วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 161 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2012, 12:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b43:
คุณเอก้อนจินตนาการเป็นไหมครับ? ลองนึกภาพดูซิว่า :b8: :b8:


:b1:

เป็น และก็รู้ว่า
การ จินตนาการ ขันธ์มันทำงานอย่างไร
สังขารมันปรากฎอย่างไร และสังขารมันดับอย่างไร
รู้ ก็ จบ
ก็ไม่รู้จะเที่ยวไปจินตนาการทำไม

:b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2012, 12:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion onion
:b12: :b12: :b12:
eragon_joe...........

ท่านวิเคราะห์พระสารีบุตร กับพระอุปติสสะ

แล้ว พระสารีบุตร กับพระอุปติสสะ วิเคราะห์อะไร




ง่ายจะตายครับท่านเอก้อน
"ก็วิเคราะห์ธรรมตามหลักหรือกฎของเหตุและผล โดยใช้ ปัญญา สติ สมาธิ ช่วยกัน ไงครับ"


อืม..ท่านอโศกะวิเคราะห์จน...ศีล...ไปซะแล้วเรย เห็นมั๊ย
:b42:
asoka......คุณเอก้อน ท่องศีล สอบศีลเสียจนเคย จนลืมไปว่า ศีล เมื่อลงใจแล้ว ก็คือ สติ หรือสัมมาสตินั่นเองใช่หรือเปล่าครับ? แล้วตอนที่ สติปัญญาโรมรันพันตูกับปัญหา คือสังเกตพิจารณาบัญญัติธรรมและสภาวธรรมอยู่นั้น ศีลเขาเป็นบาทฐานรองรับอยู่แล้วโดยธรรม บุคคลที่จะมีโอกาสได้ฟังธรรม พิจารณาวิเคราะห์วิจัยธรรมได้นั้น ฐานแห่งศีลเขาเพียงพอแล้วจึงจะมาถึงจุดนี้ได้ จึงไม่พึงกังวลเรื่องศีลจนกลายเป็นพรต จะทำให้ข้องค้างนะครับ




:b6:

ก็สรุปแล้ว ก็คือ ศีลเป็นพื้นอารมณ์ของจิตใช่ป๊ะหล่ะ ... :b10:

:b6: :b6: (แคะหมูกกำลังสอง.. :b32: ..)
แล้วทำมาเป็นใช้คำพูดประชดประชันเอกอนให้ได้อะไร(วะ)เนี๊ยะ .. :b5: :b5: :b32:
คนละเลยที่จะกล่าว มาประชดคนเห็นอารมณ์อันเป็นปัจจัยเนี๊ยะนะ ...
เอาเป็นว่า สงสัยอย่างเอกอนถ้าลงสนามสอบ
ก็คงจะสอบผ่านตลอดสาย
เพราะไม่ทำธรรมอันเป็นสาระตกหล่น :b32: :b32: :b9: :b9:

:b22: :b22: :b22:

:b6: :b23: :b23: :b32: :b32:

ศีล ไม่ได้เป็นเจตนา
ไม่ได้หมายความว่า จิตนั้นไม่ประกอบด้วย ศีล
ถ้าท่านมอง องค์ประกอบอารมณ์อันเป็น โสภณเจตสิกออก
ท่านจะใช้บัญญัติเข้ากับสภาวะได้อย่างครบถ้วนไม่ตกหล่น

ท่านจะละเอียดละออกับสิ่งที่ท่านจะพยายามนำเสนอตั้งแต่ต้น
ไม่ต้องมาเสียเวลาขยายความเพิ่มเติมในภายหลัง

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 07:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
(วันนี้ต่ออีกนิดหนึ่งนะครับ)
ท่านทั้งสองได้ใช้ปัญญาน้อมพิจารณาตามด้วยเหตุและผล ได้เห็นจริงเกิดศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระพุทธเจ้าจนเป็นเหตุส่งให้ “วิจิกิจฉา”ดับลงทันที สักกายทิฏฐิจึงทนตั้งอยู่ไม่ได้ ดับลงตาม
ท่านโกลิตตะ เจริญธรรม พิจารณาขันธ์ อีก 7 วันก็บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์มีอภิญญาทั้งหลายเป็นผลพลอยได้เกิดขึ้นตามมา ส่วนท่านอุปติสสะต้องใช้เวลาถึง 15 วันจึงบรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านเป็นผู้มีปัญญามาก วิตก วิจารณ์ วิจัยธรรม มาก จึงบรรลุช้ากว่า หลังจากเสร็จกิจโดยสมบูรณ์ทั้ง 2 ท่านแล้วพระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องขึ้นเป็น พระโมคคัลลาและพระสารีบุตร อัครสาวกฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 07:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:
onion onion
:b12: :b12: :b12:
eragon_joe...........

ท่านวิเคราะห์พระสารีบุตร กับพระอุปติสสะ

แล้ว พระสารีบุตร กับพระอุปติสสะ วิเคราะห์อะไร




ง่ายจะตายครับท่านเอก้อน
"ก็วิเคราะห์ธรรมตามหลักหรือกฎของเหตุและผล โดยใช้ ปัญญา สติ สมาธิ ช่วยกัน ไงครับ"


อืม..ท่านอโศกะวิเคราะห์จน...ศีล...ไปซะแล้วเรย เห็นมั๊ย
:b42:
asoka......คุณเอก้อน ท่องศีล สอบศีลเสียจนเคย จนลืมไปว่า ศีล เมื่อลงใจแล้ว ก็คือ สติ หรือสัมมาสตินั่นเองใช่หรือเปล่าครับ? แล้วตอนที่ สติปัญญาโรมรันพันตูกับปัญหา คือสังเกตพิจารณาบัญญัติธรรมและสภาวธรรมอยู่นั้น ศีลเขาเป็นบาทฐานรองรับอยู่แล้วโดยธรรม บุคคลที่จะมีโอกาสได้ฟังธรรม พิจารณาวิเคราะห์วิจัยธรรมได้นั้น ฐานแห่งศีลเขาเพียงพอแล้วจึงจะมาถึงจุดนี้ได้ จึงไม่พึงกังวลเรื่องศีลจนกลายเป็นพรต จะทำให้ข้องค้างนะครับ




:b6:

ก็สรุปแล้ว ก็คือ ศีลเป็นพื้นอารมณ์ของจิตใช่ป๊ะหล่ะ ... :b10:

:b6: :b6: (แคะหมูกกำลังสอง.. :b32: ..)
แล้วทำมาเป็นใช้คำพูดประชดประชันเอกอนให้ได้อะไร(วะ)เนี๊ยะ .. :b5: :b5: :b32:
คนละเลยที่จะกล่าว มาประชดคนเห็นอารมณ์อันเป็นปัจจัยเนี๊ยะนะ ...
เอาเป็นว่า สงสัยอย่างเอกอนถ้าลงสนามสอบ
ก็คงจะสอบผ่านตลอดสาย
เพราะไม่ทำธรรมอันเป็นสาระตกหล่น :b32: :b32: :b9: :b9:

:b22: :b22: :b22:

:b6: :b23: :b23: :b32: :b32:

ศีล ไม่ได้เป็นเจตนา
ไม่ได้หมายความว่า จิตนั้นไม่ประกอบด้วย ศีล
ถ้าท่านมอง องค์ประกอบอารมณ์อันเป็น โสภณเจตสิกออก
ท่านจะใช้บัญญัติเข้ากับสภาวะได้อย่างครบถ้วนไม่ตกหล่น

ท่านจะละเอียดละออกับสิ่งที่ท่านจะพยายามนำเสนอตั้งแต่ต้น
ไม่ต้องมาเสียเวลาขยายความเพิ่มเติมในภายหลัง

:b8: :b8: :b8:

:b12: :b4: :b4:
ตกหล่นเพราะไม่ตรงกับสัญญาของคุณเอก้อนมากกว่าละกระมังครับ? ศีล...สมาธิ...ปัญญา
เพราะปฏิบัติการนั้น มีปัญญา สติ สมาธิ เท่านั้นที่ร่วมกันทำงาน ส่วนศีลนั้นรองรับอยู่แต่ต้นเป็นปฐม
แต่ก็ขอยอมรับคำชี้แนะตักเตือนด้วยความยินดีครับเอาเป็นว่า
:b39:
ปัญญา......ศีล......สมาธิ :b27:
อย่างนี้คงไม่ตกหล่นแล้วนะครับ?
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 10:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

:b12: :b4: :b4:
ตกหล่นเพราะไม่ตรงกับสัญญาของคุณเอก้อนมากกว่าละกระมังครับ? ศีล...สมาธิ...ปัญญา
เพราะปฏิบัติการนั้น มีปัญญา สติ สมาธิ เท่านั้นที่ร่วมกันทำงาน ส่วนศีลนั้นรองรับอยู่แต่ต้นเป็นปฐม
แต่ก็ขอยอมรับคำชี้แนะตักเตือนด้วยความยินดีครับเอาเป็นว่า
:b39:
ปัญญา......ศีล......สมาธิ
อย่างนี้คงไม่ตกหล่นแล้วนะครับ?
:b8:


:b1:

ส่วนการสอดแทรกคำประชดประชัน กลับเป็นสิ่งที่ไม่เคยตกหล่น

:b6: :b13: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 14:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คงไม่ได้เจตนา....แต่ว่ามันเคยชิน..

เอ้....ทำไปแบบอัตโนมัต..นี้นะ...จะเป็นบาปมั้ย..ถ้าผิดศีล

และ..จะเป็นบุญมั้ย..ถ้าเป็นเรื่องดี...ๆ....

เพราะเจตนาแทบจะไม่มี.. :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 14:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
(วันนี้ต่ออีกนิดหนึ่งนะครับ)
ท่านทั้งสองได้ใช้ปัญญาน้อมพิจารณาตามด้วยเหตุและผล ได้เห็นจริงเกิดศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระพุทธเจ้าจนเป็นเหตุส่งให้ “วิจิกิจฉา”ดับลงทันที สักกายทิฏฐิจึงทนตั้งอยู่ไม่ได้ ดับลงตาม
ท่านโกลิตตะ เจริญธรรม พิจารณาขันธ์ อีก 7 วันก็บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์มีอภิญญาทั้งหลายเป็นผลพลอยได้เกิดขึ้นตามมา ส่วนท่านอุปติสสะต้องใช้เวลาถึง 15 วันจึงบรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านเป็นผู้มีปัญญามาก วิตก วิจารณ์ วิจัยธรรม มาก จึงบรรลุช้ากว่า หลังจากเสร็จกิจโดยสมบูรณ์ทั้ง 2 ท่านแล้วพระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องขึ้นเป็น พระโมคคัลลาและพระสารีบุตร อัครสาวกฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา

อะไรทำให้ท่านสรุปการวิเคราะออกมาว่าผู้มีปัญญามาก ท่านจะต้องทำ วิตก วิจารณ์ วิจัยธรรมมากล่ะ

ปัญญามาก ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นการใช้ความคิดไปกับธุรกรรมทางธรรมมาก
เพราะถ้าเทียบกับเรา ๆ ท่าน ๆ แล้ว สงสัยปัญญาคงจะมากเกินไป
17 วันก็แล้ว เดือนก็แล้ว ปีก็แล้ว ...ก็ยัง :b22:
สงสัยวิเคราะห์ได้ว่าเราต่างคงมีปัญญามากกว่าพระสารีบุตร..ซินั่น

:b13:

ท่านยอมรับมั๊ยว่า จริง ๆ แล้ว
ท่านไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ท่านทั้งสองใช้องค์ภาวนาอะไร อย่างไร

Quote Tipitaka:
๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
-------------------------------
[๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก
ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา-
*โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ
ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ
ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และ
พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ

อ้างคำพูด:
ประวัติพระสารีบุตร
พระอัครสาวกผู้เป็นเลิศในทางปัญญา
พระสารีบุตร มีชื่อเดิมว่า อุปติสสะ เป็นบุตรพราหมณ์ผู้บริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์และบริวาร ชื่อวังคันตะ และนางสารี เกิดในตำบลบ้านชื่อนาลกะหรือนาลันทะ ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์
อุปติสสมาณพเป็นเพื่อนสนิทกับโกลิตมาณพ หรือพระมหาโมคคัลลานะ ทั้งสองคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นบุตรแห่งสกุลผู้มั่งคั่งเหมือนกัน เบื่อชีวิตการครองเรือนที่วุ่นวาย จึงพาบริวารไปขอบวชอยู่ในสำนักสัญชัยปริพาชก เรียนลัทธิของสัญชัยได้ทั้งหมด จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยสอนหมู่ศิษย์ต่อไป ทั้งสองมาณพยังไม่พอใจในคำสอนของสัญชัยปริพาชก เพราะไม่ใช่แนวทางที่ตนต้องการ จึงตกลงกันที่จะแสวงหาอาจารย์ที่สามารถชี้แนะแนวทางที่ดีกว่านี้ หากใครได้โมกขธรรม ก็ขอให้บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

พบพระอัสสชิ

ในวันหนึ่งอุปติสสมาณพได้เข้าไปในกรุงราชคฤห์ได้พบพระอัสสชิ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ กำลังบิณฑบาต อุปติสสมาณพเห็นพระอัสสชิ มีอาการน่าเลื่อมใส มีความประทับใจ จึงเข้าไปถามพระอัสสชิว่า ผู้ใดเป็นศาสดาของท่าน พระอัสสชิตอบว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นโอรสศากยราช เป็นศาสดา อุปติสสมาณพจึงขอให้พระอัสสชิแสดงธรรม พระอัสสชิได้ออกตัวว่าพึ่งบวชได้ไม่นาน ไม่อาจแสดงธรรมโดยกว้างขวาง อุปติสสมาณพจึงขอให้พระอัสสชิแสดงธรรมสั้น ๆก็ได้ พระอัสสชิได้แสดงธรรมแก่อุปติสสมาณพ เรียกกันว่า "คาถาเยธัมมา" เพราะขึ้นต้นด้วยคำว่า "เย ธัมมา" ในสมัยโบราณ ถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อุปติสสมาณพได้นำคำสอนของพระอัสสชิไปแจ้งให้โกลิตมาณพทราบ โกลิตมาณพก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกัน

อ้างคำพูด:
ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
อุปติสสมาณพและโกลิตมาณพจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่สวนเวฬุวนาราม ในกรุงราชคฤห์ ในขณะนั้นพระพุทธองค์กำลังประทับท่ามกลางพุทธบริษัทจำนวนมาก เมื่อเห็นมาณพทั้งสองกำลังเดินมา จึงตรัสบอกภิกษุสงฆ์ว่า "ภิกษุทั้งหลาย มาณพทั้งสองคนนั้นจะเป็นอัครสาวกของเราตถาคต"

มาณพทั้งสองได้ทูลของอุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ได้ทรงอนุญาตให้บวชเป็นภิกษุ พระมหาโมคคัลลานะอุปสมบทได้ 7 วัน ก็สำเร็จพระอรหันต์ ส่วนพระสารีบุตรอุปสมบทได้กึ่งเดือน จึงสำเร็จพระอรหันต์ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายการที่พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหันต์ช้ากว่าพระมหาโมคคัลลานะว่าเป็นเพราะพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญามาก ต้องใช้บริกรรมใหญ่ เปรียบด้วยการเสด็จไปของพระราชาต้องตระเตรียมราชพาหนะและราชบริวาร จึงจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าการไปของคนสามัญ

ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครสาวก

ในวันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ ในคืนวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์แก่จาตุรงคสันนิบาต


อ้างคำพูด:
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
(๕๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ทรงแสดงพระปาติโมกข์ในที่ประชุมพระภิกษุสงฆ์ดังนี้...

ขันติ* คือความอดทน เป็นตบะ**อย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันยอดเยี่ยม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ.
การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อม การยังจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
การไม่กล่าวร้าย ๑
การไม่ทำร้าย ๑
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑
ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑
ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑
การประกอบความเพียรในอธิจิต*** ๑
หกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

(พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร)

*ขันติ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ความอดทน กล่าวคือ ความอดทน อดกลั้นนี้ เป็นตบะอย่างยิ่ง คืออย่างสูงสุดในพระศาสนานี้
**ตบะ คือการเผาอกุศลธรรมให้หมดสิ้น
***อธิจิต ความว่า ในจิตอันยิ่ง กล่าวคือ จิตที่ประกอบด้วยสมาบัติ ๘

----------------------------------------------------
บทว่า "ปาติโมกข์" ได้แก่ศีลในสิกขาบท. จริงอยู่ ศีลในสิกขาบทนั้น ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะอรรถว่า ทำบุคคลผู้ปกปักรักษาศีลสิกขาบทนั้น ให้หลุดพ้นจากทุกข์ มีทุกข์ในอบายเป็นต้น. การปิดกั้น ชื่อว่า สังวร ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา. สังวร คือปาติโมกข์ ชื่อว่าปาติโมกข์สังวร.

ภิกษุผู้สำรวม คือ มีกายและวาจาปิดด้วยปาติโมกข์สังวรนั้น จึงชื่อว่า สำรวมด้วยปาติโมกข์สังวร.นี่เป็นการแสดงภาวะที่ภิกษุนั้น ตั้งอยู่ในศีลนั้น.

(อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน เมฆิยสูตร)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 19:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คงไม่ได้เจตนา....แต่ว่ามันเคยชิน..

เอ้....ทำไปแบบอัตโนมัต..นี้นะ...จะเป็นบาปมั้ย..ถ้าผิดศีล

และ..จะเป็นบุญมั้ย..ถ้าเป็นเรื่องดี...ๆ....

เพราะเจตนาแทบจะไม่มี.. :b10: :b10:

ไม่รู้สิ่ ไม่เคยคิด

:b12: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
คงไม่ได้เจตนา....แต่ว่ามันเคยชิน..

เอ้....ทำไปแบบอัตโนมัต..นี้นะ...จะเป็นบาปมั้ย..ถ้าผิดศีล

และ..จะเป็นบุญมั้ย..ถ้าเป็นเรื่องดี...ๆ....

เพราะเจตนาแทบจะไม่มี.. :b10: :b10:

ไม่รู้สิ่ ไม่เคยคิด

:b12: :b9:

"ความเคยชิน" หรือ "วาสนา" คือ ทำจนเป็นนิสสัย ทำบ่อยๆ ฝึกบ่อยๆ จนเป็นไปโดยอัตตโนมัติ
ท่านเปรียบไว้ว่า "เหมือนกระดาษที่ม้วนไว้ เมื่อคลี่ออกแล้วปล่อยมือ กระดาษก็จะม้วนกลับไปเหมือนเดิม"

ความเคยชิน หรือ วาสนานี้ ถ้าเป็นไป ทางบุญกุศล ก็เป็นวาสนาในทางที่ดี ควรเจริญให้มาก
ถ้าเป็นไปในทางที่ไม่ดีก็สมควรแก้ไข

ทำไม่ดี ถึงจะขาดเจตนา ก็คือขาดสตินั่นเอง ขาดสติบ่อยๆ ไม่ดีอ่ะ ..

:b32: :b32:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 20:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เวทนาปริคคหสูตร

(แสดงเวทนา ๓)
[๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑.

อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น.

ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.

ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.

อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัย(จึง)เกิดขึ้น(ได้) (จึงเป็นสังขาร จึง)มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

[กล่าวคือ เวทนาทั้งปวง ล้วนเป็นสังขาร ที่เกิดขึ้นมาแต่มีเหตุหรือสิ่งดังต่อไปนี้ มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันจึงเกิดขึ้นได้ เป็นไปดังนี้

อายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ๖ ผัสสะ สัญญา เวทนา กล่าวคือ เกิดความรู้สึกเป็นสุข, ทุกข์, อทุกขมสุข อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น เป็นธรรมดา

เมื่อเป็นสังขารแล้ว จึงย่อมดำเนินเป็นไปภายใต้ธรรมนิยามหรือพระไตรลักษณ์ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือแปรผันได้เลย]

อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย ทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา

เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี(อีกแล้ว).

อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ

โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.

[๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาค.

ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัส(ถึง)การละธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่ง แก่เราทั้งหลาย

ได้ยินว่า พระสุคตตรัส(ถึง)การสละคืนธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่ง แก่เราทั้งหลาย

เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
eragon_joe.......
อะไรทำให้ท่านสรุปการวิเคราะออกมาว่าผู้มีปัญญามาก ท่านจะต้องทำ วิตก วิจารณ์ วิจัยธรรมมากล่ะ

ปัญญามาก ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นการใช้ความคิดไปกับธุรกรรมทางธรรมมาก
เพราะถ้าเทียบกับเรา ๆ ท่าน ๆ แล้ว สงสัยปัญญาคงจะมากเกินไป
17 วันก็แล้ว เดือนก็แล้ว ปีก็แล้ว ...ก็ยัง
สงสัยวิเคราะห์ได้ว่าเราต่างคงมีปัญญามากกว่าพระสารีบุตร..ซินั่น
cool :b16: :b16:
asoka......
และแล้วคุณเอราก้อนก็ไปคัดลอกตำรามาแปะ ตอบคำถามตนเองดังที่ยกมาท้ายนี้
:b12: :b12: :b12:
พระสารีบุตรผู้ถวายงานพัดโดยใกล้ชิดและดำริคิดพิจารณาไตร่ตรองตามไปด้วย(นั้น) เกิดสัมมาญาณขึ้นในขณะนั้น จากการได้ปฏิบัติสั่งสมมาก่อนแล้วด้วย(นั้น) จึงเป็นปัจจัยให้เกิดนิพพิทาญาณความหน่าย จึงเป็นปัจจัยให้คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น สำเร็จอรหัตตผลในบัด(นั้น)
:b27: :b4: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 21:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
คงไม่ได้เจตนา....แต่ว่ามันเคยชิน..

เอ้....ทำไปแบบอัตโนมัต..นี้นะ...จะเป็นบาปมั้ย..ถ้าผิดศีล

และ..จะเป็นบุญมั้ย..ถ้าเป็นเรื่องดี...ๆ....

เพราะเจตนาแทบจะไม่มี.. :b10: :b10:

ไม่รู้สิ่ ไม่เคยคิด

:b12: :b9:

"ความเคยชิน" หรือ "วาสนา" คือ ทำจนเป็นนิสสัย ทำบ่อยๆ ฝึกบ่อยๆ จนเป็นไปโดยอัตตโนมัติ
ท่านเปรียบไว้ว่า "เหมือนกระดาษที่ม้วนไว้ เมื่อคลี่ออกแล้วปล่อยมือ กระดาษก็จะม้วนกลับไปเหมือนเดิม"

ความเคยชิน หรือ วาสนานี้ ถ้าเป็นไป ทางบุญกุศล ก็เป็นวาสนาในทางที่ดี ควรเจริญให้มาก
ถ้าเป็นไปในทางที่ไม่ดีก็สมควรแก้ไข

ทำไม่ดี ถึงจะขาดเจตนา ก็คือขาดสตินั่นเอง ขาดสติบ่อยๆ ไม่ดีอ่ะ ..

:b32: :b32:


ความเคยชิน....ก็อาจเป็นเส้นผม..อีกหนึ่งเส้นที่บังภูเขา...

ไปศึกษาวิธีการอะไรไม่รู้ตั้งมากมาย....แต่ไอ้ที่ติดมากับใจนี้...ไม่ค่อยได้มอง
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 21:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ตรัสกับพราหมณ์..นั้นมีในบันทึก

แล้ว...ที่ท่านพระสารีบุตรพิจารณาไตร่ตรองตามนั้น...พิจารณาอย่างไร?...มีบันทึกมั้ยหนอ!
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2012, 07:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
พระพุทธองค์ตรัสกับพราหมณ์..นั้นมีในบันทึก

แล้ว...ที่ท่านพระสารีบุตรพิจารณาไตร่ตรองตามนั้น...พิจารณาอย่างไร?...มีบันทึกมั้ยหนอ!
s006

:b12: :b12: :b12:
มีในธรรมยังไงครับคุณกบ คุณจะเชื่อในบันทึกหรือจะเชื่อในธรรมสภาวะล่ะครับ? บันทึกอาจเพี้ยนได้แต่สภาวะที่เกิดกับใจไม่มีหลอกและผิดเพี้ยน พิสูจน์ง่ายๆได้ทันทีเดี๋ยวนี้ ที่คุณกบกำลังอ่านคำตอบนี้ คุณกบมีอะไรเกิดขึ้นในใจคุณกบมั่ง ลองแจงมาให้กันฟังดูซิ จะได้ชี้ให้กบเห็นชัด ว่าอันไหนเป็นบัญญัติสัญญา อันไหนเป็นสภาวธรรมจริงๆ
:b16:
กบรู้ไหมว่า "ธรรมในตำรา กับ ธรรมในกายา นั้นต่างกันอย่างไร?
:b10:
เกาะตำราเสียจนแน่นอย่างนี้ จะมีโอกาสได้สัมผัสความจริงบ้างไหมเนี๊ยะ?
:b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2012, 09:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b1:
เอกอนว่าท่านทั้งสองไม่มัวมานั่งทำวิเคราะห์ให้มากหรอก
:b1:
สิ่งที่ไม่รู้ เพราะสิ่งนั้นยังไม่ปรากฎ
แต่เมื่อท่านทำจนสิ่งนั้นปรากฎ ท่านก็รู้...จบ...
:b1:
เอกอนว่าท่านรู้เพราะท่านทำจนธรรมนั้นปรากฎ
ไม่ได้รู้เพราะวิเคราะห์
ไม่ได้บรรลุเพราะมัวมานั่งวิเคราะห์
:b1:
เพราะถึงจะวิเคราะห์ไป สุดท้ายแล้วในที่สุด
สภาวะธรรมที่ปรากฎ ก็เป็นคนละสิ่งกับสิ่งที่วิเคราะห์

เพราะรู้ว่ามันเป็นเช่นนั้น จึงวางการวิเคราะห์ทุกอย่างไป
ให้เหลือแต่ รู้กับสภาวะธรรม โดดโดด
:b1:

asoka เขียน:
:b8:
ส่วนท่านอุปติสสะต้องใช้เวลาถึง 15 วันจึงบรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านเป็นผู้มีปัญญามาก วิตก วิจารณ์ วิจัยธรรม มาก

asoka เขียน:
:b12:
eragon_joe.......
อะไรทำให้ท่านสรุปการวิเคราะออกมาว่าผู้มีปัญญามาก ท่านจะต้องทำ วิตก วิจารณ์ วิจัยธรรมมากล่ะ

ปัญญามาก ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นการใช้ความคิดไปกับธุรกรรมทางธรรมมาก
เพราะถ้าเทียบกับเรา ๆ ท่าน ๆ แล้ว สงสัยปัญญาคงจะมากเกินไป
17 วันก็แล้ว เดือนก็แล้ว ปีก็แล้ว ...ก็ยัง
สงสัยวิเคราะห์ได้ว่าเราต่างคงมีปัญญามากกว่าพระสารีบุตร..ซินั่น
cool :b16: :b16:
asoka......
และแล้วคุณเอราก้อนก็ไปคัดลอกตำรามาแปะ ตอบคำถามตนเองดังที่ยกมาท้ายนี้
:b12: :b12: :b12:
พระสารีบุตรผู้ถวายงานพัดโดยใกล้ชิดและดำริคิดพิจารณาไตร่ตรองตามไปด้วย(นั้น) เกิดสัมมาญาณขึ้นในขณะนั้น จากการได้ปฏิบัติสั่งสมมาก่อนแล้วด้วย(นั้น) จึงเป็นปัจจัยให้เกิดนิพพิทาญาณความหน่าย จึงเป็นปัจจัยให้คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น สำเร็จอรหัตตผลในบัด(นั้น)
:b27: :b4: :b12:

ท่านอโศกะท่านทำตัวเด่นแต่เฉพาะตรงนั้นเพื่ออะไร
และตรงที่ [b]เกิดสัมมาญาณขึ้นในขณะนั้น จากการได้ปฏิบัติสั่งสมมาก่อนแล้วด้วย(นั้น) จึงเป็นปัจจัยให้เกิดนิพพิทาญาณความหน่าย จึงเป็นปัจจัยให้คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น สำเร็จอรหัตตผลในบัด(นั้น)
ทำไมท่านทำละเลย
และพระสูตรที่เอกอนยกมา ก็ยังมีนัยการบรรลุธรรมที่ชัดเจน
ว่าพระสารีบุตรไม่ได้บรรลุธรรมแบบออกแนวฟุ้งซ่านไปในธรรมอย่างที่ท่านอโศกะพยายามจะวิเคราะห์ให้เป็น

:b8: :b8: :b8:

eragon_joe เขียน:
อ้างคำพูด:
เวทนาปริคคหสูตร
(แสดงเวทนา ๓)
[๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑.

อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น.

ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.

ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.

อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัย(จึง)เกิดขึ้น(ได้) (จึงเป็นสังขาร จึง)มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

[กล่าวคือ เวทนาทั้งปวง ล้วนเป็นสังขาร ที่เกิดขึ้นมาแต่มีเหตุหรือสิ่งดังต่อไปนี้ มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันจึงเกิดขึ้นได้ เป็นไปดังนี้

อายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ๖ ผัสสะ สัญญา เวทนา กล่าวคือ เกิดความรู้สึกเป็นสุข, ทุกข์, อทุกขมสุข อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น เป็นธรรมดา

เมื่อเป็นสังขารแล้ว จึงย่อมดำเนินเป็นไปภายใต้ธรรมนิยามหรือพระไตรลักษณ์ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือแปรผันได้เลย]

อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย ทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา

เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี(อีกแล้ว).

อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ

โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.

[๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาค.

ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัส(ถึง)การละธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่ง แก่เราทั้งหลาย

ได้ยินว่า พระสุคตตรัส(ถึง)การสละคืนธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่ง แก่เราทั้งหลาย

เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน



แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 161 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร