วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2012, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
3. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (ธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน — all states are not-self or soulless)


ตรงนี้เจ้าคุณ ปอ แปลผิด เหมารวมไม่ได้ค้านพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2012, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
:b8: กราบขอบพระคุณครับ ท่าน พุทธฎีกา

หลับอยู่ สบายดีนะครับ ระลึกถึงอยู่ครับ :b12:

:b8: นมัสการหลวงพี่พุทธฏีกา ผมสวดธัมมจักรเกือบทุกวันบทขัดท่องได้ติดปากสบายๆครับตามด้วย12ตำนานประจำ(ถ้ารีบก็เอาแบบย่อๆ)และพระคาถาพระสังกัจจายน์พระสิวลีพระควัมปติพระอุปคุตและพระคาถานมัสการครูบาอาจารย์ในแต่ละท่านที่ผมนับถือ
ระลึกถึงสหายธรรมเช่นนั้นเหมือนกัน smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2012, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระวังคีสะกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีองค์ที่ ๗ ข้าพระองค์นี้
ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่าคำถามที่
ข้าพระองค์ทูลถามแล้วไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์ไม่หลอกลวง
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าว
อย่างใดทำอย่างนั้นได้ตัดข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง
ของพระยามัจจุราชผู้มากเล่ห์
ได้เด็ดขาด
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=401&p=2

นี่คือคำจากพระวังคีสะว่าตัณหามาจากไหน
(ก่อนบวชท่านทำนายว่าใครตายแล้วไปอยู่ที่ไหนได้ทายจากหัวกระโหลก)


จากบทเดียวกันขอตัดมาบางท่อน
Quote Tipitaka:
บทว่า เอวญฺเจ มํ วิหรนฺตํ ได้แก่ เราผู้อยู่อย่างนี้ด้วยการเจริญฌานมีอนิจจลักษณะ และอสุภเป็นอารมณ์ และด้วยการเจริญวิปัสสนา.

Quote Tipitaka:
บทว่า ยมิธ ปฐวิญฺจ เวหาสํ รูปคตํ ชคโตคธํ กิญฺจิ ความว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ที่อยู่บนแผ่นดินคือที่อาศัยแผ่นดิน ที่อยู่ในอากาศคือที่ตั้งในอากาศ ได้แก่ที่อาศัยเทวโลก มีสภาวะผุพัง ซึ่งอยู่ในแผ่นดินคือมีอยู่ในโลก อันนับเนื่องในภพทั้ง ๓ อันปัจจัยปรุงแต่ง.

บทว่า ปริชียติ สพฺพมนิจฺจํ ความว่า รูปทั้งหมดนั้นถูกชราครอบงำ แต่นั้นแหละเป็นของไม่เที่ยง แต่นั้นแลเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. พระเถระกล่าวถึงการยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยประการฉะนี้. บางอาจารย์กล่าวว่า นี้เป็นวิปัสสนาของพระเถระ.
บทว่า เอวํ สเมจฺจ จรนฺติ มุตตฺตา ความว่า บัณฑิตทั้งหลายตรัสรู้ คือตรัสรู้เฉพาะอย่างนี้ ได้แก่ด้วยมรรคปัญญาอันประกอบด้วยวิปัสสนา มีตนอันหลุดพ้นแล้ว คือมีอัตภาพอันกำหนดรู้แล้ว เที่ยวไปคืออยู่.


http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=401&p=2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2012, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อ้างคำพูด:
บทว่า เอวญฺเจ มํ วิหรนฺตํ ได้แก่ เราผู้อยู่อย่างนี้ด้วยการเจริญฌานมีอนิจจลักษณะ และอสุภเป็นอารมณ์ และด้วยการเจริญวิปัสสนา.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2012, 02:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:
ส่วนตัวพิจารณาว่าแม้ไม่มีเหตุปัจจัย แต่การเปลี่ยนสถานะของธาตุเพราะเหตุปัจจัย บังคับไม่ได้


ครับ student :b8:

พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับกายใจเรา
ความเป็นอนัตตา มันต้องมีกายใจเราไปเกี่ยวข้อง
ถ้าไม่มีกายใจเราไปเกี่ยวมันก็เป็นธาตุตามธรรมชาติ ท่านว่าไม่ให้ไปคิด
ว่าต้องอย่างโน้นต้องอย่างนี้

คุณเช่นนั้นแกพูดเรื่องธาตุเหมือนแกจะรู้แต่ในความเป็นจริงแกไม่รู้เลย
แก่นธรรมอยู่ตรงไหนไม่สนใจ แกเล่นจ้องไปธาตุที่เป็นธรรมชาติภายนอก
คุณกะลาแกมาบอกยังทำหูทวนลม
:b32:

โฮฮับ "ท่าน" ไหน ครับ

ไม่บอกหรอกครับ เดี๋ยวคุณไปด่าเขา :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2012, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 14 เม.ย. 2012, 19:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2012, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี "หลับอยู่"
หลับอยู่ ยกอรรถกถา วังคีสเถรคาถา มา
เช่นนั้น ก็จะขอยก เฉพาะ พุทธพจน์ อันเป็นส่วนสำคัญในอวสานบท ของพระสูตรนี้

ว่า พระอรหันต์เจ้าท่านสำเนียกสิ่งไรได้ จากการสดับฟังพุทธพจน์
เพือประกอบกับอรรถกถาที่ หลับอยู่ ได้ยกมา

คำทูลถามของ ท่านวังคีสะ
ท่านนิโครธกัปปะได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของท่านนั้นเป็นประโยชน์ไม่เปล่าแลหรือ ท่านนิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว ท่านเป็นพระเสขะยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือว่าท่านเป็นพระอเสขะผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสที่ข้าพระองค์มุ่งหวังนั้น พระเจ้าข้า.

พุทธพยากรณ์
เมื่อพระผู้มีพระภาคจะทรงพยากรณ์จึงตรัสพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า
พระนิโครธกัปปะได้ตัดขาด
ซึ่งความทะยานอยากในนามและรูปนี้ กับ
ทั้งกระแสแห่งตัณหาอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาช้านานแล้ว ข้ามพ้น
ชาติและมรณะได้หมดสิ้นแล้ว.

พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐสุดด้วยพระจักษุทั้ง ๕ ได้ตรัสพระดำรัสเพียงเท่านี้

ความชื่นชมยินดี อันเกิดแก่ท่านวังคีสะ ด้วยความเข้าใจ พยัญชนะและอรรถ ของพระพุทธองค์


เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสเถระ ก็ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กราบทูลด้วยอวสานคาถา ๓ คาถา ความว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีเยี่ยมกว่าฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์นี้ได้ฟัง
พระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่าคำถามที่ข้าพระองค์ทูลถาม
แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์ไม่หลอกลวงข้าพระองค์ ข้าพระองค์
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ได้ตัด
ข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง ของพระยามัจจุราชผู้เจ้าเล่ห์มาก ได้
เด็ดขาด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพระนิโครธกัปปเถระกัปปายนโคตร
ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้ว
หนอ
ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสรรพสัตว์ ข้าพระองค์ขอนมัสการ
ท่านพระนิโครธกัปปเถระผู้เป็นวิสุทธิเทพ ล่วงเสียซึ่งเทพดา อนุชาต-
บุตรของพระองค์ มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ ทั้งเป็นโอรสของ
พระองค์ผู้ประเสริฐ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2012, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูแล้วอด :b18: ไม่ได้ เข้ากับยุคปัจจุบันได้ดี :b13:

http://vimeo.com/37647174

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2012, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามนั้นแหละครับคุณเช่นนั้น :b1:

Quote Tipitaka:
ท่านพระนิโครธกัปปเถระกัปปายนโคตร
ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้ว
หนอ


ส่วนที่ผมยกมาเพราะก่อนหน้านั้น พระวังคีสะ ต้องสู้กามราคะ...
Quote Tipitaka:
บทว่า เอวญฺเจ มํ วิหรนฺตํ ได้แก่ เราผู้อยู่อย่างนี้ด้วยการเจริญฌานมีอนิจจลักษณะ และอสุภเป็นอารมณ์ และด้วยการเจริญวิปัสสนา.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2012, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ตามนั้นแหละครับคุณเช่นนั้น :b1:

Quote Tipitaka:
ท่านพระนิโครธกัปปเถระกัปปายนโคตร
ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้ว
หนอ


ส่วนที่ผมยกมาเพราะก่อนหน้านั้น พระวังคีสะ ต้องสู้กามราคะ...
Quote Tipitaka:
บทว่า เอวญฺเจ มํ วิหรนฺตํ ได้แก่ เราผู้อยู่อย่างนี้ด้วยการเจริญฌานมีอนิจจลักษณะ และอสุภเป็นอารมณ์ และด้วยการเจริญวิปัสสนา.

อนุโมทนา หลับอยู่ ท่านวังคีสะ เจริญฌานอันอาศัยอนิจลักษณะ แล้วทำวิปัสสนา ด้วยการทำให้แจ้งซึ่งเหตุปัจจัยต่างๆ จึงเป็นวิปัสสนาเพื่อเห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน เช่นกัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 15:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 11:25
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมค้นหาพระธรรมว่า ธัมมนิยาม ได้พบกระทู้นี้ และได้ค้นต่อในพระไตรปิฏก พบว่า
พระธรรม ธัมมนิยาม ที่หาพบ 2 พระธรรม ได้แก่

ธัมมนิยาม คือ กฏธรรมชาติ
ได้แก่
1.2.1 กฏปฏิจจสมุปบาท
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

1.2.2 กฏไตรลักษณ์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... Z=45&name=อุปปาทสูตร&book=20&bookZ=20

คำอธิบายศัพท์ ของ พระอรรถกถาจารย์
ที่แสดงศัพท์บาลีเดิม ธมฺมฏฐิตตา ธมฺมนิยามตา ก่อนแปลเป็นคำภาษาไทยว่า ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=20&i=576
----------------------------------------------

จึงขออนุญาตลงไว้เพื่อเป็นข้อมูล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 18:22
โพสต์: 310


 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าของกระทู้เขาไปดีแล้วยังมีคนมาดันกระทู้ขึ้นมาอีก :b13: :b7:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 117 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร