วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 12:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อยากถามครับ สมาทานสัมมาทิฐิ มีความหมายอะไรครับ
ถ้าเป็นอารมณ์เนี่ย เป็นอารมณ์นิพพานหรืออารมณ์สัมมาทิฐิครับ


การสมาทาน สัมมาทิฏฐิ คือการทำความเห็น ความเข้าใจต่ออริยสัจจธรรม ครับโฮฮับ
และสัมมาทิฏฐิ ในอริยมรรคนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์ ครับ

เจริญธรรม

แปลความหมายเหมือนจินตนาการเอานะครับ
สมาทาน ความหมายมันก็ตรงตัวอยู่แล้ว "การรับเอามา"

สมาทานสัมมาทิฐิ ก็คือการเอาสัมมาทิฐิเป็นที่ตั้ง
และความหมายเป็นที่ตั้งถ้าเป็นสภาวะก็คืออารมณ์สัมมาทิฐิ


การให้สัมมาทิฐิเป็นอารมณ์ก็เพื่อ เอาอารมณ์นี้ไปพิจารณาธรรมต่างๆ
ตามความเป็นจริง ผลที่ได้จึงจะเป็นอุเบกขา ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยของอริยมรรคอีกเจ็ดตัว

การจะเกิดอารมณ์นิพพานได้นั้น อริยมรรคทั้งแปด
ต้องมาประชุมพร้อมกันหรือที่เรียกว่ามรรคสมังคี จนเกิดสัมมาญาณ
จนเป็นปัญญาวิมุติ นี่แหล่ะอารมณ์นิพพาน

ครับโฮฮับ เหมือนจินตนาการ คือการรับเอามา
การเจริญจิตตภาวนา ก็เหมือนการจินตนาการ เป็นจินตมยปัญญา เพื่อหยั่งลงพระสัทธธรรม
การรับเอามาปฏิบัติ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิดังกล่าว จึงจำต้องอาศัย และกระทำในใจซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์
ดังพุทธดำรัสตรัสสอนไว้ ครับ โฮฮับ

Quote Tipitaka:
[๑๘๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึง
เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯ


สภาวะอันเป็นสัมมาทิฏฐิ มีนิพพานเป็นอารมณ์

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 04:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อยากถามครับ สมาทานสัมมาทิฐิ มีความหมายอะไรครับ
ถ้าเป็นอารมณ์เนี่ย เป็นอารมณ์นิพพานหรืออารมณ์สัมมาทิฐิครับ


การสมาทาน สัมมาทิฏฐิ คือการทำความเห็น ความเข้าใจต่ออริยสัจจธรรม ครับโฮฮับ
และสัมมาทิฏฐิ ในอริยมรรคนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์ ครับ

เจริญธรรม

แปลความหมายเหมือนจินตนาการเอานะครับ
สมาทาน ความหมายมันก็ตรงตัวอยู่แล้ว "การรับเอามา"

สมาทานสัมมาทิฐิ ก็คือการเอาสัมมาทิฐิเป็นที่ตั้ง
และความหมายเป็นที่ตั้งถ้าเป็นสภาวะก็คืออารมณ์สัมมาทิฐิ


การให้สัมมาทิฐิเป็นอารมณ์ก็เพื่อ เอาอารมณ์นี้ไปพิจารณาธรรมต่างๆ
ตามความเป็นจริง ผลที่ได้จึงจะเป็นอุเบกขา ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยของอริยมรรคอีกเจ็ดตัว

การจะเกิดอารมณ์นิพพานได้นั้น อริยมรรคทั้งแปด
ต้องมาประชุมพร้อมกันหรือที่เรียกว่ามรรคสมังคี จนเกิดสัมมาญาณ
จนเป็นปัญญาวิมุติ นี่แหล่ะอารมณ์นิพพาน

ครับโฮฮับ เหมือนจินตนาการ คือการรับเอามา
การเจริญจิตตภาวนา ก็เหมือนการจินตนาการ เป็นจินตมยปัญญา เพื่อหยั่งลงพระสัทธธรรม
การรับเอามาปฏิบัติ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิดังกล่าว จึงจำต้องอาศัย และกระทำในใจซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์
ดังพุทธดำรัสตรัสสอนไว้ ครับ โฮฮับ

Quote Tipitaka:
[๑๘๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึง
เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯ


สภาวะอันเป็นสัมมาทิฏฐิ มีนิพพานเป็นอารมณ์

เจริญธรรม

สภาวะอันเป็นมรรสมังคี จึงจะมีนิพพานเป็นอารมณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
[
พระอาจารย์มั่น พิจารณาด้วยความประชุมกัน จนเกิดญาณทัศนะเห็นแจ้งความประชุมกัน
ซึ่งก็ยังคงตั้งต้นแต่ ปฏิจสมุปปันธรรม

ด้วยเหตุว่าไม่ว่าท่านลูกพระป่าจะกล่าวอย่างไรก็ตาม ก็เป็นการกล่าวอนุโลมไปตามปฏิจสมุปบันธรรมอยู่ดี เพียงแต่ติดปากว่า ไตรลักษณ์ แต่โดยเนื้อแท้แล้วไม่ได้เริ่มจากไตรลักษณ์ดังกล่าว แต่เริ่มจากการได้รู้ได้ยินธรรมอันเกี่ยวกับปฏิจสมุปปันธรรม มีปฏิจสมุปปันธรรมเป็นแม่บท ซึ่งสติได้ระลึกอยู่ตลอดเวลาในการเจริญสมถะวิปัสสนา

จึงขอกราบเรียนมาเพื่อรับไว้พิจารณาดูครับ

คุณเช่นนั้นสับสนอยู๋นะครับ จะบอกให้ครับ ถ้าคุณไม่รู้ อริยสัจจ์สี่ก่อน
คุณก็ไม่มีทางเข้าใจ กระบนการปฏิจหรอกครับ

เท่าที่ฟังคุณพูดมา มันคนละเรื่อง เข้าใจปฏิจไปอีกแบบ
ได้ยินได้ฟังมาอะไรของคุณครับ มิน่าเล่าความเห็นที่แสดงมา
มันถึงไม่ได้เรื่องและคนละเรื่องเลยครับ

การจะเข้าใจกระบวนการปฏิจสมุบาทได้ คุณจะต้องเข้าใจ อริยสัจจ์สี่ให้ได้เสียก่อน
เราไม่มีทางเข้าใจวงปฏิจสมุบาทได้เลย ก็เป็นเพราะมันมีตัวอวิชาอยู่ครับ

และไอ้ตัวอวิชามันก็คือความไม่รู้ในอริยสัจจ์สี่

คุณเช่นนั้นครับคุณคุยจ้อแบบไร้ดิสเบรคแบบนี้
เอาธรรมของคุณพระป่าไปพิจารณาก็ดีนะครับที่ว่า
"พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๑๘๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึง
เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯ


โฮฮับ
พระพุทธองค์แสดงธรรมมีลำดับก่อนหลัง
ลำดับที่มาก่อนคือ
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

คืออาศัยนิพพาน มีนิพพานเป็นอารมณ์

ลำดับต่อไป
เมื่อเจริญ......กระทำทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คุณเช่นนั้นสับสนอยู๋นะครับ จะบอกให้ครับ ถ้าคุณไม่รู้ อริยสัจจ์สี่ก่อนคุณก็ไม่มีทางเข้าใจ กระบนการปฏิจหรอกครับ


Quote Tipitaka:
...ก็คำว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่
ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไร
จึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์
เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เราบัญญัติ
ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข-
*อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ เพราะอวิชชาเป็น
ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่
เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
*อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรค
มีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยง
ชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยถ้อยคำ
ที่เราได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่น
ข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น
เราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ฯ

อริยสัจจ์ 4 และปฏิจสมุปปันธรรม คือธรรมเดียวกัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
[๑๘๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึง
เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯ


โฮฮับ
พระพุทธองค์แสดงธรรมมีลำดับก่อนหลัง
ลำดับที่มาก่อนคือ
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

คืออาศัยนิพพาน มีนิพพานเป็นอารมณ์

ลำดับต่อไป
เมื่อเจริญ......กระทำทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
เจริญธรรม

พูดมาตั้งนานคุณก็ยังไม่เข้าใจหยิบเอาคำศัพย์มาเล่น มาตีสำนวนอยู่ได้นะครับ
คุยธรรมพยายามเอาคำศัพย์ออกไปบ้างก็ได้ พยายามให้เหลือแต่ปรมัตถ์
จะได้เข้าใจไปในทางเดียวกัน ไม่รู้จะพูดอย่างไรคุณถึงน้อมใจคุณมาหาปรมัตถ์บ้าง


ไหนลองอธิบายคำว่าน้อมที่เป็นปรมัตถ์รรมมาให้ฟังหน่อย
จะได้รู้ว่าคุณเข้าใจว่าอย่างไร ขอร้องล่ะอธิบายมาบ้างถามไปหลายอย่างแล้วก็เงียบ

คุณเล่นอ้างพระไตรปิฎกแต่ไม่อธิบายความว่าคุณเข้าใจในสิ่งที่อ้างว่าอย่างไร
แบบนี้คนอื่นจะเข้าใจความเห็นคุณหรือครับ ความเห็นคุณเหมือนกำปั่นทุบดินนะครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
คุณเช่นนั้นสับสนอยู๋นะครับ จะบอกให้ครับ ถ้าคุณไม่รู้ อริยสัจจ์สี่ก่อนคุณก็ไม่มีทางเข้าใจ กระบนการปฏิจหรอกครับ


Quote Tipitaka:
...ก็คำว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่
ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไร
จึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์
เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เราบัญญัติ
ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข-
*อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ เพราะอวิชชาเป็น
ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่
เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
*อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรค
มีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยง
ชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยถ้อยคำ
ที่เราได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่น
ข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น
เราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ฯ

อริยสัจจ์ 4 และปฏิจสมุปปันธรรม คือธรรมเดียวกัน

มันมีตรงไหนที่พุทธพจน์บอกว่า อริยสัจจ์สี่และปฏิจฯเป็นธรรมเดียวกัน
คุณเข้าใจผิดไปเอง นี่แสดงให้ดูว่าการพิจารณาธรรมของคุณใช่ได้หรือไม่

ธรรมที่คุณโพสนี่น่ะเป็นการอธิบายความของการดับทุกข์
นั้นก็คือการเอาอริยสัจจ์สี่มาแทงตลอดปฏิจฯ

ปฏิจฯเป็นสิ่งที่พระพุทธบอกให้รู้ถึงกระบวนการที่ทำให้เกิดทุกข์เป็นวัฏฏสงสาร
แต่อริยสัจจ์สี่เป็นกระบวนการแห่งการดับทุกข์ดับวัฏฏสงสาร
มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ในวงปฏิจฯเปรียบเหมือนอวิชา
แต่อริยสัจจ์สี่เปรียบเหมือนวิชชา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาครับโยมพี่เช่นนั้นสาธุ ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เราต้องสวดมนต์ธัมมจักรๆกันบ่อยๆนะครับ onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ซึ่งขณะที่พระองค์แสดงธรรมอยู่
ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นปฏิจสมุปบาท ซึ่งมีการบันทึกลงในพระธรรมวินัยนี้ ว่า
Quote Tipitaka:
"ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.
"

ท่านโกณฑัญญะ ไปเห็นปฏิจฯที่ไหนกัน ในพระสูตรที่ตัวเองยกมา
ก็บอกว่า"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา
นี่แสดงว่าเจ้าตัวเองไม่รู้จัก
อาการหรือเหตุปัจจัยแห่งไตรลักษณ์
เช่นนั้น เขียน:
พระโกณทัญญญะ ไม่ได้เห็นไตรลักษณ์ การบรรลุธรรมครั้งแรกของท่านโกณฑัญญะ ไม่ได้พิจารณาไตรลักษณ์ แต่บรรลุด้วยการเห็นอริยสัจจ์ ซึ่งก็คือปฏิจสมุปบาทโดยย่อ

ด้วยอาศัยความเห็นความได้ฟังอริยสัจจ์ หรือปฏิจจสมุปบาทโดยย่อ พระปัญจวัคคีย์ จึงสามารถพิจารณา รูป นาม ตามเป็นจริงถึงอนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา ได้....จนบรรลุธรรมในที่สุด

อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าจะไม่รู้จัก อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา
อยากถามครับ สามคำที่ว่าเขาเรียกอะไร ถ้าไม่เรียก ธรรมนิยามหรือไตรลักษณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อยากถามครับ สมาทานสัมมาทิฐิ มีความหมายอะไรครับ
ถ้าเป็นอารมณ์เนี่ย เป็นอารมณ์นิพพานหรืออารมณ์สัมมาทิฐิครับ


การสมาทาน สัมมาทิฏฐิ คือการทำความเห็น ความเข้าใจต่ออริยสัจจธรรม ครับโฮฮับ
และสัมมาทิฏฐิ ในอริยมรรคนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์ ครับ

เจริญธรรม

เจริญพรโยมพี่เช่นนั้นหามาฝาก ^^

บทว่า สตฺตา คือ บุคคลทั้งหลาย.
บทว่า พุทฺธา คือ ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔.
บทว่า อิมํ ธมฺมํ คือ สัจจธรรม ๔.
บทว่า สจิตฺตํ ปจฺจลทฺธา ได้แก่ กลับได้ความคิดของตนเอง.
บทว่า อนิจฺจโต ทุกฺขุ ํ ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงจริง.
บทว่า อสุภตทฺทสํ ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่งามจริง.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา ได้แก่ ผู้ยึดถือสัมมาทัสสนะ.
บทว่า สพฺพํ ทุกฺขํ อุปจฺจคุ ํ ความว่า ล่วงพ้นวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้นได้.
---------------------------------------------------------
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์
โรหิตัสสวรรคที่ ๕ ๙. วิปัลลาสสูตร


@@@@@


หลับอยุ่ เขียน:
เราต้องสวดมนต์ธัมมจักรๆกันบ่อยๆนะครับ onion

อนุโมทนาสาธุ ^^

คำว่า มีวนรอบ ๓ คือ วน ๓ รอบด้วยอำนาจวนรอบ ๓ กล่าวคือสัจญาณ กิจญาณและกตญาณ. ก็ในวนรอบ ๓ นี้ ญาณตามความเป็นจริงในสัจจะ ๔ อย่างนี้ คือ นี้ทุกขอริยสัจจะ นี้ทุกขสมุทัย ชื่อว่าสัจญาณ. *
ญาณที่เป็นเครื่องรู้กิจที่ควรทำอย่างนี้ว่า ควรกำหนดรู้ ควรละในสัจจะเหล่านั้นเทียว ชื่อว่ากิจญาณ.
ญาณเป็นเครื่องรู้ภาวะแห่งกิจนั้นที่ทำแล้วอย่างนี้ว่า กำหนดรู้แล้ว ละได้แล้ว ดังนี้ ชื่อว่ากตญาณ.
คำว่า มีอาการ ๑๒ ความว่า มีอาการ ๑๒ ด้วยอำนาจอาการสัจจะละ ๓ นั้น.
-------------------------------------------------------------------
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัจจสังยุตต์ ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒
๑. ตถาคตสูตรที่ ๑ [ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร]


* สัจจะละ ๓ = สัจญาณ ๑ กิจญาณ ๑ กตญาณ ๑

+

ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
[[[(ความเกิดทุกข์)ทุกขสมุทัยอริยสัจ]]]
[[[ทุกขนิโรธอริยสัจ(ความดับทุกข์)]]]
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
V
V
V
V


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
คุณเช่นนั้นสับสนอยู๋นะครับ จะบอกให้ครับ ถ้าคุณไม่รู้ อริยสัจจ์สี่ก่อนคุณก็ไม่มีทางเข้าใจ กระบนการปฏิจหรอกครับ


Quote Tipitaka:
...ก็คำว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่
ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไร
จึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์
เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เราบัญญัติ
ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข-
*อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ เพราะอวิชชาเป็น
ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่
เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
*อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรค
มีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยง
ชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยถ้อยคำ
ที่เราได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่น
ข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น
เราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ฯ

อริยสัจจ์ 4 และปฏิจสมุปปันธรรม คือธรรมเดียวกัน

อริยสัจจ์ 4 (ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ - The Four Noble Truths)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=204

ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย — specific conditionality) ** ธรรมนิยาม (ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; natural law) และ ปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน — mode of conditionality; structure of conditions) เฉพาะชื่อหลังนี้เป็นคำที่นิยมใช้ในคัมภีร์อภิธรรม และคัมภีร์รุ่นอรรถกถา.
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=340

** ธรรมนิยาม 3 (กำหนดแห่งธรรมดา, ความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; natural law)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=86

@@@@@


หลับอยุ่ เขียน:
เราต้องสวดมนต์ธัมมจักรๆกันบ่อยๆนะครับ onion


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา(พระวินัยปิฏก)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v ... =355&Z=445

ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒ ตถาคตสูตรที่ ๑ (พระสุตตันตะปิฏก)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 37&Z=10104

คำว่า มีอาการ ๑๒ ความว่า มีอาการ ๑๒ ด้วยอำนาจอาการสัจจะละ ๓ นั้น.
คำว่า ญาณทัสสนะ คือ การเห็นกล่าวคือญาณที่เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจวนรอบ ๓ อย่าง อาการ ๑๒ อย่างเหล่านี้.
คำว่า ดวงตาเห็นธรรม ได้แก่ มรรค ๓ และผล ๓ ในที่อื่น ชื่อว่าเป็นธรรมจักษุ. ในบทนี้ ได้แก่ ปฐมมรรคทีเดียว.
คำว่า แสงสว่าง ได้แก่ แสงสว่าง คือพระสัพพัญญุตญาณ.
จริงอยู่ แสงสว่าง คือพระสัพพัญญุตญาณนั้นไพโรจน์ล่วงเทวานุภาพของพวกเทพ.
คำว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ความว่า เสียงกึกก้องอย่างโอฬารแห่งพระอุทานนี้แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุแล้วตั้งอยู่.
----------------------------------------------------------------------
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัจจสังยุตต์ ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒
๑. ตถาคตสูตรที่ ๑ [ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร]

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบขอบพระคุณครับ ท่าน พุทธฎีกา

หลับอยู่ สบายดีนะครับ ระลึกถึงอยู่ครับ :b12:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ซึ่งขณะที่พระองค์แสดงธรรมอยู่
ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นปฏิจสมุปบาท ซึ่งมีการบันทึกลงในพระธรรมวินัยนี้ ว่า
Quote Tipitaka:
"ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา."


ท่านโกณฑัญญะ ไปเห็นปฏิจฯที่ไหนกัน ในพระสูตรที่ตัวเองยกมา
ก็บอกว่า"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา นี่แสดงว่าเจ้าตัวเองไม่รู้จัก
อาการหรือเหตุปัจจัยแห่งไตรลักษณ์


"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา"
ทุกข์ มีความเกิด เนื่องจากตัณหาเป็นสมุทัย....สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ทุกข์ คือปัจจยุบัน มีตัณหาเป็นปัจจัย

"สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา"
ความดับแห่งสมุทัย คือตัณหา
ทุกข์ และตัณหา ก็ดับทั้งหมด...สิ่งนั้นทั้งมวล
นิโรธ
เป็นความเห็นตรงต่ออริยสัจจธรรม....

ปฐมมรรคจึงเกิดขณะนั้นเป็นการประชุมองค์มรรค 8 ครั้งแรกของท่านโกณทัญญะ

เห็นปฏิจสมุปบาท คือการเห็น เหตุเห็นผล เห็นปัจจัยเห็นปัจจยุบัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นเกิดดับ โดยไร้ความเห็นตรงต่อ อริยสัจจธรรม
เป็นความเห็นที่ไม่อาจพ้นจากความทุกข์

เหมือนคนเห็นใบไม้ไหว เห็นฟองน้ำ เห็นเงา

เหมือนสุนัขเห็นใบตองแห้ง ก็นึกว่าเห็นอะไรสักอย่างหนึ่งถือเอาเป็นความจริง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าจะไม่รู้จัก อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา
อยากถามครับ สามคำที่ว่าเขาเรียกอะไร ถ้าไม่เรียก ธรรมนิยามหรือไตรลักษณ์


เป็นสัญญา คืออนิจจสัญญา ความจำได้ว่ามีอาการเกิดดับ
เป็นสัญญา คือทุกขสัญญา ความจำได้ว่ามีอาการแปรปรวน
เป็นสัญญา คืออนัตตสัญญา ความจำได้ว่าไม่อาจบังคับบัญชา ให้เป็นไป ไม่ใช่อัตตา

พุทธศาสนา ใช้ สัญญาใด สัญญาหนึ่งในบรรดา สัญญา3 นี้
หรือใช้สัญญาสองประการควบกันในสัญญา 3 นี้
ก็สามารถบรรลุธรรมได้ เช่นกัน

การใช้อนิจจสัญญา ในการเจริญสมาธิ คือ อนิมิตสมาธิ
การใช้ทุกขสัญญา ในการเจริญสมาธิ คือ อัปณิหิตสมาธิ
การใช้อนัตตสัญญา ในการเจริญสมาธิ คือ สุญญตสมาธิ
และสมาธิ สามประการนี้ ก็รับรองอยู่ในพระธรรมวินัยว่าเป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา

ไม่มีการใช้ไตรลักษณ์ นอกพุทธพจน์ ในการเจริญสมถวิปัสสนา

อีกประการ หนึ่ง "ธรรมนิยาม" ใช้ในปัจจัยสูตร อันเนื่องกับ "บัญญัติ ว่า ปฏิจจสมุปบาท"
ไม่มีไตรลักษณ์ ในพุทธศาสนา

Quote Tipitaka:
[๒๓๖] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ๑. ฌาน ๒. วิโมกข์ ๓. สมาธิ
๔. สมาบัติ ๕. ญาณทัสสนะ ๖. มัคคภาวนา ๗. การทำให้แจ้งซึ่งผล ๘. การละ
กิเลส ๙. ความเปิดจิต ๑๐. ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล การทำให้แจ้งซึ่ง
สกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิตจากโทสะ ความเปิด
จิตจากโมหะ
ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
ด้วยปฐมฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
ด้วยตติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร