วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 01:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ
ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.



โฮฮับ เขียน:
พุทธพจน์ที่คุณอ้างนั้นน่ะ เป็นการดับไปของสังโยชน์สิบแล้ว
เนี่ยไงถึงบอกพวกสำเร็จอรหันต์ด้วยการอ่าน


พุทธพจน์ แสดงทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ คือ ตัณหา

พูดไม่คิดเลยนะครับ ทุกขอริยสัจจ์คือ ตัณหา แล้วตัณหามันมาได้ไงครับ
ถ้าไม่มีเวทนา ผัสสะ รูปนาม

ถ้าเอาเฉพาะวงปฏิจสมุบาท ทุกขอริยสัจจ์คืออวิชาครับ

คุณเช่นนั้น พุทธพจน์ที่คุณอ้างอิงเอาข้อความเต็มๆมาให้อ่านหน่อย
แล้วจะอธิบายให้ฟัง เลิกเสียที่เถอะประเภทตัอข้อความที่ละท่อนน่ะ


โพสต์ เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
พูดไม่คิดเลยนะครับ ทุกขอริยสัจจ์คือ ตัณหา แล้วตัณหามันมาได้ไงครับ
ถ้าไม่มีเวทนา ผัสสะ รูปนาม


:b5: :b5: :b5:

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา


ใครพูดไม่คิดครับ โฮฮับ :b10: :b10:

http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=355&Z=445&pagebreak=0

เปิดเอาเอง โฮฮับ
โฮฮับ เขียน:
ถ้าเอาเฉพาะวงปฏิจสมุบาท ทุกขอริยสัจจ์คืออวิชาครับ


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข-
*อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ เพราะอวิชชาเป็น
ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 09 เม.ย. 2012, 18:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
บิดเบือนที่ไหน ไตรลักษณ์ก็แปลตรงตัวอยู่แล้วว่า
ลักษณะสามอย่าง ในธรรมนิยามก็มี ลักษณะสามอย่างนี้
คูณนี่แปลกคน งอแงเป็นเด็กไปได้ ไม่รู้ คนอื่นเขารู้ก็ทำเฉยๆซะก็หมดเรื่อง
จะตีโพยตีพายให้อายน้องๆในนี้ทำไม[/size]


มีคำกล่าวคำแสดง ในพระสูตรไหน ในพระอภิธรรมไหน ที่เป็นพุทธพจน์ ว่า
"ธรรมนิยาม มีลักษณะสามอย่างนี้"

เอามาให้ดูซ้ำ

[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณ
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา.
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อม
คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.


เห็นแล้วครับ ไม่มีการการระบุ ว่า เป็นธรรมนิยาม ตรงไหนเลย

ตรงไหนเป็นพุทธพจน์ครับที่ ระบุว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีในธรรมนิยาม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๖๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ พระตถาคต
ทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ
ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่ง
ธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว ย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี
ชราและมรณะ ... เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ... เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมี
ภพ ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ...
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ...
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม
รูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี
สังขาร พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น
คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้
ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขาร ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น
มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

ธา-ตุ ...อันนั้น คือ ธัมมนิยาม.....
เป็นสัจจะ เป็นความจริง ไม่แปรปรวนเปลี่ยนแปลง ...
ไม่ขึ้นกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...
พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นก็ยังดำรงอยู่..

โฮฮับ พระพุทธองค์สอนอย่างนี้

พระอรรถาจารย์ แสดงความขยายคล้อยตามพุทธพจน์ดังนี้
บทว่า ฐิตาว สา ธาตุ ได้แก่ สภาวะแห่งปัจจัยนั้นตั้งอยู่แล้ว คือในกาลบางคราว ชาติจะไม่เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ก็หามิได้. พระองค์ตรัสปัจจัยนั้นแล ด้วยบททั้งสองแม้เหล่านี้ คือ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา เพราะธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่เพราะปัจจัย เพราะเหตุนั้น ปัจจัยนั้นเอง ท่านเรียกว่า ธมฺมฏฺฐิตตา. ปัจจัยย่อมกำหนดธรรม เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ธมฺมนิยามตา.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 15:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณพี่ๆทั้งสองท่านที่ร่วมสนทนากัน ประโยชน์เลยได้แก่ผู้ที่เข้ามาอ่านเต็มๆครับ...ขออนุโมทนาครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
ขอบพระคุณพี่ๆทั้งสองท่านที่ร่วมสนทนากัน ประโยชน์เลยได้แก่ผู้ที่เข้ามาอ่านเต็มๆครับ...ขออนุโมทนาครับ :b8:


ขอบคุณมากครับ :b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 02:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ
ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.



โฮฮับ เขียน:
พุทธพจน์ที่คุณอ้างนั้นน่ะ เป็นการดับไปของสังโยชน์สิบแล้ว
เนี่ยไงถึงบอกพวกสำเร็จอรหันต์ด้วยการอ่าน


พุทธพจน์ แสดงทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ คือ ตัณหา

ตัณหาในปฏิจสมุบาท ถ้ากระบวนการขันธ์ห้า ไม่เข้าไปปรุงแต่งตัณหาก็ไม่ทำให้ทุกข์

ถ้ากล่าวแต่ปฏิจสมุบาท ทุกขสมุทัยก็คือภพ ชาติ ตามหลักอิทัปปัจถตา
และว่าด้วยความหมายของทุกข์ ในกระบวนการปฏิจสมุบาทก็คือ การเกิดวัฏฏสงสาร

พุทธพจน์ที่คุณเช่นนั้นเอามาอ้าง มันมีกระบวนปฏิจฯกับกระบวนการขันธ์ห้า
ทำงานร่วมกันอยู่ ดังนั้นตัณหาจึงเป็น ทุกขสมุทัยของกระบวนการขันธ์ห้า
ไม่ใช่ทุกขสมุทัยของปฏิจฯ ทุกขสมุทัยของปฏิจฯคือ อวิชา


โพสต์ เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณ
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา.
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อม
คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เห็นแล้วครับ ไม่มีการการระบุ ว่า เป็นธรรมนิยาม ตรงไหนเลย

ตรงไหนเป็นพุทธพจน์ครับที่ ระบุว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีในธรรมนิยาม



ถามครับ คุณเข้าใจ บัญญัติคำว่า "ธรรมนิยาม"แค่ไหนครับ
เอาเป็นว่าคุณแปลคำ"ธรรมนิยาม"ว่าอะไร

เพื่อให้ปลอดโปร่งโล่งสมองคุณ คุณไปเอาพุทธพจน์ที่คุณเข้าใจว่าเป็นธรรมนิยามมา
แล้วผมจะชี้ให้ดูว่า นิยามของคำอยู่ตรงไหน จะได้เลิกคุยเรื่องนี้ซะที

และอยากขอร้อง ให้คนอื่นใช้แต่พุทธพจน์คุณก็ควรทำตามด้วย
ไม่ใช้ห้ามคนอื่นแต่ตัวเองทำ ถ้าคุณทำได้คนอื่นก็ทำได้ อย่างเช่น
ผมอ้าง ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อ ปยุต บ้างล่ะ


[86] ธรรมนิยาม 3 (กำหนดแห่งธรรมดา, ความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; natural law)
1. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง — all conditioned states are impermanent)
2. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ — all conditioned states are subject to oppression, conflict or suffering)
3. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (ธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน — all states are not-self or soulless)

หลักความจริงนี้ แสดงให้เห็นลักษณะ 3 อย่าง ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ของสภาวธรรมทั้งหลาย (ดู [76] ไตรลักษณ์) พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้งสามนี้ ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนย.
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=86

อย่าลืมแปลความหมายของคำว่า"นิยาม"มาให้ฟังล่ะ


โพสต์ เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 03:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
[ธา-ตุ ...อันนั้น คือ ธัมมนิยาม.....
เป็นสัจจะ เป็นความจริง ไม่แปรปรวนเปลี่ยนแปลง ...
ไม่ขึ้นกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...
พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นก็ยังดำรงอยู่..

โฮฮับ พระพุทธองค์สอนอย่างนี้

มันมีด้วยหรือธรรมบทนี้น่ะ ไปตัดทอนเนื้อหาเขาออกไปหรือเปล่า

ถามหน่อยเข้าใจคำว่า"ธาตุ"กับ"สังขาร"มั้ย
แล้วไอ้ธาตุที่คุณว่าเนี่ย ไม่ขึ้นกับ"อนัตตา"หรือไปจำมาผิดหรือเปล่า
ผมว่าคุณควรกลับไปอ่านมาใหม่นะครับ :b13:


"คุณเช่นนั้น" คุยกันด้วยภาษาง่ายๆก็ได้ครับ
ชาวบ้านเขาจะได้เข้าใจ อย่าพยายามเอาภาษาลิเกมาใช้จนฟุ่มเฟือยนัก
คุณรู้หรือเปล่าว่า มันทำให้ผมพิมพ์ตกๆหล่นๆ ก็เพราะไอ้ภาษาของคุณนี่แหล่ะ
จะเข้าไปแก้ไขก็กลัวจะหาว่า มาเปลี่ยนความคิดตอนหลัง ไอ้ที่ผมพิมพ์ผิดไป
คุณก็ใช้วิจารณญาณเอาเองละกัน
:b13:


โพสต์ เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
มันมีด้วยหรือธรรมบทนี้น่ะ ไปตัดทอนเนื้อหาเขาออกไปหรือเปล่า

ถามหน่อยเข้าใจคำว่า"ธาตุ"กับ"สังขาร"มั้ย
แล้วไอ้ธาตุที่คุณว่าเนี่ย ไม่ขึ้นกับ"อนัตตา"หรือไปจำมาผิดหรือเปล่า
ผมว่าคุณควรกลับไปอ่านมาใหม่นะครับ


"คุณเช่นนั้น" คุยกันด้วยภาษาง่ายๆก็ได้ครับ
ชาวบ้านเขาจะได้เข้าใจ อย่าพยายามเอาภาษาลิเกมาใช้จนฟุ่มเฟือยนัก
คุณรู้หรือเปล่าว่า มันทำให้ผมพิมพ์ตกๆหล่นๆ ก็เพราะไอ้ภาษาของคุณนี่แหล่ะ
จะเข้าไปแก้ไขก็กลัวจะหาว่า มาเปลี่ยนความคิดตอนหลัง ไอ้ที่ผมพิมพ์ผิดไป
คุณก็ใช้วิจารณญาณเอาเองละกัน


ธาตุ อ่านว่า ทา ตุ
ธาตุ คือสภาวะธรรม บริสุทธิ์
ธาตุ หลายธาตุ มาประชุมกันประกอบกัน การประชุมกันการประกอบกันของธาตุ คือสังขาร

เช่น
รูปนาม อันเป็นคนนี้ มี ธาตุประชุมกัน 6 ธาตุ
คือ ปฐวีธาตุ (ปะ-ถะ-วี-ทา-ตุ)
วาโยธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ

ธาตุ บริสุทธิ์เหล่านั้น ไม่ขึ้นกับอนัตตา ไม่ขึ้นกับอนิจจัง ไม่ขึ้นกับ ทุกขัง เป็นอสังขตะธาตุ ในโลกที่สามารถมาประชุมกัน เป็นสัตว์บุคคลได้
ในบรรดาอสังขตธาตุเหล่านั้น นิพพานเป็นอสังขตธาตุที่ดีที่สุด

โฮฮับ....เขียนถามหน่อย เช่นนั้น ตอบให้หน่อยแล้วนะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ผมอ้าง ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อ ปยุต บ้างล่ะ


[86] ธรรมนิยาม 3 (กำหนดแห่งธรรมดา, ความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; natural law)
1. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง — all conditioned states are impermanent)
2. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ — all conditioned states are subject to oppression, conflict or suffering)
3. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (ธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน — all states are not-self or soulless)

หลักความจริงนี้ แสดงให้เห็นลักษณะ 3 อย่าง ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ของสภาวธรรมทั้งหลาย (ดู [76] ไตรลักษณ์) พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้งสามนี้ ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนย.
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=86


ที่คุณโฮฮับนำมา เช่นนั้นเคยอ่านแล้ว
ท่านปยุต เข้าใจผิดๆถูกๆ ก็มี

สิ่งใดพระพุทธองค์ไม่ได้บัญญัติ ท่านปยุตก็บัญญัติขึ้นมาเป็นตำราให้คนเข้าใจว่า "ใช่"

ศึกษา สิ่งที่พระพุทธองค์ บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย...
ซึ่งแม้แต่อรรถาจารย์ ยังอธิบายคล้อยตามพุทธวจนะ

บทว่า ฐิตาว สา ธาตุ ได้แก่ สภาวะแห่งปัจจัยนั้นตั้งอยู่แล้ว คือในกาลบางคราว ชาติจะไม่เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ก็หามิได้. พระองค์ตรัสปัจจัยนั้นแล ด้วยบททั้งสองแม้เหล่านี้ คือ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา เพราะธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่เพราะปัจจัย เพราะเหตุนั้น ปัจจัยนั้นเอง ท่านเรียกว่า ธมฺมฏฺฐิตตา. ปัจจัยย่อมกำหนดธรรม เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ธมฺมนิยามตา.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ถ้าเอาเฉพาะวงปฏิจสมุบาท ทุกขอริยสัจจ์คืออวิชาครับ


โฮฮับ เขียน:
พุทธพจน์ที่คุณเช่นนั้นเอามาอ้าง มันมีกระบวนปฏิจฯกับกระบวนการขันธ์ห้า
ทำงานร่วมกันอยู่ ดังนั้นตัณหาจึงเป็น ทุกขสมุทัยของกระบวนการขันธ์ห้า
ไม่ใช่ทุกขสมุทัยของปฏิจฯ ทุกขสมุทัยของปฏิจฯคือ อวิชา


โฮฮับ ...แสดงแบบนี้???

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 13:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




b25.jpg
b25.jpg [ 44.12 KiB | เปิดดู 3743 ครั้ง ]
cool
ยังไม่ยอมคลายมานะทิฏฐิอีกหรือ คุณโฮฮับ สีข้างถลอกไปหมดแล้วนะ ระวังจะรักษาไม่หายกลายเป็นมะเร็งของชีวิต ติดแน่นไปหลายกัปป์ ทับถมไปหลายชาติ ตัดขาดทางนิพพาน งุ่นง่านด้วยกุกุจจะ
ชำระจิตไม่ได้ ปาฏิโมกข์ข้อ 3 ขาดไป เหตุใหญ่คือตีความธรรมมาผิดๆ แล้วไม่คิดแก้ไข จึงอุกอาจบาทใหญ่ ไม่เกรงกลัวบาปกรรม กวนธรรมให้ขุ่นยาก สร้างลำบากชนรุ่นหลัง ศาสนาจะพังเพราะคนดื้อ พึงวางเสียความยึดถือ จึงจะพ้นบ่วงมาร
onion
โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ถ้าเอาเฉพาะวงปฏิจสมุบาท ทุกขอริยสัจจ์คืออวิชาครับ


โฮฮับ เขียน:
พุทธพจน์ที่คุณเช่นนั้นเอามาอ้าง มันมีกระบวนปฏิจฯกับกระบวนการขันธ์ห้า
ทำงานร่วมกันอยู่ ดังนั้นตัณหาจึงเป็น ทุกขสมุทัยของกระบวนการขันธ์ห้า
ไม่ใช่ทุกขสมุทัยของปฏิจฯ ทุกขสมุทัยของปฏิจฯคือ อวิชา


โฮฮับ ...แสดงแบบนี้???


อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน:
"คุณเช่นนั้น" คุยกันด้วยภาษาง่ายๆก็ได้ครับ
ชาวบ้านเขาจะได้เข้าใจ อย่าพยายามเอาภาษาลิเกมาใช้จนฟุ่มเฟือยนัก
คุณรู้หรือเปล่าว่า มันทำให้ผมพิมพ์ตกๆหล่นๆ ก็เพราะไอ้ภาษาของคุณนี่แหล่ะ
จะเข้าไปแก้ไขก็กลัวจะหาว่า มาเปลี่ยนความคิดตอนหลัง ไอ้ที่ผมพิมพ์ผิดไป
คุณก็ใช้วิจารณญาณเอาเองละกัน


ในวงปฏิจสมุบาท มีอวิชาอยู่และความหมายของอวิขาก็คือ ความไม่รู้อริยสัจจ์
มันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์

วงปฏิจสมุบาทเปรียบเหมือนวิถีหรือทางเดินของขันธ์ห้า
หวังว่าคงเข้าใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 01:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
มันมีด้วยหรือธรรมบทนี้น่ะ ไปตัดทอนเนื้อหาเขาออกไปหรือเปล่า

ถามหน่อยเข้าใจคำว่า"ธาตุ"กับ"สังขาร"มั้ย
แล้วไอ้ธาตุที่คุณว่าเนี่ย ไม่ขึ้นกับ"อนัตตา"หรือไปจำมาผิดหรือเปล่า
ผมว่าคุณควรกลับไปอ่านมาใหม่นะครับ


"คุณเช่นนั้น" คุยกันด้วยภาษาง่ายๆก็ได้ครับ
ชาวบ้านเขาจะได้เข้าใจ อย่าพยายามเอาภาษาลิเกมาใช้จนฟุ่มเฟือยนัก
คุณรู้หรือเปล่าว่า มันทำให้ผมพิมพ์ตกๆหล่นๆ ก็เพราะไอ้ภาษาของคุณนี่แหล่ะ
จะเข้าไปแก้ไขก็กลัวจะหาว่า มาเปลี่ยนความคิดตอนหลัง ไอ้ที่ผมพิมพ์ผิดไป
คุณก็ใช้วิจารณญาณเอาเองละกัน


ธาตุ อ่านว่า ทา ตุ
ธาตุ คือสภาวะธรรม บริสุทธิ์
ธาตุ หลายธาตุ มาประชุมกันประกอบกัน การประชุมกันการประกอบกันของธาตุ คือสังขาร

เช่น
รูปนาม อันเป็นคนนี้ มี ธาตุประชุมกัน 6 ธาตุ
คือ ปฐวีธาตุ (ปะ-ถะ-วี-ทา-ตุ)
วาโยธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ

ธาตุ บริสุทธิ์เหล่านั้น ไม่ขึ้นกับอนัตตา ไม่ขึ้นกับอนิจจัง ไม่ขึ้นกับ ทุกขัง เป็นอสังขตะธาตุ ในโลกที่สามารถมาประชุมกัน เป็นสัตว์บุคคลได้
ในบรรดาอสังขตธาตุเหล่านั้น นิพพานเป็นอสังขตธาตุที่ดีที่สุด

โฮฮับ....เขียนถามหน่อย เช่นนั้น ตอบให้หน่อยแล้วนะครับ

ใช่ธาตุก็เป็นธาตุอยู่วันยังค่ำ ที่ผมถามไปเพื่อจะดูว่าคุณเข้าใจจริงๆมั้ย
สรุปก็คือเหมือนเดิม โพสพระธรรมโดยขาดหลักความเข้าใจ

ไปดูคำถามของผม ผมถามว่า "เข้าใจเรื่องธาตุกับสังขารมั้ย"
ธาตุอยู่ส่วนธาตุ แต่ถ้ารูปนามของเราเข้าไปเกี่ยวข้องเมื่อใด
ธาตุที่ว่ามันจะเป็นอนัตตาทันทีครับ มันก็เหมือนกายของเรา
ที่มีธาตุมาประชุมกัน สักวันก็ต้องแตกสลาย เราไม่สามารถ
บังคับมันได้ เพราะไม่ใช่ตัวตน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร