วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2012, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


จากความเห็นส่วนตัวดิฉันแล้ว ดิฉันแปลข้อความอ้างอิงของท่านเช่นนั้น ออกมาได้แบบนี้ มีนิพพานเป็นอารมณ์คือ ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้


อธิบายกว้างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจคือ เรามองเห็นไตรลักษณ์แล้ว คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วคลายกำหนัด คือสลัดมันออกแล้วน้อมจิตเข้าธรรมชาติที่สงบ คือ จิตปภัสสร ไม่ปรุงแต่ง มีแต่ความว่างอยู่ในนิโรธ
ไม่รู้เข้าใจถูกไหม ท่านเช่นนั้น โปรดชี้แนะด้วยนะเจ้าค่ะ :b8: แต่จะลองปฏิบัติดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่เช่นนั้น
ก่อนอื่นผมขอขอบคุณความรู้ในเรื่องนี้ที่พี่นำมาแบ่งบันให้ผมได้ทราบจริงๆครับ แต่ขอแสดงความเห็นสักเล็กน้อยนะครับ ซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวไม่ได้มีเจตนาลบหลู่พระสูตรแต่อย่างใด...ก็ตรงที่ว่า "เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓" อาการของจิตในขณะอยู่ในปฐมฌาณนั้นก็กำลังวิปัสสนาโดยมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์อยู่ไม่ใช่หรือครับ ดังที่ว่า "เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิทเป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้."ที่ผมทำตัวหนาไว้นั้นเป็นอาการของไตรลักษณ์ใช่มั้ยครับ
**โดยสรุปแล้วผมต้องการพูดว่า"การวิปัสสนา โดยมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย" ย่อมไม่ผิด ในแง่ของการปฏิบัติหรือสภาวะธรรม...แต่ผิดในแง่การไม่แปลพระสูตรให้ตรงกับพระบาลีดั้งเดิมครับ...พี่เช่นนั้นคิดเห็นด้วยประการใดครับ
nongkong เขียน:
จากความเห็นส่วนตัวดิฉันแล้ว ดิฉันแปลข้อความอ้างอิงของท่านเช่นนั้น ออกมาได้แบบนี้ มีนิพพานเป็นอารมณ์คือ ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้


อธิบายกว้างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจคือ เรามองเห็นไตรลักษณ์แล้ว คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วคลายกำหนัด คือสลัดมันออกแล้วน้อมจิตเข้าธรรมชาติที่สงบ คือ จิตปภัสสร ไม่ปรุงแต่ง มีแต่ความว่างอยู่ในนิโรธ

กราบนมัสการ "ลูกพระป่า"
สวัสดีครับ NongKong
ยาวจัง ทำquote ไว้แล้วต่อในช่องนะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 01:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามส่วนนี เป็นการสนทนากัน เกี่ยวกับการปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา
ว่า ต้องมีไตรลักษณ์ เป็นอารมณ์ ในการเจริญวิปัสสนา?
พระสูตรที่ยกมานั้น ไม่มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ในการเจริญวิปัสสนา
แต่ วิปัสสนาด้วย ปฏิจสมุปปันธรรม ที่พระองค์แสดงไว้
และปฏิจสมุปปันนธรรม นั้นก็มีนิพพานเป็นอารมณ์
ด้วยเหตุที่ว่า พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงนั้น เป็นไปเพื่อความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ

ในชั้นต้นแห่งการทำสมถะวิปัสสนา คือการเพ่งและพิจารณา ก็เพื่อทำลายความวิปัลลาส ทั้ง 4
คือสัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ใน
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑
ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑
ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑
ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑

ความวิปัลลาสเหล่านั้น คือความสำคัญผิด ความดำรงของจิตผิด ความเห็นความเข้าใจผิด
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปฏิจสมุปปันธรรม เป็นหลักในการเพ่งพินิจพิจารณา
จึงจะเห็นชอบตามเป็นจริง
สมกับพุทธดำรัสที่แสดง
"เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน."

การเข้าใจตามเหตุปัจจัย จิตจึงจะวางใจปลงใจลงได้อย่างสนิท โดยไม่มีข้อกังขาแต่อย่างใด
ซึ่งต่างกับ การมองเพียง ลักษณะของสิ่งนั้น
เพราะ
ขันธ์ทั้ง 5 ที่ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงด้วยเหตุปัจจัย
ขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ ก็ด้วยเหตุปัจจัย
ขันธ์ทั้ง 5 เป็นอนัตตา ก็ด้วยเหตุปัจจัย
รูปที่งาม สัญญาที่งาม ก็ไม่งามด้วยเหตุปัจจัย

วิปัสสนาจนเห็นจริงว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
จับเอาปฏิจสมุปปันธรรมเป็นแม่บทในการพิจารณา ต่อสัญญาทั้งหลาย ต่อธรรมในจิตทั้งปวง ต่อความเข้าใจเหล่านั้น

จนสามารถวางใจ ในอมตะธาตุดังกล่าว ว่า
"ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิทเป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์"

แล้วกระทำอมตะธาตุนั้นเป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพื่อถอนอนุสัยทั้งหลายทั้งปวง
แต่ถ้ามรรคปัญญา ยังไม่เฉียบคมคือยังไม่มีพละเพียงพอที่จะถอนอนุสัยทั้งหมด ก็เป็นเพียงโอปปาติกะ
แต่ถ้ามรรคปัญญา เฉียบคมมีพละเพียงพอ อินทรีย์บริบูรณ์ ก็จะบรรลุนิพพาน

ซึ่งพระอรหันต์เจ้าที่บรรลุนิพพาน ด้วยปฐมฌานนี้ ...ก็จัดเป็นพระอรหันตสุขวิปัสสโก ...
V
อาจจะมีข้อสงสัยว่าพิจารณานามรูป แล้วทำไมจึงยังเรียกว่ามีนิพพานเป็นอารมณ์
ที่เป็นดังนี้ เพราะ โลกุตรภูมิ เป็นคุณภาพจิตที่อิงกับนิพพาน ไม่อิงอุปธิทั้งหลาย
นิพพานเป็นธรรมไม่มีเหตุปัจจัย ไม่อิงเหตุปัจจัย
จึงสามารถพิจารณานามรูป เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ อันพัวพันกับนามรูปได้

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 01:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรประกอบ
Quote Tipitaka:
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔
ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่า
เป็นตน ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส
๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่
วิปลาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่
วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ๑
ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าไม่ใช่ตน ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ๑ สัญญาไม่วิปลาส
จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล ฯ
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฐิกำจัด มีจิตฟุ้งซ่าน มีความสำคัญผิด
มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง สำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์
ว่าเป็นสุข สำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน และสำคัญในสิ่งที่
ไม่งามว่างาม สัตว์คือชนเหล่านั้น ชื่อว่าประกอบแล้วในเครื่อง
ประกอบของมาร ไม่เป็นผู้เกษมจากโยคะ มีปรกติไปสู่ชาติ
และมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้กระทำแสงสว่าง บังเกิดขึ้นในโลก พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ย่อมประกาศธรรมนี้เป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบทุกข์ ชน
เหล่านั้น ผู้มีปัญญา ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
แล้ว ได้จิตของตน ได้เห็นสิ่งไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่
เที่ยง ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ ได้เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตน
ว่าไม่ใช่ตน ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความเป็นของไม่งาม
สมาทานสัมมาทิฐิ จึงล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1410&Z=1433&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 01:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่เช่นนั้น :b8:
ผมเห็นด้วยตามที่พี่เช่นนั้นกล่าวมาว่าการพิจารณาธรรมโดยอาศัยเพียงไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ไม่อาจเป็นเหตุและปัจจัยเพียงพอต่อการปล่อยวางรูปนาม...โดยเฉพาะรูปหรือกายนี้ แต่ในเบื้องต้นต้องอาศัยการพิจารณาไตรลักษณ์เสียก่อนเพื่ออบรมจิตให้มีกำลังมากขึ้นจนสามารถเข้าสู่ขั้นถัดไปคือการปล่อยวางรูปกาย...ในการที่เราจะละความเห็นว่าตัวตนนี่เรานี่เขาเพื่อปล่อยวางรูปกายที่หลงกันมานานแสนนานได้นั้น ต้องพิจารณาโดยกายานุสติปัฏฐานคือมองให้เห็นเป็นของปฏิกูล เป็นของเน่าเหม็นไม่สวยไม่งามไม่น่าพอใจชอบใจ จนเกิดญาณทัสนะตามความจริงว่ากายนี้เป็นเพียงธาตุสี่มาประชุมกัน เมื่อธาตุสี่มีกายจึงมี เมื่อธาตุสี่ไม่มีแล้วกายก็ไม่มี จึงเหลือแต่เพียงจิตดวงเดียวที่ตั้งอยู่อย่างเป็นอิสระไม่ตกอยู่ในอำนาจความหลงในกายอีกต่อไป...พระอาจารย์มั่นท่านเรียกจิตขั้นนี้ว่า ฐีติภูตัง และเมื่อปฏิบัติจนมาถึงขั้นฐีติภูตังได้แล้วก็เรียกได้ว่าจิตได้ก้าวเข้าสู่กระแสนิพพานแล้วคือบรรลุความเป็นอริยะบุคคลขั้นอนาคามี เหลือเพียงถอนอวิชชาที่ติดอยู่กับจิตออกเท่านั้นก็จะบรรลุอรหันต์
**ดังนั้นการพิจารณาไตรลักษณ์แม้จะไม่สามารถถอดถอนอัตตาในรูปกายได้ แต่ก็จำเป็นที่เราจะต้องเจริญให้มากจนจิตเกิดความชำนาญ มีกำลังสติปัญญาแหลมคมละเอียดยิ่งขึ้นครับ เพราะไตรลัษณ์ก็เปรียบเหมือนกำแพงด่านนอกสุดของอวิชชานครที่เราต้องตีให้แตกเสียก่อนเป็นอันดับแรกครับครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 01:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่เช่นนั้น :b8:
ผมเห็นด้วยตามที่พี่เช่นนั้นกล่าวมาว่าการพิจารณาธรรมโดยอาศัยเพียงไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ไม่อาจเป็นเหตุและปัจจัยเพียงพอต่อการปล่อยวางรูปนาม...โดยเฉพาะรูปหรือกายนี้ แต่ในเบื้องต้นต้องอาศัยการพิจารณาไตรลักษณ์เสียก่อนเพื่ออบรมจิตให้มีกำลังมากขึ้นจนสามารถเข้าสู่ขั้นถัดไปคือการปล่อยวางรูปกาย...ในการที่เราจะละความเห็นว่าตัวตนนี่เรานี่เขาเพื่อปล่อยวางรูปกายที่หลงกันมานานแสนนานได้นั้น ต้องพิจารณาโดยกายานุสติปัฏฐานคือมองให้เห็นเป็นของปฏิกูล เป็นของเน่าเหม็นไม่สวยไม่งามไม่น่าพอใจชอบใจ จนเกิดญาณทัสนะตามความจริงว่ากายนี้เป็นเพียงธาตุสี่มาประชุมกัน เมื่อธาตุสี่มีกายจึงมี เมื่อธาตุสี่ไม่มีแล้วกายก็ไม่มี จึงเหลือแต่เพียงจิตดวงเดียวที่ตั้งอยู่อย่างเป็นอิสระไม่ตกอยู่ในอำนาจความหลงในกายอีกต่อไป...พระอาจารย์มั่นท่านเรียกจิตขั้นนี้ว่า ฐีติภูตัง และเมื่อปฏิบัติจนมาถึงขั้นฐีติภูตังได้แล้วก็เรียกได้ว่าจิตได้ก้าวเข้าสู่กระแสนิพพานแล้วคือบรรลุความเป็นอริยะบุคคลขั้นอนาคามี เหลือเพียงถอนอวิชชาที่ติดอยู่กับจิตออกเท่านั้นก็จะบรรลุอรหันต์
**ดังนั้นการพิจารณาไตรลักษณ์แม้จะไม่สามารถถอดถอนอัตตาในรูปกายได้ แต่ก็จำเป็นที่เราจะต้องเจริญให้มากจนจิตเกิดความชำนาญ มีกำลังสติปัญญาแหลมคมละเอียดยิ่งขึ้นครับ เพราะไตรลัษณ์ก็เปรียบเหมือนกำแพงด่านนอกสุดของอวิชชานครที่เราต้องตีให้แตกเสียก่อนเป็นอันดับแรกครับครับ
ขอบคุณครับ :b8:

กราบนมัสการลูกพระป่าครับ

พระอาจารย์มั่น พิจารณาด้วยความประชุมกัน จนเกิดญาณทัศนะเห็นแจ้งความประชุมกัน
ซึ่งก็ยังคงตั้งต้นแต่ ปฏิจสมุปปันธรรม

ด้วยเหตุว่าไม่ว่าท่านลูกพระป่าจะกล่าวอย่างไรก็ตาม ก็เป็นการกล่าวอนุโลมไปตามปฏิจสมุปบันธรรมอยู่ดี เพียงแต่ติดปากว่า ไตรลักษณ์ แต่โดยเนื้อแท้แล้วไม่ได้เริ่มจากไตรลักษณ์ดังกล่าว แต่เริ่มจากการได้รู้ได้ยินธรรมอันเกี่ยวกับปฏิจสมุปปันธรรม มีปฏิจสมุปปันธรรมเป็นแม่บท ซึ่งสติได้ระลึกอยู่ตลอดเวลาในการเจริญสมถะวิปัสสนา

จึงขอกราบเรียนมาเพื่อรับไว้พิจารณาดูครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 03:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระสูตรประกอบ
Quote Tipitaka:
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔
ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่า
เป็นตน ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส
๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่
วิปลาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่
วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ๑
ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าไม่ใช่ตน ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ๑ สัญญาไม่วิปลาส
จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล ฯ
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฐิกำจัด มีจิตฟุ้งซ่าน มีความสำคัญผิด
มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง สำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์
ว่าเป็นสุข สำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน และสำคัญในสิ่งที่
ไม่งามว่างาม สัตว์คือชนเหล่านั้น ชื่อว่าประกอบแล้วในเครื่อง
ประกอบของมาร ไม่เป็นผู้เกษมจากโยคะ มีปรกติไปสู่ชาติ
และมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้กระทำแสงสว่าง บังเกิดขึ้นในโลก พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ย่อมประกาศธรรมนี้เป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบทุกข์ ชน
เหล่านั้น ผู้มีปัญญา ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
แล้ว ได้จิตของตน ได้เห็นสิ่งไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่
เที่ยง ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ ได้เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตน
ว่าไม่ใช่ตน ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความเป็นของไม่งาม
สมาทานสัมมาทิฐิ จึงล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1410&Z=1433&pagebreak=0

อยากถามครับ สมาทานสัมมาทิฐิ มีความหมายอะไรครับ
ถ้าเป็นอารมณ์เนี่ย เป็นอารมณ์นิพพานหรืออารมณ์สัมมาทิฐิครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 03:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่เช่นนั้น :b8:
ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าผมไม่ใช่พระครับพี่ ดังนั้นแค่สวัสดีทักทายกันธรรมดาก็พอครับอย่าถึงกับว่ากราบนมัสการเลยครับพี่ :b1: ผมยอมรับครับว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นอยู่ในกระแสปฏิจสมุปปันธรรม คืออาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นมา แต่ถ้าผมพูดผิดไปตรงนี้รบกวนพี่ช่วยแก้ไขให้ผมด้วยนะครับ เพราะผมไม่ค่อยแม่นพระปริยัติเท่าใด แต่ผมพอจำได้ว่าในปฐมเทศนาที่แสดงแก่ปัญจวัคคีนั้น พระพุทธเจ้าแสดงเรื่องอริยะสัจสี่ โดยจำแนกทุกข์ออกเป็นเบญจขันธ์ แล้วแสดงอนัตตลักขณะสูตรเพื่อให้ปัญจวัคคีได้เข้าใจทุกขอริยะสัจมากขึ้น แล้วจึงได้แสดงปฏิจสมุปบาทตามมาทีหลัง...และเพราะเหตุนี้ผมจึงเห็นว่าสภาวะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเป็นสิ่งที่เราพึงพิจารณาให้ชำนาญเป็นอันดับแรกก่อนครับ ไม่ได้บอกว่า ไตรลักษณ์อยู่นอกเหนือปฏิจสมุปปันธรรม...และปฏิจสมุปบาทคือสภาวะธรรมสุดท้ายที่พระอริยะบุคคลพึงเห็นด้วยญาณทัสนะโดยอนุโลมและปฏิโลมในขณะเข้าสู่นิโรธสมาบัติ...พี่เช่นนั้นเข้าใจในสิ่งที่ผมต้องการอธิบายใช่มั้ยครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 03:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระอาจารย์มั่น พิจารณาด้วยความประชุมกัน จนเกิดญาณทัศนะเห็นแจ้งความประชุมกัน
ซึ่งก็ยังคงตั้งต้นแต่ ปฏิจสมุปปันธรรม

ด้วยเหตุว่าไม่ว่าท่านลูกพระป่าจะกล่าวอย่างไรก็ตาม ก็เป็นการกล่าวอนุโลมไปตามปฏิจสมุปบันธรรมอยู่ดี เพียงแต่ติดปากว่า ไตรลักษณ์ แต่โดยเนื้อแท้แล้วไม่ได้เริ่มจากไตรลักษณ์ดังกล่าว แต่เริ่มจากการได้รู้ได้ยินธรรมอันเกี่ยวกับปฏิจสมุปปันธรรม มีปฏิจสมุปปันธรรมเป็นแม่บท ซึ่งสติได้ระลึกอยู่ตลอดเวลาในการเจริญสมถะวิปัสสนา

จึงขอกราบเรียนมาเพื่อรับไว้พิจารณาดูครับ

ธรรมที่เป็นแม่บทก็คืออริยสัจสี่ ไตรลักษณ์หรือธรรมนิยาม
เป็นส่วนหนึ่งในอริยสัจสี่
เราใช้อริยสัจจ์สี่ไปแทงตลอดปฎิจสมุบาท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
พระอาจารย์มั่น พิจารณาด้วยความประชุมกัน จนเกิดญาณทัศนะเห็นแจ้งความประชุมกัน
ซึ่งก็ยังคงตั้งต้นแต่ ปฏิจสมุปปันธรรม

ด้วยเหตุว่าไม่ว่าท่านลูกพระป่าจะกล่าวอย่างไรก็ตาม ก็เป็นการกล่าวอนุโลมไปตามปฏิจสมุปบันธรรมอยู่ดี เพียงแต่ติดปากว่า ไตรลักษณ์ แต่โดยเนื้อแท้แล้วไม่ได้เริ่มจากไตรลักษณ์ดังกล่าว แต่เริ่มจากการได้รู้ได้ยินธรรมอันเกี่ยวกับปฏิจสมุปปันธรรม มีปฏิจสมุปปันธรรมเป็นแม่บท ซึ่งสติได้ระลึกอยู่ตลอดเวลาในการเจริญสมถะวิปัสสนา

จึงขอกราบเรียนมาเพื่อรับไว้พิจารณาดูครับ


ธรรมที่เป็นแม่บทก็คืออริยสัจสี่ ไตรลักษณ์หรือธรรมนิยาม
เป็นส่วนหนึ่งในอริยสัจสี่
เราใช้อริยสัจจ์สี่ไปแทงตลอดปฎิจสมุบาท


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่เช่นนั้น :b8:
.... แต่ผมพอจำได้ว่าในปฐมเทศนาที่แสดงแก่ปัญจวัคคีนั้น พระพุทธเจ้าแสดงเรื่องอริยะสัจสี่ โดยจำแนกทุกข์ออกเป็นเบญจขันธ์ แล้วแสดงอนัตตลักขณะสูตรเพื่อให้ปัญจวัคคีได้เข้าใจทุกขอริยะสัจมากขึ้น แล้วจึงได้แสดงปฏิจสมุปบาทตามมาทีหลัง...และเพราะเหตุนี้ผมจึงเห็นว่าสภาวะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเป็นสิ่งที่เราพึงพิจารณาให้ชำนาญเป็นอันดับแรกก่อนครับ ไม่ได้บอกว่า ไตรลักษณ์อยู่นอกเหนือปฏิจสมุปปันธรรม...และปฏิจสมุปบาทคือสภาวะธรรมสุดท้ายที่พระอริยะบุคคลพึงเห็นด้วยญาณทัสนะโดยอนุโลมและปฏิโลมในขณะเข้าสู่นิโรธสมาบัติ...พี่เช่นนั้นเข้าใจในสิ่งที่ผมต้องการอธิบายใช่มั้ยครับ
ขอบคุณครับ :b8:


สวัสดีครับ ลูกพระป่า เป็นการดีแล้วครับที่ โยงเอาประวัติการแสดงธรรมมา่ร่วมสนทนา
ปัญจวัคคีย์ ยังไม่บรรลุธรรมใดเลย ยังเป็นสัตว์ปุถุชนอยู่
พระพุทธองค์แสดง อริยสัจจ์ 4 ซึ่งเป็นปฏิจสมุปปันธรรมโดยย่อ แก่ปัญจวัคคีย์ ด้วยเหตุว่า ปัญจวัคคีย์ยังเป็นผู้สามารถเสวยเวทนา
พระองค์ทรงจำแนก ทุกข์ สมุทัย ซึ่งเป็นปฏิจสมุปปบาทฝ่ายอนุโลมโดยย่อ
และ จำแนก นิโรธ มรรค ซึ่งเป็นปฏิจสมุปบาทฝ่ายปฏิโลมโดยย่อ
ซึ่งขณะที่พระองค์แสดงธรรมอยู่
ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นปฏิจสมุปบาท ซึ่งมีการบันทึกลงในพระธรรมวินัยนี้ ว่า
Quote Tipitaka:
"ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา."


พระโกณทัญญญะ ไม่ได้เห็นไตรลักษณ์ การบรรลุธรรมครั้งแรกของท่านโกณฑัญญะ ไม่ได้พิจารณาไตรลักษณ์ แต่บรรลุด้วยการเห็นอริยสัจจ์ ซึ่งก็คือปฏิจสมุปบาทโดยย่อ

ด้วยอาศัยความเห็นความได้ฟังอริยสัจจ์ หรือปฏิจจสมุปบาทโดยย่อ พระปัญจวัคคีย์ จึงสามารถพิจารณา รูป นาม ตามเป็นจริงถึงอนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา ได้....จนบรรลุธรรมในที่สุด

ดังนั้นการเข้าสู่กระแสแห่งธรรมวินัยนี้ จึงเริ่มต้น และสิ้นสุดลง ด้วยอริยะสัจจ์ก็ตาม หรือปฏิจสมุปบาทก็ตาม จึงเป็นธรรมอันเป็นประการเดียวกัน เพื่อบรรลุนิพพาน บรรลุอมตะธรรมอันยิ่งอันไม่เกี่ยวข้องกับปฏิจสมุปปันธรรม อีกต่อไป

http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=355&Z=445&pagebreak=0

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=4571&Z=4686&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 07 เม.ย. 2012, 13:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรแสดงเสริมเพื่อทำความเข้าใจ แก่การแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์
ที่ บอกว่าปัญญจวัคคีย์ ยังเป็นปุถุชนผู้สามารถเสวยเวทนา

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=4571&Z=4686&pagebreak=0

Quote Tipitaka:
...ก็คำว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่
ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไร
จึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์
เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เราบัญญัติ
ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข-
*อริยสัจ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ เพราะอวิชชาเป็น
ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่
เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
*อริยสัจ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรค
มีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยง
ชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยถ้อยคำ
ที่เราได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่น
ข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น
เราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อยากถามครับ สมาทานสัมมาทิฐิ มีความหมายอะไรครับ
ถ้าเป็นอารมณ์เนี่ย เป็นอารมณ์นิพพานหรืออารมณ์สัมมาทิฐิครับ


การสมาทาน สัมมาทิฏฐิ คือการทำความเห็น ความเข้าใจต่ออริยสัจจธรรม ครับโฮฮับ
และสัมมาทิฏฐิ ในอริยมรรคนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์ ครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อยากถามครับ สมาทานสัมมาทิฐิ มีความหมายอะไรครับ
ถ้าเป็นอารมณ์เนี่ย เป็นอารมณ์นิพพานหรืออารมณ์สัมมาทิฐิครับ


การสมาทาน สัมมาทิฏฐิ คือการทำความเห็น ความเข้าใจต่ออริยสัจจธรรม ครับโฮฮับ
และสัมมาทิฏฐิ ในอริยมรรคนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์ ครับ

เจริญธรรม

แปลความหมายเหมือนจินตนาการเอานะครับ
สมาทาน ความหมายมันก็ตรงตัวอยู่แล้ว "การรับเอามา"

สมาทานสัมมาทิฐิ ก็คือการเอาสัมมาทิฐิเป็นที่ตั้ง
และความหมายเป็นที่ตั้งถ้าเป็นสภาวะก็คืออารมณ์สัมมาทิฐิ


การให้สัมมาทิฐิเป็นอารมณ์ก็เพื่อ เอาอารมณ์นี้ไปพิจารณาธรรมต่างๆ
ตามความเป็นจริง ผลที่ได้จึงจะเป็นอุเบกขา ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยของอริยมรรคอีกเจ็ดตัว

การจะเกิดอารมณ์นิพพานได้นั้น อริยมรรคทั้งแปด
ต้องมาประชุมพร้อมกันหรือที่เรียกว่ามรรคสมังคี จนเกิดสัมมาญาณ
จนเป็นปัญญาวิมุติ นี่แหล่ะอารมณ์นิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 20:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่เช่นนั้น :b8:
จากที่เราได้สนทนาธรรมกันตรงนี้ 2-3 ครั้ง ผมคิดว่าพอจะเข้าใจธรรมที่พี่ต้องการจะสื่อให้ผมทราบบ้างแล้ว...แต่ผมก็อาจจะเข้าใจไม่ถูกก็เป็นได้อยู่ ดังนั้นถ้าผมเข้าใจสิ่งที่พี่ต้องการจะบอกผมผิดไปโปรดแนะนำเพิ่มเติมด้วยนะครับ...
**โดยสรุปที่ผมเข้าใจตอนนี้ก็คือ 1. สิ่งทั้งหลายทั้งปวงรวมถึงธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นปฏิจสมุปปันธรรมคืออยู่ในกระแสธรรมอันนี้ ยกเว้นเพียงแต่วิมุตติธรรมเท่านั้น 2. การที่จะเข้าถึงธรรมโดยการปล่อยวางรูปนามได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องเกิดญาณทัสนะเห็นปฏิจสมุปบาทเป็นที่สุด...ที่ผมเข้าใจสองข้อนี้ถูกตรงตามที่พี่เช่นนั้นต้องการจะบอกผมหรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่หรือยังขาดอะไรอยู่รบกวนพี่กรุณาแนะนำเพิ่มด้วยครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่เช่นนั้น :b8:
จากที่เราได้สนทนาธรรมกันตรงนี้ 2-3 ครั้ง ผมคิดว่าพอจะเข้าใจธรรมที่พี่ต้องการจะสื่อให้ผมทราบบ้างแล้ว...แต่ผมก็อาจจะเข้าใจไม่ถูกก็เป็นได้อยู่ ดังนั้นถ้าผมเข้าใจสิ่งที่พี่ต้องการจะบอกผมผิดไปโปรดแนะนำเพิ่มเติมด้วยนะครับ...
**โดยสรุปที่ผมเข้าใจตอนนี้ก็คือ 1. สิ่งทั้งหลายทั้งปวงรวมถึงธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นปฏิจสมุปปันธรรมคืออยู่ในกระแสธรรมอันนี้ ยกเว้นเพียงแต่วิมุตติธรรมเท่านั้น 2. การที่จะเข้าถึงธรรมโดยการปล่อยวางรูปนามได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องเกิดญาณทัสนะเห็นปฏิจสมุปบาทเป็นที่สุด...ที่ผมเข้าใจสองข้อนี้ถูกตรงตามที่พี่เช่นนั้นต้องการจะบอกผมหรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่หรือยังขาดอะไรอยู่รบกวนพี่กรุณาแนะนำเพิ่มด้วยครับ
ขอบคุณครับ :b8:


:b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร