วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2012, 08:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
เคยมีใคร เคยกล่าวหรือเห็นแบบผม มั้ยครับ คือ อยากสนทนาด้วยหน่อยครับ
ส่วนใหญ่ที่อ่านมา แยก อัตตา กับอนัตตา เสียคนละฝั่ง เลย :b2:

:b32: :b32: :b32:

เราอยู่ในความไม่มี....เขาพูดกันมาตั้งนานแล้ว... :b12:

แต่ไม่ได้ใช้คำว่า..อัตตา..ใน..อนัตตา

ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา...เราไม่ใช่ขันธ์ 5 (อันเป็นความหมายจริง ๆ ของคำว่า เราไม่มีในขันธ์ 5 )

เราคือความรู้...รู้สึก..นี้แหละเรา

รู้ว่าหมดกิเลสแล้ว...รู้ว่าสิ้นภพสิ้นชาติแล้ว...รู้นี้แหละเรา

:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2012, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อัตตานุทิฐิ ๒๐


รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ = 5 x 4

- เห็น[รูป]โดยความเป็นตน

เปรียบเหมือนเมื่อประทีป น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็น
เปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น
แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น

- เห็นตนว่ามี[รูป]

เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า
นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่งเงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้
นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา


- เห็น[รูป]ในตน

เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอมบุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า
นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้อย่างหนึ่งกลิ่นหอมอย่างหนึ่ง
แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อม
เห็นกลิ่นหอมในดอกไม้

- เห็นตนใน[รูป]

เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า
นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง
แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด



อ้างคำพูด:
[๓๑๒] อัตตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ปุถุชนผู้
ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน
บ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนเอง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็น
วิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯ


[๓๑๓] ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อม
เห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
ปฐวีกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีป น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็น
เปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสง
สว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า
ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น ทิฐิ คือ ความ
ลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็น
อย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉา-
*ทิฐิ เป็นทิฐิวิบัติ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฐิ ย่อมมีคติเป็นสอง ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ฯ


บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ
นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็น
โอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็น
เปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสง
สว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ฯลฯ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วย
ความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิ-
*วิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความเป็น
ตนอย่างนี้ ฯ


[๓๑๔] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน
ของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้
มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง
เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่า
มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตน
ของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป ทิฐิ
คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง
วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิ
เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่า
มีรูปอย่างนี้ ฯ


[๓๑๕] ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้อย่างหนึ่ง
กลิ่นหอมอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อม
เห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขาย่อมมีความเห็น
อย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็น
รูปในตน ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
ฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ


[๓๑๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน
ของเรานี้นั้นมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป เปรียบเหมือนแก้วมณี
ที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณี
เป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่า
ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อม
เห็นตนในรูป ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่
ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีรูป
เป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ


[๓๑๗] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา ... มโนสัมผัสสชา
เวทนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า
มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็อันนั้นเราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น
เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่าง
ไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใดแสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนา
โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโน-
*สัมผัสสชาเวทนาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น ทิฐิ
คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง
วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิ
เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนา
โดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ


[๓๑๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความ
เป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น
แลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ชื่อว่าเห็นตนว่ามีเวทนา เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา
บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็น
อย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงา
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ
รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน
ของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา ทิฐิ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง
วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิ
เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามี
เวทนาอย่างนี้ ฯ


[๓๑๙] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และในตัวตน
นี้มีเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง
กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็น
กลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น
สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีเวทนา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน
ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ฯลฯ
นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างนี้ ฯ


[๓๒๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน
ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในเวทนา เปรียบเหมือน
ฯลฯ ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ... ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด
ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ
นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างนี้ ฯ


[๓๒๑] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ... มโนสัมผัสสชา
สัญญา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า
มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญา
ก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและ
แสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
เห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น ทิฐิ คือ ความลูบคลำ
ด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
นี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ


[๓๒๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา
นี้นั้นแลมีสัญญาด้วยสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีสัญญา เปรียบเหมือน
ต้นไม้มีเงา ... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน ... นี้
เป็นอัตตานุฐิทิมีสัญญาเป็นวัตถุ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้ ฯ


[๓๒๓] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ...
ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน ... นี้เป็น
อัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างนี้ ฯ


[๓๒๔] บุคคลย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้เป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้
นั้นแลมีอยู่ในสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา เปรียบเหมือนแก้วมณี
ที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคน
ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความ
เป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างนี้ ฯ


[๓๒๕] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา ... มโนสัมผัสสชา
เจตนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและตนไม่เป็นสองว่า
มโนสัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น
เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและ
แสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
เห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุ
ที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชน
ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ


[๓๒๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรา
นี้นั้นแลมีสังขารด้วยสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนมีสังขาร เปรียบเหมือน
ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ ... ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นว่าต้นไม้มีเงา
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา
สัญญา โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิ
เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่า
มีสังขารอย่างนี้ ฯ


[๓๒๗] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีสังขารเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตนเปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่น-
*หอม ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป
เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุ-
*ทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขาร
ในตนอย่างนี้ ฯ


[๓๒๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา
นี้นั้นแลมีอยู่ในสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร เปรียบเหมือนแก้วมณี
ที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน ...
นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างนี้ ฯ


[๓๒๙] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ ... มโนวิญญาณ โดย
ความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณอัน
ใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน
อันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นตน
... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ


[๓๓๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ
เป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเราแต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น
แลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบเหมือน
ต้นไม้มีเงา ... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน นี้เป็น
อัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้ ฯ


[๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓
อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชน ย่อมเห็น
วิญญาณในตนอย่างนี้ ฯ


[๓๓๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา
นี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบเหมือน
แก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๔ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้ อัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วย
อาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
--------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค ทิฐิกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 332&Z=4069

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2012, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"....รูปัง อะนิจจัง,
รูปไม่เที่ยง;

เวทนา อะนิจจา,
เวทนาไม่เที่ยง;

สัญญา อะนิจจา,
สัญญาไม่เที่ยง;

สังขารา อะนิจจา,
สังขารไม่เที่ยง;

วิญญานัง อะนิจจัง,
วิญญาณ ไม่เที่ยง;

รูปปัง อนัตตา,
รูปไม่ใช่ตัวตน;

เวทะนา อนัตตา
เวทนาไม่ใช่ตัวตน;

สัญญา อนัตตา
สัญญาไม่ใช่ตัวตน;

สังขารา อนัตตา,
สังขารไม่ใช่ตัวตน;

วิญญาณัง อนัตตา,
วิญญาณ ไม่ใช่ตัวตน;

สัพเพ สังขารา อนิจจา,
สังขารทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่เที่ยง;

สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ,
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้...."

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็น “อนัตตา” ของเขาอย่างนั้นอยู่แล้ว
แต่เราผู้ซึ่งเข้าใจผิด เห็นผิดไปว่า ธรรมนั้นเป็น “อัตตา”
เมื่อเราศึกษาและปฏิบัติจนเข้าไปรู้ถึงสภาวธรรมที่เป็นจริง
ก็จะเริ่มคลายความเห็นผิด ไม่เข้าไปยึดถือใน ”อัตตา”นั้น..เราก็จะสามารถมองเห็นสภาวธรรมที่เป็นจริงของเขาอย่างนั้นอยู่แล้วก็คือ”อนัตตา” นั่นเอง
“อัตตา” เป็นเพียงความยึดถือ เป็นคำที่ใช้อธิบายความหมายที่ตรงข้ามกับคำว่า“อนัตตา”
เจริญในธรรมนะคะ :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2012, 18:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
เคยมีใคร เคยกล่าวหรือเห็นแบบผม มั้ยครับ คือ อยากสนทนาด้วยหน่อยครับ
ส่วนใหญ่ที่อ่านมา แยก อัตตา กับอนัตตา เสียคนละฝั่ง เลย :b2:

:b32: :b32: :b32:

เราอยู่ในความไม่มี....เขาพูดกันมาตั้งนานแล้ว... :b12:

แต่ไม่ได้ใช้คำว่า..อัตตา..ใน..อนัตตา

ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา...เราไม่ใช่ขันธ์ 5 (อันเป็นความหมายจริง ๆ ของคำว่า เราไม่มีในขันธ์ 5 )

เราคือความรู้...รู้สึก..นี้แหละเรา

รู้ว่าหมดกิเลสแล้ว...รู้ว่าสิ้นภพสิ้นชาติแล้ว...รู้นี้แหละเรา

:b32:


:b6: นี้ท่าน กบ มันไม่ใช่แค่นั้น นั้นไม่ใช่ ทั้งหมด ของอนัตตา เลย สิ่งที่ท่านว่ามันพูดกันเกลื่อนแล้ว แต่ช่างมันเตอะ ผมก็ตาบอดอยู่พูดไปก็ ปล่าวประโยชน์ เถียงกันป่าวๆ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2012, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รุ้เข้าใจเหมือนกันมั้ย ท่านฝึกจิต น่าจะหมายถึงสังโยชมานะน์รึป่าว ที่บอกว่า อัตตาอยู่ภายในอนัตตา เหมือนเราพิจารณาว่า ขันธ์ 5ไม่เที่ยง เรารู้ว่ามันไม่เที่ยง คนที่ละสักกายทิฏฐิเบื้องต้นได้ คือไม่ได้ยึดมั่นในสังขารว่าเป็นเรา แต่เราไปยึดสภาวธรรมให้เกิดอัตตา อย่างที่เห็นๆกันคือทิฏฐิ ของตน เพราะฉะนั้น อัตตาจึงมีอยู่ภายในอนัตตา สภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป :b8: :b43: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2012, 21:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต...กำลังหาของลึกลับ..ดำมืด...อันชวนให้พิศวง..ตื่นตาตื่นใจ...เช่นนั้นหรือ...

ของที่เจอทุกวัน...มันไม่ตื่นเต้นแล้วเน๊าะ....สนุกไม่เท่าของใหม่.. :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2012, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo ขอตอบแบบ bigtoo อัตตาคือการมองอะไรตรงๆโดยไม่ได้แยกส่วน สมมุติเราเห็นผู้หญิงคนหนึง เราเรียกว่าผู้หญิง ฝรั่งเรียก woman ญี่ปุ่นเรียก ออนนา เป็นสมมุตบัญญัติต่างคนก็เรียกกันไป แต่ถ้าเราแยกเป็นขัน5 ธาตุ4 อาตายนะ6 อย่างนี้แยกเป็นส่วน เรียกว่าอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนเป็นกลุ่มก้อนอย่างที่ตาเห็น นัยอื่นก็เช่นเดียวกัน

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2012, 02:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
bigtoo ขอตอบแบบ bigtoo อัตตาคือการมองอะไรตรงๆโดยไม่ได้แยกส่วน สมมุติเราเห็นผู้หญิงคนหนึง เราเรียกว่าผู้หญิง ฝรั่งเรียก woman ญี่ปุ่นเรียก ออนนา เป็นสมมุตบัญญัติต่างคนก็เรียกกันไป แต่ถ้าเราแยกเป็นขัน5 ธาตุ4 อาตายนะ6 อย่างนี้แยกเป็นส่วน เรียกว่าอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนเป็นกลุ่มก้อนอย่างที่ตาเห็น นัยอื่นก็เช่นเดียวกัน


ส่วนตัวจะเข้าใจอยู่ว่าตัวเองอยู่บนพื้นฐานของการจำแนกธรรมด้วยความเห็นเป็นอัตตาอยู่ แต่อาศัยการฝึกฝนทำให้เกิดความจางลงของความเห็นในบางอย่าง อย่างสมมุติเห็นผู้หญิงสาว นอกจากจะเห็นความเป็นอัตตาแล้วยังเกิดกิเลสตัญหา เพราะมีสิ่งบดบังเอาไว้ไม่ให้เราเข้าไปเห็นความจริง นั่นคือความไม่รู้แจ้ง แต่หากเราใช้ปัญญาพิจารณาออกมาว่า ผู้หญิงสาวสวยคนนี้ปกคลุมไว้ เจาะลึกลงไปจะพบแต่เลือด เนื้อ น้ำเสีย อวัยวะน้อยใหญ่ ทำให้ลดกิเลสตัญหาลงบ้างแต่ถามว่าเห็นอนัตตาแล้วหรือยัง ยังเห็นไม่หมดจดเพราะเป็นความเห็นของปัญญาทางโลกแต่ไม่ใช่วิปัสสนาปัญญา ความเห็นที่ผิดพลาดนั้นเริ่มต้นตั้งแต่การมอง จิตปรุงแต่งตั้งแต่อายตนะภายในและภายนอกกระทบกัน เพราะความเห็นที่ไม่ได้เข้าไปพิจารณาเหตุเกิดของธรรมตั้งแต่ต้น นั่นคือเกิดจากธาตุรู้คือมีดวงตา มีธาตุรู้ที่ยังทำงานดีอยู่ หากตาบอดจะมองเห็นผู้หญิงหรือปล่าว หรือ มองในความมืดไม่มีแสงจะมองออกไหมว่าเป็นอะไรอยู่ตรงหน้า เมื่อมีเหตุของธรรมย่อมมีผล นั่นคือเกิดผัสสะ แต่เมื่อเกิดผัสสะแต่เรารู้ความจริงแล้วว่าเหตุเกิดเพราะมีธาตุรู้ทำงานอยู่ด้วยสติ ความเห็นที่ถูกต้องย่อมเกิดขึ้น เกิดอุเบกขาแล้วเป็นปัญญาที่เกิดจากวิปัสสนา แล้วอัตตาย่อมไม่ปรากฏขึ้นเพราะสิ่งที่ปรากฏตรงหน้าถ้าเป็นอายตนะภายในคือมีดวงตา มีธาตุรู้ ถ้าเป็นอายตนะภายนอกคือ มีแสงสว่างนั่นเอง ถ้าไม่มีพื้นดินพื้นน้ำแสงจะกระทบอะไร

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2012, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามจริงๆ พุทธพจน์ที่อยู่ในพระไตรปิฎกน่ะ อ่านรู้เรื่องกันจิงๆ รึ s004 s004 s004
เราอ่านไม่เห็นรู้เรื่องเลย เหมือนจะเป็นภาษาไทย แต่จริงๆ อาจเป็นภาษาปิตโกโร่ ตอนสื่อสารกับพระเจ้าบนดาวนาแม็ก...
:b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20:
:b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20:
:b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2012, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิปลาส ๑๒ อย่าง คือ

๑. สัญญาวิปลาส จำผิดว่ารูปเป็นของงาม พระอนาคามีจึงละได้

๒. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระอรหันต์จึงละได้

๓. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันจึงละได้

๔. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันจึงละได้

๕. จิตตวิปลาส คิดผิดว่ารูปเป็นของงาม พระอนาคามีจึงละได้

๖. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระอรหันต์จึงละได้

๗. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันจึงละได้

๘. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันละได้

๙. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่ารูปเป็นงาม พระโสดาบันละได้

๑๐. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระโสดาบันละได้

๑๑. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันละได้

๑๒. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันละได้

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2012, 23:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ไม่รุ้เข้าใจเหมือนกันมั้ย ท่านฝึกจิต น่าจะหมายถึงสังโยชมานะน์รึป่าว ที่บอกว่า อัตตาอยู่ภายในอนัตตา เหมือนเราพิจารณาว่า ขันธ์ 5ไม่เที่ยง เรารู้ว่ามันไม่เที่ยง คนที่ละสักกายทิฏฐิเบื้องต้นได้ คือไม่ได้ยึดมั่นในสังขารว่าเป็นเรา แต่เราไปยึดสภาวธรรมให้เกิดอัตตา อย่างที่เห็นๆกันคือทิฏฐิ ของตน เพราะฉะนั้น อัตตาจึงมีอยู่ภายในอนัตตา สภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป :b8: :b43: :b43:



ไม่น่าจะใช่นะครับ เปรียบเหมือนกับ เรามีลิง ฝึกลิงจนทำงานแทนเราได้ เราเห็นลิงทำงาน และรู้ว่าลิงนั้นทำงานอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ และรู้ว่า ลิงนั้นตายได้ตลอดเวลา อย่ายึดกอดลิงนั้นมาเป็นของเรา หรือเราเอง

มันจะว่าง สบายๆ

แต่ต้องมี สติ ตลอด พอเผลอ เราจะกลายเป็นลิงนั้นทันที

ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2012, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ถามจริงๆ พุทธพจน์ที่อยู่ในพระไตรปิฎกน่ะ อ่านรู้เรื่องกันจิงๆ รึ
เราอ่านไม่เห็นรู้เรื่องเลย เหมือนจะเป็นภาษาไทย แต่จริงๆ อาจเป็นภาษาปิตโกโร่ ตอนสื่อสารกับพระเจ้าบนดาวนาแม็ก...


น่าจะพอๆ กัน

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร