วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 23:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น

ท่านที่มีความชำนาญในฌานจิต ย่อมจะเข้าใจความสัมพันธ์ของฌานจิตกับธาตุทั้ง 4 เนื่องจากในแต่ละฌานจะพบความเด่นของธาตุ ฃึ่งจะเป็นประโยชน์จากการใช้ธาตุให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น ขณะอยู่ในองค์ฌานที่ 2 จิตจะเป็นหนึ่ง ไม่มีความนึกคิด(เอทิโกภาวะ) จิตมีกระแสการสั่นสะเทือนสูง การชนกันของมวลจิต จะมีแสงสีเหลืองเข้มเกิดขึ้นให้ความอบอุ่น แช่มชื่น สบาย สงบ ธาตุที่เด่นคือ ธาตุไฟ พร้อมปราณ ฃึ่งเป็นประโยชน์เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย สามารถป้องกันโรค ชะลอความแก่ ทำให้สุขภาพดี อายุยืนยาว นอกจากนี้เราสามารถใช้ฌานที่ 2 กับสภาพอากาศหนาวเย็นได้เป็นการสร้างสมดุลระหว่างสภาพแวดล้อมภายในกับภายนอก ในทางกลับกันในขณะที่มีอากาศร้อน เราจะใช้ฌานที่ 3 ฃึ่งแช่มชื่นเย็นสบายเหมือนยืนบนภูเขาที่มีลมเย็น ๆ ผ่านเข้ามาจิตจะเบากระจายตัวมาก แสงจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเข้มเป็นสีเหลืองอ่อนนวลๆความถี่จิตจะละเอียดกว่าฌานที่ 2 จากคุณสมบัติของฌานที่3 ที่มีธาตุน้ำเด่น กับมโนธาตุ ฃึ่งมโนธาตุเป็นธาตุที่สร้างสมดุลกับจิต หากมโนธาตุของบุคคลใดลดลงจิตจะซึมเซาห่อเหี่ยว ธาตุน้ำที่เด่นสามารถนั่งในที่อากาศร้อนได้ดี ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการเรียนรู้การใช้ธาตุในร่างกายจากสมาธิ ไม่ได้มุ่งหวังให้ติดยึด เพราะการปฎิบัติที่แท้จริงคือการละ ไม่ใช่การนำเข้ามาเพิ่ม แต่องค์ความรู้เป็นสิ่งที่อาจเกิดประโยชน์ในวันใดวันหนึ่ง :b8:


โพสต์ เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 03:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
suttiyan wrote
เพราะการปฎิบัติที่แท้จริงคือการละ ไม่ใช่การนำเข้ามาเพิ่ม แต่องค์ความรู้เป็นสิ่งที่อาจเกิดประโยชน์ในวันใดวันหนึ่ง


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 08:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น

หากเปรียบจิตเป็นรูปธรรมละเอียด ศูนย์กลางของจิตจะป็นนิวเครียส ( n) ถัดจากศูนย์กลางออกไป คือเจตสิกเป็นสนามพลังโปรตรอน (ข้วบวก) และอิเลคตรอน(ขั้วลบ) การปฎิบัติวิปัสนนากรรมฐาน คือการคลายละเจตสิกอย่างหยาบ จากวงนอกของสนามพลัง ฃึ่งก็คือนิวรณ์ธรรม และอยู่ในรูปของความเจ็บปวด ชา อึดอัด ทุรนทุราย เข้าสู่วงใน เป็นลำดับตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจาร ปฐมฌาน ฃึ่งจิตจะมีความถี่สูงขึ้น (สติ) และเมื่อนิวรณ์เป็นความมืดดำคลายออกไปจิตก็จะสาดแสงออกมา ขณะที่เคลื่อนที่เข้าสู่สนามพลังอิเลคตรอน โปรตรอน ความรู้สึกของผู้ปฎิบัติ จะโยกไปมาหรือสั่นไหว ขนลุกชัน (ปิติ) เนื่องจากแรงดูดที่ต่างขั้วและแรงผลักที่เป็นขั้วเดียวกัน จนกระทั่งผ่านระดับสนามพลังเหล่านี้ไปแล้ว ความรู้สึกจึงจะนิ่งสงบ(สุข) แสงสว่างจะค่อยๆละเอียดยิ่งขึ้น ผ่านจากฌานที่ 2 เข้าสู่ฌานที่ 3 ความรู้สึกทางกายจะน้อยลงไป และเมื่อผ่านเข้าถึงจิตระดับลึก ความรู้สึกทางกายหมดลง พร้อมลมหายใจ ดับลง (ลมเบามากจนเหมือนไม่หายใจ) เข้าถึง ฌานที่ 4 ไม่มีสุข ทุกข์ จิตถูกตรึง เสมือนดำดิ่งอยู่ใต้บาดาล แสงสว่างหมดลง แสดงว่าจิตผ่านเข้าถึงระดับนิวเคียส แล้ว

ศาสนาพุทธจึงเข้าถึงวิทยาศาตร์ที่ละเอียดสูงสุด ระดับที่ไม่มีนักวิทยาศาตร์คนใดจะเข้าถึงได้ นอกจากพระพุทธองค์ :b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 23:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:


โพสต์ เมื่อ: 13 มี.ค. 2012, 22:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จำแนกได้ 3 วิธี

1)สติปัฏฐาน 4 คือการตามรู้รูป นามแบบธรรมชาติ ฃึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ เป็นมาตรฐานกลาง เรียกว่าหลุดพ้นด้วยแรงเฉื่อย
2) การรู้การกระทบอายตนะภายนอกและภายใน คือเมื่อมีการกระทบของอายตนะภายนอก เช่น ตาเห็นรูป จะมีกระแสสั่นสะเทือนมาที่ใจ การไม่ติดค้างทั้งสองส่วนจะทำให้เกิดการหมุนขึ้น หากหมุนเร็วจนรับไม่ไหวและปล่อยวาง จิตจะเหวี่ยงออกหลุดพ้นได้ เรียกว่าหลุดพ้นด้วยแรงเหวี่ยง การปฏิบัติวิธีนี้สติต้องเร็วมากและละเอียด
3) การรู้กายในกายแล้วละ ปรับเปลี่ยนมารู้ความรู้สึก(ใจ) แล้วละ แล้วกลับไปรู้กายใหม่ สลับกัน การปฏิบัติวิธีนี้พื้นฐานของผู้ปฏิบัติต้องฝึกรู้อย่างไม่เลือก(สักแต่รู้)มาก่อน การปฏิบัติวิธีนี้จะเกิดความถี่ของการคลายรอบตัณหาอย่างรวดเร็ว จะพบเห็นการเกิดอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาที่ชัดเจน จนจิตเคลื่อนไปเป็นขณะ จนกระทั่งเข้าสู่การดับรอบ ของมรรคญาณ เรียกว่าหลุดพ้นด้วยแรงเร่ง

สำหรับวิธี ที่ 2 และ 3 เนื่องจากเป็นวิธีที่ใช้เจตนา ไม่เป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้เจริญสมาธิมามาก :b8:


โพสต์ เมื่อ: 15 มี.ค. 2012, 22:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


 ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาท่านใดเห็นทุกข์ ย่อมพ้นจากทุกข์ ภายหลังเมื่อถึงธรรม เกิดปัญญาจักษุ ย่อมเห็นพระพุทธองค์ และเป็นบุตรอันเกิดจากพระโอษฐ์
 ทำไมการเกิดถึงเป็นทุกข์ และ เราจะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร ?
พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ เมื่อดับเหตุได้ ผลย่อมดับ
เราจึงจำเป็นต้องรู้เหตุแห่งทุกข์ หรือรู้ถึงกระบวนการของการเกิดทุกข์
เมื่อเราได้รับสัมผัสทางอายตนะ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วเกิดความรู้สึกจากการสัมผัสดังกล่าว เช่น เราเห็นคนที่เป็นศัตรูเดินมา เราจะรู้สึกไม่พอใจ ความรู้สึกไม่พอใจนี้ จะไปสั่งการให้สมองหลั่งสารประเภทหนึ่งที่เรียกว่า อะดรีนาลีน สารนี้จะไหลไปตามกระแสโลหิต ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทในร่างกายทำให้หัวใจเต้นแรง เกิดความร้อน ร่างกายอึดอัด สารนี้จะสะสมหมักดองตามร่างกาย หากมีมากจะไปอุดตัน จึงจะเห็นได้บ่อย ๆ ว่า คนมีความโกรธมาก มักเป็นโรคหัวใจ และอัมพฤกษ์ อัมพาต ในภายหลัง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการสร้างทุกข์เกิดขึ้นในร่างกาย และหากระงับความโกรธไม่ได้ ก็อาจมีการว่ากล่าว บางครั้งถึงขั้นลงไม้ลงมือ ซึ่งจะเป็นการสร้างกรรม ผูกเวรผูกกรรมต่อกัน และจะต้องไปรับผลของการกระทำต่อไปในอนาคต

วิเคราะห์กระบวนการของการเกิดทุกข์ (ปฏิจจสมุปบาท) แบ่งได้ 3 ขั้นตอน
1. เมื่อรับสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ แล้ว เกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ
2. ความรู้สึกทางใจ ได้แก่ ความพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ จะไม่กระตุ้นให้สมองหลั่งสารหรือฮอร์โมนประเภทเดียวกันออกมาสะสมในกระแสโลหิตและเนื้อเยื่อ
3. เกิดการสร้างกรรมทางมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม เกิดวิบากกรรม และการผูกกรรม เกิดภพชาตินั้น
จากกระบวนการใน 3 ขั้นตอนดังกล่าว หากสามารถตัดวงจรในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ออกไปได้ ก็จะไม่เกิดขั้นตอนที่ 3 กล่าวคือ ในขั้นตอนที่ 1 เมื่อรับสัมผัสทางตา ตั้งสติรู้ หรือทำความรู้สึก สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน อื่นๆ ก็จะรับสัมผัสด้วยใจเป็นกลาง จึงไม่เกิดอารมณ์จากการสัมผัส วิธีนี้ทำได้ แต่ยาก เหมาะสำหรับสาวกบางองค์ เช่น พระพาหิยะ
ในขั้นตอนที่ 2 เมื่อเกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจหรือเฉยๆ ให้รู้เท่าทัน และสังเกตปรากฏการณ์ทางกายร่วมด้วย เช่น ขณะไม่พอใจก็จะสังเกตเห็นภาวะทางร่างกาย เช่น ลมหายใจเต้นแรง เกิดความร้อน ความชาขึ้นในร่างกาย แนวทางนี้เป็นแนวทางส่วนใหญ่ที่สาวกของพระพุทธองค์ใช้อยู่

:b8:


โพสต์ เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


โทษที.....วิปัสสนาต้องใช้อารมณ์เดียว....และพระพุทธองค์ทรงสอนให้ว่า.....จงอบรมจิตให้มีแสงสว่าง........และระดับฌานสูงๆก็หนีนิมิตไม่พ้น เช่น เพ่งอากาศว่างๆ อากาศว่างๆนั้นแหละเป็นนิมิต....ๆลๆ


โพสต์ เมื่อ: 18 มี.ค. 2012, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 17:36
โพสต์: 210


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
กระบี่อยู่ที่ใจ : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


โพสต์ เมื่อ: 18 มี.ค. 2012, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลด้วยประกาศการแสดงธรรมของภิกษุทั้งหลาย ได้กล่าวคาถาว่า
ผู้ฉลาดในการถือเอาซึ่งนิมิต แห่งภาวนาจิต
เสวยรสแห่งวิเวก เพ่งฌาน ฉลาดในการรักษา
กรรมฐาน มีสติตั้งมั่น พึงบรรลุนิรามิสสุขอย่าง
แน่นอน ดังนี้.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=26&i=222


โพสต์ เมื่อ: 24 มี.ค. 2012, 21:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรลักษณ์ คือตัวชี้วัด ( indicator) ที่แสดงว่า ทุกขณะคุณได้ดำเนินอยู่บนเส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน หรือไม่ ระดับใด
อนิจจัง (การเปลี่ยนแปลง หรือการเกิดดับ) ระดับหยาบทางกายได้แก่ การเปลี่ยนแปลงอริยะบท ความชา ความร้อน ความเจ็บปวดทางกาย ระดับกลางได้แก่ การกระตุกขณะกำหนดกรรมฐาน การงูบ หรือวูบไปโดยไม่ได้ง่วงนอน อย่างละเอียดได้แก่ ความรู้สึกตึ๊บ ๆ เป็นขณะ และละเอียดลงอีกคือการสั่นสะเทือน (vibration) :b8:


โพสต์ เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 22:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปและนาม คือกลุ่มของพลังงาน เมื่อสติระลึกรู้ถึงการเกิดดับของรูปและนาม จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของความร้อน ความอึดอัด เจ็บ ปวด คัน ความกระวนกระวาย สิ่งเหล่านี้คืออาการของทุกขัง ทุกขังอย่างหยาบคือนิวรณ์ ผู้ปฎิบัติจึงไม่ควรปฎิเสธ เพราะสิ่งนี้คือขยะที่ต้องนำออก ต่อมาระดับทุกขังจะลดระดับลง รู้เพียงความอึดอัดไม่มากนักและเกิดดับรวดเร็ว ต่อมาทุกขังจะเพิ่มขึ้นเข้าสู่ระดับลึกคือการคลายรอบของพลังงานจากรูปและนามที่สะสมมาในอดีตของชาติที่เราได้สะสมในระดับจิตใต้สำนึก สิ่งเหล่านี้เกิดจากการหยั่งลงของสัมปชัญญะที่ละเอียด ทำให้เกิดความทุกข์ที่ทะลักทลายออกมาอาการทางใจคือกระวนกระวายกระอักกระอ่วน ร่างกายเหนื่อยอ่อนเหมือนคนเป็นไข้ ผู้ปฎิบัติไม่ควรกินยา เพราะนี่คือสภาวธรรม อาจเรียกญาณหอบเสื่อหอบหมอน ผู้ปฎิบัติอยากเลิกปฎิบัติ ฃึ่งหากหยุดการฎิบัติเป็นการพลาดโอกาสสำคัญอย่างน่าเสียดาย แนวทางผู้ปฎิบัติควรเพิ่มสติด้วยการเคลื่อนไหว ร่างกาย การเดินจงกรมจะช่วยได้มาก :b8:


โพสต์ เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 10:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อกายและใจแสดงทุกขังอย่างละเอียดออกมาแล้ว หากผู้นั้นหนักทางด้านสมาธิ คือมีสมาธินำสติและสัมปชัญญะ คือ ลักษณะจิตไม่ค่อยรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงหรือความจริงที่เกิดขึ้นกับกายและใจ อาการทุกขังจะปรากฏนาน ดังคำสอนของพระพุทธองค์ได้กล่าวว่า ผู้บำเพ็ญสมาธิมามากในอดีตชาติ รูปนามจะแสดงชัดในทุกขังก่อนจะเข้าถึงมรรคญาณ ผู้ปฏิบัติจึงควรเพิ่มสติด้วยการเคลื่อนไหวภายในร่างกาย คือการย้ายจุดรู้จากลมหรือกรรมฐานที่รู้และนิ่ง ไปสู่จุดกระทบอื่นๆ เช่น ตาตุ่ม ก้นที่กระทบพื้น หากยังชึมๆ อยู่ ต้องลุกขึ้นเดินจงกรม ไม่ควรนั่งต่อไป การเคลื่อนไหวจะทำให้สติสัมปชัญญะสมดุลกับสมาธิ เกิดวิปัสสนาญาณที่สูงขึ้นจากญาณที่แสดงทุกข์ ชึ่งได้แก่ นิพพิทาญาณ มุญจิกัมยตาญาณ ปฏิสังขารญาณ สู่ญาณสังขารุเบกขาญาณที่เป็นยอดของโลกีย์ญาณ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 22:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจากผ่านอนิจจัง ทุกขัง แล้ว การปฏิบัติจะมีการวนของสภาวธรรม เนื่องจากสัดส่วนของอินทีรีย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเป็นการคลายของธาตุขันธ์ และเมื่อขันธ์ 5 มีการคลายรอบออกมา ธาตุทั้ง 4 ฃึ่งเป็นองค์ประกอบต้องปรับตัวตาม ผู้ปฏิบัติจะมีการหาว เรอ (ธาตุลม) หน้าผากร้อน(ธาตุไฟ) และน้ำตาไหล(ธาตุน้ำ) โดยมีร่างกายรองรับ(ธาตุดิน) ผู้ปฎิบัติต้องไม่หงุดหงิด รำคาญกับสภาวะ หรือลังเลสงสัย เพราะนั่นเป็นปรากฏการณ์ร่วมของผู้อยู่บนเส้นทางมรรค และควรทำใจให้เป็นกลาง ต่อจากนั้นการเปลี่ยนแปลงเกิดดับของรูปนามจะเร็วขึ้น ระยะเวลาที่เกิดสภาวธรรมจะย่นย่อลง
สำหรับจุดสุดท้ายก่อนข้ามสู่ภูมิอริยะ ผู้ผ่านแล้วมักจะไม่พูดถึง เพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติ เนื่องจากจะคอยจดจ้องว่าจะเกิดหรือยัง หรือคิดเข้าข้างตนเองว่าผ่านแล้ว แต่อย่างไรก็ตามการบอกก็ยังมีข้อดีอยู่เหมือนกัน เนื่องจากหากเกิดสภาวธรรมนั้น ๆ แล้ว จะได้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร สำหรับสภาวะรูปนามที่แสดงไตรลักษณ์ ที่เกิดดับเร็ว จะเกิดกับผู้ปฏิบัติที่มีความฃำนาญแล้ว และเข้าปฏิบัติต่อเนื่อง และเมื่อเข้าสู่สังขารุเบกขาญาณ จะมีการรู้วางเฉยต่อรูปนาม โดยผู้ปฏิบัติจะร็รูปนามอย่างสะดวก ไม่ต้องใช้ความพยายามมาก การรู้เป็นไปเองเป็นขณะๆ เป็นปัจจุบัน การแยกรูปนามจะละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ การรู้จะรู้ไม่ชัด แต่ไม่มีการชึม ง่วง เหมือนที่ผ่านมา นั่งสมาธิหรือเดินจงกรมได้นาน
การเข้าสู่มรรคญาณจะจะเกิด 3 ลักษณะ บางท่านจะรู้สึกปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแต่ที่แปลกคือ จะปวดเป็นขณะๆ บางท่านรูปนามเกิดดับเร็วถี่ขึ้นเรื่อยๆ บ้างรูปนามเบามากจนกำหนดไม่ได้แต่รู้สึกเหมือนจิตเคลื่อนที่เป็นขณะๆ เหมือนการเคลื่อนที่ของเข็มนาฬิกา ต๊อก ๆ หรือเสียงการเต้นของหัวใจ แต่ไม่ได้หมายถึงผู้ที่พบสภาวะเหล่านี้จะเข้าถึงสังขารุเบกขาญาณ เพราะยังมีสภาวะอื่นๆป็นตัวชี้วัด ชึ่งอาจารย์ผู้สอนจะพิจารณาอย่างละเอียด สำหรับผ็มีอุปนิสัยวิปัสสนา เมื่อตามรู้อาการนั้น ๆ ไม่ช้าก็จะเข้าสู่ความดับรอบ 2-3 ขณะจิต(มรรคญาณ ผลญาณมีนิพานเป็นอารมณ์) แต่สำหรับผู้มีอุปนิสัยสมถะ (ชอบติดเพ่ง) การรู้อาการต๊อกๆ หรือเป็นขณะจะต้องรู้ตาม และมีการปล่อยวางการรู้เป็นขณะ และกับมารู้ค๊อกๆอีกทีหนึ่งสลับกันไป ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะการรู้หากไม่ปล่อยวางบ้างจะมีตัวตนเข้าไปร่วมกับการรู้ ฃึ่งมรรคญาณจะทำหน้าที่ทำลายสักกายะทิฐิหรือตัวตน เมื่อไม่ปล่อยวางบ้างจึงไม่สามารถเข้าถึงมรรคญาณได้ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 12:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งกับคุณ suttiyan ที่นำธรรมมะเชิงปฏิบัติ แสดงปรมัตถ์ประกอบบัญญัติ โดยพิสดาร เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ
:b8:
:b20:
onion


โพสต์ เมื่อ: 13 เม.ย. 2012, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุอนุโมทามิกับประสบการณ์ของคุณ suttiyan ที่นำมาแลกเปลี่ยนกันด้วยครับ :b8:

ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

คราวที่แล้วค้างกันไว้ที่หัวข้ออธิศีลสิกขาในการปฏิบัติของสกทาคามีมรรคบุคคล ที่ควรเน้นย้ำการปฏิบัติในหมวดอินทรียสังวรและสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะให้มากขึ้นไปอีกจนเข้าใกล้สิ่งที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านใช้คำว่า มหาสติ หรือสติอัตโนมัติ :b38: :b37: :b39:

ซึ่งวิธีปฏิบัติและตัวอย่างในการเจริญสติเพื่อคุ้มครองทวารทั้ง ๖ และ “รู้” ลงในอิริยาบถต่างๆทั้งใหญ่และย่อยนั้น :b48: :b47: :b48:

ขอยกเอาแผนที่หลักคือข้อความของพระบรมครูมาให้ดูกันก่อน แล้วจึงเสริมด้วยรายละเอียดจากแผนที่ย่อย คือจากอรรถกถา และจากพ่อแม่ครูอาจารย์ ดังนี้ครับ :b8: :b39: :b39:

เริ่มจากอินทรียสังวรที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ว่า

"ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์."

(เช่นเดียวกับ ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ)


มหาตัณหาสังขยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8041&Z=8506&pagebreak=0 และอีกหลายที่


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 13 เม.ย. 2012, 17:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร