วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 04 เม.ย. 2012, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

โฮฮับ เขียน:
ตัวอย่าง การอธิบายพุทธพจน์ โดยไม่บิดเบือนพุทธพจน์

ถ้าใช้สมองคิดเสียหน่อยว่า การเรียกชื่อสิ่งใด มันก็คือการตั้งชื่อให้รู้ว่า
ต้องการให้รู้เฉพาะเจาะจงสิ่งนั้น อย่างเช่น"ไตรลักษณ์" เขาต้องการให้รู้ถึง"ธรรมนิยาม"

ถ้าเป็นการเรียก"ไตรลักษณ์" แล้วไปบิดเบือนเปลี่ยนแปลง"ธรรมนิยาม" ก็ว่าไปอย่าง
นี่ก็เป็นเนื้อหา"ธรรมนิยาม"ที่เป็นพุทธพจน์แท้ๆ ดังนั้นถ้าเราจะเรียก"ธรรมนิยาม"ว่า
ไตรลักษณ์ แล้วมีคนมาโวยวายว่า บิดเบือนพุทธพจน์ผมว่าปัญญาอ่อนครับ


แต่ไม่เป็นไรครับมันไม่ใช่สาระ ประเด็นมันอยู่ตรงที่คำว่าเหตุปัจจัยครับ


เห็นคุณเช่นนั้น และคุณโฮฮับ ชอบอ้างอิงพระไตรปิฎกมาสนทนากันเรื่อง

สังขาร
เหตุปัจจับ
ไตรลักษณ์

ก็เลยทำให้ดิฉันอยากจะรู้ขึ้นมาซะแลัว ว่า 3 คำนี้มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง มีกี่ข้อและกี่หมวดที่กล่าวถึง3 เรื่องนี้อย่างเฉพาะเจาะจง อยู่ในพระปิฎกเล่มไหน หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดที่เท่าไหร่ ตัวอักษรที่เท่าไหร่ ผู้บัญญัติได้บัญญัติไว้ในปิฎกวันที่เท่าไหร่ เวลาใด และบันทึกแล้วเร็จวันที่เท่าไหร่ เวลาใด และมีการแก้ไขอะไรเพิ่มเติมหลังจากนั้นบ้างหรือไม่ อย่างไร ผู้ที่บัญญัติคือใคร และผู้บันทึกคือใคร ใช้หลักกอะไรในการแปล แปลมาจากภาษาอะไร

ดิฉันไม่ได้ยียวนนะคะ แต่เห็นว่าทั้ง 2 ท่านชอบอ้างพระไตรปิฎก ดิฉันจึงเห็นว่าทั้ง 2 ท่านมีความชำนาญในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก จึงอยากจะขอความรู้จากทั้ง 2 ท่าน เพื่อเป็นวิทยาทานน่ะค่ะ หวังว่าท่านทั้ง 2 คงไม่หวงความรู้และเต็มใจแบ่งปันความรู้ให้ดิฉันบ้างนะคะ

อีกอย่างนะคะ อยากได้คำอธิบายของทั้งคุณโฮฮับ และ คุณเช่นนั้น ช่วยอธิบายในเรื่องเดียวกันมานะคะ คือดิฉันจะเอามาเทียบดูน่ะค่ะ ว่าใครจะอธิบายได้ดีกว่า และ เข้าใจได้ชัดเจนกว่ากันน่ะค่ะ ดิฉันคิดว่าเรื่องนี้น่าจะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาและเรื่องง่ายๆของคุณๆนะคะ ขอบคุณที่กรุณาค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 04 เม.ย. 2012, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วยกันออกแบบประเทศไทย :b1:

เห็นด้วยๆขอรับ หนับหนุนๆ เข้าใจถามนิ :b14: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 เม.ย. 2012, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ม.ค. 2012, 16:39
โพสต์: 209


 ข้อมูลส่วนตัว


""รีบๆมาตอบชะละท่านทั้งสองคนอื่นกำลังรอดูอยูน่ะ"" :b9:

.....................................................
_______________(-_-) (๑_๑)____________(^_^) (^ ^)_____________


โพสต์ เมื่อ: 04 เม.ย. 2012, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าเข้าใจผิด คิดว่าข้าพเจ้าจะอธิบายเรื่องที่เจ้าของกระทู้ถามมานะขอรับ ข้าพเจ้าเพียงแสดงความคิดเห็นว่า
ความในพระไตรปิฎก หากบุคคลได้อ่าน ก็คงได้อ่านข้อความแบบเดียวกัน แต่ด้วยความฉลาดสุดขั้วของแต่ละบุคคล จึงทำให้เกิดความเข้าใจไปคนละทาง
ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว หลักพุทธศาสนา คือ หลักแห่งความจริงตามธรรมชาติ ความในพระไตรปิฎก ก็คือหลักความจริงตามธรรมชาติ แต่หลักภาษาที่เขียน เป็นหลักภาษาบาลีสันสฤต และเขียนเมื่อสมัยสองพันกว่าปีผ่านมาแล้ว หลักวิชาการต่างๆในสมัยนั้นยังล้าหลังไม่เหมือนกับยุคสมัยปัจจุบัน ก็ลองคิดดูเถิดว่า ใครมันจะเข้าใจความหมายของภาษาเมื่อยุคสองพันกว่าปี ได้อย่างถูกต้อง
เจ้าของกระทู้ถามแบบได้ใจเลยละนะขอรับ


โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 03:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอทำความเข้าใจครับ ผมเป็นคนหนึ่งครับที่ไม่ชอบอ้างพระไตรปิฎก
ด้วยเหตุที่ว่า ไม่รู้จะอ้างไปทำไม อ้างแล้วมันก็เกิดปัญหาเถียงกัน

ความเห็นของผมเป็นลักษณะอธิบายความครับ เพราะผมเข้าใจดีว่า
พระไตรปิฎกไม่ใช่ของง่ายที่คนอย่างเราๆจะเข้าใจ และใช้ให้ถูกกับ
กาละเทศะ

ดังนั้นผมมักจะยกพระพุทธพจน์หรือพระไตรปิฎกก็ต่อเมื่อ
คู่สนทนาร้องขอครับ อยู่ดีๆผมไม่อ้างพระไตรปิฎกพร่ำเพลือหรอกครับ

เอาเป็นว่ารอให้ท่านผู้ทรงภูมิเช่นนั้นแกมาเปิดแพรคลุมป้าย
เปิดงานเสียก่อน แล้วผมจะล้มโต๊ะให้ดูครับ แต่ต้องบอกนะครับ คุณเช่นนั้น
แกย่ำคิดย่ำทำกับพระสูตรฯ ถ้าเป็นพระอภิธรรมแกจะมีอาการเดินเอียงๆครับ
:b13:


โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


จะเข้ามารอคอยอ่านคำตอบครับ :b31:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
อ้างคำพูด:

โฮฮับ เขียน:
ตัวอย่าง การอธิบายพุทธพจน์ โดยไม่บิดเบือนพุทธพจน์

ถ้าใช้สมองคิดเสียหน่อยว่า การเรียกชื่อสิ่งใด มันก็คือการตั้งชื่อให้รู้ว่า
ต้องการให้รู้เฉพาะเจาะจงสิ่งนั้น อย่างเช่น"ไตรลักษณ์" เขาต้องการให้รู้ถึง"ธรรมนิยาม"

ถ้าเป็นการเรียก"ไตรลักษณ์" แล้วไปบิดเบือนเปลี่ยนแปลง"ธรรมนิยาม" ก็ว่าไปอย่าง
นี่ก็เป็นเนื้อหา"ธรรมนิยาม"ที่เป็นพุทธพจน์แท้ๆ ดังนั้นถ้าเราจะเรียก"ธรรมนิยาม"ว่า
ไตรลักษณ์ แล้วมีคนมาโวยวายว่า บิดเบือนพุทธพจน์ผมว่าปัญญาอ่อนครับ


แต่ไม่เป็นไรครับมันไม่ใช่สาระ ประเด็นมันอยู่ตรงที่คำว่าเหตุปัจจัยครับ


เห็นคุณเช่นนั้น และคุณโฮฮับ ชอบอ้างอิงพระไตรปิฎกมาสนทนากันเรื่อง

สังขาร
เหตุปัจจับ
ไตรลักษณ์

ก็เลยทำให้ดิฉันอยากจะรู้ขึ้นมาซะแลัว ว่า 3 คำนี้มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง มีกี่ข้อและกี่หมวดที่กล่าวถึง3 เรื่องนี้อย่างเฉพาะเจาะจง อยู่ในพระปิฎกเล่มไหน หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดที่เท่าไหร่ ตัวอักษรที่เท่าไหร่ ผู้บัญญัติได้บัญญัติไว้ในปิฎกวันที่เท่าไหร่ เวลาใด และบันทึกแล้วเร็จวันที่เท่าไหร่ เวลาใด และมีการแก้ไขอะไรเพิ่มเติมหลังจากนั้นบ้างหรือไม่ อย่างไร ผู้ที่บัญญัติคือใคร และผู้บันทึกคือใคร ใช้หลักกอะไรในการแปล แปลมาจากภาษาอะไร

ดิฉันไม่ได้ยียวนนะคะ แต่เห็นว่าทั้ง 2 ท่านชอบอ้างพระไตรปิฎก ดิฉันจึงเห็นว่าทั้ง 2 ท่านมีความชำนาญในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก จึงอยากจะขอความรู้จากทั้ง 2 ท่าน เพื่อเป็นวิทยาทานน่ะค่ะ หวังว่าท่านทั้ง 2 คงไม่หวงความรู้และเต็มใจแบ่งปันความรู้ให้ดิฉันบ้างนะคะ

อีกอย่างนะคะ อยากได้คำอธิบายของทั้งคุณโฮฮับ และ คุณเช่นนั้น ช่วยอธิบายในเรื่องเดียวกันมานะคะ คือดิฉันจะเอามาเทียบดูน่ะค่ะ ว่าใครจะอธิบายได้ดีกว่า และ เข้าใจได้ชัดเจนกว่ากันน่ะค่ะ ดิฉันคิดว่าเรื่องนี้น่าจะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาและเรื่องง่ายๆของคุณๆนะคะ ขอบคุณที่กรุณาค่ะ


สวัสดี หญิงไทย
สังขาร และ เหตุปัจจัย เป็น นิรุติ พระพุทธองค์ ใช้ในการแสดงธรรม มีอยู่ทั่วไป
และ กลุ่มพระอรหันตเจ้าได้ทำรวบรวมพระธรรมวินัยไว้ ครั้นปฐมสังคยนา

ส่วนไตรลักษณ์ เป็นคำเรียกขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งมีการยัดใส่เข้าไปประกอบพระไตรปิฏกโดย
ยัดใส่เข้าไปเองบ้าง แขวนไว้ภายใต้วงเล็บบ้าง ตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบ....

ยกตัวอย่าง
ที่นำเอาไตรลักษณ์ยัดใส่ลงไปในการแปลบาลี หรือพุทธพจน์
โดยไม่แปลตามบาลี คือ
มหามาลุงโกยวาทสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2814&Z=2961&pagebreak=0
คือฉบับแปลบาลีสยามรัฐ กับฉบับแปลมหามกุฏ
ซึ่งมีฉบับแปลมหาจุฬาได้แก้ไขให้ตรงตามบาลี

[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละ
กุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกร-
*อานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ฉบับแปลบาลีมหาจุฬา แปลตามพระบาลีดั่งต่อไปนี้

เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓


โส ตตฺถฏฺิโต อาสวาน ขย ปาปุณาติ โน เจ อาสวาน
ขย ปาปุณาติ เตเนว ธมฺมราเคน ตาย ธมฺมนนฺทิยา ปฺจนฺน
โอรมฺภาคิยาน สฺโชนาน ปริกฺขยา โอปปาติโก โหติ ตตฺถ
ปรินิพฺพายี อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา ฯ

ซึ่งการดำรงอยู่ตั้งอยู่ในการน้อมจิตไปในอมตธาตุนั้น จะเป็น ตตฺถฏฐิโต ..แต่ก็ตั้งอยู่ในขณะแห่งปฐมฌาน การแปลในชั้นนี้ จึงไม่เป็นการยัดไส้ใส่ วิปัสสนามีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์

คุณหญิงไทย หากมีความพอใจในการหาข้อมูล ปัจจุบันนี้ทำได้ง่ายดาย
โดยการเสริชจาก โปรแกรมพระไตรปิฏก ที่ทางวัดนาป่าพงจัดทำไว้เพื่อการเทียบเคียงกับพระบาลีเดิม

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 05 เม.ย. 2012, 09:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมอีกนิดนะครับ
พระพุทธองค์แสดงธรรมไม่เคยขัดแย้งกันจริงไหมครับ
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม ว่า อริยมรรค มีนิพพานเป็นอารมณ์
พระสารีบุตร แสดงธรรมอนุโลมตามพุทธดำรัส ว่าวิราคะเป็นมรรค มีวิราคะเป็นอารมณ์

ดังนั้น การแปลเอาเองว่า มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นการยัดไส้เข้าไป
โดยผู้แปล ลืม ประโยคสำคัญดังกล่าวต่อไปนี้

อ้างคำพูด:
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้


ดังนั้นแม้ตั้งอยู่ในปฐมฌาน ก็น้อมจิตเอานิพพานเป็นอารมณ์ในปฐมฌาน ก็ยังได้นะครับ
การแปลจึงไม่ขัดแย้งกับพระบาลีเดิม และอนุโลมไปตามพุทธดำรัสเช่นกัน

ดังนั้น
การวิปัสสนา โดยมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมผิด เพราะไตรลักษณ์มีนามรูป เป็นตัวตั้งครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สังขาร และ เหตุปัจจัย เป็น
นิรุติ พระพุทธองค์ ใช้ในการแสดงธรรม มีอยู่ทั่วไป


นิรุติ คืออะไรคะ ดิฉันไมเข้าใจความหมาย กรุณาขยายความได้มั้ยคะ รบกวนด้วนะคะ


โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สวัสดี หญิงไทย
สังขาร และ เหตุปัจจัย เป็น นิรุติ พระพุทธองค์ ใช้ในการแสดงธรรม มีอยู่ทั่วไป
และ กลุ่มพระอรหันตเจ้าได้ทำรวบรวมพระธรรมวินัยไว้ ครั้นปฐมสังคยนา

ส่วนไตรลักษณ์ เป็นคำเรียกขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งมีการยัดใส่เข้าไปประกอบพระไตรปิฏกโดย
ยัดใส่เข้าไปเองบ้าง แขวนไว้ภายใต้วงเล็บบ้าง ตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบ....

ยกตัวอย่าง
ที่นำเอาไตรลักษณ์ยัดใส่ลงไปในการแปลบาลี หรือพุทธพจน์
โดยไม่แปลตามบาลี คือ
มหามาลุงโกยวาทสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2814&Z=2961&pagebreak=0
คือฉบับแปลบาลีสยามรัฐ กับฉบับแปลมหามกุฏ
ซึ่งมีฉบับแปลมหาจุฬาได้แก้ไขให้ตรงตามบาลี

[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละ
กุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกร-
*อานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ฉบับแปลบาลีมหาจุฬา แปลตามพระบาลีดั่งต่อไปนี้

เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓


โส ตตฺถฏฺิโต อาสวาน ขย ปาปุณาติ โน เจ อาสวาน
ขย ปาปุณาติ เตเนว ธมฺมราเคน ตาย ธมฺมนนฺทิยา ปฺจนฺน
โอรมฺภาคิยาน สฺโชนาน ปริกฺขยา โอปปาติโก โหติ ตตฺถ
ปรินิพฺพายี อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา ฯ

ซึ่งการดำรงอยู่ตั้งอยู่ในการน้อมจิตไปในอมตธาตุนั้น จะเป็น ตตฺถฏฐิโต ..แต่ก็ตั้งอยู่ในขณะแห่งปฐมฌาน การแปลในชั้นนี้ จึงไม่เป็นการยัดไส้ใส่ วิปัสสนามีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์

คุณหญิงไทย หากมีความพอใจในการหาข้อมูล ปัจจุบันนี้ทำได้ง่ายดาย
โดยการเสริชจาก โปรแกรมพระไตรปิฏก ที่ทางวัดนาป่าพงจัดทำไว้เพื่อการเทียบเคียงกับพระบาลีเดิม

เจริญธรรม


สวัสดีค่ะ ท่านเช่นนั้น ก่อนอื่นดิฉันต้องออกตัวกล่าวขออภัยก่อนนะคะ ที่ดิฉันอาจตั้งคำถามไม่ชัดเจน จากสิ่งที่ท่านเช่นนั้นยกมาไม่ได้ตอบคำถามดิฉันแม้แต่ข้อเดียวเลยค่ะ ดิฉันจึงขออณุญาตนำคำถามเดิมมาเรียบเรียงใหม่เป็นข้อๆ ให้เข้าใจง่ายๆนะคะ

ดิฉันถามว่า

สังขาร
เหตุปัจจัย
ไตรลักษณ์

1.ศัพท์ 3 คำด้านบนนี้มีความหมายว่าอย่างไร

2.คำศัพท์แต่ละคำแบ่งออกเป็นคำละกี่ประเภท และ แต่ละประเภทแบ่งย่อยออกอีกเป็นกี่หมวด

3.แต่ละประเภท แต่ละหมวด กล่าวถึงอะไรบ้างที่เกี่ยวกับศัพท์ 3 คำนี้

4.คำศัพท์ 3 คำนี้ บันทึกไว้ในปิฎกเล่มใด หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดใดบ้าง และตัวอักษรที่เท่าไหร่บ้าง

5.มีปิฎกกี่เล่มและเล่มใดบ้าง ตอนใดบ้าง หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดที่เท่าไหร่บ้าง ที่กล่าวถึงเรื่องคำศัพท์ 3 คำนี้ ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง

6.ผู้ที่บัญญัติคำศัพท์ 3 คำนี้ คือใครบ้าง หมายถึงทั้งผู้แปล และ ผู้บันทึก

7.ผู้ที่บัญญัติ คำศัพท์ 3 คำนี้ บัญญัติแล้วเสร็จวัน เวลาใด สมัยใด

8.ผู้บัญญัติศัพท์ 3 คำนี้ แปลศัพท์มาจากภาษาอะไรบ้าง และใช้หลักยังไงในการแปล และอ้างอิงมาจากเอกสารอะไรบ้าง

9.เมื่อบันทึกเสร็จแล้วมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ หากมี โปรดระบุจำนวนครั้งที่ทำการแก้ไข และแต่ละครั้งที่แก้ไข แก้ไขในสมัยใดบ้าง และผู้ที่ทำการแก้ไขในแต่ละครั้งมีใครบ้าง

ที่อยากรู้ก็มีเท่านี้ค่ะ หวังว่าคงไม่เป็นการรบกวนท่านเช่นนั้นนะคะ คิดว่าคงเป็นเรื่องไม่ยากสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกอย่างท่านเช่นนั้นนะคะ ขอบคุณค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย หญิงไทย เมื่อ 05 เม.ย. 2012, 17:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละ
กุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกร-
*อานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ฉบับแปลบาลีมหาจุฬา แปลตามพระบาลีดั่งต่อไปนี้

เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓


โส ตตฺถฏฺิโต อาสวาน ขย ปาปุณาติ โน เจ อาสวาน
ขย ปาปุณาติ เตเนว ธมฺมราเคน ตาย ธมฺมนนฺทิยา ปฺจนฺน
โอรมฺภาคิยาน สฺโชนาน ปริกฺขยา โอปปาติโก โหติ ตตฺถ
ปรินิพฺพายี อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา ฯ

ซึ่งการดำรงอยู่ตั้งอยู่ในการน้อมจิตไปในอมตธาตุนั้น จะเป็น ตตฺถฏฐิโต ..แต่ก็ตั้งอยู่ในขณะแห่งปฐมฌาน การแปลในชั้นนี้ จึงไม่เป็นการยัดไส้ใส่ วิปัสสนามีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์


ดิฉันขอขุบคุณท่านเช่นนั้นที่กรุณายกบทความในพระปิฎกมานำเสนอนะคะ แต่ดิฉันดูแล้วว่าภาษาในพระไตรปิฎก ไม่ว่าเล่นไหนๆก็จะแปลเป็นสำนวนหรือพูดง่ายๆก็คือภาษาพระนั่นแหละค่ะ หากไม่มีผู้อธิบายสำนวนในพระไตรปิฎกแล้วนำมาอธิบายความอีกรอบ ก็จะเป็นการยากที่จะเข้าใจนะคะ ดิฉันจึงกราบขอความกรุณารบกวนท่านเช่นนั้นซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องปิฎกช่วยแปลเป็นภาษาบ้านๆที่ฆราวาสธรรมดาอย่างดิฉันสามมารถอ่านและเข้าใจได้โดยที่ไม่ต้องแปลจากสำนวนมาเป็นภาษาบ้านๆอีกรอบได้มั้ยคะ หมายถึงช่วยอธิบายความเป็นภาษาพี้นๆ ที่คนไม่ได้ศึกษาก็สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้เลย โดยไม่ต้องมีการแปลสำนวนน่ะค่ะ หรือที่คนทั่วๆไปเรียกว่า ภาษาชาวบ้านน่ะค่ะ เช่น


อ้างคำพูด:
คงเป็นเรื่องน่าเศร้า
หากคนเราต้องบิดเบือนความจริงในใจ
แล้วใส่หน้ากากเข้าหากัน

เราคงมีชีวิตอยู่กับความสุขปลอมๆ
ท่ามกลางความกลัวที่จะผิดหวัง
ทั้งที่ในที่สุดก็ต้องเผชิญหน้ากับมันอยู่ดี
เราคงมีชีวิตอยู่กับความสุขปลอมๆ
ท่ามกลางความกลัวที่จะผิดหวัง
ทั้งที่ในที่สุดก็ต้องเผชิญหน้ากับมันอยู่ดี

http://www.dhammajak.net/dhamma/108.html


ขอบคุณท่านเช่นนั้นล่วงหน้านะคะ แล้วถ้ามีผู้ที่เชี่ยวชาญท่านอื่นมาร่วมกันแปลก็จะขอบคุณมากนะคะ
ที่กรุณาเสียสละเวลามาช่วยชี้ทางสว่าแห่งพระธรรมให้กับดิฉันค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คุณหญิงไทย หากมีความพอใจในการหาข้อมูล ปัจจุบันนี้ทำได้ง่ายดาย
โดยการเสริชจาก โปรแกรมพระไตรปิฏก ที่ทางวัดนาป่าพงจัดทำไว้เพื่อการเทียบเคียงกับพระบาลีเดิม


กราบขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำของท่านเช่นนั้นมากๆนะคะ

คือ ดิฉันก็พอทราบนะคะว่ายุคนี้ข้อมูลอะไรๆก็หาได้ง่ายโดยการพึ่งพาGoogle หรือ เครื่องมือเวบช่วยค้นหาต่างๆมากมาย

แต่อย่างที่ดิฉันได้กราบเรียนท่านเช่นนั้นไปแล้วว่า

พระไตรปิฎก ต่อให้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว โอเคค่ะทุกคนอาจจะอ่านออก แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคนหรอกนะคะ ต้องมีคนช่วยขยายความเป็นภาษาบ้านๆที่เข้าใจง่าย
อีกทีค่ะ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า พระปิฎก ไม่ว่าเล่มไหนๆ ต่าก็แปลเป็นภาษาสำนวน หรือ ดิฉัน
เรียกว่า ภาษาพระ เพราะฉนั้นคนธรรมดา ชาวบ้านๆทั่วไป หากไม่เคยได้เรียนวิธีการแปลสำนวนใน
พระไตรปิฎกมาก่อน ถึงจะอ่านพระไตรปิฎกออกแต่ก็คงไม่เข้าใจอยู่ดีแหละค่ะ

พอดิฉันได้มาพบกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพระปิฎกอย่างท่านเช่นนั้น ทำให้ดิฉันมีความปราบปลื้มยินดี
และอยากขอความรู้จากท่าน หวังว่าท่านเช่นนั้นจะไม่รังเกียจนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ


โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก ต่อให้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว โอเคค่ะทุกคนอาจจะอ่านออก แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคนหรอกนะคะ ต้องมีคนช่วยขยายความเป็นภาษาบ้านๆที่เข้าใจง่าย
อีกทีค่ะ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า พระปิฎก ไม่ว่าเล่มไหนๆ ต่าก็แปลเป็นภาษาสำนวน หรือ ดิฉัน
เรียกว่า ภาษาพระ เพราะฉนั้นคนธรรมดา ชาวบ้านๆทั่วไป หากไม่เคยได้เรียนวิธีการแปลสำนวนใน
พระไตรปิฎกมาก่อน ถึงจะอ่านพระไตรปิฎกออกแต่ก็คงไม่เข้าใจอยู่ดีแหละค่ะ


จริง หรือเปล่าครับ
อย่าพึ่งเหมารวมไปหมดสิครับ ผมคนหนึ่งก็ไม่ได้เรียน " การแปลสำนวนในพระไตรปิฎก " มาก่อนนะครับและก็ไม่ทราบด้วยว่าจะเรียนได้จากที่ไหน

ถ้าคุณหญิงไทยสนใจศึกษาพุทธวัจนะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผมแนะนำ หนังสือ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่ท่านพุทธทาส จัดทำรวบรวมขึ้น ศึกษาก่อนครับ


โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก ต่อให้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว โอเคค่ะทุกคนอาจจะอ่านออก แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคนหรอกนะคะ ต้องมีคนช่วยขยายความเป็นภาษาบ้านๆที่เข้าใจง่าย
อีกทีค่ะ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า พระปิฎก ไม่ว่าเล่มไหนๆ ต่าก็แปลเป็นภาษาสำนวน หรือ ดิฉัน
เรียกว่า ภาษาพระ เพราะฉนั้นคนธรรมดา ชาวบ้านๆทั่วไป หากไม่เคยได้เรียนวิธีการแปลสำนวนใน
พระไตรปิฎกมาก่อน ถึงจะอ่านพระไตรปิฎกออกแต่ก็คงไม่เข้าใจอยู่ดีแหละค่ะ


จริง หรือเปล่าครับ
อย่าพึ่งเหมารวมไปหมดสิครับ ผมคนหนึ่งก็ไม่ได้เรียน " การแปลสำนวนในพระไตรปิฎก " มาก่อนนะครับและก็ไม่ทราบด้วยว่าจะเรียนได้จากที่ไหน

ถ้าคุณหญิงไทยสนใจศึกษาพุทธวัจนะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผมแนะนำ หนังสือ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่ท่านพุทธทาส จัดทำรวบรวมขึ้น ศึกษาก่อนครับ



โอเคค่ะทุกคนอาจจะอ่านออก แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคนหรอกนะคะ

คะ เหมารวมยังไงคะ รบกวนคุณ FLAME ช่วยอ่านคำที่ดิฉันขีดเสีนใต้ไว้อีกรอบนะคะ ที่ขขีดเส้นใต้เป็นประเด็นหลักค่ะ ส่วนอย่างอื่นเป็นการกล่าวเสริมเท่านั้นเองคะ


โพสต์ เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยคนี้
อ้างคำพูด:
โอเคค่ะทุกคนอาจจะอ่านออก แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคนหรอกนะคะ


ถูกแล้วนะครับ ถึงแม้จะอ่านออก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่อ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคน


อ้างคำพูด:
ชาวบ้านๆทั่วไป หากไม่เคยได้เรียนวิธีการแปลสำนวนใน
พระไตรปิฎกมาก่อน ถึงจะอ่านพระไตรปิฎกออกแต่ก็คงไม่เข้าใจอยู่ดีแหละค่ะ


เหมารวมประโยคนี้แหละครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร