วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 05:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 19:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
:b8: :b27:
.........
อยากรู้ว่าสมถะภาวนาบังคับธรรมชาติไหม? ก็ลองสังเกตให้ดีตอนที่เรากำหนดลมหายใจเข้าออกด้วยคำบริกรรมว่า พุทโธ หรือพองหนอ ยุบหนอ หรือคาถาต่างๆ ลมหายใจจะไม่สามารถไหลเข้าออกตามธรรมชาติได้ นี่เริ่มทรมาณตนเองแล้ว
Kiss
tongue


ตกลง....อโสกะ....ว่า...สมถะภาวนา.....การกำหนดลมหายใจเข้าออกด้วยคำบริกรรม....เป็น...อัตตกิลมถานุโยค
ใช่มั้ย?


อโสกะ....ยังยืนยัน...คำของตัวเอง...หรือไม่?

:b12:
55555 สงสัยผมจะไปแหย่รังแตนเข้าให้เสียแล้ว จึงถูกแตนต่อยมาหลายหนุบหลายหนับหลายคำถาม หลายกระทู้
ดีจัง เราจะได้มาถกธรรม แจกแจงธรรมสู่กันฟัง


กรณีแรกของคุณกบ ที่ถาม ผมก็ตอบยืนยันว่า สมถภาวนาทั้งหลายเป็นการควบคุมบังคับธรรมชาติให้เป็นไปตามที่ตนเอง(อัตตา)กำหนด จึงถือได้ว่าเป็นการทรมาณบังคับตนเองทั้งหมด เป็นอัตตกิลมถานุโยค

เรื่องนี้คุณกบจะต้องทำใจเป็นกลางๆแล้วพิจารณาตามธรรมอย่าเอาความเห็นหรือความยึดมั่นถือมั่นของตนเองเป็นหลัก วิธีที่ดีที่สุดคือลองนั่งขัดสมาธิหลับตากำหนดพุทโธตามลมหายใจเข้าออกดู ตั้งความสังเกตไว้ให้ดีจะได้เห็นว่าคำบริกรรมนั้นมันไปทำให้ลมหายใจไม่เข้าออกตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นจริงหรือไม่ ลองดูนะครับ


ส่วนทางสายกลางหรือวิปัสสนาภาวนานั้น เป็นการที่เอาสติปัญญามาตั้งรู้ตั้งสังเกตสภาวธรรมต่างๆที่ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์ โดยไม่ต้องทำอะไรอื่น ไม่มีการควบคุมบังคับธรรมชาติ มีแต่การสังเกตการณ์ธรรมชาติ (Observing)ธรรมต่างๆก็จะแสดงตัวไปตามกำลังแห่งเหตุปัจจัย เมื่อเหตุดับหมดกำลัง ผลก็ดับ ความรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริงเขาก็จะเกิดขึ้นมาเอง ความสลายความผูกยึดหรืออุปาทานเขาก็จะเป็นไปเอง
ทุกสิ่งจะคลายตัวเองโดยธรรมชาติ ความวิมุติหลุดพ้นของจิตก็จะเกิดตามมาเป็นผลสุดท้าย เพราะไม่มีใครหรืออะไรจะไปเกาะเกี่ยวยึดถืออะไร

พูดแบบนี้ไม่ทราบว่าจะมีสักกี่ท่านที่เข้าใจ แต่ใครจะลองพิสูจน์ดูเดี๋ยวนี้ก็ได้ ลองดูนะครับ

:b8:
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 20:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรรมฐาน 40...นั้น..สมถะภาวนา..ทั้งดุ้น

พระพุทธองค์...ทรงสั่งสอน...ทางนอกมรรค..รึ

:b12:
asoka อรรถาธิบาย
กรรมฐานทั้ง 40 กองนั้น เป็นสมถภาวนา คืออุบายระงับนิวรณ์ธรรมทั้ง 5 ทั้งหมด ถูกต้องแล้ว
แต่ในวันปฐมเทศนา พระพุทธองค์กลับทรงชี้ชัดให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เจริญมรรค 8 อันเป็นทางสายกลาง
หาใช่ทรงบอกวาปัญจวัคคืย์ทั้งหลายเธอจงไปเริ่มต้นด้วยสมถภาวนาแล้วลงท้ายด้วยวิปัสสนาภาวนาไม่เชื่อ
ลองไปเปิดอ่านธัมมจักกัปวัตนสูตรแปลดูนะครับ


ที่พระบรมศาสดายังทรงจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงกรรมฐาน 36 แล้วทรงบัญญัติเพิ่มอีก 4 คือพุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสติ วูปสมานุสติ ก็เพราะผู้คนในสมัยพุทธกาลล้วนเป็นเหล่าบรรดาฤาษีชีไพร
อเจลกะ นิคฤนธ์ทั้งหลายซึ่งล้วนแต่เป็นนักสมถะกันทั้งสิ้น พระองค์จึงทรงจำเป็นต้องเชื่อมโยงความรู้ทางด้านสมถภาวนาของคนเหล่านั้นให้มาสู่การเจริญปัญญาคือวิปัสสนาภาวนา นี่เป็นการแสดงถึงพระปรีชาญาณของพระบรมครูที่ทรงแยบคายในการถ่ายทอดธรรม


ผู้คนในภายหลังที่ไม่สังเกตพิจารณาให้ดีจึงพากันสำคัญผิดว่าต้องไปเริ่มปฏิบัติธรรมจากสมถภาวนาแบบฤาษีแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนา (แต่โดยความเป็นจริงแล้ว มรรค 8 หรือ วิปัสสนาภาวนา อันเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนานั้น มีไว้พร้อมอยู่แล้วทั้ง ปัญญา ศีล สมาธิ) หลายคนจึงยังไปทรมาณตนเองโดยวิธีต่างๆ อย่างการอดข้าวแข่งกันที่กำลังนิยมกันอยู่ในป่า เลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะซึ่้งพระพุทธองค์คงไม่ประสงค์ให้พุทธสาวกทำเช่นนั้น เพราะมีวิธีที่แยบคายชาญฉลาดไม่ต้องไปทรมาณตนเองปานนั้นก็สามารถจะทำลายมิจฉาทิฏฐิ พอกพูนสัมมาทิฏฐิได้

จึงขอให้คุณกบและท่านที่กำลังนึกค้านอยู่ขณะนี้ลองไปพิจารณาดูโดยธรรมนะครับ

:b8:
:b16:
:b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 20:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ตัวเองพล่ามอะไรใว้.....อย่าลืม

ยืนยันมา..จะได้ให้พร

onion
ยืนยัน นั่งยัน นอนยันแล้วครับ
ขอน้อมรับพร
:b12:


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 18 ก.พ. 2012, 20:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 20:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
การบรรลุธรรมของเจ้าชายสิทธัตถะจนเป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ต่างกับการที่จะได้บรรลุธรรมของปกติสาวกทั้งหลายจะเลียนแบบกันไม่ได้ แต่ทำคล้ายกันได้


จะวางแบบบไปเรื่อยๆก่อนนะครับ

ก่อนหน้าเป็นแบบการทำอาสวะให้สิ้นไปของพระพุทธเจ้า

แต่ไปดูของสาวกทั่วๆไป


สำนวนแบบที่ ๒ นี้ ซึ่งบรรยายลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมของสาวกโดยทั่วไป
ก็มีข้อความเหมือนอย่างนั้น ต่างแต่มีเฉพาะตัวหลักที่แสดงขั้นตอน ไม่มีรายละเอียด ดังนี้

“ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล้ว...สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย

บรรลุปฐมฌาน...

บรรลุทุติยฌาน...

บรรลุตติยฌาน...

บรรลุจตุตถฌาน...

บรรลุอากาสานัญจายตนะ...

บรรลุวิญญาณัญจายตนะ…

บรรลุอากิญจัญญายตนะ…

บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ…

บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ

เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป”

(อง.นวก.23/244/456…)

:b8:
“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีฝ้ามัว ปราศจากอุปกิเลส เป็นของนุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนั้นแล้ว น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ...

“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ...อย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ...

“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ...อย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ...

เรานั้น รู้ชัดตามที่มันเป็น ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
รู้ชัดตามที่มันเป็นว่า เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เรานั้น เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว
เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้
ไม่มี
asoka ชี้แจง

ก็ยกเอาของคุณกรัชกายมาเปรียบเทียบให้ดูอีกทีว่า ของพระบรมศาสดากับพระสาวทั้งหลายว่าต่างกันตรงไหน ให้สังเกตที่
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ...
จุตูปาปญาณ.....เป็นต้นมาจนถึง อาสวักขยญาณ ครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 20:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
กรัชกาย ถาม
ความหมาย อัตตกิลมถานุโยค กล่าวไว้แล้วก่อนหน้า

ทีนี้ขอถามความเข้าใจ "สมถะภาวนาแบบของฤาษี" คุณอโศกว่าเป็นไงครับ

กามสุขัลลิกานุโยค คือหมกตัวมัวเมาอยู่ในกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
:b8:
asoka ตอบ
สมถะแบบฤาษีที่ชัดที่สุดคือ กสิณ 10 อย่าง ส่วนกรรมฐานอีก 30 อย่างนั้นเป็นการประยุกต์ออกมาจากกสิณ 10 หลักการคือ
เพ่งรูป ..... ท่องบ่นบริกรรม......ทำนิมิต.....จิตยึดแน่น....จนได้บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตและอัปปนาฌาณ เสวยผลแห่งฌาณ

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 20:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
พระพุทธองค์ได้ทรงพิสูจน์ด้วยพระองค์เองแล้วว่า การประพฤติสมถะภาวนาตามแนวทางแห่งฤาษีทั้งหลายนั้นไม่ใช่ทางสายกลาง แต่เป็นอัตตกิลมถานุโยค ดังทรงแสดงเป็นเรื่องแรกแก่ปัญจวัคคีย์ในวันปฐมเทศนา และยังทรงตรัสบอกทางสุดโต่งอีกข้างหนึ่งคือกามสุขัลลิกานุโยโค อันได้แก่ความที่เจริญอยู่แต่เหตุทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์อ้อนวอนขอพร เจริญสมาธิ ภาวนาด้วยหวังว่าจะได้ความสุขจากโลกสมบัติ สวรรค์สมบัติ



ความหมาย อัตตกิลมถานุโยค กล่าวไว้แล้วก่อนหน้า :b1:

ทีนี้ขอถามความเข้าใจ "สมถะภาวนาแบบของฤาษี" คุณอโศกว่าเป็นไงครับ

กามสุขัลลิกานุโยค คือหมกตัวมัวเมาอยู่ในกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส



กามสุขัลลิกานุโยค พอใจ /โลภ
อัตตกิลมถานุโยค ไม่พอใจ/ โกรธ
มรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง (ไม่ให้ไปยุ่งกับความพอใจ และไม่พอใจ)

คือ หลงพอใจ ไม่พอใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่คือ ต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงของมนุษย์



ความหมาย "กามสุขัลลิกานุโยค กับอัตตกิลมถานุโยค" ตามที่คุณไม่เทียง...กล่าวนั้น คุณอโศกเห็นด้วยไหมครับ :b1: :b10:

:b11:
asoka เห็นด้วยกับคุณไม่เที่ยง-เกิดดับ ครึ่งเดียวครับ แต่ก็นับถือในความพยายามทำให้ธรรมมะเป็นของง่ายและลัดสั้นของคุณไม่เที่ยง-เกิดดับ ครับ

ความหมายของกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค มีอรรถที่ลึกซึ้งกว่านั้นดังได้ชี้แจงไว้แล้วครับ

:b8:
:b27:
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 17:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
พระพุทธองค์ได้ทรงพิสูจน์ด้วยพระองค์เองแล้วว่า การประพฤติสมถะภาวนาตามแนวทางแห่งฤาษีทั้งหลายนั้นไม่ใช่ทางสายกลาง แต่เป็นอัตตกิลมถานุโยค ดังทรงแสดงเป็นเรื่องแรกแก่ปัญจวัคคีย์ในวันปฐมเทศนา และยังทรงตรัสบอกทางสุดโต่งอีกข้างหนึ่งคือกามสุขัลลิกานุโยโค อันได้แก่ความที่เจริญอยู่แต่เหตุทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์อ้อนวอนขอพร เจริญสมาธิ ภาวนาด้วยหวังว่าจะได้ความสุขจากโลกสมบัติ สวรรค์สมบัติ



ความหมาย อัตตกิลมถานุโยค กล่าวไว้แล้วก่อนหน้า :b1:

ทีนี้ขอถามความเข้าใจ "สมถะภาวนาแบบของฤาษี" คุณอโศกว่าเป็นไงครับ

กามสุขัลลิกานุโยค คือหมกตัวมัวเมาอยู่ในกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส



กามสุขัลลิกานุโยค พอใจ /โลภ
อัตตกิลมถานุโยค ไม่พอใจ/ โกรธ
มรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง (ไม่ให้ไปยุ่งกับความพอใจ และไม่พอใจ)

คือ หลงพอใจ ไม่พอใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่คือ ต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงของมนุษย์



ความหมาย "กามสุขัลลิกานุโยค กับอัตตกิลมถานุโยค" ตามที่คุณไม่เทียง...กล่าวนั้น คุณอโศกเห็นด้วยไหมครับ :b1: :b10:

:b11:
asoka เห็นด้วยกับคุณไม่เที่ยง-เกิดดับ ครึ่งเดียวครับ แต่ก็นับถือในความพยายามทำให้ธรรมมะเป็นของง่ายและลัดสั้นของคุณไม่เที่ยง-เกิดดับ ครับ

ความหมายของกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค มีอรรถที่ลึกซึ้งกว่านั้นดังได้ชี้แจงไว้แล้วครับ

:b8:
:b27:
onion



ราคะ คือ พอใจ
กิเลส คือ โลภ โกรธ หลง หรือ พอใจ ไม่พอใจ
ตัณหา คือ ความอยาก/การยึดมั่นถือมั่น
อุปทาน คือ การสนองความอยาก หรือ การสนองความยึดมั่นถือมั่น

ที่เกิดความโลภ โกรธ หลง เพราะความไม่รู้ หรือ อวิชชา "แล้วไม่รู้อะไร" ก็ไม่รู้ความจริงของธรรมชาติตามกฎไตรลักษณ์ ไปหลง พอใจ ไม่พอใจ กับสิ่งที่กระทบทั้ง 6 ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ ตัณหาเกิด อุปทานเกิด ทุกข์เกิด

* อวิชชา หรือ ความเชื่อ > พอใจ ไม่พอใจ > ตัณหา > อุปทาน > ภพ > ชาติ
* ความจริงตามกฎไตรลักษณ์ตั้ง ความพอใจ ไม่พอใจไม่เกิด ตัณหาไม่เกิด อุปทานไม่เกิด ภพไม่เกิด ชาติไม่เกิด สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องกัน ถ้าสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 04:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
55555 สงสัยผมจะไปแหย่รังแตนเข้าให้เสียแล้ว จึงถูกแตนต่อยมาหลายหนุบหลายหนับหลายคำถาม หลายกระทู้
ดีจัง เราจะได้มาถกธรรม แจกแจงธรรมสู่กันฟัง

ต้องออกตัวก่อนว่า ผมไม่ใช่แตนนะครับ คนอย่างผมเป็นได้แค่ แมลงวัน
ต่อยใครไม่เป็น อย่างดีก็ตอมให้รำคาญเล่น แต่จะว่าผมก็ไม่ถูก ธรรมชาติ
ของแมลงวันพอได้กลิ่นที่ไม่พึงปรารถณา ก็จะบินตรงไปหาแบบนี้ครับ

asoka เขียน:
กรณีแรกของคุณกบ ที่ถาม ผมก็ตอบยืนยันว่า สมถภาวนาทั้งหลายเป็นการควบคุมบังคับธรรมชาติให้เป็นไปตามที่ตนเอง(อัตตา)กำหนด จึงถือได้ว่าเป็นการทรมาณบังคับตนเองทั้งหมด เป็นอัตตกิลมถานุโยค

มันคนละเรื่องกันเลยครับ เรื่องสมถกับอัตตกิลมถานุโยค
สมถเป็นกรรมฐานที่ใช่สำหรับ ผู้มีสัมมาทิฐิ(อนาสวะโลกุตตระแล้ว)
ส่วนอัตตกิลมถานุโยค มันเป็นการทรมาณกายตนเองเพื่อหาความหลุดพ้น
ดูแล้วจุดมุ่งหมายอาจเหมือนกันตรงที่ต้องการพ้นทุกข์ แต่มันผิดกันตรงที่
การปฏิบัติและความเข้าใจ

เรื่องอัตตกิลมฐานุโยค จะไม่ข้อกล่าวถึงเพราะมันผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
ตั้งแต่ต้นแล้ว จะขออธิบายความเรื่องสมถกรรมฐานให้รู้ครับว่า
สมถกรรมฐาน พระพุทธองค์ทรงสอนหรือกำหนดไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์
หรือดับเหตุแห่งทุกข์เช่นนิวรณ์ห้า


สมถกรรมฐานเป็นส่วนหนึ่งของ "กายานุปัสนา"
แต่การจะใช้ กายานุปัสนาในส่วนของสมถได้นั้น จะต้องนำไปใช้ในเรื่องของ
ธัมมานุปัสนาและที่สำคัญ ผู้ที่จะสมถกรรมฐานได้นั้นจะต้องมี สัมมาทิฐิหรือจะกล่าว
อีกนัยหนึ่งก็คือจะต้องเป็นผู้ผ่านสภาวะไตรลักษณ์มาแล้ว
ที่สำคัญการนำสมถมาในในเรื่องของธัมมาวิปัสนา จะต้องใช้ สัมมาทิฐิเป็นประธาน
หรือเป็นตัวนำเสมอ


อัตตกิลมฐานุโยคไม่ใช่สมถกรรมฐาน
อัตตกิลมฐานุโยคเป็นเรื่องของโยคี
สมถกรรมฐานเป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า


asoka เขียน:
เรื่องนี้คุณกบจะต้องทำใจเป็นกลางๆแล้วพิจารณาตามธรรมอย่าเอาความเห็นหรือความยึดมั่นถือมั่นของตนเองเป็นหลัก วิธีที่ดีที่สุดคือลองนั่งขัดสมาธิหลับตากำหนดพุทโธตามลมหายใจเข้าออกดู ตั้งความสังเกตไว้ให้ดีจะได้เห็นว่าคำบริกรรมนั้นมันไปทำให้ลมหายใจไม่เข้าออกตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นจริงหรือไม่ ลองดูนะครับ

คำอธิบายความนี้ เป็นลักษณะของ การเข้าใจผิดแต่เริ่มแรก
เมื่อต้นผิดปลายก็ผิดครับ
asoka เขียน:
ส่วนทางสายกลางหรือวิปัสสนาภาวนานั้น เป็นการที่เอาสติปัญญามาตั้งรู้ตั้งสังเกตสภาวธรรมต่างๆที่ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์ โดยไม่ต้องทำอะไรอื่น ไม่มีการควบคุมบังคับธรรมชาติ มีแต่การสังเกตการณ์ธรรมชาติ (Observing)ธรรมต่างๆก็จะแสดงตัวไปตามกำลังแห่งเหตุปัจจัย เมื่อเหตุดับหมดกำลัง ผลก็ดับ ความรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริงเขาก็จะเกิดขึ้นมาเอง ความสลายความผูกยึดหรืออุปาทานเขาก็จะเป็นไปเอง
ทุกสิ่งจะคลายตัวเองโดยธรรมชาติ ความวิมุติหลุดพ้นของจิตก็จะเกิดตามมาเป็นผลสุดท้าย เพราะไม่มีใครหรืออะไรจะไปเกาะเกี่ยวยึดถืออะไร

พูดแบบนี้ไม่ทราบว่าจะมีสักกี่ท่านที่เข้าใจ แต่ใครจะลองพิสูจน์ดูเดี๋ยวนี้ก็ได้ ลองดูนะครับ

:

คุณโสกะครับ คนอื่นเขาเข้าใจคุณครับ แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพูด
ที่ว่าเข้าใจคุณก็คือ เขารู้ว่าคุณชอบนักชอบหนาที่จะเอาบัญญัติมาเรียงกัน
ขอแค่ให้มันเป็นประโยค แต่ความหมายหรือเหตุผลจะมีหรือไม่คุณไม่สนใจ
ดูแล้วเหมือนประโยคฮิต" กินไม่ได้แต่เท่"

ส่วนที่ว่า ไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพูดก็คือ คำพูดของคุณไม่ได้อธิบายความอะไรเลย
เป็นลักษณะ พูดไปเรื่อยๆไม่มีการอธิบายความ การใช่บัญญัติเป็นลักษณะกำปั้นทุบดินครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
อย่าทำความรู้ ความเห็นและความประพฤติทุกด้านเหมือนเราไม่มีป่าช้าอยู่กับตัว
อยู่กับบ้านเมืองเรา อยู่กับญาติมิตรของเรา บทถึงคราวเป็นอย่างโลกที่มีป่าช้าทั่ว ๆ ไปขึ้นมา
จะแก้ตัวไม่ทัน แล้วจะจมลงในที่ตนและโลกไม่ประสงค์อยากลงกัน
จะคิดจะพูดจะทำอะไร ควรระลึกถึงป่าช้าคือความตายบ้าง เพราะกรรมกับป่าช้าอยู่ด้วยกัน
ถ้าระลึกถึงป่าช้า ในขณะเดียวกันได้ระลึกถึงกรรมด้วย พอทำให้รู้สึกตัวขึ้นบ้าง
อย่าอวดตัวว่าเก่งทั้ง ๆ ที่ไม่เหนืออำนาจของกรรม แม้อวดไปก็เป็นการทำลายตัว
ให้ล่มจมไปเปล่า ๆ ไม่ควรอวดเก่งกว่าศาสดาผู้รู้ดีรู้ชอบทุก ๆ อย่าง
ไม่ลูบ ๆ คลำ ๆ เหมือนคนมีกิเลสที่อวดตัวว่าเก่ง
สุดท้ายก็จนมุมของกรรมคือความเก่งของตัว


:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณคุณเอรากอนที่นำมาแบ่งปันครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 20:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:
อโสกะผู้ไม่เคยมีใจสงบ....รึ...สงบแต่หลงว่าเป็นวิปัสสนา

:b32:

อ้างคำพูด:
55555 สงสัยผมจะไปแหย่รังแตนเข้าให้เสียแล้ว

ก็แน่ละ....ก็อโสกะดูถูกพระพุทธเจ้า....ดูถูกพระธรรม...ดูถูกพระอริยะสงฆ์...นี่นา

อ้างคำพูด:
กรณีแรกของคุณกบ ที่ถาม ผมก็ตอบยืนยันว่า สมถภาวนาทั้งหลายเป็นการควบคุมบังคับธรรมชาติให้เป็นไปตามที่ตนเอง(อัตตา)กำหนด จึงถือได้ว่าเป็นการทรมาณบังคับตนเองทั้งหมด เป็นอัตตกิลมถานุโยค


อ้างคำพูด:
ที่พระบรมศาสดายังทรงจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงกรรมฐาน 36 แล้วทรงบัญญัติเพิ่มอีก 4 คือพุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสติ วูปสมานุสติ ก็เพราะผู้คนในสมัยพุทธกาลล้วนเป็นเหล่าบรรดาฤาษีชีไพร อเจลกะ นิคฤนธ์ทั้งหลายซึ่งล้วนแต่เป็นนักสมถะกันทั้งสิ้น พระองค์จึงทรงจำเป็นต้องเชื่อมโยงความรู้ทางด้านสมถภาวนาของคนเหล่านั้นให้มาสู่การเจริญปัญญาคือวิปัสสนาภาวนา นี่เป็นการแสดงถึงพระปรีชาญาณของพระบรมครูที่ทรงแยบคายในการถ่ายทอดธรรม

นี้คือ...ดูถูกพระพุทธเจ้า....
สูเจ้าคิดว่า...พระพุทธเจ้า...จำเป็นต้องกล่าวถึงกรรมฐานทั้งหลาย...จำเป็นต้องไปอ่อ..ออ...ห่อหมก...กับสิ่งที่ผิด...สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์...เพราะกลัวเขาไม่มาฟังพระองค์หรือ...

อย่าใช้แค่สมองไปวิเคราะห์พระพุทธเจ้า....

สูเจ้ายังแยกไม่ออกเลยว่า...ฟุ้งซ่านในธรรม...กับ...กายในกาย..เวทนาในเวทนา...จิตในจิต...ธรรมในธรรม...ของจริง....ทางมันแยกที่ตรงไหน

มันแยกกันที่ตรงไหน..บอกมา

สูเจ้าฟุ้งซ่านก็ไม่รู้ว่าฟุ้งซ่าน...ฟุ้งไปไม่หยุด

บอกให้เอาบุญ....วิตก..วิจารณ์..ปิติ...สุข...เอกัคคตา

ยังมีอีก...สัมมาแยกกันที่ตรงไหน....

ก็เพราะเป็นแบบนี้....ผลมันถึงยังไม่เคยมีงัย....ผลมีมันจะไม่เป็นอย่างนี้....ผู้ที่เขารู้...เขาดูออก

ขนาดพระพุทธเจ้า....พระอริยะเจ้าแม้จะเป็นแบบสุขวิปัสโก....ท่านยังไม่เคยตำนิสมถะธรรมเลย

หรือแม้ใครก็ตาม....มีผลแม้แต่น้อยนิด...จะไม่สงสัยในธรรมข้อนี้เลย

สูเจ้าเป็นใคร....ยังฟุ้งซ่านไปตำนิพระพุทธเจ้า...อรหันตเจ้า

อ้างคำพูด:
หลายคนจึงยังไปทรมาณตนเองโดยวิธีต่างๆ อย่างการอดข้าวแข่งกันที่กำลังนิยมกันอยู่ในป่า เลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะซึ่้งพระพุทธองค์คงไม่ประสงค์ให้พุทธสาวกทำเช่นนั้น เพราะมีวิธีที่แยบคายชาญฉลาดไม่ต้องไปทรมาณตนเองปานนั้นก็สามารถจะทำลายมิจฉาทิฏฐิ พอกพูนสัมมาทิฏฐิได้

พระบางองค์....จะไปที่ถ่ำบ้าง..ที่หน้าผาบ้าง...ไปแล้วจิตมันดี...มันทำภาวนาสะดวก...มันก้าวหน้าได้ง่าย

บางองค์...อดอาหารแล้ว...ภาวนาดี...นี้ตัวอย่างคือหลวงตา

อดข้าวอยากให้เขาชมว่าดีว่าเคร่งว่าเก่ง...ต่างหากพระท่านห้าม....เป็นอาบัติ

แต่อดข้าว...เพื่อสะดวกในการภาวนา....พระท่านไม่ห้าม

นี้คือการฝึก...นี้แหละคือ....มัชฌิมาปฏิปทา...

ของแต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก....บุญกรรมสะสมมาต่างกัน...แต่ลงอยู่ในกรอบมรรค 8

พวกที่เหมือนกัน...ผลเหมือนกัน...ทุก ๆ ฉาก...ทุก ๆ ตอน...มันโกหก


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 20 ก.พ. 2012, 21:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 20:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มาดูว่า...อโสกะ....ผู้ไม่บังคับธรรมชาติ

ว่าฟุ้งซ่านอย่างไร

อ้างคำพูด:
ส่วนทางสายกลางหรือวิปัสสนาภาวนานั้น เป็นการที่เอาสติปัญญามาตั้งรู้ตั้งสังเกตสภาวธรรมต่างๆที่ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์ โดยไม่ต้องทำอะไรอื่น ไม่มีการควบคุมบังคับธรรมชาติ มีแต่การสังเกตการณ์ธรรมชาติ (Observing)ธรรมต่างๆก็จะแสดงตัวไปตามกำลังแห่งเหตุปัจจัย เมื่อเหตุดับหมดกำลัง ผลก็ดับ ความรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริงเขาก็จะเกิดขึ้นมาเอง ความสลายความผูกยึดหรืออุปาทานเขาก็จะเป็นไปเอง

เอาสติมาตั้ง....มารู้....ต้องบังคับมั้ย....ไม่บังคับมัน...มันจะมาตั้งมารู้มั้ย :b32: :b32:

นี้..หนึ่งละ :b32: :b32:

อีกหนึ่ง....

กำลังพิจารณาธรรมอยู่...กายนี้ไม่เที่ยงหนอ..โลกนี้ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์หนอ

อยู่ ๆ สติ....มันแว๊บ...ไปหาอีหนู...ก็ให้มันไปหาอีหนู....รู้ว่าอ้อ..มันไปหาอีหนู

หากมันคิด...จะไปอยู่กับอีหนู...รู้ว่าอ้อมันจะไปอยู่กับอีหนู

หากมันคิด...จะไปเดียวนี้...ก็รู้ว่าอ้อมันจะไปแล้ว

หากมันอยากมีอะไรกับอีหนู....ก็ปล่อยมันทำไป...เราแค่รู้...อย่าไปบังคับมัน...

รึ...ว่ามา
แบบนี้....ต้องบังคับมันไหม...มันจะไปก็ไม่ต้องหักห้ามงั้นรึ?

ก็จิตมันมีแต่กิเลสตัณหา...ก็ธรรมชาติคือธรรมชาติของกิเลส...ต้องฝืนมัน...ตามมันก็หมกอยู่ในโลก..นะซิ

ศีล...นี้เห็นมัย...นี้เริ่มบังคับแล้ว...

สมาธิ...ต้องฝึก..ต้องทำให้เจริญ....สัมมาสมาธินะ

ปัญญา....เป็นผลของสัมมาทิฏฐิ...สัมมาสังกัปปะ..สัมมากัมมันตะ..สัมมาอาชีวะ...สัมมาวายามะ...สัมมาสติ...สัมมาสมาธิ...คือมรรคทั้ง 8....มีมั้ยท่านสอนให้ทำมรรคที่ 9 สัมมาญาณะเลย

ที่ว่าปัญญา...นำ....ปัญญานำ....นั้นคือการฝึกหัด...เป็นสมถะทั้งหมด

ชอบพูดนักนี้ว่า...สัมมาทิฏฐิ...สัมมาสังกัปปะ...เป็นปัญญาแล้ว...ช่าย...เป็นปัญญาแต่ฆ่ากิเลสได้รึยัง

มันเป็นความคิด..มันเป็นกุศล...นี้แหละมั้ง...เพราะคิดว่านี้ปัญญาละมั้ง...ถึงฟุ้งซ่านไม่หยุด

ต้องชำระกิเลสได้เท่านั้นเราชาวพุทธถึงเรียก....ปัญญา

อ้างคำพูด:
ความรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริงเขาก็จะเกิดขึ้นมาเอง ความสลายความผูกยึดหรืออุปาทานเขาก็จะเป็นไปเอง


ลิเก....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 21:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นี้พูดแบบ..เมตตานะนี้...พูดด้วยพรหมวิหาร..นะนี้
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดลมหายใจเข้าออก ท่านให้ใช้ สติ คอยระวังสังเกตุ แล้วปล่อยลมหายใจให้เป็นธรรมชาติ ไม่เห็นท่านสอนให้บังคับลมหายใจตามที่คุณ asoka บอกกล่าวนะค่ะ

ดิฉัน ก็ใช้ภาวนา พุทโธ พร้อมกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่เห็นมีปัญหาอะไร
คุณ asoka ทำไม่ได้ ไม่ใช่ว่าคนอื่นต้องทำไม่ได้เหมือนคุณ asoka นะค่ะ

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 23:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มาดูว่า...อโสกะ....ผู้ไม่บังคับธรรมชาติ

ว่าฟุ้งซ่านอย่างไร

อ้างคำพูด:
ส่วนทางสายกลางหรือวิปัสสนาภาวนานั้น เป็นการที่เอาสติปัญญามาตั้งรู้ตั้งสังเกตสภาวธรรมต่างๆที่ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์ โดยไม่ต้องทำอะไรอื่น ไม่มีการควบคุมบังคับธรรมชาติ มีแต่การสังเกตการณ์ธรรมชาติ (Observing)ธรรมต่างๆก็จะแสดงตัวไปตามกำลังแห่งเหตุปัจจัย เมื่อเหตุดับหมดกำลัง ผลก็ดับ ความรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริงเขาก็จะเกิดขึ้นมาเอง ความสลายความผูกยึดหรืออุปาทานเขาก็จะเป็นไปเอง

เอาสติมาตั้ง....มารู้....ต้องบังคับมั้ย....ไม่บังคับมัน...มันจะมาตั้งมารู้มั้ย :b32: :b32:

นี้..หนึ่งละ :b32: :b32:

อีกหนึ่ง....

กำลังพิจารณาธรรมอยู่...กายนี้ไม่เที่ยงหนอ..โลกนี้ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์หนอ

อยู่ ๆ สติ....มันแว๊บ...ไปหาอีหนู...ก็ให้มันไปหาอีหนู....รู้ว่าอ้อ..มันไปหาอีหนู

หากมันคิด...จะไปอยู่กับอีหนู...รู้ว่าอ้อมันจะไปอยู่กับอีหนู

หากมันคิด...จะไปเดียวนี้...ก็รู้ว่าอ้อมันจะไปแล้ว

หากมันอยากมีอะไรกับอีหนู....ก็ปล่อยมันทำไป...เราแค่รู้...อย่าไปบังคับมัน...

รึ...ว่ามา
แบบนี้....ต้องบังคับมันไหม...มันจะไปก็ไม่ต้องหักห้ามงั้นรึ?

ก็จิตมันมีแต่กิเลสตัณหา...ก็ธรรมชาติคือธรรมชาติของกิเลส...ต้องฝืนมัน...ตามมันก็หมกอยู่ในโลก..นะซิ

ศีล...นี้เห็นมัย...นี้เริ่มบังคับแล้ว...

สมาธิ...ต้องฝึก..ต้องทำให้เจริญ....สัมมาสมาธินะ

ปัญญา....เป็นผลของสัมมาทิฏฐิ...สัมมาสังกัปปะ..สัมมากัมมันตะ..สัมมาอาชีวะ...สัมมาวายามะ...สัมมาสติ...สัมมาสมาธิ...คือมรรคทั้ง 8....มีมั้ยท่านสอนให้ทำมรรคที่ 9 สัมมาญาณะเลย

ที่ว่าปัญญา...นำ....ปัญญานำ....นั้นคือการฝึกหัด...เป็นสมถะทั้งหมด

ชอบพูดนักนี้ว่า...สัมมาทิฏฐิ...สัมมาสังกัปปะ...เป็นปัญญาแล้ว...ช่าย...เป็นปัญญาแต่ฆ่ากิเลสได้รึยัง

มันเป็นความคิด..มันเป็นกุศล...นี้แหละมั้ง...เพราะคิดว่านี้ปัญญาละมั้ง...ถึงฟุ้งซ่านไม่หยุด

ต้องชำระกิเลสได้เท่านั้นเราชาวพุทธถึงเรียก....ปัญญา

อ้างคำพูด:
ความรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริงเขาก็จะเกิดขึ้นมาเอง ความสลายความผูกยึดหรืออุปาทานเขาก็จะเป็นไปเอง


ลิเก....


huh huh huh


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 23:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12:
ฟุ้งไปใหญ่เลยนะคุณกบ แถมยังใส่ร้ายผู้คนไปมากมายอีกด้วยว่าไม่เคารพ และดูถูกพระรัตนตรัย เรื่องนี้ต้องคิดลึกๆ สังเกตพิจารณากันไปนานๆด้วยความสุขุมรอบคอบนะครับระวังบาปจะเกิดเกับปากและใจของคุณกบเอง

ถามจริงๆว่าคุณกบได้เคยลงนั่งหลับตาพิสูจน์ดูแล้วหรือยังว่า เวลาคุณบริกรรมพุทโธตามลมหายใจเข้าออกนั้น ลมหายใจจะไม่สามารถไหลเข้าออกตามธรรมชาติได้แต่จะเป็นไปตามจังหวะของการบริกรรมพุทโธ

คุณจันทร์เพ็ญด้วยนะครับลองพิสูดจน์ดูแล้วสังเกตให้ดีๆ ลมหายใจที่เข้าออกตามธรรมชาตินั้น เขาบางทีสั้ัน บางทียาว บางทีแผ่วพริ้ว บางทีหยุดไปเป็นนานสองนาน คำบริกรรมของคุณเขา สั้น ยาว แผ่วหรือหยุดไปตามอาการทางธรรมชาติเหล่านี้ไหมลองสังเกตให้ดี


และได้โปรดกรุณาอย่าฟุ้งแลบไปในเรื่องอื่นที่นอกประเด็นที่ต้องการให้พิสูจน์ เพื่อจะได้เห็นธรรมรู้ธรรมตามความเป็นจริง

ลองวิตกวิจารณ์มาเฉพาะเรื่องลมหายใจที่เข้าออกตามคำบริกรรม กับลมหายใจที่เข้าออกตามธรรมชาติแล้วมีสติปัญญาคอยรู้ทันและสังเกตพิจารณามันแตกต่างกันอย่างไร อย่าคิดตอบ ต้องลองทำเปรียบเทียบกันดูก่อนแล้วค่อยวิตกวิจารณ์ตามธรรม

อีกอย่างที่ไม่ได้บอกคือผมมิได้ตำหนิว่าการบริกรรมพุทโธ พองหนอยุบหนอ หรืออื่นๆที่เป็นวิธีทางสมถะว่าไม่ดี แต่ต้องการให้ทุกท่านได้พิสูจน์ความจริงว่า สมถะภาวนานั้นเป็นการควบคุมบังธรรมชาติให้เป็นไปดั่งใจกำหนด
แต่วิปัสสนาภาวนานั้นเป็นการตามดูตามรู้ธรรมชาติจริงๆ คุณกบอาจเถียงว่าตามดูตามรู้ก็คือบังคับธรรมชาติอย่างที่เถียงไป แต่พึงสังเกตให้ดีว่า ตามดูตามรู้ตามสังเกตธรรมชาติ กับการกำหนดกฎเกณฑ์ให้กับธรรมชาติ เจตนาและน้ำหนักของกรรมนั้นมันต่างกันเยอะมากเลยทีเดียวครับ วิบากของมันจึงต่างกันมากด้วยเช่นกัน


ธรรมชาติทั้งหมดเป็นอนัตตา คุณคิดว่าการบังคับธรรมชาติให้เป็นไปได้ดั่งใจคือวิธีการที่ถูกต้องแล้วหรือครับ มันจะมิใช่ทำให้ผู้ที่คิดว่าควบคุมบังคับธรรมชาติได้เพียงชั่วคราวนั้นเกิดความหยิ่งลำพองเห็นผิดติดอยู่ในมานะทิฏฐิว่าฉันทำได้ ซึ่ีงไม่ใช่ประเด็นของผลปฏิบัติธรรม ผลปฏิบัติธรรมขั้นแรกนั้นท่านมุ่งทำลายสักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด และทำลายมานะทิฐิ ความยึดผิด ในธรรมทั้งหลายมิใช่หรือครับ

:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร