วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 21:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เขียน:
สวัสดีค่ะคุณสายลมที่พัดผ่านไป
ดิฉันต้องขอโทษด้วยค่ะที่เข้าใจผิดว่าสิ่งที่คุณเห็นนั้นเป็นนิมิตที่เกิดจากสมาธิ
ถ้าคุณตอบว่าเป็นการเห็นด้วยจิตรู้ ซึ่งดิฉันไม่เข้าใจสิ่งที่คุณอธิบายนัก จะมีเพียง
ความรู้สึกเป็นห่วงนิดๆ ถ้ามันจะไม่ใช่ทางที่ควรเดิน ดิฉันอาจจะไม่มีความรู้ในเรื่อง
แบบนี้ก็ได้ค่ะ

การเห็นอริยสัจจ์ ๔ คือเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคมีองค์ ๘ อันจะเป็นปฎิปทาให้คุณก้าวเดินได้อย่างถูกทางได้ ดิฉันก็ขอแสดงความยินดีด้วย


อย่างไรก็ตามถ้าคุณยังต้องการเพื่อนคุยทางธรรมอยู่คุณติดต่อดิฉันEmail; Seeone190@hotmail.com ก็แล้วกันนะคะ ปกติดิฉันก็ไม่ค่อยใช้คอมฯ มากเท่าไหร่แต่ดิฉัน
จะคุยด้วยกับคุณค่ะ ในฐานะเพื่อนไงคะ


:b8: กราบขอบพระคุณคะ :b8: ..ยินดีที่ได้เพื่อนไหม่นะคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 23:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาเราแบกหรือถือของหนัก แล้วอยากวางเพราะมันหนัก นี่
มันต้องมีวิธีวางไหม
ก็แค่ปล่อย หรือแบออก เท่านั้น มันก็หลุดแล้วไม่ใช่หรือ
มันต้องมีขั้น มีตอน มีวิธีการ
แบบแผนอะไรมากมายขนาดเลยหรือ
มันต้องยุ่งยาก ยืดเยื้อ ในการปล่อย
และแบออก ถึงขนาดนั้นเลยหรือ
ทำไม่ต้องอย่างนั้น ทำไมต้องอย่างนี้อะไรเสียก่อนที่จะปล่อย
หรือแบออก อีกแหละ ก็แค่ปล่อย หรือแบออก เท่านั้น มันก็หลุดแล้ว

ที่มันต้องยุ่ง ต้องยากในการปล่อย ในการแบออก
ก็เพราะมันยังห่วง อาลัยอาวรณ์
ผูกพัน อยากรูอยากเห็น หรือ ลังเลสงสัย อยู่หรือเปล่า
หรือยังต้องการอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่
ก็เลยปล่อยไม่ลง แบไม่ออก
กลายเป็นเลือกปล่อยเลือกแบออกเฉพาะเรื่อง
เฉพาะอย่าง เป็นอย่างนั้นอยู่หรือเปล่า

การปฏิบัติธรรมนี้เพื่อปล่อยขันธ์ห้า
แต่ทำไมวัน ๆ จึงวิ่งเข้าวิ่งออกอยู่แต่ในขันธ์ห้า
เดี๋ยวจับขันธ์นี้ขึ้นมา ปล่อยขันธ์โน่น
เดี๋ยวจับขันธ์โน่นขึ้นมาปล่อยขันธ์นี้
ยุ่งกับมันอย่างนี้ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี หรือทั้งชีวิต
แล้วมันจะปล่อยตรงไหน
อย่างนี้ไม่ได้เรียก ปล่อย หรือเรียกว่า วาง
แต่กลายเป็นติด แล้วเกิดเป็นความเคยชิน
ในการเข้าและออก หรือเรียกว่า เกิดดับ
ตามขันธ์ไปเรื่อย ๆ จนเป็นนิสัย หรือจริตขึ้นมา
สุดท้ายก็กลายเป็นอนุสัยความเคยชินกับขันธ์
เกิดความผูกพันที่เหนียวแน่กับขันธ์

เหมือนเรามีเครื่องมือหากินชิ้นหนึ่ง ที่ต้องใช้มันทุกวัน
เมื่อใช้ไปนานเข้าจะเกิดความผูกพัน หลงยึดในสิ่งนั้น
ธาตุขันธ์ก็เช่นกัน ยิ่งเข้าไปคลุกคลีกับมันมาก
ก็ยิ่งติดมาก แล้วยิ่งเราหลงอยู่กับมันมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติแล้ว
มันจึงยิ่งเหนียวแน่กับธาตุขันธ์นี้
เหมือนตอกตะปูลงเนื้อไม ยิ่งตอกก็ยิ่งลึก เวลาจะถอนก็ถอนยิ่งยาก

ปล่อยก็คือ ไม่เอา เมื่อปล่อยแล้ว ก็คือ ช่างมัน แล้ว ๆ ไป ไม่เข้าไปอีก
เหมือนขยะที่เราทิ้ง ทิ้งแล้วก็แล้วไปเลย ไม่สนเลย มันจะเป็นอะไรก็ช่าง
มันจะยังอยู่ หรือลอยไปไหนแล้ว ก็ช่าง
ไม่ใช่ว่าทิ้งแล้วยังห่วงหา วิ่งเข้าหาอีก
คอยดู คอยรู้อยู่ อย่างนี้มันทิ้งไม่จริง หลอกตัวเอง

ขันธ์ห้านี้ ไม่ต้องห่วงว่า ช่างมันแล้วจะอยู่อย่างไร
ปล่อยแล้วจะดำเนินชีวิตต่ออย่างไร
เวลาไม่ใช้ มันก็ไม่มีอะไร เมื่อถึงเวลาจะใช้ขันธ์
มันจะหยิบขึ้นมาใช้เอง แล้วรู้จักใช้อย่างเหมาะสมด้วย
ใช้แล้วก็แล้ว ๆ ไป ไม่ติด ไม่ยึดในการใช้
ที่สำคัญคือ ปล่อยจริง ๆ

เหมือนเรายืมของคนอื่นมาใช้ เมื่อได้มาแล้วก็ไม่ยึด
เพราะรู้ว่าไม่ใช่ของเรา แล้วมันก็ไม่หลงใช้
แค่ของยืมใช้ชั่วคราว ขณะใช้ก็ใช้ตามที่มันใช้ได้ ไม่เกินไป
เพราะเสียต้องใช้คืนเค้า เมื่อใช้เสร็จก็คืนเค้าไป ก็แค่นี้

ไม่ใช่ว่าไม่ได้ใช้งานอะไร ก็ไปหยิบเครื่องมือขึ้นมาคลำ
ขึ้นมาดู จะไปไหนก็ถือติดไปตลอดเหมือนคนบ้าที่แบก
อะไรสักอย่างอยู่อย่างนั้นทั้งวัน
ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอะไรต้องแบก ไม่มีอะไรต้องใช้

ธรรมะนี้มัน สมุจเฉท เมื่อจะมาปฏิบัติธรรม ก็สมุจเฉทตามธรรมด้วย
ดูกาลเวลาสิ มันผ่านไปทุกวินาที แบบไม่สนใจใครเลย
มีไหม ที่กาลเวลาจะหยุดเดินสักหน่อย
ให้เราดูธาตุดูขันธ์ให้รู้เรื่องก่อนแล้วค่อยเดินต่อ
หรือรอให้เราเข้าใจก่อนแล้วค่อยเดินต่อ มีไหม ไม่มี

กายและจิตรู้นี้ก็เช่นกัน
แบบว่ารอให้เราเห็นกายเห็นนามขันธ์ทั้งสี่ก่อน
หรือรอให้เราพิจารณาก่อน แล้วค่อยอนิจจังได้ไหม มีไหม ไม่มี
มันอนิจจังแบบไม่ไว้หน้าใครทั้งนั้น
เวลาพายุ ทะล่ม ดินทะลาย แผ่นดินแยก น้ำท่วมมากมาย
มันมาแบบไม่สนใครใหญ่ใครไม่ใหญ่ ไม่สนใครตายไม่ตาย
ไม่สนว่าตรงไหนเป็นของสูง ตรงไหนเป็นของต่ำ
ไม่สนอะไรพัง ไม่พัง มันไม่สน
มันผ่านทางไหนก็ทะล่มทางนั้น ธรรมชาติมันเด็ดขาด

ธรรมก็เด็ดขาดเช่นกัน ไม่ว่าคุณจะรู้หรือไม่รู้ มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าคุณจะเห็นหรือไม่เห็น มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าคุณจะมีสติหรือไม่มีสติ มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าคุณจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าคุณจะมีปัญญาหรือไม่มีปัญญา มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าสิ่งนั้นมันจะจำเป็นหรือไม่จำเป็น มันก็อนิจจัง ตลอดสาย

31 ภพภูมินี้ รวมถึงขันธ์ห้าด้วย มันเป็นแค่ผลแห่งกรรม
ที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ตามผลที่มีเหตุได้กระทำไว้ มันเป็นแค่ มายาภพ ชั่วคราว
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าไป เกี่ยว อะไร กับมัน
เพราะเกี่ยวขึ้นมา เกิดทันที ภพชาติมีทันที
สังสารวัฏเกิดทันที เมื่อเกี่ยวบ่อย ๆ เข้า
มันก็กลายเป็นวัฎฎะวน วนเกิดวนดับ อยู่เช่นนั้น
จะนอกเหนือสังสาวัฏนี้ ก็คือ หยุด เข้าไป ข้องเกี่ยว กับมันอีก
แล้วเมตตา กรุณา มันจะออกมาเอง

เนื้อหาของธรรม แห่งอนิจจัง นั้น ทำให้เห็นถึง
สรรพสิ่งนั้น เมื่อเกิดแล้ว มันดับ จางหายไปเอง
หลุดเอง วางเอง อนัตตาเอง
ก็ไม่ต้องเอาจิตรู้หลงเข้าไปยึด หลงเข้าไปต่ออะไรอีก
นั่นก็คือการ หยุด มันก็ปล่อยเอง วางเอง หลุดของมันเอง

เนื้อหาของธรรม แห่ง ทุกขัง ทำให้เห็นถึง
ทุกสิ่งล้วนทุกข์ แตะตรงไหนก็คือทุกข์
เหมือนดั่งปฏิกูลที่มันเหม็นทั้งหมด
จะตรงไหนก็เหม็น จะจับตรงไหนก็เหม็น
หรือร้อนดั่งไฟ ไฟมันก็คือไฟ
จะแตะจะจับตรงไหนก็คือไฟ ร้อนทั้งนั้น

แล้วจะไปทำอะไรกับขันธ์หาอีกหรือ
จับตรงไหนก็กิเลสกรรมถามหา
แตะตรงไหนก็กิเลสกรรมอีกเช่นเดิม
มันแตะตรงไหนไม่ได้เลย
เอาเจตนากรรมไปแตะตรงไหน อัตตาถามหาทันที
เมื่อมีอัตตาไปแตะตรงไหน กรรมก็เกิดตรงนั้น
หลงเอาเจตนาไปดู มันก็ติดดู
หลงเอาเจตนาไปเฝ้า มันก็ติดเฝ้า
หลงเอาเจตนาไปทำ มันก็ติดทำ แล้วก็ไปเสวยกรรมในสิ่งที่แตะสิ่งที่จับนั้นต่อไป
เป็นวังวนที่วนไม่รูจักจบ
จนกว่าจะรู้จัก หยุด แล้วมันจึงจะเริ่มคลายออก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดิฉันไม่ได้คิดคะคุณวรรณ เมื่อดิฉันเห็นทุกข์ นั้น ทุกข์นี้ก็อยู่ในไตรลักษณ์ไม่ใช่หรือคะ เหตุใดถึงตีความว่าดิฉันคิดมาหรือปรุงเอง..มองไปในความเป็นจริง เมื่อมองในกายแล้ว ก็ต้องมองนอกกาย พิจารณาจาก ส่วนที่อยู่ไกล้ที่สุด และพิจารณาแผ่ออกไปไกล้ตัว และพิจารณาออกไปไกลด้วย จากในสุดพิจารณษออกไปนอกสุด และจากนอกสุดพิจารณาเข้ามาในสุด ถือ กายของเรา จิตของเรา ...พิจารณากายของเรา พิจารณากายคนอื่น ว่าเป็นความจริงเหมือนกันไหม ตรงกันไหม พิจารณาไตรลักษณ์ เรื่อง ทุกข์ อนิจจัง อนัตตา ในกายของเราแล้ว ก็พิจารณา ทุกข์ อนิจจัง อนัตตา ในกายคนอื่นว่า เป็นจริงอย่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ว่าไว้จริงไหม


น่าจะเป็นเรื่องสังขารขันธ์ ครับ อนุโมทนา สังขารขันธ์ เป็นจิตเจตสิกในขันธ์5 คือความคิด เท่าที่พิจารณาดูคือมีความคิดที่เป็นประโยชน์ครับ คืออยู่แต่ในเรื่องธรรมะ จะมองตัวเอง มองคนอื่น จิตสังขารขันธ์ก็มีแต่เรื่องธรรมะ มีมรรค8 เป็นแนวทางในการฝึกตนดีมาก

ที่คุณศรีวรรณ์ ไคร้งาม ตอบ ผมพิจารณานะครับ หากผิดก็ขออภัย เห็นว่าเป็นเรื่องสังขารขันธืเช่นกัน จึงยกเรื่องวิปัสสนาภาวนามาพูด

อ้างคำพูด:
สำหรับการพิจารณาทุกขเวทนาคุณสายลมที่พัดผ่านไปนำคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้มาใช้พิจารณาก็แล้วกัน พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ดิฉันสรุปมาให้สั้นๆเพื่อใช้ง่ายๆไปก่อนนะคะคือเมื่อคุณสายลมที่พัดผ่านไปประสบกับทุกขเวทนาก็ให้พิจารณาว่าทุกขเวทนาที่เกิดเพราะมโนสัมผัส ๖เป็นปัจจัยว่าเป็นของไม่เที่ยง พอประสบกับเวทนาอื่นๆ ก็พิจารณาให้เป็นของไม่เทียง ไปก่อนนะคะ
จริงๆ แล้วอยากให้คุณอ่านเพิ่มเติมดังรายละเอียดที่อ้างมานี้ค่ะแต่ถ้ายากไปก็
พิจารณาแค่นี้ไปก่อนก็แล้วกันค่ะ



ตัวผมเองอ่านแล้ว อยากอ่านประสบการณ์เพิ่มเติมในเรื่องวิญญาณขันธ์จากคุณครับ ว่า กำหนดรู้ด้วยวิญญาณขันธ์อย่างไร เหมือนที่คุณศรีวรรณ์อยากรู้เพิ่มเติม หากอ่านความคิดของคุณศรีวรรณ์ผิดก็ขออภัยนะครับ ก็คงต้องรออ่านต่อไปครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 00:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 13:44
โพสต์: 23


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาของทุกข์เกิด เราก็เห็นอยู่แล้ว เวทนามันชัดอยู่
แล้วก็เจอมาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว
ถามว่ารู้จักทุกข์ไหม รู้จัก เห็นไหม เห็น
จึงหันมาปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์
เพราะ เวทนาเป็นสิ่งที่ทนยาก
เดี๋ยวก็ทุกข์ ประเดี๋ยวก็ทุกข์อีกแล้ว
ไม่ว่ากายหรือจิตรู้ ล้วนเป็นกองทุกข์
ที่แสดงให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ใครไม่เห็นทุกข์ยกมือขึ้น

ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น
ทุกข์เห็นแล้ว ก็ผ่านมาหาเหตุแห่งทุกข์
คือ หลง ก็ยุติความหลง
แล้วมันจะไปหลงตอนไหน
ก็ตอนที่จิตรู้ ไปรู้อะไรต่อมิอะไรนั่น ความหลงมันก็ซ้อน
ตามลงไปที่จิตรู้นั่นแหละ
มันจึงเกิด หลงเป็นอัตตา ตัวตนขึ้นมา ทีนี้ตัณหา อุปาทาน กรรม และ ฯลฯ มันก็ตาม ๆ กันมา
เมื่อจิตรู้ ดับไปครั้งหนึ่ง กิเลสกรรมทั้งหลายก็ดับตามไปครั้งหนึ่ง
แล้วเมื่อจิตรู้ไปรู้อีก ตัวหลงก็ซ้อนลงไปอีก
ทุกอย่างก็เริ่มกันใหม่อีกรอบ วนอยู่อย่างนี้ทั้งวัน
เกิด ดับ ๆ หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป วนไป ๆ จนตาย

เพราะฉะนั้นเมื่อยุติ ความหลง ที่ซ้อนลงในจิตรู้
ก็นิโรธเอง ดูเหมือนง่าย แต่ความจริงนั้น ไม่ยากไม่ง่าย
ที่มันดูเหมือนยาก ดูเหมือนง่าย เพราะมีอัตตาตัวตนเข้าไปทำ
มันจึงมียาก มีง่าย

ต้นไม้ที่อยู่มาเป็นร้อย ๆ ปี
ใช่ว่าจะต้องใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปีในการโค่น
มันอยู่ที่อาวุธที่ใช้นั้น คม
ถ้าคมไม่กี่ชั่วโมงก็โค่นแล้ว แต่ถ้าไม่คม
โค่นไปก็ไม่รู้จะล้มเมื่อไร หรือกว่าจะล้มได้ก็ใช้เวลานาน

เพราะฉะนั้นก็อย่าหลงคิดไปว่า ตัวเองโง่เขลา
ไร้วาสนา ไร้ปัญญาที่จะแจ้งธรรมได้
นั่นมันความคิดของโมหะ
ปฏิบัติตรง มันก็จะตรงไปของมันเอง จบเอง

เนื้อหาแห่งอนัตตา นั้น มันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
คือ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นเขา เนื้อแท้นั้น ไม่มีอะไร
ไร้ความหมาย ในความเป็นอะไร
เกิดแล้วก็จางหายไป ไม่เหลืออะไรให้ยึดได้อีก
หมดตัวหมดตน เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว
ทุกอย่างเป็นแค่ของชั่วคราว

สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายมันแค่สมมุติกันขึ้นมา ให้เป็นนี่เป็นโน่น
เพื่อใช้ในการสารสื่อสารเท่านั้น จึงไม่ได้หมายให้ไปยึด
ให้เป็นเราเขา หรือของเราของเขาขึ้นมา
ดังนั้นแม้กายจิตนี้จะยังตั้งอยู่ หรือสิ่งภายนอกจะยังคงอยู่
ก็ล้วนอนัตตาเช่นกัน ไม่มีอะไรยึดอะไรได้
มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว

ไม่ใช่ว่าอนัตตาแล้วจะต้องไม่มี ไม่ใช่นะอย่าเข้าใจผิด
แต่หมายถึง เป็นสิ่งที่ยึดไม่ได้ ยึดไม่อยู่
ถึงอยากยึด ก็ยึดไม่อยู่ เดี๋ยวก็จางหายไป หมดตัวให้ยึดอยู่ดี
ทุกสิ่งคือ การไม่ยึดติด ไม่ยึด ไม่ติดในตัวมันเองอยู่แล้ว

ที่เล่ามานี้ก็เป็นการนำความจริงของธรรมชาติส่วนหนึ่งมาให้อ่าน
ว่าธรรมชาติเดิมแท้มันเป็นแบบนี้นะ
อาจใช้เป็นฐานข้อมูลรองรับอยู่ในสัญญาขันธ์
ให้จิตรู้ไว้หยิบขึ้นมาใช้ได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า
ปรับทิฐิให้ตรงตามความเป็นจริงของธรรม

เมื่อเราถูกสอนให้หลงยึดตั้งแต่เด็ก ๆ มาทุกภพทุกชาติ จนถึงปัจจุบันนี้
มันก็เรียนรู้และจำไปใช้ ความรู้ทั้งหลายที่ศึกษามา
เมื่อยามต้องใช้ มันจะหยิบขึ้นมาใช้
ของมันเองอย่างอัตโนมัติ
ไม่ว่าทางธรรมหรือทางโลก ล้วนเช่นกัน
เมื่อฐานข้อมูลไม่ตรงตามความจริงของธรรม
เวลาใช้มันก็ใช้ไม่ตรง หลงใช้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 04:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
ในส่วนของดิฉันคิดว่า เมื่อยังมีลมหายใจ การวัดผลว่าตัวเองว่าอยู่ระดับไหนนั้น วัดผลกันไม่ได้หรอกคะ ต้องวัดผลตอนตายทีเดียว ถึงจะชัด เป็นการสอบไล่ในครั้งเดียว ผ่านก็คือผ่าน ไม่ผ่านก็มาสะสมบารมีกันต่อไป

ใครบอกคุณกันครับว่า เราวัดผลตัวเองไม่ได้ ที่คุณคิดแบบนี้เป็นเพราะคุณยังยึดมั่น
ถือมั่นกับสิ่งที่คุณกำลังทำครับ การวัดผลทำได้ง่ายมาก ก็แค่คุณคอยสังเกตุดูว่าในการ
ใช้ชีวิตประจำวันเมื่อได้รับผัสสะหรือการกระทบจากภายนอก คุณจะยังมีโลภ โกรธ หลงมั้ย
ถ้าปฏิบัติมาแถบตาย ยังมีอาการแบบนี้อยู่ผมว่าเลิกเถอะครับ เปลี่ยนวิธีการใหม่
อีกอย่างครับ อย่าคิดว่าเวลานั่งสมาธิแล้วจะไม่มีอาการที่กล่าวมานะครับ
มันมีครับ เพียงแต่คุณไม่เข้าใจกิเลสนั้นเอง บางครั้งเราไม่มีอาการโลภและโกรธ
เราจึงนึกไปว่าเราไม่มีกิเลสแล้ว ผิดครับที่เราคิดแบบนั้นเพราะเรากำลังหลงครับ


สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
เหตุที่พูดอย่างนี้ เพราะเราทุกๆคนที่ยังเดินในเส้นทางธรรมนี้อยู่ ต่างก็ยังหลงกันทั้งนั้น หลงในเส้นทางเดินของตนเองกันทุกคน และต่างคนต่างมีเส้นทางเดินเป็นของตัวเอง เนื่องจากแต่ละคนสะสมบุญสะสมกรรมมาต่างกัน ทุกๆคนจึงมีเส้นทางเดินไม่เหมือนกัน...ปัจจัตตัง

คุณคิดไปเองครับ บางคนเขาเคยหลงแต่พอรู้ว่าหนทางนั้นไม่ใช่ เขาก็เปลี่ยนเส้นทางครับ
ไม่ใช่ตะบี้ตะบันทำไป แล้วปลอบใจตัวเองว่า วัดผลกันตอนตาย

แล้วอีกอย่างอย่างเอาเรื่องสะสมบุญมาพูดปนกับเรื่องนิพพานครับ
นิพพานไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป ถ้าจะเอาเรื่องบุญบาปต้องไปพูดเรื่องนรกสวรรค์โน้น
สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ยังหายใจ ในส่วนตัวแล้ว ดิฉันมีแค่หน้าที่ปฏิบัติไปสะสมไป ในเส้นทางของตน มีหน้าที่เรียนรู้ และแก้ไขเส้นทางเดินของตนให้ถูกทาง ให้มีสัมมาสติและสัมมาทิษฐิอยู่เสมอ เมื่อใดพลาดหรือผิดหรือหลง เมื่อเรารู้ตัว เราตั้งลำให้ตรงและเดินต่อไป จนกว่าจะตาย...จนถึงวันที่ได้สอบไล่จริงๆ

นิพพานเขาไม่ได้ให้สะสม ท่านให้รู้แล้วนำมาใช้ให้เกิดผล
มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย รู้ตัวนี้เพื่อไปรู้อีกตัว เขาเรียกว่ารู้ด้วยปัญญา

เรื่องพลาดหรือเปล่ามันต้องดูวิธีการเริ่มต้นของการปฏิบัติ
ถ้าเริ่มต้นผิดสิ่งที่ตามมามันก็ผิดครับ

เห็นคุณพูดเรื่องให้มีสัมมาสติและสัมมาทิฐิ พูดมาก็ดีแล้วครับ
จะได้รู้ว่าครับว่า คุณเริ่มต้นก็ผิดแล้วครับ เพราะสิ่งแรกที่ปุถุชนควรทำก็คือ
การปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งสัมมาทิฐิก่อนครับ และการได้มานั้นต้องเป็นการ
ไปรู้ไปเห็นสภาวะที่แท้จริงของเหตุปัจจัยแห่งสัมมาทิฐิครับ

ไม่ใช่มานั่งเฉยๆแล้วบอกว่าให้ใช้สัมมาสติ ให้ใช้สัมมาทิฐิ
ไอ้ตัวที่จะเอามาใช้เป็นอย่างไรก็ไม่รู้ แล้วจะเอามาใช้ได้ไงครับ


เมื่อไม่รู้ก็จินตนาการเอาเอง แบบนี้วิปัสนูกิเลสก็เล่นงานเอาซิครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เขียน:
ดังนั้นในช่วงนี้
เมื่อคุณเห็นรูปนิมิตไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายในส่วนต่างๆ หรือจิต คุณต้องใช้วิปัสสนาที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ทุกครั้งว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา จนกว่ารูปนิมิตจะหมดไป ก็ทำเหมือนที่คุณพิจารณากายโดย
ใช้พระไตรลักษณ์ให้รวมมาถึงนิมิตต่างๆ ด้วยคุณควรใช้พระไตรลักษณ์วิปัสสนาไปด้วย
ที่สุดจะทำให้คุณตัดรูปฌานออกไปได้ค่ะ

แนะนำแบบนี้ผมว่าไม่เหมาะครับ มันต้องบอกให้จขกทแกไปเริ่มปฏิบัติใหม่
เพื่อหาไตรลักษณ์มาใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาธรรม
ไม่ใช่มาบอกจขกทว่า ให้ใช้ไตรลักษณ์วิปัสสนาไปด้วย ที่จขกทหรือใครๆก็ตาม
กำลังฟุ้งธรรมซะยืดยาวเป็นเพราะ ไม่รู้จักไตรลักษณ์ครับ

ดังนั้นสิ่งที่ควรแนะนำจขกทคือไปหัดเจริญสติให้เป็นก่อนครับ
และควรรู้ไว้อีกอย่างก็คือ การเจริญสติไม่ใช่การมานั่งจมแช่กับพื้น
หรือการเดินเป็นหุ่นยนต์นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนามธรรมมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ใครพูดเรื่องนี้มันก็วุ่นก็ฟุ้งพออยู่แล้ว แต่จะวุ่นวายยกกำลัง ก็เพราะคือมีนายโฮฮิเข้าไปอีก :b9: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เรื่องนามธรรมมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ใครพูดเรื่องนี้มันก็วุ่นก็ฟุ้งพออยู่แล้ว แต่จะวุ่นวายยกกำลัง ก็เพราะคือมีนายโฮฮิเข้าไปอีก :b9: :b32:
พี่กายนะ พี่กาย! :b12:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 09:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
เวลาเราแบกหรือถือของหนัก แล้วอยากวางเพราะมันหนัก นี่
มันต้องมีวิธีวางไหม
ก็แค่ปล่อย หรือแบออก เท่านั้น มันก็หลุดแล้วไม่ใช่หรือ
มันต้องมีขั้น มีตอน มีวิธีการ
แบบแผนอะไรมากมายขนาดเลยหรือ
มันต้องยุ่งยาก ยืดเยื้อ ในการปล่อย
และแบออก ถึงขนาดนั้นเลยหรือ
ทำไม่ต้องอย่างนั้น ทำไมต้องอย่างนี้อะไรเสียก่อนที่จะปล่อย
หรือแบออก อีกแหละ ก็แค่ปล่อย หรือแบออก เท่านั้น มันก็หลุดแล้ว

ที่มันต้องยุ่ง ต้องยากในการปล่อย ในการแบออก
ก็เพราะมันยังห่วง อาลัยอาวรณ์
ผูกพัน อยากรูอยากเห็น หรือ ลังเลสงสัย อยู่หรือเปล่า
หรือยังต้องการอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่
ก็เลยปล่อยไม่ลง แบไม่ออก
กลายเป็นเลือกปล่อยเลือกแบออกเฉพาะเรื่อง
เฉพาะอย่าง เป็นอย่างนั้นอยู่หรือเปล่า

การปฏิบัติธรรมนี้เพื่อปล่อยขันธ์ห้า
แต่ทำไมวัน ๆ จึงวิ่งเข้าวิ่งออกอยู่แต่ในขันธ์ห้า
เดี๋ยวจับขันธ์นี้ขึ้นมา ปล่อยขันธ์โน่น
เดี๋ยวจับขันธ์โน่นขึ้นมาปล่อยขันธ์นี้
ยุ่งกับมันอย่างนี้ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี หรือทั้งชีวิต
แล้วมันจะปล่อยตรงไหน
อย่างนี้ไม่ได้เรียก ปล่อย หรือเรียกว่า วาง
แต่กลายเป็นติด แล้วเกิดเป็นความเคยชิน
ในการเข้าและออก หรือเรียกว่า เกิดดับ
ตามขันธ์ไปเรื่อย ๆ จนเป็นนิสัย หรือจริตขึ้นมา
สุดท้ายก็กลายเป็นอนุสัยความเคยชินกับขันธ์
เกิดความผูกพันที่เหนียวแน่กับขันธ์

เหมือนเรามีเครื่องมือหากินชิ้นหนึ่ง ที่ต้องใช้มันทุกวัน
เมื่อใช้ไปนานเข้าจะเกิดความผูกพัน หลงยึดในสิ่งนั้น
ธาตุขันธ์ก็เช่นกัน ยิ่งเข้าไปคลุกคลีกับมันมาก
ก็ยิ่งติดมาก แล้วยิ่งเราหลงอยู่กับมันมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติแล้ว
มันจึงยิ่งเหนียวแน่กับธาตุขันธ์นี้
เหมือนตอกตะปูลงเนื้อไม ยิ่งตอกก็ยิ่งลึก เวลาจะถอนก็ถอนยิ่งยาก

ปล่อยก็คือ ไม่เอา เมื่อปล่อยแล้ว ก็คือ ช่างมัน แล้ว ๆ ไป ไม่เข้าไปอีก
เหมือนขยะที่เราทิ้ง ทิ้งแล้วก็แล้วไปเลย ไม่สนเลย มันจะเป็นอะไรก็ช่าง
มันจะยังอยู่ หรือลอยไปไหนแล้ว ก็ช่าง
ไม่ใช่ว่าทิ้งแล้วยังห่วงหา วิ่งเข้าหาอีก
คอยดู คอยรู้อยู่ อย่างนี้มันทิ้งไม่จริง หลอกตัวเอง

ขันธ์ห้านี้ ไม่ต้องห่วงว่า ช่างมันแล้วจะอยู่อย่างไร
ปล่อยแล้วจะดำเนินชีวิตต่ออย่างไร
เวลาไม่ใช้ มันก็ไม่มีอะไร เมื่อถึงเวลาจะใช้ขันธ์
มันจะหยิบขึ้นมาใช้เอง แล้วรู้จักใช้อย่างเหมาะสมด้วย
ใช้แล้วก็แล้ว ๆ ไป ไม่ติด ไม่ยึดในการใช้
ที่สำคัญคือ ปล่อยจริง ๆ

เหมือนเรายืมของคนอื่นมาใช้ เมื่อได้มาแล้วก็ไม่ยึด
เพราะรู้ว่าไม่ใช่ของเรา แล้วมันก็ไม่หลงใช้
แค่ของยืมใช้ชั่วคราว ขณะใช้ก็ใช้ตามที่มันใช้ได้ ไม่เกินไป
เพราะเสียต้องใช้คืนเค้า เมื่อใช้เสร็จก็คืนเค้าไป ก็แค่นี้

ไม่ใช่ว่าไม่ได้ใช้งานอะไร ก็ไปหยิบเครื่องมือขึ้นมาคลำ
ขึ้นมาดู จะไปไหนก็ถือติดไปตลอดเหมือนคนบ้าที่แบก
อะไรสักอย่างอยู่อย่างนั้นทั้งวัน
ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอะไรต้องแบก ไม่มีอะไรต้องใช้

ธรรมะนี้มัน สมุจเฉท เมื่อจะมาปฏิบัติธรรม ก็สมุจเฉทตามธรรมด้วย
ดูกาลเวลาสิ มันผ่านไปทุกวินาที แบบไม่สนใจใครเลย
มีไหม ที่กาลเวลาจะหยุดเดินสักหน่อย
ให้เราดูธาตุดูขันธ์ให้รู้เรื่องก่อนแล้วค่อยเดินต่อ
หรือรอให้เราเข้าใจก่อนแล้วค่อยเดินต่อ มีไหม ไม่มี

กายและจิตรู้นี้ก็เช่นกัน
แบบว่ารอให้เราเห็นกายเห็นนามขันธ์ทั้งสี่ก่อน
หรือรอให้เราพิจารณาก่อน แล้วค่อยอนิจจังได้ไหม มีไหม ไม่มี
มันอนิจจังแบบไม่ไว้หน้าใครทั้งนั้น
เวลาพายุ ทะล่ม ดินทะลาย แผ่นดินแยก น้ำท่วมมากมาย
มันมาแบบไม่สนใครใหญ่ใครไม่ใหญ่ ไม่สนใครตายไม่ตาย
ไม่สนว่าตรงไหนเป็นของสูง ตรงไหนเป็นของต่ำ
ไม่สนอะไรพัง ไม่พัง มันไม่สน
มันผ่านทางไหนก็ทะล่มทางนั้น ธรรมชาติมันเด็ดขาด

ธรรมก็เด็ดขาดเช่นกัน ไม่ว่าคุณจะรู้หรือไม่รู้ มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าคุณจะเห็นหรือไม่เห็น มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าคุณจะมีสติหรือไม่มีสติ มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าคุณจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าคุณจะมีปัญญาหรือไม่มีปัญญา มันก็อนิจจัง
ไม่ว่าสิ่งนั้นมันจะจำเป็นหรือไม่จำเป็น มันก็อนิจจัง ตลอดสาย

31 ภพภูมินี้ รวมถึงขันธ์ห้าด้วย มันเป็นแค่ผลแห่งกรรม
ที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ตามผลที่มีเหตุได้กระทำไว้ มันเป็นแค่ มายาภพ ชั่วคราว
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะเข้าไป เกี่ยว อะไร กับมัน
เพราะเกี่ยวขึ้นมา เกิดทันที ภพชาติมีทันที
สังสารวัฏเกิดทันที เมื่อเกี่ยวบ่อย ๆ เข้า
มันก็กลายเป็นวัฎฎะวน วนเกิดวนดับ อยู่เช่นนั้น
จะนอกเหนือสังสาวัฏนี้ ก็คือ หยุด เข้าไป ข้องเกี่ยว กับมันอีก
แล้วเมตตา กรุณา มันจะออกมาเอง

เนื้อหาของธรรม แห่งอนิจจัง นั้น ทำให้เห็นถึง
สรรพสิ่งนั้น เมื่อเกิดแล้ว มันดับ จางหายไปเอง
หลุดเอง วางเอง อนัตตาเอง
ก็ไม่ต้องเอาจิตรู้หลงเข้าไปยึด หลงเข้าไปต่ออะไรอีก
นั่นก็คือการ หยุด มันก็ปล่อยเอง วางเอง หลุดของมันเอง

เนื้อหาของธรรม แห่ง ทุกขัง ทำให้เห็นถึง
ทุกสิ่งล้วนทุกข์ แตะตรงไหนก็คือทุกข์
เหมือนดั่งปฏิกูลที่มันเหม็นทั้งหมด
จะตรงไหนก็เหม็น จะจับตรงไหนก็เหม็น
หรือร้อนดั่งไฟ ไฟมันก็คือไฟ
จะแตะจะจับตรงไหนก็คือไฟ ร้อนทั้งนั้น

แล้วจะไปทำอะไรกับขันธ์หาอีกหรือ
จับตรงไหนก็กิเลสกรรมถามหา
แตะตรงไหนก็กิเลสกรรมอีกเช่นเดิม
มันแตะตรงไหนไม่ได้เลย
เอาเจตนากรรมไปแตะตรงไหน อัตตาถามหาทันที
เมื่อมีอัตตาไปแตะตรงไหน กรรมก็เกิดตรงนั้น
หลงเอาเจตนาไปดู มันก็ติดดู
หลงเอาเจตนาไปเฝ้า มันก็ติดเฝ้า
หลงเอาเจตนาไปทำ มันก็ติดทำ แล้วก็ไปเสวยกรรมในสิ่งที่แตะสิ่งที่จับนั้นต่อไป
เป็นวังวนที่วนไม่รูจักจบ
จนกว่าจะรู้จัก หยุด แล้วมันจึงจะเริ่มคลายออก


:b8: สาธุคะ กราบขอบพระคุณที่แนะนำนะคะ ดิฉันขออนุญาติก๊อปเก็บไว้นะคะ เนื่องจากดิฉันทำอะไรได้ช้า ต้องอ่านซ้ำๆถึงจะซึ้ง ถึงจะเข้าใจ มันถึงจะลงมือทำได้ :b8:

...ตอนนี้ได้แค่ ว่า หยุดแล้วมันจะปล่อยเอง เมื่อปล่อยแล้ววางแล้วต้องทิ้ง ไม่แยแสไม่สนใจของที่ิ้งไปแล้ว..ถึงจะเป็นการวางอย่างแท้จริง ตอนนี้เข้าใจ ได้แค่นี้นะคะ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย สายลมที่พัดผ่านไป เมื่อ 08 ส.ค. 2012, 10:25, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 10:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
ธรรมดาของทุกข์เกิด เราก็เห็นอยู่แล้ว เวทนามันชัดอยู่
แล้วก็เจอมาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว
ถามว่ารู้จักทุกข์ไหม รู้จัก เห็นไหม เห็น
จึงหันมาปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์
เพราะ เวทนาเป็นสิ่งที่ทนยาก
เดี๋ยวก็ทุกข์ ประเดี๋ยวก็ทุกข์อีกแล้ว
ไม่ว่ากายหรือจิตรู้ ล้วนเป็นกองทุกข์
ที่แสดงให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ใครไม่เห็นทุกข์ยกมือขึ้น

ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น
ทุกข์เห็นแล้ว ก็ผ่านมาหาเหตุแห่งทุกข์
คือ หลง ก็ยุติความหลง
แล้วมันจะไปหลงตอนไหน
ก็ตอนที่จิตรู้ ไปรู้อะไรต่อมิอะไรนั่น ความหลงมันก็ซ้อน
ตามลงไปที่จิตรู้นั่นแหละ
มันจึงเกิด หลงเป็นอัตตา ตัวตนขึ้นมา ทีนี้ตัณหา อุปาทาน กรรม และ ฯลฯ มันก็ตาม ๆ กันมา
เมื่อจิตรู้ ดับไปครั้งหนึ่ง กิเลสกรรมทั้งหลายก็ดับตามไปครั้งหนึ่ง
แล้วเมื่อจิตรู้ไปรู้อีก ตัวหลงก็ซ้อนลงไปอีก
ทุกอย่างก็เริ่มกันใหม่อีกรอบ วนอยู่อย่างนี้ทั้งวัน
เกิด ดับ ๆ หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป วนไป ๆ จนตาย

เพราะฉะนั้นเมื่อยุติ ความหลง ที่ซ้อนลงในจิตรู้
ก็นิโรธเอง ดูเหมือนง่าย แต่ความจริงนั้น ไม่ยากไม่ง่าย
ที่มันดูเหมือนยาก ดูเหมือนง่าย เพราะมีอัตตาตัวตนเข้าไปทำ
มันจึงมียาก มีง่าย

ต้นไม้ที่อยู่มาเป็นร้อย ๆ ปี
ใช่ว่าจะต้องใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปีในการโค่น
มันอยู่ที่อาวุธที่ใช้นั้น คม
ถ้าคมไม่กี่ชั่วโมงก็โค่นแล้ว แต่ถ้าไม่คม
โค่นไปก็ไม่รู้จะล้มเมื่อไร หรือกว่าจะล้มได้ก็ใช้เวลานาน

เพราะฉะนั้นก็อย่าหลงคิดไปว่า ตัวเองโง่เขลา
ไร้วาสนา ไร้ปัญญาที่จะแจ้งธรรมได้
นั่นมันความคิดของโมหะ
ปฏิบัติตรง มันก็จะตรงไปของมันเอง จบเอง

เนื้อหาแห่งอนัตตา นั้น มันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
คือ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นเขา เนื้อแท้นั้น ไม่มีอะไร
ไร้ความหมาย ในความเป็นอะไร
เกิดแล้วก็จางหายไป ไม่เหลืออะไรให้ยึดได้อีก
หมดตัวหมดตน เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว
ทุกอย่างเป็นแค่ของชั่วคราว

สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายมันแค่สมมุติกันขึ้นมา ให้เป็นนี่เป็นโน่น
เพื่อใช้ในการสารสื่อสารเท่านั้น จึงไม่ได้หมายให้ไปยึด
ให้เป็นเราเขา หรือของเราของเขาขึ้นมา
ดังนั้นแม้กายจิตนี้จะยังตั้งอยู่ หรือสิ่งภายนอกจะยังคงอยู่
ก็ล้วนอนัตตาเช่นกัน ไม่มีอะไรยึดอะไรได้
มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว

ไม่ใช่ว่าอนัตตาแล้วจะต้องไม่มี ไม่ใช่นะอย่าเข้าใจผิด
แต่หมายถึง เป็นสิ่งที่ยึดไม่ได้ ยึดไม่อยู่
ถึงอยากยึด ก็ยึดไม่อยู่ เดี๋ยวก็จางหายไป หมดตัวให้ยึดอยู่ดี
ทุกสิ่งคือ การไม่ยึดติด ไม่ยึด ไม่ติดในตัวมันเองอยู่แล้ว

ที่เล่ามานี้ก็เป็นการนำความจริงของธรรมชาติส่วนหนึ่งมาให้อ่าน
ว่าธรรมชาติเดิมแท้มันเป็นแบบนี้นะ
อาจใช้เป็นฐานข้อมูลรองรับอยู่ในสัญญาขันธ์
ให้จิตรู้ไว้หยิบขึ้นมาใช้ได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า
ปรับทิฐิให้ตรงตามความเป็นจริงของธรรม

เมื่อเราถูกสอนให้หลงยึดตั้งแต่เด็ก ๆ มาทุกภพทุกชาติ จนถึงปัจจุบันนี้
มันก็เรียนรู้และจำไปใช้ ความรู้ทั้งหลายที่ศึกษามา
เมื่อยามต้องใช้ มันจะหยิบขึ้นมาใช้
ของมันเองอย่างอัตโนมัติ
ไม่ว่าทางธรรมหรือทางโลก ล้วนเช่นกัน
เมื่อฐานข้อมูลไม่ตรงตามความจริงของธรรม
เวลาใช้มันก็ใช้ไม่ตรง หลงใช้


:b8: ขอบพระคุณคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไร เขียน:
ธรรมดาของทุกข์เกิด เราก็เห็นอยู่แล้ว เวทนามันชัดอยู่
แล้วก็เจอมาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว
ถามว่ารู้จักทุกข์ไหม รู้จัก เห็นไหม เห็น
จึงหันมาปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์
เพราะ เวทนาเป็นสิ่งที่ทนยาก
เดี๋ยวก็ทุกข์ ประเดี๋ยวก็ทุกข์อีกแล้ว
ไม่ว่ากายหรือจิตรู้ ล้วนเป็นกองทุกข์
ที่แสดงให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ใครไม่เห็นทุกข์ยกมือขึ้น

ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น
ทุกข์เห็นแล้ว ก็ผ่านมาหาเหตุแห่งทุกข์
คือ หลง ก็ยุติความหลง
แล้วมันจะไปหลงตอนไหน
ก็ตอนที่จิตรู้ ไปรู้อะไรต่อมิอะไรนั่น ความหลงมันก็ซ้อน
ตามลงไปที่จิตรู้นั่นแหละ
มันจึงเกิด หลงเป็นอัตตา ตัวตนขึ้นมา ทีนี้ตัณหา อุปาทาน กรรม และ ฯลฯ มันก็ตาม ๆ กันมา
เมื่อจิตรู้ ดับไปครั้งหนึ่ง กิเลสกรรมทั้งหลายก็ดับตามไปครั้งหนึ่ง
แล้วเมื่อจิตรู้ไปรู้อีก ตัวหลงก็ซ้อนลงไปอีก
ทุกอย่างก็เริ่มกันใหม่อีกรอบ วนอยู่อย่างนี้ทั้งวัน
เกิด ดับ ๆ หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป วนไป ๆ จนตาย

เพราะฉะนั้นเมื่อยุติ ความหลง ที่ซ้อนลงในจิตรู้
ก็นิโรธเอง ดูเหมือนง่าย แต่ความจริงนั้น ไม่ยากไม่ง่าย
ที่มันดูเหมือนยาก ดูเหมือนง่าย เพราะมีอัตตาตัวตนเข้าไปทำ
มันจึงมียาก มีง่าย

ต้นไม้ที่อยู่มาเป็นร้อย ๆ ปี
ใช่ว่าจะต้องใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปีในการโค่น
มันอยู่ที่อาวุธที่ใช้นั้น คม
ถ้าคมไม่กี่ชั่วโมงก็โค่นแล้ว แต่ถ้าไม่คม
โค่นไปก็ไม่รู้จะล้มเมื่อไร หรือกว่าจะล้มได้ก็ใช้เวลานาน

เพราะฉะนั้นก็อย่าหลงคิดไปว่า ตัวเองโง่เขลา
ไร้วาสนา ไร้ปัญญาที่จะแจ้งธรรมได้
นั่นมันความคิดของโมหะ
ปฏิบัติตรง มันก็จะตรงไปของมันเอง จบเอง

เนื้อหาแห่งอนัตตา นั้น มันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
คือ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นเขา เนื้อแท้นั้น ไม่มีอะไร
ไร้ความหมาย ในความเป็นอะไร
เกิดแล้วก็จางหายไป ไม่เหลืออะไรให้ยึดได้อีก
หมดตัวหมดตน เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว
ทุกอย่างเป็นแค่ของชั่วคราว

สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายมันแค่สมมุติกันขึ้นมา ให้เป็นนี่เป็นโน่น
เพื่อใช้ในการสารสื่อสารเท่านั้น จึงไม่ได้หมายให้ไปยึด
ให้เป็นเราเขา หรือของเราของเขาขึ้นมา
ดังนั้นแม้กายจิตนี้จะยังตั้งอยู่ หรือสิ่งภายนอกจะยังคงอยู่
ก็ล้วนอนัตตาเช่นกัน ไม่มีอะไรยึดอะไรได้
มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว

ไม่ใช่ว่าอนัตตาแล้วจะต้องไม่มี ไม่ใช่นะอย่าเข้าใจผิด
แต่หมายถึง เป็นสิ่งที่ยึดไม่ได้ ยึดไม่อยู่
ถึงอยากยึด ก็ยึดไม่อยู่ เดี๋ยวก็จางหายไป หมดตัวให้ยึดอยู่ดี
ทุกสิ่งคือ การไม่ยึดติด ไม่ยึด ไม่ติดในตัวมันเองอยู่แล้ว

ที่เล่ามานี้ก็เป็นการนำความจริงของธรรมชาติส่วนหนึ่งมาให้อ่าน
ว่าธรรมชาติเดิมแท้มันเป็นแบบนี้นะ
อาจใช้เป็นฐานข้อมูลรองรับอยู่ในสัญญาขันธ์
ให้จิตรู้ไว้หยิบขึ้นมาใช้ได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า
ปรับทิฐิให้ตรงตามความเป็นจริงของธรรม

เมื่อเราถูกสอนให้หลงยึดตั้งแต่เด็ก ๆ มาทุกภพทุกชาติ จนถึงปัจจุบันนี้
มันก็เรียนรู้และจำไปใช้ ความรู้ทั้งหลายที่ศึกษามา
เมื่อยามต้องใช้ มันจะหยิบขึ้นมาใช้
ของมันเองอย่างอัตโนมัติ
ไม่ว่าทางธรรมหรือทางโลก ล้วนเช่นกัน
เมื่อฐานข้อมูลไม่ตรงตามความจริงของธรรม
เวลาใช้มันก็ใช้ไม่ตรง หลงใช้
พูดด้วยความคิดนะเหมือนจะง่ายอย่างที่กล่าวมา แต่การบรรลุธรรมนั้น ผมยากให้พิจารณาตรงนี้ให้มาก บทอธฐานความเพียร
ภิกษุ ท ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือความไม่รู้จักอิ่ม จักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ(อัปปฏิวานี)ในการทำ ความเพียร.
ภิกษุ ท ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการ อธิษฐานจิต) ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้
ภิกษุ ท ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็น สิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท.
ภิกษุ ท ! ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิ ฐานจิต)ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือด แห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้ แล้วไซร้;
ภิกษุ ท ! พวกเธอก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออก บวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้ว แลอยู่ เป็นแน่นอน.

และทุกวันนี้มีหลายท่านปฎิบัติแบบง่ายๆสบายๆมันก็ถูกใจผู้ปฎิบัตินะซิ (อย่าลืมนะพยามารก็สอนธรรมเป็นเหมือนกันนะครับโปรดระวังสักนิด ด้วยความปรารถนาดีครับ) bigtoo

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เรื่องนามธรรมมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ใครพูดเรื่องนี้มันก็วุ่นก็ฟุ้งพออยู่แล้ว แต่จะวุ่นวายยกกำลัง ก็เพราะคือมีนายโฮฮิเข้าไปอีก :b9: :b32:

จะเอาฮาไปถึงไหน :b32:
"เรื่องนามธรรมมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ"
นี้มาทำนองเดียวกับ ที่พ่อเฒ่ากรัชเคยบอกว่า "กายใจก็คือแขนขามั้ง"
เอ้า! ยังฮาได้อีก :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
พูดด้วยความคิดนะเหมือนจะง่ายอย่างที่กล่าวมา แต่การบรรลุธรรมนั้น ผมยากให้พิจารณาตรงนี้ให้มาก บทอธฐานความเพียร
ภิกษุ ท ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือความไม่รู้จักอิ่ม จักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ(อัปปฏิวานี)ในการทำ ความเพียร.
ภิกษุ ท ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการ อธิษฐานจิต) ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้
ภิกษุ ท ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็น สิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท.
ภิกษุ ท ! ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิ ฐานจิต)ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือด แห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้ แล้วไซร้;
ภิกษุ ท ! พวกเธอก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออก บวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้ว แลอยู่ เป็นแน่นอน.

และทุกวันนี้มีหลายท่านปฎิบัติแบบง่ายๆสบายๆมันก็ถูกใจผู้ปฎิบัตินะซิ (อย่าลืมนะพยามารก็สอนธรรมเป็นเหมือนกันนะครับโปรดระวังสักนิด ด้วยความปรารถนาดีครับ) bigtoo

ไปว่าคนอื่นเขานะ ดูตัวเองซะก่อนดีมั้ย พระยามารมันสอนธรรมไม่เป็นหรอก
เพียงแต่มันจะหลอกล่อให้เข้าใจไปว่าธรรมมันถูกมันดี
พระยามารกับกิเลสมันเป็นของคู่กัน มันไม่สามารถปกปิดกิเลสหรือความเป็นมารในตัวเองได้หมด
มันต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงออกมาจากการกระทำครับ ตัวอย่างเช่น..

เที่ยวประกาศอวดศักดาว่าตัวเอง ไม่ยุ่งกับเมีย ถ้าพูดแค่นี้คนอื่นย่อมต้อง
มองบุคคลนั้นเป็นผู้ถือพรหมจรรย์ แต่ก็บอกแล้วว่าพระยามารปกปิดกิเลสไม่มิดแถมย่อม
ต้องหลอกล่อให้คนอื่นหลงเพื่อมาเป็นพวก ด้วยการสอดแทรกกิเลสลงไปในการนั้นๆ เช่น.
อยู่บ้านเดียวกับเมีย เคลิ้มทุกครั้งเมื่อเห็นหน้าเมียตัวเอง อายุปูนนี้ลูกโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว
ยังมองหน้าเมียตัวเองยังสาวยังสวย

อวดภูมิว่ากินข้าวมื้อเดียว แต่ต้องทำกับข้าวให้เมียกิน
และได้กลิ่นอันยั่วยวนทุกครั้งเมื่อทำกับข้าว


บอกแล้วไงว่าพระยามารย่อมปกปิดกิเลสไม่มิด :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เรื่องนามธรรมมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ใครพูดเรื่องนี้มันก็วุ่นก็ฟุ้งพออยู่แล้ว แต่จะวุ่นวายยกกำลัง ก็เพราะคือมีนายโฮฮิเข้าไปอีก :b9: :b32:

จะเอาฮาไปถึงไหน :b32:
"เรื่องนามธรรมมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ"
นี้มาทำนองเดียวกับ ที่พ่อเฒ่ากรัชเคยบอกว่า "กายใจก็คือแขนขามั้ง"
เอ้า! ยังฮาได้อีก :b32:

ตอบเพื่อไว้ก่อนเลย รู้นิสัยกันดีอยู่แล้ว

ตาเฒ่าอย่าพูดหรือถามในสิ่งที่เด็กๆมันก็รู้อยู่แล้วได้ม่ะ
มันเสียเวลาแทะเม็ดก๊วยจี๊ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2012, 11:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าว ชั่ว ร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งยังเกิดขึ้นเป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ด ร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิตเสียได้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน.....เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะความอดกลั้น”

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร