วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 00:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:

ผมว่า อย่าคิดเช่นนั้นเลย

คิดให้ได้ว่า ไม่มีเรา ตั้งแต่ก่อนตายดีกว่า หรือ หากรู้สึกว่าใกล้ตายเมื่อไหร่ ก็คิดให้ได้เสียว่า จริงๆแล้ว ไม่มีเราของเรา เลย (เผื่อจะตายเอาจริง) ตายแล้ว อย่่าเหลือเรา ครับ


ควรจะเห็นว่า....

ธรรมใด ใดในโลก...ไม่มีอะไรเป็นเรา...เป็นของเรา...จริง ๆ เลย

สิ่งใดเกิดจากการปรุงแต่งขึ้น...สิ่งนั้นต้องสลายไปในที่สุด

เขาไม่ให้ไปยึดสิ่งที่ปรุงแต่งนี้ว่าเป็นเรา....เท่านั้น

ไม่ปรุงแต่งก็รู้ไม่ปรุงแต่ง...นั้นแหละ...

รู้....ว่า...ไม่ทุกข์อีกแล้ว...

รู้...นี้....ไม่ใช่ธรรมปรุงแต่ง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 06:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:
อ้างคำพูด:
ผมว่า อย่าคิดเช่นนั้นเลย

คิดให้ได้ว่า ไม่มีเรา ตั้งแต่ก่อนตายดีกว่า หรือ หากรู้สึกว่าใกล้ตายเมื่อไหร่ ก็คิดให้ได้เสียว่า จริงๆแล้ว ไม่มีเราของเรา เลย (เผื่อจะตายเอาจริง) ตายแล้ว อย่่าเหลือเรา ครับ

onion

ความมีเรา เป็นเรา หรือตัวกู ของกู นั้น คิดให้มันหายไปจากความยึดถือของใจไม่ได้หรอกนะครับ......เพราะจะคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้จริงและไม่หลุด อย่างดีก็เพียงช่วยปลอบใจว่า "ฉันไม่คิดว่ามีเรา หรือไม่มีฉันแล้ว ในใจของฉัน"

ความเป็นกู เป็นเรา ที่หลงผิดเห็นผิด ยึดผิดไว้นั้น จะขาดสะบั้นหมดไปจากใจโดยเด็ดขาดได้ ต้องทำให้กายใจของตนเองเข้าถึงสภาวะ "หยุดคิด หยุดนึก หยุดปรุงหยุดแต่ง
(สังขารุเปกขาญาณ) ให้ได้เสียก่อนเมื่อหยุดความคิดนึกปรุงแต่งได้แม้จะเป็นช่วงสั้นๆไม่ถาวร แต่ช่วงเวลานั้น จิตใจจะได้พบกับความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้นและดับไปต่อหน้าต่อตาตามที่มันเป็นจริง ไม่มีสมมุติบัญญัติความคิดความเห็นใดไปบิดเบนการทำงานตามธรรมชาติเหล่านั้น เมื่อนั้นจึงจะได้เห็นชัดว่า

1.ความเห็นผิดว่าเป็นกูเป็นเรา (ความคิดนึกปรุงแต่งจะพยายามแทรกเข้ามาบิดเบนความจริงตามธรรมชาติอยู่เสมอ

2.ถ้าความเห็นผิดแทรกเข้ามาไม่ได้(หยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ....จะพบว่าในความเป็นจริงที่กำลังแสดงอยู่ณปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์ทั้งมดนั้น ไม่มีเราหรือกูอยู่จริงๆเลย

3.ความฉลาดหรือปัญญาอันถูกต้องจะเกิดขึ้นมารู้ที่ใจว่าถูกความโง่และมืดบอดไม่รู้ความจริงมาทำให้สติปัญญาทำงานบิดเบือนเฉออกไปจากหน้าที่ตามธรรมชาติ จึงได้รับผลเป็นภาระและทุกข์ที่เวียนว่ายไปตามอำนาจของกฎแห่งกรรม (ปฏิจจสมุปปบาท)หรือกฏของเหตุและผล (อริยสัจ 4)อย่างไม่รู้สุดสิ้น

ตอนนี้รู้ถูกต้องเกิดขึ้นแล้วจริงๆไม่ได้คิดเอา แต่รู้แล้วยังตัดให้ขาดไม่ได้ ความเห็นภัยในทุกข์(ภยญาณ) ความเข็ดกลัวทุกข์(อทีนวญาณ)

ความเบื่อหน่าย(นิพพิทาทาญาณ)

ความดิ้นรนคิดค้นหาทางที่จะพ้นไปจากทุกข์(มุญจิตุกัมมญตาญาณ)

และความสรุปลงตัวว่ามีทางสายเดียวเท่านั้นคือวิปัสสนาภาวนาที่กำลังดำเนินอยู่นี้เท่านั้นที่จะพาให้พ้นจากความเห็นผิดและยึดผิดนี้ได้ (ปฏิสังขาญาณ)

จึงเกิดความเพียรอย่างแรงกล้าไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย มุ่งหน้าขจัดนิวรณ์ธรรมคือความยินดียินร้าย(อภิชฌาและโทมนัสสัง)ต่อสัมผัสทั้งหลายให้ขาดหมดไปจากใจในที่สุดก็จักได้รับผล(วิบาก)ของกุศลกรรมวิปัสสนาภาวนาพาจิตให้เข้าถึง ความสิ้นสุด หยุดการปรุงแต่งไปชั่วขณะ ชั่วคราว (สังขารุเปกขาญาณ)

เข้าถึงสภาวะ "อนัตตา"ไม่มีกูอย่างสมบูรณ์แม้จะชั่วระยะเวลาอันสั้น รอจังหวะที่จะให้เกิดมรรคสมังคี คือมีแรงส่งจากทุกๆด้านมาผลักดันให้โดดข้ามพ้นโคตรปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชน
(อนุโลมญาณ+โคตรภูญาณ).....

จนเกิดการตัดทำลายความเห็นผิดว่าเป็นกูเป็นเราขาดสะบั้นหมดไปจากใจโดยเด็ดขาดไม่หวนกลับคืนมาอีก(มัคคญาณ)

พระนิพพานที่ถูกปิดบังไว้ก็จักเผยออกมาให้จิตใจได้เห็นได้สัมผัส ได้ลิ้มชิม อมตะธรรมนั้น 2 - 3 ขณะจิต แล้วดับไปหรืออาจเกิดดับต่อไปอีกหลายเวลานาทีตามกำลังบารมีของวิญญูชนท่านนั้น(ผลญาณ)

หลังจากนั้น การพิจารณาย้อนกลับคืนหลังว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีอะไรหมดไป มีอะไรยังคงเหลืออยู่ อันเป็นอดีตอารมณ์ทั้งหมดจะเกิดขึ้น แล้วความหน่วงพิจารณาว่า อนาคตข้างหน้าจักมีกิจใดที่คงค้างต้องชำระให้หมดจดก็จะรู้ขึ้นมา(ปัจจเวกขณญาณ)

ผลพลอยได้ของปฏิกิริยาคือการหมดไปสิ้นเชิงของสังโยชน์ 3 ก็จะเกิดขึ้น ความชัดเจนในกฎอิทัปปัจจัยตาหรือปฏิจจสมุปบาทจะชัดเจนขึ้นมาในจิตใจตอนนี้โดยสมบูรณ์ เป็นความรู้ซึ้งจริงแล้วมาทบทวนกับสัญญาเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่เคยเรียนรู้มา

:b42:
ช่วงหลังจากการเสวยผลญาณมา จะเป็นช่วงของการคิดปรุงไปอย่างถูกต้องตามธรรม สมดั่งคำพ่อแม่ครูบาอาจารย์กล่าวไว้ว่า
:b27:
"คิดไม่รู้(บัญญัติที่ประกอบด้วยความไม่รู้จริง) ....หยุดคิดถึงรู้...
(เข้าถึงปรมัตถ์)แต่จะรู้ก็ต้องคิด" (บัญญัติที่ประกอบด้วยปัญญารู้จริง)ซึ่งจะเป็นคนละตอนกันแล้วมาเชื่อมถึงกันในที่สุด"

:b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 07:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b1:
อ้างคำพูด:
ผมว่า อย่าคิดเช่นนั้นเลย

คิดให้ได้ว่า ไม่มีเรา ตั้งแต่ก่อนตายดีกว่า หรือ หากรู้สึกว่าใกล้ตายเมื่อไหร่ ก็คิดให้ได้เสียว่า จริงๆแล้ว ไม่มีเราของเรา เลย (เผื่อจะตายเอาจริง) ตายแล้ว อย่่าเหลือเรา ครับ

onion

ความมีเรา เป็นเรา หรือตัวกู ของกู นั้น คิดให้มันหายไปจากความยึดถือของใจไม่ได้หรอกนะครับ......เพราะจะคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้จริงและไม่หลุด อย่างดีก็เพียงช่วยปลอบใจว่า "ฉันไม่คิดว่ามีเรา หรือไม่มีฉันแล้ว ในใจของฉัน"

ความเป็นกู เป็นเรา ที่หลงผิดเห็นผิด ยึดผิดไว้นั้น จะขาดสะบั้นหมดไปจากใจโดยเด็ดขาดได้ ต้องทำให้กายใจของตนเองเข้าถึงสภาวะ "หยุดคิด หยุดนึก หยุดปรุงหยุดแต่ง
(สังขารุเปกขาญาณ) ให้ได้เสียก่อนเมื่อหยุดความคิดนึกปรุงแต่งได้แม้จะเป็นช่วงสั้นๆไม่ถาวร แต่ช่วงเวลานั้น จิตใจจะได้พบกับความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้นและดับไปต่อหน้าต่อตาตามที่มันเป็นจริง ไม่มีสมมุติบัญญัติความคิดความเห็นใดไปบิดเบนการทำงานตามธรรมชาติเหล่านั้น เมื่อนั้นจึงจะได้เห็นชัดว่า

1.ความเห็นผิดว่าเป็นกูเป็นเรา (ความคิดนึกปรุงแต่งจะพยายามแทรกเข้ามาบิดเบนความจริงตามธรรมชาติอยู่เสมอ

2.ถ้าความเห็นผิดแทรกเข้ามาไม่ได้(หยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ....จะพบว่าในความเป็นจริงที่กำลังแสดงอยู่ณปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์ทั้งมดนั้น ไม่มีเราหรือกูอยู่จริงๆเลย

3.ความฉลาดหรือปัญญาอันถูกต้องจะเกิดขึ้นมารู้ที่ใจว่าถูกความโง่และมืดบอดไม่รู้ความจริงมาทำให้สติปัญญาทำงานบิดเบือนเฉออกไปจากหน้าที่ตามธรรมชาติ จึงได้รับผลเป็นภาระและทุกข์ที่เวียนว่ายไปตามอำนาจของกฎแห่งกรรม (ปฏิจจสมุปปบาท)หรือกฏของเหตุและผล (อริยสัจ 4)อย่างไม่รู้สุดสิ้น

ตอนนี้รู้ถูกต้องเกิดขึ้นแล้วจริงๆไม่ได้คิดเอา แต่รู้แล้วยังตัดให้ขาดไม่ได้ ความเห็นภัยในทุกข์(ภยญาณ) ความเข็ดกลัวทุกข์(อทีนวญาณ)

ความเบื่อหน่าย(นิพพิทาทาญาณ)

ความดิ้นรนคิดค้นหาทางที่จะพ้นไปจากทุกข์(มุญจิตุกัมมญตาญาณ)

และความสรุปลงตัวว่ามีทางสายเดียวเท่านั้นคือวิปัสสนาภาวนาที่กำลังดำเนินอยู่นี้เท่านั้นที่จะพาให้พ้นจากความเห็นผิดและยึดผิดนี้ได้ (ปฏิสังขาญาณ)

จึงเกิดความเพียรอย่างแรงกล้าไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย มุ่งหน้าขจัดนิวรณ์ธรรมคือความยินดียินร้าย(อภิชฌาและโทมนัสสัง)ต่อสัมผัสทั้งหลายให้ขาดหมดไปจากใจในที่สุดก็จักได้รับผล(วิบาก)ของกุศลกรรมวิปัสสนาภาวนาพาจิตให้เข้าถึง ความสิ้นสุด หยุดการปรุงแต่งไปชั่วขณะ ชั่วคราว (สังขารุเปกขาญาณ)

เข้าถึงสภาวะ "อนัตตา"ไม่มีกูอย่างสมบูรณ์แม้จะชั่วระยะเวลาอันสั้น รอจังหวะที่จะให้เกิดมรรคสมังคี คือมีแรงส่งจากทุกๆด้านมาผลักดันให้โดดข้ามพ้นโคตรปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชน
(อนุโลมญาณ+โคตรภูญาณ).....

จนเกิดการตัดทำลายความเห็นผิดว่าเป็นกูเป็นเราขาดสะบั้นหมดไปจากใจโดยเด็ดขาดไม่หวนกลับคืนมาอีก(มัคคญาณ)

พระนิพพานที่ถูกปิดบังไว้ก็จักเผยออกมาให้จิตใจได้เห็นได้สัมผัส ได้ลิ้มชิม อมตะธรรมนั้น 2 - 3 ขณะจิต แล้วดับไปหรืออาจเกิดดับต่อไปอีกหลายเวลานาทีตามกำลังบารมีของวิญญูชนท่านนั้น(ผลญาณ)

หลังจากนั้น การพิจารณาย้อนกลับคืนหลังว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีอะไรหมดไป มีอะไรยังคงเหลืออยู่ อันเป็นอดีตอารมณ์ทั้งหมดจะเกิดขึ้น แล้วความหน่วงพิจารณาว่า อนาคตข้างหน้าจักมีกิจใดที่คงค้างต้องชำระให้หมดจดก็จะรู้ขึ้นมา(ปัจจเวกขณญาณ)

ผลพลอยได้ของปฏิกิริยาคือการหมดไปสิ้นเชิงของสังโยชน์ 3 ก็จะเกิดขึ้น ความชัดเจนในกฎอิทัปปัจจัยตาหรือปฏิจจสมุปบาทจะชัดเจนขึ้นมาในจิตใจตอนนี้โดยสมบูรณ์ เป็นความรู้ซึ้งจริงแล้วมาทบทวนกับสัญญาเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่เคยเรียนรู้มา

:b42:
ช่วงหลังจากการเสวยผลญาณมา จะเป็นช่วงของการคิดปรุงไปอย่างถูกต้องตามธรรม สมดั่งคำพ่อแม่ครูบาอาจารย์กล่าวไว้ว่า
:b27:
"คิดไม่รู้(บัญญัติที่ประกอบด้วยความไม่รู้จริง) ....หยุดคิดถึงรู้...
(เข้าถึงปรมัตถ์)แต่จะรู้ก็ต้องคิด" (บัญญัติที่ประกอบด้วยปัญญารู้จริง)ซึ่งจะเป็นคนละตอนกันแล้วมาเชื่อมถึงกันในที่สุด"

:b20:


แล้วท่านคิดว่า ที่ผมว่า คิดให้ได้ นั้น มันคิดอย่างแรก หรือ คิดอย่างหลังละครับ 555 :b12: เห็นท่านกล่าวก็ค้าน เลย :b12:

ท่านน่าจะรู้นะว่า วิปัสสนาญาณ นั้นมีหลายระดับ หลายวิธี อย่ายึดมั่น เดียวจะเป็นปุถุชนไป :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


น่าฟังค่ะ :b1:


~หนี้กรรม~BAD~KARMA~2





คนเราได้แค่นี้จริงๆค่ะ ผลสุดท้ายคืออะไรก็เอาติดตัวไปไม่ได้
ไปแบบมือเปล่าๆโล่งๆ มีอยู่สิ่งเดียวที่ติดไปกับจิตคือ ผลของบุญ - อกุศลกรรม :b41: :b55: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2012, 02:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ก็ดีอย่างนึง ทำให้คุนน้องได้รุ้วิบากของตนว่า อาการที่ตัวเองเป็นเมื่อก่อนเกิดจากอะไร ทั้งที่ร่างกายคุนน้องปกติ เคยตรวจเลือดตอนท้องก็ปกติ ความดันก็ปกติ ไม่งั้นคงไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ เพราะคนเป็นความดันจะมีโอกาสเสียชีวิตจากการคลอดค่อนข้างสูง เพราะน้าสะใภ้แกก็ผ่าคลอดเพราะเป็นความดัน จะเชื่อหรือไม่ก็ใช้
วิจารณญานเพราะ สภาวะธรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่คุนน้องเวลาอยากรู้อะไรรึสงสัย ความรู้นั้นมันจะผุดขึ้นเอง แต่จะเป็นช่วง วิปัสนากรรมฐาน จิตเราเกิดอุปทานขึ้นเอง คุนน้องปฏิบัติธรรมเอง ไม่ได้สอบทานอารมณ์กับพระอาจารย์ท่านใด เพราะคิดว่าธรรมมะ ก็คือธรรมชาติกาย-ใจ ของเรา เรารู้เอง เห็นเอง รู้สึกเกริ่นมานอกเรื่องแล้ว
เข้าเรื่องเลยละกัน อาการปวดท้องบิดอย่างทรมานที่สุด ปวดทีไรหายใจไม่ออก จะขาดใจตาย มีอาการเหงื่อออกเต็มหัว ก่อนจะหมดสติ คิดว่าออกซิเจนคงไปเลี้ยงสมองไม่ทัน แต่ก็ตื่นขึ้นมาเองไม่ได้ไปโรงบาลหาหมอ ครั้งแรกที่เป็นคือวูบแต่ไม่มีอาการปวดท้องบิด แต่สลบหัวแตก หลังจากนั้นก็มีอาการปวดท้องบิด อย่างที่กล่าวมา นานๆจะเกิดขึ้นครั้งนึง ช่วงนั้นอายุ 18-19 และก็มีอาการเหมือนโดนผีอำบ่อย แต่เด่วนี้ตั้งแต่ปฏิบัติธรรมไม่มีอาการแบบนั้นเลย สาเหตุที่ปวดท้องบิดเกือบจะขาดใจตายก็เพราะ ตอนที่คุนน้องเป็นเด็ก คุนน้องเคยเอาเคียวไปปาดท้องงูที่มันมาติดเบ็ดหาปลา แล้วงูนั้นมันยังไม่ตายมันยังมีชีวิตอยู่แล้วมันก็รัดเคียวแน่น คุนน้องยิ่งบิดเคียวให้งูมันปล่อย จนงูมันยอมปล่อย คุนน้องก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงคิดว่าเป็นเพราะเคยทำร้ายงู แต่คุนน้องรู้เองเพราะจิตอุปทานขึ้น คุนน้องก็อธิบายไม่ถูก แต่เด่วนี้คุนน้องหายจากอาการแบบนั้นแล้ว เพราะเวลานั่งกรรมฐานจะแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรทุกครั้ง onion
:b8: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2012, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
กระทู้นี้ก็ดีอย่างนึง

น้องคิงคองอย่าเข้าใจผิด กระทู้นี้มันเกิดจากความไม่รู้ของจขกทแต่ต้น
ไม่เข้าใจความหมายของบํญญัติ ไม่รู้จักคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
มันทำให้เพื่อนที่เข้ามาอ่านหลงไปกับการปรุงแต่ง ไปเอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาคุย
ทั้งๆที่มันไม่ใช่สาระของธรรม

สติที่พระพุทธเจ้าให้ทรงระลึกไว้เสมอก็คือ สัมมาทิฐิ(รู้เห็นตามความเป็นจริง)
แต่จขกทและอีกหลายท่าน บอกว่าต้องหมั่นระลึกถึงมรณานุสติเพื่อไม่ให้กลัวตาย
และยิ่งเห็นความสับสนไปกว่านั้นก็คือ ดันบอกว่าคนใกล้ตาย ให้เจริญสติปัฏฐานสี่
นี่แสดงว่า คนพูดคงเข้าใจไปว่า สติที่ใช้คงเป็น มรณานุสติ มันผิดแบบไม่น่าให้อภัย

คำว่า"กลัวตาย" มีสองพยางค์ แต่มีสภาวะเดียว นั้นก็คือความกลัว
ความตายยังไม่มียังไม่เกิด การให้คิดถึงความตาย มันก็คือสอนให้มีการปรุงแต่ง
สอนให้มีกิเลสตัวใหม่เพิ่มเข้ามา

"ความกลัว" เป็นสังโยชน์ เป็นกิเลสที่เรียกว่าความฟุ้งซ่าน กิเลสตัวนี้
ดับได้ยากผู้ที่จะดับได้มีแค่พระอรหันต์

"ความตาย" มันไม่ได้เป็นสภาวะมันเป็นเพียงสมมุติบัญญัติ ให้รู้ว่า
จิตหรือรูปกับนามได้แยกออกจากกัน
และที่สำคัญมันยังไม่เกิดการแยกออกจากกัน จึงไม่มีสภาวะที่ว่า

การให้ระลึกถึงความตาย ในขณะที่กำลังเกิดสภาวะที่เรียกว่ากลัว
มันเป็นการปรุงแต่งให้กิเลสมีพลังมากขึ้น เกิดวิจิกิจฉาตามมา
ที่นี้ละ สังโยชน์กิเลสทั้งสิบเริ่มทำงาน จิตของผู้ป่วยจะขาดสติ
เหมือนคนบ้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2012, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
การให้ระลึกถึงความตาย ในขณะที่กำลังเกิดสภาวะที่เรียกว่ากลัว
มันเป็นการปรุงแต่งให้กิเลสมีพลังมากขึ้น เกิดวิจิกิจฉาตามมา
ที่นี้ละ สังโยชน์กิเลสทั้งสิบเริ่มทำงาน จิตของผู้ป่วยจะขาดสติ
เหมือนคนบ้า

งั้นคุนน้องคงไม่ต้องไปสอบอารมณ์กับพระอาจารย์ก็ได้กระมัง ให้พี่โฮฮับสอบอารมณ์ให้ก็ได้.. :b1:
ว่าแต่สภาวะที่คุนน้องเล่ามา จัดอยู่ในสังโยชน์ อุทธัจจะ ที่แปลว่าความฟุ้งซ่านหรือเปล่าเจ้าค่ะ คุนน้องไม่เข้าใจว่า
สังโยชน์ตัวนี้ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านทำให้เราเกิดความกลัว หรือ ความกลัวทำให้ฟุ้งซ่าน เพราะลึกๆแล้วเราเกิดความกลัว กลัวสภาวะที่เราเคยรับรู้สัมผัสมา เพราะกระทู้นี้ทำให้คุนน้องไปดึงเอาสัญญา ความจำตอนอาการที่รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังจะตาย ถ้าไม่มีกระทู้นี้ คุนน้องก็ไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่าลึกๆแล้วเรามีความกลัวซ่อนอยู่ แต่เหตุปัจจัยมันยังไม่เกิด แต่ตอนนี้มันเกิดขึ้นแล้ว.
. :b6:
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2012, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
การให้ระลึกถึงความตาย ในขณะที่กำลังเกิดสภาวะที่เรียกว่ากลัว
มันเป็นการปรุงแต่งให้กิเลสมีพลังมากขึ้น เกิดวิจิกิจฉาตามมา
ที่นี้ละ สังโยชน์กิเลสทั้งสิบเริ่มทำงาน จิตของผู้ป่วยจะขาดสติ
เหมือนคนบ้า

งั้นคุนน้องคงไม่ต้องไปสอบอารมณ์กับพระอาจารย์ก็ได้กระมัง ให้พี่โฮฮับสอบอารมณ์ให้ก็ได้.. :b1:
ว่าแต่สภาวะที่คุนน้องเล่ามา จัดอยู่ในสังโยชน์ อุทธัจจะ ที่แปลว่าความฟุ้งซ่านหรือเปล่าเจ้าค่ะ คุนน้องไม่เข้าใจว่า
สังโยชน์ตัวนี้ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านทำให้เราเกิดความกลัว หรือ ความกลัวทำให้ฟุ้งซ่าน เพราะลึกๆแล้วเราเกิดความกลัว กลัวสภาวะที่เราเคยรับรู้สัมผัสมา เพราะกระทู้นี้ทำให้คุนน้องไปดึงเอาสัญญา ความจำตอนอาการที่รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังจะตาย ถ้าไม่มีกระทู้นี้ คุนน้องก็ไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่าลึกๆแล้วเรามีความกลัวซ่อนอยู่ แต่เหตุปัจจัยมันยังไม่เกิด แต่ตอนนี้มันเกิดขึ้นแล้ว.
. :b6:
:b44: :b44:

ความกลัวกับความฟุ้งซ่านก็เป็นตัวเดียวกัน มันเป็นกิเลสที่ทำให้จิตเกิดการปรุงแต่ง
จินตนาการไปต่างๆนาๆ ซึ่งในความเป็นจริงเรื่องที่ปรุงแต่งนั้นๆอาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้
อย่างเช่นเรากลัวผี หรือกลัวโลกจะแตก แผ่นดินไหวฯลฯ
พระพุทธองค์สอนให้เราอยู่กับปัจจุบัน หมั่นมีสติอยู่เนื่องๆ
ความหมายของการมีสติเนื่องๆก็คือ ให้ดับความกลัวหรือฟุ้งซ่าน
เพราะมันยังไม่เกิด หรือแม้กระทั้งเรากำลังประสบกับเหตุการณ์ที่กล่าวข้างต้น
ท่านก็ไม่ให้ฟุ้งซ่านหรือกลัว ให้มีสติหาทางแก้ไขเอาตัวรอด

น้องคิงคองครับ ไม่ต้องให้คนอื่นสอบอารมณ์ให้หรอกครับ
ตัวเรานั้นแหล่ะสอบอารมณ์ตัวเองได้ดีที่สุด เพราะมันเป็นกายใจเราครับ
การให้คนอื่นสอบอารมณ์ให้ ถ้าเรานั่งเฉยๆไม่แสดงอาการอะไรออกมา
ต่อให้พระอริยะก็ไม่สามารถรู้อารมณ์ของเราได้ครับ

แล้วเราจะสอบอารมณ์ตัวเองได้อย่างไร มันก็แค่มีสติตามรู้อารมณ์ตัวเอง
กำลังดีใจก็รู้ กำลังโกรธก็รู้ กำลังอยากเจอใครก็รู้ว่าอยาก ฯลฯ
ถ้าเราอยู่กับอารมณ์ใดนานๆก็ให้รู้ว่าหลงไป เราสามารถตรวจดูว่าเรา
ปฏิบัติไปได้มากน้อยเท่าไร ก็ดูจากระยะเวลาที่เราหลงไปกับอารมณ์ต่างๆนานมั้ย
ต้องให้สั้นที่สุดจึงจะใช้ได้ครับ นี่เป็นหลักเบื้องต้นของการรู้เห็นตามความเป็นจริง

หมั่นทำบ่อยๆอีกหน่อย ก็จะเห็นสภาวะไตรลักษณ์จากนั้น จะเข้าใจเองครับว่า
สัมมาทิฐิเป็นอย่างไร และมีความสำคัญมากแค่ไหน

ที่ใครๆหลายคนในนี้ มักพูดว่าให้ทำสติปัฏฐานสี่ ผมพูดได้เต็มปากเลยครับว่า
ไม่ได้เรื่อง พูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง

ไตรลักษณ์ไม่เคยเห็น สัมมาทิฐิไม่มี แต่ดันมาสอนให้เจริญสติปัฏฐานสี่
ปุถุชนมันดูไม่ทันหรอกครับ เกิดความรู้สึกขึ้นกว่าจะรู้มันก็เกิดเป็นการปรุงแต่ง
จินตนาการไปต่างๆนาๆแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2012, 17:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


เอามาฝาก ฝึกกันไว้ครับ
มรณานุสสติกรรมฐาน โดยสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๙
In ของฝากจากหนังสือธรรมะ


มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน
ซึ่งก็คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า “มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด ฯลฯ”


อันมรณัสสติกรรมฐานนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็ยังไม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสตินี้ ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ตถาคถนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ”


มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธิจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ ก็คือการพิจารณาถึงความเป็นจริงที่ว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่ สูง ต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า “หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด” และกล่าวไว้อีกว่า “หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่” และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจ วาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้ง ต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมานั้น ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสารประโยชน์อันใดมิได้เลย


มรณัสสติกรรมฐานนั้น เมื่อพิจารณาไปนานๆ จิตจะค่อยๆ สงบระงับจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ ในที่สุดจิตก็เข้าถึงอุปจารสมาธิ และความจริงกรรมฐานกองนี้เป็นเพียงสมถภาวนาเท่านั้น แต่ก็ใกล้กับวิปัสสนา เพราะอารมณ์จิตที่ใช้นั้นเป็นการพิจารณาหาเหตุและผลในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหากพลิกการพิจารณาว่า อันชีวิตของคนและสัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่อาจทรงตัวตั้งมั่นอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุด เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้ว ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า
“อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ การปรินิพพานของเราตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน ทั้งที่เป็นพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเหมือนภาชนะ ดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้วชีวิตของเราริบหรี่แล้วเราจักต้องละพวกเธอไป ที่พึ่งของตนเอง เราได้ทำแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”
และในวันมหาปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ตรัสพระปัจฉิมโอวาท ที่เรียกกันว่า “อัปปมาทธรรม” สั่งสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้าย จนดูเหมือนว่าพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่ทรงสั่งสอนมานานถึง ๔๕ พรรษา ได้ประมวลประชุมรวมกันในพระปัจฉิมโอวาทนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตถาคตขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
เอามาฝาก ฝึกกันไว้ครับ

แนะนำจขกท ไปหมั่นฝึกเจริญสติบ่อยๆครับ การมีสติมีสัมปชัญญะกับการงานที่ทำจะทำให้เกิด
สมาธิ เช่นเดียวกันการมีสมาธิกับธรรมที่อยู่ตรงหน้าย่อม สามารถอธิบายธรรมหรือพิจารณาธรรม
ได้อย่างถูกต้อง ไม่ทำให้การพิจารณาธรรมเป็นลักษณะเด็กอ่านกลอนท่องอาขยาน
ฝึกจิต เขียน:
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน
ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า


อยากให้จขกทดูซิว่า ใครเป็นคนสอนเรื่องมรณานุสติ และใครเป็นคนฟังเรื่องที่พระพุทธเจ้าสอน
และอยากให้ดูว่า ใครกันที่กำลังจะตาย พระพุทธเจ้าเป็นผู้ปลงอายุสังขาร แสดงว่า ผู้ที่จะต้อง
ตายเป็นพระพุทธเจ้า เหล่าพุทธสาวกไม่ได้กำลังจะตาย แสดงว่า ไม่ได้สอนให้กลัวความตาย
แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน มีสาเหตุมาจากพุทธสาวกรู้ว่าพระพุทธเจ้ากำลังจะตาย
ทำให้โศรกเศร้ากับความตายของพระพุทธเจ้า

ดังนั้นความโศรกเศร้าของเหล่าพุทธสาวกก็คือ ความพลัดพราก
การที่จะไม่ได้พบกับพระพุทธเจ้าแล้ว

อยากบอกจขกทไว้ สภาวะความตายเป็นของเที่ยง
ผู้ที่จะเห็นสภาวะความตายได้ ก่อนละสังขารก็มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น
ก็เหมือนกับพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงปลงอายุสังขารได้นั้นแหล่ะครับ


ดังนั้นผมว่าจขกทอย่าเพ้อเจ้อเลยครับ

ฝึกจิต เขียน:
“อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ การปรินิพพานของเราตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน

ประโยคนี้พระพุทธองค์ทรงบอกแก่พระอานนท์ว่า
"สัตว์ทั้งหลายจะต้องพลักพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น"

ความพลัดพรากก็คือสังขารของคนที่ยังมีชีวิตที่มีต่อผู้ที่ตายจาก
ความเศร้าจากความพลัดพรากเกิดกับคนที่ยังมีชีวิต


"สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว
ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย
ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ "

ประโยคนี้พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ความรักของพระอานนท์และเหล่าสาวก
ที่มีต่อพระพุทธเจ้า
เป็นแค่การปรุงแต่ง มันเกิดแล้วก็ดับ ดังนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระอานนท์และเหล่าสาวก เป็นแค่เรื่อง
การปรุงแต่งของสังขารเกิดแล้วก็ดับ ดับแล้วก็เกิด มันไม่ได้เกี่ยวกับความตายเลย


ฝึกจิต เขียน:
ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน ทั้งที่เป็นพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเหมือนภาชนะ ดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้วชีวิตของเราริบหรี่แล้วเราจักต้องละพวกเธอไป


ลองพิจารณาดูที่คอมเม้นไว้ คนที่กำลังจะตาย กับคนที่เป็นปกติ
ลองเอาสมองเอาปัญญานิดเดียวคิดซิว่า ลูกหลานบริวาลกำลังเศร้าโศรกเสียใจ
กับบุพการีที่กำลังจะตายจาก ถามหน่อยลูกหลานเศร้าโศรกเรื่องอะไรอยู่ครับ
เศร้าเพราะกลัวตายเหมือนบุพการีหรือครับ พุทโธ๋! เขาเศร้าเพราะบุพการีกำลังจะจากไป
ไม่ใช่ตัวเองกำลังจะจากไป แบบนี้เขาเรียกว่า ความพลัดพรากของผู้ที่ยังอยู่ เข้าใจมั้ย

สรุปเลยว่า พระพุทธองค์บอกว่า อย่างไรแล้วก็ต้องพลัดพราก
ไม่พบวันนี้ก็ต้องพบวันหน้า เพราะมีเงื่อนไขที่หลีกไม่ได้คือความตาย
พระองค์เอาความตายซึ่งเป็นสิ่งที่เที่ยง มาดับความกลัวความพลัดพรากที่เป็นสิ่งไม่เที่ยง


ปล. ผมว่าผมต้องเหนื่อยฟรีแน่ๆ รับรองได้ว่าจขกทไม่รู้เรื่อง
คนยังมีวิจิกิจฉา มันก็เละแบบนี้แหล่ะ ตัวกิเลสเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้
เอาคำสอนของพระสงฆ์มาแย้งพุทธพจน์เฉยเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครถนัดแบบไหนก็ลองฝึกไปแบบนั้นก็ได้ เพราะสภาวะกายใจของใครก็ของคนนั้น อาจจะเข้าใจไม่เหมือนกัน โดยส่วนตัวแล้วคุนน้องเข้าใจแบบพี่โฮฮับนะ คุนน้องก็เจริญมรณานุสติอยู่เนืองๆ คือไม่ประมาท มีสติอยู่กับปัจจุบัน ไม่ปรุงแต่งไปคิดในสิ่งที่มันยังมาไม่ถึง แต่จะเตือนไว้อย่างหนึ่งว่า คนที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ถ้าระลึกถึงความตายเมื่อใดถ้าฝึกสติมาไม่ดี ก็เป็นแค่การปลอบใจตัวเองในสิ่งที่ยังไม่เกิด.. แต่พอเจอเหตุการที่จะต้องตายจริงๆ ถ้าสติไม่ทันละก็... ทีนี้แหละจะรู้ว่าเจ้ากิเลศที่มันนอนหลับอยู่ได้เวลาตื่น..มันจะแสดงตัวตนออกมา คนผู้นั้นจะขาดสติ ทำอะไรไม่ถูก..สุดท้ายก็ตายแบบประมาท..หรืออาจจะไม่สมควรตายแต่ก็ดันมาตายเพราะสติไม่ทัน เพราะกฏแห่งความตายเราไม่รู้ว่าเราต้องตายยังงัย ตายแบบไหนแต่ที่รู้ๆตายแน่ ตายทุกคน ถึงบอกไงว่ามีสติกับปัจจุบัน อย่าไปคิดเรื่องความตายที่ยังมาไม่ถึง :b8: ด้วยความปราถนาดี สาธุ
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 17:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
เอามาฝาก ฝึกกันไว้ครับ

แนะนำจขกท ไปหมั่นฝึกเจริญสติบ่อยๆครับ การมีสติมีสัมปชัญญะกับการงานที่ทำจะทำให้เกิด
สมาธิ เช่นเดียวกันการมีสมาธิกับธรรมที่อยู่ตรงหน้าย่อม สามารถอธิบายธรรมหรือพิจารณาธรรม
ได้อย่างถูกต้อง ไม่ทำให้การพิจารณาธรรมเป็นลักษณะเด็กอ่านกลอนท่องอาขยาน
ฝึกจิต เขียน:
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน
ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า


อยากให้จขกทดูซิว่า ใครเป็นคนสอนเรื่องมรณานุสติ และใครเป็นคนฟังเรื่องที่พระพุทธเจ้าสอน
และอยากให้ดูว่า ใครกันที่กำลังจะตาย พระพุทธเจ้าเป็นผู้ปลงอายุสังขาร แสดงว่า ผู้ที่จะต้อง
ตายเป็นพระพุทธเจ้า เหล่าพุทธสาวกไม่ได้กำลังจะตาย แสดงว่า ไม่ได้สอนให้กลัวความตาย
แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน มีสาเหตุมาจากพุทธสาวกรู้ว่าพระพุทธเจ้ากำลังจะตาย
ทำให้โศรกเศร้ากับความตายของพระพุทธเจ้า

ดังนั้นความโศรกเศร้าของเหล่าพุทธสาวกก็คือ ความพลัดพราก
การที่จะไม่ได้พบกับพระพุทธเจ้าแล้ว

อยากบอกจขกทไว้ สภาวะความตายเป็นของเที่ยง
ผู้ที่จะเห็นสภาวะความตายได้ ก่อนละสังขารก็มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น
ก็เหมือนกับพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงปลงอายุสังขารได้นั้นแหล่ะครับ


ดังนั้นผมว่าจขกทอย่าเพ้อเจ้อเลยครับ

ฝึกจิต เขียน:
“อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ การปรินิพพานของเราตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน

ประโยคนี้พระพุทธองค์ทรงบอกแก่พระอานนท์ว่า
"สัตว์ทั้งหลายจะต้องพลักพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น"

ความพลัดพรากก็คือสังขารของคนที่ยังมีชีวิตที่มีต่อผู้ที่ตายจาก
ความเศร้าจากความพลัดพรากเกิดกับคนที่ยังมีชีวิต


"สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว
ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย
ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ "

ประโยคนี้พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ความรักของพระอานนท์และเหล่าสาวก
ที่มีต่อพระพุทธเจ้า
เป็นแค่การปรุงแต่ง มันเกิดแล้วก็ดับ ดังนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระอานนท์และเหล่าสาวก เป็นแค่เรื่อง
การปรุงแต่งของสังขารเกิดแล้วก็ดับ ดับแล้วก็เกิด มันไม่ได้เกี่ยวกับความตายเลย


ฝึกจิต เขียน:
ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน ทั้งที่เป็นพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเหมือนภาชนะ ดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้วชีวิตของเราริบหรี่แล้วเราจักต้องละพวกเธอไป


ลองพิจารณาดูที่คอมเม้นไว้ คนที่กำลังจะตาย กับคนที่เป็นปกติ
ลองเอาสมองเอาปัญญานิดเดียวคิดซิว่า ลูกหลานบริวาลกำลังเศร้าโศรกเสียใจ
กับบุพการีที่กำลังจะตายจาก ถามหน่อยลูกหลานเศร้าโศรกเรื่องอะไรอยู่ครับ
เศร้าเพราะกลัวตายเหมือนบุพการีหรือครับ พุทโธ๋! เขาเศร้าเพราะบุพการีกำลังจะจากไป
ไม่ใช่ตัวเองกำลังจะจากไป แบบนี้เขาเรียกว่า ความพลัดพรากของผู้ที่ยังอยู่ เข้าใจมั้ย

สรุปเลยว่า พระพุทธองค์บอกว่า อย่างไรแล้วก็ต้องพลัดพราก
ไม่พบวันนี้ก็ต้องพบวันหน้า เพราะมีเงื่อนไขที่หลีกไม่ได้คือความตาย
พระองค์เอาความตายซึ่งเป็นสิ่งที่เที่ยง มาดับความกลัวความพลัดพรากที่เป็นสิ่งไม่เที่ยง


ปล. ผมว่าผมต้องเหนื่อยฟรีแน่ๆ รับรองได้ว่าจขกทไม่รู้เรื่อง
คนยังมีวิจิกิจฉา มันก็เละแบบนี้แหล่ะ ตัวกิเลสเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้
เอาคำสอนของพระสงฆ์มาแย้งพุทธพจน์เฉยเลย



กระผมเอามาจากหนังสือในเวป ท่านคงต้องทำหนังสือประทวงทางผู้จัดทำแล้วละครับ ผมเอามาให้อ่านเฉยๆ อิอิ
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 17:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. มรณานุสติกรรมฐาน
มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดา
ของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความ
ตายนี้รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่วไป ท่านผู้อ่านจะสงสัยว่า เมื่อความตายเป็นของ
ธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ทราบว่าตัวจะต้องตาย แล้วพระพุทธเจ้ามาสอนให้นึกถึงความตายเพื่อประโยชน์
อะไร ? ปัญหาข้อนี้ตอบไม่ยาก เพราะธรรมดาของคนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นของธรรมดา
จริง แต่ทว่า เห็นว่าเป็นธรรมดาสำหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนเองหรือญาติ
คนที่รักของตนเข้า ก็ดิ้นรนเอะอะโวยวายไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายาม
ทุกทางที่จะไม่ยอมตายปกติของคนเป็นอย่างนี้ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่ว่าใคร
จะหนีความตายไม่ได้ การดิ้นรน เอะอะโวยวายต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้เป็นการดิ้นรนเหนือ
ธรรมดาไม่มีทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไร ความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดา
เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดาไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสาม
อย่างด้วยกัน คือ

๑. สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ท่านเสร็จ
กิจแห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับ
ท่านให้เกิดอีกไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่า
ตายขาดตอนไม่กลับมาเกิดอีก


๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็กๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับ หรือการ
เคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอดคือ
ตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออกและเกิด
ต่อทุกๆ ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราวเมื่อสิ้นอำนาจ
ของอาหารเก่า ร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทนแต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทด
แทนชีวิตก็จะต้องดับ ชีวิตที่ทรงอยู่ได้ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหาร
เก่า ท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระ
หนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลม
หายใจออกแล้ว ไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันที ที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็
เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่ามี
ความตายเป็นปกติทุกวันเวลาอย่างนี้ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือ
ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ


๓. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลก
นิยม เรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายใน
โอกาสที่ยังไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้น
ให้ตาย

:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 18:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


"...หัดตายก่อนตาย จะได้ปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย ก่อนที่จะ
ถูกความตายบังคับให้ปล่อย"

"...อันกาลเวลาวันคืนยาม ย่อมมีปกติหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป
ไม่มีเวลาหยุดยั้ง ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ย่อม
หมดไปสิ้นตามกาลเวลา มนุษย์ของเราทั้งหลายเกิดมาในโลกนี้
ย่อมมีชรา ความเฒ่าความแก่ ขับไล่ไปอย่างเงียบๆ ไม่มีเวลาหยุดยั้ง
ในที่สุดก็แตกสลายเข้าไปสู่อำนาจแห่งความตาย
จะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จะเป็นผู้ร้ายหรือผู้ดี จะเป็นผู้มั้งมีศรีสุข
หรือเป็นคนทุกข์อับจนอย่างไรก็ตาม เมื่อถึงคราวตายด้วยกันทั้งนั้น
ไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงหรือต่อสู้ด้วยประการใดและด้วยวิธีใดๆ..."


"...ความเกิดมีแล้ว ความแก่ ความตายมันก็มีอยู่ ไม่มีใครพ้นตาย
เกิดก็เต็มแผ่นดิน ตายก็เต็มแผ่นดินอยู่
เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดอยู่นี้แหละ ความตายเต็มแผ่นดินอยู่
เป็นเป็ด ไก่ หมู หมา เขาก็ตาย มนุษย์ชายหญิงก็ตาย
ใครล่ะ เกิดมาแล้วไม่ตาย..."


"...ถ้าผู้ใดหมดวัน หมดคืน หมดเดือน หมดปี หมดอายุไป
โดยที่ไม่ได้นึกถึงความตายที่จะมาถึงตน นั่นแหละเป็นความประมาท
คือเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองจะอายุยืนยาวคราวไกล
เหมือนกับว่าอายุมันพันปีหมื่นปี แท้จริงอายุมันน้อยนิดเดียว
ประเดี๋ยวเดียวก็แก่ชราไป ประเดี๋ยวเดียวก็เจ็บป่วย
ประเดี๋ยวเดียวก็ตาย..."


"...แท้ที่จริงความตายนั้นไม่เท่าไรหรอก ก่อนที่จะตายนั่นซีมันสำคัญ
จะตั้งจิตรักษาจิต
ด้วยอาการอย่างไรให้มั่นคง ที่จะไม่ให้หวั่นไหว อันตรงนั้นมันสำคัญที่สุด..."


"...กายก็จริงตามสภาพของร่างกาย เวทนาก็จริงตามสภาพของเวทนา
จิตก็จริงตามสภาพของจิต
ต่างอันต่างจริงแล้ว ไม่กระทบกระเทือนกัน
แม้ความตายก็เป็นสัจธรรมความจริงอันหนึ่ง จะตื่นให้กิเลสหัวเราะทำไม..."


"...ให้พิจารณาความตาย นั่นคือการเจริญมรณานุสติ ให้พิจารณาว่า
นั่งก็ตาย นอนก็ตาย ยืนก็ตาย เดินก็ตาย..."


"...คนเราเกิดมา ที่ชื่อว่ามีกาย ก็โดยความเป็นสมมติบัญญัติ เราขอยืมกาย
มาจากมัจจุราช แล้วก็ต้องคืนให้แก่มัจจุราชในที่สุด
เปรียบเสมือนหนึ่ง เราได้ขอยืมเงินของเขามาใช้เพื่อทำเป็นทุน
เราได้ใช้ผลประโยชน์จากดอกและผลของเงินนั้น และส่วนที่เป็นต้น
ก็ต้องคืนแก่เจ้าของไปตามกำหนด แต่คนเราทุกวันนี้
มิได้คิดถึงความจริงดังกล่าว กลับไปยึดถือ เอาว่า ร่างกาย
เป็นของตัวของตน ดังนั้น เมื่อถูกใครเขาด่าเขาว่าเอา
ก็หลงโกรธไปต่างๆ นานา ทั้งยังหลงมีความเศร้าโศกเสียใจ
และมีอารมณ์เป็นไปต่างๆ
เพราะเหตุที่ได้ยึดถือเอากายนี้ ว่าเป็นตัวเป็นตนนั่นเอง..."



"...สังขารทั้งปวง จิตและร่างกายล้วนเป็นของไม่เที่ยง จงเฝ้าดู
แต่อย่ายึดมั่นถือมั่น
มนุษย์ สัตว์ทั้งหลายนั้นมักเข้าใจว่า การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นเรา
เราก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น.."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 37

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Re: ใกล้ตายต้องทำอย่างไร

ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์
เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง

จิตคือพุทธะ หลวงปู่ดุลย์
:b8: :b8: :b8:
ด้วยความเคารพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร