คนที่ซื้อลอตเตอรี่ไว้ ก็หวัง (ยึด) อยู่ว่า หมายเลขที่ตัวเองซื้อจะถูกรางวัล ไม่รางวัลใดก็รางวัลหนึ่ง อย่างน้อยๆก็เลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว ในใจคิดหวังอยู่อย่างนั้น กลัวจะหายหรือใครขโมยไป เขาจึงเก็บกระดาษ (ลอตเตอรี่) ใบนั้นไว้อย่างดี มีคนมาขอก็ไม่ให้ ใครพูดใครบอกว่า หมายเลขนี้ไม่ตรงดอก ฯลฯ เขาก็ไม่เชื่อใครทั้งนั้น จะรอลุ้น (รู้) ด้วยตัวเอง เขาจึงรอๆๆจนถึงวันหวยออก ...

วันหวยออก ...หมายเลขที่ออก เสียงโฆษกประกาศ เขาตะแคงหูฟัง (ได้แก่ หมายเลข...) ซึ่งไม่ตรงกับเลขที่เขาซื้อซักตัวเดียว จิตใจของเขาก็คลายความยึดติด (อุปาทาน) ถือมั่นในลอตเตอรี่ใบนั้นลงเอง (คลายเพราะรู้) เขาจึงเห็นหวยใบนั้นเป็นแค่เศษกระดาษ...ฉันใด

อุปาทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปาทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

การยึดติดถือมั่นในนาม-รูป ของปุถุชนก็ฉันนั้น เปรียบก็เหมือนคนซื้อลอตเตอรี่ไว้แต่ยังไม่ได้ตรวจ ตราบเท่าที่เขายังไม่รู้เข้าใจความจริง (สภาวธรรม) ก็จะอุปาทานอยู่เรื่อยไป :b1:

ที่ว่า

อุปาทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

ถ้าว่า ตามสายปัจจยาการ สาเหตุเกิดจากตัณหา แต่ต้นๆคือความไม่รู้ (อวิชชา) "พอรู้ก็หลุด ไม่รู้จึงติด"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2012, 16:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


kitti123 เขียน:
Re: อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นอย่างไร
เมื่อผมเอามือจุ่มลงไปในน้ำพบว่ามันร้อนมาก ผมก็ชักมือขึ้นทันที ไม่รู้สึกว่าจะต้องกางตำราว่ามันร้อนอย่างไร ร้อนเท่าใด หรือไปถามใครว่า ชักมือออกทำอย่างไรแล้วค่อยชักมือออก....
เมื่อผมพบว่าขณะที่จิตผมยึดมั่นถือมั่นมันทุกข์ ผมก็วางการยึดมั่นถือมั่นนั่นลงทันที (ถ้าคำว่า วาง กับคำว่า ละ ให้ความหมายเหมือนกัน ผมก็ขอตอบคำถามแบบนี้ครับ)



แล้วเราจะละ หรือ วางอย่างไร สมมุติว่าเราติดการพนัน ติดเหล้า ติดบุหรี่ แค่ไม่ต้องเล่นการพนัน ไม่ต้องดื่ม ไม่ต้องสูบ ก็คือ การวางของท่านใช่ไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2012, 16:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

การทำความพอใจในความอิ่มในธรรม อิ่มในความพอดีที่เกิดกับร่างกายและจิตใจ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในธรรมอย่างนี้ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่บริโภคมาก ไม่ใช้สอยมาก ไม่ยินดี ไม่พอใจในการแสวงหาสิ่งอันผิดธรรม ผู้ส่งตนไปด้วยธรรมอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตรงต่อการละอุปาทาน อุปาทานก็มาจากการไม่รู้จักตัวตน ไม่รู้ประมาณ เพราะอวิชชาปิดบังไม่รู้ตามเป็นจริงจึงเกิดเป็นสังขารปรุงแต่งเรื่อยมา


ไม่รู้ หรือ อวิชชา นั้นสาเหตุมาจากการปรุงแต่งจนทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง ตัณหา และ อุปทาน และทุกข์ก็ตามมา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร แล้วรู้อะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2012, 17:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


kitti123 เขียน:
Re: อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นอย่างไร
เมื่อผมเอามือจุ่มลงไปในน้ำพบว่ามันร้อนมาก ผมก็ชักมือขึ้นทันที ไม่รู้สึกว่าจะต้องกางตำราว่ามันร้อนอย่างไร ร้อนเท่าใด หรือไปถามใครว่า ชักมือออกทำอย่างไรแล้วค่อยชักมือออก....
เมื่อผมพบว่าขณะที่จิตผมยึดมั่นถือมั่นมันทุกข์ ผมก็วางการยึดมั่นถือมั่นนั่นลงทันที (ถ้าคำว่า วาง กับคำว่า ละ ให้ความหมายเหมือนกัน ผมก็ขอตอบคำถามแบบนี้ครับ)


:b17: :b17:

เห็นทุกข์ และ รู้ละได้ทันที

:b8: :b27: :b27: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 31 ม.ค. 2012, 17:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร