วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 18:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 05 ก.พ. 2012, 04:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าครับ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าท่านมีตัวตนจริงๆ ศรัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ เชื่อว่าธรรมนั้นอาศัยเหตุและผลครับ เชื่อในกฏปฏิจจสมุปบาท เชื่อในกฏพระไตรลักษณ์ ศรัทธาในพระรัตนตรัย ศรัทธาเมื่อเห็นพระพุทธรูป เชื่อว่าเมื่อปฏิบัติสมาธิย่อมเกิดความสงบกายสงบใจ เชื่อว่า ไม่มีGodที่สร้างโลกและมนุษย์ เชื่อว่าจักรวาลหาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดไม่ได้ ไม่เชื่อในการย้อนเวลาเพื่อไปดูอดีต หรือ ไปดูอนาคตด้วยสังขาร(พระไตรลักษณ์)

การเชื่อแม้มีเหตุผลให้เชื่อ พระพุทธองค์ยังทรงตรัสห้ามไว้(กาลามสูตร)
จะเชื่ออะไรจะต้องเชื่อด้วยปัญญาสัมมาทิฐิ(โลกุตตระ) มิฉะนั้นความเชื่อที่ว่า
จะเป็นความงมงายครับ


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.พ. 2012, 21:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ทักทาย เขียน:
อ้างคำพูด:
**คือผมอยากถามพวกพี่ว่า "ระหว่างความเชื่อกับศรัทธานั้นมันเหมือนกัน
หรือต่างกันครับในความรู้สึกของพี่


บางเรื่อง...เชื่อก่อนแล้วจึงศรัทธา
บางเรื่อง....ศรัทธาก่อนแล้วจึงเชื่อ

บางเรื่องถ้าไม่ศรัทธาก็จะไม่เชื่อ
แต่บางเรื่องเชื่อแต่ไม่ศรัทธาก็มี

เพราะฉะนั้น...แม้จะต่างกันไม่มาก
แต่ก็ไม่เหมือนกันแน่นอน

(ตามความรุ้สึกส่วนตัวค่ะ)

สวัสดีครับพี่ๆทุกท่าน :b8:
**ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมแบ่งบันกันนะครับ ซึ่งผมถือว่าความรู้อันนี้ในเรื่องนี้นั้นเป็นความรู้เฉพาะตัวของแต่ละคน ที่รู้สึกอย่างไรก็รู้อย่างนั้น ขออนุโมทนากับทุกคำตอบดีๆครับ
**ผมขออนุญาตอ้างอิงคำตอบของพี่ทักทายด้วยนะครับ เพราะว่ามีลักษณะคล้ายๆกับของผมเองที่ได้พิจารณาเอาไว้เมื่อครั้งนั้น...คือโดยปกติแล้วผมเป็นคนที่เมื่อมีใครมาบอกหรือสอนอะไรก็ตามในเรื่องที่ผมไม่รู้หรือไม่เคยรู้มาก่อน ผมจะเชื่อในสิ่งที่เค้าได้บอกได้สอน...แต่ที่ว่าเชื่อของผมในที่นี้นั้นคือการที่ผมไม่ได้ปฏิเสธในสิ่งนั้น ไม่ได้คิดว่าสิ่งนั้นมันไม่จริง...คือเชื่อแบบกลางๆประมาณนั้นก็ว่าได้ครับ...ยกตัวอย่างเช่นถ้ามีคนบอกผมว่าเค้านั่งทางในเห็นว่า งวดนี้ผมจะถูกล็อตเตอรี่ ถ้าผมเป็นคนที่ซื้อล็อตเตอรรี่อยู่แล้วผมก็เชื่อที่เค้าบอก(คือไม่คิดว่าเค้าจะโกหก) แต่ถ้าผมไม่เคยซื้อล็อตเตอรี่เลยผมก็ไม่เชื่อที่เค้าพูดประมาณนี้แหละครับ
**ส่วนศรัทธานั้นในความรู้สึกของผมนั้นมันมีน้ำหนักมากกว่าความเชื่อก็ตรงที่ ศรัทธานั้นคือความเชื่อที่ผมได้พิสูจน์ได้พิจารณาด้วยเหตุด้วยผลและเห็นเป็นที่แน่ใจแล้ว เรียกว่าสำหรับผมศรัทธาคือความเชื่อที่ผ่านกระบวนการต่างๆจนลงที่ใจเต็มร้อย หมดความเคลือบแคลงและสงสัยใดๆ
**ในตอนนั้นผมจึงได้คำตอบขึ้นมาในใจว่า "ศรัทธานั้นคือผลจากความเชื่อที่ความงมงายหมดไป" พูดได้ว่าความรู้สึกของผมนั้น ศรัทธานั้นประกอบด้วยความเชื่อก่อนเสมอ แต่ความเชื่อนั้นเมื่อเริ่มแรกยังไม่ประกอบด้วยศรัทธาครับ นี่เป็นส่วนของความรู้ในใจผมที่เอามาแบ่งบันกันไว้ ณ ที่นี้ครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2012, 02:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 10:41
โพสต์: 114

แนวปฏิบัติ: ลัทธินิยมความจริง
สิ่งที่ชื่นชอบ: เฒ่าทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เชื่อ
ก. เห็นตามด้วย, มั่นใจ, ไว้ใจ; ซื้อหรือขายโดยติดค้างไว้ ไม่ต้อง ชําระเงินทันที.

ความเชื่อ
น. ความศรัทธา, ความเลื่อมใส, ความเชื่อถือ ,เช่น คนไทยมีความเชื่อในเรื่องผีสางเทวดามาช้านานแล้ว

ศรัทธา
น. ความศรัทธา, ความเลื่อมใส, ความเชื่อถือ เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาใน ความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสา ทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผน โบราณ.

ความศรัทธา
น. ความเลื่อมใส, ความนับถือ, ความเชื่อถือ เช่น ความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าทำให้เขาพบชีวิตใหม่


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2012, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ
ศรัทธากับความเชื่อ จึงเป็นอันเดียวกัน

ศรัทธา ในความหมายของศาสนาพุทธ คือ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุและผล
ซึ่งผ่านการกรั่นกรองจากปัญญา

ศรัทธา ที่ประกอบด้วยเหตุผลด้วยปัญญา เรียกว่า "สัทธาญาณสัมปยุตต์"
ศรัทธา ที่ขาดเหตุผลขาดปัญญา เรียกว่า "สัทธาวิปปยุตต์"
ถ้าเชื่อตามเขาบอกเขาว่า เรียกว่า "อธิโมกข์ศรัทธา"

การเชื่อโดยปราศจากสติปัญญาก็ดี เชื่อตามคนอื่นว่าก็ดี ไม่จัดเป็น ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา

ทำไม คนเราส่วนหนึ่งจึงถูกหลอกลวง เสียเงินทองมากมาย เป็นเพราะขาด "ปัญญา"
ให้กิเลส ตัณหามีอำนาจเหนือเหตุผล เหนือปัญญา นั่นเอง ..

หากต้องการศึกษาธรรม ให้ศึกษาธรรมที่พระองค์ ตรัสสอนไว้ เป็น "สวากขาโต.."
ดีแล้ว ชอบแล้ว อย่า "นึกเอาเอง คิดเอาเอง"

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2012, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหนด้วยครับว่า ศรัทธา คือ ความเชื่อ มีความหมายในทำนองเดียวกัน ใช้แทนกันได้

แต่เพิ่มอีกก็คือว่า ศรัทธา คำๆนี้ ถ้าจะมีในใจใครคนไหน นั่นแสดงว่า เขายอมหรือน้อมจะไปปฏิบัติในเรื่องๆนั้น จะไม่มีทางเปลี่ยนความเชื่อง่ายๆ แต่ความเชื่อๆ นี่อาจมีการเปลี่ยนแปลงกันได้ตามแต่ละยุคแต่ละสมัย ตามประเพณีหรือวัฒธรรมที่ตนดำรงอยู่ และศรัทธาคำๆ นี้เป็น1 ในคุณธรรม5 ในอินทรีย์5 และ
พละ5 ความเชื่อ อาจจะพอเชื่ออย่บ้าง ตามที่ได้ยินได้ฟังมา แต่ถ้าเปนแบบศรัทธา คือเชื่อ "สนิทใจ"


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2012, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณลูกพระป่า

ก็เห็นด้วยกับคำตอบของหลาย ๆ ท่านค่ะ แต่ขอเสริมอีกนิดหน่อย (ความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ)

ศรัทธา หมายถึงความเชื่อในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์
ศรัทธาในทางพุทธศาสนาเป็น ศรัทธาญาณสัมปยุตต์ คือศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา
ความเชื่อและปัญญาจะต้องควบคู่หรือให้มีความสมดุลกัน หรือจะสรุปสั้น ๆว่าศรัทธาจะทำให้
เกิดการเข้าหาความจริงที่เชื่อว่ามีประโยชน์ ซึ่งศรัทธาจะต้องเกื้อหนุนให้เกิด "ปัญญา"
ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนา

ศรัทธาที่เป็นความเชื่องมงาย ไม่มีเหตุและผลจะเป็นตัว "ขัดขวางปัญญา" ไม่ให้เกิด
เช่น การยึดถือพระรัตนตรัยให้เกิดความอบอุ่นใจ คุ้มครองใจให้เข้มแข็ง ไม่ใช่หวังผลให้ดลบันดาล
อ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิเนรมิตให้ เป็นต้น

ศรัทธา ยังต้องอาศัยสิ่งอื่นหรือผู้อื่น แต่ปัญญาเป็นอิสระไม่ขึ้นกับผู้ใดเพราะเกิดขึ้นด้วยตนเอง
ดังเช่น พระอรหันต์เป็นผู้ทื่ไม่ต้องอาศัยศรัทธา เพราะท่านเห็นชัดแจ้งด้วยตนเองเมื่อความรู้
เกิดสมบูรณ์แล้ว(ปัญญา) ศรัทธา ก็หมดไป...

ดังนั้นปุถุชนอย่างเราๆ ในเบื้องต้นยังต้องอาศัย ศรัทธา ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว นำสิ่งนี้ไป
ประพฤติปฏิบัติ เมื่อผลปรากฏตรงกับความเชื่ออย่างนี้เรียกว่า ความรู้เกิดขึ้นหรือปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว
ก็จะเป็นอยู่ด้วยความรู้ ไม่ใช่ศรัทธาอีกต่อไป..

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันค่ะ

ขอเจริญในธรรมค่ะ :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 09:08
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


onion


แก้ไขล่าสุดโดย ใบไผ่เขียว เมื่อ 08 ก.พ. 2012, 20:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 20:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเชื่อ และศรัทธา คือ มิจฉาทิฐิ
รู้ความจริงของธรรมชาติ คือ สัมมาทิฐิ


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 09:08
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นด้วยกับคุณวิริยะนะครับ ธรรมไม่ควรนึกเอาเอง ต่อไปธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ก็ไม่มีความหมาย เพราะคิดเอาเอง นึกเอาเองก็ได้

onion


โพสต์ เมื่อ: 09 ก.พ. 2012, 22:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


**สวัสดีครับพี่ปลีกวิเวก :b8:
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่แบ่งบันกันนะครับ เพียงแต่มีตอนหนึ่งที่มันไม่ลงใจผมเลย ตรงที่ว่า พอบรรลุอรหันต์แล้วศรัทธาก็หมดไปนี่แหละครับ
อ้างคำพูด:
ศรัทธา ยังต้องอาศัยสิ่งอื่นหรือผู้อื่น แต่ปัญญาเป็นอิสระไม่ขึ้นกับผู้ใดเพราะเกิดขึ้นด้วยตนเอง
ดังเช่น พระอรหันต์เป็นผู้ทื่ไม่ต้องอาศัยศรัทธา เพราะท่านเห็นชัดแจ้งด้วยตนเองเมื่อความรู้
เกิดสมบูรณ์แล้ว(ปัญญา) ศรัทธา ก็หมดไป...

ตัวผมเองนั้นไม่ใช่อรหันต์บุคคลแน่นอน แต่ผมมีครูบาอาจารย์ที่บรรลุอรหันต์ที่ผมถือเป็นสรณะ และท่านทั้งหลายเหล่านั้นล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาและเคารพบูชาในพระรัตนตรัยเป็นที่สุดครับ แม้แต่ผมเองที่เป็นเพียงปุถุชน ศรัทธาในพระรัตนตรัยของผมก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยตามธรรมที่ผมได้เข้าไปรู้ไปเห็นมา แล้วพระอรหันต์ท่านจะหมดศรัทธาจะทิ้งศรัทธาไปนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้เลยครับ
**สวัสดีครับพี่วิริยะและพี่ใบไผ่เขียว :b8:
ขอบคุณพี่วิริยะมากครับในการมอบความรู้เพิ่มเติมในเรื่องศรัทธาที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงแสดงไว้ เพราะผมไม่เคยทราบมาก่อนเลยจริงๆ ความรู้ที่ได้จากสิ่งที่พี่แบ่งบันมานี้ทำให้ผมแน่ในได้ว่าการพิจารณาของผมในครั้งนั้น ได้คำตอบที่ถูกต้องและอยู่ในธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้...ในเรื่องที่พี่กรุณาเตือนว่า อย่านึกเอาหรือคิดเอาเองนั้น ผมขอเรียนอีกครั้งว่าในครั้งนั้นมันมีเหตุเกิดขึ้นมาก่อนคือ เกิดคำถามผุดขึ้นมาตอนที่ผมกำลังนั่งสมาธิว่า"เชื่อในธรรมหรือศรัทธาในธรรม" เมื่อผมพิจารณาถึงเหตุที่ทำไมจึงเกิดคำถามนี้ขึ้นมากับตัวเอง ก็ได้รู้ว่าเป็นเพราะอุปนิสัยของตัวเองที่เชื่ออะไรง่ายๆคือไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องไม่จริงหรือเป็นเรื่องโกหก ดังที่ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ครับ สิ่งต่อมาที่ผมทำก็คือทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้เป็นที่สุดของพระพุทธสุภาษิตสำหรับผมคือ"อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" ผมจึงได้กำหนดพิจารณา คิดเอา นึกเอา ด้วยตัวเองโดยใช้เหตุใช้ผลคืออดีตและปัจจุบันของตัวเอง จนได้คำตอบที่ตอบคำถามให้ตัวเองได้ครับ คือ สัทธาญาณสัมปยุตต์ ที่เป็นผลมาจากความเชื่อที่ความงมงายหมดไป ศรัทธาอันนี้เท่านั้นที่ใจผมยอมรับให้เป็นศรัทธาที่ต้องให้มีให้เกิดขึ้นมา
**สุดท้ายนี้ขอให้ผลบุญจากการให้ธรรมเป็นทานของพี่ๆทุกท่านที่มีต่อผมและผู้ที่ได้รับธรรมความรู้ตรงนี้ไป เป็นผลให้พี่ๆทุกคนเจริญในธรรมในมรรคผลนิพพานยิ่งขึ้นไปด้วยเทอญฯ


โพสต์ เมื่อ: 10 ก.พ. 2012, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
ผมจึงได้กำหนดพิจารณา คิดเอา นึกเอา ด้วยตัวเองโดยใช้เหตุใช้ผลคืออดีตและปัจจุบันของตัวเอง จนได้คำตอบที่ตอบคำถามให้ตัวเองได้ครับ

คิดเอาเอง นึกเอาเอง อาจถูกได้ เรียกว่าบังเอิญ
พระพุทธองค์ "ผู้เห็นจริงด้วย สติ ปัญญา" มีแต่ถูกไม่มีผิด ไม่มีบังเอิญ

"อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" การฝึกตน ให้เป็นที่พึ่งของตน
พระป่า พระธุดงค์กรรมฐาน พระอริยะเจ้าทั้งหลาย
ท่านก็ฝึกตนตามคำสอนของพระศาสดาทั้งนั้นแหละ

ฝากไว้ให้คิด พิจารณานะ ..

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 10 ก.พ. 2012, 17:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ความเชื่อ และศรัทธา คือ มิจฉาทิฐิ
รู้ความจริงของธรรมชาติ คือ สัมมาทิฐิ


แล้วยึดความรู้ล่ะ เป็นอะไร :b1:


โพสต์ เมื่อ: 10 ก.พ. 2012, 17:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
คิดเอาเอง นึกเอาเอง อาจถูกได้ เรียกว่าบังเอิญ
พระพุทธองค์ "ผู้เห็นจริงด้วย สติ ปัญญา" มีแต่ถูกไม่มีผิด ไม่มีบังเอิญ

"อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" การฝึกตน ให้เป็นที่พึ่งของตน
พระป่า พระธุดงค์กรรมฐาน พระอริยะเจ้าทั้งหลาย
ท่านก็ฝึกตนตามคำสอนของพระศาสดาทั้งนั้นแหละ

ฝากไว้ให้คิด พิจารณานะ ..

:b12:


คำถาม
เท่าที่ท่านปฏิบัติมา เอาจากประสบการณ์ของท่านจริง ๆ เลย
ท่านเห็นว่าธรรมที่ท่านรู้จากที่พระพุทธองค์สอน
กับธรรมที่ท่านรู้ จากการปฏิบัติ
เป็นสิ่งเดียวกัน หรือคนละสิ่ง

:b12: :b16: :b16:


โพสต์ เมื่อ: 10 ก.พ. 2012, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คำถาม
เท่าที่ท่านปฏิบัติมา เอาจากประสบการณ์ของท่านจริง ๆ เลย
ท่านเห็นว่าธรรมที่ท่านรู้จากที่พระพุทธองค์สอน
กับธรรมที่ท่านรู้ จากการปฏิบัติ
เป็นสิ่งเดียวกัน หรือคนละสิ่ง

:b12: :b16: :b16:

ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน เปรียบเหมือนแผ่นที่เส้นทางเดิน
เราจะปฏิบัติธรรมนั้น ต้องอาศัยแผ่นที หรือธรรมคำสอนนั้น
ในระหว่างทาง ปฏิปทาจะไม่เหมือนกัน แต่ถึง "จุดหมาย" เหมือนกัน

เหมือนกินข้าวแหละ กินมากกินน้อย กินอย่างราชาหรือยาจก
กินด้วยช้อนหรือด้วยมือ ก็ "อิ่ม" เหมือนกัน
"อิ่ม" นั่นแหละ เรียกว่า "จุดหมาย"
และเป็น "ปัจจัตตัง" รู้ได้เฉพาะตนด้วย

ยกตัวอย่าง พระสงฆ์รูปหนึ่ง สงสัยในธรรมที่ตนปฏิบัติ จึงจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลถาม
เมื่อถึงกุฐิ ฝนตกหนักจึงหลบอยู่ใต้กุฐิ มองเห็นหยดน้ำจากหลังคาตกลงมาแล้วกระจาย
สลายตัวไป ท่านนำเอาหยดน้ำมาพิจารณาก็ได้บรรลุธรรม หมดความสงสัย
จึงจากไป โดยไม่ขึ้นไปทูลถามแต่อย่างใด ..

สรุปว่า ธรรมที่รู้จากการปฏิบัตินั้นจะไม่เหมือนกัน
เป็น "ปัจจัตตัง" ของใครของมัน

เหมือนไปหนองคายแหละ คนหนึ่งไปรถยนต์ คนหนึ่งไปรถไฟ
แต่ถึงจุดหมาย คือหนองคาย เหมียนกัน ..

หมดภูมิแล้ว ห้ามถามอีกนะ .. :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร