วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 16:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อย่าส่งใจไปดูไปรู้ในสิ่งอื่น การภาวนาท่านให้ดูใจของตนเองหรอก ท่านไม่ให้ดูสิ่งอื่น"

"การ บำเพ็ญกัมมัฏฐานนี้ ไม่ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดขึ้น ไปรู้ไปเห็นอะไรเราอย่าไปดู ให้ดูแต่ใจ ให้ใจอยู่ที่พุทโธ เมื่อกำลังภาวนาอยู่ หากมีความกลัวเกิดขึ้น ก็อย่าไปคิดในสิ่งที่น่ากลัวนั้น อย่าไปดูมัน ดูแต่ใจของเราเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แล้วความกลัวมันจะหายไปเอง"

หลวง ปู่ได้ชี้แจงต่อไปว่า สิ่งที่เราไปรู้ไปเห็นนั้น บางทีก็จริง บางทีก็ไม่จริง เหมือนกับว่า คนที่ภาวนาแล้วไปรู้ไปเห็นสิ่งต่างๆเข้า การที่เขาเห็นนั้นเขาเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นนั้นมันไม่จริง เหมือนอย่างที่เราดูหนัง เห็นภาพในจอหนัง ก็เห็นภาพในจอจริงๆ แต่สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริงเพราะความจริงนั้นภาพมันไปจากฟิล์มต่างหาก


ฉะนั้น ผู้ภาวนาต้องดูที่ใจอย่างเดียว สิ่งอื่นนอกจากนั้นจะหายไปเองให้ใจมันอยู่ที่ใจนั้นแหละ อย่าไปส่งออกนอก

ใจ นี้มันไม่ได้อยู่จำเพาะที่ว่า จะต้องอยู่ตรงนั้นตรงนี้ คำว่า "ใจอยู่กับใจ" นี้คือ คิดตรงไหนใจก็อยู่ตรงนั้นแหละ ความคิดนึกก็คือตัวจิตตัวใจ

หากจะเปรียบไปก็เหมือนเช่นรูปกับฟิล์ม จะว่ารูปเป็นฟิล์มก็ได้ จะว่าฟิล์มเป็นรูปก็ได้ ใจอยู่กับใจ จึงเปรียบเหมือนรูปกับฟิล์มนั่นแหละ


แต่โดยหลักปฏิบัติแล้ว ใจก็เป็นอย่างหนึ่ง สติก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ที่จริงแล้วมันก็เป็นสิ่งเดียวกัน เหมือนหนึ่งว่าไฟกับกระแสไฟ ความสว่างกับไฟก็อันหนึ่งอันเดียวกันนั่นแหละ แต่เรามาพูดให้เป็นคนละอย่าง

ใจอยู่กับใจ จึงหมายถึง ให้มีสติอยู่กำกับมันเอง ให้อยู่กับสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ สติสำหรับปุถุชน หรือสติสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติ เป็นสติที่ยังไม่มั่นคงมันจึงมีลักษณะขาดช่วงเป็นตอนๆ ถ้าเราปฏิบัติจนสติมันต่อกันได้เร็วจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้เป็นแสงสว่างอย่างเดียวกัน

อย่างเช่น สัญญาณออด ซึ่งที่จริงมันไม่ได้มีเสียงยาวติดต่อกันเลยแต่เสียงออด-ออด-ออด ถี่มาก จนความถี่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเราจึงได้ยินเสียงออดนั้นยาว


ในการ ปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ก็คือให้มีสติกำกับใจ ให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆหลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างต่อกันไปตลอดเวลา

เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา"

ตัวรู้ก็คือ สติ นั่นเอง

หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ

เมื่อ มีสติ ความรู้สึกนึกคิดอะไรต่างๆมันก็จะเป็นไปได้โดยอัตโนมัติของมันเอง เวลาดีใจก็จะไม่ดีใจจนเกินไป สามารถพิจารณารู้ได้โดยทันทีว่า สิ่งนี้คืออะไรเกิดขึ้น และเวลาเสียใจมันก็ไม่เสียใจจนเกินไป เพราะว่าสติมันรู้อยู่แล้ว

คำชมก็เป็นคำชนิดหนึ่ง คำติก็เป็นคำชนิดหนึ่ง เมื่อจับสิ่งเหล่านี้มาถ่วงกันแล้วจะเห็นว่ามันไม่แตกต่างกันจนเกินไป มันเป็นเพียงภาษาคำพูดเท่านั้นเอง ใจมันก็ไม่รับ


เมื่อใจมันไม่รับ ก็รู้ว่าใจมันไม่มีความกังวล ความวิตกกังวลในเรื่องต่างๆก็ไม่มี ความกระเพื่อมของจิตก็ไม่มี ก็เหลือแต่ความรู้อยู่ในใจ

http://www.atulo.org/history/history064.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๘๓. ตอบคำถามเกี่ยวกับยักษ์

มีอยู่คราวหนึ่ง เรื่องที่เกิดขึ้นดูจะเกินภูมิธรรมความสามารถของผู้เขียน แต่เห็นว่าควรนำมากล่าวไว้ เพื่อเป็นข้อสังเกตสำหรับนักปฏิบัติทั้งหลาย จะได้นำไปเทียบเคียงศึกษาดู เพื่อประโยชน์แก่การกำหนดแนวทางปฏิบัติเฉพาะตนต่อๆ ไป หากขาดตกบกพร่องอย่างไร จะตำหนิกันก็ไม่ว่า เพราะยอมรับว่าโง่ไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว

ครั้งหนึ่ง หลวงปู่เสร็จจากศาสนกิจในพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวัง ก็กลับมาพำนักที่พระตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศน์วิหาร ครั้นหลวงปู่สรงน้ำเสร็จก็เอนกายพักผ่อน ให้ภิกษุสามเณรบำเพ็ญอาจาริยวัตรด้วยการนวดเฟ้นพัดวีต่างๆ

ครั้งนั้น พระราชาคณะรูปหนึ่งก็แวะเข้ามาเยี่ยมขอโอกาสว่า ให้หลวงปู่ผู้เฒ่าเอนกายพักผ่อนตามสบาย เพราะประสงค์เพียงแวะมาคุยอย่างกันเองด้วยความคุ้นเคย

ในระหว่างการสนทนาด้วยเรื่องราวหลากหลายนั้น ท่านเจ้าคุณรูปนั้นเอ่ยขึ้นตอนหนึ่งว่า "เขาว่าคนที่สนใจเรียนคาถาอาคมอันศักดิ์สิทธิ์ สมัยก่อนเป็นยักษ์"


หลวงปู่ลุกขึ้นนั่งทันที แล้วกล่าวว่า

"ผมไม่ได้สนใจในเรื่องเหล่านี้เลยท่านเจ้าคุณ ท่านเจ้าคุณเองเคยศึกษาถึง ปัญจทวาราวัชชนจิต ไหม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญจทวาราวัชชนจิต นี้ คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่กับทวารทั้ง ๕ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นกิริยาจิตที่ทำหน้าที่ประจำรูปกาย อาศัยอยู่ตามทวารทั้ง ๕ เป็นทางที่ติดต่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างจิตกับสิ่งภายนอก หรืออารมณ์ภายนอกเป็นกิริยาจิตอยู่อย่างนั้น

เป็นอยู่อย่างนั้น ห้ามไม่ได้ บังคับไม่ให้เป็นไปไม่ได้ แต่อาจเป็นพาหะให้เกิดทุกข์ได้
และที่น่าตื่นใจก็คือ ให้กิริยาจิตเหล่านี้เป็นไปได้ โดยประการที่ทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้ก็ได้

อันนี้แหละที่น่าสนใจ น่าสำเหนียกศึกษาที่สุด ว่าทำอย่างไร เมื่อตาเห็นรูปแล้วรู้ว่าสวยงาม หรือน่ารังเกียจอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านี้

เมื่อหูได้ยินเสียง รู้ว่าไพเราะ หรือน่ารำคาญอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านี้

เมื่อลิ้นได้ลิ้มรส รู้ว่าอร่อยหรือไม่อร่อย เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านี้

เมื่อจมูกได้กลิ่นหอมหรือเหม็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้

เมื่อกายสัมผัสโผฏฐัพพะ รู้ว่าอ่อนแข็งเป็นอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านี้


ครั้นเมื่อศึกษาถึงขั้นนี้แล้ว ก็จะปรากฏเหตุอันน่าอัศจรรย์ที่เรียกว่า "หัสสิตุปปาทะ" คือกิริยาที่จิตยิ้มขึ้นมาเองโดยไม่มีต้นสายปลายเหตุ หาสาเหตุที่มาไม่ได้

อัน หัสสิตุปปาทะ หรือ กิริยาที่จิตยิ้มเองนี้ ย่อมไม่ปรากฏมีในสามัญชนโดยทั่วไป

ดังนั้น นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายควรกระทำไว้ในใจ ในอันที่จะสำเหนียกศึกษา ทำความกระจ่างแจ้งใน "อเหตุกจิต" อันนี้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติ

ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า เมื่อปฏิบัติไปถึงลำดับนี้แล้ว จิตจะเกิดยิ้มขึ้นมาเองไม่มีการกระทำ ไม่มีการบังคับให้เกิดขึ้น ย่อมเป็นไปเองโดยไม่รู้ตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง เมื่อปฏิบัติตามหลัก "จิตเห็นจิต" อันมีการ "หยุดคิดหยุดนึก" เป็นลักษณะ ถ้าใช้ปัญญาอันยิ่งสอดส่องสำรวจตรวจตราดูตามทวารทั้ง ๕ เหล่านี้ เพื่อจะหาวิธีป้องกันที่จิตจะแล่นไปหาเรื่องใส่ตัวภายนอก

ก็จะเห็นและเข้าใจได้ว่า เป็นธรรมดาอยู่เองที่คนเราใช้ทวารทั้ง ๕ เหล่านั้น กระทำการอันสัมพันธ์กับภายนอก

เมื่อพิจารณาให้ถ้วนถี่ยิ่งขึ้น ก็จะได้อุบายอันแยบคายว่า

ในขณะที่เกิดสัมพันธภาพกับภายนอก จิตก็ควรจะกำหนดให้อยู่ในจิต เมื่อเห็นก็กำหนดให้รู้เท่าทันการเห็น

แต่ไม่ถึงกับต้องรำพึงรำพันออกมาว่า เห็นแล้วนะ เห็นแล้วหนอ อะไรหรอก เพราะขณะจิตหนึ่งๆ นั้น มันไม่กินเวลาอะไร เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็ไม่ต้องไปรำพึงรำพันเป็นการปรุงแต่งเพิ่มเติมอีก

ในการกำหนดให้รู้ให้เท่าทันนั้น อย่าได้ถูกลวงด้วยสัญญาแห่งภาษาคนภาษาโลก ดังเช่นการรู้เท่าทันคนที่จะมาหลอกลวงเรา เป็นต้น


การรู้เท่าทันอารมณ์ในภาษาธรรมนั้น หมายความว่า ความ "รู้" จะต้องทันกันกับการรับอารมณ์ของทวารทั้ง ๕

เช่น ในขณะที่ตาเห็นรูป จะต้องมีสติรู้อยู่อย่างเต็มที่สมบูรณ์ มีความรู้ตัวพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องรู้อะไร

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกข์อันอาศัยปัจจัยคือ การเห็น เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เกิดและเราก็สามารถมองอะไรได้อย่างอิสระเสรี โดยที่รูปหรือสิ่งที่เรามองเห็นไม่อาจมีอิทธิพลอันใดเหนือเราได้เลยแม้แต่น้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญจทวาราวัชชนจิต หรือกิริยาจิตที่แล่นอยู่ตามทวารทั้ง ๕ ย่อมสัมพันธ์กันกับมโนทวาร ในมโนทวารนั้นมี มโนทวาราวัชชนจิต อันเป็นกิริยาจิตแฝงอยู่ มีหน้าที่คิดนึกต่างๆ สนองตอบอารมณ์ที่มากระทบไปตามธรรมดา

ดังนั้น ในทางปฏิบัติ จะให้หยุดคิดหยุดนึกทุกกรณีย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ด้วยการอาศัยอุบายวิธีดังกล่าวนี้แหละ เมื่อจิตตรึกความนึกคิดอันใดออกมาทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ก็ทำความกำหนดรู้พร้อมให้เท่าทันกัน

เช่นเดียวกัน เมื่อมีความรู้พร้อมทันๆ กันกับการรับอารมณ์ ดังนี้แล้ว ปัญญาที่รู้เท่าเอาทันย่อมตัดวัฏจักรให้ขาดออกจากกัน ไม่อาจสืบเนื่องหมุนเวียนต่อไปได้

กล่าวคือ การก่อรูปก่อร่างต่อไปของจิตย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ และความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็มีอยู่เองโดยไม่ต้องมีการลวงๆ ว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรเลย ความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็เป็นแต่เพียงชื่อที่เรานำมาใช้เรียกขานกันให้รู้เรื่อง เมื่อวัฏฏะมันขาดไปเท่านั้น

โดยนัยอย่างนี้ จึงน่าจะศึกษาให้เข้าใจในอันที่จะกำหนดรู้อย่างไรจึงจะถูกต้อง เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไร ก็ให้หยุดอยู่แค่นั้น

อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงาม ให้จิตได้โอกาสก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป อย่าไปใส่ใจอีกต่อไป พอกันเพียงรู้อารมณ์เท่านี้ หยุดกันเพียงเท่านี้

http://www.atulo.org/history/history083.htm

ดึกแล้ว ไว้มาต่อขององค์หลวงปู่เทสก์กันในคราวหน้าครับ :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue :b38: อ่านทีไรก็เข้าถึงกายใจ แต่ทำไมปฏิบัติไม่ได้ซักที จิตมันชอบส่งออกนอกเจ้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกัน ด้วยคำเทศน์ขององค์หลวงปู่เทสก์กันครับ :b8: :b46: :b39: :b46:


ในโอวาทของท่านที่ท่านพูดว่า จิต คือ พุทธะ ในตอนนี้ผู้เขียนขออธิบายว่า พุทธะ คือความรู้ทั่วไป ไม่ได้หมายถึงสัมมาสัมพุทธะ พุทธะ คือผู้รู้ทั่วไป หรือธาตุรู้ก็ว่า

แล้วก็อีกคำหนึ่งท่านว่า จิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย มันก็แน่ทีเดียว ถ้าจิตส่งแล้วมันเป็นตัวสมุทัย โดยความเข้าใจของผู้เขียน จิต คือผู้คิดผู้นึก ผู้ส่ง ผู้ปรุงแต่ง ผู้จดผู้จำ เป็นอาการวุ่นวายของจิตทั้งหมด

ครั้นมาเห็นโทษเห็นภัยเห็นเช่นนั้นแล้วถอนเสียจากความยุ่ง ความวุ่นวายแล้ว เข้ามาหาตัวเดิม คือ ใจ แล้วไม่มีคิดไม่มีนึก ไม่มีส่งไม่ส่าย ไม่มีจดไม่มีจำอะไรทั้งหมด

คือเป็นกลางๆ อยู่เฉยๆ นี่ละ ผู้เขียนเรียกว่า ใจ คืออยู่กลางๆ ของความดีความชั่ว ความปรุงความแต่ง อดีตอนาคตปล่อยวางหมด จึงกลับมาเป็นใจ จิตคือ พุทธะ ท่านคงหมายเอาตอนนี้

ผู้ใคร่อยากรู้ใจแท้ ถึงแม้ยังไม่เป็นสาวกพุทธะปัจเจกพุทธะ สัมมาสัมพุทธะก็ตาม ขอให้ศึกษาพอเป็นสุตพุทธะเสียก่อน คือ จงกลั้นลมหายใจไปสักพักหนึ่งลองดู

ในที่นั่นจะไม่มีอะไรทั้งหมด นอกจากความรู้เฉยๆ


ความรู้ว่าเฉยนั่นแหละ เป็นตัวใจ

พุทธะ ทั้งสี่จะมีขึ้นมาได้ ก็เพราะมีใจ ดังนี้ ถ้าหาไม่แล้ว พุทธะทั้งสี่จะมีไม่ได้เลยเด็ดขาด

แท้จริง จิตกับใจ ก็อันเดียวกันนั่นเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ตรัสไว้ว่า จิตอันใดใจก็อันนั้น แต่ผู้เขียนมาแยกออกเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายตามภาษาบ้านเราเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพูดถึงใจแล้วต้องหมายความของกลาง อย่างใจมือ ใจเท้า หรือใจไม้ แม้แต่ใจของคนก็ชี้เข้าตรงที่ท่ามกลางอกนั่นเอง

แต่ความจริงแล้วใจไม่ได้อยู่ที่นั่น ใจย่อมอยู่ในที่ทั่วไป สุดแท้แต่จะเอาไปเพ่งไว้ตรงไหน แม้แต่ฝาผนังตึกหรือต้นไม้ เมื่อเอาใจไปไว้ตรงนั้น ใจก็ย่อมปรากฏอยู่ ณ ที่นั้น


คำพูดของหลวงปู่ดูลย์ที่ว่า จิต คือ พุทธะ ย่อมเข้ากับคำอธิบายของผู้เขียนที่ว่า ใจ คือ ความเป็นกลางนิ่งเฉย ไม่ปรุงแต่ง ไม่นึกไม่คิด ไม่มีอดีตอนาคต ลงเป็นกลางมีแต่รู้ตัวว่านิ่งเฉยเท่านั้น เมื่อออกมาจาก ใจ แล้วจึงรู้คิดนึกปรุงแต่งสารพัด วิชาทั้งปวงเกิดจากจิตนี้ทั้งสิ้น

นักปฏิบัติทั้งหลายจึงต้องควบคุมจิตของตน ด้วยตั้ง สติรักษาจิต อยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตแส่ส่ายไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก รู้ว่าเป็นไปเพื่อก่อแล้ว รีบดึงกลับมาให้เข้าใจ นับว่าใช้ได้ แต่ยังไม่ดี

ต้องเพียรพยายามฝึกหัดต่อไปอีก จนกระทั่งใจนึกคิดปรุงแต่งไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก ก็ รู้เท่าทัน ทุกขณะ อย่าไปตามรู้หรือรู้ตาม จะไม่มีเวลาตามทันเลยสักที เหมือนคนตามรอยโคไม่เห็นตัวมัน จึงตามรอยมัน

รู้เท่า คือ เห็นตัวมัน แล้วผูกมัดเอาตัวมันเลย แล้วฝึกหัดจนกระทั่งมันเชื่อง แล้วจะปล่อยให้มันอยู่อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องตามหามันอีก นับว่าใช้ได้ดี

ถ้าตามใจของตนไม่ทัน หรือไม่เห็นใจตน มันจะไปหรืออยู่ หรือมันจะคิดดีคิดร้ายอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องของมัน นั้นใช้ไม่ได้เลย จมดิ่งลงกามภพโดยแท้


หลวงปู่เทสก์พูดถึงหลวงปู่ดูลย์
พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี)

http://www.atulo.org/history/history139.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล ถึงแม้ว่าเป็นกองทัพหน้าเพื่อประจัญต่อสู้กับข้าศึกของผู้เห็นโทษในโลกแล้วก็ตาม หากดำเนินผิดแผนยุทธศาสตร์ (คือมรรค ๘) ที่พระพุทธเจ้าวางไว้แล้ว จะเอาชัยชนะแก่ข้าศึกไม่ได้เลยเด็ดขาด

แผนของพระพุทธองค์ที่วางไว้เรียกว่า “…ปาริสุทธิศีล ๔ …” เมื่อแย่งชิงชัยชนะขั้นศีลตามข้อกฎกติกานั้นๆ มาได้แล้ว พระองค์ไม่ให้นิ่งนอนใจ มันอาจมีผู้ก่อกวนความไม่สงบภายในขึ้นก็ได้

พวกนั้นหากมันส่งจารบุรุษมาแทรกซึมไว้ทุกหนแห่ง มีกำลังเพียงพอแล้ว กองทัพคือศีลอาจไม่มีความหมาย


ฉะนั้น พระองค์จึงทรงสอนให้ตั้งกองสอดแนม คือ ตัวสติ ไว้รักษาทวารทั้งหก เรียกว่า “…อินทรียสังวร…”

อินทรีย์ ๖ มีตาเป็นต้น ย่อมมีประโยชน์ทำให้เกิดความรู้ความฉลาดได้ต่างๆ นานา ถ้าหากใครขาด คือ ไม่สมบูรณ์ทั้งหกแล้ว คนคนนั้นเขาเรียกว่าคนไม่สมบูรณ์

อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ หมายความว่า แต่ละอินทรีย์ เช่น จักขุนทรีย์ ตา เป็นใหญ่เป็นเจ้าพนักงานรับทำการเพื่อดูเฉพาะแต่รูปอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับเรื่องเสียงและกลิ่น เป็นต้น จึงได้นามว่าอินทรีย์ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า อายตนะ คือบ่อเกิดของอารมณ์

อายตนะแต่ละอายตนะ ย่อมรับอารมณ์เฉพาะของตนๆ จะก้าวก่ายกันไม่ได้ เช่น จักขุอายตนะ อายตนะคือตา จะรับได้แต่เฉพาะให้เห็นรูปเท่านั้น จะรับฟังเสียงและสูดกลิ่นไม่ได้ และยังสมมติให้เป็นธาตุและอะไรต่อมิอะไรอีกเยอะแยะ


อายตนะนี้ถ้าขาดกองสอดแนมคือสติแล้ว นั่นแลจะเป็นช่องทางให้จารบุรุษเล็ดลอดเข้าไปในทวารนั้นๆ แล้วเข้าไปแทรกกิจการภายในบั่นทอนกองทัพ อาจยังผลให้ได้รับความปราชัยย่อยยับในวันหนึ่งข้างหน้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะอายตนะแต่ละอายตนะติดต่ออารมณ์ไม่เลือก

อารมณ์ดีก็ทำให้เกิดความสุขหลงระเริงลืมตัว ถ้าชั่วก็ทำให้เกิดโทมนัสขัดแค้นขุ่นมัว ความสุขและความทุกข์ ดีและชั่ว ที่เกิดจากอายตนะทั้งหกนี้ มันเป็นจารบุรุษตัวร้ายกาจของข้าศึก

พระพุทธองค์จึงทรงสอนยุทธวิธี ผู้ที่ได้ชัยชนะแล้วให้ตั้งกองสอดแนมไว้ทุกๆ ทวาร แล้วให้ประมวลข่าวรายงานมายังกองบัญชาการ (คือจิต) ว่าอายตนะทั้งหลายล้วนแต่เป็นของเก่าอารมณ์เก่าเดินอยู่ในสายเก่า

คือ ชอบใจก็มีความสุข พอใจ โสมนัสยินดีเพลิดเพลินมัวเมาประมาทลืมตัว ไม่ชอบใจ ก็เกิดความทุกข์โทมนัสเดือดร้อนเศร้าโศกเสียใจ กลุ้มอกกลุ้มใจ

ความเป็นมาของอารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้งหกย่อมเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกาล ไม่ว่าในอดีตและปัจจุบันหรือในอนาคตต่อไป หากอายตนะทั้งหลายยังมีในที่นั้นๆ แล้ว ก็จะได้ประสบเช่นเดียวกันนี้ทั้งนั้น

ฉะนั้น ขอผู้บัญชาการ (คือจิต) จงเบาใจเสียเถิดว่าข้าศึกทั้งหลายมิใช่ของใหม่ ทั้งยุทธวิธีก็ของเก่า เรารู้เท่าเล่ห์กลมารยาของข้าศึกหมดแล้ว


เมื่อผู้บัญชาการฟังรายงานของกองสอดแนมแล้วก็สบายใจสงบ พวกนักรบต่างคนก็พากันรักษาหน้าที่ของตนๆ โดยความเรียบร้อย ไม้ก้าวก่ายหน้าที่ของตนๆ

ตามีหน้าที่ดูรูปก็ดูไปหูมีหน้าที่ฟังเสียงก็ฟังไป… วิญญาณมีหน้าที่รู้สัมผัสก็รู้ไป เวทนา-สัญญา-สังขาร มีหน้าที่อย่างไร ก็ทำไปตามหน้าที่ของตน

กองสอดแนม(คือสติ) ตามรู้ตามรายงานกองบัญชาการ (คือจิต) แห่งเดียวแล้วก็เป็น “…อินทรียสังวร…”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรียสังวรมิใช่ตามไปรักษาในอินทรีย์หรืออายตนะนั้นๆ

เหมือนบุรุษเลี้ยงวัว ขอให้ท่านคิดซิว่า วัว ๖ ตัว ต่างตัวมันก็มีจิตมีใจคิดที่จะออกไปหากินในที่ต่างๆ กัน บุรุษผู้เลี้ยงวัวก็จะตี ต้อนตัวโน้นบ้างตัวนี้บ้างเพื่อมิให้มันหนีไปไกล บุรุษผู้เลี้ยงวัวจะเป็นทุกข์และกลุ้มใจสักเท่าไร


หากบุรุษผู้นั้นฉลาด ปล่อยฝูงวัวให้เข้าสู่สนามหญ้าและตัวเขาเองนั่งอยู่ในที่สูง มองดูว่าในสนามหญ้านั้นเห็นทั่วไปว่าตัวไหนมันอยู่อย่างไร ไปอย่างไร แล้วก็ไปไล่ตีต้อนเอาแต่เฉพาะตัวที่เห็นว่ามันจะหนีจากฝูงไปให้เข้ามาอยู่กับฝูง เขาก็จะได้รับความสุขฉันใด

ผู้ที่สำรวมอินทรีย์หรืออายตนะ หากเข้าใจว่าอินทรีย์หรืออายตนะเป็นอันหนึ่งต่างหากนอกจากจิตแล้วจะไปตามรักษาอินทรีย์หรืออายตนะให้อยู่เห็นจะไม่มีวันอยู่ได้แน่

เพราะอินทรีย์หรืออายตนะคืออะไร เกิด ณ ที่ไหน มันทำงานอย่างไร ก็ไม่รู้เสียแล้ว จะไปสำรวมรักษาได้อย่างไร ดีไม่ดีไปต้อนเอาวัวเขามาเป็นของตนอาจให้โทษซ้ำไปก็ได้

(อนึ่ง ใจของตนเองทั้งที่มันเป็นนายใช้เรามาแต่วันเกิด แต่เราก็ไม่รู้จักตัวนายของเราเองเลยสักที ว่านายแท้ของเรามันเป็นอย่างไร นายใช้ให้ทำดีทำชั่วทำบาปทำบุญทั้งที่เป็นคุณเป็นโทษก็ไม่รู้ แล้วเราจะมีอิสระอะไรในตัวของเราทั้งหมดนี้)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงอินทรีย์หรืออายตนะเป็นชื่อสมมติหน้าที่การงานของจิตเหมือนหน้าต่างประตู เป็นที่ส่องมองดูสิ่งนั้นๆ ของเจ้าของบ้านคนเดียวเท่านั้น แลเจ้าของบ้านเมื่อจะทำงานในทวารนั้นๆ ก็มิได้ทำพร้อมๆกันไปทั้ง หกทวาร ทำแต่เฉพาะทวารใดทวารหนึ่งเท่านั้น

เพราะเจ้าของบ้าน (คือจิต) มีคนเดียว

เมื่อผู้มาเข้าใจอย่างนี้แล้ว การสำรวมอินทรีย์หรืออายตนะ ๖ ก็จะสะดวกขึ้น

คำว่า สำรวม หมายความว่าของมันรวมกันอยู่แล้ว แต่เราไปทำให้มันกระจัดกระจายออกต่างหาก ถ้าของไม่เคยรวมกันอยู่แล้ว เราจะทราบได้อย่างไรว่าของมันรวมกันนั้นคืออะไร


ในอินทรียสังวร ศีลที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้สำรวมนั้น ก็หมายความว่าทรงสอนวิธีให้สำรวมจิตให้เข้าที่เดิม คืออินทรีย์และอายตนะรวมกันก่อนแล้วนั่นเอง

เมื่อสรุปแล้ว ศีลถึงจะมีข้อกฎมากมายสักเท่าไรก็ตาม นั่นว่าตามวิถีจิตที่มันวิ่งออกจากฐานเดิมไปทำผิดกฎนั้นๆ ที่ท่านวางมาตรการไว้ จึงกลายเป็นของมากไป ตัวศีลที่แท้จริงแล้วตัวเดียว คือ เจตนางดเว้น ไม่ทำความผิดจากกฎนั้นๆ

การสำรวมอินทรีย์หรืออายตนะก็เช่นเดียวกัน มิใช่จะไปตามปิดทวารทั้ง ๖ เหมือนคนไม่อยากดูอะไร แล้วปิดประตูหน้าต่างทั้งหมดฉะนั้น


แต่ท่านสอนให้สำรวมจิตแห่งเดียวเมื่อสำรวมจิตอันเดียวได้แล้ว ทวารทั้ง ๖ จะทำอะไรให้แก่จิตได้อีกเล่า

สามทัพธรรม
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

http://www.fungdham.com/download/book/article/tesk/060.pdf


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามรู้จิต ไม่อยู่ รู้เท่ารู้ทันจิตจึงอยู่

จิต ผู้คิดปรุงแต่งสัญญาอารมณ์ต่าง ๆ เหลือที่จะคณานับ บางทีก็เป็นประโยชน์ บางทีก็ไร้ประโยชน์ ทำให้เกิดสับสนวุ่นวายไม่สบายใจของผู้คิดนึกเป็นอันมากเหมือนกัน

จิตที่คิดนึกเอาแต่อารมณ์อันเดียวจนแน่วแน่ที่เรียกว่า สมาธิ อันนั้นย่อมเกิดปัญญาพิจารณาหาเหตุผลว่าสิ่งนี้ควรทำแลไม่ควรทำ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ตนและส่วนรวมเป็นอย่างยิ่ง


อันนี้ต้องทำสมาธิให้หนักแน่น จับตัวผู้รู้ให้อยู่เสียก่อน แล้วจึงจะรู้เท่าอาการของจิตที่นึกคิดไปในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งไม่มีขอบเขต

ถ้าทำสมาธิไม่หนักแน่น จับตัวผู้รู้ไม่ได้ จิตผู้คิดนึกนั้นจะเตลิดเปิดเปิงไปไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ นั่นมิใช่ปัญญา แต่เป็นสัญญาของสามัญชนทั่วไป จึงมีคำเรียกว่า ตามรู้จิตไม่ถึงตัวจิตสักที

เหมือนกับคนตามรอยโค ต้องรู้เท่ารู้ทันตัวจิต จิตจึงจะอยู่แล้วรวมเข้ามาเป็นใจ มีแต่ผู้รู้อยู่เฉย ๆ ไม่มีการปรุงแต่งสัญญาอารมณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิเมื่อฝึกหัดถูกแล้วย่อมรวมเป็นหนึ่งได้

การฝึกหัดสมาธิไม่ว่าจะฝึกหัดแบบไหน วิธีอย่างไร หรือลัทธิอะไรก็ตาม

ถ้าตั้งจิตให้ถูก คือ ความบริสุทธิ์ของใจแล้ว
จะต้องทำใจให้เป็นกลาง ๆ ไม่ให้มีกิเลสอะไรเจือปนในใจก่อน

เมื่อจิตเป็นกลางอยู่เฉย ๆ แน่นอนที่สุดจิตของปุถุชนคนเราจะต้องแส่ส่ายหากิเลสมาประสมใจ ซึ่งใช้อายตนะทั้งหกเป็นสื่อสัมพันธ์ทั่วทั้งโลกเข้ามาประสมกับจิตของตน


ผู้ฝึกหัดจิตของตนให้เข้าถึงใจที่เป็นกลางแล้วจะเห็นได้ชัดเลยว่า กิเลสที่มาหุ้มห่อจิตทั้งหมดนั้นเกิดจากจิตไปแสวงหามาทั้งนั้น

เกิดมาในกามภพหมกมุ่นอยู่กับกามกิเลส กิเลสเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสกามเป็นมูลฐาน เกิดมาเป็นคนต้องทำมาหาเลี้ยงชีพเพื่อความอยู่รอด จะเพื่อตนเองและคนอื่นก็ตาม ล้วนแต่มีกามเป็นพื้นฐานจึงจะทำได้

แม้จะบวชเป็นบรรพชิตก็ตาม กามย่อมติดตามอยู่เสมอ

จะเห็นได้จากบางท่านบางองค์ประพฤติตนไปในทางกามกิเลส เห็นได้เลยว่าประพฤติตนมิใช่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ หมกมุ่นอยู่แต่ในกามกิเลสตลอดเวลาที่เป็นบรรพชิต เพราะไม่ได้ฝึกหัดจิตของตนเพื่อให้พ้นจากเครื่องเศร้าหมอง

จึงไม่เห็นจิตที่เป็นกลางวางเฉยได้ แบกแต่ภาระหนักอยู่ร่ำไป


นักฝึกหักจิตทำสมาธิให้แน่วแน่เป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว จะมองเห็นกิเลสในจิตของตนเองทุกกาลทุกเวลาว่า มีกิเลสหยาบและละเอียดหนาบางขนาดไหนเกิดขึ้นที่จิต เกิดจากเหตุอะไร และจะต้องชำระด้วยวิธีอย่างไรจิตจึงจะบริสุทธิ์ผ่องใส

ค้นคว้าหากิเลสของตนเองอยู่ทุกเมื่อ กิเลสก็จะหมดสิ้นไป จิตก็จะผ่องใสขึ้นตามลำดับ

ผลที่สุดจิตที่วุ่นวายทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีกามกิเลสเป็นมูลฐาน กิเลสก็เกิดขึ้นที่จิต จิตนี้เป็นผู้ไปแสวงหามา


เมื่อจิตหยุดแสวงหา จิตก็รวมเข้ามาเป็นใจ คือตัวกลาง ๆ วาง เฉย และรู้ตัวว่าวางเฉย นั่นแลเป็นที่สุดของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาอันนี้

สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "แม่น้ำน้อยใหญ่ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร เมื่อไหลลงสู่มหาสมุทรแล้วย่อมมีรสชาติเค็มเป็นอันเดียวกัน ธรรมะของเราตถาคตก็เช่นนั้นเหมือนกัน "


ของดีมีในศาสนาพุทธ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

http://www.thewayofdhamma.org/page2/เนื้อหาของดี.htm

แล้วมาต่อคำเทศนาขององค์หลวงปู่เทสก์อีกซักครั้งในคราวหน้า ก่อนที่วิสุทธิปาละจะช่วยเสริมขยายความตามกำลังสติปัญญาจากประสบการณ์ในการปฏิบัติภาวนาที่พอจะมีในคราวต่อไปนะครับ :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร