วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 21:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ประโยคนี้
อ้างคำพูด:
โอเคค่ะทุกคนอาจจะอ่านออก แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคนหรอกนะคะ


ถูกแล้วนะครับ ถึงแม้จะอ่านออก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่อ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคน


อ้างคำพูด:
ชาวบ้านๆทั่วไป หากไม่เคยได้เรียนวิธีการแปลสำนวนใน
พระไตรปิฎกมาก่อน ถึงจะอ่านพระไตรปิฎกออกแต่ก็คงไม่เข้าใจอยู่ดีแหละค่ะ


เหมารวมประโยคนี้แหละครับ


คุณคะ ดิฉันก็ชี้แจงไปแล้วว่าเป็นการกล่าวเสริม ซึ่งดิฉันก็ขีดเส้นใต้เน้าประเด็นหลักของบทความไปแล้ว ที่คุณบอกว่าเหมารวมน่ะ มันไม่ใช่ทั้งประเด็นหลักและประเด็นรอง มันเพียงแค่ทำหน้าที่สนับสนุนประเด็นหลักให้มีความชัดเจนขึ้นเท่านั้นเองนะคะ คุณอย่ายกเอาคำเสริมมาเป็นประเด็นหลักสิ่คะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะเหตุว่า ชาวบ้านทั่วๆไป บางคน อ่านภาษาไทยออกด้วย และก็มีความเข้าใจที่ถูกด้วย
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เรียนบาลีมาก่อนเลยก็ตาม

ไม่ว่าจะเป็นประเด็นหลัก ประเด็นเสริมอย่างไร ก็ควรมีความรอบคอบก่อนจะกล่าวหรือพิมพ์สิ่งใดออกมา เพราะผู้ฟังหรือผู้อ่านจะเข้าใจผิดได้ว่า "ฉันเป็นชาวบ้านธรรมดาๆไม่ได้เรียนการแปลสำนวนในพระไตรปิฎกมา อ่านไปก็คงไม่เข้าใจ " ก็เลยพลอยไม่ได้ศึกษา นับเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าก็บอกแล้วว่า ความในพระไตรปิฎก เป็นศัพท์ภาษาบาลี สำนวนภาษาก็เป็นสำนวนภาษาเมื่อสมัย สองพันกว่าปีผ่านมาแล้ว ขนาดภาษาไทยสมัยโบราณ เท่าที่ได้เห็นยังรู้สึกแปลกๆเลยขอรับ
ยิ่งเป็นความในพระไตรปิฎกยิ่งแล้ว เขาซ่อนความลับไว้ตั้งเยอะแยะ
อย่าง "ไตรลักษณ์" ข้าพเจ้าก็เคยเขียนเป็นกระทู้ไปแล้ว ก็เลยไม่อยากอธิบาย
แต่ก็อยากจะบอกให้พวกหนอนตำราได้รู้เอาไว้อีกครั้งว่า
"ไตรลักษณ์" เป็น ข้อความย่อ จาก สติปัฏฐาน ๔ จะใช้ทำอะไรก็ได้ทั้งนั้นขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีท่าน จขกท เพื่อให้ท่านเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง ดิฉัน จะคัดลอกข้อความบางส่วนในพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า มาให้ท่านได้พิจารณา นะเจ้าค่ะ เพื่อความกระจ่างแก่ตัวท่านเองเกี่ยวกับพระไตรปิฏก :b8:
หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้พิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป
บัว ๔ เหล่า ได้แก่
๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)

๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)

- จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ (ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ) จึงเสด็จไปที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี ในวันขึ้น 15 เดือน 8 จึงทรงปฐมเทศนา " ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป)"
ซึ่งใจความ 3 ตอน คือ
1.) ทรงชี้ทางผิดอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แต่เดินทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
2.) ทรงแสดงอริยสัจ 4 โดยละเอียด
3.) ทรงปฏิญญาว่าทรงตรัสรู้พระองค์เอง และได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว
/color]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
สวัสดีท่าน จขกท เพื่อให้ท่านเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง ดิฉัน จะคัดลอกข้อความบางส่วนในพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า มาให้ท่านได้พิจารณา นะเจ้าค่ะ เพื่อความกระจ่างแก่ตัวท่านเองเกี่ยวกับพระไตรปิฏก :b8:

หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้พิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป


ขอบคุณนะคะ คุณน้อง(หรือเปล่า) ก็ด้วยเหตุที่เข้าใจยากนี่แหละค่ะ พอดิฉันได้มาเจอผู้รู้ จึงทำให้ดิฉันรู้สึกปลาบปลื้นดีใจ และอยากจะขอคำแนะนำรือความรู้จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องพระไตรปิฎกอย่างท่าน เช่นนั้น

ดิฉันคงเป็นประเภทด้านล่างนี้มั้งคะ

nongkong เขียน:
๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)


หรือไม่ก็อาจจะประเภทนี้ค่ะ

nongkong เขียน:
๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)


เป็นเพราะว่าดิฉันนั้นรู้น้อย ประกอบกับเป็นคนชอบถาม เมื่อดิฉันมาเจอผู้รู้จึงทำให้ดิฉันรีบเข้าไปถาม เข้าไปขอความรู้อย่างรวดเร็ว เพื่อหวังจะได้รับการชี้แนะไงคะ


แก้ไขล่าสุดโดย หญิงไทย เมื่อ 05 เม.ย. 2012, 20:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้เข้าใจไอ่ที่เรียกกันว่าคนหรือมนุษย์ก่อนแล้วจะเข้าใจตะกร้าสองใบ คือพระสูตรพระอภิธรรม..หรือความหมายจากตัวหนังสือในชื่อของธรรมทั้งหลายแหล่ :b9: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตนะคะ ยังไม่ได้คำตอบเลยค่ะ แต่พอดีมีบางท่านชวนคุยเรื่องอื่น
เลยขอนำมาอีกรอบนะคะ เผื่อบางท่านไม่สะดวกเปิดกลับไปกลับมา

เช่นนั้น เขียน:
สวัสดี หญิงไทย
สังขาร และ เหตุปัจจัย เป็น นิรุติ พระพุทธองค์ ใช้ในการแสดงธรรม มีอยู่ทั่วไป
และ กลุ่มพระอรหันตเจ้าได้ทำรวบรวมพระธรรมวินัยไว้ ครั้นปฐมสังคยนา

ส่วนไตรลักษณ์ เป็นคำเรียกขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งมีการยัดใส่เข้าไปประกอบพระไตรปิฏกโดย
ยัดใส่เข้าไปเองบ้าง แขวนไว้ภายใต้วงเล็บบ้าง ตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบ....

ยกตัวอย่าง
ที่นำเอาไตรลักษณ์ยัดใส่ลงไปในการแปลบาลี หรือพุทธพจน์
โดยไม่แปลตามบาลี คือ
มหามาลุงโกยวาทสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2814&Z=2961&pagebreak=0
คือฉบับแปลบาลีสยามรัฐ กับฉบับแปลมหามกุฏ
ซึ่งมีฉบับแปลมหาจุฬาได้แก้ไขให้ตรงตามบาลี

[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละ
กุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกร-
*อานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ฉบับแปลบาลีมหาจุฬา แปลตามพระบาลีดั่งต่อไปนี้

เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓


โส ตตฺถฏฺิโต อาสวาน ขย ปาปุณาติ โน เจ อาสวาน
ขย ปาปุณาติ เตเนว ธมฺมราเคน ตาย ธมฺมนนฺทิยา ปฺจนฺน
โอรมฺภาคิยาน สฺโชนาน ปริกฺขยา โอปปาติโก โหติ ตตฺถ
ปรินิพฺพายี อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา ฯ

ซึ่งการดำรงอยู่ตั้งอยู่ในการน้อมจิตไปในอมตธาตุนั้น จะเป็น ตตฺถฏฐิโต ..แต่ก็ตั้งอยู่ในขณะแห่งปฐมฌาน การแปลในชั้นนี้ จึงไม่เป็นการยัดไส้ใส่ วิปัสสนามีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์

คุณหญิงไทย หากมีความพอใจในการหาข้อมูล ปัจจุบันนี้ทำได้ง่ายดาย
โดยการเสริชจาก โปรแกรมพระไตรปิฏก ที่ทางวัดนาป่าพงจัดทำไว้เพื่อการเทียบเคียงกับพระบาลีเดิม

เจริญธรรม


สวัสดีค่ะ ท่านเช่นนั้น ก่อนอื่นดิฉันต้องออกตัวกล่าวขออภัยก่อนนะคะ ที่ดิฉันอาจตั้งคำถามไม่ชัดเจน จากสิ่งที่ท่านเช่นนั้นยกมาไม่ได้ตอบคำถามดิฉันแม้แต่ข้อเดียวเลยค่ะ ดิฉันจึงขออณุญาตนำคำถามเดิมมาเรียบเรียงใหม่เป็นข้อๆ ให้เข้าใจง่ายๆนะคะ

ดิฉันถามว่า

สังขาร
เหตุปัจจัย
ไตรลักษณ์

1.ศัพท์ 3 คำด้านบนนี้มีความหมายว่าอย่างไร

2.คำศัพท์แต่ละคำแบ่งออกเป็นคำละกี่ประเภท และ แต่ละประเภทแบ่งย่อยออกอีกเป็นกี่หมวด

3.แต่ละประเภท แต่ละหมวด กล่าวถึงอะไรบ้างที่เกี่ยวกับศัพท์ 3 คำนี้

4.คำศัพท์ 3 คำนี้ บันทึกไว้ในปิฎกเล่มใด หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดใดบ้าง และตัวอักษรที่เท่าไหร่บ้าง

5.มีปิฎกกี่เล่มและเล่มใดบ้าง ตอนใดบ้าง หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดที่เท่าไหร่บ้าง ที่กล่าวถึงเรื่องคำศัพท์ 3 คำนี้ ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง

6.ผู้ที่บัญญัติคำศัพท์ 3 คำนี้ คือใครบ้าง หมายถึงทั้งผู้แปล และ ผู้บันทึก

7.ผู้ที่บัญญัติ คำศัพท์ 3 คำนี้ บัญญัติแล้วเสร็จวัน เวลาใด สมัยใด

8.ผู้บัญญัติศัพท์ 3 คำนี้ แปลศัพท์มาจากภาษาอะไรบ้าง และใช้หลักยังไงในการแปล และอ้างอิงมาจากเอกสารอะไรบ้าง

9.เมื่อบันทึกเสร็จแล้วมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ หากมี โปรดระบุจำนวนครั้งที่ทำการแก้ไข และแต่ละครั้งที่แก้ไข แก้ไขในสมัยใดบ้าง และผู้ที่ทำการแก้ไขในแต่ละครั้งมีใครบ้าง

ที่อยากรู้ก็มีเท่านี้ค่ะ หวังว่าคงไม่เป็นการรบกวนท่านเช่นนั้นนะคะ คิดว่าคงเป็นเรื่องไม่ยากสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกอย่างท่านเช่นนั้นนะคะ ขอบคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึง หญิงไทยอนุโมทนาขอให้เจริญในธรรม เจ้าค่ะ
ดิฉันก็ได้ผู้มีมีสติปัญญาอย่างท่าน เช่นนั้น และท่านโฮที่กรุณา คนนึงเปรียบเหมือนบัณทิตผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศ อีกคนเปรียบเหมือน จอมยุทธผู้มีวิทยายุทล้ำเลิศ เป็นแนวทางให้ดิฉัน จนดิฉัน เรียนรู้กับสองท่าน จนแตกฉานในเรื่องพระธรรมเลยเจ้าค่ะ :b32: แล้วดิฉันก็เป็นประเภท ไม่รู้หรือสงสัยก็จะถาม แบบว่า อายครูบ่รู้วิชา :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: :b21: :b9:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2012, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
เห็นคุณเช่นนั้น และคุณโฮฮับ ชอบอ้างอิงพระไตรปิฎกมาสนทนากันเรื่อง

สังขาร
เหตุปัจจับ
ไตรลักษณ์
ก็เลยทำให้ดิฉันอยากจะรู้ขึ้นมาซะแลัว ว่า 3 คำนี้มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง

ผมขออธิบายแบบชาวบ้านให้ฟังนะครับ และที่สำคัญอยากให้คุณเช่นนั้นมาฟังด้วย
จะได้เข้าใจ อรรถคาถาที่แท้จริงเข้าทำอย่างไร

เข้าเรื่องครับ คุณหญิงไทยครับ บัญญัติสามคำที่คุณถามผมขอบอกที่มาที่ไปก่อนครับ
สังขาร สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ซึ่งหลายคนเข้าใจว่า ปรุงแต่งโดยจิต ไม่ถูกครับ
มันเป็นสภาวะที่ใช่แทนอาการของจิตหรือจิต ตัวที่ทำหน้าที่ปรุงแต่งก็คือ กาย ในส่วนที่เรียกว่า
สมอง ซื่งกระบวนการที่ว่าถูกควบคุมด้วยกิเลสสังโยชน์สิบ พวกเราหลายคนเข้าใจว่า
โทสะ โมหะและโลภะเป็นกิเลส มันไม่ใช่ครับ ทั้งสามอย่างนี้มันเป็นอาการของจิต
มันมีผลมาจาก สัญญาสิ่งที่เราไปรับรู้มาสิ่งไหนเป็นกุศลสิ่งไหนเป็นอกุศล ถ้าเราเอาสัญญา
ส่วนดีอาการของจิตก็จะเป็นกุศล เอาส่วนไม่ดีมันก็เป็นอกุศล
ดังนั้นสังขารก็คือ สิ่งที่เราคิดนึกต่างๆ นั้นเอง

เหตุปัจจัย สิ่งที่ทำให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง หรือเรียกว่า เหตุ
อย่างเช่น ความร้อนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำทำให้เกิดเมฆ
การรู้เหตุปัจจัยทำให้เราสามารถแก้หรือดับปัญหาต่างๆที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้
ในทางธรรมก็คือการรู้ทุกข์สมุทัย

ไตรลักษณ์ บอกก่อนเลยครับว่า บัญญัติตัวนี่มันไปแสลงหัวใจนักปฏิบัติหลายๆท่าน
เพราะมันไปทำลายกำลังใจในสิ่งที่ตัวเองปฏิบัติมาหลายปี(ภาษาบ้านผมเรียก งมโข่ง)

ไตรลักษณ์เป็นบัญญัติที่ใช้เรียก "ธรรมนิยาม"ครับ ไตรลักษณ์ตั้งชื่อ
ตามลักษณะอาการของธรรมนิยามสามอย่าง คือ ความไม่เที่ยงของสังขาร
ความทุกข์ของสังขาร และความไม่ใช่ตัวตนบังคับไม่ได้ของสังขาร
ส่วนสังขารที่ว่าก็คือ สังขารในข้อแรกนั้นแหล่ะครับ

ลักษณะของธรรมนิยามหรือมาเรียกภายหลังว่าไตรลักษณ์
มีความสำคัญมาก มันมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูติเสียอีก
พระพุทธเจ้าไปค้นพบ และนำมาดับเหตุแห่งทุกข์ได้

บัญญัติทั้งสามนี้เราศึกษาและปฏิบัติ เพื่อเอามาแทงตลอดปฏิจสมุบาทได้ครับ
ความหมายก็คือเอามาดับเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ในที่นี้คือ การเกิดใหม่ครับ


อนึ่งพระไตรปิฎกหรือพุทธพจน์ไม่ได้มีไว้เพื่อแสดงสถานะว่า
เป็นผู้ทรงภูมิ พระไตรปิฎกหรือพุทธพจน์มีไว้เพื่อแก้ทุกข์หรือดับเหตุแห่งทุกข์
มันไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ว่าต้องใช้ธรรมบทไหนหมวดใด จนกว่าจะเกิดสิ่งที่
เรียกว่าทุกข์ พระไตรปิฎกจึงมีไว้เทียบเคียงกับสภาวะที่เกิดขึ้นภายในกายใจ ณ.ปัจจุบัน

ดังนั้นการโพสพระไตรปิฎกแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย มันเป็นการ
กระทำที่ไม่เหมาะ ไม่รู้จักกาละเทศะครับ


ขออนุญาติเรียนเชิญ"คุณเช่นนั้น" มาช่วยติช่วยพิจารณาหน่อยครับว่า
ที่ผมบอกว่า "บัญญัติทั้งสามที่กล่าวมา นำมาแทงตลอดปฏิจสมุบาทได้"
คุณเช่นนั้นมีความเห็นอย่างไรครับ ที่ต้องทำเหมือนท้าตีท้าต่อยนี้ก็ไม่ใช่อะไรครับ
เห็นคุณเช่นนั้นเคยโปรยคำพูดไว้นั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2012, 03:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
ดิฉันถามว่า

สังขาร
เหตุปัจจัย
ไตรลักษณ์

1.ศัพท์ 3 คำด้านบนนี้มีความหมายว่าอย่างไร

2.คำศัพท์แต่ละคำแบ่งออกเป็นคำละกี่ประเภท และ แต่ละประเภทแบ่งย่อยออกอีกเป็นกี่หมวด

3.แต่ละประเภท แต่ละหมวด กล่าวถึงอะไรบ้างที่เกี่ยวกับศัพท์ 3 คำนี้

4.คำศัพท์ 3 คำนี้ บันทึกไว้ในปิฎกเล่มใด หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดใดบ้าง และตัวอักษรที่เท่าไหร่บ้าง

5.มีปิฎกกี่เล่มและเล่มใดบ้าง ตอนใดบ้าง หน้าที่เท่าไหร่ บรรทัดที่เท่าไหร่บ้าง ที่กล่าวถึงเรื่องคำศัพท์ 3 คำนี้ ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง

6.ผู้ที่บัญญัติคำศัพท์ 3 คำนี้ คือใครบ้าง หมายถึงทั้งผู้แปล และ ผู้บันทึก

7.ผู้ที่บัญญัติ คำศัพท์ 3 คำนี้ บัญญัติแล้วเสร็จวัน เวลาใด สมัยใด

8.ผู้บัญญัติศัพท์ 3 คำนี้ แปลศัพท์มาจากภาษาอะไรบ้าง และใช้หลักยังไงในการแปล และอ้างอิงมาจากเอกสารอะไรบ้าง

9.เมื่อบันทึกเสร็จแล้วมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ หากมี โปรดระบุจำนวนครั้งที่ทำการแก้ไข และแต่ละครั้งที่แก้ไข แก้ไขในสมัยใดบ้าง และผู้ที่ทำการแก้ไขในแต่ละครั้งมีใครบ้าง

ที่อยากรู้ก็มีเท่านี้ค่ะ หวังว่าคงไม่เป็นการรบกวนท่านเช่นนั้นนะคะ คิดว่าคงเป็นเรื่องไม่ยากสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกอย่างท่านเช่นนั้นนะคะ ขอบคุณค่ะ

ยกเอาคำว่า ไตรลักษณ์ออก เพราะไม่ปรากฏเป็นพุทธพจน์
1-5
สังขาร หมายถึง ธรรมอันเป็นปัจจยุบันแห่งอวิชชา และธรรมอันเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=0&Z=115&pagebreak=0
สังขาร มี 3 คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=33&Z=87&pagebreak=0
เหตุ คือมูล มี สองประการ คือ อกุศลมูล กุศลมูล
อกุศลมูลมี สาม คือ โลภะ โทสะ โมหะ
กุศลมูลมี สาม คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

และเหตุหรือมูลก็เป็นทั้ง เหตุเป็นทั้งปัจจัย
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=5321&Z=5420&pagebreak=0

ปัจจัย คือธรรมที่เป็นอุปถัมภ์ แก่ป้จจยุบันของปัจจัยนั้น
เช่น สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
ปัจจัยฝ่ายทุกข์ 11(ปฏิจจสมุปบาทอนุโลม)
และปัจจัยฝ่ายดับทุกข์ อีก 11 (ปฏิจสมุปบาทปฏิโลม)
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=0&Z=115&pagebreak=0

6-7
ผู้บัญญัติศัพท์นี้ คือพระพุทธองค์
บัญญัติเสร็จในคืนวันตรัสรู้ ในสมัยแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้

8-9
บัญญัติเหล่านี้ บัญญัติจากสัจจะคือความจริง ผ่านพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์ ใช้สัมมาสัมโพธิญาณในการบัญญัติ อ้างอิงจากอริยะสัจจ์ทีมีมาแต่เก่าเป็นของเดิม เมื่อบัญญัติแล้วไม่มีการแก้ไข เพราะเป็นสัจจะความจริง

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 06 เม.ย. 2012, 11:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2012, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




image-E438_4F0BE85E.gif
image-E438_4F0BE85E.gif [ 69.4 KiB | เปิดดู 4947 ครั้ง ]
ความหมายศัพท์ที่ยกๆมาทั้งหมด มันรวมอยู่ที่คนหรือมนุษย์หรือจะเรียกกายใจก็เอา หรือคนชาติอื่น เช่น พม่า ลาว เขมร ฝรั่งมังค่า...เขาบัญญัติชื่ออื่นอีกได้ นั่นแหละธรรมะหรือธรรมชาติ จะไปคิดค้นธรรมที่ไหนกัน จะหาธรรมะก็หาที่คนหรือที่ตนนี่ (เรียกหลายๆชื่อจะได้ไม่ยึดติด) :b9:

แถมอีกหน่อย รวมทั้งปฏิจจสมุปบาทนั่นด้วยก็อยู่ที่คนนี่ จะไปหาที่ไหน :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2012, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ประโยคนี้
อ้างคำพูด:
โอเคค่ะทุกคนอาจจะอ่านออก แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคนหรอกนะคะ


ถูกแล้วนะครับ ถึงแม้จะอ่านออก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่อ่านออกแล้วจะเข้าใจหมดทุกคน


อ้างคำพูด:
ชาวบ้านๆทั่วไป หากไม่เคยได้เรียนวิธีการแปลสำนวนใน
พระไตรปิฎกมาก่อน ถึงจะอ่านพระไตรปิฎกออกแต่ก็คงไม่เข้าใจอยู่ดีแหละค่ะ


เหมารวมประโยคนี้แหละครับ

พุดโธ๋! คุณฟรามิงโกครับ คุณจะบอกคุณหญิงไทยใจกล้าว่า
คุณอ่านพระไตรปิฎกออกและเข้าใจด้วยก็บอกไปตรงๆเลย
ทำไมต้องออกอาการ พูดตะกุกตะกักแต่ชูกำปั้นแบบนั้นครับ ผมว่าดูๆแล้วคุณหญิงไทย
ยังดูเท่กว่าคุณตั้งเยอะ
:b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2012, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คุณฟรามิงโกครับ คุณจะบอกคุณหญิงไทยใจกล้าว่า
คุณอ่านพระไตรปิฎกออกและเข้าใจด้วยก็บอกไปตรงๆเลย
ทำไมต้องออกอาการ พูดตะกุกตะกักแต่ชูกำปั้นแบบนั้นครับ ผมว่าดูๆแล้วคุณหญิงไทย
ยังดูเท่กว่าคุณตั้งเยอะ

ก็คนนึงเป็นจอมยุทธไร้สำนักไร้กระบวนท่า แต่ท่องมาทั่วราชอาณาจักร อีกคนเป็นลุกศิษในสำนักกำลังฝึกวิชาแต่ยังไม่เคยออกท่องยุทภพ พอมาประมือกัน ผลก็ออกมาแบบนี้แหละเจ้าค่ะ :b29: นี่ถ้าดิฉันไม่เข้ามาแทรกระหว่างกลาง (ทีคัดลอกพุทธประวัติมาให้ดู)สงสัยได้ประมือกันอีกนาน :b9: :b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2012, 20:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เพิ่มเติมอีกนิดนะครับ
พระพุทธองค์แสดงธรรมไม่เคยขัดแย้งกันจริงไหมครับ
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม ว่า อริยมรรค มีนิพพานเป็นอารมณ์
พระสารีบุตร แสดงธรรมอนุโลมตามพุทธดำรัส ว่าวิราคะเป็นมรรค มีวิราคะเป็นอารมณ์

ดังนั้น การแปลเอาเองว่า มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นการยัดไส้เข้าไป
โดยผู้แปล ลืม ประโยคสำคัญดังกล่าวต่อไปนี้

อ้างคำพูด:
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้


ดังนั้นแม้ตั้งอยู่ในปฐมฌาน ก็น้อมจิตเอานิพพานเป็นอารมณ์ในปฐมฌาน ก็ยังได้นะครับ
การแปลจึงไม่ขัดแย้งกับพระบาลีเดิม และอนุโลมไปตามพุทธดำรัสเช่นกัน

ดังนั้น
การวิปัสสนา โดยมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมผิด เพราะไตรลักษณ์มีนามรูป เป็นตัวตั้งครับ

สวัสดีครับพี่เช่นนั้น :b8:
ก่อนอื่นผมขอขอบคุณความรู้ในเรื่องนี้ที่พี่นำมาแบ่งบันให้ผมได้ทราบจริงๆครับ แต่ขอแสดงความเห็นสักเล็กน้อยนะครับ ซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวไม่ได้มีเจตนาลบหลู่พระสูตรแต่อย่างใด...ก็ตรงที่ว่า "เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓" อาการของจิตในขณะอยู่ในปฐมฌาณนั้นก็กำลังวิปัสสนาโดยมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์อยู่ไม่ใช่หรือครับ ดังที่ว่า "เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิทเป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้."ที่ผมทำตัวหนาไว้นั้นเป็นอาการของไตรลักษณ์ใช่มั้ยครับ
**โดยสรุปแล้วผมต้องการพูดว่า"การวิปัสสนา โดยมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย" ย่อมไม่ผิด ในแง่ของการปฏิบัติหรือสภาวะธรรม...แต่ผิดในแง่การไม่แปลพระสูตรให้ตรงกับพระบาลีดั้งเดิมครับ...พี่เช่นนั้นคิดเห็นด้วยประการใดครับ
ขอบคุณครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร