วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ถ้าในปฏิจจสมุบาทในส่วนของเวทนาของผมเป็น ทุกข์เวทนา
จิตยังมีความติดใจยินดีตวามเพลินมั้ยครับ :b13:
เช่นนั้น เขียน:
ส่วนกิเลส คือการจำแนกความเศร้าหมองของจิตที่เกิดขึ้น จากความทะยานอยาก ของจิตด้วยอำนาจความติดใจยิน ความเพลินนั้น ...ให้เราได้รู้จักได้พิจารณา....จะเรียกอีกชื่อที่มีความหมายคล้ายกันคืออาสวะก็ยังได้

ตอบแบบนี้เขาเรียกว่า ครอบจักวาล ถูกบ้างผิดบ้างฉันไม่รู้ ขอแค่มีส่วนร่วม

ความหมายของกิเลสที่แท้จริงคือ ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์
และตัวกิเลสที่พระพุทธเจ้าทรงสอนก็คือ สังโยชน์10



การจำแนกความเศร้าหมองที่คุณบอกนั้นน่ะ
ความเศร้าหมองที่คุณบอกมันเป็นทุกข์เข้าใจมั้ย :b13:

แม้ทุกขเวทนา เช่นที่ โฮฮับเข้าใจ หากจิตดิ้นรนไปเพลิดเพลินกับทุกขเวทนา ก็เป็นความติดใจยินดีเช่นกัน ....สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ล้วนแล้วแต่เป็นที่ตั้งของความเพลิดเพลินยินดีได้ทั้งสิ้น...

นิวรณ์ อุปกิเลส คันถะ โยคะ ปรามาส สังโยชน์ ล้วนแล้วแต่เป็นการจำแนกกิเลสทั้งสิ้น

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 16:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส คือ โลภ โกรธ หลง
ตัณหา คือ การยึดมั่น หรือ ความอยาก
อุปทาน คือ การสนองการยึดมั่น หรือ สนองความอยาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 19:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
กิเลส เปรียบเหมือนขยะ ภาระ ครื่องข้อง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองสกปรก

ตัณหาคือผู้สร้างกิเลส

แต่ทั้งกิเลสและตัณหาต่างก็อิงอาศัยกันเกิด เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน

เพราะมีกิเลสจึงเกิดตัณหา เพราะมีตัณหาจึงเกิดกิเลส
ขยะใจหรือกิเลสแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ ....โลภะ.....โทสะ.....โมหะ
ตัณหาแบ่งเป็น 3 พวก ดังมีท่านผู้รู้กล่าวมาหลายท่านแล้วครับ
ตัณหานั้นมีเวทนา ความรู้สึกเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิด

สิ่งที่ไม่มีบอกในตำราไว้ตรงๆคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังระหว่างผัสสะจะต่อมาเกิดเวทนา ต้องไปค้นให้พบกันเอาเองว่า
ผัสสะทั้ง 6 ไปกระทบอะไรจริงๆ และ เวทนานั้นเกิดกับอะไรจริงๆ กิเลสใหญ่สำคัญตัวหนึ่งซ่อนอยู่ในนั้นแหละพากันหาให้เจอแล้วจะหมดสงสัย หรือ วิจิกิจฉา
onion ท ส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ม้ทุกขเวทนา เช่นที่ โฮฮับเข้าใจ หากจิตดิ้นรนไปเพลิดเพลินกับทุกขเวทนา ก็เป็นความติดใจยินดีเช่นกัน ....สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ล้วนแล้วแต่เป็นที่ตั้งของความเพลิดเพลินยินดีได้ทั้งสิ้น...

คุณเช่นนั้นครับ คุณกำลังเอาเรื่อง กระบวนการขันธ์ห้ามาแปลความในปฏิจจสมุบาทแล้วล่ะครับ
ถ้าเราจะตีความเวทนาขันธ์ จะต้องดูเจตสิกแต่ละตัวที่เกิดตามมา อย่างเช่น เกิดทุกขเวทนาขึ้น
ผลที่เกิดตามมาจาการปรุงแต่ง มันจะเป็นโทสะ หมายความว่าปฏิเสธทุกขเวทนา

ที่นี้เรามาดูความหมาย ของตัณหาในปฏิจจสมุบาท เราจะแปลไอ้ตัวตัณหาที่มีเหตุปัจจัย
มาจากทุกขเวทนาว่า ความยินดีเพลิดเพลินไม่ได้
ตัณหาถ้ามีคำจำกัดความว่า "อยาก" ดังนั้นต้องแปลความว่า
ความอยากให้ ทุกขเวทนาหมดไปครับ ไม่ใช่ยินดีเพลินเพลินกับทุกขเวทนา

เช่นนั้น เขียน:
นิวรณ์ อุปกิเลส คันถะ โยคะ ปรามาส สังโยชน์ ล้วนแล้วแต่เป็นการจำแนกกิเลสทั้งสิ้น

กลัวผิดหรือครับ ถึงได้ยกบัญญัติบาลีมาเป็นดุ้นๆ ไม่อธิบายความเลย
จะบอกให้ครับ สังโยชน์ไม่ใช่ส่วนย่อยหรือการจำแนกกิเลสอย่างที่คุณบอก

สังโยชน์เป็นกิเลสมวลรวมทั้งหมด สังโยชน์ทำให้เกิดกระบวนปฏิจจสมุบาท
สังโยชน์ทำให้เกิด วัฏสงสารครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า กิเลสคือสิ่งที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์
และสิ่งที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกก็คือสังโยชน์10นั้นเอง

กระบวนการปฏิจจสมุบาท เป็นวงจร ที่ทรงสอนให้รู้ถึงเหตุปัจจัยว่ากิเลส
ทำให้เกิดทุกข์ได้อย่างไร
ถ้าเราดูที่วงปฏิจจฯ จะเห็นว่ามีในส่วนของอวิชา ซึ่งก็ตรงกับสังโยชน์สุดท้าย

ธรรมที่ใจ ล้วนมีกิเลสติดตัวมา กิเลสที่ว่าคือสังโยชน์
สังโยชน์เป็นกุศลและอกุศล ได้เพราะขันธ์ห้ามาปรุงแต่งสังโยชน์
ให้เกิดอาการของจิตที่เป็นกุศลและอกุศล

ตัวอย่างเช่น โทสะโมหะ โลภะธรรมที่เป็นอกุศลเหล่านี้ พวกเราเข้าใจว่า
มันเป็นกิเลส แท้จริงแล้วมันเป็นเพียงอาการของจิต ที่เกิดจากกิเลสที่แท้จริง
นั้นก็คือกิเลสในสังโยชน์ สังโยชน์ถูกกระบวนการขันธ์ห้าปรุงแต่ง จนเกิดเป็น
อาการของจิตที่เป็นอกุศล

จิตหรือเจตสิกไม่ใช่ตัวกิเลส จิตหรือเจตสิกเป็นเพียงผลกระทบที่เกิดจากกิเลส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ม้ทุกขเวทนา เช่นที่ โฮฮับเข้าใจ หากจิตดิ้นรนไปเพลิดเพลินกับทุกขเวทนา ก็เป็นความติดใจยินดีเช่นกัน ....สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ล้วนแล้วแต่เป็นที่ตั้งของความเพลิดเพลินยินดีได้ทั้งสิ้น...

คุณเช่นนั้นครับ คุณกำลังเอาเรื่อง กระบวนการขันธ์ห้ามาแปลความในปฏิจจสมุบาทแล้วล่ะครับ
ถ้าเราจะตีความเวทนาขันธ์ จะต้องดูเจตสิกแต่ละตัวที่เกิดตามมา อย่างเช่น เกิดทุกขเวทนาขึ้น
ผลที่เกิดตามมาจาการปรุงแต่ง มันจะเป็นโทสะ หมายความว่าปฏิเสธทุกขเวทนา

ที่นี้เรามาดูความหมาย ของตัณหาในปฏิจจสมุบาท เราจะแปลไอ้ตัวตัณหาที่มีเหตุปัจจัย
มาจากทุกขเวทนาว่า ความยินดีเพลิดเพลินไม่ได้
ตัณหาถ้ามีคำจำกัดความว่า "อยาก" ดังนั้นต้องแปลความว่า
ความอยากให้ ทุกขเวทนาหมดไปครับ ไม่ใช่ยินดีเพลินเพลินกับทุกขเวทนา

เช่นนั้น เขียน:
นิวรณ์ อุปกิเลส คันถะ โยคะ ปรามาส สังโยชน์ ล้วนแล้วแต่เป็นการจำแนกกิเลสทั้งสิ้น

กลัวผิดหรือครับ ถึงได้ยกบัญญัติบาลีมาเป็นดุ้นๆ ไม่อธิบายความเลย
จะบอกให้ครับ สังโยชน์ไม่ใช่ส่วนย่อยหรือการจำแนกกิเลสอย่างที่คุณบอก

สังโยชน์เป็นกิเลสมวลรวมทั้งหมด สังโยชน์ทำให้เกิดกระบวนปฏิจจสมุบาท
สังโยชน์ทำให้เกิด วัฏสงสารครับ


แม้ธรรมชาติของตัณหา โฮฮับ ก็ยังไม่เข้าใจ
โฮฮับ คงต้องเรียนรู้อีกมากนะครับ เกี่ยวกับ ธรรมชาติที่เรียกว่า นันทิ.....

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 02:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

แม้ธรรมชาติของตัณหา โฮฮับ ก็ยังไม่เข้าใจ
โฮฮับ คงต้องเรียนรู้อีกมากนะครับ เกี่ยวกับ ธรรมชาติที่เรียกว่า นันทิ.....

คุณเช่นนั้นครับ ต้องเรียนว่าผู้ประพฤติธรรมที่ดี วาจาและการกระทำต้อง
ไปในทางเดียวกันนะครับ ไม่ใช่ปากพูดอย่างแต่การกระทำมันอีกอย่าง
มาเที่ยวได้บอกว่า ผมต้องเรียนรู้อีกมากเรื่องนันทิ ให้ผมเรียนรู้แล้วทำไม
ไม่อธิบายความมาล่ะครับ แค่นี้ก็รู้แล้วว่าเป็นการแก้เกี้ยว สมัยนี้การเอา
บาลีมาแก้เกี้ยวมันใช้ไม่ได้แล้วครับ

จะบอกให้ครับ การจะหาธรรมชาติของธรรมในกระบวนการปฏิจจฯ
ไม่ใช่มาหาที่ตัวที่เป็นปัญหา เราต้องไปหาที่ต้นเหตุ

การอธิบายเรื่องตัณหา อยากรู้ว่าเป็นอะไรเราต้องไปพิจารณาที่
เวทนาซึ่งเป็นเหตุของตัณหาครับ

ตัณหามีลักษณะสามประการคือ
๑.กามตัณหา ๒.ภวตัณหา ๓.วิภวตัณหา

ในเวทนามันมีอะไร เหตุที่เกิดจากเวทนามันเป็นอะไร
ตัณหาเป็นผลที่ตามมามันก็ต้องเป็นไปตามเหตุครับ

อย่างเกิดทุกขเวทนา ผลที่ตามมามันก็ต้องเป็นวิภวตัณหา
หมายความว่า อยากที่จะให้ทุกขเวทนาดับสูญไป

ส่วนเรื่อง นันทิ ที่หมายถึงความเพลิดเพลิน มันเป็นคนละส่วนกับตัณหา
นันทิเป็นต้นตอเป็นกิเลสที่อยู่ในอวิชาหรืออีกความหมายก็คือสังโยชน์ มันแทรกซึมอยู่
ในกระบวนการปฏิจจฯ สรุปก็คือ มันเป็นเหตุต้นตอของตัณหา และคอยกำกับตัณหา
จะเอานันทิมาอธิบายความให้เป็นส่วนย่อยหรือเป็นตัวตัณหาเลยไม่ได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:

แม้ธรรมชาติของตัณหา โฮฮับ ก็ยังไม่เข้าใจ
โฮฮับ คงต้องเรียนรู้อีกมากนะครับ เกี่ยวกับ ธรรมชาติที่เรียกว่า นันทิ.....

คุณเช่นนั้นครับ ต้องเรียนว่าผู้ประพฤติธรรมที่ดี วาจาและการกระทำต้อง
ไปในทางเดียวกันนะครับ ไม่ใช่ปากพูดอย่างแต่การกระทำมันอีกอย่าง
มาเที่ยวได้บอกว่า ผมต้องเรียนรู้อีกมากเรื่องนันทิ ให้ผมเรียนรู้แล้วทำไม
ไม่อธิบายความมาล่ะครับ แค่นี้ก็รู้แล้วว่าเป็นการแก้เกี้ยว สมัยนี้การเอา
บาลีมาแก้เกี้ยวมันใช้ไม่ได้แล้วครับ

จะบอกให้ครับ การจะหาธรรมชาติของธรรมในกระบวนการปฏิจจฯ
ไม่ใช่มาหาที่ตัวที่เป็นปัญหา เราต้องไปหาที่ต้นเหตุ

การอธิบายเรื่องตัณหา อยากรู้ว่าเป็นอะไรเราต้องไปพิจารณาที่
เวทนาซึ่งเป็นเหตุของตัณหาครับ

ตัณหามีลักษณะสามประการคือ
๑.กามตัณหา ๒.ภวตัณหา ๓.วิภวตัณหา

ในเวทนามันมีอะไร เหตุที่เกิดจากเวทนามันเป็นอะไร
ตัณหาเป็นผลที่ตามมามันก็ต้องเป็นไปตามเหตุครับ

อย่างเกิดทุกขเวทนา ผลที่ตามมามันก็ต้องเป็นวิภวตัณหา
หมายความว่า อยากที่จะให้ทุกขเวทนาดับสูญไป

ส่วนเรื่อง นันทิ ที่หมายถึงความเพลิดเพลิน มันเป็นคนละส่วนกับตัณหา
นันทิเป็นต้นตอเป็นกิเลสที่อยู่ในอวิชาหรืออีกความหมายก็คือสังโยชน์ มันแทรกซึมอยู่
ในกระบวนการปฏิจจฯ สรุปก็คือ มันเป็นเหตุต้นตอของตัณหา และคอยกำกับตัณหา
จะเอานันทิมาอธิบายความให้เป็นส่วนย่อยหรือเป็นตัวตัณหาเลยไม่ได้ครับ

โฮฮับ ยิ่งแสดงว่า เวทนาเป็นเหตุของตัณหา
ยิ่งทำให้ทราบว่า โฮฮับ ก็ไม่รู้เรื่องปฏิจสมุปปบาทเลย
โฮฮับ ต้องศึกษาเพิ่มขึ้นอีกมากกว่านี้นะครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 01:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ ยิ่งแสดงว่า เวทนาเป็นเหตุของตัณหา
ยิ่งทำให้ทราบว่า โฮฮับ ก็ไม่รู้เรื่องปฏิจสมุปปบาทเลย
โฮฮับ ต้องศึกษาเพิ่มขึ้นอีกมากกว่านี้นะครับ


ปะเดี๋ยวก็จับถอนขน ทำลาบนกซะนี่
พูดเป็นนกแก้ว นกขุนทอง :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b19: :b4:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2012, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เครื่องเศร้าหมองทุกชนิด เรียกรวมๆว่ากิเลส

กิเลส มีหลายหลาก อาการ หลายหลากชนิด หลากหลายระดับ ทั้งหยาบกลางละเอียด

ชนิดที่แสดงอาการออกมา เป็นความต้องการ ก็เรียกกิเลสชนิดนั้นว่า ตัณหา

ถ้าอาการของความติดใจ ก็ เรียกว่า ราคะ

ถ้าต้องการมากๆ ก็ เรียกโลภะ

ถ้าผูกโกรธ พยาบาท ก็เรียก โทสะ

ถ้ามีอาการ เห็นผิด สำคัญผิด เรียกโมหะ

ถ้าหมักดอง ข้างใน เรียกอาสวะ

ถ้าเป็นกิริยา เผลอเพลิน เคลิ้มไป หรือไหลตามอารมณ์โดยไม่มีความรู้ เรียก อนุสัย

ถ้าเป็นชนิดที่แสดงอาการเป็นเครื่องกั้นจิต เรียกนิวรณ์

และอื่นๆอีกมากมาย ล้วนต่างก็เรียกรวมกันว่ากิเลส

พอเป็นพระอรหันต์ ก็คือผู้สิ้นกิเลส ทุกชนิด ทุกอาการ ทุกความหมาย

cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:02
โพสต์: 157

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสเป็นคำเรียกรวมๆ ของตัณหา กับอุปปาทาน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกันแต่อยู่คนละสถานะ

ถ้ามันกำลังแอคทีฟทำงานคอยบงการจิตใจเรา อันนั้นเรียกว่าตัณหา

ถ้ามันนอนนิ่งเป็นตะกอนอยู่ในจิต ยังไม่ลุกขึ้นมาทำงาน เรียกว่า อุปปาทาน

ซึ่งเจ้ากิเลสนี้มีลูกหลานมากมายหลากหลายสายพันธุ์สายหลักๆมีเช่น

โลภะ สายดึงดูด โทสะ สายผลักไส โมหะ ยังไม่รู้หลงๆอยู่ ฯ ล ฯ

.....................................................
มาตามหา เพื่อนร่วมทาง

ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด > > ต้องทำให้ได้ คือแก้ไขตนเอง > > ฝึกหยุด-ไม่หยุดฝึก >
ไม่มีเวลาสำหรับความชั่วบาปอีกแล้ว. ." ทุกวินาทีเป็นวินาทีแห่งบุญ "
เราจะฝึกฝนตนเพื่อไปถึงจุดนั้นให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2014, 17:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 19:24
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสจะเกิดก่อนแล้วจะเกิดตัณหาตามมาเสมอเช่น
เห็นของที่ถูกใจเกิดโลภะอยากได้ ในขณะนั้นจิตจะเป็นทุกข์ก็จะเกิดตัณหาอยากจะแก้ทุกข์นั้นขึ้น
มาทันที จิตก็จะทำงานต่อ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร