วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 15:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 31 ม.ค. 2012, 17:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
kitti123 เขียน:
Re: อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นอย่างไร
เมื่อผมเอามือจุ่มลงไปในน้ำพบว่ามันร้อนมาก ผมก็ชักมือขึ้นทันที ไม่รู้สึกว่าจะต้องกางตำราว่ามันร้อนอย่างไร ร้อนเท่าใด หรือไปถามใครว่า ชักมือออกทำอย่างไรแล้วค่อยชักมือออก....
เมื่อผมพบว่าขณะที่จิตผมยึดมั่นถือมั่นมันทุกข์ ผมก็วางการยึดมั่นถือมั่นนั่นลงทันที (ถ้าคำว่า วาง กับคำว่า ละ ให้ความหมายเหมือนกัน ผมก็ขอตอบคำถามแบบนี้ครับ)



แล้วเราจะละ หรือ วางอย่างไร สมมุติว่าเราติดการพนัน ติดเหล้า ติดบุหรี่ แค่ไม่ต้องเล่นการพนัน ไม่ต้องดื่ม ไม่ต้องสูบ ก็คือ การวางของท่านใช่ไหมครับ


เขาเห็น ทุกข์ ไงจ๊ะ
เห็นทุกข์ ก็เห็นธรรม ไงจ๊ะ

:b16: :b16: :b16:


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


kitti123 เขียน:
Re: อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นอย่างไร
เมื่อผมเอามือจุ่มลงไปในน้ำพบว่ามันร้อนมาก ผมก็ชักมือขึ้นทันที ไม่รู้สึกว่าจะต้องกางตำราว่ามันร้อนอย่างไร ร้อนเท่าใด หรือไปถามใครว่า ชักมือออกทำอย่างไรแล้วค่อยชักมือออก....
เมื่อผมพบว่าขณะที่จิตผมยึดมั่นถือมั่นมันทุกข์ ผมก็วางการยึดมั่นถือมั่นนั่นลงทันที (ถ้าคำว่า วาง กับคำว่า ละ ให้ความหมายเหมือนกัน ผมก็ขอตอบคำถามแบบนี้ครับ)


เป็นลักษณะถึงที่สุดแห่งทุกข์หรือปล่าวครับ จึงต้องวาง ต่อไปน้ำร้อนเราก็ไม่เอานิ้วไปจุ่ม คือการละ แล้วการวางกับการละเป็นธรรมที่ต่างกัน การละคือพิจารณาว่าเอานิ้วจุ่มร้อนแน่ก็เลยละ แต่วางคือรู้ซึ้งแล้วว่าน้ำร้อนเพราะมีนิ้วไปจุ่ม เลยถอนนิ้วออก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 07:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

การทำความพอใจในความอิ่มในธรรม อิ่มในความพอดีที่เกิดกับร่างกายและจิตใจ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในธรรมอย่างนี้ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่บริโภคมาก ไม่ใช้สอยมาก ไม่ยินดี ไม่พอใจในการแสวงหาสิ่งอันผิดธรรม ผู้ส่งตนไปด้วยธรรมอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตรงต่อการละอุปาทาน อุปาทานก็มาจากการไม่รู้จักตัวตน ไม่รู้ประมาณ เพราะอวิชชาปิดบังไม่รู้ตามเป็นจริงจึงเกิดเป็นสังขารปรุงแต่งเรื่อยมา


ไม่รู้ หรือ อวิชชา นั้นสาเหตุมาจากการปรุงแต่งจนทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง ตัณหา และ อุปทาน และทุกข์ก็ตามมา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร แล้วรู้อะไร

สวัสดีครับพี่ไม่เที่ยง เกิดดับ :b8:
เรารู้ได้ด้วยสติและวางได้ด้วยปัญญา....สติและปัญญานั้นมันคู่กัน สติรู้อย่างไรปัญญาก็เห็นอย่างนั้น แล้วมันก็ดับไปเองอย่างนั้น โดยที่เราไม่ต้องบอกต้องคิดให้มันดับเลย เพียงแค่สติและปัญญาได้รู้และเห็นมันก็ดับของมันเองหยุดของมันเองวางของมันเองครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 11:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
kitti123 เขียน:
Re: อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นอย่างไร
เมื่อผมเอามือจุ่มลงไปในน้ำพบว่ามันร้อนมาก ผมก็ชักมือขึ้นทันที ไม่รู้สึกว่าจะต้องกางตำราว่ามันร้อนอย่างไร ร้อนเท่าใด หรือไปถามใครว่า ชักมือออกทำอย่างไรแล้วค่อยชักมือออก....
เมื่อผมพบว่าขณะที่จิตผมยึดมั่นถือมั่นมันทุกข์ ผมก็วางการยึดมั่นถือมั่นนั่นลงทันที (ถ้าคำว่า วาง กับคำว่า ละ ให้ความหมายเหมือนกัน ผมก็ขอตอบคำถามแบบนี้ครับ)



แล้วเราจะละ หรือ วางอย่างไร สมมุติว่าเราติดการพนัน ติดเหล้า ติดบุหรี่ แค่ไม่ต้องเล่นการพนัน ไม่ต้องดื่ม ไม่ต้องสูบ ก็คือ การวางของท่านใช่ไหมครับ


เขาเห็น ทุกข์ ไงจ๊ะ
เห็นทุกข์ ก็เห็นธรรม ไงจ๊ะ

:b16: :b16: :b16:


ถ้าเขาไม่เห็นทุกข์ เขาคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความสุข เราจะทำให้เขาเห็นได้อย่างไร


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 11:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

การทำความพอใจในความอิ่มในธรรม อิ่มในความพอดีที่เกิดกับร่างกายและจิตใจ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในธรรมอย่างนี้ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่บริโภคมาก ไม่ใช้สอยมาก ไม่ยินดี ไม่พอใจในการแสวงหาสิ่งอันผิดธรรม ผู้ส่งตนไปด้วยธรรมอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตรงต่อการละอุปาทาน อุปาทานก็มาจากการไม่รู้จักตัวตน ไม่รู้ประมาณ เพราะอวิชชาปิดบังไม่รู้ตามเป็นจริงจึงเกิดเป็นสังขารปรุงแต่งเรื่อยมา


ไม่รู้ หรือ อวิชชา นั้นสาเหตุมาจากการปรุงแต่งจนทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง ตัณหา และ อุปทาน และทุกข์ก็ตามมา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร แล้วรู้อะไร

สวัสดีครับพี่ไม่เที่ยง เกิดดับ :b8:
เรารู้ได้ด้วยสติและวางได้ด้วยปัญญา....สติและปัญญานั้นมันคู่กัน สติรู้อย่างไรปัญญาก็เห็นอย่างนั้น แล้วมันก็ดับไปเองอย่างนั้น โดยที่เราไม่ต้องบอกต้องคิดให้มันดับเลย เพียงแค่สติและปัญญาได้รู้และเห็นมันก็ดับของมันเองหยุดของมันเองวางของมันเองครับ
ขอบคุณครับ :b8:


แล้วเราจะสร้างปัญญานั้นอย่างไร ปัญญามาจากไหน แล้วเอาไปดับเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 12:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
kitti123 เขียน:
Re: อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นอย่างไร
เมื่อผมเอามือจุ่มลงไปในน้ำพบว่ามันร้อนมาก ผมก็ชักมือขึ้นทันที ไม่รู้สึกว่าจะต้องกางตำราว่ามันร้อนอย่างไร ร้อนเท่าใด หรือไปถามใครว่า ชักมือออกทำอย่างไรแล้วค่อยชักมือออก....
เมื่อผมพบว่าขณะที่จิตผมยึดมั่นถือมั่นมันทุกข์ ผมก็วางการยึดมั่นถือมั่นนั่นลงทันที (ถ้าคำว่า วาง กับคำว่า ละ ให้ความหมายเหมือนกัน ผมก็ขอตอบคำถามแบบนี้ครับ)



แล้วเราจะละ หรือ วางอย่างไร สมมุติว่าเราติดการพนัน ติดเหล้า ติดบุหรี่ แค่ไม่ต้องเล่นการพนัน ไม่ต้องดื่ม ไม่ต้องสูบ ก็คือ การวางของท่านใช่ไหมครับ


เขาเห็น ทุกข์ ไงจ๊ะ
เห็นทุกข์ ก็เห็นธรรม ไงจ๊ะ

:b16: :b16: :b16:


ถ้าเขาไม่เห็นทุกข์ เขาคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความสุข เราจะทำให้เขาเห็นได้อย่างไร


จากกระทู้ เขาเห็นนะ ไม่ใช่เหร๋อ

แต่คุณไม่เห็นอย่างเขา
(หรือจะพยามยามปิดหูปิดตาเอาไว้ไม่ให้เห็นกับเขา ก็ไม่รู้)
ถ้าคุณมีปัญหากับการเห็น
คุณก็ควรจะสโคบประเด็นอยู่ที่ตัวคุณนะ
ไม่ใช่ไปป่ายโนน่ ป่ายนี่ไปทั่ว

ธรรมใด ถ้าเขาเห็นทุกข์ในธรรมนั้น และเขาละธรรมนั้นได้
เขาก็ไม่มีอะไรที่จะต้องไปขบคิดกับธรรมนั้น ๆ
เพราะสิ่งนั้นไม่อาจจะเข้ามาครอบงำเขาได้อีกแล้ว
ธรรมใด ไม่เกิด ไม่ครอบงำ ก็ไม่ทุกข์

:b6: :b6: :b6:

ในเมื่อเขาเป็นผู้ที่เห็นทุกข์ได้ง่าย และละได้ง่าย
คนที่เขาเข้าใจธรรมได้ไม่ยาก ละธรรมได้ไม่ยาก
มันขัดต่อแนวทางที่คุณเชื่ออย่างไร

:b16: :b16: :b16:


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 12:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
แล้วเราจะสร้างปัญญานั้นอย่างไร ปัญญามาจากไหน แล้วเอาไปดับเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร


viewtopic.php?f=2&t=32392

32392.สมาธิสูตร:ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา

:b4: :b4: :b4:

อิอิ มีคนรวบรวมไว้ให้แล้ว

:b4: :b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 ก.พ. 2012, 12:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 12:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
แล้วเราจะสร้างปัญญานั้นอย่างไร ปัญญามาจากไหน แล้วเอาไปดับเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร


Quote Tipitaka:
๕. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา

[๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความ
เกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่ง
วิญญาณ.
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่ง
เวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่.
ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร. ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป
นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ
ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น
ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็น
ความเกิดแห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา
อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่.
ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร. ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อม
ไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความ
ยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความ
ยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับ
แห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
จบ สูตรที่ ๕.


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 12:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
แล้วเราจะสร้างปัญญานั้นอย่างไร ปัญญามาจากไหน แล้วเอาไปดับเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร


๑๐. สัปปายการีสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและกระทำความสบายในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๙๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่กระทำความ
สบายในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดใน
การตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาด
ในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ. นับว่าเป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด เป็น
ประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค
นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
ผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิและฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิเป็นต้น นับเป็นผู้เลิศ
[๕๙๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน?
คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการตั้งอยู่ใน
สมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และที่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ.
นับว่าเป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌาน ทั้ง ๔ จำพวกนั้น
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๕๙๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจาก
สมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาด
ในการออกจากสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการ
ออกจากสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔
จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๕๙๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความเป็น
ผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดใน
การเข้าสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิและฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็น
ประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค
นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๕๙๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ใน
สมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาด
ในอารมณ์ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในอารมณ์
ในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔
จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๕๙๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. ใน ๔
จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสด
เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน?
คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปใน
สมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ
และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุดและ
ดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๑] พระนครสาวัตถี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่กระทำความเคารพใน
สมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำ
ความเคารพในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความ
เคารพในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌาน
๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็น
ไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้า
สมาธิ ๑ บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น
ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสด
เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่กระทำความสบายใน
สมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิ และไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
กระทำความสบายในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำ
ความสบายในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้
ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออก
จากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการออกสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดใน
การตั้งอยู่ในสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ และ
ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ และ
ฉลาดในการออกจากสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่า
ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๕] พระนครสาวัตถีฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความ
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจาก
สมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ และไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการออกจากสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น
ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการออกจากสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือน
นมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความเป็นฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดใน
อารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาด
ในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่
ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์สมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด
เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค
นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจร
ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในอารมณ์ในสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ และฉลาด
ในโคจรในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ และฉลาดในโคจร
ในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔
จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิต
ไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคน
ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ และไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในโคจรใน
สมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในโคจรใน
สมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน
สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจาก
นมสด ฯลฯ
[๖๐๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่กระทำ
ความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปใน
สมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น
ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสด
เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๑๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียร
เป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่กระทำความ
เคารพในสมาธิ ๑. บางคนไม่กระทำความเคารพในสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อ
ในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑.
ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่กระทำความเคารพในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อใน
สมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวก
นั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๑๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่
กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็นไป
ติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และไม่กระทำความสบาย
ในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ ๑.
ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายใน
สมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวก
นั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใส
เกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสเขากล่าวว่าเป็นเลิศ ฉันใด ผู้ได้ฌานที่
กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ. ก็นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
(สูตรอีก ๕๐ สูตร พึงให้พิสดารโดยนัยนี้)
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ สมาธิสังยุต.


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 12:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:

แล้วเราจะสร้างปัญญานั้นอย่างไร ปัญญามาจากไหน แล้วเอาไปดับเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร


คุณไปปฏิบัติตามพระสูตรนี้นะ
แล้วคุณจะเห็นได้

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0

มหาวรรค อานาปาณกถา


:b16: :b16: :b16:


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 13:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

การทำความพอใจในความอิ่มในธรรม อิ่มในความพอดีที่เกิดกับร่างกายและจิตใจ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในธรรมอย่างนี้ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่บริโภคมาก ไม่ใช้สอยมาก ไม่ยินดี ไม่พอใจในการแสวงหาสิ่งอันผิดธรรม ผู้ส่งตนไปด้วยธรรมอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตรงต่อการละอุปาทาน อุปาทานก็มาจากการไม่รู้จักตัวตน ไม่รู้ประมาณ เพราะอวิชชาปิดบังไม่รู้ตามเป็นจริงจึงเกิดเป็นสังขารปรุงแต่งเรื่อยมา


ไม่รู้ หรือ อวิชชา นั้นสาเหตุมาจากการปรุงแต่งจนทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง ตัณหา และ อุปทาน และทุกข์ก็ตามมา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร แล้วรู้อะไร

ทุกข์ตามมาก็รู้ทุกข์อันตามมานั้น ทุกข์มันเป็นผล ผลของการยึดถือว่า นี่ตัวเรานี่ของเรา ทุกข์แล้วมันหน่ายหน่ายในการเกิดต่อไป เกิดอีกก็ทุกข์อีก ก็หาทางให้พ้นล่วงจากทุกข์นั้นไป


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

อุปทานความยึดมั่นถือมั่น มีสาเหตุจากความไม่รู้ ความหลงผิด จะละ จะปล่อยวาง อุปทาน
ความยึดมั่นได้ ก็ต้อง เห็นโทษของสิ่งนั้นๆ หรือต้องรู้แจ้งเห็นจริง ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ เช่น :

เราจับงูพิษใต้น้ำไม่ยอมปล่อย เพราะเข้าใจว่าเป็นปลาไหล ต่อเมื่อยกมือขึ้นเหนือน้ำ
นั่นละ "ทั้งรู้จริงเห็นจริง" ไม่ต้องบอกให้ละ ให้ปล่อย มันก็ละ ก็ปล่อยของมันเอง

ถ้าจะถามว่า "รู้จริงเห็นจริง" เป็นอย่างไร ให้ไปอ่านคำตอบของ คุณตุ๊กกี๊ "ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา"
ถ้าไม่รู้ว่าใครคือ ตุ๊กกี๊ ให้ถามคุณ eragon_joe อิอิ .. :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 16:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อุปทาน คือการยึดมั่นเราจะละการยึดมั่นในตัวเราได้อย่างไร อุปทานนั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร

อุปทานความยึดมั่นถือมั่น มีสาเหตุจากความไม่รู้ ความหลงผิด จะละ จะปล่อยวาง อุปทาน
ความยึดมั่นได้ ก็ต้อง เห็นโทษของสิ่งนั้นๆ หรือต้องรู้แจ้งเห็นจริง ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ เช่น :

เราจับงูพิษใต้น้ำไม่ยอมปล่อย เพราะเข้าใจว่าเป็นปลาไหล ต่อเมื่อยกมือขึ้นเหนือน้ำ
นั่นละ "ทั้งรู้จริงเห็นจริง" ไม่ต้องบอกให้ละ ให้ปล่อย มันก็ละ ก็ปล่อยของมันเอง

ถ้าจะถามว่า "รู้จริงเห็นจริง" เป็นอย่างไร ให้ไปอ่านคำตอบของ คุณตุ๊กกี๊ "ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา"
ถ้าไม่รู้ว่าใครคือ ตุ๊กกี๊ ให้ถามคุณ eragon_joe อิอิ .. :b13:


:b9: :b9: :b9:

ตั๊บแกรรรร์ แอ่รรรรรร์

:b11: :b11: :b11:


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 18:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ถ้าเขาไม่เห็นทุกข์ เขาคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความสุข เราจะทำให้เขาเห็นได้อย่างไร


ฟังเทศน์ น๊ะจ๊ะ

http://media.watnapahpong.org/video/GKGY4OBNWRG1/สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์-28-มค-2555

:b4: :b4: :b4:


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
ไม่รู้ หรือ อวิชชา นั้นสาเหตุมาจากการปรุงแต่งจนทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง ตัณหา และ อุปทาน และทุกข์ก็ตามมา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร แล้วรู้อะไร

สวัสดีครับพี่ไม่เที่ยง เกิดดับ :b8:
เรารู้ได้ด้วยสติและวางได้ด้วยปัญญา....สติและปัญญานั้นมันคู่กัน สติรู้อย่างไรปัญญาก็เห็นอย่างนั้น แล้วมันก็ดับไปเองอย่างนั้น โดยที่เราไม่ต้องบอกต้องคิดให้มันดับเลย เพียงแค่สติและปัญญาได้รู้และเห็นมันก็ดับของมันเองหยุดของมันเองวางของมันเองครับ
ขอบคุณครับ :b8:


แล้วเราจะสร้างปัญญานั้นอย่างไร ปัญญามาจากไหน แล้วเอาไปดับเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร[/quote]
สวัสดีครับพี่ไม่เที่ยง เกิดดับ :b8:
**ปัญญาเกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติให้ครบองค์แห่งไตรสิกขาหรือมรรคคือ ศีล สมาธิ และปัญญา โดยปัญญาที่เกิดขึ้นนี้มีสติอยู่ร่วมด้วยเรียกว่าสติและปัญญา
**สติและปัญญาที่เกิดขึ้นนี้ก็มีกำลังตามขั้นแห่งศีล สมาธิและปํญญา การดับทุกข์ก็ดับได้ตามขั้นของสติและปัญญาที่เรามี อธิบายการเอาปัญญาไปดับเหตุแห่งทุกข์ได้ว่า เหมือนเราหลับตาแล้วมองไม่เห็น เมื่อลืมตาขึ้นแล้วย่อมมองเห็น เห็นแล้วก็ย่อมรู้ว่ามันคืออะไร ปัญญาก็ดับเหตุแห่งทุกข์แบบนั้นแหละครับ(งงมั้ยครับพี่^^") เพิ่มเติมได้ว่า หลับตาคือสมุทัย มองไม่เห็นเป็นทุกข์ มรรคหรือไตรสิกขาคือการลืมตา ปัญญาคือการมองเห็น การที่เห็นแล้วรู้ว่ามันคืออะไรเป็นนิโรธ ประมาณนี้แหละครับพี่
**ที่จริงพี่เอรากอนก็ได้นำเอาพระสูตรของพระพุทธเจ้ามาแสดงให้ดูแล้วซึ่งเป็นที่แจ่มแจ้งโดยที่สุดแล้ว พี่ลองเอาพระสูตรทั้งหลายที่พี่เอรากอนนำมาแสดงไปพิจารณาดูจะดีที่สุดนะครับ
ขอบคุณครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร