วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 00:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 23  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 01:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
งั้นก็คงต้อง เอาจิตที่เป็นปัจจุบันขณะเช่นจิตที่เป็นกามสัญญามาเจริญอย่างเดียว...แล้วก็เอาการระลึกในทางอกุศล(มิจฉาสติ)ในปัจจุบันขณะมาเจริญถึงจะหลุดพ้นไม่มีภพชาติได้ อืมเอาจิตที่มีนิวรณ์ห้าในปัจจุบันขณะ มาเจริญด้วยก็ดีนะ อวิชชาจะได้อ้วนๆ เพราะมีอาหารกินได้เยอะๆ
กรรมฐาน40กองคงไม่มีประโยชน์อันใดแล้วกระมัง

สวัสดี "หลับอยู่"
การเจริญสติปัฏฐาน มีการเพ่งเพียร ทำความระลึกทำความรู้สึกตัว ละความยินดียินร้ายในโลก
เป็นการเจริญจิตตภาวนา พอกพูนปัญญา ในจิตปัจจุบัน
แม้จิตที่ยังเป็นกามาพจรอันเป็นจิตปัจจุบัน ก็เป็นการเจริญจิตอันเป็นกุศลในกามาพจรเพื่อละ อกุศลจิตอันเป็นกามาพจรจิต
เมื่อตั้งสติทำความรู้สึกตัว ก็เป็นการละนิวรณ์เข้าสู่ปฐมฌานได้ โดยจิตปัจจุบันเช่นกัน
ในกามาพจรจิตอันเป็นกุศล สตินั้นแม้ไม่ใช่สติอันเป็นอริยะ แต่ก็เป็นสติอันมีส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อยู่ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 01:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนั้นผมเข้าใจครับ ผมต้องการสื่อถึง ว่าเราต้องคัดจิตเลือกจิตที่เป็นกุศลต่างหาก เพราะอกุศลฌานก้มี

ถ้าเราไปมีเพศสัมพันธ์แล้วทำความรู้สึกตัวในขณะปัจจุบันตอนอย่างว่ามันจะเป็นอย่างไรล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 04:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับ
แห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็น
ที่ตั้งแห่งเวทนา หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อัน
ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ
[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย
กาย วาจา ใจ ในบัดนี้
นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ
[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้อง
วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับ
แห่งกรรม ฯ
[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความ
ดับกรรม ฯ
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม
และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้
อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่า
ประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อ
เธอทั้งหลาย ฯ

"คุณเช่นนั้น"ครับ ผมว่าคุณจะเกิดความสับสนนะครับ ที่ผมรบกวนให้คุณอธิบาย
เป็นพระสูตรที่อ้างอิงอยู่ข้างบนนี้ครับ ผมได้ให้คุณเอาพระสูตรอื่นมาแปะเพิ่ม
สงสัยคุณจะไม่เข้าใจคำว่า การอธิบายความกับคำว่าจำความ สองอย่างมันแตกต่างกัน

มันก็เหมือนกับที่เคยบอกไว้ว่า เรื่องสมเสร็จ นี่ก็มาจับแพะชนแกะอีกแล้ว
ประเด็นที่ผมถามคือ พระสูตรที่คุณโพสมันเกี่ยวกับปฏิจจสมุบาทอย่างไร
แต่คุณไปหยิบยกเอาเรื่องนรกสวรรค์ หล่อสวยอะไรมาแปะอีก ผมว่าคุณไม่เข้าใจ
เรื่องปฏิจจ์นะครับ

ปฏิจจ์ฯบอกให้รู้ว่า ความยึดมั่นถือมั่นทำให้เกิดการเวียนว่ายในสังสารวัฏ
พระพุทธองค์จึงทรงให้เราอย่าไปยึดมั่นถือมั่นในกรรมทั้งเก่าและใหม่


แต่เรื่องหรือพระสูตรที่คุณนำมาแปะ มันเป็นเรื่องของความยึดมั่นทั้งนั้น
สอนให้ทำดี ชาติหน้าจะได้หล่อได้สวย มีอาการครบ32 ผมว่ามันเข้าทำนอง
ไปไหนมาสามวาสองศอกแล้วล่ะครับ

จะบอกให้ครับว่า เรื่องใดที่เกี่ยวกับพระสูตรของคุณและปฏิจจฯ
เรื่องที่คุณยกเอามา มันเป็นกรรมอันเกิดขึ้นที่กระบวนการขันธ์ห้า อันนี้เขาเรียกว่า กรรมเก่า
แต่ถ้าเป็นกระบวนการปฏิจจสมุบาท มันเป็นกรรมใหม่

อธิบายเพิ่มเติมก็คือ กรรมที่เกิดจากกระบวนการขันธ์มันดับไปแล้ว แต่สิ่งที่ยังไม่ดับ
ก็คือ ตวามยึดมั่นถือมั่นในกรรมนั้น และความยึดมั่นถือที่เกิดจากกระบวนการขันธ์
นี่แหล่ะ เขาเรียกว่า กรรมใหม่ในปฏิจจ์มันจะส่งผลให้เกิดวัฏสงสาร เกิดรูปนามใหม่ขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
การจะเข้าใจปฏิจจสมุบาทได้ จะต้องมีความเข้าใจถึงกระบวนการขันธ์ห้าเสียก่อน
เพราะการจะแทงตลอดปฏิจจสมุบาทได้ มันต้องอาศัยกระบวนการขันธ์ห้า
เฉกเช่นการจะรู้อริยสัจจ์สี่ต้องรู้ที่รูปนามหรือที่กายใจ

การศึกษาปฏิจสมุปบาท
เมื่อพิจารณาดูหลักคำสอน จะเห็นเรื่อง ผัสสะ อายตนะ เป็นหลักในการทำความเข้าใจ
เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและอธิบายเพื่อทำความเข้าใจได้ง่าย
บ่อยครั้งมากที่การแสดงธรรมจะเริ่มจากเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายไล่เรียงไปสู่เรื่องที่ละเอียดขึ้นๆ
เช่น
การแสดงธรรมไล่เรียงจาก ชรามรณะ ฯลฯ มีชาติเป็นปัจจัย แสดงไล่ไปสู่ สังขาร มีอวิชชาเป็นปัจจัย
ส่วนเรื่องขันธ์5 ไม่ทรงแสดงไว้ในปฏิจสมุปบาท ด้วยเหตุว่าพระองค์แสดงถึงกองทุกข์ทั้งมวลเกิดเพราะเหตุปัจจัย ซึ่งขันธ์5 ไม่ใช่กองทุกข์ แต่ปัญจุปาทานขันธ์จึงเป็นกองทุกข์ การแสดงปฏิจสมุปบาท จึงแสดงอวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา อุปาทาน ภพ ชาติ และกองทุกข์ ซึ่งเมื่อเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ก็จะเข้าใจขันธ์ 5 ไปด้วย เพราะต้องทำความเข้าใจไปพร้อมๆกัน
การเรียนรู้ ธรรม จึงควรจะเป็นผู้ฉลาดใน ปฏิจสมุปบาท อายตนะ ธาตุ ในฐานะและอฐานะ



นี้ก็ทางเดียวกันทั้ง 2 ท่านนะ ผมว่า


คล้ายแต่ไม่เหมือน
ในปฏิจจสมุปาบาท ให้ความสำคัญต่อการแสดงการเกิดขึ้นแห่งปัญจุปาทานขันธ์

ผมว่ามันไม่คล้ายและไม่เหมือนเลยล่ะ วงจรปฏิจจ์ไม่สามารถเปลี่ยนได้
การจะจบหรือไม่จบของปฏิจจ์จะต้องไปดูที่มรณะ ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ที่กระบวนการขันธ์
อริยมรรคก็เกิดขึ้นที่กระบวนการขันธ์ อุปปาทานขันธ์ก็เกิดที่กระบวนการขันธ์
ส่วนอุปาทานในปฏิจจ์ มันเป็นอุปาทานขันธ์ของภพชาติที่แล้ว ถึงแม้จะเกิดหรือไม่เกิด
อุปาทานขันธ์ในปัจจุบัน อุปาทานในวงปฏิจจ์ปัจจุบันมันก็ยังมีอยู่

ความสำคัญมันอยู่ที่กระบวนการขันธ์ ดังที่บอกมาแล้วว่า อริยมรรคเกิดที่กระบวนการขันธ์
เราจึงต้องศีกษาและปฏิบัติในส่วนของกระบวนการขันธ์เสียก่อน เมื่อได้ผลแล้วเราจะเข้าใจ
เรื่องปฏิจจสมุบาทโดยปริยาย

อย่าลืมอีกครับว่า เราปฏิบัติอริยมรรคมีองค์แปด และมรรคมีองค์แปดอยู่ในอริยสัจจ์สี่
ในอวิชากล่าวไว้เป็นอันดับต้นๆว่า การไม่รู้อริยสัจจ์สี่ ดังนั้นเราต้องรู้ต้องศึกษาอริยสัจจ์สี่
ก่อนครับ เราจึงจะรู้อวิชาอีกสี่ตัวสุดท้ายในอวิชาแปด แล้วกรุณาสังเกตุดูให้ดี การรู้ปฏิจจสมุบาท
มันเป็นตัวสุดท้ายของ อวิชาแปดเลยครับ

ดังนั้นก็คิดดูให้ดีครับว่า ระหว่างกระบวนการขันธ์กับกระบวนการปฏิจจสมุบาท
เราต้องรู้ต้องศึกษาเรื่องใดก่อน

และผมว่านะครับ เราทำตามอริยสัจจ์สี่ ซึ่งมันก็ต้องทำต้องปฏิบัติที่กายใจ
หรือรูปนามขันธ์ห้า จนถึงขั้นอริยมรรคแล้ว เราจะรู้และเข้าใจ ปฏิจจ์เองโดยไม่ต้อง
มานั่งท่องนั่งศึกษาหรอกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 07:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ตรงนั้นผมเข้าใจครับ ผมต้องการสื่อถึง ว่าเราต้องคัดจิตเลือกจิตที่เป็นกุศลต่างหาก เพราะอกุศลฌานก้มี

ถ้าเราไปมีเพศสัมพันธ์แล้วทำความรู้สึกตัวในขณะปัจจุบันตอนอย่างว่ามันจะเป็นอย่างไรล่ะ


แปลว่าไม่เคยพิจารณาจิตตอนมีเพศสัมพันธ์ ความรู้สึกจะหายไปชั่วขณะมาที่คิด แล้วมารู้สึกที่อวัยวะ แล้วพิจารณา แล้วความรู้สึกก็หายไปอีก มาที่คิดอีก วนไปมา ไม่เห็นมีอะไรต่างกับตอนได้กินของที่ชอบ สุขเกิดดับตามจิต สุดท้ายก็หายไป แล้วจะเห็นว่า แล้วมันดีตรงไหน สิ่งนี้แหละหนอที่ทำให้ผู้มีความเพียรทั้งหลายติดอยู่ใน วัฐสงสาร แล้วความจางคลายในการอยากมีเพศก็จะคลายลง เหลือผลที่อวัยวะอย่างเดียว เมื่อเสร็จกิจ จะเห็น ก็แค่นั้นเอง

จากนั้น ความอยากมีเพศสัมพันธ์ ก็จะลดลงเอง


ส่วนเรื่อง ปัจจุบันขณะ กรรมฐานทั้งหมด ล้วนกระทำจิตให้อยู่ใน ปัจจุบันขณะ ทั้งนั้น จิตที่ได้รับการฝึกแล้ว แรกๆที่จิตยังมีอกุศลอยู่ จะเห็นเมื่อจิตเกิดอกุศล และสามารถนำธรรมมาจางคลายความเป็นอกุศลนั้น เมื่อพัฒนาจนถึงขั้นอกุศลไม่เกิด แล้ว ทุกปัจจุบันขณะ ที่เจริญสติไม่ว่าจะลมหายใจ การเคลื่นไหว หรือ นึกถึงพระพุทธองค์ หรือทั้ง3แบบรวมกัน ในกิจวัตรประจำวัน จะเห็นจิต ที่วิ่งไปมาตาม ผัสสะทั้ง6 ที่กระโดดไปโนนที่นั้นที่ สั่งมันไม่ได้เลย บางครั้งก็จิตรู้ก็หายไปเลย เพราะเกิดแต่จิตคิด ในการในงานนั้นทั้งวัน จะเกิดจิตรู้อีกที่ก็ สติกลับมาแล้ว คนที่เพ่งหรือตั้งใจกดจิตไว้ จะมีโทสะ เกิดเมื่อจิตรู้หลุดไป เกิดกิเลสซ้อนกิเลส ดังนั้นจึงต้อง ต้องไม่เพ่งเพียงรู้ไปเรื่อยๆไม่รู้ก็ไม่เป็นไร ทำไปเรื่อย แล้วจิตรู้จะเกิดเองบ่อยขึ้นเอง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในการฝึกจนเกินความเป็นกลาง

ต้องฝึกเพื่อ ละ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะ มี
เอาแค่นี้ละกัน ใครจะเชื่อหรือไม่ ก็ชั่งมันเถอะ ก็มันเป็นเช่นนั้นเอง :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 07:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
พระพุทธองค์ ทั้งเรื่องกรรม และ ปฏิจจสมุปบาท ก็ทรงแสดงไว้ทั้ง ใน ข้ามภพข้ามชาติ ปัจจุบันชาติ และปัจจุบันขณะ
อดีต<-- ปัจจุบันขณะ -->อนาคต พระอาจารย์ทั้งหลายท่านจึงแน้นที่ ปัจจุบันขณะ ลงที่ เจริญสติ เป็นสำคัญ จะทำให้ พ้นทุกข์ได้ทั้ง ปัจจุบัณขณะ ปัจจุบันชาติ จนไม่มีภพชาติ
ไม่ไหวจะเป็นหนอนกัดกินใบลาน


:b8:

งั้นก็คงต้อง เอาจิตที่เป็นปัจจุบันขณะเช่นจิตที่เป็นกามสัญญามาเจริญอย่างเดียว...แล้วก็เอาการระลึกในทางอกุศล(มิจฉาสติ)ในปัจจุบันขณะมาเจริญถึงจะหลุดพ้นไม่มีภพชาติได้ อืมเอาจิตที่มีนิวรณ์ห้าในปัจจุบันขณะ มาเจริญด้วยก็ดีนะ อวิชชาจะได้อ้วนๆ เพราะมีอาหารกินได้เยอะๆ
:b5: :b14: กรรมฐาน40กองคงไม่มีประโยชน์อันใดแล้วกระมัง



อะจาก!!!!! คิดได้งัย สุดยอดเลย :b35: :b35: :b35:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Cheeplauy3.jpg
Cheeplauy3.jpg [ 46.53 KiB | เปิดดู 3851 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
เหลือผลที่อวัยวะอย่างเดียว เมื่อเสร็จกิจ จะเห็นก็แค่นั้นเอง



(วิธีจารอวัยวะ...)

ศาสนาฮินดู ก็มีพวกที่ปฏิบัติตน..ไม่นุ่งห่มอะไร..และถือครองเพศพรหมจรรย์อยู่..เรียกว่าพวกนาคะบาบา.

การโชว์ พิเศษสุด โดยการนำท่อนไม้มาพันกับอวัยวะเพศของตัวเอง แล้วก็พาดไปด้านหลังให้ลูกศิษย์

ขึ้นเหยียบ ๆ และขย่ม ๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่า..หมดแล้วซึ่งความต้องการ....?

พอแสดงจบชีเปลือยก็บอกว่า...My friend I want to go to Thailand with you

http://www.oknation.net/blog/mylifeandw ... 07/entry-1

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b9:เหลือผลที่อวัยวะอย่างเดียว :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
แปลว่าไม่เคยพิจารณาจิตตอนมีเพศสัมพันธ์

ทำไมต้องพิจารณา จิต ตอนมีเพศสัมพันธ์หรอเจ้าค่ะ ในเมื่อ เสพกามราคะอยู่ ยังจะมีอารมณ์พิจารณาจิตได้ด้วยหรือ ทำไมไม่พิจารณาก่อนจะกระทำลงไป ถ้าเป็นเพศคฤหัสครองเรือน ยากเจ้าค่ะที่จะละสังโยชน์ ตัวที่4 คือกามราคะออกไปได้ ถ้ายังติดใจในกามคุณอยู่ แล้วก็เลิกฝันถึงความเป็นอริยะบุคคลขั้นสูงได้เลย
ดิฉันใช้วิธี อสุภะกรรมฐาน เห็นตามความเป็นจริงว่า รูปกายนี้ไม่เที่ยง จี้มันอยู่อย่างนั้นว่า นี่แหละตัวตนของเราไม่มีสิ่งไดเลยเป็นของเรานอกจากความตายเท่านั้น ยังจะอยากอยู่อีกหรอ จี้ร่างกายของตนว่าเป็นของเน่าของโสมม จนมันคลายความอยาก+กับดิฉันเห็นทุกข์ใน อริยสัจ ด้วยแหละเจ้าค่ะ ถึงได้ละสังโยชน์ตัวที่ 4ได้ ตัวที่5 คือ ปฏิฆะก็ยังเหลืออยู่ เพราะยังเอาออกไม่ได้ซึ่งความยินดียินร้าย การละสังโยชน์คือการบำเพ็ญเพื่อให้ได้ มรร ผล ส่วนนิพพานเป็นของแพง ชาตินี้ดิฉันมิอาจเอื้อมหรอกเจ้าค่ะ :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
"คุณเช่นนั้น"ครับ ผมว่าคุณจะเกิดความสับสนนะครับ ที่ผมรบกวนให้คุณอธิบาย
เป็นพระสูตรที่อ้างอิงอยู่ข้างบนนี้ครับ ผมได้ให้คุณเอาพระสูตรอื่นมาแปะเพิ่ม
สงสัยคุณจะไม่เข้าใจคำว่า การอธิบายความกับคำว่าจำความสองอย่างมันแตกต่างกัน

มันก็เหมือนกับที่เคยบอกไว้ว่า เรื่องสมเสร็จ นี่ก็มาจับแพะชนแกะอีกแล้ว
ประเด็นที่ผมถามคือ พระสูตรที่คุณโพสมันเกี่ยวกับปฏิจจสมุบาทอย่างไร
แต่คุณไปหยิบยกเอาเรื่องนรกสวรรค์ หล่อสวยอะไรมาแปะอีก ผมว่าคุณไม่เข้าใจ
เรื่องปฏิจจ์นะครับ
ปฏิจจ์ฯบอกให้รู้ว่า ความยึดมั่นถือมั่นทำให้เกิดการเวียนว่ายในสังสารวัฏ
พระพุทธองค์จึงทรงให้เราอย่าไปยึดมั่นถือมั่นในกรรมทั้งเก่าและใหม่
แต่เรื่องหรือพระสูตรที่คุณนำมาแปะ มันเป็นเรื่องของความยึดมั่นทั้งนั้น
สอนให้ทำดี ชาติหน้าจะได้หล่อได้สวย มีอาการครบ32 ผมว่ามันเข้าทำนอง
ไปไหนมาสามวาสองศอกแล้วล่ะครับ

จะบอกให้ครับว่า เรื่องใดที่เกี่ยวกับพระสูตรของคุณและปฏิจจฯ
เรื่องที่คุณยกเอามา มันเป็นกรรมอันเกิดขึ้นที่กระบวนการขันธ์ห้า อันนี้เขาเรียกว่า กรรมเก่า
แต่ถ้าเป็นกระบวนการปฏิจจสมุบาท มันเป็นกรรมใหม่

อธิบายเพิ่มเติมก็คือ กรรมที่เกิดจากกระบวนการขันธ์มันดับไปแล้ว แต่สิ่งที่ยังไม่ดับ
ก็คือ ตวามยึดมั่นถือมั่นในกรรมนั้น และความยึดมั่นถือที่เกิดจากกระบวนการขันธ์
นี่แหล่ะ เขาเรียกว่า กรรมใหม่ในปฏิจจ์มันจะส่งผลให้เกิดวัฏสงสาร เกิดรูปนามใหม่ขึ้น

คุณโฮฮับ
พระสูตรสองพระสูตรที่ยกขึ้นมาแสดง
พระพุทธองค์ แสดงถึง เหตุปัจจัย เจตนาที่ทำแล้ว ในอดีต ว่าเป็นกรรมเก่า ก็คือปฏิจสมุปบาทอันเกิดขึ้นแล้วในอดีต มีผลต่อ กายต่อใจ ในปัจจุบันอย่างไร

ซึ่งกายและใจในปัจจุบัน ไม่ใช่กรรมเก่า แต่เหตุปัจจัย เจตนาที่ทำแล้วเป็นกรรมเก่า

โฮฮับคงต้องอ่านทำความเข้าใจให้ดี

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ผมว่ามันไม่คล้ายและไม่เหมือนเลยล่ะ วงจรปฏิจจ์ไม่สามารถเปลี่ยนได้
การจะจบหรือไม่จบของปฏิจจ์จะต้องไปดูที่มรณะ ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ที่กระบวนการขันธ์
อริยมรรคก็เกิดขึ้นที่กระบวนการขันธ์ อุปปาทานขันธ์ก็เกิดที่กระบวนการขันธ์
ส่วนอุปาทานในปฏิจจ์ มันเป็นอุปาทานขันธ์ของภพชาติที่แล้ว ถึงแม้จะเกิดหรือไม่เกิด
อุปาทานขันธ์ในปัจจุบัน อุปาทานในวงปฏิจจ์ปัจจุบันมันก็ยังมีอยู่

ความสำคัญมันอยู่ที่กระบวนการขันธ์ ดังที่บอกมาแล้วว่า อริยมรรคเกิดที่กระบวนการขันธ์
เราจึงต้องศีกษาและปฏิบัติในส่วนของกระบวนการขันธ์เสียก่อน เมื่อได้ผลแล้วเราจะเข้าใจ
เรื่องปฏิจจสมุบาทโดยปริยาย

อย่าลืมอีกครับว่า เราปฏิบัติอริยมรรคมีองค์แปด และมรรคมีองค์แปดอยู่ในอริยสัจจ์สี่
ในอวิชากล่าวไว้เป็นอันดับต้นๆว่า การไม่รู้อริยสัจจ์สี่ ดังนั้นเราต้องรู้ต้องศึกษาอริยสัจจ์สี่
ก่อนครับ เราจึงจะรู้อวิชาอีกสี่ตัวสุดท้ายในอวิชาแปด แล้วกรุณาสังเกตุดูให้ดี การรู้ปฏิจจสมุบาท
มันเป็นตัวสุดท้ายของ อวิชาแปดเลยครับ

ดังนั้นก็คิดดูให้ดีครับว่า ระหว่างกระบวนการขันธ์กับกระบวนการปฏิจจสมุบาท
เราต้องรู้ต้องศึกษาเรื่องใดก่อน

และผมว่านะครับ เราทำตามอริยสัจจ์สี่ ซึ่งมันก็ต้องทำต้องปฏิบัติที่กายใจ
หรือรูปนามขันธ์ห้า จนถึงขั้นอริยมรรคแล้ว เราจะรู้และเข้าใจ ปฏิจจ์เองโดยไม่ต้อง
มานั่งท่องนั่งศึกษาหรอกครับ

โฮฮับสามารถรู้และเข้าปฏิจสมุปบาทโดยไม่ต้องนั่งท่องนั่งศึกษา ได้ยินได้ฟังมาเลยจริงหรือครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 14:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
แปลว่าไม่เคยพิจารณาจิตตอนมีเพศสัมพันธ์

ทำไมต้องพิจารณา จิต ตอนมีเพศสัมพันธ์หรอเจ้าค่ะ ในเมื่อ เสพกามราคะอยู่ ยังจะมีอารมณ์พิจารณาจิตได้ด้วยหรือ ทำไมไม่พิจารณาก่อนจะกระทำลงไป ถ้าเป็นเพศคฤหัสครองเรือน ยากเจ้าค่ะที่จะละสังโยชน์ ตัวที่4 คือกามราคะออกไปได้ ถ้ายังติดใจในกามคุณอยู่ แล้วก็เลิกฝันถึงความเป็นอริยะบุคคลขั้นสูงได้เลย
ดิฉันใช้วิธี อสุภะกรรมฐาน เห็นตามความเป็นจริงว่า รูปกายนี้ไม่เที่ยง จี้มันอยู่อย่างนั้นว่า นี่แหละตัวตนของเราไม่มีสิ่งไดเลยเป็นของเรานอกจากความตายเท่านั้น ยังจะอยากอยู่อีกหรอ จี้ร่างกายของตนว่าเป็นของเน่าของโสมม จนมันคลายความอยาก+กับดิฉันเห็นทุกข์ใน อริยสัจ ด้วยแหละเจ้าค่ะ ถึงได้ละสังโยชน์ตัวที่ 4ได้ ตัวที่5 คือ ปฏิฆะก็ยังเหลืออยู่ เพราะยังเอาออกไม่ได้ซึ่งความยินดียินร้าย การละสังโยชน์คือการบำเพ็ญเพื่อให้ได้ มรร ผล ส่วนนิพพานเป็นของแพง ชาตินี้ดิฉันมิอาจเอื้อมหรอกเจ้าค่ะ :b9:


ธรรมะ แปลว่า หน้าที่ ยังมีเหตุปัจจัยที่ต้องครองเรือน ก็ต้องทำหน้าที่ จิตวิญญาณรอบๆกาย ก็ยังต้องดูแล ตามเหตุและปัจจัย นั้น
ส่วนอสุภะ หรือ :b12: :b12: :b12:
อะไรๆมันก็ไม่แน่
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 14:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
:b9:เหลือผลที่อวัยวะอย่างเดียว :b32:


:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คุณโฮฮับ
พระสูตรสองพระสูตรที่ยกขึ้นมาแสดง
พระพุทธองค์ แสดงถึง เหตุปัจจัย เจตนาที่ทำแล้ว ในอดีต ว่าเป็นกรรมเก่า ก็คือปฏิจสมุปบาทอันเกิดขึ้นแล้วในอดีต มีผลต่อ กายต่อใจ ในปัจจุบันอย่างไร

ซึ่งกายและใจในปัจจุบัน ไม่ใช่กรรมเก่า แต่เหตุปัจจัย เจตนาที่ทำแล้วเป็นกรรมเก่า

โฮฮับคงต้องอ่านทำความเข้าใจให้ดี

มันไม่ใช่ผม ที่ต้องอ่านครับ ผมก็บอกคุณแล้วว่า คุณไปเอาเรื่องกระบวนการขัน์
มาปนเปกับปฏิจจ์ฯ จะอธิบายให้ฟังนะครับ ในกระบวนการปฏิจจ์ท่านไม่ได้ให้
ไปรู้เรื่องผลบุญผลบาปครับ แต่ท่านต้องการให้รู้ว่า การเกิดหรือการเวียนว่าในวัฏสงสาร
มันเป็นทุกข์และจะพ้นทุกข์ได้ก็ด้วยการไม่ต้องเกิด ไม่มีผลบุญ ผลบาป


ผมถึงได้อ้างถึงอริยสัจจ์สี่ และการปฏิบัติมรรคมีองค์แปด การปฏิบัติอริยมรรคก็เพื่อ
ไม่ต้องมาเกิดอีก และการปฏิบัติอริยมรรคก็ทำที่กายใจหรือรูปนามกระบวนการขันธ์

กระบวนการปฏิจจ์ฯ ไม่เกี่ยวกับผลบุญผลบาป คนเราต่อให้ทำบุญมามากแค่ไหน
หรือทำบาปมามาก ต่อมาวาระหนึ่งเราถึงจุดแห่งการไม่ยึดมั่น ทั้งผลบุญผลบาป
ก็ไม่มีความหมายครับ ตัวอย่างเช่นองคุลีมาล

ว่ากันตามจริงแล้วเรื่องผลบุญผลบาป ศาสนาอื่นก็มีครับแต่พระพุทธองค์มาสอนให้เราอย่า
ไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนี้ ความดีก็คือความยึดมั่น ความเลวก็เช่นกันครับ
ปฏิจจสมุบาทไม่ได้แบ่งแยกดีเลว กุศลอกุศลครับเพราะปฏิจจสมุบาททุกอย่างที่กล่าวมาเป็น
ความยึดมั่นถือมั่น มันเป็นอวิชา มันส่งผลให้ต้องไปเกิดใหม่ครับ

ถ้าคุณเช่นนั้น จะพูดถึง ผลบุญ ผลบาป ไม่ต้องศึกษาเรื่องปฏิจจสมุบาทหรอกครับ
เรื่องนี้เขาสอนกันมาตั้งแต่จำความได้แล้วครับ เด็กก็รู้ครับว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ทำบุญเพราะอยากขึ้นสวรรค์ ไม่ทำชั่วเพราะกลัวตกนรกอะไรเทือกนั้นแหล่ะครับ

เช่นนั้น เขียน:
คุณโฮฮับ
พระสูตรสองพระสูตรที่ยกขึ้นมาแสดง
พระพุทธองค์ แสดงถึง เหตุปัจจัย เจตนาที่ทำแล้ว ในอดีต ว่าเป็นกรรมเก่า ก็คือปฏิจสมุปบาทอันเกิดขึ้นแล้วในอดีต มีผลต่อ กายต่อใจ ในปัจจุบันอย่างไร

เจตนาที่คุณบอกถ้าเป็น ความยึดมั่นถือมั่นในกุศลและอกุศล เป็นกรรมเก่าในปฏิจจ์ของอดีต
ชาติที่แล้วนะ ใช่ครับ

แต่มันไม่ได้มีผลที่เกี่ยวกับบาปบุญ สวยหล่อแบบที่คุณบอกครับ
ผลที่มาจากปฏิจจ์ที่แล้วมันก็คือรูปนามหรือกายใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
มันเป็นแค่อายตนะหกและนามที่เกิดจากอายตนะสิบสองครับ ไม่มีสวยหล่อ
อาการครบ32อะไรของคุณ คนพิการก็สามารถปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากวงปฏิจจ์ได้ครับ

เช่นนั้น เขียน:
ซึ่งกายและใจในปัจจุบัน ไม่ใช่กรรมเก่า แต่เหตุปัจจัย เจตนาที่ทำแล้วเป็นกรรมเก่า
โฮฮับคงต้องอ่านทำความเข้าใจให้ดี


คุณพูดฟังยากนะครับ กรรมเก่ากรรมใหม่พูดมากไปก็ยิ่งเละ
ผมจะทำความเข้าใจให้คุณใหม่นะครับ ฟังนะครับ

กายใจในปัจจุบันเป็นผลอันเกิดจาก การยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตัวกระทำในชาติที่แล้ว
หรือวงปฏิจจ์ในชาติก่อน

ส่วนเรื่องเจตนาที่ทำแล้วตามที่คุณบอก มันเป็นการกระทำของกายใจ
ในชาตินี้ มันเป็นกรรมใหม่ เพราะมันยังไม่ส่งผล ส่งผลที่ผมบอกนี่ไม่ใช่ผลบุญหรือผลบาป
แต่มันเป็นการทำให้ต้องไปเกิดใหม่ หมุนเวียนในปฏิจจ์ใหม่ครับ


พระพุทธเจ้าให้ความหมายของคำว่าทุกข์ก็คือการเกิดเป็นทุกข์
หวังว่าคงเข้าใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ผมว่ามันไม่คล้ายและไม่เหมือนเลยล่ะ วงจรปฏิจจ์ไม่สามารถเปลี่ยนได้
การจะจบหรือไม่จบของปฏิจจ์จะต้องไปดูที่มรณะ ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ที่กระบวนการขันธ์
อริยมรรคก็เกิดขึ้นที่กระบวนการขันธ์ อุปปาทานขันธ์ก็เกิดที่กระบวนการขันธ์
ส่วนอุปาทานในปฏิจจ์ มันเป็นอุปาทานขันธ์ของภพชาติที่แล้ว ถึงแม้จะเกิดหรือไม่เกิด
อุปาทานขันธ์ในปัจจุบัน อุปาทานในวงปฏิจจ์ปัจจุบันมันก็ยังมีอยู่

ความสำคัญมันอยู่ที่กระบวนการขันธ์ ดังที่บอกมาแล้วว่า อริยมรรคเกิดที่กระบวนการขันธ์
เราจึงต้องศีกษาและปฏิบัติในส่วนของกระบวนการขันธ์เสียก่อน เมื่อได้ผลแล้วเราจะเข้าใจ
เรื่องปฏิจจสมุบาทโดยปริยาย

อย่าลืมอีกครับว่า เราปฏิบัติอริยมรรคมีองค์แปด และมรรคมีองค์แปดอยู่ในอริยสัจจ์สี่
ในอวิชากล่าวไว้เป็นอันดับต้นๆว่า การไม่รู้อริยสัจจ์สี่ ดังนั้นเราต้องรู้ต้องศึกษาอริยสัจจ์สี่
ก่อนครับ เราจึงจะรู้อวิชาอีกสี่ตัวสุดท้ายในอวิชาแปด แล้วกรุณาสังเกตุดูให้ดี การรู้ปฏิจจสมุบาท
มันเป็นตัวสุดท้ายของ อวิชาแปดเลยครับ

ดังนั้นก็คิดดูให้ดีครับว่า ระหว่างกระบวนการขันธ์กับกระบวนการปฏิจจสมุบาท
เราต้องรู้ต้องศึกษาเรื่องใดก่อน

และผมว่านะครับ เราทำตามอริยสัจจ์สี่ ซึ่งมันก็ต้องทำต้องปฏิบัติที่กายใจ
หรือรูปนามขันธ์ห้า จนถึงขั้นอริยมรรคแล้ว เราจะรู้และเข้าใจ ปฏิจจ์เองโดยไม่ต้อง
มานั่งท่องนั่งศึกษาหรอกครับ

โฮฮับสามารถรู้และเข้าปฏิจสมุปบาทโดยไม่ต้องนั่งท่องนั่งศึกษา ได้ยินได้ฟังมาเลยจริงหรือครับ

ตอนแรกเห็นวงปฏิจจสมุบาท อิทัปปัจจยตา อ่านอย่างไรฟังเขาอธิบายก็ไม่รู้เรื่องครับ
ตอนหลังพอเข้าเรื่องอริยสัจจ์สี่ ถึงเข้าใจวงปฏิจจ์และอิทัปปจยตา เรียกว่าเห็นแค่วงรู้แค่กฎ
ก็เข้าใจแล้วครับ ไม่ได้โม้ :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 23  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร