วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 00:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2012, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
อ่อ เด่วคุนน้องไปตอบธรรมมะเรื่องศีลที่ห้องกฎแห่งกรรมกระทู้ คุนกุหลาบดำก่อนนะเจ้าค่ะไว้จะมาปุชฉา วิสัชนาธรรมต่อ เพราะมีหลายท่านที่ยังสับสนเรื่องศีลเรื่องธรรม ขอบคุนอาจารย์กรัชกายที่เคยให้ความรู้เรื่อง มโนกรรม วจีกรรม กายกรรมแก่คุนน้อง ทำให้คุนน้องเข้าใจธรรมยิ่งขึ้น :b27:


อ้างคำพูด:
มีหลายท่านที่ยังสับสนเรื่องศีลเรื่องธรรม


ดีครับ แล้วจะแอบไปดู :b1: :b12:

อ้าว เรียกอาจารย์สะแล้ว ใครใช้ให้คุณ nong เรียกครับน่า :b14: :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2012, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่ามาล้อเลียนธรรมมะคุนน้องนะ ที่คุนน้องกล่าวมามันครอบคลุมเกี่ยวกับวงจรปฏิจสมุปปบาท ขนาด อัลเบิร์ด ไอสไตรยังยอมรับว่าศาสนาพุทธคือ ธรรมที่อธิบายความได้เข้าถึงหลักของวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็น รูป นาม เหตุปัจจัย ผัสสะ อาตนะ อุปทานขันธ์ ทุกอย่างสามารถอธิบายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2012, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12: :b12:
ความหวัง เป็นอีกชื่อหนึ่งของความอยาก(ตัณหา) เรื่องของความหวังเป็นเรื่องของอนาคต ปุถุชนคนธรรมดาทั้งหลายมักจะนิยมใช้ความหวังเป็นสิ่งกระตุ้นหรือแรงบรรดาลใจให้กระทำการต่างๆ(ทำกรรม)
:b39:
สำหรับชาวพุทธหรือพุทธสาวกแล้ว จะไม่ใช้ความหวังเป็นแรงกระตุ้น แต่จะใช้ ความรู้ที่ถูกต้องตามธรรม เหตุผล ความเป็นจริงและกุศลความดีงามเป็นแรงกระตุ้นให้ทำกรรม
:b37:
ดังเช่นการทำกรรมเจริญสติปัฏฐาน 4 การทำกรรมเจริญมรรค 8 ก็ด้วยเหตุผลว่า จะทำให้หมดกิเลส ตัณหา อัตตา ความเห็นผิด ยึดผิด แล้วจิตดวงนี้จะได้หลุดพ้นจากวังวนแหงบาปและวัฏสงสาร
:b27:

ปลีกวิเวก เขียน:
กรัชกาย เขียน:
จะนำพุทธพจน์ที่ให้เร่งทำกิจ และเตรียมการเพื่ออนาคตมาลงให้อ่าน แต่จะตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออก

"เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้ เราเห็นประจักษ์มากับตัวเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น"


"ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว ฯลฯ ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจอยู่ ย่อมประสบความสุขอันไพบูลย์"


"เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท"

:b8:
FLAME เขียน:
บุคคลถูกโมหะครอบงำ ก็ย่อมมีความหวัง มีความปราถนาในสิ่งต่างๆ ที่น่ารักน่าพอใจ เป็นธรรมดา
ปรารถนาในรูปบ้าง ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฐฐัพพะ ในธัมมารมณ์ บ้าง
แล้วก็แสวงหาสิ่งนั้นๆ มา โดยมากก็มักจะผิดหวัง ที่สมหวังนั้นมีน้อย และสิ่งที่เหล่านั้นก็ไม่เที่ยง
โดยเฉพาะกามทั้งหลายที่มีโทษมาก มีความคับแค้นมาก
ผู้ไม่มีความหลง ไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ เป็นผู้ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง จึงเป็นผู้ที่สงบรำงับ



แสดงว่าความหวังมีที่ควรและไม่ควรหวัง :b10:

การหวังด้วยโมหะเป็นโทษ

การหวังด้วยปัญญาเป็นธรรม

การหวังหรือปรารถนาด้วยความรู้ที่แท้จริงนั้น คงมิใช่หวังลมๆแล้งๆ

แต่หวังผลสำเร็จ เพราะรู้วิธีทำ รู้ผลของการกระทำนั้น

อันนี้ขอเรียกว่าทำเพราะปัญญามิใช่หวังด้วยโมหะที่มักจะเกิดจากการคาดเดา คาดคะเน

ดังที่เรายังปราถนาความดับเย็นแห่งทุกข์

ท่านว่าหวังถูกหวังอย่างไร อย่างไรไม่ควรหวัง :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2012, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่หมดกิเลส ท่านไม่มีความหวังแล้วครับ
ความหวังเป็นเรื่องของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่

ปัญญาความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด
รู้ชัดว่านี่ทุกข์ นี่เหตุแห่งทุกข์ นี่ความดับทุกข์ นี่ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์
ปัญญาพึงเห็นชอบอย่างนี้แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2012, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
เมื่อไคร่ครวญดูเห็นว่าความหวังแท้จริงเป็นเพียงจิตสังขารคิดปรุงแต่งเอา ความสมหวังคือการทำให้สำเร็จดังภาพลวงที่ตั้งไว้ แล้วก็หวังต่อไป ต่อไป

การสอนให้คนมีหวังจึงเป็นเพียงการกระทำให้เสียเวลา มากกว่าการชี้ชัดให้ดูความจริง

หรือคนเราไม่ชอบความจริงจึงเลือกหลงจมอยู่กับความหวัง

ท่านๆว่าอย่างไร :b30:

มันเป็นการหยิบเอาบัญญัติมาใช้ผิดลักษณะครับ ศัพท์ที่เรียกว่า"ความหวัง"
เขาใช้กับ บุคคลที่ปรารถนาสิ่งที่ มีอยู่หรือไม่มีอยู่จริง อาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้
เป็นโลกียะ ถ้าเป็นทางปฏิบัติเรียกว่า มิจฉาทิฐิ ในทางโลกอาจเรียกว่า ความคิดลมๆแล้งๆ

แต่ถ้าเป็นเรื่องของการปฏิบัติ เพื่อการหลุดพ้น จะต้องอาศัย สัมมาทิฐิเป็นตัวนำ
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า จะต้องมีสัมมาทิฐิเสียก่อน แสดงว่าการปฏิบัตินั้นเพื่อให้ได้มา
ในสิ่งที่เป็นจริง ดังนั้นจึงไม่เรียกการนี้ว่า "ความหวัง" มันเป็นส่วนของ อิทธิบาทสี่ ครับ

เรื่องที่คุณบอกว่า การสอนให้คนมีความหวัง มันใช้ได้ครับ แต่ต้องเป็นเรื่องของทางโลก
สิ่งนี้เขาเรียกกำลังใจครับ

แต่ถ้าเป็นเรื่องของการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นแล้ว มันตรงข้ามท่านให้ละทิ้งสิ่งที่ว่า
มันเป็นกิเลส เป็นความอยาก

บางครั้งเราเห็นบัญญัติบางตัว แล้วทำให้สับสนใช้ผิดใช้ถูก
นี่เป็นเพราะมีคนที่ชอบอวดภูมิรู้ แต่ไม่รู้เรื่องอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์
เลยเอามาใช้ผิดๆถูกๆ อาศัยว่า คำศัพท์นั้นๆดูเก๋ดี ที่ไหนได้กลับทำให้
ผู้ที่ไม่รู้มาศึกษาเพื่อให้รู้ กลับเขลายิ่งกว่าเดิม

ที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นก็คือ ลูกศิษย์หรือผู้ศึกษาบางคน
ไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้สอนพูด กลับเสแสร้งว่าเข้าใจในสิ่งนั้น เป็นเพราะ
กลัวถูกตราหน้าว่า..ไร้ปัญญาไม่ฉลาด ด้วยเหตุนี้บัญญัติที่ไม่เกี่ยวข้อง
กับธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนจึงผุดขึ้นมามากมาย มันมาพร้อมกับคนที่อาศัย
ผ้าเหลืองหรืออาศัยพุทธศาสนามาหากินไงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2012, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
อย่ามาล้อเลียนธรรมมะคุนน้องนะ ที่คุนน้องกล่าวมามันครอบคลุมเกี่ยวกับวงจรปฏิจสมุปปบาท ขนาด อัลเบิร์ด ไอสไตร ยังยอมรับว่าศาสนาพุทธคือ ธรรมที่อธิบายความได้เข้าถึงหลักของวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็น รูป นาม เหตุปัจจัย ผัสสะ อาตนะ อุปทานขันธ์ ทุกอย่างสามารถอธิบายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์




แน่ะๆยกไอส์จาตายยยค้ำประกันสะด้วย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2012, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ผู้ที่หมดกิเลส ท่านไม่มีความหวังแล้วครับ
ความหวังเป็นเรื่องของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่

ปัญญาความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด
รู้ชัดว่านี่ทุกข์ นี่เหตุแห่งทุกข์ นี่ความดับทุกข์ นี่ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์
ปัญญาพึงเห็นชอบอย่างนี้แล

นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นำเอาบัญญัติมาใช้ผิดๆถูกๆ
FLAME เขียน:
ผู้ที่หมดกิเลส ท่านไม่มีความหวังแล้วครับ
ความหวังเป็นเรื่องของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่

อันนี้ดูๆแล้วมันเหมือนถูก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้พูดไม่ความเข้าใจ
อาศัยคำพูดที่ครอบจักวาล การปฏิบัติที่แท้จะรู้แบบนี้ไม่ได้ ไม่งั้นจะเกิด
ความหลงตน คิดว่าตัวเองบรรลุแล้วก็ได้

อธิบายครับ ผู้ที่หมดกิเลสไม่มีความหวังแล้วใช่ครับ
แต่คุณกำลังเข้าใจผิดในเรื่องของสถานะครับ
ผู้หมดกิเลสแล้วนั้นก็คือ พระอรหันต์ครับ
แต่ในเรื่องของ"ความหวัง"มันไม่ใช่ว่าต้องเป็นพระอรหันต์จึงจะไม่ความหวัง
แค่ผู้มีสัมมาทิฐิหรือพระโสดาบัน ก็ไม่มีความหวังแล้วครับ

อยากแนะนำครับ พระอริยะในระดับพระเสขะบุคคลล้วนแล้วแต่ยังมีกิเลสนะครับ
FLAME เขียน:
ปัญญาความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด
รู้ชัดว่านี่ทุกข์ นี่เหตุแห่งทุกข์ นี่ความดับทุกข์ นี่ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์
ปัญญาพึงเห็นชอบอย่างนี้แล

นี่ก็อีกครับ เอาบัญญัติมาใช้สเปะสปะ อยากที่จะแสดงความเห็นไม่ว่ากัน
แต่เคยคิดที่จะอธิบายความลงไปให้มันตรงจุดมั้ยครับ เห็นมีแต่จะเพิ่มบัญญัติ
เพิ่มสำนวนมาให้มันรกพระธรรมครับ ทำแบบนี้เด็กรุ่นหลังมิแย่หรือครับ
แบบนี้จะทำให้เด็กเบื่อพระธรรม อีกหน่อยศาสนาพุทธของไทยมิกลายเป็น
ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อไปหมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2012, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกฟิยะ ชื่อกักกรปัตต์ ใกล้เมืองโกฟิยะ โกฟิยะบุตร ชื่อทีฆชาณุ เข้าไปเฝ้า และได้กราบทูลถาม ดังความต่อไปนี้

ทีฆชาณุ: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกาม นอนมีบุตรเบียด ใช้ไม้จันทน์แว่นแคว้นกาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีเงินทองอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทิฏฐธัมม์ เพื่อความสุขในทิฏฐธัมม์ เพื่อประโยชน์และความสุขในสัมปราย์เถิด


พระพุทธเจ้า: ดูกรพยัคฆปัชช์ ธรรม 4 ประการ เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในทิฏฐธัมม์ แก่กุลบุตร กล่าวคือ อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา

1. อุฏฐานสัมปทา เป็นไฉน คือ กุลบุตรหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันในการงาน ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรมก็ดี พาณิชยกรรมก็ดี โครักขกรรมก็ดี ราชการทหารก็ดี ราชการพลเรือนก็ดี ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี เธอเป็นผู้ขยันชำนิชำนาญ ไม่เกียจคร้าน ในงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอบสวนตรวจตรา รู้จักวิธีปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดการ นี่เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา


2. อารักขสัมปทา เป็นไฉน คือ กุลบุตรมีโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร รวมรวมขึ้นมาได้ด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอเธอจัดการรักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้น โดยพิจารณาว่า ทำอย่างไร ทำอย่างไรราชาทั้งหลายไม่พึงริบโภคเหล่านี้ของเราเสีย พวกโจรจะไม่พึงลักไปเสีย ไฟจะไม่พึงไหม้เสีย น้ำจะไม่พึงพัดพาไปเสีย ทายาท อัปรีย์จะไม่พึงผลาญไปเสีย นี่เรียกว่า อารักขสัมปทา


3. กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน คือ กุลบุตรเข้าอยู่อาศัยในคามหรือนิคมใดก็ตาม เธอเข้าสนิทสนมสนทนาปราศรัย ถกถ้อยปรึกษา กับท่านที่เป็นคหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง พวกคนหนุ่มที่มีความประพฤติดีเป็นผู้ใหญ่บ้าง คนสูงอายุที่มีความพฤติดีเป็นผู้ใหญ่บ้าง ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา เธอศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศรัทธาของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศีลของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศีล ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยจาคะของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยปัญญาของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา นี่เรียกว่า กัลยาณมิตตตา


4. สมชีวิตา เป็นไฉน คือ กุลบุตรเลี้ยงชีวิตพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ให้ฝืดเคืองเกินไป โดยรู้เข้าใจทางเพิ่มพูน และทางลดถอยแห่งโภคทรัพย์ ว่าทำอย่างนี้ รายได้ของเราจะพึงเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจึงจักไม่เหนือรายได้ เปรียบเหมือนคนชั่งตาชั่งหรือลูกมือคนชั่ง ยกตาชั่งขึ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าหย่อนไปเท่านั้น หรือเกินไปเท่านี้...
ถ้าหากกุลบุตรนี้รายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตฟุ้งเฟ้อ ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ กินใช้ทรัพย์สมบัติเหมือนคนกินมะเดื่อ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้คงจะตายอย่างคนอนาถา แต่เมื่อกุลบุตรนี้เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ ...นี้จึงเรียก สมชีวิตา



ดูกรพยัคฆปัชช์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีอบายมุข (ช่องทางเสื่อม) 4 ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรชั่วสหายชั่ว ฝักใฝ่ในคนชั่ว เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางน้ำไหลเข้า 4 ทาง มีทางไหลออก 4 ทาง หากคนปิดทางน้ำเข้าเสีย เปิดแต่ทางน้ำออก อีกทั้งฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันหวังได้แต่ความลดน้อยอย่างเดียว ไม่มีการเพิ่มขึ้นได้เลย...

ดูกรพยัคฆปัชช์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีอายมุข (ช่องทางเพิ่มพูน) 4 ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรดี มีสหายดี ฝักใฝ่ในคนดี ใฝ่ใจในกัลยาณชน เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางน้ำไหลเข้า 4 ทาง มีทางไหลออก 4 ทาง หากคนเปิดทางน้ำเข้า ปิดแต่ทางน้ำออก และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันย่อมเป็นหวังได้แต่ความเพิ่มขึ้นอย่างเดียว ไม่ลดน้อยลงเลย...

ดูกรพยัคฆปัชช์ ธรรม 4 ประการนี้แล เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในทิฏฐธัมม์ แก่กุลบุตร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2012, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสข้อธรรมขั้นทิฏฐธัมม์ (4 ข้อดังกล่าว) จบแล้ว จึงตรัสขั้นสัมปราย์ที่ตามมาเพื่อเสริมค่าและควบคุมต่อไป


ดูกรพยัคฆปัชช์ ธรรม 4 ประการนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในสัมปราย์ แก่กุลบุตร กล่าวคือ สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญาสัมปทา


1. สัทธาสัมปทา เป็นไฉน ? ในข้อนี้ กุลบุตรมีศรัทธา คือ เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต (ตถาคตโพธิสัทธา) แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกแจกธรรม...นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา


2. สีลสัมปทา เป็นไฉน ? ในข้อนี้ กุลบุตรงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท...นี้เรียกว่า สีลสัมปทา


3. จาคสัมปทา เป็นไฉน ? ในข้อนี้ กุลบุตรอยู่ครองเรือน โดยมีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ มีน้ำใจเผื่อแผ่เสียสละเต็มที่ มีมือที่แบ ยืนดีในการสละ ควรแก่การขอ ยืนดีในการเจือจานแบ่งปัน... นี้เรียกว่า จาคสัมปทา


4. ปัญญาสัมปทา เป็นไฉน ? ในข้อนี้ กุลบุตรเป็นผู้มีปัญญาคือ ประกอบด้วยอริยปัญญาที่หยั่งถึงอุทัยและอัสดง ชำแรกเรื่องได้ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยถูกต้อง...นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา

ดูกรพยัคฆปัชช์ ธรรม 4 ประการดังกล่าวนี้แล เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในสัมปราย์ แก่กุลบุตร


ผู้ขยันหมั่นในงาน ไม่ประมาท รู้จักจัดการ เลี้ยงชีวิตพอดี ทรัพย์ที่หามาก็รู้จักดูแลรักษา มีศรัทธา พร้อมด้วยศีล รู้ความต้องการทันคำคน ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัมปราย์ ให้ถึงความสวัสดี ไว้ทุกเวลา

ธรรม 8 ประการดังกล่าวนี้ ของคนครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระผู้มีสัจจะเป็นพระนาม ตรัสว่า นำสุขมาให้ทั้งสองสถาน ทั้งประโยชน์ทิฏฐธัมม์ และความสุขสัมปราย์ แลด้วยประการดังนี้ จาคธรรม และปวงบุญ ก็จะเจริญเพิ่มพูน แก่เหล่าคฤหัสถ์ทั้งหลาย



ชาวบ้าน หรือคฤหัสถ์ทั้งหลาย แม้จะยังอยู่ในกามสุข เมื่อบริหารจัดการกามโภคะให้เป็นประโยชน์ทิฏฐธัมม์ได้ และไม่ลืมที่จะทำความคุ้นเคยไว้กับประโยชน์สุขสัมปราย์ ก็มั่นใจได้แน่นอนว่า จะมีชีวิตดีที่เจริญงอกงามมีความสุขอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งช่วยรักษาสังคมให้สุขสวัสดีเจริญก้าวหน้าพัฒนาอย่างยั่งยืน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2012, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 10:41
โพสต์: 114

แนวปฏิบัติ: ลัทธินิยมความจริง
สิ่งที่ชื่นชอบ: เฒ่าทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2012, 21:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


แกงได เขียน:
รูปภาพ

:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร