วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 12:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
การปฏิบัติธรรม แบบง่าย

ชื่อกระทู้...ก็บอกอยู่แล้ว...ปฏิบัติแบบง่าย ๆ
แต่คุยกันแต่เรื่องยาก ๆ ...มันก็ไม่ง่ายให้นะซี...
จะให้อวิชชา...เป็นวิชชา
จะให้คนไม่รู้เรื่อง....ให้มันรู้เรื่อง
จะให้คนพาล...เป็น....
ทุกข์(มันก็)ขัง....กันท่าเดียว..ไม่ได้ไปไหนกันซะที

กะลาเอ๊ย กะลา ปล่อยกบมันออกมาเปิดหูเปิดตาบ้าง
คนที่ไม่ไปไหน มันเป็นกะลา นี่มาเที่ยวเหน็บท่านกัดกายแก
เดี๋ยวก็โดนถ้าชกข้ามเว็บหรอก เรื่องการปฏิบัติธรรมแบบง่ายๆเขาเอาขว้างหัวจ่าเทวฯไปแล้ว :b13:

ที่เขากำลังคุยกัน เป็นความเห็นที่สองของกระทู้
sriariya เขียน:
"ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก"
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
ผู้เขียน


ท่านกบพูดถูก

การปฏิบัติแบบง่ายก็อย่างที่บอกก่อนหน้า มีทอดกฐินทอดผ้าป่า ฯลฯ ตักบาตรพระร้อยพระประจำวัน :b1: นั่นแหละบทเริ่มต้น ที่มายากเพราะท่านโฮไปเอาเรื่องที่คุยที่กระทู้ยาก (ไตรลักษณ์) มา จึงพันกันยุ่ง
นี่รออยู่ที่โน่นก็ไม่ไป :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


din เขียน:
ฝืนทำและไปบังคับให้มันสงบก็เป็นแบบนี้ ร่างกายและจิตใจมันเลยรองรับอารมณ์ไม่ไหว ผมก็เคยไปบังคับให้มันสงบ ผมไม่เดี้ยงอย่างในภาพนั้นแต่การรับรู้เดี้ยงพักหนึ่งเลย จะเดินก็คิดซ้ายย่างหนอขวาย่างหนอตลอด เอากำลังสติมาใช้ในการดำรงชีวิตไม่ได้เลย กินยาสักพักนู้นแหละค่อยเอาสติมาใช้ในการทำมาหากินได้


ร่างกายและจิตใจก็คือธรรมะ (ปรมัตถธรรม) เป็นที่รวมของธรรมะที่เราพูดถึงกันทุกข้อ (เช่น ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ) สุข ทุกข์ และวิธีปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ก็รวมอยู่ที่กายใจนี้

ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจอย่าทำ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว





มหาสมุทรสุดลึกล้น คณนา

สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้

เขาสูงอาจวัดวา กำหนด

จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง

:b1: :b14: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 14:17
โพสต์: 260

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เขาเป็นอะไรอ่ะคุณกัดไกล โดนปอบเข้าเหรอ เห็นทำมือทำไม้ยังกับว่าจะล้วงตับ
แล้วอีกคนเป็นโรคหอบเหรอ เห็นร้องครางแฮ่กๆใหญ่เลย ทำไมไม่มีคนพาไปโรงพยาบาลน๊ออ

ตะแหง่ว

.....................................................
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า พอได้มาอ่านคำโต้เถียงของเจ้า โฮฮับ ก็น่าสมเพชเวทนาในความคิดเป็นยิ่งนัก เถียงกับเขาก็เหมือนกับ เถียงกับ...ยังไงยังงั้นแหละ ความเขลาบังตาซะจนไม่รู้ว่า อะไรคือหลักความจริง อะไรคือความหลงของมัน สอนคนอย่างมัน ต้องถือไม้แล้วฟาดด้วยมันถึงจะจำ เหมือนเด็กอายุสัก 10 ขวบ เท่านั้น ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

มันไม่กล้าเอาคำที่มันกล่าวมาลงซ้ำ แต่มันเอาคำที่เขาว่าให้มันมาลงไว้ แล้วยอกย้อน สมองดี แต่ความคิดเลว อยากชนะเพียงเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของมัน เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า โฮฮับ เจ้าจงรู้เอาไว้อย่างหนึ่งว่า ธรรมใดใดที่ข้าพเจ้าเขียนไปสอนไป เจ้าหนีไม่พ้นสักอย่าง เพียงแต่เจ้ามันโง่แล้วอวดฉลาดเท่านั้น ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:



มหาสมุทรสุดลึกล้น คณนา

สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้

เขาสูงอาจวัดวา กำหนด

จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง

:b1: :b14: :b12:

ชายในคลิปเขาเป็นอะไรค่ะคุนกรัชกาย ทำไมเค้าทำท่าประหลาดแบบนั้น จิตเค้าไม่ปกติหรอค่ะแล้วการนั่งกรรมฐาน แตกต่างกับนั่งสมาธิอย่างไรเจ้าค่ะ แล้วถ้าจิตเราไม่สงบเราไม่ควรนั่งกรรมฐานใช่หรือเปล่าค่ะเพราะจะเป็นแบบในคลิป เอะรึยังงัย? อยากทราบ :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 14:17
โพสต์: 260

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า พอได้มาอ่านคำโต้เถียงของเจ้า โฮฮับ ก็น่าสมเพชเวทนาในความคิดเป็นยิ่งนัก เถียงกับเขาก็เหมือนกับ เถียงกับ...ยังไงยังงั้นแหละ ความเขลาบังตาซะจนไม่รู้ว่า อะไรคือหลักความจริง อะไรคือความหลงของมัน สอนคนอย่างมัน ต้องถือไม้แล้วฟาดด้วยมันถึงจะจำ เหมือนเด็กอายุสัก 10 ขวบ เท่านั้น ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

มันไม่กล้าเอาคำที่มันกล่าวมาลงซ้ำ แต่มันเอาคำที่เขาว่าให้มันมาลงไว้ แล้วยอกย้อน สมองดี แต่ความคิดเลว อยากชนะเพียงเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของมัน เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า โฮฮับ เจ้าจงรู้เอาไว้อย่างหนึ่งว่า ธรรมใดใดที่ข้าพเจ้าเขียนไปสอนไป เจ้าหนีไม่พ้นสักอย่าง เพียงแต่เจ้ามันโง่แล้วอวดฉลาดเท่านั้น ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


โหดอ่าาาา...สอนไปทุบไป...แบบนี้ถ้าเป็นผมคงทุบคืน เพราะขนาดจะสอนยังไม่มีปัญญาจะสอน ต้องอาศัยเครื่องทุนแรง พูดจาหยาบคาย...เป็นผมจะทุบกลับ แถมสอยปลายคาง...ถ้าจะสอนก็ต้องสอนดีๆ มีความนุ่มนวล มีความเมตตา สอนแบบเต็มใจ...สอนแบบทุบไปสอนไป แบบนี้เขาเรียกว่ายัดเยียด ไม่เต็มใจสอนก็อย่าสอน ไม่ต้องฝืนใจสอน...ถ้าสอนทีทุบที แบบนี ผมไปหาครูใหม่มาสอนดีกว่า ถ้ามันหาไม่ได้จริงๆผมก็ยอมโง่ ดีกว่าต้องไปนั่งให้คนโหดๆมาทารุณกรรม...ก็อยากรู้เหมือนกัน ว่าถ้าคนสอนคิดแต่จะยัดเยียดด้วยวิธีโหดๆแล้วไม่มีคนเรียนด้วย แล้วประเทศจะไปได้หรือเปล่า..ความรู้มันคงสาบสูญไปกับคนสอนโหดๆ เพราะไม่มีใครอยากเรียนด้วยเป็นแน่แท้

แต่ผมว่าคนที่อายุ 10 ขวบน่าจะเป็นคุณ ศรีธัญญา ซะมากกว่านะ ดูการพูดการจาหยาบมาก และดูไม่มีวุฒิภาวะเอาซะเลย

อ่อ แล้วผมก็ขอฝากคุณ ศรีธัญญา ไว้ด้วยนะครับ ว่าอย่าไปยึดติดอะไรให้มาก โดยเฉพาะจ่าเทวฯ อะไรของคุณน่ะ อย่าไปยึดเลย ปลงซะบ้าง



สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา


ตะแหง่ว :b12: :b12: :b12:

.....................................................
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกภายนอก กว้างไกล ใครใครรู้

โลกภายใน ลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม

จะมองโลก ภายนอก มองออกไป

จะมองโลก ภายใน ให้มองตน


:b1: :b12: :b48: :b37: :b37: :b37: :b37:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว







:b1: :b4: :b28: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เสวนากันมาก็มากความแล้ว ต่างมีความคิดเห็นกันไปต่างๆนานา โดยไม่ได้รู้จักหัวข้อบทความ และไม่ได้รู้จักบริบทและความหมายของภาษาที่ข้าพเจ้าได้เขียนไป ข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องแปลภาษาไทย เป็นภาษาไทย ให้ได้ท่านที่สนใจได้ทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า
"การปฏิบัติธรรมแบบง่าย" ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปมีความมุ่งหมายที่ต้องการจะให้ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มจะปฏิบัติธรรม หรือเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ได้ปฏิบัติเพื่อสามารถที่จะขจัดอาสวะได้ อาจจะสามารถขจัดอาสวะได้ในระดับหนึ่ง จนไปถึง อาจบรรลุถึงชั้นโสดาบัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ(สองคำนี้ไม่ฝึกทำความเข้าใจว่าอะไรหรือปัจจัย อะไรคือเหตุ จะได้รู้แจ้ง) ของตัวบุคคลนั้นๆ
การปฏิบัติธรรมที่แสดงเป็นพฤติกรรมภายนอกต่อสังคมนั้น เช่นการ ทาน การบริจาค หรือพฤติกรรมอื่นๆในทางที่เป็นกุศล แม้จะเป็นการปฏิบัติธรรม แต่ก็เป็นเพียงผลทึ่เกิดจากการปฏิบัติธรรมเพื่อขจัดอาสวะ นั่นก็หมายความว่า "การปฏิบัติธรรมแบบง่าย"ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปนั้น เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "วิปัสสนา กรรมฐาน"รูปแบบหนึ่ง
การปฏิบัติธรรมแบบ วิปัสสนา กัมมัฎฐาน นั้น ผู้ปฏิบัติ จะต้องมี ๑.สมาธิ ๒.สติ ๓.สัทธา(ศรัทธา) ๔.วิริยะ ๕.ปัญญา นั่นก็หมายความว่า บุคคลที่จะปฏิบัติ วิปัสสนา จักต้อง มีการปฏิบัติ สมาธิ หรือ ฝึก "สมถะ กัมมัฎฐาน"มาตามกำลังอยู่บ้างแล้ว เมื่อฝึก สมาธิ มาดีพอใช้ได้แล้ว สติ คือ ความระลึกได้ หรือความนึกได้ ฯ พร้อมสัมปชัญญะก็ย่อมเกิดมีเพิ่มพูนขึ้นกว่าปกติอันเป็นธรรมชาติของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว
เมื่อบุคคล มี สมาธิ มี สติ พร้อมมูล ความ สัทธา คือ ความเชื่อ ฯ อันเกิดเนื่องจาก การได้เรียนรู้ จดจำ ได้ยินได้ฟัง ได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งจักเป็นตัวนำหรือเป็นแรงจูงใจให้เกิด วิริยะ คือ ความขยันหมั่นเพียร ในอันที่จะ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือ ปัญญา เมื่อบุคคลนั้นๆ ได้ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือปัญญา อันจำต้องใช้สมาธิ สติ สัทธา และวิริยะ ก็จักเกิด ปัญญาเพิ่มพูนขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น รอบรู้มากขึ้น รู้แจ้งมากขึ้น
ความรู้ ซึ่งแท้จริง ก็คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายเมื่อได้อ่าน ได้เล่าเรียน ได้ศึกษา เป็นปัญญาชั้นพื้นฐาน ตามตำรา หรือเป็นปัญญาแรกสุดที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลาย ต่อเมื่อท่านทั้งหลายได้คิด ได้พิจารณา ได้ทำความเข้าใจจนเกิดความเข้าใจในความรู้หรือปัญญาชั้นพื้นฐานทั้งหลายได้กว้างขวาง แตกฉาน แยกแยะรายละเอียด จนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน นั่นแสดงว่า ปัญญา ได้เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายอีกระดับหนึ่ง ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของแต่ละบุคคล
ในเมื่อข้าพเจ้าเขียนหัวข้อเอาไว้ว่า "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ข้าพเจ้าก็ต้องมีหลักการที่จะทำให้เกิดความง่ายกว่าการปฏิบัติแบบปกติ ทั่วไป ด้วยเหตุนี้เอง ข้าพเจ้าจึงได้อรรถาธิบาย เอาไว้ว่า
เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

ถึงอย่างไรก็ตาม การปฏิบัติธรรมแบบง่าย ก็ย่อมสามารถที่จะปฏิบัติ ตามหลัก กัมมัฎฐาน ๔๐ กอง ซึ่ง ก็ถือว่าไม่ยากนักสำหรับผู้ที่มีเวลา หรือรู้จักแบ่งเวลา
แต่ถ้าหากเวลามีไม่มาก หรือมีเวลาไม่พอ หรือไม่รู้จักแบ่งเวลา ก็ใช้หลัก ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก เป็นหลักการในการปฏิบัติธรรม แบบง่าย ก็ย่อมได้ คือ คิดพิจารณาไม่มากนัก สั้นๆก็สามารถขจัดอาสวะได้เช่นกัน แต่จะขจัดอาสวะได้ในระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของบุคคลนั้นๆ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


มูลเหตุเกิดจากการเสวนากันถึงเรื่อง "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ต่างก็มีความคิดเห็นกันไปต่างๆนานา โดยไม่ได้รู้จักหัวข้อบทความ และไม่ได้รู้จักบริบทและความหมายของภาษาที่ข้าพเจ้าได้เขียนไป ข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องแปลภาษาไทย เป็นภาษาไทย ให้ได้ท่านที่สนใจได้ทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า"การปฏิบัติธรรมแบบง่าย" ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปมีความมุ่งหมายที่ต้องการจะให้ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มจะปฏิบัติธรรม หรือเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ได้ปฏิบัติเพื่อสามารถที่จะขจัดอาสวะได้ อาจจะสามารถขจัดอาสวะได้ในระดับหนึ่ง จนไปถึง อาจบรรลุถึงชั้นโสดาบัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ(สองคำนี้ไม่ฝึกทำความเข้าใจว่าอะไรหรือปัจจัย อะไรคือเหตุ จะได้รู้แจ้ง) ของตัวบุคคลนั้นๆ
การปฏิบัติธรรมที่แสดงเป็นพฤติกรรมภายนอกต่อสังคมนั้น เช่นการ ทาน การบริจาค หรือพฤติกรรมอื่นๆในทางที่เป็นกุศล แม้จะเป็นการปฏิบัติธรรม แต่ก็เป็นเพียงผลทึ่เกิดจากการปฏิบัติธรรมเพื่อขจัดอาสวะ นั่นก็หมายความว่า "การปฏิบัติธรรมแบบง่าย"ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปนั้น เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "วิปัสสนา กรรมฐาน"รูปแบบหนึ่ง
การปฏิบัติธรรมแบบ วิปัสสนา กัมมัฎฐาน นั้น ผู้ปฏิบัติ จะต้องมี ๑.สมาธิ ๒.สติ ๓.สัทธา(ศรัทธา) ๔.วิริยะ ๕.ปัญญา นั่นก็หมายความว่า บุคคลที่จะปฏิบัติ วิปัสสนา จักต้อง มีการปฏิบัติ สมาธิ หรือ ฝึก "สมถะ กัมมัฎฐาน"มาตามกำลังอยู่บ้างแล้ว เมื่อฝึก สมาธิ มาดีพอใช้ได้แล้ว สติ คือ ความระลึกได้ หรือความนึกได้ ฯ พร้อมสัมปชัญญะก็ย่อมเกิดมีเพิ่มพูนขึ้นกว่าปกติอันเป็นธรรมชาติของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว
เมื่อบุคคล มี สมาธิ มี สติ พร้อมมูล ความ สัทธา คือ ความเชื่อ ฯ อันเกิดเนื่องจาก การได้เรียนรู้ จดจำ ได้ยินได้ฟัง ได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งจักเป็นตัวนำหรือเป็นแรงจูงใจให้เกิด วิริยะ คือ ความขยันหมั่นเพียร ในอันที่จะ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือ ปัญญา เมื่อบุคคลนั้นๆ ได้ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือปัญญา อันจำต้องใช้สมาธิ สติ สัทธา และวิริยะ ก็จักเกิด ปัญญาเพิ่มพูนขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น รอบรู้มากขึ้น รู้แจ้งมากขึ้น
ความรู้ ซึ่งแท้จริง ก็คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายเมื่อได้อ่าน ได้เล่าเรียน ได้ศึกษา เป็นปัญญาชั้นพื้นฐาน ตามตำรา หรือเป็นปัญญาแรกสุดที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลาย ต่อเมื่อท่านทั้งหลายได้คิด ได้พิจารณา ได้ทำความเข้าใจจนเกิดความเข้าใจในความรู้หรือปัญญาชั้นพื้นฐานทั้งหลายได้กว้างขวาง แตกฉาน แยกแยะรายละเอียด จนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน นั่นแสดงว่า ปัญญา ได้เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายอีกระดับหนึ่ง ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของแต่ละบุคคล
ในเมื่อข้าพเจ้าเขียนหัวข้อเอาไว้ว่า "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ข้าพเจ้าก็ต้องมีหลักการที่จะทำให้เกิดความง่ายกว่าการปฏิบัติแบบปกติ ทั่วไป ด้วยเหตุนี้เอง ข้าพเจ้าจึงได้อรรถาธิบาย เอาไว้ว่า
เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

ถึงอย่างไรก็ตาม การปฏิบัติธรรมแบบง่าย ก็ย่อมสามารถที่จะปฏิบัติ ตามหลัก กัมมัฎฐาน ๔๐ กอง ซึ่ง ก็ถือว่าไม่ยากนักสำหรับผู้ที่มีเวลา หรือรู้จักแบ่งเวลา
แต่ถ้าหากเวลามีไม่มาก หรือมีเวลาไม่พอ หรือไม่รู้จักแบ่งเวลา ก็ใช้หลัก ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก เป็นหลักการในการปฏิบัติธรรม แบบง่าย ก็ย่อมได้ คือ คิดพิจารณาไม่มากนัก สั้นๆก็สามารถขจัดอาสวะได้เช่นกัน แต่จะขจัดอาสวะได้ในระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของบุคคลนั้นๆ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 14:17
โพสต์: 260

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
มูลเหตุเกิดจากการเสวนากันถึงเรื่อง "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ต่างก็มีความคิดเห็นกันไปต่างๆนานา โดยไม่ได้รู้จักหัวข้อบทความ และไม่ได้รู้จักบริบทและความหมายของภาษาที่ข้าพเจ้าได้เขียนไป ข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องแปลภาษาไทย เป็นภาษาไทย ให้ได้ท่านที่สนใจได้ทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า"การปฏิบัติธรรมแบบง่าย" ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปมีความมุ่งหมายที่ต้องการจะให้ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มจะปฏิบัติธรรม หรือเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ได้ปฏิบัติเพื่อสามารถที่จะขจัดอาสวะได้ อาจจะสามารถขจัดอาสวะได้ในระดับหนึ่ง จนไปถึง อาจบรรลุถึงชั้นโสดาบัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ(สองคำนี้ไม่ฝึกทำความเข้าใจว่าอะไรหรือปัจจัย อะไรคือเหตุ จะได้รู้แจ้ง) ของตัวบุคคลนั้นๆ
การปฏิบัติธรรมที่แสดงเป็นพฤติกรรมภายนอกต่อสังคมนั้น เช่นการ ทาน การบริจาค หรือพฤติกรรมอื่นๆในทางที่เป็นกุศล แม้จะเป็นการปฏิบัติธรรม แต่ก็เป็นเพียงผลทึ่เกิดจากการปฏิบัติธรรมเพื่อขจัดอาสวะ นั่นก็หมายความว่า "การปฏิบัติธรรมแบบง่าย"ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปนั้น เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "วิปัสสนา กรรมฐาน"รูปแบบหนึ่ง
การปฏิบัติธรรมแบบ วิปัสสนา กัมมัฎฐาน นั้น ผู้ปฏิบัติ จะต้องมี ๑.สมาธิ ๒.สติ ๓.สัทธา(ศรัทธา) ๔.วิริยะ ๕.ปัญญา นั่นก็หมายความว่า บุคคลที่จะปฏิบัติ วิปัสสนา จักต้อง มีการปฏิบัติ สมาธิ หรือ ฝึก "สมถะ กัมมัฎฐาน"มาตามกำลังอยู่บ้างแล้ว เมื่อฝึก สมาธิ มาดีพอใช้ได้แล้ว สติ คือ ความระลึกได้ หรือความนึกได้ ฯ พร้อมสัมปชัญญะก็ย่อมเกิดมีเพิ่มพูนขึ้นกว่าปกติอันเป็นธรรมชาติของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว
เมื่อบุคคล มี สมาธิ มี สติ พร้อมมูล ความ สัทธา คือ ความเชื่อ ฯ อันเกิดเนื่องจาก การได้เรียนรู้ จดจำ ได้ยินได้ฟัง ได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งจักเป็นตัวนำหรือเป็นแรงจูงใจให้เกิด วิริยะ คือ ความขยันหมั่นเพียร ในอันที่จะ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือ ปัญญา เมื่อบุคคลนั้นๆ ได้ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือปัญญา อันจำต้องใช้สมาธิ สติ สัทธา และวิริยะ ก็จักเกิด ปัญญาเพิ่มพูนขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น รอบรู้มากขึ้น รู้แจ้งมากขึ้น
ความรู้ ซึ่งแท้จริง ก็คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายเมื่อได้อ่าน ได้เล่าเรียน ได้ศึกษา เป็นปัญญาชั้นพื้นฐาน ตามตำรา หรือเป็นปัญญาแรกสุดที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลาย ต่อเมื่อท่านทั้งหลายได้คิด ได้พิจารณา ได้ทำความเข้าใจจนเกิดความเข้าใจในความรู้หรือปัญญาชั้นพื้นฐานทั้งหลายได้กว้างขวาง แตกฉาน แยกแยะรายละเอียด จนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน นั่นแสดงว่า ปัญญา ได้เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายอีกระดับหนึ่ง ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของแต่ละบุคคล
ในเมื่อข้าพเจ้าเขียนหัวข้อเอาไว้ว่า "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ข้าพเจ้าก็ต้องมีหลักการที่จะทำให้เกิดความง่ายกว่าการปฏิบัติแบบปกติ ทั่วไป ด้วยเหตุนี้เอง ข้าพเจ้าจึงได้อรรถาธิบาย เอาไว้ว่า
เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

ถึงอย่างไรก็ตาม การปฏิบัติธรรมแบบง่าย ก็ย่อมสามารถที่จะปฏิบัติ ตามหลัก กัมมัฎฐาน ๔๐ กอง ซึ่ง ก็ถือว่าไม่ยากนักสำหรับผู้ที่มีเวลา หรือรู้จักแบ่งเวลา
แต่ถ้าหากเวลามีไม่มาก หรือมีเวลาไม่พอ หรือไม่รู้จักแบ่งเวลา ก็ใช้หลัก ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก เป็นหลักการในการปฏิบัติธรรม แบบง่าย ก็ย่อมได้ คือ คิดพิจารณาไม่มากนัก สั้นๆก็สามารถขจัดอาสวะได้เช่นกัน แต่จะขจัดอาสวะได้ในระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของบุคคลนั้นๆ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน


อุ้ยๆๆ !!! น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งหายหมด เหลือแต่ปลาไหลออกมาวิ่งเซาะกราว เอ๊ย เซาะขี้โคลนอยู่ริมทุ่ง เอ้าเร้ว ใครมีเครื่องมือจับปลาไหลช่วยกันมาจับเร๊ว จะได้เอาไปผัดเผ็ดกินกัน หน้านี้หน้าน้ำหลาก ปลามันหลงน้ำมาเยอะ โดยเฉพาะชายทุ่งหลังบ้านลุงเทวฯ ปลาไหลมันชุมซะด้วย จับๆไปกินมั่งจ้า แผล่บๆ แจร๊บๆๆ

ฮา ฮ๊า ฮา ตะแหง่วๆ

.....................................................
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว






:b14: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


[Quote-Tipitakasriariya เขียน:
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า พอได้มาอ่านคำโต้เถียงของเจ้า โฮฮับ ก็น่าสมเพชเวทนาในความคิดเป็นยิ่งนัก เถียงกับเขาก็เหมือนกับ เถียงกับ...ยังไงยังงั้นแหละ ความเขลาบังตาซะจนไม่รู้ว่า อะไรคือหลักความจริง อะไรคือความหลงของมัน สอนคนอย่างมัน ต้องถือไม้แล้วฟาดด้วยมันถึงจะจำ เหมือนเด็กอายุสัก 10 ขวบ เท่านั้น ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

มันไม่กล้าเอาคำที่มันกล่าวมาลงซ้ำ แต่มันเอาคำที่เขาว่าให้มันมาลงไว้ แล้วยอกย้อน สมองดี แต่ความคิดเลว อยากชนะเพียงเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของมัน เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า โฮฮับ เจ้าจงรู้เอาไว้อย่างหนึ่งว่า ธรรมใดใดที่ข้าพเจ้าเขียนไปสอนไป เจ้าหนีไม่พ้นสักอย่าง เพียงแต่เจ้ามันโง่แล้วอวดฉลาดเท่านั้น ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


][/Quote-Tipitaka]อ่าโหสอนคนถ้าทั้งสอนทั้งฟาดแบบนี้ ถ้าเป็นลุกดิฉันดื้อด้านเจออาจารย์สอนแบบนี้ดิฉันคนไม่ปล่อยให้ลอยนวลแน่นอนต้องตกเป็นจำเลยสังคมคนประเภทนี้ :b32: แต่ถ้าเป็นคุนโฮเจอคุนจ่าทั้งสอนทั้งฟาดดิฉันเกรงว่าคุนจ่าจะโดนคุนโฮฟาดหางจรเข้กลับนะสิเจ้าค่ะ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2012, 02:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านกบพูดถูก
การปฏิบัติแบบง่ายก็อย่างที่บอกก่อนหน้า มีทอดกฐินทอดผ้าป่า ฯลฯ ตักบาตรพระร้อยพระประจำวัน :b1: นั่นแหละบทเริ่มต้น ที่มายากเพราะท่านโฮไปเอาเรื่องที่คุยที่กระทู้ยาก (ไตรลักษณ์) มา จึงพันกันยุ่ง
นี่รออยู่ที่โน่นก็ไม่ไป :b1: :b12:

ทำความเข้าใจ กับคุณกัดกายเสียหน่อย กับประโยคที่ว่า"รออยู่ที่โน้นก็ไม่ไป"
ถ้าคุณกัดกาย ย้อนกลับไปดูความเห็นผมที่กระทู้โน้น ก็จะเห็นผมพูดไว้ว่า..
โฮฮับ เขียน:
กระทู้นี้เชิญจ่ากับคุณกรัชกาย ตามสะดวกครับผมไปล่ะ
แล้วผมจะไปยั่วไอ้ตัวความเคยชินของจ่าในกระทู้อื่นอีกนะครับ :b13:

น้องคิงคองครับ อยู่ห่างๆสองท่านนี้ไว้นะครับ
แต่ละคนด่าเป็นไฟแลบ :b13:

ผมออกปากไว้แล้ว จะให้ผมกลับไปได้อย่างไรครับ และอยากแสดงให้รู้ครับ
ว่า ขันติเป็นอย่างไร คำพูดที่เชื่อถือได้เป็นอย่างไร
กระทู้โน้นต่อให้คุณกัดกาย ด่าว่าผมอย่างไรผมก็ไม่มีทางเข้าไป
แสดงความเห็นโต้เถียงหรอกครับ ขืนเข้าไปก็กลายเป็นไม้หลักปักขี้เลนนะซิครับ

แล้วที่มาแสดงความเห็นในกระทู้นี้ ไม่ใช่ผมไม่รู้จักกาละเทศะ มันเป็นเพราะ
คุณจ่าจขกท แกไปเอาประเด็นของกระทู้โน้นมาไว้ในนี้ ผมก็เลยถือโอกาส
แสดงความเห็นที่เกี่ยวกับกระทู้โน้นในนี้เสียเลย

มันไม่เสียคำพูด เข้าใจมั้ยล่ะครับ คุณกัดและคุณกะลา :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร